28 พฤษภาคม 2553

สัมพันธภาพกับพระวิญญาณบริสุทธิ์

สัมพันธภาพกับพระวิญญาณบริสุทธิ์ (The Fellowship with the Holy Spirit)

2 โครินธ์ 13;14 ขอให้พระคุณของพระเยซูคริสตเจ้า ความรักแห่งพระเจ้า และความสนิทสนมซึ่งมาจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ จงดำรงอยู่กับท่านทั้งหลายเถิด

2 Corinthians 13:14 The grace of the Lord Jesus Christ, and the love of God, and the communion of the Holy Ghost, be with you all. Amen.


สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ ความสนิทสนมระหว่างเรากับพระเจ้า ซึ่งเกิดขึ้นจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่อยู่ในชีวิตของเรา

•ทุก ๆ สิ่งที่เปาโลขอในข้อนี้ (ทั้งพระคุณ ความรัก และความสนิทสนม) นำเราไปสู่ความสัมพันธ์กับพระเจ้า
พระวิญญาณบริสุทธิ์ พระองค์เป็นบุคคล และปรารถนาความสัมพันธ์กับเรา
•พระเยซูคริสต์นำพระคุณ พระบิดานำความรัก ทั้งพระคุณและความรักนั้น มาจากพระเจ้า

เอเฟซัส 2:8 ด้วยว่าซึ่งเราทั้งหลายรอดนั้นก็รอดโดยพระคุณเพราะความเชื่อ และมิใช่โดยตัวเราทั้งหลายกระทำเอง แต่พระเจ้าทรงประทานให้


•โดยพระคุณจึงนำเราเข้าสู่ความสัมพันธ์กับพระเจ้า และโดยความรักกระทำให้ความสัมพันธ์นั้นสดใหม่ สดชื่นมีชีวิตชีวา
•ส่วนบทบาทของพระวิญญาณบริสุทธิ์นั้นน่าสนใจมาก ทรงกระทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระเจ้า(ทั้งพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณเอง) นั้นสนิทแนบแน่น
•ด้วยเหตุที่พระวิญญาณสามารถนำเราเข้าสู่ความเข้าใจที่ลึกซึ้งในพระคุณ และความรักของ พระเจ้า เราจึงควรมีชีวิตที่สนิทสนมกับพระวิญญาณ และโดยพระวิญญาณ เราจะได้รับการเปิดเผยความล้ำลึกของพระเจ้า

ยอห์น 16:15 ทุกสิ่งที่พระบิดาทรงมีนั้นเป็นของเรา เหตุฉะนั้นเราจึงกล่าวว่า พระวิญญาณทรงเอาสิ่งซึ่งเป็นของเรานั้น มาสำแดงแก่ท่านทั้งหลาย

1โครินธ์ 2:12 เราทั้งหลายไม่ได้รับวิญญาณของโลก แต่ได้รับพระวิญญาณซึ่งมาจากพระเจ้า เพื่อเราทั้งหลายจะได้รู้ถึงสิ่งต่างๆที่พระเจ้าได้ทรงโปรดประทานแก่เรา


•พระวิญญาณเป็นพระเจ้าผู้ทรงเปิดเผยให้เราล่วงรู้สิ่งต่าง ๆ รวมถึงตัวตนของเรา อนาคตของเรา สิ่งที่จะเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเรา
•ดังนั้น วันนี้ หากใครมีปัญหาสิ่งใด อยากได้รับคำตอบ ถามมนุษย์อาจจะได้คำตอบผิดบ้างถูกบ้าง แต่ถ้าจะให้ดี กลับไปถามพระวิญญาณซึ่งอยู่ในชีวิตของเรา นะครับ ท่านจะได้คำตอบ เมื่อมีความสัมพันธ์กับพระองค์ จนรู้ว่านี่คือ เสียงพระองค์ ไม่ใช่เสียงของเราแน่นอน
• คนแรกที่เราควรถามคือ พระวิญญาณของพระเจ้า เราทุกคนควรฝึกฟังเสียงพระเจ้าด้วยตัวเอง

•ในภาษากรีก คำว่าสนิทสนม หรือ Fellowship นี้มาจากคำว่า Koinonia แปลได้ว่า การมีส่วนร่วม (communion) การติดต่อสื่อสาร ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด (communication) ความสนิทสนม (intimacy ) การเข้าไปเชื่อม มีส่วนร่วมด้วย (Joint participation)

•จากคำว่า Koinonia ในภาคปฏิบัติเราสามารถสนิทสนมกับพระองค์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ดังนี้

1เข้าร่วม เชื่อมต่อกับพระองค์ อย่างกระตือรือร้น (Active participation)

•การสนิทสนมกับพระวิญญาณนั้น ไม่ใช่ที่เรียกว่า One- way traffic
•แต่มันเป็นการเข้าไปแบ่งปันต่อกัน ถึง ความตั้งใจของเรา ความรู้สึกของเรา ความรู้ของเรา
•เราเข้าไปแบ่งปันให้พระองค์ฟังถึงสิ่งที่เป็นเรา สิ่งที่เรารู้ สิ่งที่เรามี สิ่งที่เราเข้าใจหรือรู้เกี่ยวกับพระองค์
•เราคงจำได้ดีถึงสิ่งที่พระเยซูคริสต์บอกเกี่ยวกับพระวิญญาณว่า

ยอห์น 16:13-14
13 เมื่อพระวิญญาณแห่งความจริงจะเสด็จมาแล้ว พระองค์จะนำท่านทั้งหลายไปสู่ความจริงทั้งมวล เพราะพระองค์จะไม่ตรัสโดยพลการ แต่พระองค์จะตรัส สิ่งที่พระองค์ทรงได้ยิน และพระองค์จะทรงแจ้งให้ท่านทั้งหลายรู้ถึงสิ่งเหล่านั้นที่จะเกิดขึ้น
14 พระองค์จะทรงให้เราได้รับเกียรติ เพราะว่าพระองค์จะทรงเอาสิ่งที่เป็นของเรามาสำแดงแก่ท่านทั้งหลาย


•เมื่อเปรียบเทียบสิ่งที่เรารู้ กับสิ่งที่พระองค์รู้นั้น เทียบกันไม่ได้เลย พระองค์ยิ่งใหญ่กว่าเรามาก พระวิญญาณทรงสัพพัญญู

•พระองค์เข้าถึงพระทัยของพระบิดา อะไรก็ตามที่พระบิดาพูด พระวิญญาณ ทรงได้ยิน และทรงนำมาเปิดเผยแก่เรา
•นั่นหมายความว่า เมื่อเราเข้าไปเชื่อมสนิทกับพระองค์ เราก็จะสามารถล่วงรู้ทันที ว่าพระบิดาผู้ทรงนั่งบนบัลลังค์ในสวงสวรรค์นั้นกำลังคิดอะไร พระองค์จะทรงกระทำสิ่งใด

•พระวิญญาณบริสุทธิ์ก็จะทรงเตรียมใจของเรา เพื่อพร้อมรับสิ่งที่จะเกิดขึ้น
•นั่นหมายถึง เราสามารถคาดการณ์ล่วงหน้า และสามารถเตรียมจิตใจเราพร้อมรับอนาคตที่จะเกิดขึ้นได้
•โดยพระวิญญาณ เราก็จะเป็นดังอุปกรณ์ที่ถูกเตรียมไว้อย่างดี ให้พร้อมรับสถานการณ์ที่ท้าทายใจได้
•การเข้าเชื่อมต่อกับพระวิญญาณนั้น ไม่ใช่เรื่องยาก อยู่ที่ใจปรารถนาของเราเป็นสำคัญ

•เราสามารถบอกพระเจ้าให้รับรู้ถึงความปรารถนา ความต้องการในจิตใจส่วนลึกของเรา
•ความสัมพันธ์นี้จะไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบเผด็จการ ไม่ใช่การพูดอยู่คนเดียว
•เราควรเชื้อเชิญพระองค์เข้ามาในชีวิตของเรา สนิทสนมในความสัมพันธ์

2 ให้พระองค์เป็นหุ้นส่วนในชีวิต (Partnership)

•ความสัมพันธ์กับพระวิญญาณเป็นเหมือนกับการเข้าหุ้นส่วน หรือ เป็นเหมือนคู่สมรสที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน
•การเข้าหุ้นส่วนให้ภาพการทำธุรกิจ หุ้นส่วนจะต้องนั่งลงคิดยุทธศาสตร์ร่วมกัน แบ่งปันต่อกันถึงความสำเร็จ หรือความล้มเหลว

•เมื่อเราได้เป็นหุ้นส่วนกับพระเจ้า พระองค์ก็เป็นเหมือนหุ้นส่วนใหญ่ หรือหุ้นส่วนที่อาวุโสกว่ามีอิทธิพลมากกว่า แต่ก็มีเราร่วมเป็นทีมด้วย พระองค์เป็นเจ้านาย ส่วนเราเป็นูน้อง เพราะพระองค์นั่งหัวโต๊ะ มีบทบาทในที่ประชุมมากกว่า
•พระองค์ฉลาดกว่า มียุทธศาสตร์ที่ Perfect มีวิธีการนำที่เยี่ยมยอดกว่า ด้วยเหตุนี้ เราจึงยอมให้พระองค์นำเราอย่างมียุทธศาสตร์ มีแผน และมีเป้าประสงค์อย่างชัดเจน
•เราควรจะติดตามและเชื่อฟังพระองค์ และรอบคอบที่จะทำตามแผนของพระองค์

•ในฐานะหุ้นส่วนเราก็ควรจะแบ่งปัน ร่วมด้วยในชัยชนะของพระองค์ และพระองค์ก็ไม่เคยผิดพลาดล้มเหลว
•ดังนั้นการเป็นหุ้นส่วนกับพระวิญญาณ จึงไม่มีคำว่า ล้มเหลว หรือขาดทุน

•เมื่อเราเชื่อฟังหุ้นส่วนใหญ่ เราก็จะได้เห็นว่า ชีวิตของเราเติบโตเป็นไปตามที่สวรรค์ตั้งใจให้เป็น กำไลชีวิตเป็นของเรา

•พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้กระทำให้ถ้อยคำในพระวจนะที่เป็นตัวอักษรที่เขียนขึ้นนั้น สำเร็จเป็นจริง ในภาคปฏิบัติ
•หุ้นส่วนของพระองค์ในทุกระดับ จะได้รับการป้อนข้อมูล คำชี้แนะ และการให้ทิศทางก่อนการตัดสินใจ (นั่นหมายถึง เราซึ่งเป็นหุ้นส่วนระดับต่าง ๆ ของพระองค์ต้องตัดสินใจเอง อยู่ที่ว่าใครจะตัดสินใจตามการชี้แนะของพระองค์หรือไม่

•ให้เราจำไว้ว่า ประตู officeของพระองค์เปิดอยู่เสมอ


•ไม่เพียงแค่เราร่วมในชัยชนะและความสำเร็จของพระองค์ แต่พระองค์ยังสร้างเราขึ้นตามผลแห่งการที่เราเชื่อฟังคำแนะนำของพระองค์
•พระองค์ยังอยู่ร่วมในความล้มเหลวของเรา และท้าทายเราให้กล้าเผชิญหน้ากับสถานการณ์ในชีวิตจริงของเรา

โรม 8:26 ในทำนองเดียวกัน พระวิญญาณก็ทรงช่วยเราเมื่อเราอ่อนกำลังด้วย เพราะเราไม่รู้ว่าเราควรจะอธิษฐานขอสิ่งใดอย่างไร แต่พระวิญญาณทรงช่วยขอแทนเรา ในเมื่อเราคร่ำครวญอธิษฐานไม่เป็นคำ

•พระองค์ทรงเล้าโลมใจเรา และนำความชื่นชมยินดีมาถึง ท่ามกลางเวลาแห่งความโศกเศร้า
•ในการสนิทสนม เข้าร่วมกับพระวิญญาณนั้น ทุกสิ่งจะดำเนินไปด้วยกันอย่างดี ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่รักพระองค์ (ซึ่งกล่าวไว้ในพระธรรม โรม บทที่ 8 ทั้งบท)

3.เคลื่อนไปด้วยกันกับพระองค์ (Transportation)

•การสนิทสนมกับพระวิญญาณอีกภาพหนึ่งก็คือ การเคลื่อนไปกับพระวิญญาณ (moving together with)
•นี่เป็นภาพเหมือนกับการขนส่ง เรารู้ใช่ไหมว่า ความก้าวหน้าของเมืองดูได้จากระบบการขนส่ง

•ชาวอียิปต์ มีการผสมผสานการเดินทางทั้งทางบกและทางน้ำ ส่วนชาวโรมันก็ก่อสร้างถนนหนทางมากมาย สังคมสมัยใหม่ เห็นความสำคัญของการขนส่ง และพัฒนาการขนส่งให้เจริญอย่างดีเยี่ยม
•เช่นเดียวกันกับเรื่องจิตวิญญาณในการสนิทสนมกับพระวิญญาณบริสุทธิ์
•เรารู้ใช่ไหมว่า พระวิญญาณ ได้ขนส่ง หรือนำเอาสิ่งที่เราร้องทูลออกจากใจของเรา ไปถึงพระทัยของพระบิดา

โรม 8:26 …. เพราะเราไม่รู้ว่าเราควรจะอธิษฐานขอสิ่งใดอย่างไร แต่พระวิญญาณทรงช่วยขอแทนเรา ในเมื่อเราคร่ำครวญอธิษฐานไม่เป็นคำ


•บางทีเราก็ไม่รู้ว่าเราจะขอสิ่งใด อย่างไร เพื่อให้ได้รับคำตอบ
•แต่พระวิญญาณทรงเข้าใจในความปรารถนาของเราในคำอธิษฐานนั้น แม้มันอาจจะเป็นความปรารถนาที่ลึกซึ้งเกินกว่าที่จะพูดออกมาเป็นคำพูดได้หมดสิ้น
•ระบบการขนส่งของพระวิญญาณ ตัวอย่างเช่น การพูดภาษาพระวิญญาณ ซึ่งเป็นของประทานที่มหัศจรรย์แก่ทุกคนที่ได้บัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระวิญญาณได้ประทานแก่เราเพื่อสื่อสารกับองค์พระผู้เป็นเจ้า และเราสามารถสื่อสารกับพระเจ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ภาษาสวรรค์ที่พระเจ้าให้แก่เรา

•นี่เป็นของประทานที่พระเจ้าให้อย่างเป็นส่วนตัวมาก เป็นภาษาอธิษฐานที่ให้เพื่อสื่อสารต่อพระองค์อย่างเฉพาะเจาะจง
•โดยการพูดภาษาพระวิญญาณบ่อย ๆ อย่างตั้งใจ เป็นช่องทางที่พระเจ้าช่วยให้เราเติบโตขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ พระเจ้าเองจะเป็นผู้สอนเราอย่างลับเฉพาะบุคคล ซึ่งเรารับได้โดยความเชื่อ
• พระเจ้าให้เราเพื่อเราจะพูด สื่อสาร (ไม่ใช่เราเพียงแต่รู้ว่าพระเจ้าให้ แต่ไม่ใช้ไม่พูด ) ให้เราได้พูดภาษาพระวิญญาณมากขึ้น ภาษาพระวิญญาณเป็นภาษาที่พระเจ้าให้แก่เรา และช่วยเติมเต็มจิตวิญญาณแก่เรา
•พระวจนะกล่าวว่า พระวิญญาณจะหลั่งไหลจากใจของผู้ที่แสวงหานั้น

ยอห์น 7:38 ผู้ที่วางใจในเราตามที่มีคำเขียนไว้แล้วว่า "แม่น้ำที่มีน้ำธำรงชีวิต จะไหลออกมาจากภายในผู้นั้น"

•โดยให้ภาพของพระวิญญาณเป็นดังน้ำไหล ที่ธำรงชีวิต นั่นหมายถึง ชีวิตที่ไม่มีพระวิญญาณ ก็เหมือนกับชีวิตที่ขาดน้ำ แห้งเหี่ยว เฉา และทรุดโทรมไป

•ในภาษาอังกฤษฉบับแปลขยายความ(AMP :AMPLIFIED BIBLE) ใช้ว่า From his innermost being will flow rivers of living water.

•นั่นคือ มรดกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ก็คือ จิตวิญญาณภายในได้สัมผัสกับพระวิญญาณบริสุทธิ์

• วันนี้สิ่งมีค่าที่สุดในชีวิตของเรา ไม่ใช่สิ่งมีค่าของโลก แต่คือ การที่จิตวิญญาณภายในได้สัมผัสกับพระวิญญาณ และได้ดำเนินเคลื่อนไปกับพระองค์ เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม เอเมนไหมครับ...

25 พฤษภาคม 2553

ของประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์ (Spiritual Gifts)

ทำความเข้าใจเรื่องของประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์

เมื่อเรามารู้จักพระเจ้า พระองค์ได้ประทานของประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่ผู้เชื่อทุกคนอย่างน้อยคนละ 1 อย่าง เพื่อเราจะใช้ของประทานเหล่านั้นในการเสริมสร้างชีวิตกันและกัน ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจในเรื่องนี้และสำรวจดูของประทานในชีวิตของเราและใช้อย่างเต็มกำลังเพื่อเสริมสร้างคริสตจักรของพระองค์ให้จำเริญขึ้น

1.พระเจ้าเป็นผู้ริเริ่มและกำหนดของประทานแก่ผู้เชื่อแต่ละคน

1 คร.12:8 พระเจ้าทรงโปรดประทานโดยทางพระวิญญาณ ให้คนหนึ่งมีถ้อยคำประกอบด้วยสติปัญญา และให้อีกคนหนึ่งมีถ้อยคำอันประกอบด้วยความรู้ แต่เป็นพระวิญญาณองค์เดียวกัน

•พระคัมภีร์ตอนนี้กล่าวให้เราเข้าใจว่า พระเจ้าทรงเป็นผู้ประทานของประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์ ของประทานเหล่านี้จึงเป็นของพระเจ้า มิใช่ของมนุษย์ และของประทานเหล่านี้มิได้เกิดจากความปรารถนาของมนุษย์คนใดคนหนึ่ง
•ของประทานจึงมิได้มีไว้เพื่อโอ้อวดกัน แต่เพื่อให้เราได้ใช้ตามน้ำพระทัยพระเจ้า
•1 คร.7:7 กล่าวว่าพระเจ้าเป็นผู้กำหนดของประทานให้แก่แต่ละคนอย่างเฉพาะเจาะจง อย่างน้อยคนละหนึ่งอย่างตามชอบพระทัยพระองค์ (1 คร.12:11)
•หากเรารู้ว่า เรามีของประทานอย่างใด เราควรตระหนักว่าพระเจ้าเป็นเจ้าของของประทานนั้น และใช้โดยตั้งใจถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าเสมอ

2. ของประทานมีความหลากหลายแตกต่างเพื่อเสริมสร้างกัน

1 คร.12:4 ของประทานนั้นมีต่างๆ กัน…

•จากพระคัมภีร์ข้อนี้ทำให้เรารู้ว่าของประทานนั้นมีหลากหลาย ดังตัวอย่างใน
1 คร.8-10

พระเจ้าทรงโปรดประทานโดยทางพระวิญญาณ ให้คนหนึ่งมีถ้อยคำประกอบด้วยสติปัญญา และให้อีกคนหนึ่งมีถ้อยคำอันประกอบด้วยความรู้ แต่เป็นพระวิญญาณองค์เดียวกัน และให้อีกคนหนึ่งมีความเชื่อ แต่เป็นพระวิญญาณองค์เดียวกัน และให้อีกคนหนึ่งมีความสามารถรักษาคนป่วยได้ แต่เป็นพระวิญญาณองค์เดียวกัน และให้อีกคนหนึ่งทำการอิทธิฤทธิ์ต่างๆ และให้อีกคนหนึ่งเผยพระวจนะได้ และให้อีกคนหนึ่งรู้จักสังเกตวิญญาณต่างๆ และให้อีกคนหนึ่งพูดภาษาแปลกๆ และให้อีกคนหนึ่งแปลภาษานั้นๆ ได้

•ของประทานมีความหลากหลาย เปรียบเหมือนกับอวัยวะในร่างกายที่มีความแตกต่างกันไป และมีหน้าที่แตกต่างกัน
•ความแตกต่างนี้ มิได้มีไว้เพื่อเปรียบเทียบกัน แต่มีไว้เพื่อเสริมสร้างกัน ความแตกต่างมิได้ทำให้คุณค่าแตกต่างกัน เพราะไม่ว่าของประทานจะเป็นสิ่งใด แต่เราได้รับจากพระเจ้าองค์เดียวกัน และของประทานทุกอย่างล้วนมีคุณค่าเหมือนกันในสายพระเนตรของพระเจ้า พระคัมภีร์ได้กล่าวถึงเรื่องคุณค่านี้ไว้ โดยใช้ภาพอวัยวะมาเปรียบเทียบให้เราเข้าใจ (1 คร.12:14-27)
•ฉะนั้น ในการรับใช้พระเจ้าร่วมกัน เราควรมีความคิดต่อความแตกต่างของของประทานอย่างถูกต้อง ไม่คิดเปรียบเทียบอย่างผิดๆ ไม่มีการแก่งแย่งชิงดีกัน ไม่มีความคิดอิจฉากันหรือดูถูกดูแคลนกัน (1 คร.12:25)

3.ของประทานไม่ได้มีเพื่อตนเอง แต่มีเพื่อเสริมสร้างพระกาย

1 คร.12: 7 การสำแดงของพระวิญญาณนั้นมีแก่ทุกคนเพื่อประโยชน์ร่วมกัน

•จุดประสงค์ที่พระเจ้าประทานของประทานแก่ผู้เชื่อก็เพื่อให้ใช้เป็นประโยชน์ร่วมกัน เพื่อให้ผู้เชื่อแต่ละคนมีส่วนเสริมสร้างคริสตจักรให้จำเริญขึ้นตามน้ำพระทัยพระเจ้า ของประทานเหล่านี้มิได้ประทานให้เพื่อนำมาหาผลประโยชน์ใส่ตัว แต่เพื่อเสริมสร้างพี่น้องคนอื่นๆ ในพระกายของพระคริสต์ (1 คร.14:12)
•เราจึงควรสำรวจดูว่า ของประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์ในชีวิตของเราคืออะไร เพื่อเราจะใช้ของประทานนั้นในการมีส่วนในงานของพระเจ้าอย่างเต็มกำลัง ดังที่ 1 ปต.4:10 กล่าวว่า ตามซึ่งทุกคนได้รับของประทานที่ทรงประทานให้แล้ว ก็ให้ใช้ของประทานนั้นเพื่อประโยชน์แก่กันและกัน เป็นผู้รับมอบฉันทะที่ดี ที่แจกและสำแดงพระคุณนานาประการของพระเจ้า
•พระเจ้าปรารถนาให้เราใช้ของประทานด้วยมีแรงจูงใจที่ถูกต้อง และในวันสุดท้าย เราจะต้องกล่าวรายงานต่อพระเจ้า (รม.14:10-11; 2 คร.5:9-10) วันนี้ เราได้ใช้ของประทานด้วยแรงจูงใจที่ถูกต้องหรือไม่

4.การใช้ของประทานต้องใช้อย่างเป็นเอกภาพ

1 คร.12:4 …แต่มีพระวิญญาณองค์เดียวกัน…

•ถึงแม้ว่าของประทานจะมีหลายอย่าง และมีความแตกต่างกัน แต่ว่าทุกของประทานนั้นมาจากพระวิญญาณองค์เดียวกัน

•ในทำนองเดียวกัน แม้ว่าอวัยวะในร่างกายจะมีความแตกต่างและหลากหลายก็ตาม แต่ร่างกายนั้นก็เป็นร่างกายเดียวกันและทำงานร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพได้ ไม่ขัดแย้งกันและไม่ก่อให้เกิดความสับสน วุ่นวาย
•พระเจ้าทรงเป็นพระเจ้าแห่งเอกภาพ และมีระบบระเบียบ ฉะนั้น สิ่งใดที่มาจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ ย่อมไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกันแต่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อเสริมสร้างซึ่งกัน และพระวิญญาณองค์เดียวกันนี้เองจะทำให้เราทั้งหลายมีความเป็นเอกภาพ เราจึงต้องใช้ของประทานที่ได้รับมานี้โดยให้พระวิญญาณของพระเจ้าเป็นผู้ควบคุม ไม่ใช่ด้วยความรู้สึกนึกคิดหรือความสามารถของตัวเราเอง

•เราทุกคนซึ่งเป็นผู้รับใช้ของพระเยซูคริสต์ อาจจะมีความแตกต่างกัน เช่น ต่างความคิด ต่างความเข้าใจ ต่างความสามารถ แต่เราสามารถรับใช้พระเจ้าร่วมกันได้อย่างดีเพราะเราอยู่ภายใต้การนำของพระวิญญาณองค์เดียวกัน เราจึงควรพึ่งพาพระวิญญาณบริสุทธิ์อยู่เสมอในการใช้ของประทานในคริสตจักร

22 พฤษภาคม 2553

วันเพ็นเทคอสต์ เปิดพระพรจากสวรรค์ ปลดปล่อยชีวิตใหม่

เนื่องจากในวันที่ 23 พ.ค.2010 นี้เป็นวัน “เพ็นเทคอสต์" (Pentecost) ซึ่งอีกวันหนึ่งที่สำคัญต่อคริสตชนคือเป็นวันที่ระลึกถึงเหตุการณ์ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จลงมา ตามพระสัญญาของพระเจ้าในสมัยอัครทูต (กิจการฯ บทที่ 2)และเป็นวันสถาปนาคริสตจักรอย่างเป็นทางการ


ในพันธสัญญาเดิม “เพ็นเทคอสต์” เป็นงานฉลองประจำปีที่ต่อจากเทศกาลผลแรก หรือวันที่ 50 นับจากวันปัสกา(Passover) (เทียบกับปัจจุบันก็คือ วันอีสเตอร์(Easter)วันฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซู ที่จริงแล้วใช้คำว่า ปัสกา น่าจะเหมาะสมมากกว่า เพราะEaster เป็นชื่อเทพเจ้าฤดูใบไม้ผลิของพวก Anglo xagon ปัสกาเป็นการระลึกถึงการที่พระเจ้าปลดปล่อยชนชาติอิสราเอลพ้นจากการเป็นทาสในอียิปต์)

เทศกาล “เพ็นเทคอสต์” เทศกาลหรือเทศกาลสัปดาห์ เป็น 1 ใน 3 เทศกาลสำคัญของคนยิว เป็นเทศกาลขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับพืชผลที่เกี่ยวเก็บได้ ภาษาฮีบรู การเฉลิมฉลองนี้เรียกว่า Shavuot (ชาวูโอต) ซึ่งหมายถึง การเลี้ยงเฉลิมฉลองในเทศกาลสัปดาห์ (Feast of weeks)


ในพระคัมภีร์ใหม่ เรียกใหม่ว่า เพ็นเทคอสต์ ซึ่งเป็นคำในภาษากรีก (Ancient Greek: πεντηκοστή [ἡμέρα], pentekostē [hēmera],หมายถึง 50

เพ็นเทคอสต์ จึงเป็นเวลาแห่งการมอบถวายแด่พระเจ้า ที่พระองค์ทรงอวยพระพรจากฟ้าสวรรค์มาถึงชีวิตของเรา

เพ็นเทคอสต์ เป็นวันที่พระเจ้าเปิดฟ้าสวรรค์ เพื่อสำแดงพระวจนะของพระองค์

เมื่อคนอิสราเอล ออกจากอียิปต์ พระเจ้าไม่ได้นำพวกเขามุ่งไปยังดินแดนพันธสัญญา โดยตรง แต่พระองค์มีบางสิ่งบางอย่างที่สำคัญที่ต้องการสื่อสารให้พวกเขารู้ และเข้าใจ พระองค์นำพวกเขามุ่งไปยังทางใต้ของ Sinai Peninsula ไปยังภูเขาโฮเรบ หรือ ซีนาย
ห้าสิบวันหลังเทศกาลปัสกาที่เขาออกจากอียิปต์ พระเจ้านำโมเสสให้ขึ้นไปที่ยอดภูเขา ที่นั่นฟ้าสวรรค์เปิดออก และพระเจ้าให้ โทราห์ แก่เขา (กล่าวไว้ในอพยพ 19-20) เพื่อเป็นถ้อยคำของพระองค์แก่ชนชาติอิสราเอล
ดังนั้นช่วงวันเพ็นเทคอสต์ เราควรจะอุทิศตนเพื่อศึกษาและใคร่ครวญพระวจนะ

ในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ได้บันทึกถึงเหตุการณ์ที่พระเยซูคริสต์เปิดขึ้นมาจากความตายในช่วงเทสกาลปัสกาและอยู่กับสาวกอีก 40 วัน และก่อนที่พระเยซูคริสต์จะเสด็จขึ้นสวรรค์พระองคืให้สาวกไปรอคอยที่เยรูซาเล็มและหลังจากนั้นพระวิญญาณก็เสด็จมา(กิจการฯ บทที่ 2) นับแล้วก็ 50 วันหลังจากปัสกาพอดี
(ในปีนี้มีเทศกาลปัสกาหรือเรียกแบบทั่วไปคืออีสเตอร์ เมื่อ 4เม.ย.ดังนั้นปีนี้ก็ตรงกับวันที่ 23 พ.ค.)

ในวันเพ็นเทคอสต์ เป็นช่วงเวลาแห่งการเทลงมาของพระวิญญาณ พวกสาวกถูกปกคลุมด้วยฤทธิ์อำนาจของพระเจ้า และเต็มด้วยของประทานฝายวิญญาณ การเจิมของพระเจ้าทำให้พวกเขารักษาคนป่วยหาย คนอยู่ในพันธนาการได้รับการปลดปล่อย และพระกิตติคุณของพระเจ้าถูกประกาศออกไป และกระทำให้โลกเปลี่ยนแปลง

ฉะนั้นในวันเพ็นเทคอสต์ เราในฐานะคริสตชนจึงควรเข้ามาแสวงหาความสดใหม่ในพระวิญญาณ รับประสบการณ์แห่งพระวิญญาณมากยิ่งขึ้น รับประสบการณ์แห่งการอวยพรจากพระวิญญาณ รับไฟของพระเจ้าเพื่อเสริมกำลัง และปลดปล่อยของประทานในการรับใช้พระองค์ สรรเสริญขอบคุณพระเจ้าที่พระองค์ปลดปล่อยฤทธิ์อำนาจของพระองค์บนแผ่นดินโลก

ขอพระเจ้าอวยพระพรครับ

กิจการของอัครทูต 1:8 แต่ท่านทั้งหลายจะได้รับพระราชทานฤทธิ์เดช เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์จะเสด็จมาเหนือท่าน และท่านทั้งหลายจะเป็นพยานฝ่ายเราในกรุงเยรูซาเล็ม ทั่วแคว้นยูเดีย แคว้นสะมาเรีย และจนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก"

20 พฤษภาคม 2553

พลิกฟื้นชุมชน พลิกวิกฤตเป็นโอกาสการอวยพระพรของพระเจ้า

พลิกฟื้นชุมชน พลิกวิกฤตเป็นโอกาส การอวยพระพรของพระเจ้า
(Transformation : turning the crisis as an opportunity for receiving blesses.)

(บทความนี้ลงในข่าวคริสตชน วันที่ 25 มิ.ย.2010)
http://groups.google.com/group/christianthai/browse_frm/thread/15e7816e7f778fed#

จากเหตุการณ์บ้านเมืองไทยของเราในปัจจุบันที่เกิดเหตุวินาศกรรม ทั้งเหตุไฟไหม้อาคารห้างสรรพสินค้า ธนาคารและสถานที่ราชการหลายแห่ง นำมาซึ่งการสูญสียทั้งทรัพย์สิน และขวัญกำลังใจในการดำเนินชีวิต

ผู้คนอยู่ในสถาวะโศกเศร้า “เราจะอยู่กันอย่างไร” เป็นประโยคที่ถูกตามกัน อาคารสถานที่อาจจะพอซ่อมสร้างใหม่ได้ แต่สภวะทาง จิตใจต้องใช้ระยะเวลาในการเยียวยา นานพอสมควร สภาพบ้านเมืองของเราอยู่ในสภาวะวิกฤตการณ์อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

ผมในฐานะของคริสตชนคนไทยคนหนึ่ง ขอเสนอความคิดเห็นว่า เราน่าจะใช้โอกาสนี้พลิกฟื้นชุมชน โดยเริ่มต้นจากชุมชนใกล้ตัว ทั้งครอบครัว โรงเรียนและชุมชนศาสนา

การรื้อฟื้นจริยธรรมต้องเป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อการเยียวยารักษาประเทศไทยจะเกิดขึ้น

ผมเชื่อว่าเมื่อเราลุกขึ้นช่วยกันพลิกฟื้นชุมชน จะเห็นสิ่งที่ดีงามเกิดขึ้นและเมื่อเราช่วยกันร้องทูลอธิษฐานอย่างวิงวอน องค์พระผู้เป็นเจ้าจะทรงสดับฟัง และพระองค์จะให้อภัยแก่บาปของเราและจะรักษาแผ่นดินของเราให้หาย ให้คืนกลับสู่สภาพดี

หนังสือ หนึ่งในพระวิญญาณเพื่อการพลิกฟื้นชุมชนของ รูธ รุยบอล (Root Ruibal) ได้เขียนเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองคาลี เมืองที่เต็มไปด้วยความบาปของประเทศโคลัมเบีย และบทบาทของคริสเตียนที่นั่น ที่ได้ลุกขึ้นเอาจริงเอาจังในการอธิษฐานเผื่อเมือง

เธอกล่าวว่า “เมืองคาลีตกอยู่ในสภาพที่สิ้นหวัง เป็นที่รู้จักดีว่าเมืองคาลีมีขบวนการค้ายาเสพติด ซึ่งเป็นหนึ่งในขบวนการอาชญากรรมที่เป็นระบบที่สุดในโลก เนื่องจากการฆาตกรรม การลักพาตัว การทรมาน และอื่น ๆ ตอนแรกดูเหมือนไม่มีใครสนใจความเป็นไปของเมือง ความเจริญทางวัตถุทำให้พวกเขาไม่เห็นสภาพที่แท้จริงของเมือง แต่ต่อมามันกลายเป็นความวิตกทางสังคมที่มากและเพิ่มขึ้น”

นี่จึงเป็นสาเหตุให้กลุ่มคริสเตียนเริ่มต้นจับกลุ่มกันติดตามความเป็นไปของเมือง พวกเขากล่าวว่า “เมืองของเราจะพินาศฝ่ายวิญญาณหากไม่มีการแทรกแซงที่รุนแรง”

กลุ่มศิษยาภิบาลจากที่ต่าง ๆ ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ค่อยได้พบปะกัน ได้เริ่มต้นพูดคุยกันถึงปัญหาของเมือง และเริ่มมีการจัดการอธิษฐานเพื่อเมืองอย่างแท้จริงพวกเขาเชื่อว่าพระเจ้าจะทรงเคลื่อนไหวในเมือง ดังนั้นจึงมีการจัดอธิษฐานโต้รุ่งหลายต่อหลายครั้ง
พวกเขาอธิษฐานเพื่อต่อต้านความบาปทุกรูปแบบ ทั้งอธิษฐานต่อต้านการฉ้อโกง อธิษฐานขอการยุติความรุนแรง อธิษฐานเผื่อปัญหายาเสพติดให้หมดไป

จากการอธิษฐานเล็ก ๆ กลายเป็นการรวมพลังที่ยิ่งใหญ่ ทุกคนกลับไปด้วยภาระใจว่า จะลุกขึ้นปกป้องเมืองคาลีและยังมีการแยกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ และอธิษฐานตามที่สำคัญทั่วเมือง

รูธ รุยบอล กล่าวว่า “เมื่อคนแห่งความเชื่อเพียงไม่กี่คนพบกัน เพื่ออธิษฐานเผื่อชุมชนก็จะมีฤทธิ์เดช อย่าดูหมิ่นวันเล็กน้อย เมื่อพระเจ้าทรงเริ่มตอบคำอธิษฐานเหล่านั้น คนอื่นจะถูกดึงดูดเข้ามา คนเพียงสองคนหรือสามคนร่วมใจกันอธิษฐานและอดอาหารก็เพียงพอที่จะจุดไฟ และการพลิกฟื้นเมืองคาลีก็ได้ค่อย ๆ เกิดขึ้น เมื่อทุกคนลุกขึ้นเพื่อเมืองอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน


นี่เป็นตัวอย่างของคริสเตียนในเมืองคาลี ประเทศโคลัมเบีย ที่มีใจปรารถนาจะมีส่วนช่วยกันพลิกฟื้นเมืองให้บริสุทธิ์ เป็นเมืองที่น่าอยู่และสงบสุข

ในพระวจนะของพระเจ้าในหนังสือพงศวารบันทึกไว้ว่า

2 พศด.7:14-15
14 ถ้าประชากรของเราผู้ซึ่งเขาเรียกกันโดยชื่อของเรานั้นจะถ่อมตัวลง และอธิษฐานและ
แสวงหาหน้าของเรา และหันเสียจากทางชั่วของเขา เราก็จะฟังจากสวรรค์ และจะให้อภัยแก่
บาปของเขาและจะรักษาแผ่นดินของเขาให้หาย
15 และตาของเราจะลืมอยู่และหูของเราจะฟังคำอธิษฐานซึ่งเขาทั้งหลายอธิษฐาน ณ สถานที่นี้


พระธรรมตอนนี้ เป็นพระสัญญาที่พระเจ้าให้ไว้แก่ซาโลมอนว่า หากชนอิสราเอลกระทำความผิดบาป การพิพากษาลงโทษของพระเจ้าก็จะมาถึงชุมชนของเขา ไม่ว่าจะเป็นการกันดารอาหาร โรคระบาด หรือแมลงศัตรูพืชระบาด อันเป็นสภาพของความสูญเสีย และเสียหายต่อทั้งแผ่นดินอิสราเอล แต่หากประชาชนหันหลังกลับจากบาปและกลับมาแสวงหาพระเจ้า พระองค์จะทรงรักษาแผ่นดินให้หาย และนำการอวยพรของพระเจ้ากลับคืนมา จากพระธรรมตอนนี้ เราสามารถเห็นถึงวิถีของการพลิกฟื้นชุมชน ให้พ้นจากสภาพความผิดบาป ความเสื่อมโทรม กลับมาเป็นชุมชนที่บริสุทธิ์และเต็มเปี่ยมด้วยการอวยพรของพระเจ้า อันเป็นน้ำพระทัยที่พระเจ้ามีต่อชีวิตของเราได้ ดังนี้

หนทางสู่การพลิกฟื้นชุมชน (The ways to transform the community)

เราจะนำการพลิกฟื้นมาสู่ชุมชนที่เราอยู่ได้อย่างไร

1. การพลิกฟื้นชุมชนเริ่มต้นที่คนของพระเจ้า (ข้อ 14) (Transformation starts from the people of God)

พระวจนะกล่าวว่า “ถ้าประชากรของเราผู้ซึ่งเขาเรียกกันโดยชื่อของเรานั้นจะถ่อมตัวลง และอธิษฐานและแสวงหาหน้าของเรา และหันเสียจากทางชั่วของเขา เราก็จะฟังจากสวรรค์ และจะให้อภัยแก่บาปของเขา และจะรักษาแผ่นดินของเขาให้หาย”

การพลิกฟื้นชุมชนต้องเริ่มต้นที่คนของพระเจ้า เนื่องจากสภาพความเสื่อมโทรมทั้งทางวัตถุ และทางจริยธรรมในสังคมนั้น ล้วนเกิดจากความผิดบาป และพระเจ้าไม่สามารถอวยพรชุมชนนั้นได้ คนของพระเจ้าจึงจำเป็นต้องนำความชอบธรรมของพระเจ้าลงมา โดยการถ่อมตัวลงอธิษฐานแสวงหาพระเจ้า และหันเสียจากความบาป ลุกขึ้นทำการดีเพื่อสังคมและคนรอบข้าง ดังที่พระเจ้าทรงตั้งเราไว้ให้เป็นเกลือและแสงสว่าง เริ่มต้นจากตัวเราเอง จนสามารถส่งอิทธิพลที่ดีต่อคนทั้งสังคมได้

ทุกคนในชุมชนต้องมีส่วนช่วยกัน (ข้อ 15) Everyone in the community must participate

พระวจนะกล่าวว่า “...ซึ่งเขาทั้งหลายอธิษฐาน ณ สถานที่นี้” เห็นได้ว่า ไม่เพียงแต่ผู้เชื่อเพียงคนเดียว แต่ทุกคนในชุมชนมีส่วนช่วยกันในการพลิกฟื้นชุมชน แม้ว่าการริเริ่มอาจจะเริ่มที่คนหนึ่งคน แต่หากจะทำให้การพลิกฟื้นชุมชนมีพลังต้องเกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของทุกคนในสังคม โดยหนุนใจกันและกันให้มากขึ้นในการมาอธิษฐานเผื่อชุมชนที่เราอยู่ สารภาพบาปเผื่อชุมชน และร่วมแรงร่วมใจทำสิ่งดีที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนในภาคปฏิบัติ

เราทุกคนสามารถมีส่วนร่วมกัน ในบทบาทที่เราเป็นอยู่ ทำในสิ่งที่เราเป็นให้ดีที่สุด เมื่อทุกคนทำบทบาทของเราเราก็จะเป็นเหมือนฟันเฟืองที่เป็นกลไกลขับเคลื่อนการทำงานของเครื่องจักรให้ทำงานต่อไปได้ หากส่วนหนึ่งหยุดทำงาน เครื่องจักรก็จะรับผลกระทบไปด้วย

จอร์จ วอลตัน ลูคาส จูเนียร์ (George Walton Lucas, Jr.) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์
ผู้อำนวยการสร้าง ผู้เขียนบทภาพยนตร์ ชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงจากภาพยนตร์ชุดไตรภาคสตาร์ วอร์ส และอินเดียน่า โจนส์
ได้กล่าวว่า “ผมไม่เสียใจกับสิ่งที่ผมทำลงไป แต่เสียใจกับสิ่งที่ไม่ได้ทำมากกว่า”
“I regret not things I have done; only those I have yet to do”


บางครั้งเราจะเป็นคนที่เสียใจเสมอเมื่อเหตุการณ์เลวร้ายเกิดขึ้นไปแล้วเราจะต้องเสียใจที่เราไม่ได้ทำในสิ่งที่เราตั้งใจจะทำ มันสายเกินไปที่จะพูดอย่างนั้น

2.พระเจ้าทรงเป็นคำตอบของการพลิกฟื้นชุมชน (ข้อ 14ค) (God is the answer of transformation.)

เมื่อเราทำในส่วนของเราอย่างเต็มที่ด้วยหัวใจปรารถนาการพลิกฟื้นชุมชนแล้ว พระเจ้าตรัสว่า “...เราก็จะฟังจากสวรรค์ และจะให้อภัยแก่บาปของเขา และจะรักษาแผ่นดินของเขาให้หาย”

พระคัมภีร์ได้กล่าวถึงพระสัญญาของพระเจ้าที่จะฟัง ให้อภัยและรักษาแผ่นดินให้หาย พระเจ้าจะนำการพลิกฟื้นชุมชน
การพลิกฟื้นชุมชนของพระเจ้าเป็นการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่เสียหายให้กลับเป็นดี

คำว่า “รักษาให้หาย” ในภาษาเดิมมาจากคำว่า “รา-ฟา” ให้ความหมายถึง การเยียวยารักษา การซ่อมแซมให้กลับดีดังเดิม เราทั้งหลายกล่าวพระนามของพระเจ้าว่า “พระเยโฮวาห์ ราฟา พระผู้เป็นแพทย์ที่ประเสริฐ” และพระองค์ทรงนำการเกิดผลที่ดีมาสู่ชุมชน

ถ้าคนลุกขึ้นกลับใจ ไม่ดำเนินในความบาป ในความอธรรม พระเจ้าจะช่วยให้สังคมนั้น ชุมชนนั้น กลับมาดำเนินชีวิตที่ดีดังเดิมได้

“ทำให้ดีดังเดิม” มีหมายความว่า เป็นครอบครัว เป็นชุมชน เป็นสังคมที่สงบสุขได้

ชุมชนจะทวีความสงบสุขได้มากขึ้นเพียงไร อยู่ที่ว่าคนกลับใจจากบาปมากเท่าไร

ดังนั้น ในฐานะที่เราเป็นคริสเตียน เริ่มต้นที่เราสิครับที่จะลุกขึ้นฉายแสง นำความสว่างไปถึงชีวิตของผู้คน ดังที่พระวจนะในพระธรรม อิสยาห์บทที่ 60 บอกว่า “จงลุกขึ้นฉายแสง” นำสัจธรรมของพระเยซูคริสต์ไปนั่งในหัวใจของทุกคน ทั้งโดยทางตรง คือ การประกาศข่าวประเสริฐ และโดยทางอ้อม คือ การเป็นเกลือและแสงสว่าง ทำดีเพื่อสังคม
ทุกสิ่งเป็นไปได้ ถ้าเรามีความมุ่งมั่นที่จะทำมัน

อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln) กล่าวว่า “เมื่อแน่ใจว่ายืนถูกที่แล้ว ยืนให้มั่น”
“Be sure you put feet is the right place, then stand firm”


วันนี้ขอให้เรารักษาความมุ่งมั่นของเราไว้ สิ่งที่ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้จะเป็นไปได้ ด้วยมือของเราที่นำการเปลี่ยนแปลง พลิกฟื้นชุมชน พลิกวิกฤตสู่โอกาสแห่งการอวยพระพรของพระเจ้า

พระเจ้าจะอวยพรความตั้งใจของเรา และจะนำชุมชนกลับคืนสู่สภาพดี คือเป็นชุมชนที่มีจริยธรรมดีงาม สงบสุข มีการเกิดผล และเจริญรุ่งเรือง
………………………………………………………………………

19 พฤษภาคม 2553

ประสบการณ์การล้มในพระวิญญาณ

(จากข้อเขียนของ Bill Jackson)

เมื่อมีการทรงสถิตของพระเจ้าในที่ประชุม ประสบการณ์หนึ่งที่เรามักจะพบกับการล้มพระวิญญาณในที่ประชุม เราเห็นบางคนล้มลงนอนกับพื้น เขาเหล่านั้นนอนนานพอสมควรกว่าที่จะลุกขึ้นมาได้ หากเราศึกษาพระคัมภีร์จะเห็นได้จากพระคำหลายตอน

เราเห็นในพงศาวดารว่า “ ปุโรหิตยืนปรนนิบัติไม่ได้ ” เพราะว่าพระสิริของพระเจ้าเต็มพระนิเวศของพระเจ้า ( 2พศด 5:14 , 1พกษ 8:1 ) คำว่า “ ยืน ” ในภาษาฮีบรูใช้คำว่า “Amad” แปลว่า “ ลุกขึ้นยืน” ถ้าเขาไม่สามารถลุกขึ้นยืนได้ มีบางอย่างเกิดขึ้นกับพวกเขา แน่นอนว่าพระสิริของพระเจ้าทำให้เขาเหล่านั้นล้มลง และลุกขึ้นไม่ได้ มีตัวอย่างในพระคัมภีร์เดิมและใหม่ คนที่มีประสบการณ์กับพระเจ้าในการสถิตอยู่ของพระเจ้าได้ยินพระสุรเสียงของพระเจ้าแต่ละคนจะล้มลง และลุกขึ้นไม่ได้

มีคนที่ขัดแย้งว่า จากพระคัมภีร์ เมื่อคนหนึ่งล้มเมื่อเขาได้สัมผัสกับพระสิริ การสถิตอยู่ของพระเจ้าหรือเมื่อได้ยินพระสุรเสียงของพระเจ้านั้น เขากราบลงด้วยความเคารพและยำเกรงพระเจ้า ถูกต้องในบางกรณี แต่ไม่ใช่ทุกกรณี โดยเฉพาะดูใน 2พศด 5: 14, ดนล.10:8-10 หรือเอเสเคียลผู้เผยพระวจนะล้มลงหลายครั้ง เมื่อท่านอยู่ในบริเวณของพระสิริของพระเจ้า อสค. 1:28, 3: 23 ในอสค. 44:4 ( I face down ) รากศัพท์ของภาษาฮีบรู คำว่า “ล้ม ” “ fall ” หรือ “ cast down ” ในที่นี้คือ “ Naphal ” คือการล้มที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจหรือคาดคิด ในพระคัมภีร์หลายตอนที่คนของพระเจ้าล้มลงนั้นเป็นการตอบสนองทางร่างกายต่อการสำแดงหรือการสถิตอยู่ของพระเจ้า

1. ปรากฏการณ์ที่ชัดมากที่สุดในการประชุมของเราคือ การล้มลงมักจะเรียกว่า “การพักผ่อนในพระวิญญาณ” จะยังคงมีสติแต่ติดต่อพระเจ้า พวกเขาจะรู้สึกหมดเรี่ยวแรงและไม่สามารถจะทำอะไรได้นอกจากพักผ่อนกับพระเจ้า

2. พระคัมภีร์ประกอบ
ปฐก 15: 12 อับรามก็หลับสนิทเวลานั้น ความกลัว และ ความมืดอย่างยิ่ง ก็มาทับถมอับราม.

And when the sun was going down, a deep sleep fell upon Abram; and, lo, an horror of great darkness fell upon him

ตามอักษรแล้วควรจะแปลว่า “การหลับสนิทหล่นใส่อับราม” คำฮีบรู radam หมายถึงการอยู่ในการหลับสนิทเป็นคำเดียวใช้เมื่อพระเจ้าทรงกระทำให้อาดับหลับเมื่อพระองค์ทรงสร้างเอวา (ปฐก. 2:21)

2พศด. 5:13-14 ในบริบทที่ว่า ปุโรหิตในพระนิเวศนมัสการและสรรเสริญพระเจ้าทันใดนั้น “พระนิเวศของพระเจ้าก็มีเมฆ เต็มไปหมด จนปุโรหิตจะยืนปรนนิบัติไม่ได้ ด้วยเหตุเมฆนั้น เพราะพระสิริของพระเจ้าเต็มพระนิเวศของพระเจ้า”

นี่เป็นพระคัมภีร์ที่น่าสนใจ ไม่ได้บอกว่า ปุโรหิตล้มลงแต่บอกว่า ภายใต้พระสิริของพระเจ้า พวกเขาไม่สามารถเคลื่อนไหว ไม่สามารถทำหน้าที่ สิ่งที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับคำฮีบรูที่แปลว่า “พระสิริ” (kabod) ซึ่งหมายถึงสิ่งที่หนัก ปรากฏการณ์การล้มลงหน้าพระพักตร์พระเจ้าอาจจะเข้าใจได้ว่าเป็นการถูกบังคับโดยน้ำหนักของพระเจ้าทำให้พวกเขาต้องล้มลง

ดนล. 8:17 “ท่าน (กาเบรียล) จึงมาใกล้... ข้าพเจ้าก็ตกใจซบหน้าลงถึงดิน
ดนล.10: 9 ในการพบทูตสวรรค์อีกครั้งหนึ่ง ดาเนียลกล่าวว่า “เมื่อข้าพเจ้าได้ยินเสียงถ้อยคำนั้น ข้าพเจ้าก็ซบหน้าลงสลบอยู่ หน้าของข้าพเจ้าฟุบกับดิน


กจ.9: 4 เซาโลจึงล้มลงถึงดิน และได้ยินพระสุรเสียงตรัสมาว่า “เซาโล เซาโลเอ๋ย เจ้าข่มเหงเราทำไม”
กจ.10: 10 ก็หิวกระหายจะรับประทาน แต่ในระหว่างที่เขายังจัดอาหารอยู่ เปโตรก็เข้าสู่ภวังค์


2คร. 12: 1-4 ข้าพเจ้าจำจะต้องอวด ถึงแม้จะไม่มีประโยชน์อะไร แต่ข้าพเจ้าจะเล่าต่อไปถึง่ นิมิตและการสำแดงซึ่งมาจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าได้รู้จักชายคนหนึ่ง ผู้เลื่อมใสในพระคริสต์ สิบสี่ ปี มา แล้ว เขา ถูกรับ ขึ้น ไป ยัง สวรรค์ ชั้น ที่ สาม (แต่ จะ ไป ทั้ง กาย หรือ ไป โดย ไม่ มี กาย ข้าพเจ้า ไม่ รู้ พระเจ้า ทรง ทราบ)... ข้าพเจ้าทราบ (แต่จะไปทั้งกายหรือไม่มีกายข้าพเจ้าไม่รู้พระเจ้าทรงทราบ) ว่าคนนั้นถูกรับขึ้นไปยังเมืองบรมสุขเกษม... และได้ยินวาจาซึ่งจะพูดเป็นคำไม่ได้และมนุษย์จะออกเสียงก็ต้องห้าม..


ตอนนี้ไม่ได้บอกว่า ท่านล้มลงแต่ประสบการณ์นี้ไม่ได้เป็นการฝันซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหลับ แต่ว่าเป็นนิมิตหรือการสำแดงนี่แสดงว่าท่านตื่นอยู่เมื่อมีการสำแดงนี้ ท่านอยู่ในลักษณะอยู่ในภวังค์ อาจจะอยู่ในท่านอน

3.ประวัติศาสตร์

ก. Jonathan Edwards: ผู้นำและนักศาสนศาสตร์เอกของการฟื้นฟู The Great Awakening ในสหรัฐ (1725-1760)
กล่าวไว้ในข้อเขียนของท่าน Account of the Revival of Religion in Northampton 1740-1742

ความรักต่อพระเจ้าของหลายคนได้เพิ่มมากขึ้นเกินกว่าที่พวกเขาเคยมีมาก่อน และในบางครั้งมีบางคนที่นอนอยู่ในลักษณะภวังค์ นอนนิ่งไม่เคลื่อนไหวเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ประสาทสัมผัสไม่ทำงาน แต่ในขณะเดียวกัน มีมโนภาพอย่างมาก เหมือนหนึ่งพวกเขาได้ไปสวรรค์และเห็นนิมิตของสิ่งที่มีสง่าราศีและน่าชื่นชมมาก บ่อยครั้งที่จะเห็นการร้อง เป็นลม การกระตุก และอื่น ๆ เกิดพร้อมความทุกข์ใจอีก ทั้งการยกย่องและชื่นชมยินดี ไม่ใช่เรื่องปกติสำหรับที่นี่ที่จะมีการประชุมทั้งคืน หรือเป็นปกติที่จะดำเนินไปจนดึกมาก แต่สิ่งนี้เกิดขึ้นบ่อยมากมีหลายคนที่ได้รับผลกระทบ และร่างกายของพวกเขาถูกครอบงำ จนไม่สามารถกลับบ้านได้ แต่จำเป็นต้องอยู่ตรงนั้นตลอดคืน

ข.Charles Finney (1792-1875) เป็นนักเทศน์ฟื้นฟูที่มีฤทธิ์อำนาจมากที่สุดคนหนึ่งตั้งแต่สมัยการปฏิรูป

ในชนบทแห่งหนึ่งชื่อเมืองโสโดม ในรัฐนิวยอร์ค Finney ได้บรรยายถึงสภาพของเมืองโสโดม ก่อนที่ถูกพระเจ้าทำลาย “ข้าพเจ้ากล่าวเช่นนี้ไปได้ไม่ถึง 15 นาที ก็มีความสงบที่น่าเกรงขามมา อยู่เหนือพวกเขา ผู้ฟังเริ่มล้มจากเก้าอี้ไปทุกทิศทุกทาง และร้องขอความเมตตา ถ้าข้าพเจ้ามีดาบอยู่ในมือแต่ละข้าง ข้าพเจ้าก็ไม่สามารถฟันพวกเขาให้ล้มลงได้เร็วเพียงนี้ ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาทีหลังจากที่พวกเขาตกใจ เกือบทั้งที่ประชุม ถ้าไม่คุกเข่าก็นอนราบอยู่ ทุกคนที่ยังพูดได้ก็อธิษฐาน ทุกคน” ภาพเดียวกันนี้มีให้เห็นในหลาย ๆ ที่

4. สรุป

จากข้อมูลในพระคัมภีร์ สิ่งที่เราพบอยู่นี้ มีทั้งที่เหมือนและไม่เหมือน เราเห็นชัดจากพระคัมภีร์ว่า เมื่อมีการสำแดงของการสถิตของพระเจ้า บางครั้งจะมีการล้มลง สาเหตุของการล้มในพระคัมภีร์นั้นมีแตกต่างกันไป ตั้งแต่การที่พระเจ้าทำให้มนุษย์หลับเพื่อจุดประสงค์เจาะจง ไปจนถึงล้มลงด้วยความกลัวในความบริสุทธิ์ ( Holy fear) การล้มที่เกือบจะเป็นการบังคับให้นอนเนื่องจากความเย่อหยิ่งและกบฏของมนุษย์

น่าสนใจ ที่หลายครั้งในพระคัมภีร์เป็นการล้มลงหน้าซบลง ตัวอย่างจาก Edwards และ Finney ดูเหมือนจะสนับสนุนรูปแบบที่หลากหลาย ในบันทึกของ Edwards ผู้ถูกครอบงำ ( overcome ) โดยการสถิตอยู่ของพระเจ้า แต่ของ Finney นั้นการล้มเกิดขึ้นจากความกลัวในความบริสุทธิ์ การล้มลงแบบที่เราพบอยู่เดี๋ยวนี้ ดูเหมือนเป็นแบบที่พระเจ้าทรงให้มนุษย์หลับเพื่อพระองค์ทำการบางอย่าง พักผ่อนหรือการรักษามากกว่าเป็นความโศกเศร้าในขณะที่บางคนล้มคว่ำหน้านั้น ปรากฏว่าคนส่วนใหญ่ล้มไปข้างหลัง Francis McNutt ( Overcome by the Spirit )เข้าใจว่า การล้มส่วนใหญ่ไปข้างหลังนั้นเกิดจากการรู้สึกถึงน้ำหนักของพระสิริของพระเจ้า ( kabod :Weight)

18 พฤษภาคม 2553

ประสบการณ์พระวิญญาณมีไว้เพื่ออะไร

(จากข้อเขียนของ Bill Jackson)

1.เพื่อแสดงว่าพระเจ้าทรงสถิตอยู่ที่นั่น

ในอพยพ 33: 14-16 ฝ่ายพระองค์ตรัสว่า "เราเองจะไปกับเจ้า” พระสัญญาว่าพระเจ้าจะสถิตอยู่ด้วยนั้นเป็นสิ่งที่ชี้ชัดว่าเป็นประชากรของพระเจ้า “จะทำอย่างไรจะทราบได้ว่า ข้าพระองค์และประชากรของพระองค์เป็นที่โปรดปรานของพระองค์ก็เมื่อพระองค์เสด็จ ขึ้นไปกับพวกข้าพระองค์ด้วยมิใช่หรือ ดังนี้ ข้าพระองค์และประชากรของพระองค์จึงแตกต่างกับชนชาติอื่น ๆ ทั่วพื้นแผ่นดินโลก

การสถิตอยู่ของพระวิญญาณในคริสเตียนและในคริสตจักรตั้งแต่กิจการบทที่ 2 พระเยซูตรัสกับสาวกของพระองค์ถึงพระวิญญาณว่า “พระองค์ทรงสถิตอยู่กับท่าน และจะประทับอยู่ในท่าน”บางครั้งพระเจ้าทรงอนุญาตให้เราเห็นการสถิตอยู่ของพระองค์เพื่อเสริมสร้างความเชื่อและสำแดงสิ่งที่พระองค์ทรงกระทำอยู่ พระเจ้าทรงอนุญาตให้การสถิตอยู่ของพระเจ้าปรากฏออกมา ปรากฏการณ์อาจจะเรียกว่า เป็นหมายสำคัญการพยากรณ์ เช่นเดียวกับที่เอเสเคียลและเยเรมีย์เป็นหมายสำคัญเน้นไปยังพระเจ้า


สำหรับผู้ที่ได้รับใช้โดยหมายสำคัญเหล่านี้ได้สังเกตว่า ปรากฏการณ์แต่ละอย่างจะบ่งบอกถึงสิ่งที่แตกต่างกัน

1. การสั่นบางอย่างจะมาก่อนการกล่าวคำพยากรณ์
2. การสั่นบางอย่างหมายถึงการได้รับฤทธิ์เดช
3. การเคลื่อนไหวของร่างกายบางอย่างแสดงว่ามีวิญญาณชั่วอยู่

2.เพื่อปลุกเราให้ตื่นขึ้น
อฟ.5: 14 เหตุฉะนั้นจึงมีคำกล่าวว่า นี่แน่ะคนที่หลับอยู่ จงตื่นขึ้น และฟื้นขึ้นมาจากความตายและพระคริสต์จะทรงส่องสว่างแก่ท่าน

3. เพื่อให้เราถ่อมลง
เมื่อ Randy Clack ถามพระเจ้าว่า ทำไมท่านจึงเป็นผู้ที่นำการฟื้นฟูมาที่เมื่องโตรอนโต พระเจ้าตรัสตอบว่าพระองค์มองหาผู้ที่พร้อมจะดู โง่เขลาในสายตาของคนทั่วไปเพื่อยกชูพระนามของพระองค์ สำคัญอยู่ที่การควบคุม พระเจ้าทรงต้องการทราบว่ามีใครในบรรดาคนของพระองค์ที่เต็มใจจะดูโง่เพื่อสง่าราศีของพระองค์

4.เพื่อเจิมเรา
การประกอบพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำได้อีก และเราได้รับคำสั่งให้มีประสบการณ์นี้อย่างต่อเนื่อง อฟ. 5:18 แต่จงประกอบด้วยพระวิญญาณ พระเจ้าทรงไว้ซึ่งอธิปไตยในการประทานความสามารถในการทำอัศจรรย์ต่าง ๆ

Charles Finney

พระวิญญาณเสด็จมาเหนือข้าพเจ้า ในแบบที่เหมือนกับผ่านตัวข้าพเจ้าทั้งร่างกายและวิญญาณ ข้าพเจ้าสามารถรู้สึกได้ เหมือนกับเป็นคลื่น ไฟฟ้า ผ่านตัวข้าพเจ้าหลายๆระลอก ความจริงเหมือนกับมาเป็นคลื่น เป็นคลื่นเหลวของความรักซึ่งข้าพเจ้าไม่สามารถ บรรยายเป็นแบบอื่นได้ เหมือนเป็นลมหายใจที่มาจากพระองค์เอง ข้าพเจ้ายังจำได้อย่างแม่นยำว่า ข้าพเจ้าเหมือนถูกกระพือด้วยปีกขนาดยักษ์ ไม่มีคำบรรยายความรักอันอัศจรรย์ซึ่งได้เข้ามาในใจของข้าพเจ้าได้ ข้าพเจ้าร้องไห้เสียงดังด้วยความยินดีและด้วยความรัก และข้าพเจ้าพูดออกมาเป็นคำที่ไม่สามารถพูดได้ออกมาจากใจ คลื่นนี้ได้เข้ามาในข้าพเจ้าระลอกแล้วระลอกเล่า จนกระทั่งข้าพเจ้าต้องร้องว่า “ข้าพเจ้าคงจะตายถ้าคลื่นเข้ามาในข้าพเจ้าต่อไป องค์พระผู้เป้นเจ้า ข้าพเจ้าทนไม่ได้อีกแล้ว “ถึงกระนั้น ข้าพเจ้าก็ไม่กลัวความตาย

Finney มีประสบการณ์การสำแดงอันยอดเยี่ยมโดยพระวิญญาณต่อไปสักพักหนึ่ง คลื่นของฤทธิ์เดชของพระวิญญาณไหลเข้ามาในตัวท่าน ผ่านตัวท่าน เร้าทุกอณูในร่างกายของท่าน
5. เพื่อดึงให้ความสำคัญต่อสิ่งต่าง ๆ มีความสอดคล้องกับของพระเจ้า
5.1 หมายสำคัญเป็นเครื่องชี้ ไม่ใช่เป้าหมาย เป้าหมายของเราคือเปลื่ยนแปลงให้เหมือนกับพระฉายของพระคริสต์ ( โรม 8:29 )

5.2 ในฐานะคริสตจักร เราได้รับการทรงเรียกให้นำพระกิตติคุณไปยังทุกประเทศแล้วที่สุดปลายจะมาถึง

( มธ. 2:14 ) เมื่อพระวิญญาณเสด็จด้วยฤทธิ์เดช พระองค์เสด็จมาเพื่อทำให้เราเหมือนกับพระคริสต์ รักษาเราให้หายและให้ฤทธิ์เดชแก่เรา ตามบทบาทให้หน้าที่ของเรา พระองค์ทรงต้องการผล ไม่ใช่ปรากฏการณ์

5.3 ถ้าพระเจ้าทรงเลือกที่จะทรงทำการของพระองค์โดยไม่มีปรากฏการณ์ภายนอกอะไร นั่นก็เป็นสิทธิของพระองค์เอง ขณะเดียวกันไม่มีประโยชน์อะไรที่จะสั่นหรือล้มลง ถ้าหากว่าไม่ได้มีผลที่ยาวนาน ในที่สุด สิ่งที่พระเจ้าทรงต้องการก็คือ หัวใจทีเต็มใจและถ่อม พระองค์ทรงเลือกว่าจะชำระ รักษาหรือประทานฤทธิ์เดชอย่างไร

5.4 Jonathan Edwards
ไม่ควรจะตัดสินว่าดีหรือไม่ดีบนพื้นฐานของอาการภายนอก เพราะพระคัมภีร์ไม่ได้ให้หลักเกณฑ์เช่นนั้น

5.5 John White กล่าวว่า
อาการภายนอกซึ่งอาจจะเป็นพระพร ไม่ได้เป็นหลักประกันอะไร ผลนั้นขึ้นอยู่กับการติดต่อกันอย่างลึกลับระหว่างพระเจ้ากับจิตวิญญาณของเรา การล้มลงหรือการสั่นของคุณอาจจะเป็นการแสดงออกที่แท้ถึงการที่พระวิญญาณประทับอยู่เหนือคุณ แต่พระวิญญาณจะไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรแก่คุณ ถ้าหากว่าคุณไม่ได้ให้พระเจ้าทรงทำสิ่งที่พระองค์ทรงต้องการ ในขณะที่คนอื่นที่ไม่ได้สั่นหรือล้มลงได้รับประโยชน์อย่างมาก

5.6 ลก. 10 : 20 แต่ว่าอย่าเปรมปรีดิ์ในสิ่งนี้ คือพวกผีอยู่ใต้บังคับของพวกท่าน แต่จงเปรมปรีดิ์เพราะชื่อของท่านจดได้ในสวรรค์ ผู้เขียนพระคัมภีร์ใหม่เห็นพ้องกันว่า ความสัมพันธ์กับพระเยซูสำคัญกว่าการสำแดงภายนอก

6.จะแน่ใจได้อย่างไรว่ามาจากพระเจ้า
6.1 สาเหตุอาจจะมาจาก

1.คนทำเอง ( เป็นผลทางจิตวิทยา )
2.นักเทศน์ทำให้เกิดขึ้น ( สะกดจิต )
3.มารทำให้เกิด
4.พระเจ้าทำให้เกิด
5.หลายสาเหตุร่วมกัน

6.2 คำเตือนจากพระคัมภีร์

มธ.24: 24 ด้วยว่าจะมีพระคริสต์เทียมเท็จและผู้พยากรณ์เทียมเท็จเกิดขึ้นหลายคน และจะทำหมายสำคัญอันใหญ่และการมหัศจรรย์ ถ้าเป็นไปได้จะล่อลวงแม้ผู้ที่ทรงเลือกสรรให้หลง

2คร.11: 14 การกระทำเช่นนั้น ไม่แปลกประหลาดเลย ถึงซาตานเองก็ยังปลอมตัวเป็นฑูตแห่งความสว่างได้

1ยน.4: 1 ท่านที่รักทั้งหลาย อย่าเชื่อวิญญาณเสียทุก ๆ วิญญาณ แต่จงพิสูจน์นั้น ๆ ว่ามาจากพระเจ้าหรือไม่ เพราะว่ามีผู้พยากรณ์เท็จเป็นอันมากจาริกไปในโลก

6.3 ข้อพระคัมภีร์สำหรับการวินิจฉัย

1. ลก 11: 9-12 เราบอกท่านทั้งหลายว่า จงขอแล้วจะได้ จงหาแล้วจะพบ จงเคาะแล้วจะเปิดให้แก่ท่าน
เพราะว่าทุกคนที่ขอก็จะได้ ทุกคนที่แสวงหาก็จะพบ และทุกคนที่เคาะก็จะเปิดให้เขามีผู้ใดในพวกท่านที่เป็นบิดา ถ้าบุตรขอขนมปังจะเอาก้อนหินให้เขาหรือ หรือถ้าขอปลาจะเอางูให้เขาแทนปลาหรือ หรือถ้าเขาขอไข่จะเอาแมงป่องให้เขาหรือ

2. 1ยน.4: 2-3 โดยข้อนี้ท่านทั้งหลายก็จะรู้จักพระวิญญาณของพระเจ้า คือวิญญาณทั้งปวงที่ยอมรับว่าพระเยซูคริสต์ได้เสด็จมาเป็นมนุษย์ วิญญาณนั้นก็มาจากพระเจ้า และวิญญาณทั้งปวงที่ไม่ยอมรับว่าพระเยซูคริสต์ได้เสด็จมาเป็นมนุษย์ วิญญาณนั้นก็ไม่ได้มาจากพระเจ้า วิญญาณนั้นแหละเป็นปฏิปักษ์ต่อพระคริสต์ ซึ่งท่านทั้งหลายได้ยินว่าจะมา และบัดนี้ก็อยู่ในโลกแล้ว ถ้าหากผู้นั้นอธิษฐานยกย่องพระเยซู พระวิญญาณบริสุทธิ์จะเป้นผู้ที่ทรงเสด็จมาตอบคำอธิษฐานของเขา ซาตานจ้องการกล่าวหยาบช้าต่อพระนามพระเยซู ไม่ใช่กล่าวยกย่อง

3. การสังเกตวิญญาณเป็นของประทานของพระวิญญาณอย่างหนึ่ง
1คร.12: 10 และให้อีกคนหนึ่งทำการอัศจรรย์ต่างๆ และให้อีกคนหนึ่งพยากรณ์ได้ และให้อีกคนหนึ่งรู้จักสังเกตวิญญาณต่างๆ และให้อีกคนหนึ่งพูดภาษาต่างๆ และให้อีกคนหนึ่งแปลภาษานั้นๆได้

ก. เราได้เห็นแล้วว่าเมื่อเราอธิษฐานและขอจากพระเจ้า พระวิญญาณจะเสด็จมาตามที่เราได้อธิษฐาน
ข. การสำแดงนี้เป็นมาจากพระเจ้าหรือไม่ให้ดูที่ผล เช่น มีสิ่งที่เรียกว่าเป็นการเผชิญสงครามฝ่ายวิญญาณหรือไม่ เช่น ความสว่างได้ส่องเข้ามาในความมืดหรือไม่ มีการสารภาพบาปหรือไม่ มีการปลดปล่อยจากอำนาจของวิญญาณชั่วหรือไม่
ค. พิจารณาตัวผู้ที่มีการสำแดง ในกรณีเช่นนี้ ต้องให้ศิษยาภิบาลเข้ามาช่วยด้วย

4. 1คร.14: 40 แต่จงปฏิบัติทุกสิ่งตามระเบียบวินัยเถิด

นี่เป็นหลักเกณฑ์ของการนำที่ประชุม “ทุกสิ่ง” ที่เปาโลกล่าวถึง คือการใช้ของประทานของพระวิญญาณในที่ประชุมโดยทั่วไปอาจจะวุ่นวายในบางครั้ง พิจารณาวิธีการนำที่ประชุม ผู้นำถ่อมใจหรือไม่ ยกย่องพระเยซูหรือไม่ รักษาระเบียบในการให้ใช้ของประทานหรือ ถ้าเป็นและบรรยากาศมีสันติสุข ไม่เป็นเนื้อหนังหรือเร้า แสดงว่าพระวิญญาณเป็นผู้ทำงานเพื่อเสริมสร้างคริสตจักร ไม่ใช่วิญญาณชั่ว

5. มธ.12: 33 จงกระทำให้ต้นไม้ดีแล้วผลของต้นไม้นั้นดี หรือกระทำให้ต้นไม้เลวแล้วผลของต้นไม้นั้นเลว เพราะเราจะรู้จักต้นไม้ด้วยผลของมัน

กท. 5:22 ฝ่ายผลของพระวิญญาณนั้นคือ ความรัก ความปลาบปลื้มใจ สันติสุข ความอดกลั้นใจ ความปรานี ความดี ความเชื่อ

ก.ถ้าผลระยะยาวคือผลของพระวิญญาณ แสดงว่า มาจากพระเจ้า
ข.ลักษณะของพระคริสต์ คือเป้าหมายของคริสตจักร

โรม 8:29 เพราะว่าผู้หนึ่งผู้ใดที่พระองค์ได้ทรงทราบอยู่แล้ว ผู้นั้นพระองค์ได้ทรงตั้งไว้ให้เป็นตามลักษณะพระฉายแห่งพระบุตรของพระองค์ เพื่อพระบุตรนั้นจะได้เป็นบุตรหัวปีท่ามกลางพวกพี่น้องเป็นอันมาก

6.4 สรุปแนวทางในการพิจารณา

1.ถ้าคนที่รับการอธิษฐาน ขอพระเจ้าเขาจะได้พระเจ้า
2.ถ้าคนที่อธิษฐานขอพระเจ้าและยกย่องพระคริสต์ พระวิญญาณจะเสด็จมาเป็นการตอบคำอธิษฐานของเขา
3.ท่านขอของประทานสังเกตวิญญาณหรือไม่
4.ผู้นำถ่อมและยกย่องพระคริสต์หรือไม่ บรรยากาศมีสันติสุข แม้ว่ามีเสียงดังหรือไม่ ถ้าใช่แสดงว่าพระวิญญาณทรงสถิตอยู่
5.มีผลที่ดีหรือไม่ ถ้าใช่แสดงว่ามาจากพระเจ้า

………………………………..

เข้าใจประสบการณ์พระวิญญาณ

ผมได้เข้าไปศึกษาบทเรียนของ Bill Jackson ซึ่งลงใน www.james7.org มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ จึงได้รวบรวมและสรุปมาให้ดังนี้ครับ

ทำความเข้าใจประสบการณ์พระวิญญาณ

ก. ก่อนอื่นต้องกล่าวว่าเป็นสิ่งที่ปกติและจำเป็นในการที่จะพิจารณาประสบการณ์ของคริสเตียนโดยดูจากพระคัมภีร์ และไม่ผิดอะไรที่บอกรับว่าสิ่งเหล่านี้ดู “เพี้ยน” ตราบเท่าที่ไม่ได้พิพากษาเร็วเกินไป

เมื่อเปาโลไปที่เมืองเบโรอา หนังสือกิจการกล่าวว่า ชาวเมืองนี้มีจิตใจสูงกว่าชาวยิวอื่นที่เปาโลพบในเมืองกรีซ เพราะว่า “พวกเขาค้นดูพระคัมภีร์ทุกวัน หวังจะรู้ว่าสิ่งที่เปาโลกล่าวนั้นเป็นความจริงหรือไม่” (17: 11)

ข. เมื่อเราถามว่า “ถูกต้องตามพระคัมภีร์หรือไม่” เราอาจจะมองหาสิ่งที่เรียกกันทั่วไปว่า “proof text” ซึ่งหมายถึงพระคัมภีร์ตอนที่ถ้าดูตามบริบทแล้วจะสามารถสนับสนุนสิ่งที่เราเชื่อได้ เพื่อจะให้มั่นใจว่าปรากฏการณ์เหล่านี้ถูกต้องตามพระคัมภีร์หรือไม่ เราต้องวางหลักเกณฑ์พื้นฐานเพื่อให้การตีความได้อย่างถูกต้อง

1 มีหัวข้อในหลักข้อเชื่อพื้นฐาน 3 หัวข้อในพระคัมภีร์

ก. ศาสนศาสตร์คริสเตียน ( คริสเตียนเชื่ออะไร )
ข. จริยธรรมคริสเตียน ( คริสเตียนควรจะประพฤติอย่างไร )
ค. ประสบการณ์และการปฏิบัติของคริสเตียน ( คริสเตียนทำอะไร )

2 เราสามารถเรียกพระคัมภีร์ข้อหนึ่งหรือตอนหนึ่งว่าเป็น “Proof text” ได้ เมื่อผู้เขียนกล่าวอย่างชัดเจนถึงสิ่งที่พระเจ้าทรงต้องการให้เราเชื่อ กระทำหรือปฏิบัติ ข้อพระคัมภีร์เหล่านี้จัดว่าเป็น “ลำดับแรก” ( primary)

2.1 มีความเชื่อ พฤติกรรม และการปฏิบัติมากที่ไม่ได้สอนอย่างชัดเจนแต่ว่าเป็นโดยนัย ข้อพระคัมภีร์เหล่านี้จัดว่าเป็น “ลำดับสอง” (secondary)ซึ่งไม่ได้หมายความว่าไม่สำคัญ แต่ว่าไม่มีข้อที่ชัดเจนเท่านั้นยกตัวอย่างเรื่อง การให้บัพติศมา พระคัมภีร์กล่าวอย่างชัดเจนว่า คริสเตียนต้องรับบัพติศมา มีพระคัมภีร์ “ ลำดับแรก” ที่กล่าวเช่นนี้ (มธ. 28:19)

2.2เราจะบัพติศมาอย่างไรนั้นไม่ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน นี่เป็นเหตุให้มีกลุ่มต่าง ๆ ที่บัพติศมาด้วยวิธีที่แตกต่างกันอย่างไรก็ตาม มีพระคัมภีร์ตอนที่ชัดเจนที่ชี้ให้เห็นว่า โดยปกติ คริสตจักรในยุคแรกจะจุ่มมิดในน้ำ

แม้แต่คำว่า “บัพติศมา” แปลว่าจุ่มนี่ไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นวิธีที่คริสตจักรจะต้องทำตลอดไป แต่ว่าเป็นการกล่าวเป็นนัย อย่างที่สุดนี้ชี้ให้เห็นว่าได้ทำกันอย่างไร รูปแบบของการบัพติศมาเป็นลำดับสอง ไม่ใช่เป็นลำดับแรก

3 เมื่อพิจารณาเรื่องปรากฏการณ์ที่เหนือธรรมชาติ เรากำลังพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติของคริสเตียน
4 แม้ว่ามีพระคัมภีร์ “ลำดับแรก” ที่เกี่ยวกับการสำแดงการพยากรณ์ แต่ไม่มีพระคัมภีร์ “ลำดับแรก” ที่กล่าวอย่างชัดเจนว่าคริสเตียนต้องล้มลง สั่นหรือดูเหมือนเมามายในขณะที่พระเจ้าทรงเยี่ยมเยียนเขา

5 อย่างไรก็ตามมีพระคัมภีร์ “ลำดับสอง” (ลำดับสองไม่ได้หมายความว่าไม่ถูกต้องหรือไม่สำคัญ) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการตอบสนองของบางคนเมื่อพระเจ้าทรงเยี่ยมเยียน เราจะพิจารณาข้อเหล่านี้บางตอนซึ่งเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์เฉพาะนั้น ๆ

6 ได้มีตัวอย่างจำนวนมากของปรากฏการณ์อย่างเดียวกันในประวัติศาสตร์คริสตจักรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างการฟื้นฟูเราจะพิจารณาด้วยอย่างคร่าว ๆ

……………….

17 พฤษภาคม 2553

พระนามของพระวิญญาณบริสุทธิ์ (The Name of the Holy Spirit)

บทความเรื่องพระนามของพระวิญญาณบริสุทธ์ได้รับพระพรจากการฟัง ท่านอาจารย์ Susan Watson มาสอนเรื่องชีวิตที่เคลื่อนไปกับพระวิญญาณ และได้ศึกษาเพิ่ม จึงนำมาแบ่งปันเพื่อเป็นประโยชนืในการศึกษาต่อไปครับ

พระนามของพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับตรีเอกนุภาพ (Trinity)

1.พระวิญญาณของพระเจ้า (The Spirit of God)

พระนามนี้เน้นความเป็นพระเจ้าของพระวิญญาณบริสุทธ์ ปรากฎในพระคัมภีร์หลายตอนเช่น
1 คร.3:16;2 คร.3:3 อสย.11:2; 61:1

1โครินธ์ 3:16 … และพระวิญญาณของพระเจ้าสถิตอยู่ในท่าน
1 Corinthians 3:16(KJV) and that the Spirit of God dwelleth in you?

2 โครินธ์ 3:3 ….แต่ด้วยพระวิญญาณของพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์…
2 Corinthians 3:3 (kjv) … but with the Spirit of the living God…

อิสยาห์ 11:2 และพระวิญญาณของพระเจ้าจะอยู่บนท่านนั้น …
Isaiah 11:2 (kjv) And the spirit of the Lord shall rest upon him,

อิสยาห์ 61:1 พระวิญญาณแห่งพระเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า
Isaiah 61:1 (kjv) The Spirit of the Lord GOD is upon me;



2.พระวิญญาณของพระคริสต์ (The Spirit of Christ)


พระนามนี้แสดงถึง ความสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของ พระวิญญาณบริสุทธิ์ กับพระเยซูคริสต์ ปรากฎในพระคัมภีร์ เช่น

โรม 8:9 ….ผู้ใดไม่มีพระวิญญาณของพระคริสต์ ผู้นั้นก็ไม่เป็นของพระองค์

Romans 8:9 (kjv) … Now if any man have not the Spirit of Christ…

กิจการของอัครทูต 16:7 เมื่อลงไปยังที่ตรงข้ามกับแคว้นมิเซียแล้ว ก็พยายามจะไปยังแว่นแคว้นบิธีเนีย แต่พระวิญญาณของพระเยซูไม่ทรงโปรดให้ไป

Acts 16:7 (kjv) After they were come to Mysia, they assayed to go into Bithynia: but the Spirit suffered them not.



3.พระวิญญาณแห่งพระบุตร (The Spirit of "His Son")


พระนามนี้เน้นถึงงานของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ในด้านของการยืนยันว่าเป็นบุตรของพระเจ้า
ปรากฎในพระคัมภีร์ เช่น

กาลาเทีย 4:6 …. พระองค์จึงทรงใช้พระวิญญาณแห่งพระบุตรของพระองค์ เข้ามาในใจของเรา
Galatians 4:6 (kjv) … God hath sent forth the Spirit of his Son …


4.พระวิญญาณบริสุทธิ์ (The Spirit of "Holiness")


พระนามนี้เน้นถึงพระลักษณะความบริสุทธิ์ของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ใช้เป็นการสำแดงพระ
ภาคของพระเจ้าในตรีเอกนุภาพ ชื่อนี้ใช้มากที่สุดประมาณ 97 ครั้ง ปรากฎในพระคัมภีร์ เช่น

ลูกา 11:13 เพราะฉะนั้นถ้าท่านทั้งหลายเองผู้เป็นคนบาปยังรู้จักให้ของดีแก่บุตรของตน ยิ่งกว่านั้นสักเท่าใด พระบิดาผู้ทรงสถิตในสวรรค์ จะทรงประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่ผู้ที่ขอต่อพระองค์"

Luke 11:13 (kjv) If ye then, being evil, know how to give good gifts unto your children: how much more shall your heavenly Father give the Holy Spirit to them that ask him?

โรม 1:4 แต่ฝ่ายพระวิญญาณแห่งความบริสุทธิ์นั้นบ่งไว้ด้วยฤทธานุภาพ คือโดยการเป็นขึ้นมาจากความตายว่า เป็นพระบุตรของพระเจ้า

Romans 1:4 (kjv) And declared to be the Son of God with power, according to the spirit of holiness, by the resurrection from the dead:


พระนามต่างๆของพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่สำแดงในการดำเนินชีวิตและการรับใช้

5.พระวิญญาณบริสุทธิ์แห่งพระสัญญา (The Spirit of "Promise")

พระนามนี้เป็นการสำแดงถึงพระสัญญญาของพระเจ้าที่ให้กับผู้เชื่อ และเป็นจริงตามพระ
สัญญา เช่นเหตุการณ์ที่บันทึกในหนังสือกิจการฯ ในบทที่ 1 และสำเร็จในบทที่ 2

กิจการของอัครทูต 1:4-5
4 เมื่อพระองค์ได้ทรงพำนักอยู่กับอัครทูต จึงกำชับเขามิให้ออกไปจากกรุงเยรูซาเล็ม แต่ให้คอยรับตามพระสัญญาของพระบิดา คือพระองค์ตรัสว่า "ตามที่ท่านทั้งหลายได้ยินจากเรานั่นแหละ
5 เพราะว่ายอห์นให้รับบัพติศมาด้วยน้ำ แต่ไม่ช้าไม่นานท่านจะรับบัพติศมาด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์"

กิจการของอัครทูต 2:33 เหตุฉะนั้นเมื่อทรงเชิดชูพระองค์ขึ้นอยู่ที่พระหัตถ์เบื้องขวาของพระเจ้า และครั้นพระองค์ได้ทรงรับพระวิญญาณบริสุทธิ์จากพระบิดาตามพระสัญญา พระองค์ได้ทรงเทฤทธิ์เดชนี้ลงมา ดังที่ท่านทั้งหลายได้ยิน และเห็นแล้ว


พระวิญญาณแห่งพระสัญญานี้เป็นการมัดจำเครื่องยืนยันจากพระบิดาเจ้าว่าผู้เชื่อจะได้รับ
มรดกได้ครอบครองร่วมกันพระคริสต์ตามที่ทรงสร้างไว้แน่นนอน (อฟ.1:13-14,18 ; รม.8:17 ; วว.22:5)

เอเฟซัส 1:13-14
13 ในพระองค์นั้น ท่านทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน เมื่อท่านได้ฟังสัจวาทะ คือข่าวประเสริฐเรื่องความรอดของท่าน และได้วางใจในพระองค์ ได้รับการผนึกตราไว้ด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์แห่งพระสัญญา
14 เป็นมัดจำของการรับมรดกของเรา จนกว่าเราจะได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ เป็นที่ถวายสรรเสริญแด่พระสิริของพระองค์

Ephesians 1:13-14 (kjv)
13 In whom ye also trusted, after that ye heard the word of truth, the gospel of your salvation: in whom also after that ye believed, ye were sealed with that holy Spirit of promise,
14 Which is the earnest of our inheritance until the redemption of the purchased possession, unto the praise of his glory.


6.พระวิญญาณแห่งความจริง (The Spirit of "Truth")

พระนามนี้เป็นการสำแดงความจริง ที่พระองค์ทรงสอนและสำแดงเป็นความจริงทั้งสิ้นของพระองค์
ปรากฎในพระคัมภีร์ เช่น

ยอห์น 14:17 คือพระวิญญาณแห่งความจริง ซึ่งโลกรับไว้ไม่ได้ เพราะแลไม่เห็นและไม่รู้จักพระองค์ ท่านทั้งหลายรู้จักพระองค์ เพราะพระองค์ทรงสถิตอยู่กับท่าน และจะประทับอยู่ในท่าน

John 14:17 (kjv) Even the Spirit of truth; whom the world cannot receive, because it seeth him not, neither knoweth him: but ye know him; for he dwelleth with you, and shall be in you.

1ยอห์น 5:7 และพระวิญญาณทรงเป็นพยานเพราะพระวิญญาณทรงเป็นความจริง

ยอห์น 15:26 แต่เมื่อองค์พระผู้ช่วยที่เราจะใช้มาจากพระบิดาหาท่านทั้งหลาย คือพระวิญญาณแห่งความจริงผู้ทรงมาจากพระบิดานั้นได้เสด็จมาแล้ว พระองค์ก็จะทรงเป็นพยานให้แก่เรา

ยอห์น 16:13 เมื่อพระวิญญาณแห่งความจริงจะเสด็จมาแล้ว พระองค์จะนำท่านทั้งหลายไปสู่ความจริงทั้งมวล เพราะพระองค์จะไม่ตรัสโดยพลการ แต่พระองค์จะตรัส สิ่งที่พระองค์ทรงได้ยิน และพระองค์จะทรงแจ้งให้ท่านทั้งหลายรู้ถึงสิ่งเหล่านั้นที่จะเกิดขึ้น


พระวิญญาณแห่งความจริงจะเป็นผู้ช่วยในการวินิจฉัยวิญญาณเทียมเท็จที่เป็นวิญญาณที่หลอกลวง

1ยอห์น 4:1-3
1 ท่านที่รักทั้งหลาย อย่าเชื่อวิญญาณเสียทุกๆวิญญาณ แต่จงพิสูจน์วิญญาณนั้นๆว่ามาจากพระเจ้าหรือไม่ เพราะว่ามีผู้พยากรณ์เท็จเป็นอันมากจาริกไปในโลก
2 โดยข้อนี้ท่านทั้งหลายก็จะรู้จักพระวิญญาณของพระเจ้า คือวิญญาณทั้งปวงที่ยอมรับว่าพระเยซูคริสต์ได้เสด็จมาเป็นมนุษย์ วิญญาณนั้นก็มาจากพระเจ้า
3 และวิญญาณทั้งปวงที่ไม่ยอมรับเชื่อพระเยซู วิญญาณนั้นก็ไม่ได้มาจากพระเจ้า วิญญาณนั้นแหละเป็นปฏิปักษ์ของพระคริสต์ ซึ่งท่านทั้งหลายได้ยินว่าจะมา และบัดนี้ก็อยู่ในโลกแล้ว



7.วิญญาณแห่งปัญญาและความเข้าใจ,วิญญาณแห่งการวินิจฉัยและอานุภาพ,วิญญาณแห่งความรู้ และความยำเกรงพระเจ้า

พระนามนี้ถึงพระราชกิจของ พระวิญญาณบริสุทธิ์ในชีวิตของผู้เชื่อ ปรากฎในพระคัมภีร์ เช่น

อิสยาห์ 11:2 และพระวิญญาณของพระเจ้าจะอยู่บนท่านนั้น คือวิญญาณแห่งปัญญาและความเข้าใจ วิญญาณแห่งการวินิจฉัยและอานุภาพ วิญญาณแห่งความรู้และความยำเกรงพระเจ้า

Isaiah 11:2 (kjv) And the spirit of the Lord shall rest upon him, the spirit of wisdom and understanding, the spirit of counsel and might, the spirit of knowledge and of the fear of the Lord;


8.พระวิญญาณผู้ทรงพระคุณ (The Spirit of "Grace")


พระนามนี้เป็นพระวิญญาณได้สำแดงพระคุณต่อมนุษย์ได้ช่วยเหลือ มนุษย์ ทั้ง ๆ ที่มนุษย์ไม่สมควรจะได้รับ เป็นพระคุณของพระเจ้าที่มีต่อผู้เชื่อ

ฮีบรู 10:29ท่านทั้งหลายคิดดูซิว่าคนที่เหยียบย่ำพระบุตรของพระเจ้า และดูหมิ่นพระโลหิตแห่งพันธสัญญา ซึ่งชำระเขาให้บริสุทธิ์ว่าเป็นสิ่งชั่วช้า และขัดขืนพระวิญญาณผู้ทรงพระคุณนั้น ควรจะถูกลงโทษมากยิ่งกว่าคนเหล่านั้นสักเท่าใด

Hebrews 10:29 "Of how much sorer punishment, suppose ye, shall he be thought worthy, who hath trodden under foot the Son of God, and hath counted the blood of the Covenant, wherewith he was sanctified, an unholy thing, and hath done despite unto the Spirit of grace?"



9.พระวิญญาณแห่งพระสิริ(The spirit of glory)

พระนามนี้เป็นพระนามที่สำแดงพระสิริของพระเจ้า เมื่อพระสิริของพระเจ้าอยู่ที่ใดที่นั่นเต็มไปด้วยสันติสุข

1เปโตร 4:14ถ้าท่านถูกด่าว่าเพราะพระนามของพระคริสต์ ท่านก็เป็นสุข ด้วยว่าพระวิญญาณแห่งพระสิริและของพระเจ้าทรงสถิตอยู่กับท่าน

1 Peter 4:14 (kjv) If ye be reproached for the name of Christ, happy are ye; for the spirit of glory and of God resteth upon you: on their part he is evil spoken of, but on your part he is glorified.




10.องค์พระผู้ช่วย , ผู้ช่วย,ผู้เล้าโลม (The Spirit of "Another Comforter")


พระนามนี้เป็นพระราชกิจของพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่ทรงสถิตในผู้เชื่อเพื่อจะช่วยเหลือ พระองค์เป็นผู้ช่วยในทุกเรื่อง ทุกสถานการณ์ ทรงอยู่กับเราตลอดเวลาทุกหนทุกแห่งเป็นผู้แนะนำ,ผู้ชี้ทาง,เป็นทนายแก้ ต่าง, ผู้ดูแล,ผู้สอน,ผู้เสริมกำลัง

ยอห์น 14:16 เราจะทูลขอพระบิดา และพระองค์จะประทานผู้ช่วยอีกผู้หนึ่งให้แก่ท่าน เพื่อจะได้อยู่กับท่านตลอดไป

John 14:16 (kjv) And I will pray the Father, and he shall give you another Comforter, that he may abide with you for ever;

ยอห์น 15:26 แต่เมื่อองค์พระผู้ช่วยที่เราจะใช้มาจากพระบิดาหาท่านทั้งหลาย คือพระวิญญาณแห่งความจริงผู้ทรงมาจากพระบิดานั้นได้เสด็จมาแล้ว พระองค์ก็จะทรงเป็นพยานให้แก่เรา

John 15:26 (kjv) But when the Comforter is come, whom I will send unto you from the Father, even the Spirit of truth, which proceedeth from the Father, he shall testify of me:



เมื่อเราได้ศึกษาพระนามของพระวิญญาณบริสุทธิ์ เราได้ตระหนักถึงพระราชกิจของพระองค์ที่
พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าที่สถิตอยู่ในชีวิตของเรา เราไม่ได้ดำเนินชีวิตอย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย แต่พระองค์ทรงเป็นพระผู้ช่วยที่พร้อมเสมอในการช่วยเหลือเรา วันนี้เราต้องยอมให้พระองค์ทำงานผ่านชีวิตของเราและเราจะเห็นถึงความยิ่งใหญ่ในชีวิตของเราที่พระองค์ได้กระทำผ่านชีวิตของเรา

15 พฤษภาคม 2553

การอธิษฐานวิงวอนพลังที่ถูกลืม

สรุปจากเนื้อหาที่ได้จาก หนังสือ “การอธิษฐานวิงวอนพลังที่ถูกลืม” โดย จิม กอลล์
เคยลงใน Web.ของคริสตจักรหลายแห่ง จึงขอนำมาแบ่งปัน

การอธิษฐานคือกระดูกสันหลังของคริสตจักร เมื่อเราเฝ้าระวังนั้นพระเจ้าก็ทรงรื้อฟื้นพันธุกรรมทางฝ่ายวิญญาณของเราขึ้นด้วย ไม่มีสักสิ่งหนึ่งซึ่งพระเจ้าทรงกระทำจะเกิดขึ้นได้โดยปราศจากคำอธิษฐาน

1. รื้อฟื้นไฟแห่งชุมชนโมราเวียน

พระเจ้าได้ประทาน “สามเกลียว” ซึ่งพวกเขาใช้ถักทอชีวิตของเขาขึ้น และเกลียวเหล่านี้ได้ช่วยให้ชาวโมราเวียนเป็นผู้เปลี่ยนแปลงโลก
พวกเขามีสัมพันธภาพที่เป็นหนึ่งเดียว เป็นชุมชนฝ่ายวิญญาณและดำเนินชีวิตแห่งการอุทิศตน
ฤทธิ์อำนาจในการยืนหยัดอธิษฐานของพวกเขา ได้ทำให้เกิดความเร่าร้อนและกระตือรือร้นจากเบื้องบน ต่องานมิชชั่นสู่ผู้ที่ยังไม่
ได้รับความรอด
เกลียวที่สามได้ถูกบรรยายไว้ด้วยคติพจน์ประจำชีวิตของพวกเขา “ไม่มีผู้ใดทำงานนอกเสียจากใครบางคนจะอธิษฐาน” ซึ่งเป็นรูปแบบของการทำสัญญาใจร่วมกันเพื่อจะดำรงการอธิษฐานและพันธกิจต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าไว้
ผลกระทบของชาวโมราเวียนที่มีต่อจอห์น เวสเลย์ ในการพบกันครั้งแรก กล่าว คือ ความจริงจังอย่างแรงกล้าและความถ่อมใจที่ชาวโมราเวียนได้ปฏิบัติต่อผู้โดยสารคนอื่นๆ โดยยอมทำงานซึ่งราวกับงานของทาส ได้ท้าทายใจของเขา เมื่อมีใครจะจ่ายเงินให้ พวกเขาจะปฏิเสธโดยตอบว่า “งานนี้ดีต่อจิตใจที่เย่อหยิ่งของพวกเขา” และ “พระผู้ช่วยให้รอดอันเป็นที่รักได้ทำมากยิ่งกว่านี้อีกเพื่อพวกเขา”

2. รื้อฟื้นไฟบนแท่นบูชา

ไฟบนแท่นบูชาแสดงถึงคำอธิษฐานของธรรมิกชน (วิวรณ์ 8:3-5; โยบ 36:32-37:3) การอธิษฐานวิงวอนจะปลดปล่อยแสงอันเจิดจ้าของพระเจ้าหรือฟ้าแลบเพื่อ “ผ่าจุดที่หมาย” บนแผ่นดินโลก จะนำฤทธิ์อำนาจของพระองค์และพระสิริไปยังสถานการณ์ที่ต้องประสงค์โดยมีผลลัพธ์อันเหนือธรรมชาติเกิดขึ้น! ฟ้าแลบคือพระคำ เมื่อเรากล่าวพระคำพระเจ้า พระคำนั้นจะออกจากปากของเราเหมือนฟ้าแลบ เพื่อวิงวอนเผื่อและผ่าจุดที่หมาย ตีกองทัพศัตรูให้แตกพ่ายไป นำการพิพากษาของพระเจ้ามายังสถานการณ์ต่างๆ เปิดเผยจิตใจของผู้คน และทำให้ทุกสิ่งบรรลุผลสมบูรณ์ตามที่ทรงบัญชาไว้ การอธิษฐานวิงวอนจะ “วาดเป้าหมาย” ไว้ เพื่อพระเจ้าจะยิงเข้าไปยังความต้องการของเราได้อย่างไม่พลาดเป้า ด้วยพระสิริของพระองค์ พระองค์ทรงตั้ง “ศูนย์เล็ง” ไว้บนเป้าหมายเหล่านี้ และ “ผ่าจุดที่หมาย” ด้วยฟ้าแลบของพระองค์หรือโดยการ “ฉายพระพักตร์ที่เจิดจ้า” เราได้รับสิทธิพิเศษให้วาดเป้าหมายต่างๆ บนเมือง ประเทศชาติ คริสตจักร และในชีวิตส่วนตัวของคนมากมาย เพื่อกำหนดจุดซึ่งพิชิตให้แก่พระองค์ผู้ทรงปกคลุมพระหัตถ์ไว้ด้วยฟ้าแลบ
เหนือสิ่งอื่นใด คำอธิษฐานเป็นคำทูลเชิญจากมนุษย์สู่เบื้องฟ้าสวรรค์ เพื่อการตอบสนองจากพระเจ้าที่จะโยนลงมาสู่แผ่นดินโลก สิ่งจากมนุษย์แลกเปลี่ยนกับสิ่งจากเบื้องฟ้าสวรรค์

3.รื้อฟื้นบทบาทปุโรหิตแห่งการอธิษฐานวิงวอน

หากเราสามารถปลูกสิ่งหนึ่งในใจของคุณ สิ่งนั้นก็คือ... การอธิษฐานไม่ใช่กิจกรรม และไม่ใช่คำทูลขอ แต่การอธิษฐานเป็นชีวิตซึ่งพบได้ในคนคนหนึ่ง เมื่อคุณได้เห็นพระเยซูคริสต์ เมื่อนั้นความมืดบอดก็จะหลุดตกจากตาของคุณในพระสิริแห่งการสถิตของพระองค์ ทัศนคติต่อการอธิษฐานของคุณจะเปลี่ยนอย่างสิ้นเชิง จะไม่ใช่ภาระลำเค็ญ แต่เป็นความชื่นชมยินดี พึงระลึกไว้ว่าผู้เชื่อทุกคนได้รับการทรงเรียกให้เป็นปุโรหิตต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าในทุกวันนี้ และเรายังต้องเข้าใจอีกด้วยว่าไม่มีภาระปฏิบัติใดของผู้เชื่อที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่าการอธิษฐาน อันเป็นหน้าที่เอกสำหรับปุโรหิตผู้เชื่อของวันนี้ “การอธิษฐานวิงวอนอย่างเป็นตัวแทน” คืออะไร เป็นความสามารถและหน้าที่ในลักษณะบุคคลโดยเข้าไปเป็นตัวแทนในความต้องการของผู้อื่น ถึงขนาดว่าในทางจิตใจเราเป็นหนึ่งเดียวกับคนเหล่านั้นโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นการแสดงออกในลักษณะที่ถือว่าเราเป็นบุคคลเดียวกับพระเยซูคริสต์และติดตามรอยพระบาทของพระองค์ เพราะรอยพระบาทของพระองค์จะนำเราไปเกินกว่ากำแพงสี่ด้านของคริสตจักร ไปสู่ท้องถนนของโลกที่แตกเป็นเสี่ยง โลกของโสเภณี คนคดโกง ผู้แพ้ และบรรดาคนที่แตกยับและบาดเจ็บ ไปถึงมนุษย์จริงที่มีปัญหาจริง พระองค์ทรงนำเราสู่การเป็นปุโรหิตที่แท้ หนทางเดียวที่เราจะอธิษฐานวิงวอนได้อย่างจริงแท้และมีประสิทธิภาพ คือจากหัวใจแห่งความรักเมตตา ใจที่ชอกช้ำและไม่คิดเห็นแก่ชีวิต จากหัวใจที่กระแทกเป็นจังหวะด้วยความทุกข์ยากของผู้อื่นราวกับว่านั่นเป็นความทุกข์ของเราเอง หัวใจของเราจะได้รับภาระจากพระวิญญาณของพระเจ้าเพื่อร้องคร่ำครวญ เผื่อการสารภาพความผิดบาป และอธิษฐานวิงวอนอย่างปราศจากคำพูดเพื่อพวกเขาด้วยใจของเรา เมื่อได้สารภาพบาป ความเสื่อมเสีย การพลั้งพลาด และความน่าอับอายแทนพวกเขาต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าแล้ว เราก็ได้กวาดล้างเครื่องกีดขวางของศัตรูออก เพื่อบุคคลผู้นั้นที่เราได้อ้อนวอนเผื่อจะมาถึงกางเขนด้วยการกลับใจและได้รับการฟื้นคืนสู่สภาพดี (อิสยาห์ 57:14-15)

ตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษ คำว่า intercede หมายถึง “เข้าแทรกแซงระหว่างกลุ่มคณะเพื่อสมานความแตกต่างให้ลงรอยกัน : เข้าขวาง เข้าทำการประนี ประนอม” ส่วนรากศัพท์ภาษาละติน คำๆ นี้หมายถึง “คนกลาง”

คำอธิษฐานเป็นสิ่งที่ใช้ได้ผล คำอธิษฐานเต็มด้วยฤทธิ์อำนาจ คำอธิษฐานเป็นหนึ่งในอาวุธประหัตประหารที่ร้ายแรงซึ่งจะถล่มการงานของศัตรู คำอธิษฐานคือเส้นชีวิตของพระเจ้าไปสู่ผู้ที่เจ็บปวด บาดเจ็บ ผู้อ่อนแอ และผู้ที่กำลังจะตายจาก แต่พระเจ้าทรงคาดหวังให้เราเหวี่ยงเชือกแห่งชีวิตของพระองค์ออกไปในพระนามของพระบุตร พระเยซู การอธิษฐานวิงวอนไม่ใช่เรื่องหมกมุ่นสำหรับผู้ร้อนรนหยิบมือหนึ่ง แต่เป็นการทรงเรียกและจุดหมายสำหรับประชาชนที่ทรงเลือกสรร สำหรับบุตรพระเจ้าผู้ได้รับการชำระโดยพระโลหิตทุกคน หากคุณเรียกพระเยซูคริสต์ว่าพระผู้ช่วยให้รอดแล้ว พระองค์ก็ทรงเรียกคุณว่าผู้อธิษฐานวิงวอนและปุโรหิต และพระองค์เรียกคุณให้ไปที่หัวเข่าของคุณในวันนี้

คุณได้ชื่อว่าเป็นผู้นำการปลดปล่อยญาติสนิท ผู้มีสิทธิ์ไถ่ถอน ผู้รักษาโรค และผู้ซ่อมแซมช่องโหว่ คุณจะลุกขึ้นและเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติอันดุเดือดของพระองค์ไหม?

4. รื้อฟื้นศิลปะแห่งการอ้อนวอนเรื่องคดีความของคุณ

สิ่งนี้ยิ่งผลักดันให้เราเชื่อมั่นว่าการประสบความสำเร็จในการเป็นนักอธิษฐานวิงวอนนั้น เราต้องมีภาพสำแดงของพระเจ้าองค์ยิ่งใหญ่ในฐานะผู้พิพากษาเหนือเนื้อและเลือดทั้งสิ้น เราได้รับสิทธิพิเศษให้ “ฟ้องร้องที่หน้าบัลลังก์ศาล” ภายใต้สิทธิอำนาจและคำเชื้อเชิญจากอัยการของเราคือพระเยซูคริสต์ เรารับผิดชอบในการปกป้องประชาชนขององค์ราชา และทำการฟ้องร้องศัตรูของพระองค์ในโลกฝ่ายวิญญาณ (ซาตานและสมุนกบฎของมัน) การอธิษฐานวิงวอนที่ทรงประสิทธิภาพเริ่มต้นที่ความรู้และความเข้าใจ ทำการบ้านของคุณเพื่อจะรู้พระสัญญาของพระเจ้า และทำความเข้าใจว่าเหตุใดพระสัญญาจึงไม่สำเร็จตามนั้นในแต่ละสถานการณ์ที่เจาะจง (ถ้าเป็นได้) หาดูว่าทำไมกลุ่มสังคมหรือกลุ่มคนนั้นๆ จึงล้มเหลวเข้าใจเงื่อนไขทุกประการที่พระเจ้าทรงต้องการก่อนที่จะให้สัญญานานาประการสำเร็จ จากนั้นสนทนากับพระเยซูและรับหัวใจของพระองค์สำหรับเรื่องนั้นไว้ ให้พระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นผู้ชี้แนะเมื่อคุณนำเสนอคำโต้แย้งบริสุทธิ์นั้นต่อหน้าผู้พิพากษาชอบธรรมแห่งชีวิตทั้งสิ้น

นักอธิษฐานวิงวอนคือผู้ซึ่ง
ก.เตือนพระเจ้าถึงพระสัญญาและนัดหมายของพระองค์ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดและบรรลุผล (อิสยาห์ 62:6-7)
ข.ทูลถวายคดีความแห่งความยุติธรรมต่อพระเจ้าในนามของผู้อื่น (อิสยาห์ 59:15-16)
ค.สร้างเครื่องกีดขวางและก่อกำแพงเพื่อพิทักษ์รักษาในเวลาแห่งการต่อสู้ (เอเสเคียล 13:4-5)
ง.ยืนอยู่ที่ช่องโหว่ระหว่างการพิพากษาอันชอบธรรมของพระเจ้า ซึ่งจะต้องเป็นไปตามนั้น กับความต้องการพระเมตตาในนามของผู้คน (เอเสเคียล 22:30-31)

เราได้รับการทรงเรียกให้ขอร้องพระเจ้าทำในสิ่งที่พระองค์ต้องการจะทำเพื่อเรา ช่างเป็นข้อตกลงที่ดีอะไรเช่นนี้!
ก.อ้อนวอนโดยอ้างถึงพระเกียรติและพระสิริแห่งพระนามของพระองค์ (สดุดี 106:8; 79:9)
ข.อ้อนวอนโดยอ้างถึงความสัมพันธ์ของพระเจ้าต่อเรา (โยบ 10:3, 8-9; สดุดี 33:20; 19:14; อิสยาห์ 64:8)
ค.อ้อนวอนโดยอ้างถึงพระลักษณะของพระเจ้า (เนหะมีย์ 9:33; สดุดี 89; 27:7)
ง.อ้อนวอนโดยอ้างถึงความทุกข์ยากและข้นแค้นของประชากรของพระเจ้า (สดุดี 35:11-13)

6. รื้อฟื้นเส้นทางอธิษฐานสู่การทรงสถิต

คำอธิษฐานของเราขึ้นไปยังพระเจ้าดังเครื่องหอมที่ส่งกลิ่นหอมหวาน และพระองค์ตอบสนองโดยส่งคำตอบของคำอธิษฐานนั้นคละเคล้ากับไฟของพระองค์กลับมายังโลก พันธสัญญาเดิมได้ให้รายละเอียดของเครื่องหอมพิเศษนี้ที่ใช้ถวายแด่พระเจ้าในพลับพลาของโมเสสในแต่ละวัน

“จงตั้งแท่นนั้นไว้ข้างนอกม่านซึ่งอยู่ใกล้หีบพระโอวาทข้างหน้าแท่นพระที่นั่งกรุณา ซึ่งอยู่เหนือหีบพระโอวาท ที่ที่เราจะพบกับเจ้า จงให้อาโรนเผาเครื่องหอมบนแท่นนั้นทุกเวลาเช้า เมื่อเขาแต่งประทีปก็จงเผาเครื่องหอมด้วย และในเวลาเย็นเมื่ออาโรนจุดประทีป ให้เผาเครื่องหอมบนแท่นเป็นเครื่องหอมเนืองนิตย์ต่อพระพักตร์พระเจ้า ตลอดชั่วชาตพันธุ์ของเจ้า” อพยพ 30:6-8)

พระเจ้าตรัสกับโมเสสว่า “จงเอาเครื่องเทศ คือกำยาน ชะมด และมหาหิงค์ ผสมกับกำยานบริสุทธิ์ (ให้เท่าๆ กันทุกอย่าง) จงผสมเครื่องหอมปรุงตามศิลปช่างปรุงเจือด้วยเกลือให้เป็นของบริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์ จงเอาส่วนหนึ่งมาตำให้ละเอียดและวางอีกส่วนหนึ่งไว้หน้าหีบพระโอวาทในเต็นท์นัดพบที่เราจะพบกับเจ้า เครื่องหอมนั้นเจ้าจงถือว่าบริสุทธิ์ที่สุด” (อพยพ 30:34-36)

ส่วนในพันธสัญญาใหม่ เราได้รับบัญชาว่า “จงอธิษฐานอย่างสม่ำเสมอ” (1 ธส. 5:17)

นี่เป็นสิ่งซึ่งควบคู่กันไปอย่างสมบูรณ์กับพระบัญชาของพระเจ้าต่อโมเสสและอาโรนในเรื่องกลิ่นหอมแห่ง “เครื่องบูชาเนืองนิตย์” ซึ่งจะต้องพัดโบกกลิ่นจากแท่นเครื่องหอมไปยังอภิสุทธิสถานอย่างไม่ขาดสาย
ส่วนผสมของคำอธิษฐาน

ก.กำยาน เป็นเครื่องเทศที่มีกลิ่นหอม ต้นไม้ซึ่งมีน้ำยางไหลเยิ้ม นำน้ำยางไปอบจนกระทั่งเครื่องเทศที่เรียกว่า กำยาน แยกตัวออกมา ทั้งในภาษากรีกและฮีบรูชื่อของเครื่องเทศนี้มีความหมายว่า “ไหลเยิ้มออกมาหรือหยดออกมา” เป็นคำเปรียบที่แสดงถึงพระคำของพระเจ้าที่ผุดขึ้นมาหรือสำหรับการเผยพระวจนะ ทำให้เกิดภาพของบางสิ่งที่ส่ำสมอยู่ในตัวเราซึ่งไหลเยิ้มหรือผุดออกมาจากภายในที่อิ่มเอิบ หากเราสะสม logos หรือพระคำพระเจ้าภายในจิตใจของเรา เมื่อลมของพระองค์ระบายลงเหนือพระคำนั้น คำนั้นก็จะกลายเป็นคำตรัส เป็นการทรงสำแดงหรือ rhema ในชีวิต คุณสมบัติประการแรกสำหรับเครื่องหอมแห่งการอธิษฐานที่ทรงชอบนั้นก็คือ การส่ำสมพระคำพระเจ้า ซึ่งจะไหลเยิ้มออกมาตามการเรียกร้องเพื่อหยดลงบนผู้อื่น เมื่อคุณได้เติมจิตใจด้วยเครื่องเทศหอมแห่งพระคำพระเจ้าแล้ว สิ่งนี้ก็จะไหลเยิ้มจากทุกส่วนในชีวิตของคุณ และแทรกซึมคำอธิษฐานของคุณด้วยความหอมหวานอันเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า

ข.ชะมด เป็นผงแป้งบดละเอียดที่มีกลิ่นหอมซึ่งได้มาจากเปลือกของหอยชนิดหนึ่ง เปลือกหอยจะถูกนำมาบดจนเป็นผงละเอียด และนำมาเผาไฟเพื่อจะส่งกลิ่นหอม คุณเคยรู้สึกเหมือนถูก “บดเป็นผุยผง” หรือถูกฉีกเป็นชิ้นๆ ด้วยการทดลองหรือสถานการณ์หนึ่งไหม? คุณเคยถูก “เผา” ด้วยการกระทำของคนอื่นทั้งชนิดรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรืออย่างจงใจไหม? คำอธิษฐานที่คุณทูลถวายหลังจากที่ได้อดกลั้นกับเหตุการณ์เหล่านี้จะอบอวลด้วยกลิ่นหอมของชะมด การอธิษฐานเป็นวิถีชีวิตที่แตกหักต่อพระพักตร์พระเจ้า เป็นการสนทนาซึ่งชโลมด้วยกลิ่นหอมของเครื่องเทศซึ่งแหลกละเอียด ที่เรียกว่าความถ่อมใจและการแตกสลาย (สดด.51:17)

ค.มหาหิงค์ เป็นเครื่องหอมที่ปรุงขึ้นจากพืชในแถบเอเชียหลายชนิด มีลักษณะเป็นยางไม้สีเหลืองอมเขียว หรือสีน้ำตาลมีรสขม” มีความหมายว่า “ความอิ่มเอิบหรืออ้วนพี” มหาหิงค์มีลักษณะเป็นน้ำมันซึ่งจะช่วยให้ส่วนผสมอื่นๆ รวมตัวกันได้ ความเชื่อมั่นในพระเจ้านำให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวท่ามกลางพี่น้องผู้มีลักษณะแตกต่างและความเชื่อที่หลากหลาย บ่อยครั้งเกินไปที่พวกเรายอมให้ตัวเองแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายเป็น “ค่าย” เช่น “ค่ายพระคำ”, “ค่ายของการแตกสลาย” ซึ่งรวมเอาบรรดา “พวกฟื้นฟู” จำนวนมากไว้

ง.กำยานบริสุทธิ์ เป็น “น้ำยางที่ได้จากเปลือกต้นไม้” เมื่อน้ำยางสีอำพันเริ่มแห้งนั้น จะมีผงสีขาวเกิดขึ้นบนหยดหรือน้ำตาของกำยานบริสุทธิ์ บางทีนี่อาจจะเป็นภาพล่วงหน้าของความชอบธรรมซึ่งเราได้รับเมื่อพระคริสต์ได้ถูกแขวนที่ต้นไม้และหลั่งโลหิตของพระองค์ และก่อนที่พระโลหิตแห่งพระเมษโปดกจะแห้งไปบนต้นไม้และแผ่นดินโลกนั้น เราก็ได้ถูกทำให้เป็น “คนชอบธรรมของพระเจ้าในพระคริสต์”

เครื่องปรุงของเครื่องหอมบริสุทธิ์นี้จะต้องถูกนำมาใหม่ในแต่ละวัน และต้องผสมด้วยอัตราส่วนที่เท่าๆ กัน เครื่องหอมที่ปรุงขึ้นสดๆ เท่านั้นจึงจะใช้การได้ คุณและข้าพเจ้าไม่สามารถอยู่ด้วยคำอธิษฐานของอดีต วันต่อวันเราต้องดำเนินสู่การทรงสถิตของพระองค์เพื่อรับการฟื้นใจ การเปลี่ยนแปลง ฤทธิ์เดช และการเติมเต็มโดยพระสิริของพระองค์ โดยสัดส่วนที่เท่าๆ กันของ กำยาน พระวจนะจากภายในเราซึ่งจะหยาดเยิ้มพรั่งพรูออกมา ชะมด เครื่องเทศบดละเอียดอันแสดงถึงความถ่อมใจและความแตกสลายที่อยู่ภายใน มหาหิงค์ ความเชื่อที่ส่ำสมไว้เต็มเปี่ยมว่าพระเจ้าทรงดีเลิศ และ กำยานบริสุทธิ์ คือความชอบธรรมของพระคริสต์ได้หลั่งลงและแห้งบนจิตใจของเรา

จากการอธิษฐาน คุณจะไปสู่การทรงสถิตได้อย่างไร? ก็โดยวางชีวิตของคุณลงและเรียนรู้พระเมตตา และพระเจ้าจะมาพบคุณและสนทนากับคุณที่นั่น ฮีบรู 4:16 ได้บอกเราว่า “ฉะนั้นขอให้เราทั้งหลายจงมีใจกล้า เข้ามาถึงพระที่นั่งแห่งพระคุณ เพื่อเราจะได้รับพระเมตตา และได้รับพระคุณที่จะช่วยเราในขณะที่ต้องการ”

การอธิษฐานไม่ใช่เทคนิค ไม่ใช่วิธีการ แต่การอธิษฐานคือการมายังบุคคลผู้หนึ่งและอิ่มเอิบในการสนทนาแห่งการทรงสถิตที่ยิ่งใหญ่และทรงพระสิริของพระองค์
1. อ้อนวอนโดยอ้างถึงการตอบคำอธิษฐานในอดีต (สดุดี 78; 85:1-7)
2. อ้อนวอนโดยอ้างพระคำและพระสัญญาของพระเจ้า (1 พงศวดาร 17:23-26)
3. อ้อนวอนโดยอ้างถึงพระโลหิตของพระเยซู

7. รื้อฟื้นนิเวศอธิษฐานสำหรับบรรดาประชาชาติ

การนมัสการคือการแสดงออก และท่าทีซึ่งถวายตัวคุณรวมทั้งจิตวิญญาณ จิตใจ และร่างกายแด่พระเจ้าอย่างหมดหัวใจ ในภาษากรีกคำว่า “นมัสการ” มีความหมายว่า “การจูบ หรือเหมือนสุนัขเลียมือเจ้านายของมัน การหมอบกราบด้วยเคารพยำเกรงและการเทิดทูนบูชา” ( มัทธิว 4:10) การอธิษฐานวิงวอนหมายถึงการเสนอคำขอร้องต่อผู้ที่เหนือกว่า การนมัสการและการอธิษฐานจะมาพร้อมกันเป็นเครื่องแต่งกายไร้ตะเข็บซึ่งปุโรหิตแห่งพระเจ้าสวมใส่ คือร่วมกัน เป็นหนึ่งเดียว และประสาน กัน

คำอธิษฐานของคุณสามารถ “รดน้ำ” ผลผลิตที่จะเก็บเกี่ยวและให้กำลังกับเมล็ดที่หว่านไปนั้นได้ บางทีสิ่งซึ่งเป็นที่ต้องการมากสุดในช่วงระหว่างการหว่านและการเก็บเกี่ยวก็คือฝน ซึ่งหากพูดในฝ่ายวิญญาณแล้ว เมล็ดพืชจำนวนมากพอได้ถูกหว่านแล้วเพื่อนำคนนับล้านมาถึงพระคริสต์! ไม่มีความผิดปกติใดๆ กับเมล็ดพืช แต่ปัญหาคือน้ำ ปริมาณของการเก็บเกี่ยวจะขึ้นกับปริมาณของคำอธิษฐานที่ช่วยรดน้ำแก่เมล็ด

คำอธิษฐานของคุณช่วยในการเพาะปลูกพืชผล พระเยซูทรงเตือนว่าปัญหา การข่มเหง ความกังวลตามธรรมดาโลก และความลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติจะทำให้เมล็ดบางส่วนตกอยู่ตามข้างทางและไม่เกิดผล (มัทธิว 13:20-22) คำอธิษฐานของคุณสามารถหนุนใจ ให้กำลัง และปกป้องเมล็ดที่งอกขึ้นเหล่านั้นในช่วงที่หน้าสิ่วหน้าขวาน เมื่อชีวิตใหม่กำลังเกิดขึ้น

คำอธิษฐานของคุณมีอิทธิพลต่อผู้นำระดับโลกและช่วยปลุกกระตุ้นที่มาจากพระเจ้าได้อย่างแน่นอน ร่วมกับเอสรา เนหะมีย์ เอสเธอร์ เดโบราห์ และดาเนียล ซึ่งคำอธิษฐานของพวกเขาได้เปลี่ยนจิตใจของผู้ปกครอง หันเหกฏหมายของแผ่นดิน และมีอิทธิพลต่อบรรดาผู้นำประเทศ

การประยุกต์ใช้แห่งสติปัญญา ดิ๊ก อีสท์แมนได้ให้รายการคำร้องขอการทรงสำแดงห้าประการ และการอวยพรห้าประการเอาไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อว่า Love on its knees ดังนี้

8.คำร้องขอการทรงสำแดงห้าประการ

1.อธิษฐานขอการทรงสำแดงน้ำพระทัยของพระเจ้า สำหรับคนงานในการประกาศพระกิตติคุณ อาจเป็นบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มคน คำอธิษฐานนี้เพื่อทิศทางการทรงนำจากเบื้องบน
2.อธิษฐานขอการทรงสำแดงสติปัญญาของพระเจ้า หรือมุมมองอย่างเบื้องบน คำอธิษฐานนี้คือเพื่อบุคคลผู้นั้นจะไม่เพียงแต่เต็มด้วยความรู้ในน้ำพระทัยพระเจ้าเท่านั้น แต่ที่เขาหรือเธอจะรู้ว่าควรกระทำอย่างไรด้วยวิธีที่ชาญฉลาดด้วย
3.อธิษฐานขอการทรงสำแดงความเข้าใจจากพระเจ้าหรือสรรพปัญญา นี่หมายถึงว่าบุคคลผู้นั้นจะรู้ว่าพระบิดาทรงต้องการให้เขาหรือเธอทำสิ่งใด และทำอย่างไร และทำเมื่อใด ที่ไหน ร่วมกับใคร
4.อธิษฐานขอการทรงสำแดงความบริสุทธิ์ของพระเจ้า เพื่อบุคคลผู้นั้นจะเดินอย่างสมควรกับองค์พระผู้เป็นเจ้าและเป็นที่ชอบพระทัยในทุกทาง
5.อธิษฐานขอการทรงสำแดงความโปรดปรานของพระเจ้าหรือทำตามความประสงค์จากเบื้องบน นี่คือกุญแจที่แท้จริง จำเป็นที่คุณจะต้องอธิษฐานขอสิ่งนี้สำหรับชีวิตของคุณเองและสำหรับคนเหล่านั้นที่พระเจ้าได้วางไว้ในใจของคุณ อธิษฐานที่พวกเขาจะได้รับการทรงสำแดงในความชื่นบานที่พระเจ้าทรงพบในพวกเขาและในการงานที่เชื่อฟังของเขา และอธิษฐานที่พระเยซูคริสต์จะเป็นความชื่นบานยอดยิ่งของเขาด้วย นี่คือคำอธิษฐานแห่งการสนิทสนม

9.คำร้องขอคำอวยพรห้าประการ

1.อธิษฐานเพื่อการเพิ่มพูนในประสิทธิภาพ ความหมั่นเพียรและการเกิดผลอย่างสมบูรณ์ อธิษฐานเพื่อบุคคลนั้นๆ จะเกิดผลมากยิ่งขึ้นในการงานและการกระทำอันดีทุกอย่าง
2.อธิษฐานเพื่อการเพิ่มพูนในการเติบโตขึ้นด้วยการอุทิศตน หรือในฝ่ายจิตวิญญาณ อธิษฐานที่เขาจะรู้จักพระเจ้าและเข้าใกล้พระองค์ในสัมพันธ์สนิทที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
3.อธิษฐานเพื่อการเพิ่มพูนในฝ่ายกำลัง คุณอาจเรียกสิ่งนี้ว่าเป็น “การเพิ่มความทนทาน” ก็เป็นได้ คือที่คนงานหรือบุคคลนั้นจะมีหนังที่หนาเหมือนแรด แต่ขณะเดียวกันมีจิตใจที่อ่อนสุภาพ
4.อธิษฐานเพื่อการเพิ่มพูนในความอดทนอดกลั้น
5.อธิษฐานเพื่อการเพิ่มพูนในความชื่นชมยินดี อธิษฐานที่เขาจะมีความปิติยินดีในการงานขององค์พระผู้เป็นเจ้ามากยิ่งขึ้น ขอพระเจ้าอวยพรเขา และขอสันติสุขถังใหญ่ที่จะเทลงบนศีรษะของเขา เพราะความชื่นชมยินดีในองค์พระผู้เป็นเจ้าเป็นกำลังของเรา (นหม.8:10)

10. วันแห่งคนยามได้มาถึง

วันแห่งคนยามได้มาถึงแล้ว คำพูดของ ศจ.จอห์น กรีนฟิลด์ นักประกาศที่ยิ่งใหญ่ชาวโมราเวียนและนักเขียน แม้ว่าจะล่วงเลยมาราว 70 ปีหรือมากกว่านั้นแล้วก็ตาม “การอธิษฐานจะนำหน้าวันเพ็นเทคอสเสมอ หนังสือกิจการได้บรรยายถึงการเทลงหลายๆ ครั้งของพระวิญญาณบริสุทธิ์ แต่ไม่มีสักครั้งที่ปราศจากการอธิษฐาน ในสมัยของเราเองการฟื้นฟูครั้งยิ่งใหญ่ในเวลส์และในเกาหลีก็นำหน้าด้วยการอธิษฐานอย่างร้อนรนและเป็นหนึ่งเดียวกันนับเดือนๆ หรือปีๆ ด้วยเหตุนี้การประชุมอธิษฐานจึงมีความสำคัญอย่างยอดยิ่ง เพราะการประชุมอธิษฐานคือ ‘คลังสรรพาวุธของคริสตจักร’”

ก่อนที่คุณจะมีส่วนในการเป็นคนยามขององค์พระผู้เป็นเจ้า จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องถวายตัวเป็นเครื่องบูชาที่มีชีวิตบนแท่นบูชาของพระเจ้า และให้พระองค์ บัพติศมาคุณครั้งใหม่ในไฟบริสุทธิ์ของพระองค์เสียก่อน

สำหรับหลักของการฟื้นฟูนั้น พระเจ้าทรงเรียกร้องการยอมจำนนในส่วนบุคคล สัญญาใจ และการรับใช้อย่างถวายชีวิตในการอธิษฐาน และในการเป็นพยานต่อหน้าชุมชนถึงพระสิริของพระองค์!
เมื่อคนของพระเจ้ากล้าที่จะถวายชีวิตแด่พระวิญญาณบริสุทธิ์ และดำเนินชีวิตในการอธิษฐานอย่างไม่หยุดหย่อนแล้ว เขาก็จะสำแดงถึงความชื่นชมยินดีซึ่งซึมซาบอยู่ทั่วชีวิตเขา และจะดึงผู้ที่หลงหายคนแล้วคนเล่าเข้าสู่จุดมุ่งหมายแห่งเบื้องบน
มัทธิว เฮนรี่ ได้เขียนไว้เช่นนี้ว่า “เมื่อพระเจ้าทรงเจตนาจะประทานพระเมตตาใหญ่หลวงแก่คนของพระองค์ สิ่งแรกที่จะทรงทำคือวางพวกเขาไว้ในการอธิษฐาน” พระเจ้าทรงเจตนาที่จะปกคลุมแผ่นดินโลกด้วยพระสิริของพระองค์ และให้พระเมตตาและพระคุณของพระองค์ท่วมท้น แต่สิ่งแรกพระองค์จะต้องปลุกยักษ์หลับของพระองค์คือคริสตจักรเสียก่อน ถึงเวลาแล้วที่เราจะเขย่าโลกเพื่อพระคริสต์

ภาพของเมืองขนาดใหญ่รายล้อมด้วยกำแพงป้องกัน มีเนินเขาอยู่ที่ด้านหนึ่ง และที่ข้ามเนินเขานั้นไป เป็นกองทัพของผู้บุกรุกนับร้อยๆ บนหลังม้า ภาพดังกล่าวยังปรากฏร่างของคนยามบนกำแพงเมืองด้วย เป็นคนยามที่กำลังนอนหลับ มีแตรซึ่งโดยปกติจะถูกใช้เป่าเตือนในยามที่อันตรายมาใกล้ วางอย่างไร้ความหมายเคียงข้างคนยามที่เคลิ้มหลับนั้น และในระหว่างนั้นศัตรูก็รุกใกล้เข้ามายังเมืองที่ไม่มีทางป้องกันตัวเองอย่างสิ้นเชิง ในเอเสเคียล 33:6 ซึ่งกล่าวว่า “แต่ถ้าคนยามเห็นดาบมาแล้วและไม่เป่าเขาสัตว์ ประชาชนจึงไม่ได้รับเสียงตักเตือนและดาบก็มาพาคนหนึ่งคนใดไปเสีย คนนั้นถูกนำไปด้วยเรื่องความบาปชั่วของเขา แต่เราจะลงโทษคนยามเพราะความตายของคนนั้น” นี่น่าจะทำให้เกิด “ความมีสติจากพระเจ้า” อยู่ภายในเรา!!

พระเจ้าทรงมองหาสักคนหนึ่งที่พระองค์จะทรงสิงหรือครอบครองได้ พระองค์อยากที่จะกระทำมากกว่าการเป็นเจ้าของเราตามกฎหมาย เพราะพระองค์ได้ทรงซื้อเราไว้แล้วด้วยพระโลหิตของพระองค์เอง พระองค์ทรงต้องการที่จะครอบครองเราอย่างช่ำชองด้วย เมื่อพระวิญญาณของพระเจ้าทรงสถิตหรือทรงครอบครองกิเดโอน เขาได้กลายเป็นคนใหม่! เขาไม่ใช่เจ้าตัวจ้อยที่มีแต่คำแก้ตัวเรื่องเผ่าอันเล็กน้อยอีกต่อไป เขาถูกครอบครองโดยพระเจ้า และกล้าที่จะเป่าเขาสัตว์ ซึ่งในทันใดนั้นเองด้วยความแปลกใจของเขา ผู้คนนับพันๆ ได้เต็มใจที่จะติดตามเขาในทันที (ผวฉ.6:34)
บรรดาผู้ช่วยที่ประหลาดใจของกิเดโอนทั้ง 22,000 คนอยู่ในความกลัว ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ยากจะเข้าใจ นั่นทำให้เหลือชายพร้อมรบอีกราว 10,000 คนสำหรับศึกสงคราม และในทันใดนั้นเอง “การคัดตัวรอบที่สอง” ก็มาถึง น้อยกว่า 1 ใน 10 ของชายเหล่านี้ที่ผ่านรอบตัดเชือก เพียง 300 คนเท่านั้นที่เหลืออยู่ร่วมกับกิเดโอนจาก 32,000 คนในครั้งแรก

เหตุการณ์นี้เหมือนกับคำพูดของพระเยซูในหนังสือพระกิตติคุณ พระองค์ทรงบอกเรา 4 ครั้งว่า “อย่ากลัวเลย” (นั่นเป็นการคัดเลือกรอบแรก) 4 ครั้งที่ทรงตรัสว่า “จงอดทนไว้และยืนหยัด” (เป็นการคัดเลือกรอบที่สอง) และ 11 ครั้งด้วยกันที่พระองค์ทรงบัญชาเราว่า “จงเฝ้าระวัง” (การคัดเลือกรอบสุดท้ายซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญในการสงคราม)

คำอธิษฐานแห่งการอุทิศถวาย

ข้าพระองค์อยู่ที่นี่ องค์พระผู้เป็นเจ้า ขอทรงครอบครองข้าพระองค์ด้วยชีวิตที่บริสุทธิ์ของพระองค์ สอนข้าพระองค์ให้ปลดปล่อย
อาวุธสูงสุดแห่งสงครามฝ่ายวิญญาณ คือความสุกสว่างแห่งการทรงสถิตอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ ขอให้ไฟแห่งรักร้อนแรงของพระองค์ลุกโหมอยู่บนแท่นบูชาแห่งใจของข้าพระองค์ ขอให้มีไฟอยู่บนแท่นบูชาของข้าพระองค์เสมอและที่จะไม่มีวันมอดดับ ขอทรงนับข้าพระองค์ ขอทรงจารึก ข้าพระองค์ไว้เพื่อการเป็นคนยามบนกำแพงของพระองค์ รื้อฟื้นฤทธิ์อำนาจและความเร่าร้อนแห่งคนยามขององค์พระผู้เป็นเจ้าขึ้น เพื่อราชนามแห่งองค์พระเยซูคริสต์ อาเมน.

เอกภาพแห่งพระกายของพระคริสต์ (UNITY OF THE BODY OF CHRIST)

ทำลายกำแพงความคิดอคติ ประกาศเอกภาพโดยพระวิญญาณ เป็นสะพานเชื่อมพระกายพระคริสต์

กำแพงเบอร์ลินถูกขนานนามว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งสงครามเย็น เริ่มสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 1961 โดยฝ่ายสหภาพโซเวียต ซึ่งทำหน้าที่ปกครองประเทศเยอรมนีตะวันออกในช่วงนั้น เพื่อป้องกันการอพยพของชาวเยอรมันจากเบอร์ลินฝั่งตะวันออกไปยังตะวันตก
เนื่องจากในระหว่างปี 1949-1961 มีชาวเยอรมันกว่า 2,500,000 คนหลั่งไหลออกจากอาณาบริเวณการยึดครองของสหภาพโซเวียตไปสู่อ้อมอกของสหรัฐฯ ในเบอร์ลินตะวันตก
ตลอดระยะเวลาที่กำแพงนี้ถูกสร้างขึ้น มันได้นำความสูญเสียมายังชาวเยอรมนีจำนวนมากที่พยายามจะหลบหนีระบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ถึงแม้ว่าจะมีผู้สามารถหลบหนีออกจากฝั่งตะวันออกได้ประมาณ 5,000 คน แต่ก็มีผู้เคราะห์ร้ายที่ต้องจบชีวิตลงบริเวณกำแพงสัญลักษณ์แห่งนี้ถึง 192 คน เนื่องจากฝ่าด่านเจ้าหน้าที่ไปไม่รอด
แต่แล้วในช่วงกลางปี 1989 ความหวังของการทลายกำแพงเบอร์ลินก็มาถึง เมื่อชาวเยอรมันตะวันออกจำนวนมหาศาลได้รวมตัวกันเดินขบวนประท้วงต่อต้านรัฐบาล ซึ่งต่อมาในวันที่ 18 ตุลาคม 1989 อีริช โฮเนกเกอร์ ผู้นำรัฐบาลก็ได้ประกาศลาออก ทำให้มีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ขึ้นมาแทน
จากนั้น ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 1989 รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกได้สั่งเปิดด่านให้ประชาชนเดินทางข้ามไปยังฝั่งตะวันตกได้อย่างเสรีเป็นครั้งแรก โดย กุนเตอร์ ชวาโบวสกี สมาชิกพรรค Socialist Unity Party of Germany (SDP) เป็นผู้ประกาศกับสื่อมวลชนว่า ข้อจำกัดทุกอย่างในการเดินทางข้ามกำแพงแห่งนี้ถูกยกเลิกหมดแล้ว ทำให้ประชาชนที่อยู่ฝั่งตะวันออกนับหมื่นคนแห่กันไปยังกำแพงเบอร์ลินเพื่อผ่านด่านเจ้าหน้าที่เข้าไปยังฝั่งตะวันตก

ด้วยเหตุนี้ ชาวเยอรมันจึงถือกันว่าวันที่ 9 พฤศจิกายน เป็นวันล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน แต่สำหรับการทลายกำแพงเบอร์ลินนั้นมีขึ้นเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 1990 โดยคงเหลือซากปรักหักพังบางส่วนไว้เป็นอนุสรณ์ และต่อมาในวันที่ 3 ตุลาคม 1990 ก็มีการรวมประเทศเยอรมนีเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นทางการ
(จาก Manager Online หัวข้อ กำแพงเบอร์ลิน (Berlin Wall)

การล่มสลายของกำแพงที่กีดกั้นเสรีภาพในฝ่ายกายภาพนำความยินดีมาได้มากเท่าใด การล่มสลายของกำแพงที่กีดกั้นเสรีภาพในฝ่ายวิญญาณ ย่อมนำความยินดีมาสู่จิตวิญญาณได้มากยิ่งกว่านั้นหลายเท่านัก



ในพระธรรมตอนนี้ เปาโลเตือนใจชาวเอเฟซัสให้ระลึกถึงอดีตของตนที่เคยเป็นคนต่างชาติ ถูกคนยิวกีดกัน รังเกียจ มองว่าเป็นคนอยู่นอกพระคริสต์ ขาดจากการเป็นพลเมืองอิสราเอล และไม่มีส่วนในบรรดาพันธสัญญาซึ่งทรงสัญญาไว้ ไม่มีที่หวัง และอยู่ในโลกโดยปราศจากพระเจ้า มาบัดนี้โดยพระคุณของพระคริสต์ที่ไม้กางเขน พวกเขาได้เป็นพลเมืองเดียวกัน เป็นครอบครัวเดียวกันกับคนยิวแล้ว เอกภาพจึงเกิดขึ้น เอกภาพแห่งชุมชนของพระคริสต์เป็นอย่างไร

1. เอกภาพในความแตกต่าง (ข้อ 11-12) Unity in diversity

11 เหตุฉะนั้นท่าน จงระลึกว่า เมื่อก่อนท่านเคยเป็นคนต่างชาติตามเนื้อหนัง และพวกที่รับพิธีเข้าสุหนัตซึ่งกระทำแก่เนื้อหนังด้วยมือ เคยเรียกท่านว่า เป็นพวกที่มิได้เข้าสุหนัต
12 จงระลึกว่า ครั้งนั้น ท่านทั้งหลายเป็นคนอยู่นอกพระคริสต์ ขาดจากการเป็นพลเมืองอิสราเอล และไม่มีส่วนในบรรดาพันธสัญญาซึ่งทรงสัญญาไว้นั้น ไม่มีที่หวัง และอยู่ในโลกปราศจากพระเจ้า


แม้คนยิวและคนต่างชาติมีความแตกต่างกันมากในฝ่ายกายภาพ แต่ความแตกต่างเหล่านั้นไม่ได้เป็นอุปสรรคในการอยู่ร่วมกันเมื่อเป็นครอบครัวเดียวกันในพระคริสต์ เอกภาพสามารถเกิดขึ้นได้ท่ามกลางความแตกต่างทางเชื้อชาติ การศึกษา หรือฐานะ เพราะต่างมีใจเดียวกันในพระคริสต์ ความแตกต่างเหล่านั้นสามารถนำมาเสริมสร้างกันได้ เพื่อให้คริสตจักรจำเริญขึ้น คริสเตียนจึงไม่ควรเอาความแตกต่างมาเปรียบเทียบเพื่อวัดคุณค่ากัน แต่ควรใช้ความแตกต่างเพื่อเสริมสร้างกัน และส่งเสริมให้อาณาจักรพระเจ้าขยายไปให้มากที่สุด อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของผู้เชื่อทุกคน

2. เอกภาพทางพระคริสต์ (ข้อ 13-17) Unity through Christ

13 แต่บัดนี้ในพระเยซูคริสต์ ท่านทั้งหลายซึ่งเมื่อก่อนอยู่ไกล ได้เข้ามาใกล้โดยพระโลหิตของพระคริสต์
14 เพราะว่าพระองค์ทรงเป็นสันติสุขของเรา เป็นผู้ทรงกระทำให้ทั้งสองฝ่ายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และทรงรื้อกำแพงที่กั้นระหว่างสองฝ่ายลง ...
16 และเพื่อจะทรงกระทำให้ทั้งสองพวกคืนดีกับพระเจ้า เป็นกายเดียวโดยกางเขน ...
17 และพระองค์ได้เสด็จมาประกาศสันติสุขแก่ท่านที่อยู่ไกล และประกาศสันติสุขแก่คนที่อยู่ใกล้


โดยพระคริสต์ผู้ทรงยอมสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อมวลมนุษย์ กำแพงแห่งอคติระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ระหว่างยิว(Jews) กับคนต่างชาติ(Gentiles)และพระเยซูทรงเป็นผู้กำแพงแห่งความบาประหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ได้พังทลายลงกลายเป็นการคืนดีกัน พระองค์ทรงเป็นผู้กลางสร้างสะพานแห่งความสัมพันธ์เชื่อมเรากับพระเจ้า (Bridge Builder)
เราจึงสามารถเข้าใกล้พระเจ้าและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นได้มากยิ่งขึ้น ยิ่งเราใกล้พระคริสต์มากเท่าไร เอกภาพในความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระเจ้าและผู้อื่นยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น

3. เอกภาพโดยพระวิญญาณ (ข้อ 18-19) Unity by the Holy Spirit

18 เพราะว่าพระองค์ทรงทำให้เราทั้งสองพวกมีโอกาสเข้าเฝ้าพระบิดาโดยพระวิญญาณองค์เดียวกัน
19 เหตุฉะนั้นท่านจึงไม่ใช่คนต่างด้าวต่างแดนอีกต่อไป แต่ว่าเป็นพลเมืองเดียวกันกับธรรมิกชน และเป็นครอบครัวของพระเจ้า

โดยพระวิญญาณ ทั้งคนต่างชาติ และคนยิวจึงมีโอกาสเข้าเฝ้าพระเจ้าพระบิดาได้ เป็นเหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน พระวิญญาณทำให้ได้รับสิทธิพิเศษในการเป็นบุตรของพระองค์เหมือนกัน (ยน.1:12) ได้เป็นพี่น้องกันในฝ่ายวิญญาณ ได้รับของประทานจากพระเจ้า และได้รับเป้าหมายเดียวกัน ดังนั้น เมื่ออยู่ในครอบครัวเดียวกัน มีพระบิดาองค์เดียวกัน ทุกคนจึงควรร่วมแรงร่วมใจกันในการรับใช้พระเจ้า รักผูกพันกันในคริสตจักร (รม.12:10) และเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องคริสตจักรที่เป็นพระกายของพระคริสต์

13 พฤษภาคม 2553

12 สัปดาห์แห่งพระพร คริสตจักรแห่งพระบัญชา

สวัสดีครับพี่น้องที่รักในพระคริสต์ นับตั้งแต่เราได้เริ่มคริสตจักรแห่งพระบัญชา เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2010 ที่ผ่านมา จนถึงกลับจากค่ายอาณาจักรแห่งพระสิริ นับจากวันนั้นถึงวันนี้ก็ประมาณ 12 สัปดาห์แล้ว มีพระพรหลายประการ อยากจะแบ่งปันเล่าสู่กันฟัง

1.อพยพตามพระบัญชา

ช่วง 4 ช่วง 4 สัปดาห์แรก เรียกว่า “ช่วงอพยพตามพระบัญชา” ขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับผู้นำคือท่านอาจารย์นิมิตและอาจารย์อ้อย ระเบียบ ที่เป็นเสมือนผู้นำทางให้เราได้เดินไปสู่พระบัญชาของพระเจ้าในชีวิตของเรา
เป้าประสงค์ของพระเจ้าสำหรับคริสตจักร 12 ประการ ผมถือว่าเป็นเสมือนพระบัญชาของพระองค์ที่พระเจ้าทรงเรียกเราได้ก้าวเดินด้วยความมั่นใจ
ขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับพี่น้องร่วมพระบัญชาที่พระเจ้าทรงเรียกมาที่คริสตจักรแห่งนี้
ไม่ง่ายเลยที่จะต้องออกจากที่เดิม เพราะหนทางข้างหน้าเป็นหนทางใหม่ แต่ขอบพระคุณพระเจ้า หลังจากจัดขบวนไพร่พล เราก็ได้สถานที่ใหม่ คือ หอประชุมโรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก หลังจากที่เดินคอตกออกมาจากสถานที่ที่ไปติดต่อหลายแห่ง แต่ก็ได้รับการอวยพระพรจากพระเจ้า

1 โครินธ์ 2:9 ดังที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า สิ่งที่ตาไม่เห็นหูไม่ได้ยิน และสิ่งที่มนุษย์คิดไม่ถึง คือสิ่งที่พระเจ้าได้ทรงจัดเตรียมไว้สำหรับคนที่รักพระองค์

พี่น้องหลายท่าน เห็นสถานที่่แล้วบอกว่า โอ้! พระเจ้า จอร์จ มันยอดมากเลย ขอบคุณ คุณจอร์จ ศักดิ์ชัย ที่ช่วยติดต่อสถานที่จริงๆ
การเคลื่อนไปกับพระเจ้าครั้งนี้ ผมสัมผัสถึงการทรงนำของพระเจ้า หากนึกภาพในพระธรรมอพยพ พระเจ้าทรงนำคนอิสราเอลด้วยเสาเมฆ และเสาเพลิง เราไม่เดินเดียวดาย มีพี่น้องร่วมพระบัญชาที่มีกันและกัน ในการสนับสนุน ทุกคนมีส่วนร่วมกันอธิษฐานเผื่อ และสนับสนุนอย่างเต็มกำลังความสามารถ
ในช่วงนี้ เราต้องเคลื่อนย้ายไปที่ต่างๆ เช่น อัสสัมชัญ บางรัก ,โรงแรม Central Sofitel, โรงแรม Winsor บ้าง เรียกว่าเป็น "พลับพลาสัญจร"

พี่น้องทุกคนจะตั้งใจรับฟังว่าสัปดาห์ต่อไปเราจะไปที่ไหนกัน บางท่านก็เข้าไปสำรวจข้อมูลทาง Web. ของคริสตจักรเรา ภาพเหมือนชาวอิสราเอล ตั้งค่าย และรอฟังเสียงแตรและเดินทางต่อไป
แม้จะมีเหนื่อยบ้างในการสื่อสารและการขนย้ายอุปกรณ์ ขอบพระคุณพระเจ้า ที่พระเจ้าเปลี่ยนเสียงบ่นของเราเป็นเสียงอธิษฐานคร่ำครวญต่อพระเจ้า กลุ่มนักอธิษฐานและโครงการนิเวศอธิษฐานเริ่มเกิดขึ้น ขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับอ.ปู,อ.เชษฐ์ อ.อ๊อดและอ.เค ฝ่ายสถานที่ พวกเราเดินทางไปไหนก็ ไม่หลงทางเพราะมีน้องๆนักศึกษา เหล่าทูตสวรรค์ถือป้ายบอกทาง

2. พำนักที่เต้นท์นัดพบ

ช่วง 4 สัปดาห์ต่อมา ขอบพระคุณพระเจ้าหลังจากที่หาสถานที่มาหลายแห่ง เราก็มาลงตัวที่ตึกหอการค้าไทยจีน ถนนสาทร ช่วงนี้ขอเรียกว่า “พำนักที่เต้นท์นัดพบ”
ขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับพี่ลัดดาและทีมงานในการติดต่อสถานที่แห่งนี้
ช่วงนี้เป็นช่วงแห่งการเสริมสร้างพระกาย การปลดปล่อยของประทานพระคริสต์ (Fivefold ministry) เราได้รับเกียรติจากผู้นำคริสตจักรต่างๆ มาช่วยเสริมสร้างคริสตจักรของเรา เช่น อ.ติ๊ก วรรณา,อใหญ่ สิริพร เป็นต้น รวมถึงเราได้ไปร่วมสัมมนากับพี่น้องคริสตจักรต่างๆด้วย

เอเฟซัส 4:11-12
11 ของประทานของพระองค์ ก็คือให้บางคนเป็นอัครทูต บางคนเป็นผู้เผยพระวจนะ บางคนเป็นผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ บางคนเป็นศิษยาภิบาลและอาจารย์
12 เพื่อเตรียมธรรมิกชนให้เป็นคนที่จะรับใช้ เพื่อเสริมสร้างพระกายของพระคริสต์ให้จำเริญขึ้น

ช่วงสำคัญช่วงหนึ่งคือ วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม เป็นวันเปิดคริสตจักรของเราอย่างเป็นทางการ
(Grand opening) จะเรียกชื่ออีกอย่างไม่เป็นทางการว่า “งานรวมศิษย์เก่าความหวัง “
ตอน "...มันยังอยู่" แม้แต่ละท่านจะไปเกิดผลในที่ต่างๆ แต่ “ความผูกพันมันยังอยู่” อย่างไรก็มาร่วมแสดงความยินดี

ขอบคุณพระเจ้าสำหรับผู้ใหญ่วงการคริสเตียน ให้เกียรติมาร่วมงานและกล่าวอวยพร เช่นอ.ธงชัย ประดับชนานุรัตน์ ,ผู้ปกครอง วีระศักดิ์ ทำให้เรามีความอบอุ่นใจว่าวันนี้เราไม่โดดเดี่ยวและเดินเดียวดาย เราได้ เชื่อมพระกายกับคริสตจักรต่างๆ
สิ่งที่น่าจดจำในช่วงนี้คือ พระเจ้าทรงเปิดประตูสู่ฤดูกาลใหม่(New season) ให้กับคริสตจักรของเรา เราไม่สามารถคิดแบบเก่า ทำสิ่งเดิมได้เพราะพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าแห่งการสร้างสรรค์สิ่งใหม่

อิสยาห์ 48:7 เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นใหม่ ไม่ใช่นานแล้ว ก่อนวันนี้เจ้าไม่เคยได้ยินถึง เกรงเจ้าจะพูดว่า 'ดูเถิด เรารู้แล้ว

เสื้อสีขาวฤดูกาลใหม่ที่เราสวมใส่ เป็นสิ่งเตือนใจเราว่าพระเจ้าได้ปลดเปลื้องสิ่งเก่าให้เราสวมสิ่ งใหม่ ที่พระเจ้าพาเราข้ามสิ่งเก่าเข้าสู่วาระฤดูกาลใหม่ของพระองค์

โคโลสี 3:9-10
9 … เพราะว่าท่านได้ปลดวิสัยมนุษย์เก่า กับการปฏิบัติของมนุษย์นั้นเสียแล้ว
10 และได้สวมวิสัยมนุษย์ใหม่ ที่กำลังทรงสร้างขึ้นใหม่ตามพระฉายของพระองค์ผู้ทรงสร้าง ให้รู้จัก พระเจ้า


ในช่วงนี้เราได้รับพิธีปัสกา(Passover) ในช่วงเทศกาล Easter เราได้ก้าวข้ามผ่านปัญหาและสิ่งที่เราต้องการเปลี่ยนแปลง ทะเลแดงแห่งปัญหาที่ขวางทาง พระเจ้าทรงพาคริสตจักรของเราข้ามไปด้วยพระคุณ

3. เทศกาลแห่งการพักสงบ

ช่วง 4 สัปดาห์นี้เป็นช่วงที่คริสตจักรของเราเข้าสู่ “เทศกาลแห่งการพักสงบ” เพราะเป็นการเตรียมชีวิตที่จะไปค่าย 2010 อาณาจักรแห่งพระสิริ
ขอบคุณพระเจ้าสำหรับอ.ซีคังเส็ง (Chee Kang Seng) และ อ.ซูซาน วัตสัน (Susan Watson)
ที่ท่านมาช่วยเตรียมชีวิตของเราทำให้เราได้เข้าใจเรื่องค่านิยมแห่งอาณาจักรพระเจ้า และชีวิตที่เคลื่อนไปตามพระวิญญาณบริสุทธิ์
ในค่าย 2010 ครั้งนี้ นอกจากสถานที่ที่ยอดเยี่ยมมากๆ คือ โรงแรม Royal Cliff beach resort พัทยา จ.ชลบุรี โรงแรมหรูหรา อยู่บนอุ้งผาแห่งขุนเขา
เป็นเทศกาลแห่งการพักสงบจริงๆ เพราะที่ผ่านมา หลายๆ ท่านอาจจะเป็นมารธาทำงานหนักแต่ไม่ได้พักพิงในพระเจ้า แต่ในค่ายครั้งนี้ เราเป็นดังมารีย์ที่ได้พักสงบในพระองค์

ลูกา 10:41-42
41 แต่องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสตอบเธอว่า "มารธา มารธาเอ๋ย เธอกระวนกระวายและร้อนใจด้วยหลายสิ่งนัก
42 สิ่งซึ่งต้องการนั้นมีแต่สิ่งเดียว มารีย์ได้เลือกเอาส่วนดีนั้น ใครจะชิงเอาไปจากเธอไม่ได้"


ค่ายครั้งนี้ความรู้สึกผมเหมือนกับว่า ได้มาเทศกาลอยู่เพิง ฟังพระคำของพระเจ้า และได้พบปะกับพี่น้องคริสตจักรร่วมพระบัญชาจากต่างจังหวัด คำพยานที่แต่ละท่านมาเล่าให้ฟังเป็นสิ่งที่ทำให้ได้เราการหนุนน้ำใจมาก
ในค่ายครั้งนี้ ดีใจกับพี่น้องหลายๆ ท่านที่ได้รับประสบการณ์แห่งพระวิญญาณฯ เต็มล้นในพระสิรของพระเจ้าและได้รับการเยียวยารักษาจิตใจภายใน ในค่ำคืนแห่งการเยียวยา (Inner Healing)

ขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับวิทยากร Workshop ทั้ง 2 ท่านคืออ.ใหญ่ ศิริพร ชั้นเยียวยาภายใน (Inner Healing) และอ.วรรณา ชั้นสนิทสนมกับพระเจ้า (Intimacy) ที่ไม่ใช่เพียงแค่สอนแต่จับถือเราทำด้วยประสบการณ์ของท่าน ทำให้เราเข้าใจและเข้าถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้งในพระเจ้า

โปรแกรมค่ายที่น่าประทับใจอีกโปรแกรมหนึ่งคือ การเชื่อมพระกาย กำแพงแห่งอคติ 7 สิ่งได้ถูกทำลายลงแล้ว คริสตจักรต่างๆในประเทศไทยได้ร่วมรับใช้เป็นพระกายเดียวกัน ขอพระเจ้าทรงอวยพระพรประเทศไทยของเรา ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าเรากับพระเจ้า และระหว่างเรากับพี่น้องทั้งหลายกลับคืนมา

เอเฟซัส 2:13-14
13 แต่บัดนี้ในพระเยซูคริสต์ท่านทั้งหลายซึ่งเมื่อก่อนอยู่ไกล ได้เข้ามาใกล้โดยพระโลหิตของพระคริสต์
14 เพราะว่าพระองค์ทรงเป็นสันติสุขของเรา เป็นผู้ทรงกระทำให้ทั้งสองฝ่ายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และทรงรื้อกำแพงที่กั้นระหว่างสองฝ่ายลง


ขอบพระคุณคณะผู้จัดงานค่าย ไม่ว่าจะเป็น อ.โปร เกรียงไกร เพื่อนทุกท่าน อ.อ้อย สุกันยาและทีมงานคริสตจักรอาณาจักรแห่งพระสิริ ที่จัดค่ายครั้งนี้ได้น่าประทับใจจริงๆ

4. มุ่งสู่ดินแดนคานาอัน

ขอบคุณพระเจ้าที่ทรงเรียกเราทั้งหลายมาร่วมพระบัญชาของพระองค์ในคริสตจักรแห่งนี้ใน 12 สัปดาห์ที่ผ่านมา ดีใจที่เรามีกันและกันในวันนี้ เราทั้งหลายเป็นส่วนหนึ่งในพระกายของพระ
คริสต์ที่ผูกพันกัน ประสานกันและทำงานร่วมกัน

เอเฟซัส 4:16 คือเนื่องจากพระองค์นั้น ร่างกายทั้งสิ้นที่ติดต่อสนิทและประสานกันโดยทุกๆข้อต่อ ที่ทรงประทานได้จำเริญเติบโตขึ้นด้วยความรัก เมื่ออวัยวะทุกอย่างทำงานตามความเหมาะสมแล้ว

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะมีส่วนช่วยกันสร้างอาณาจักรพระเจ้าบนแผ่นดินโลกร่วมกันครับ
เมื่อพระเจ้าทรงเรียกเราเดินทางไปด้วยกัน เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะเดินมุ่งสู่ดินแดนคานาอันของพระองค์ด้วยกัน

………………………………..

12 พฤษภาคม 2553

ถุงหนังใหม่ ชีวิตใหม่ (New Wineskin and New Life)

ถุงหนังใหม่ ชีวิตใหม่ (New Wineskin and New Life)

มัทธิว 9:14-17
14 แล้วพวกศิษย์ของยอห์นมาหาพระเยซูทูลว่า "เหตุไฉนพวกข้าพระองค์และพวกฟาริสีถืออดอาหาร แต่พวกศิษย์ของพระองค์ไม่ถือ"
15 พระเยซูจึงตรัสกับเขาว่า "ท่านจะให้สหายของเจ้าบ่าวเป็นทุกข์โศกเศร้า เมื่อเจ้าบ่าวยังอยู่กับเขากระนั้นหรือ แต่วันหนึ่งเจ้าบ่าวจะต้องจากเขาไป เมื่อนั้นจะเป็นเวลาที่เขาจะถืออดอาหาร
16 ไม่มีผู้ใดเอาท่อนผ้าทอใหม่มาปะเสื้อเก่า เพราะว่าผ้าที่ปะเข้านั้น เมื่อหดจะทำให้เสื้อเก่า ขาดกว้างออกไปอีก
17 และเขาไม่เอาน้ำองุ่นหมักใหม่มาใส่ในถุงหนังเก่า ถ้าทำอย่างนั้นถุงหนังจะขาด น้ำองุ่นจะรั่ว ทั้งถุงหนังก็จะเสียไปด้วย แต่เขาย่อมเอาน้ำองุ่นหมักใหม่ใส่ในถุงหนังใหม่ แล้วทั้งสองอย่างก็อยู่ดีด้วยกันได้"


พระธรรมตอนนี้ เป็นคำอุปมาของพระเยซูคริสต์ เพื่อสอนศิษย์ของยอห์นในเวลานั้น ให้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีคิด ตลอดจนแนวทางการดำเนินชีวิตติดตามพระเจ้า ให้สอดคล้องกับพันธสัญญาใหม่ที่พระเจ้าจะกระทำต่อมนุษย์ผ่านทางพระคริสต์ เพื่อผู้ที่เชื่อวางใจในพระองค์จะได้รับและได้เข้าใจ โดยไม่ยึดติดอยู่กับธรรมบัญญัติ หรือธรรมเนียมดั้งเดิมที่ชาวยิวถือปฏิบัติกันอยู่ในเวลานั้น โดยที่พระองค์มิได้มาเลิกล้างธรรมบัญญัติ แต่มาทำให้สมบูรณ์ (มธ.5:17) ผ่านการสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน น้ำองุ่นหมักใหม่จึงเล็งถึงพระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็นพันธสัญญาใหม่ ส่วนถุงหนังองุ่นใหม่นั้น เล็งถึงคริสตจักรหรือกลุ่มผู้เชื่อที่ต้องมีการปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมรองรับน้ำพระทัยของพระเจ้าได้อย่างแท้จริง จากพระธรรมตอนนี้ เราสามารถเรียนรู้หลักในการปฏิรูปชีวิตของเราให้เป็นถุงหนังองุ่นใหม่ได้ ดังนี้


1. ปฏิรูปชีวิตส่วนตัว Reform Individually
1.1 ชีวิตที่ไม่ดำเนินอย่างเป็นธรรมบัญญัติ (ข้อ 14) Live not a legalistic life.


ในเวลานั้น ศิษย์ของยอห์นทักท้วงเรื่องการที่ศิษย์ของพระเยซูไม่ได้ถืออดอาหารอย่างที่พวกเขาและพวกฟาริสีได้กระทำ (ข้อ 14) พระเยซูทรงสอนให้พวกเขาเข้าใจว่า แท้จริงแล้ว เบื้องหลังการ อดอาหารนั้น มีเพื่อให้เราจดจ่อในการแสวงหาพระเจ้า แต่ในเมื่อพระเจ้าคือพระเยซูคริสต์ทรงอยู่ต่อหน้าต่อตาเขา เขาจึงควรแสวงหาพระองค์มากกว่าจดจ่อในการอดอาหาร (ข้อ 15ก) และหลายครั้งที่พระเยซูได้ทรงตำหนิพวกฟาริสีเกี่ยวกับการถือธรรมบัญญัติโดยปราศจากท่าทีในการแสวงหาพระเจ้าอย่างแท้จริง ชีวิตใหม่ของเราจึงควรเป็นชีวิตที่มีความเข้าใจในธรรมบัญญัติ แต่ไม่ดำเนินอย่างเป็นธรรมบัญญัติ กลับมาพึ่งพาพระคุณความรักของพระเจ้า และจดจ่อในการแสวงหาพระองค์

1.2 ชีวิตที่ไม่ดำเนินในบาป (ข้อ 15) Live not a sinful life.

พระเยซูกล่าวว่า “...แต่วันหนึ่งเจ้าบ่าวจะต้องจากเขาไป เมื่อนั้นจะเป็นเวลาที่เขาจะถืออดอาหาร” เล็งถึงการที่พระเยซูจะต้องถูกตรึงกางเขน เพื่อเป็นค่าไถ่ความผิดบาปของมนุษย์ อันเป็นการทำให้ธรรมบัญญัตินั้นเสร็จสมบูรณ์ คือทำให้เราเป็นคนชอบธรรมได้ ผ่านความเชื่อในพระเยซูคริสต์ผู้ทรงรับโทษบาปแทนเรา โดยพระคุณของพระเจ้านี้ เราจึงไม่ต้องอยู่ใต้ธรรมบัญญัติอีกต่อไป มิใช่เพื่อให้เราดำเนินอยู่ในบาปต่อไปได้ (รม.6:15-16) แต่เพื่อให้เราสำนึกในพระคุณความรักของพระเจ้า จนนำมาซึ่งการกลับใจใหม่จากบาป และดำเนินชีวิตที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง

2. ปฏิรูประบบภาพรวม (ข้อ 16-17) Reform entirely

แม้น้ำองุ่นที่บรรจุอยู่ภายในจะดี แต่หากภาชนะไม่รองรับกัน คุณค่าและความดีงามนั้นก็จะสูญเปล่าไป ทั้งถุงหนังก็จะเสียไปด้วย (ข้อ 17) ระบบภาพรวมของคริสตจักรจึงจำเป็นจะต้องรองรับชีวิตของผู้เชื่อได้อย่างดี และเอื้อต่อการแสวงหาพระเจ้าในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างการอภิบาล การบริหาร หรือโครงสร้างเวลา ที่ช่วยให้สมาชิกสามารถสัมผัสพระเจ้า รับการเปลี่ยนแปลงชีวิตใหม่ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยไม่จำกัดอยู่กับรูปแบบหรือวิธีการเดิมๆ แต่ยังคงไว้ซึ่งเนื้อหาสาระและหลักการของพระเจ้า ผลที่จะเกิดขึ้นคือ สมาชิกจะได้รับชีวิตใหม่ที่มีสันติสุขและมีเสรีภาพในพระเจ้าอย่างแท้จริง

การรับใช้พระเจ้ากับการเคลื่อนไหวของพระวิญญาณ

1โครินธ์ 2:4-5
4 คำพูดและคำเทศนาของข้าพเจ้าไม่ใช่คำที่เกลี้ยกล่อมด้วยสติปัญญา แต่เป็นคำซึ่งได้แสดงพระวิญญาณและพระเดชานุภาพ
5 เพื่อความเชื่อของท่านจะไม่ได้อาศัยสติปัญญาของมนุษย์ แต่อาศัยฤทธิ์เดชของพระเจ้า


•อ.เปาโลได้กล่าวถ้อยคำที่มีจากพระเจ้า
•อ. เปาโล ได้พูดโดยพึ่งพาพระคำของพระเจ้าแม้ท่านเองมีประสบการณ์ในการรับใช้ต่างๆมากมาย
•มีคำพยากรณ์ที่มาถึงประเทศไทย โดย ดร.ซัคเพียสร์ เป็นผู้เผยพระวจนะเกี่ยวกับเรื่องกาลเวลา ทิศทางของสิ่งต่างๆในโลกนี้

•เริ่มเห็นการตอบสนองของคนหนุ่มสาวมากขึ้นเริ่มต้นลุกขึ้นในการรับใช้พระเจ้า
•เมื่อHS ของพระเจ้าเคลื่อนไหวก็จะมีสัญญาณบางอย่างเกิดขึ้น
•เราสามารถตอบสนองได้ โดยอยู่นิ่งเฉยๆ การเคลื่อนตามพระวิญญาณบริสุทธิ์ (HS) และการตอบสนอง HS
•ให้เราเคลื่อนไหวตามHS ที่ ทรงนำเรา

กิจการของอัครทูต บทที่ 2
•จากเหตุการณ์ที่สาวกรอคอยHS มีทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งกายภาพให้เห็น คือ ลม และไฟสัญฐานเหมือนลิ้น
•จากนั้นคนเหล่านั้นเริ่มพูดภาษาต่างๆ เป็นอาการที่เหมือนกับคนเมา จนทำให้คนรอบข้างที่เกิดความไม่เข้าใจ
•การที่ HS ที่พระเจ้ามาเคลื่อนไหวเราไม่สามารถรู้
•สิ่งเหล่านี้เป็นเส้นบางๆระหว่างความมีระบบระเบียบกับสิ่งที่พระเจ้าจะทำ

1.ประสบการณ์ต้องมีพระเจ้าเป็นศูนย์กลาง

2.คนที่พบประสบการณ์จะต้องนำมาซึ่งการหิวกระหายพระเจ้าปรารถนาที่จะเข้าใกล้พระเจ้ามากขึ้น


•ชีวิตจะแตกต่างจากเดิม

3.สำนึกในความบริสุทธิ์ของพระเจ้า

• นำไปสู่การกลับใจมากขึ้น
• คนจะมีชีวิตบริสุทธิ์มากขึ้น ไม่อยู่ในบาป มีชีวิตที่ชอบธรรมมากขึ้น

4.ของประทานจากพระวิญญาณบริสุทธ์จะถูกปลดปล่อยมากขึ้น
  • รู้สึกหิวกระหายพระเจ้า

5.คำพูดของเขาจะเต็มไปด้วยฤทธิ์อำนาจที่มาจากรพระเจ้ามากขึ้น

6.ความชื่นชมยินดีและตื่นเต้นอยู่เสมอ

7.เกิดความรักต่อผู้คนหลงหายและคนที่ยังไม่ได้รู้จักพระเจ้า

  • จะไม่ยึดติดตื่นเต้นกับประสบการณ์ แต่จะปรารถนานำความรักของพระเจ้าออกไป

8.จะเกิดความห่วงใยต่อผู้ด้อยโอกาส


•อสย 61 ปลดปล่อยเชลยสู่อิสรภาพ
  • เมื่อมีประสบการณ์จะเริ่มต้นในการมองที่ผู้อื่นก่อน และปรารถนาในการดูแลผู้อื่นสนใจผู้อื่นมากขึ้น

9.มองไปที่ผลของพระวิญญาณมากกว่าหมายสำคัญและการอัศจรรย์ต่างๆ

  • การสำแดงของกายภาพไม่สามารถตอบได้ว่ามาจากอารมณ์หรือไม่
  • ไม่ควรแสวงหารูปแบบการสำแดงอย่างเดียว แต่ควรแสวงหาผลมากกว่า
  • คนที่มีประสบการณ์ในHS ต้องดูว่าชีวิตของเขาเปลี่ยนแปลงหรือไม่
  • รักพระเจ้ามากขึ้นไหม รักคนมากขึ้นหรือไม่ ชนะบาปได้เร็วขึ้นหรือไม่
  • การสัมผัสของพระเจ้า อาจจะเกิดอาการหลายอย่างเกิดขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าการที่ไม่มีอาการจะหมายถึงการไม่ได้สัมผัสจากพระเจ้า
  • การสัมผัสของพระเจ้าต้องมีเป็นการสัมผัสจากส่วนลึกภายในจิตใจ ที่เกิดจากความสำนึกในความรักของพระเจ้า
  • บางครั้งบางคนเกิดจากมนุษย์ หรือมาจากการตะต้องจากพระเจ้าหรือประสบการณ์จากมนุษย์
  • การสำแดงออกของการกระทำของมนุษย์ในสิ่งต่างๆ เช่น การเห่าหอน การเลื้อย สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ประสบการณ์จากHS แต่มาจากสิ่งที่อยู่ภายในเราที่ซ่อนอยู่ของคนๆนั้น ที่เมื่อHS เข้ามาก็จะเกิดการต่อสู้ คล้ายการถูกผีเข้าเมื่อรับการชำระแล้วก็จะปกติ
    ประสบการณ์ในพระวิญญาณฯ เช่นการก้มกราบ,การนอนราบ,การล้มลง เราไม่สามารถสรุปได้ว่าประสบการณ์มาจากพระเจ้าหรือไม่แต่ต้องดูที่ผลของสิ่งนั้น

10.ประสบการณ์เป็นเรื่องส่วนบุคคลไม่ใช่หลักการ
  • เราไม่สามารถเอาประสบการณ์ของเราเปรียบเทียบกับผู้อื่นเพราะเป็นประสบการณ์ของแต่ละคน
    การสัมผัสพระเจ้าเป็นพียงด่านแรกที่เราต้องปรารถนาลึกลงกับพระเจ้ามากขึ้น

10 พฤษภาคม 2553

ค่านิยมผู้รับใช้

ค่านิยมผู้รับใช้
มก10 :42-45
42 พระเยซูจึงทรงเรียกเขาทั้งหลายมาตรัสว่า "ท่านทั้งหลายรู้อยู่ว่า ผู้ที่นับว่าเป็นผู้ครองของคนต่างชาติ ย่อมเป็นเจ้าเหนือเขา และผู้ใหญ่ทั้งหลายก็ใช้อำนาจบังคับ
43 แต่ในพวกท่านหาเป็นอย่างนั้นไม่ ถ้าผู้ใดใคร่จะได้เป็นใหญ่ในพวกท่าน ผู้นั้นจะต้องเป็นผู้ปรนนิบัติท่านทั้งหลาย
44 และถ้าผู้ใดใคร่จะเป็นเอกเป็นต้น ผู้นั้นจะต้องเป็นทาสสมัครของคนทั้งปวง
45 เพราะว่าบุตรมนุษย์มิได้มาเพื่อรับการปรนนิบัติ แต่ท่านมาเพื่อจะปรนนิบัติเขา และประทานชีวิตของท่านให้เป็นค่าไถ่คนเป็นอันมาก"

บริบท
บริบทพระธรรมตอนนี้ เป็นตอนที่พระเยซูกำลังจะเดินทางไปที่กรุงเยรูซาเล็ม และพระองค์ได้บอกล่วงหน้าว่าพระองค์จะถูกจับและปรับโทษถึงตาย (มก.10:32-33,มธ.20:17-19,ลก.18:31-33) เพื่อสำเร็จตามคำพยากรณ์ (Christ's prediction of his sufferings)
ยอห์นและยากอบไม่เข้าใจสิ่งที่พระเยซูคริสต์พยายามอธิบาย โดยคิดว่าพระเยซูไปที่เยรูซาเล็มและพระองค์จะเต็มไปด้วยสง่าราศีเป็นองค์กษัตริย์ ปกครองแผ่นดิน พวกเขาจึงขอให้ได้นั่งครอบครองร่วมกับพระองค์ (37-40) ซึ่งสะท้อนการทะเยอทะยานแบบมนุษย์
แท้จริงพระเยซูต้องการสอนพวกเขาให้เข้าใจแผนการของพระองค์ที่จะไปที่เยรูซาเล็มว่า พระองค์ไปในฐานะผู้รับใช้ของพระเจ้า ที่ยอมเชื่อฟังจนถึงการมรณาที่กางเขน พระองค์ไม่ได้มาเพื่อรับการปรนนัติแต่พระองค์มาเพื่อปรนนิบัติและประทานชีวิตพระองค์เองเพื่อเป็นค่าไถ่ให้กับทุกคน

(ฟป.2:6-8)
6 ผู้ทรงสภาพของพระเจ้า แต่มิได้ทรงถือว่าการเท่าเทียมกับพระเจ้านั้นเป็นสิ่งที่จะต้องยึดถือ
7 แต่ได้กลับทรงสละ และทรงรับสภาพทาส ทรงถือกำเนิดเป็นมนุษย์

ฉะนั้นคนที่จะเป็นสาวกของพระคริสต์ที่แท้จริงไม่ได้ปรารถนาในตำแหน่ง หรือการได้รับเกียรติแต่ต้องทำหน้าที่เป็นผู้รับใช้ และมีหัวใจแบบพระเยซูคริสต์
ค่านิยมของผู้รับใช้ที่แท้จริงควรเป็นอย่างไร
ค่านิยมผู้รับใช้ : ผู้ปรนนิบัติ (รับใช้)
ไม่แสวงหาตำแหน่ง

มก 1o:35-37
35 ฝ่ายยากอบกับยอห์นบุตรของเศเบดีเข้ามาทูลพระองค์ว่า "พระอาจารย์เจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งสองปรารถนาจะขอให้พระองค์ ทรงกระทำตามคำขอของข้าพระองค์"
36 พระองค์จึงตรัสถามเขาว่า "ท่านทั้งสองปรารถนาจะให้เราทำสิ่งใดให้ท่าน"
37 เขาจึงทูลตอบว่า "เมื่อพระองค์จะทรงพระสิรินั้น ขอให้ข้าพระองค์นั่งที่เบื้องขวาพระหัตถ์คนหนึ่ง เบื้องซ้ายคนหนึ่ง"
ทั้งยากอบและยอห์นคิดว่าเมื่อพระองค์ฟื้นขึ้นในวันที่สามได้เป็นกษัตริย์ผู้ทรงพระสิริแล้ว พวกเขาในฐานะที่เป็นสาวกของพระองค์ก็จะต้องได้เป็นพวกขุนนาง หรือมีตำแหน่งที่ถูกยกขึ้นเช่นกัน
เป็นความรู้สึกคาดหวัง เป็นความทะเยอทะยานที่จะได้หน้าได้ตา ได้เกียรติเพื่อสนองตัณหาในแบบมนุษย์
แต่ท่าทีนี้ไม่ใช่น้ำพระทัยพระเจ้า

ถาม : เกียรติและตำแหน่งมาจากไหน?
ตอบ : มาจากพระเจ้า

กท1:1
1 เปาโล ผู้เป็นอัครทูต (มิใช่มนุษย์แต่งตั้ง หรือมนุษย์เป็นตัวแทนแต่งตั้ง แต่พระเยซูคริสต์และพระบิดาเจ้า ผู้ทรงโปรดให้พระเยซูเป็นขึ้นมาจากความตาย ได้ทรงแต่งตั้ง)


เปาโลบอกว่าตำหน่งอัครทูตของท่านมาจากพระเจ้าแต่งตั้ง ไม่ใช่มนุษย์แต่งตั้ง
เมื่อพระเจ้ามอบหมายให้เรามีตำแหน่ง เราก็ต้องรับผิดชอบต่อตำแหน่ง หรือบทบาทนั้นอย่างเต็มที่เช่นกัน
ถาม : ไม่มีตำแหน่งรับใช้ได้ไหม?
ตอบ : ได้ เพราะทุกคนถูกเรียกมาให้รับใช้พระเจ้า เพียงแต่ตำแหน่งเป็นตัวบอกบทบาทที่ต้องทำอย่างเฉพาะเจาะจงมากขึ้น
เช่น บางคนคิดว่า ไม่มีตำแหน่งฝ่ายวิญญาณห้ามสอน จริงหรือไม่
แท้จริงแล้ว เราสามารถสอนได้ เพราะมธ.28:19-20 บอกให้เราออกไปสั่งสอน…
พระคัมภีร์บอกว่า ไม่ใช่แค่คนใดคนหนึ่ง แต่ใช้ว่า “เจ้าทั้งหลาย”

มธ.28:19-20
19 เหตุฉะนั้นเจ้าทั้งหลายจงออกไปสั่งสอนชนทุกชาติ ให้เป็นสาวกของเรา ให้รับบัพติศมาในพระนามแห่งพระบิดา พระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์
20 สอนเขาให้ถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกเจ้าไว้ นี่แหละเราจะอยู่กับเจ้าทั้งหลายเสมอไป จนกว่าจะสิ้นยุค"

เราทุกคนสอนได้แม้ไม่มีตำแหน่ง แต่คนจะยอมรับหรือไม่ แท้จริงอยู่ที่ชีวิต ต่างหาก

การมีตำแหน่งเป็นผู้นำ ก็เช่นกัน ไม่ว่าเราจะเป็นหัวหน้าแคร์ หน่วย แขวง เขต หรือ ตำแหน่งฝ่ายวิญญาณใด ๆ แท้จริงอยู่ที่ชีวิต
ดังนั้นเมื่อถามว่าผู้นำคือใคร
ถาม : ผู้นำคือใคร?
คำตอบคือ ผู้นำคือ คนที่มีตำแหน่ง แต่ตำแหน่งไม่พอ ต้องมีชีวิตที่ดีด้วย
ผู้นำ= ตำแหน่ง + ชีวิต
ดังนั้น ผู้นำที่มีทั้งตำแหน่งและชีวิตที่ดี จึงสมควรได้รับเกียรติ

1 ทธ 3:13
13 เพราะว่าคนที่ทำหน้าที่มัคนายกได้ดีก็มีเกียรติ และมีใจกล้าเป็นอันมากเพราะความเชื่อซึ่งมีใน พระเยซูคริสต์

1 ทธ5:17
17 จงถือว่าผู้ปกครองที่ปกครองดีนั้นสมควรได้รับเกียรติสองเท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครองที่เทศนาและสั่งสอน

ฟป2:29-30
29 เหตุฉะนั้น ท่านจงต้อนรับเขาไว้ในองค์พระผู้เป็นเจ้าด้วยความยินดีอย่างยิ่ง และจงนับถือคนอย่างนี้
30 เพราะเขาเกือบจะสิ้นชีวิตเสีย เนื่องจากการปฏิบัติงานของพระคริสต์ เขาได้เสี่ยงชีวิตของเขา เพื่อการปรนนิบัติของท่านต่อข้าพเจ้าจะได้เต็มบริบูรณ์

พระเจ้าไม่ต่อต้านการมีตำแหน่ง แต่พระเจ้าปรารถนาให้มีการทำหน้าที่ตามตำแหน่งด้วยชีวิตด้วย
เกียรติมาจากการรับใช้ ทำหน้าที่ไม่ใช่อยู่ที่ตำแหน่ง
ถาม : ทำไมผู้นำหลงหาย?
หลายครั้งเราเห็นผู้นำหลงหาย เพราะอะไร สาเหตุหนึ่งมาจากการยึดมั่นถือมั่นกับตำแหน่ง ตำแหน่งเป็นเหมือนหน้าตา เมื่ออยู่บนตำแหน่งก็คิดว่าต้องไม่ให้คนเห็นความผิดพลาดของตนเอง
แต่เราต้องมองให้ถูกต้อง
แท้จริงผู้นำคือ คนบาปคนหนึ่งที่สำนึกในพระคุณพระเจ้า

2 ทธ1:9
9 ผู้ทรงช่วยเราให้รอด และทรงให้เรามาเป็นผู้รับใช้ของพระองค์ ไม่ใช่เพราะเห็นแก่การดีที่เราได้กระทำ แต่เพราะเห็นแก่พระประสงค์ของพระองค์เอง และพระคุณซึ่งทรงประทานแก่เรา ในพระเยซูคริสต์ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์มานั้น

ดังนั้นผู้นำสามารถอ่อนแอผิดพลาดได้ แต่เมื่อผิดพลาดก็ต้องลุกขึ้น เดินต่อไป ทำหน้าที่ตามตำแหน่งที่พระเจ้ามอบหมายให้ทำต่อไป

2.ไม่ใช้อำนาจบาตรใหญ่
พระวจนะกล่าวในข้อ 42 ว่า…
ข้อ 42 พระเยซูจึงทรงเรียกเขาทั้งหลายมาตรัสว่า "ท่านทั้งหลายรู้อยู่ว่า ผู้ที่นับว่าเป็นผู้ครองของคนต่างชาติ ย่อมเป็นเจ้าเหนือเขา และผู้ใหญ่ทั้งหลายก็ใช้อำนาจบังคับ
โดยทั่วไปคนที่มีอำนาจ จะใช้สิทธิอำนาจที่มีเพื่อบีบบังคับผู้อื่น เหมือนดังที่พระเยซูบอกว่า มีอำนาจ “เพื่อจะเป็นเจ้าเหนือเขา”

คำว่า “เพื่อจะเป็นเจ้าเหนือเขา” ในรากศัพท์ภาษาเดิมหมายถึง การครอบครอง ทำตัวเหนือ หรือ มีชนะเหนืออีกฝ่ายหนึ่ง
แต่พระเจ้าไม่ได้สอนเราให้ทำเช่นนั้น

ถาม : แล้วพระเจ้าให้สิทธิอำนาจแก่เราเพื่ออะไร?
พระเจ้ามอบสิทธิอำนาจแก่เราเพื่อใช้ให้ถูกต้องคือ ที่จะนำสวัสดิภาพไม่ใช่นำทุกขภาพมาให้ผู้คน
สิทธิอำนาจของพระเจ้าที่มอบให้แก่คนในตำแหน่งต่าง ๆ ถูกนำมาใช้ผิดวัตถุประสงค์ของพระเจ้าเพราะความบาปจึงถูกนำมาสนองตัณหาของตนแทน
เมื่อเราเป็นคนของพระเจ้าถูกเรียกเข้าสู่ความสว่างแล้ว จึงเข้าใจน้ำพระทัยของพระเจ้าและหันกลับมาใช้ให้ถูกต้อง
ทุกคนที่พระเจ้ามอบหมายหรือให้สิทธิอำนาจแก่เรามีส่วนเข้าไปดูแลชีวิตเขา เราต้องดูแลให้ดี ให้สิทธิอำนาจที่เรามีนำสวัสดิภาพมาถึงเขา อย่าให้เป็นเหมือนคนในอาณาจักรฝ่ายโลกที่มืดมัวในบาปใช้อำนาจ ตำแหน่งหน้าที่ที่สูงกว่าบีบบังคับหรือกลั่นแกล้งผู้อื่นด้วยอำนาจของตน เช่น การใช้อำนาจเพื่อเส้นสาย แต่งตั้งลูกน้องคนสนิทขึ้นสู่ตำแหน่งโดยไม่เป็นธรรม ทำให้ผู้ชอบธรรมที่ไม่มีเส้นสายเดือดร้อนต้องทุกข์ระทม เป็นต้น
สังคมใดที่มีการใช้สิทธิอำนาจอย่างไม่ถูกต้อง ย่อมทำให้เกิดความทุกข์โศก และสังคมจะวุ่นวาย

สภษ.29:2 เมื่อคนชอบธรรมทวีอำนาจ ประชาชนก็เปรมปรีดิ์แต่เมื่อคนชั่วร้ายครอบครองประชาชนก็คร่ำครวญ

ในฐานะผู้รับใช้ พระเจ้าไม่ปรารถนาให้เราใช้อำนาจบาดใหญ่ต่อกัน แต่ให้เราเป็นแบบอย่างต่อแกะด้วยความรัก

1 ปต5:3
3 และไม่ใช่เหมือนเป็นเจ้านายที่ข่มขี่ผู้ที่อยู่ใต้อำนาจ แต่เป็นแบบอย่างแก่ฝูงแกะนั้น


3.รับใช้ด้วยใจสมัคร
ข้อ 44 และถ้าผู้ใดใคร่จะเป็นเอกเป็นต้น ผู้นั้นจะต้องเป็นทาสสมัครของคนทั้งปวง

พระวจนะกล่าวว่า นี่คือ สิ่งที่ต้องสมัครใจทำ คือ เต็มใจที่จะรับใช้คนอื่น โดยไม่มีใครมาบีบบังคับให้ต้องทำ
คือ สมัครใจที่จะรับใช้อย่างทาส นั่นหมายถึง การสมัครใจที่จะทำแม้ไม่ได้รับความสะดวกสบาย แม้ไม่ง่าย แม้ต้องเหน็ดเหนื่อย แม้ต้องเจ็บปวด
พระคัมภีร์ใช้คำว่า ทาส แสดงว่า งานนั้นหนักหนาสาหัส ไม่สบายเลย
และนี่เป็นสิ่งที่ย้อนตามเราว่า เราสมัครใจที่จะทำไหม?

ถาม : เหตุใดที่ทำให้เราสมัครใจที่จะรับใช้ผู้อื่น?
เพราะความรักและแบบอย่างชีวิตของพระเยซูคริสต์

ฟป 2:7
7 แต่ได้กลับทรงสละ และทรงรับสภาพทาส ทรงถือกำเนิดเป็นมนุษย์

ด้วยเหตุนี้เราจึงเต็มใจทำทุกสิ่งที่พระองค์ให้ทำ ด้วยความเต็มใจ

1 ปต 5:2
2 จงเลี้ยงฝูงแกะของพระเจ้าที่อยู่ในความดูแลของท่าน {สำเนาต้นฉบับบางฉบับเพิ่มคำว่า เอาใจใส่ดูแล} ไม่ใช่ด้วยความฝืนใจแต่ด้วยความเต็มใจ ไม่ใช่ด้วยการเห็นแก่ทรัพย์สิ่งของที่ได้มาโดยทุจริต แต่ด้วยใจเลื่อมใส

ถาม : วันนี้ท่านสมัครใจที่จะทำอะไรเพื่อพระเจ้าบ้าง?

4.รับใช้คนทั้งปวง
ข้อ 43-45
43 แต่ในพวกท่านหาเป็นอย่างนั้นไม่ ถ้าผู้ใดใคร่จะได้เป็นใหญ่ในพวกท่าน ผู้นั้นจะต้องเป็นผู้ปรนนิบัติท่านทั้งหลาย
44 และถ้าผู้ใดใคร่จะเป็นเอกเป็นต้น ผู้นั้นจะต้องเป็นทาสสมัครของคนทั้งปวง
45 เพราะว่าบุตรมนุษย์มิได้มาเพื่อรับการปรนนิบัติ แต่ท่านมาเพื่อจะปรนนิบัติเขา และประทานชีวิตของท่านให้เป็นค่าไถ่คนเป็นอันมาก"

พระเยซูคริสต์ปรารถนาให้สาวกของพระองค์รับใช้ คนทั้งปวง ซึ่งในภาษาอังกฤษใช้คำว่า All
ซึ่งนั่นหมายถึง ไม่ใช่แค่รับใช้ตัวเอง แต่คนทั้งปวงด้วย คือ ไม่เพียงแค่คนที่น่ารัก น่าทำดีด้วย แต่หมายถึง คนทุกคนที่ดูเหมือนไม่น่ารัก กับเรา ด้วยเช่นกัน
เพื่ออะไร ก็เพื่อนำคนทั้งปวงมาถึงพระคริสต์ และรับพระคุณความรอดนั่นเอง

มก 9:35
35 พระเยซูได้ประทับนั่ง แล้วทรงเรียกสาวกสิบสองคนนั้นมาตรัสแก่เขาว่า "ถ้าผู้ใดใคร่จะได้เป็นคนต้น ก็ให้ผู้นั้นเป็นคนสุดท้าย และเป็นผู้รับใช้ของคนทั้งปวง"

มธ 23:11
11 ผู้ใดที่เป็นนายใหญ่ในพวกท่าน ผู้นั้นย่อมต้องรับใช้ท่านทั้งหลาย
การรับใช้ เอาใจใส่ผู้อื่น ถือเป็นการปรนนิบัติพระคริสต์ ดังที่เอปาฟรัสกระทำ และเปาโลชื่นชมเขา


คส1:7
7 ดังที่ท่านได้เรียนจากเอปาฟรัสซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานที่รักของเรา เขาเป็นผู้ที่เอาใจใส่ปรนนิบัติพระคริสต์เพื่อพวกเราจริงๆ


เปาโลใช้ร่างกายในชีวิตนี้เพื่อปรนนิบัติรับใช้ผู้อื่น

ฟป1:23-24
23 ข้าพเจ้าลังเลใจอยู่ในระหว่างสองฝ่ายนี้ คือว่า ข้าพเจ้ามีความปรารถนาที่จะจากไปเพื่ออยู่กับพระคริสต์ ซึ่งประเสริฐกว่ามากนัก
24 แต่การที่ข้าพเจ้ายังมีชีวิตอยู่ในร่างกายนี้ก็จำเป็นมากสำหรับพวกท่าน

การรับใช้คนทั้งปวง เป็นดัชนีชี้วัดความเติบโตของผู้รับใช้

ทิตัส
2 คร 8:23
23 ส่วนทิตัส เขาเป็นเพื่อนร่วมงานของข้าพเจ้า และเป็นผู้ช่วยในการรับใช้ท่านทั้งหลาย ส่วนพี่น้องสองคนนั้น เขาเป็นทูตรับใช้ของคริสตจักรทั้งหลายเป็นศักดิ์ศรีของพระคริสต์


ทิโมธี
ฟป2:20
20 ข้าพเจ้าไม่มีผู้ใดที่มีน้ำใจเหมือนทิโมธี เป็นคนเอาใจใส่ในทุกข์สุขของท่านอย่างแท้จริง


เอปาโฟรดิตัส
ฟป2:25
25 ข้าพเจ้าคิดแล้วว่า จะต้องให้เอปาโฟรดิทัสน้องของข้าพเจ้า ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานและเพื่อนทหารของข้าพเจ้า และเป็นผู้รับใช้ของพวกท่านให้ปรนนิบัติข้าพเจ้าในยามขัดสน ไปหาท่านทั้งหลาย

…………………………………………………..