26 พฤษภาคม 2556

ส่งต่อไฟแห่งการฟื้นฟู

ในช่วงก่อนค่ายประจำปี 2013 เราได้มีโอกาสเรียนรู้ในเรื่องจุดไฟแห่งการฟื้นฟู ในครั้งนี้เราจะมาทำความเข้าใจในเรื่องของการ “ส่งต่อไฟแห่งการฟื้นฟู” ร่วมกัน
(บทความต่อเนื่องจาก เรื่อง "จุดไฟแห่งการฟื้นฟู" )



จากพระธรรม ฮีบรู 1:7 กล่าวว่าพระองค์จะทรงบันดาลพวกทูตของพระองค์ให้เป็นดุจลมและทรงบันดาลผู้รับใช้ของพระองค์ให้เป็นดุจเปลวเพลิง

พระเจ้าทรงใช้ทูตสวรรค์เป็นเหมือนลมหรือไฟซึ่งเป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นในธรรมชาติ   ทูตสวรรค์เป็นวิญญาณผู้รับใช้ ผู้ทำการปรนนิบัติพระองค์  

ในพระธรรมกิจการฯ บทที่ 2 คริสตจักรสมัยแรกเมื่อรับไฟแห่งพระวิญญาณฯ พระเจ้าทรงส่งบรรดาอัครทูต(ผู้ที่ทรงใช้ไป) เริ่มจากเยรูซาเล็ม แคว้นยูเดีย สะมาเรียและจนสุดปลายแผ่นดิน เราทั้งหลายก็จะเป็นดังผู้ที่พระเจ้าทรงส่งออกไปเพื่อนำไฟแห่งการฟื้นฟูไปสู่โลกนี้เช่นกัน

เราจึงจำเป็นต้องรับไฟเพื่อการฟื้นใจ(Restoration)  รักษาไฟในเพื่อการฟื้นฟู(Revival)และส่งไฟการฟื้นฟูเพื่อนำการพลิกฟื้นไปสู่ชุมชน(Transformation)   พระเจ้าต้องการที่จะ“ฟื้นใจด้วยไฟแห่งการฟื้นฟู” เราจะได้รับสิ่งต่างๆจากพระเจ้าดังต่อไปนี้

 

1.      รับไฟเพื่อการฟื้นใจ

 ผู้รับใช้พระเจ้า เอลียาห์(อสย.6:1-4) ได้มีประสบการณ์แห่งการรับไฟเพื่อการฟื้นใจด้วยการพบกับทูตของพระเจ้านั่นคือ “เสราฟิม”  เหล่าทูตสวรรค์แห่งไฟ!  ด้วยว่าชื่อของพวกเขา เสราฟิม นั้น หมายถึงบรรดาผู้ที่ลุกเป็นไฟ

ในสภาพของประเทศอิสราเอลในเวลานั้น เป็นช่วงตกต่ำที่สุด นั่นคือการตกเป็นเชลยของบาบิโลน   พระธรรมอิสยาห์ได้กล่าวถึงการพิพากษาและเผยพระวจนะถึงการปลดปล่อยชนชาติอิสราเอล

สิ่งที่สำคัญของพระธรรมอิสยาห์คือ การเผยพระวจนะถึงการพิพากษาโลกและการครอบครองของพระเมสิยาห์ในวาระสิ้นยุค  พระเจ้าทรงเลือกท่าน และเจิมท่านให้เป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า   ท่านตระหนักว่าท่านเป็นคนบาปและไม่สมควรคู่ควรต่องานพันธกิจนี้  

พระเจ้าจึงใช้ถ่านเพลิงจากแท่นบูชา แตะที่ริมฝีปากของท่าน   ความหมายของ ถ่านเพลิงนี้ คือถ่านเพลิงที่หยิบออกมาจากแท่นบูชา เล็งถึง การถวายบูชาของพระคริสต์ซึ่งได้เอาความผิดบาปอันมากมายของพวกเราทั้งหลายไป!

ถ่านนั้นมีไฟที่มีชีวิตอยู่ข้างใน ซึ่งเล็งถึงชีวิตแห่งการเป็นขึ้นจากตายของพระคริสต์  ก่อนที่พระเจ้าจะใช้เราในการรับใช้  พระเจ้าต้องฉวยเราออกมาจากปากแดนของมารซาตาน

ตัวอย่างเช่น พระเจ้าทรงฉวยโยชูวาบุตรเยโฮซาดัก มหาปุโรหิต(ศคย.3:1-2 )จากมารที่มาปรักปรำท่าน  มารพยายามปรักปรำในความบาปและประจานเรา ต้องการให้เราต้องตายไปในไฟแห่งการพิพากษาเช่นเดียวกับมัน แต่พระเจ้าทรงฉวยเรา เหมือนเอาดุ้นฟื้นออกจากกองไฟ

วันนี้ พระเจ้าทรงไถ่เราแล้ว เราจึงต้องเรากลับใจจากบาป กลับมาหาพระเจ้า และพระองค์จะให้ไฟแห่งการชำระเพื่อทำให้เราบริสุทธิ์ดุจดังทองคำที่ถูกชำระด้วยไฟ

 มารซาตานมักจะพูดถึงอดีตของเรา ต้องการปรักปรำปรับโทษเรา ทั้งนี้เนื่องจากมันชอบพูดถึงอดีตเพราะมันเป็นพวก “ไม่มีอนาคต อนาคตของมันคือ “บึงไฟนรก”

หากในวันนี้ มารมาปรักปรำเราในเรื่องอดีต เราก็บอกมันกลับไปว่า “อนาคตของมันถูกปรับโทษแล้วโดยพระเจ้า”  เราจะต้องรับไฟจากพระเจ้าเพื่อการฟื้นฟูใจ


2.      รักษาไฟการทรงสถิต 

ไฟแห่งการทรงสถิต หมายถึง ไฟที่อยู่ภายในชีวิตของเรา  ในสมัยพระคัมภีร์เดิมปุโรหิตจะเข้าไปในพลับพลา เพื่อรักษาไฟที่แท่นบูชาให้ติดอยู่เสมอไม่ให้มอดดับไป (ลนต. 6:13)     

สิ่งเหล่านี้สัญลักษณ์ที่เล็งถึงชีวิตของเรา เมื่อเราตัดสินใจเชื่อวางใจในพระคริสต์แล้ว พระวิญญาณทรงประทับในชีวิตของเรา เป็นภาพของการจุดไฟที่คันประทีป(Menorah)และมีการเติมน้ำมันอยู่เสมอ เราจะต้องรักษาไฟพระวิญญาณนี้ไม่ให้มอดดับลงไป

ปรากฏการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ของโลกในเทศกาลเพ็นเทคอสต์ ที่บันทึกไว้ในพระธรรมกิจการฯ บทที่ 2:1-20 ไฟของพระวิญญาณเทลงมา บรรดาสาวกก็เต็มล้นด้วยพระวิญญาณมีอาการควบคุมตัวเองไม่ได้เหมือนการเมาเหล้าองุ่น มีการพูดภาษาแปลกๆ และมีการฟื้นฟูใหญ่ ข่าวประเสริฐแพร่ออกไปทั่วโลก

ไฟแห่งฤทธิ์เดชในวันเพ็นเทคอสต์ เป็นกิจการของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ทรงปรากฏ 2 ลักษณะตามการงานของพระองค์ 

ลักษณะแรก คือ  การเคลื่อนไหวเหนือบรรยากาศโลกทรงควบคุมทุกเหตุการณ์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมของมนุษย์ทางภายนอก ในภาษากรีกใช้คำว่า “เพลโท (Pletho)” เป็นไฟแห่งการฟื้นฟู เพื่อเป็นประโยชน์ต่อพระราชกิจของพระองค์เป็นครั้งเป็นคราว สิ่งนี้เป็นปรากฏการณ์ (Phenomenal) ไม่ใช่เหตุการณ์ (Event)  เราจะเห็นได้ว่ามีอาการแปลกๆ เช่นการเมาเหมือนเมาหล้าองุ่น การพูดภาษาแปลกๆ สิ่งเหล่านี้จะปรากฏให้เห็นเมื่อพระเจ้าต้องการให้มีการฟื้นฟู 

ลักษณะที่ 2 คือ เป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์เข้าสู่ภายใน ภาษากรีกใช้คำว่า “เพลรู (Pleroo)”  หมายถึง การทรงสถิตเข้าของพระวิญญาณบริสุทธิ์  เมื่อเข้าไปแล้วจะสถิตอยู่อย่างถาวร โดยจะค่อยๆ เพิ่มพูนขึ้น  หากเรามีชีวิตติดสนิทกับพระเจ้า  การทรงสถิตจะเพิ่มพูนขึ้นมีสภาวะที่ปรากฏคือ อุปนิสัยจิตใจจะเปลี่ยนไป โดยที่สำแดงออกซึ่งพระฉายของพระองค์   สำแดงออกมาเป็นผลพระวิญญาณ 9 ประการ (กท.5:22-23)และนำการปลดปล่อยออกมาเป็นของประทานพระวิญญาณเพื่อการรับใช้ (1คร.12:28-30,รม.12:6-10)

ดังนั้นเราจึงต้องรักษาไฟแห่งการทรงสถิต(Pleroo)ให้เต็มล้นเพื่อจะส่งต่อไฟแห่งการฟื้นฟูใหญ่ (Pletho) เพื่อพระเจ้าจะทำมาซึ่งการพลิกฟื้นชุมชนของเรา(Transformation)

 เราไม่ต้องรอคอยการฟื้นฟูเพราะการฟื้นฟูมาแล้ว ตั้งแต่ฤทธิ์เดชของพระวิญญาณฯที่เทลงมาเหนือผู้เชื่อและผู้เชื่อออกไปส่งต่อไฟแห่งการฟื้นฟูไปทั่วโลก จนมาถึงเราทั้งหลาย เราจึงต้องรักษาไฟแห่งการทรงสถิต(Pleroo)ให้เต็มล้นเพื่อจะส่งต่อไฟแห่งการฟื้นฟูใหญ่ (Pletho) เพื่อพระเจ้าจะนำมาซึ่งการพลิกฟื้นชุมชนของเรา(Transformation)  

การฟื้นฟูยิ่งใหญ่จึงเริ่มต้นจากหัวใจที่ใหญ่ยิ่งที่ถ่อมใจยอมให้พระเจ้าทรงใช้หัวใจที่ยิ่งใหญ่มาจากหัวเข่าที่ถ่อมลงร่วมกันอธิษฐานเพื่อการฟื้นฟูใหญ่จะมาสู่พื้นที่ที่เราอยู่

ผู้รับใช้พระเจ้า เอ็ดวิน ออร์  (Edwin Orr) กล่าวว่า  “เมื่อพระเจ้าจะทำการฟื้นฟูใหญ่ พระองค์จะเตรียมคนของพระองค์สำหรับการอธิษฐานเสมอ”

ตัวอย่างเช่น ชุมชนโมราเวียน( Moravians) จัดเวรยามเพื่ออธิษฐานร่วมกัน 24ชม.จำนวน 7 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องกันถึง 127 ปี   ชุมชนนี้จึงกลายเป็นฐานการส่งออกมิชชันนารี มีมิชชันนารีถูกส่งออกไป 226 คน ส่งผลกระทบออกไปทั่วโลก แม้กระทั่งจอห์น เวสเลย์ (John Wesley) นักเทศนาฟื้นฟูที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ ก็ได้รับการฟื้นฟูจากชุมชนนี้เช่นกัน
           ในปัจจุบันนี้การอธิษฐานแบบ 24/7 มีปรากฏที่ประเทศเกาหลีใต้ ในปี ค..1973  เดวิด ยอง กี โช ได้เริ่มก่อตั้งภูเขาอธิษฐานที่มีการอธิษฐานทั้งกลางวันและกลางคืน มีคนเป็นล้านได้ไปที่ภูเขาอธิษฐานคริสตจักรท่านได้เติบโตมีสมาชิกกว่า1 คนเป็นคริสตจักรที่มีสมาชิกมากที่สุดในโลกจนถึงปัจจุบันนี้    นี่คือการรักษาไฟแห่งการฟื้นฟูที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องแต่สิ่งที่สำคัญมากกว่านั้น นั่นคือ

3.      ส่งไฟแห่งการฟื้นฟู  (กจ.1:8 ,กจ.2)

จากพระธรรมกิจการฯ บทที่ 2 เกิดการฟื้นฟูใหญ่ไปทั่วโลก ดังนั้นเมื่อพระเจ้าทรงจุดไฟด้วยพระวิญญาณซึ่งเป็นไฟภายในใจของเรา (pleroo) เราจะต้องส่งไฟแห่งการฟื้นฟูซึ่งเป็นไฟภายนอก(pletho) ออกไป  การฟื้นฟูต้องเริ่มต้นจากคุณภาพชีวิตภายในก่อน ไม่ใช่เน้นปริมาณภายนอก   เราอาจจะมีปริมาณแต่อาจจะไม่มีคุณภาพ แต่ถ้าเรามีคุณภาพสิ่งที่จะตามมาคือปริมาณ   คริสตจักรส่วนใหญ่สนใจในสถิติ  แต่คริสตจักที่เป็นถุงหนังน้ำองุ่นใหม่จะเราสนใจใน “การทรงสถิตมากกว่าสถิติ”ตัวเลข เมื่อคริสตจักรมีคุณภาพจะมีการฟื้นฟูที่เป็นปริมาณที่เป็นผลแสดงออกมา

การฟื้นฟูที่แท้จริงต้องส่งต่อไปสู่คนรุ่นที่สาม  ไม่ใช่การฟื้นฟูหมดที่คนรุ่นแรก  ดังนั้นคริสตจักรจึงต้องเตรียมคนรุ่นต่อไปที่จะส่งต่อการฟื้นฟูครั้งต่อไป 
เราเห็นได้ตัวอย่างจากอาโรน มหาปุโรหิต ที่ผิดพลาดในการเลี้ยงลูกของท่าน 2 คนและบุตรของท่านได้นำไฟต้องห้ามไปบูชาพระเจ้าทำให้เกิดการพิพากษาจากพระเจ้า(ลนต.10:1-2)  มันเป็นวิกฤตร้ายแรงมาก   หากรุ่นหนึ่งได้รับไฟแห่งการฟื้นฟูแต่ไฟแห่งการฟื้นฟูมอดดับไปในรุ่นถัดไป

เราจะต้องเชื่อว่านี่จะเป็นเวลาที่สำคัญของประเทศไทย หลังจากค่ายไฟแห่งการฟื้นฟู 2013 (Revival Fire camp) ขอหนุนใจให้เราได้รักษาชีวิตในการรักษาไฟแห่งการทรงสถิตและส่งต่อการฟื้นฟูไปสู่ผู้อื่น  ไม่ใช่แค่จบลงในค่ายเท่านั้น แต่คาดหวังและเคลื่อนไปสู่วาระเวลาแห่งปีการอัศจรรย์ของพระเจ้าร่วมกันในปีนี้    

เราจะเป็นผู้ที่รับไฟแห่งการฟื้นใจ รักษาไฟแห่งการทรงสถิตและส่งไฟแห่งการฟื้นฟูของพระเจ้าออกไป


13 พฤษภาคม 2556

เพ็นเทคอสต์ : วาระเวลาแห่งจัดเตรียมเพื่อการฟื้นฟู

(เรียบเรียงจาก คำเทศนา เรื่อง "เพ็นเทคอสต์ : วาระเวลาแห่งจัดเตรียมเพื่อการฟื้นฟู" โดยอ.นิมิต พานิช ศบ.คริสตจักรแห่งพระบัญชา)

มีคำกล่าวว่า "เราไม่สามารถเกิดผลในรูปใหม่ได้โดยใช้วิธีการเดิมๆที่เราคุ้นเคย  ความคุ้นเคยเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไปสู่วิธีการใหม่ๆจากพระเจ้า   การประกาศเรื่องข่าวประเสริฐของพระเจ้าไม่สามารถเคลื่อนด้วยวิธีการแบบเดิมคือการพูดเท่านั้น แต่ในวาระเวลานี้พระเจ้ากำลังเคลื่อนด้วยวิธีการใหม่ด้วยการสำแดงผ่านทางไฟพระวิญญาณฯแห่งการฟื้นฟูใหม่" 


อัครทูตเปาโล ท่านได้เขียนถึงผู้เชื่อในเมืองโครินธ์ว่า คำพูดและคำเทศนาของข้าพเจ้าไม่ใช่คำที่เกลี้ยกล่อมด้วยสติปัญญา แต่เป็นคำซึ่งได้แสดงพระวิญญาณและพระเดชานุภาพ เพื่อความเชื่อของท่านจะไม่ได้อาศัยสติปัญญาของมนุษย์ แต่อาศัยฤทธิ์เดชของพระเจ้า” (1 คร.2:4-5)
    อัครทูตเปาโลยังบอกพวกเขาอีกครั้งในจดหมายของท่านว่า แผ่นดินของพระเจ้ามิใช่เรื่องของคำพูด แต่เป็นเรื่องฤทธิ์เดช” (1 คร. 4:20)
    ให้เราอธิษฐานทูลขอให้พระเจ้าทรงช่วยให้การกระทำของเราสอดคล้องกับคำพูด เมื่อเรายอมให้พระเจ้าทรงสำแดงพระองค์ผ่านตัวเรา นั่นคือ พลังที่ทำให้เห็นพระคุณและความรักของพระองค์ที่ขับเคลื่อนผ่านชีวิตของเรา" 
    จากเหตุกาณ์ที่ีเกิดขึ้นในเทศกาลเพ็นเทคอสต์จากพระธรรมกิจการฯบทที่ 2ที่บันทึกไว้ ฤทธิ์เดชของพระวิญญาณได้เทลงมาสู่สาวก 120 คนที่มาอธิษฐานรอคอยพระวิญญาณที่ห้องชั้นบนในกรุงเยรูซาเล็ม และเห็นการเกิดผลอย่างมากในคริสตจักรสมัยแรก 
   เราจะเห็นได้จากจุดเริ่มต้นการสถาปนาคริสตจักรอย่างเป็นทางการ  ไฟแห่งพระวิญญาณฯได้นำ
มาซึ่งการฟื้นฟูของยุคสุดท้าย  เมื่อพระวิญญาณฯเสด็จมาที่ห้องชั้นบน 
  นั่นเป็นสัญญาณประการเตือนว่ายุคสุดท้ายเริ่มต้นและเทศการแห่งการเก็บเกี่ยวครั้งใหญ่จะ
มาในช่วงสิ้นยุคตามคำเผยพระวจนะของโยเอล บทที่ 2 
  คำถามสำหรับผู้ที่เชื่อคือ เราพร้อมจะเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูและเป็นส่วนหนึ่งของการส่งต่อไฟแห่งการฟื้นฟูออกไปหรือยัง? 
  ให้เราเตรียมชีวิตของเราให้พร้อมในเทศกาลเพ็นเทคอสต์นี้
เทศกาลตามพระคัมภีร์เป็นเวลาที่พระเจ้ากำหนดไว้แล้ว เป็นเวลานัดหมายกับพระเจ้า(Divine
appointment)เป็นเวลาที่พระวิญญาณของพระเจ้าต้องการที่จะพบกับเราเพื่อให้เป้าประสงค์ของ
พระเจ้าสำหรับชีวิตของเรา(Destiny)บรรลุความสำเร็จเจาะจงในชีวิตของเรา

  ตามปฏิทินของพระเจ้าใน 1 ปี : กำหนดไว้ 3 เทศกาลหลักๆ นั่นคือ
  1. เทศกาลปัสกา (เพสัค- Passover ): ต้นฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม-เมษายน) ( ปี 2013 ตรงกับช่วงเย็นวันที่ 25มี..- เย็นวันที่ 2 เม.. จำนวน 8 วัน)
  2. เทศกาลเพ็นเทคอสต์ (ชาวูโอต – Pentecost)  : ปลายฤดูใบไม้ผลิ (พฤษภาคม มิถุนายน) -( ปี 2013 ตรงกับช่วงเย็นวันที่  14 ..)
  3. เทศกาลอยู่เพิง (สุคคต – Sukkot : ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน-ตุลาคม) ปี 2013 ตรงกับช่วงเย็นวันที่  18 .. -ช่วงเย็นวันที่  25 .. จำนวน 7 วัน)

    เทศกาลปัสกาเป็นเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อพระเจ้าจะปลดปล่อยคนของพระองค์ออกจากความเป็น
ทาสในประเทศอียิปต์   เป็นภาพเงาที่เล็งถึง พระเยซูถูกตรึงบนกางเขนในช่วงเทศกาลปัสกา
เพื่อปลดปล่อยเราจากการเป็นทาสของความบาป เข้าสู่ความเป็นไทในพระคริสต์ (พระเยซูจึง
เป็น แกะปัสกา ยอมตายเพื่อช่วยเหลือเรา)
   เทศกาลอยู่เพิงเป็นเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อพระเจ้าจะเสด็จมาและทรงประทับในพลับพลาอยู่
ท่ามกลางคนของพระองค์ เป็นเวลาแสวงหาพระเจ้าอ่านพระธรรมของพระองค์ในครอบครัว
   เราต้องทำความเข้าใจในเรื่องวาระเวลา”  เพราะแต่ละช่วงเวลามีความสำคัญ คนของพระเจ้าจำเป็นต้องเรียนรู้และเคลื่อนไปตามการทรงนำของพระเจ้าด้วยความเข้าใจ

  เทศกาลเพ็นเทคอสต์(ภาษากรีกแปลว่า 50 นับจากปัสกา 50 วัน)หรือเทศกาลสัปดาห์ -ชาวูโอต(ภาษาฮีบรูหมายถึง7สัปดาห์ 7x7=49วัน)  ทำให้เราได้เข้าใจถึงเรื่องใดบ้าง
 (ข้อมูลจาก ดร.โรเบิร์ต ไฮด์เลอร์  (Dr.Robert Heidler) Glory of Zion)

 เทศกาลเพ็นเทคอสต์ จะมีการจัดเตรียมของพระเจ้า 3 ลำดับชั้น นั่นคือ
  1. ระดับพระพรด้านภายภาพ  :  ผลแรก
  2. ระดับพระพรด้านการสำแดง :  พระบัญญัติ 10 ประการ
  3. ระดับพระพรด้านฤทธิ์เดช   :  พระวิญญาณบริสุทธิ์
  เมื่อเรามองอย่างเข้าใจใน 3 ลำดับชั้นของการจัดเตรียมของพระเจ้า  เราก็จะทราบว่าพระเจ้าต้องการจะทำอะไรในชีวิตของเราในช่วงวันหยุดเทศกาลนี้  มีคริสเตียนจำนวนมากที่ไม่ทราบเกี่ยวกับเทศกาลเพ็นเทคอสต์ พระคัมภีร์ได้อธิบายไว้ดังนี้ เทศกาลในพระคัมภีร์เดิมเป็นภาพเงา เล็งถึงพระคริสต์ และพระคัมภีร์ใหม่เป็นหนังสืออธิบาย(Commentary) ยืนยันว่าทุกสิ่งสำเร็จผ่านทางพระเยซูคริสต์

1.ระดับพระพรด้านภายภาพ(Physical): ผลแรก(First fruits)

  การถวายผลแรก(First fruits)เป็นการเฉลิมฉลองและขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับการจัดเตรียมของพระเจ้าในระดับพระพรด้านภายภาพ(Physical)
  ระดับพระพรแรกของเทศเพ็นเทคอสต์ คือ การจัดสรรอย่างบริบูรณ์สำหรับความต้องการในด้านภายภาพ
  เกษตรกรทำงานอย่างหนักในแต่ละสัปดาห์เพื่อจะเตรียมดินและปลูกพืชผล โดยคาดหวังถึงการเก็บเกี่ยว แต่พวกเขาไม่มีความสามารถที่จะทำให้พืชผลงอกขึ้นมาจากดินได้
  ถ้าพระเจ้าไม่เปิดฟ้าสวรรค์อวยพร การเกิดผลก็จะไม่เกิดขึ้นได้ คงจะไม่มีอาหารเข้ามาในกระเพาะของเรา  แต่เมื่อเราเชื่อศรัทธาในพระองค์  พระเจ้าจะเปิดหน้าต่างจากสวรรค์และเทฝนลงมาสู่ฟื้นดินเบื้องล่าง  พืชผลในแผ่นโลกจะเกิดผลและเราจะได้เก็บเกี่ยว
  เทศกาลเพ็นเทคอสต์เป็นส่วนหนึ่งการเฉลิมฉลอง เป็นช่วงเวลาที่เราจะนำพืชผลจากการเก็บเกี่ยวมาเพื่อจะขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับการจัดสรรด้านภายภาพ

สิ่งแรกของการถวายในเทศกาลเพ็นเทคอสต์ คือการนำขนมปัง 2 ก้อนเป็นผลแรกมาถวาย
การอบขนมปังให้สุกโดยการทำขนมปังจากธัญพืช เล็งถึง การสรรเสริญพระเจ้าที่ประทานผลแรก
เทศกาลเพ็นเทคอสต์เป็นช่วงเวลาที่เราจะเฉลิมฉลองผลแรก

ผลแรกจากการเก็บเกี่ยว ข้าวบาร์เลย์นำมาทำขนมปัง และผลแรกจากการเก็บเกี่ยว ข้าวบาร์เลย์นี้มาจากเทศกาลปัสกา เป็นเทศกาลแห่งการถวายผลแรก(ลนต.23:1-14)
แต่ผลแรกของข้าวสาลี จะเก็บเกี่ยวในเทศกาลเพ็นเทคอสต์  ซึ่งเป็นการถวายผลแรกที่ได้รับการรับรองและบริสุทธิ์ เป็นการเก็บเกี่ยวอย่างสมบูรณ์ ((ลนต.23:15-20)

เลวีนิติ 23:16  นับไปให้ได้ห้าสิบวัน  จนถึงวันถัดวันสะบาโตที่เจ็ดแล้วเจ้าจงนำข้าวใหม่มาถวายแด่พระเจ้าเป็นธัญญบูชา
จากพระธรรมเลวีนิติบทที่ 23:16 ข้าวใหม่ที่ถวาย ถูกเรียกว่า   New meal offering ประกอบด้วยขนมปังใส่เชื้อสองก้อนที่ถวายเป็นผลแรก เล็งถึง พระคริสต์ในสภาวะผลแรก (ขนมปังไร้เชื้อที่รับประทานในเทศกาลปัสกาเป็นแป้งละเอียดไร้เชื้อ )  ขนมปังเล็งถึงพระกายของพระคริสต์  หมายถึงคริสตจักร(ผู้เชื่อ) ในพิธีมหาสนิท

1 โครินธ์ 10:17   แม้เราซึ่งเป็นบุคคลหลายคน  แต่เนื่องจากมีขนมก้อนเดียว  เราจึงเป็นร่างกายเดียว  เพราะว่าเราทุกคนรับประทานขนมก้อนเดียวกัน

ขนมปังสองก้อน ที่มอบถวายแด่พระเจ้าในเทศกาลเพ็นเทคอสต์ เป็นลักษณะ  new  meal  offering เป็นภาพเงาเล็งไปถึงคริสตจักรที่มีคน 2 กลุ่ม คือ
  1. กลุ่มแรก ประกอบด้วยผู้เชื่อชาวยิว (กจ.2:1-4)
  2. กลุ่มที่ 2 คือ ผู้เชื่อชาวต่างชาติ (กจ.10:34-48) ทั้ง  2  กลุ่ม  ยังคงมีความบาป(มีเชื้อขนมปัง)อยู่ภายในชีวิต
การที่ขนมปังทั้งสองก้อนถูกนับว่าเป็น ผลแรกบ่งชี้ว่า มิใช่เพียงพระคริสต์ที่เป็นผลแรก แต่คริสตจักรก็เป็นผลแรกเช่นเดียวกัน  พระคริสต์ในฐานะเป็นแป้งละเอียดปราศจากเชื้อในวันที่ฟื้นจากความตาย ทำให้เราผู้เชื่อได้เป็นพระกายในพระคริสต์ 

1 โครินธ์ 15:20  แต่ความจริงพระคริสต์ทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมาจากความตายแล้ว  ละทรงเป็นผลแรกในพวกคนทั้งหลายที่ได้ล่วงหลับไปแล้วนั้น

ในที่สุดแป้งละเอียดนี้ได้กลายเป็นขนมปังสองก้อนในวันเพ็นเทคอสต์ บ่งชี้ว่าพระคริสต์ได้กลายเป็นคริสตจักร และคริสตจักรก็คือ การแผ่ขยายข่าวประเสริฐเรื่องแผ่นดินของพระเจ้า เป็นเหมือนเชื้อขนมปังที่ทำให้ฟูขึ้นมา 

ลูกา
13:20-21 
   20   พระองค์ตรัสอีกว่า  "เราจะเปรียบแผ่นดินของพระเจ้ากับสิ่งใด
   21   ก็เปรียบเหมือนเชื้อซึ่งผู้หญิงคนหนึ่งเอาเจือลงในแป้งสามถัง  จนแป้งนั้นฟูขึ้นทั้งหมด"

เทศกาลเพ็นเทคอสต์ไม่เพียงแค่การถวายผลแรก แต่เป็นเวลาการถวายทุกชนิดแด่พระเจ้า  ทั้งการถวายสัตวบูชา,ธัญบูชา,เครื่องบูชาไถ่บาป,เครื่องบูชาไถ่กรรมบาป
(เรียบเรียงจากบทความเพ็นเทคอสต์ โดย อ.เปรมศักดิ์ จีระแพทย์‏)

ในพระธรรมเลวีนิติ บทที่ 23:18 การมอบถวายเครื่องเผาบูชา  ธัญบูชา(meal offering)  และเครื่องถวายต่างๆ พร้อมกันกับขนมปัง นั้น  เล็งถึงว่า  ในวันเพ็นเทคอสต์  คริสตจักรในฐานะเป็นมนุษย์มวลรวมได้ถูกนำมาถวายบูชาแก่พระเจ้าในฐานะที่มีชีวิตดำรงอยู่เพื่อพระเจ้าอย่างเด็ดขาดสิ้นเชิง  แต่ในชีวิตตามจริงนั้นเป็นธัญบูชา  (meal  offering) ผสมผสานกับเชื้อ คือ ยังคงเป็นคนบาป และอยู่ในฐานะเครื่องเผาบูชาไถ่บาป  หมายถึง เทชีวิตออกเพื่อพระเจ้าโดยยอมพลีชีวิต

ตามที่อัครทูตเปาโลกล่าวไว้ใน ฟิลิปปี 2:17  ถึงแม้ว่าข้าพเจ้าต้องถูกเทลง  เพื่อให้ครบเครื่องบูชาแห่งความเชื่อของท่านทั้งหลาย  ข้าพเจ้าก็ยังจะยินดีและชื่นชมร่วมกับท่านด้วย
ส่วนการเป็นเครื่องบูชาด้วยไฟอันเป็นที่พอพระทัย  ก็คือ สภาวะที่ยอมสูญเสียมอดไหม้ไป  หากเป็นการพอพระทัยของพระเจ้าและมนุษย์

ในพระธรรมเลวีนิติ 23 : 12-20  การถวายเครื่องบูชาไถ่บาป (sin offering) และศานติบูชา(peace  offering)ในลักษณะยื่นถวายเป็นการโบก  (wave offeringพร้อมกับขนมปัง  หมายถึงว่า  ชีวิตที่ยังมีความบาป 

คริสตจักรในวันเพ็นเทคอสต์ จึงต้องการพระคริสต์ในฐานะ “เครื่องบูชาไถ่บาป” (sin  offering) และเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของการสามัคคีธรรมระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า และมนุษย์กับมนุษย์  การนี้จึงจำเป็นต้องมีพระคริสต์ในฐานะ “ศานติบูชา”  (peace  offering) 
ในขณะเดียวกันพระคริสต์ในฐานะเครื่องบูชายื่นถวาย  wave  offering  ในฐานะผู้ฟื้นคืนพระชนม์ (resurrected = waved)  เป็นการไถ่สำเร็จแล้วเพื่อพระพรต่อคริสตจักร

สิ่งเหล่านี้เป็นการถวายซึ่งเล็งภาพไปถึงพระเยซูคริสต์ที่มาตายไถ่บาปให้เราทั้งหลายที่ไม้กางเขน ปัจจุบันนี้ เราไม่ต้องทำแล้ว เพราะเยซูคริสต์ทำสำเร็จไปแล้วที่กางเขน


สิ่งที่เราจะทำในเทศกาลนี้คือ การถวายทั้งชีวิตของเรา เงินทองของเราและเวลาของเราให้กับพระเจ้า เพราะทุกสิ่งเป็นของพระองค์!

 ในพระธรรม อพยพ 23:15 กล่าวว่า “อย่าให้ใครเข้าเฝ้าพระเจ้ามือเปล่า” ในเทศกาลต่างๆ  จึงมีการถวายสิ่งต่างๆในเทศกาลให้กับพระเจ้า
ดังนั้น ทำไมต้องมีถวายโดยการเทให้อย่างมากมาย ให้กับพระเจ้าในเทศกาลเพ็นเทคอสต์ ?
เพราะเทศกาลเพ็นเทคอสต์เกี่ยวกับการจัดสรรทุกสิ่งจากพระเจ้า
เป็นการฉลองการจัดสรรในอดีต การทรงเรียกของพระเจ้าเพื่อจะมาได้รับการจัดสรรในอนาคต!
 เทศกาลเพ็นเทคอสต์เป็นช่วงเวลาที่เราจะมาสู่ตำแหน่งที่เพิ่มพูนและเกิดผลทวีมากขึ้นในฤดูกาลข้างหน้า

ผมเชื่อว่าเทศกาลเพ็นเทคอสต์มีความสำคัญมากในปีนี้ ในปีที่แล้ว ปีปฏิทินฮีบรู ปี5772  เป็นปีตัวอักษรฮีบรูคือ ตัวอักษร เบท (Bet)   
Bet เป็นภาพของบ้าน  ปีนี้เป็นปีของบ้าน  พระเจ้าทรงปรารถนาที่จะสถาปนาบ้านของพระองค์
ในปีนี้ 5773 (2013)  เป็นปีตัวอักษรฮีบรูคือ ตัวอักษร กิเมล (Gimel)  คือ ตัวอักษร กิเมล (Gimel)   เป็นภาพของตัวอูฐ  เป็นปีของมวลอูฐ หมายถึง ความมั่งคั่งในระดับใหม่ที่จะมาถึง  อูฐเป็นสัญลักษณ์หมายถึงความมั่งคั่ง
อูฐได้นำการจัดสรรมาจากที่ไกล เมื่อเรามองเห็นมวลอูฐกำลังมา หมายถึงพระเจ้าปรารถนาที่จะจัดสรรให้กับเรา
อิสยาห์ 60:5-6 
5   แล้วเจ้าจะเห็นและปลาบปลื้ม  ใจของเจ้าจะตื่นเต้นและเปรมปรีดิ์  เพราะความมั่งคั่งของทะเลจะหันมาหาเจ้า  ทรัพย์สมบัติของบรรดาประชาชาติจะมายังเจ้า
6   มวลอูฐจะมาห้อมล้อมเจ้า  อูฐหนุ่มจากมีเดียนและเอฟาห์   บรรดาเหล่านั้นจากเชบาจะมา  เขาจะนำทองคำและกำยาน  และจะบอกข่าวดีถึงกิจการอันน่าสรรเสริญของพระเจ้า

ปีของมวลอูฐ มันหมายถึงเราจะต้องเคลื่อนข้างหน้าไปด้วยการจัดสรรที่เกิดธรรมชาติจากพระเจ้า

หากเปรียบเทียบช่วงเวลาตั้งแต่เทศกาลปัสกาไปจนถึงเทศกาลเพ็นเทคอสต์ มีการจัดเตรียมพระพรในด้านกายภาพ จากการรับประทานขนมปังไร้เชื้อไปสู่การถวายขนมปังมีเชื้อฟูสองก้อน นั่นเป็นการเกิดผลจากพระเจ้า
ขนมปังไร้เชื้อ หมายถึง การเตรียมชีวิตปราศจากเชื้อเก่าที่ไม่ดี
ในเทศกาลสัปดาห์ คนอิสราเอลได้นำพืชผลมาทำขนมปังใหม่ใส่เชื้อฟู หมายถึง การเกิดผลที่ทวีคูณนำมาถวาย 

ข้อคิด คือ  เราจะต้องเตรียมชำระชีวิตก่อนจะเกิดการฟื้นฟูใหญ่ในชีวิต ช่วงเวลาปัสกาที่ผ่านมาเป็นเวลาที่เราชำระชีวิต จนมาถึงค่ายไฟแห่งการฟื้นฟู และไปสู่เทศกาลเพ็นเทคอสต์ เราจะเกิดผลและเราจะนำมาถวายแด่พระเจ้า!

ตามธรรมเนียมยิวจะมีการนับระยะเวลาระหว่างช่วงเทศกาลปัสกา( Feast of Passover) ถึงเทศกาลสัปดาห์(Feast of weeks)จะได้ 50 วัน

ชาวยิวมีการนับ Omer(โอเมอร์) (เป็นหน่วยวัดการตวง 1 โอเมอร์ เท่ากับการเก็บมานากินได้ 1 วันเล็งถึงการจัดสรรของพระเจ้าในแต่ละวัน 
(อพยพ 16:32   โมเสสกล่าวว่า  "พระเจ้ามีรับสั่งว่า  'จงตวงมานาโอเมอร์หนึ่ง  เก็บไว้ตลอดชั่วชาตพันธุ์ของเจ้า  เพื่อเขาทั้งหลายจะได้เห็นอาหารซึ่งเราเลี้ยงเจ้าในถิ่นทุรกันดารนี้  เมื่อเรานำพวกเจ้าออกจากแผ่นดินอียิปต์' )

เป็นการนับจากการถวายข้าวใหม่(ผลแรก)ในพระวิหารจนถึงการเก็บเกี่ยวในเทศกาลสัปดาห์คือ 49 วัน(7x7) จึงเรียกว่าเทศกาลสัปดาห์ หรือ ชาวูโอต ในภาษากรีกใช้คำว่า Pentecost หมายถึง 50 จะนับในวันที่ 1 ของเทศกาลสัปดาห์ด้วย   
การนับ Omer ให้ความหมายถึง นิรันดร์กาล(Eternity)

การจัดสรรมานา ในถิ่นทุรกันดาร มันเป็นการจัดสรรชั่วคราวมีผลแค่ชั่วข้ามคืน มานาที่ีเก็บได้แต่ละวันจะเน่าไปในวันรุ่งขึ้น แต่การจัดสรรของพระเจ้าให้กับคนอิสราเอลคือ พวกเขาจะได้กินสิ่งที่พวกเขาได้หว่านและเก็บเกี่ยวจากพื้นดิน 

การจัดสรรมานา เป็น “ออร์เดิร์ฟ” เสิร์ฟในรับประทานก่อน อาหารชุดใหญ่ที่กำลังจะเสิร์ฟอย่างจัดเต็ม ชุดใหญ่ คือในช่วงเทศกาลสัปดาห์ 

ในวันนี้หากเราเชื่อเราจะออกจากวิญญาณความยากจน เคยกินแต่ มาม่า เป็นมานาประจำวัน ในเทศกาลเพ็นเทคอสต์นี้เราจะได้เก็บเกี่ยวอย่างเต็มขนาดโดยการจัดสรรของพระเจ้า เราจะได้กินผลจากสิ่งที่เราได้หว่านออกไป สรรเสริญพระเจ้า!
 
เทศกาลสัปดาห์ จึงเป็นการเฉลิมฉลองการปลดปล่อยการจัดเตรียมของพระเจ้า เฉลิมฉลองด้วยการสรรเสริญ และการถวาย
คนอิสราเอลจึงได้แสดงออกโดยการถวาย เครื่องเผาบูชา ธัญญบูชา เครื่องดื่มถวาย เครื่องบูชาไถ่บาป ศานติบูชาและของถวายด้วยใจสมัคร(ลนต.23)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นเวลาสำหรับการถวายผลแรก(First fruits)
ผลแรก = การถวายจากฟ่อนแรกที่เติบโตเต็มที่ การถวายเพื่อขอบพระคุณสำหรับการจัดเตรียม การถวายสรรเสริญด้วยความเชื่อ ถวายก่อนการเก็บเกี่ยวเต็มขนาดจะถูกรวบรวม การกระทำแห่งความเชื่อที่ทำให้การเก็บเกี่ยวทั้งหมด
ในเทศกาลปัสกา เราได้ถวายผลแรก ซึ่งเล็งถึงผลแรกแห่งชีวิตจากการเป็นขึ้นมาจากความตายของพระคริสต์เป็นผลแรกและเราจะเป็นขึ้นมาจากความตายเช่นเดียวกันในวาระสุดท้ายของโลกนี้
1โครินธ์ 15:20   แต่ความจริงพระคริสต์ทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมาจากความตายแล้ว  และทรงเป็นผลแรกในพวกคนทั้งหลายที่ได้ล่วงหลับไปแล้วนั้น

1โครินธ์ 15:23   แต่ว่าจะเป็นไปตามลำดับ  คือพระคริสต์ทรงเป็นผลแรก  แล้วภายหลังก็คือคนทั้งหลายที่เป็นของพระคริสต์  ในเมื่อพระองค์เสด็จมา
ในเทศกาลเพ็นเทคอสต์  เราได้ถวายผลแรก เล็งถึงการเก็บเกี่ยวอย่างทวีคูณของคริสตจักร  ในกิจการฯ บทที่ 2 เมื่อพระวิญญาณฯเสด็จมามีการเกิดผลทวีคูณจาก 120 คนที่ห้องชั้นบนเป็น 3,000 คนในคราวเดียวกันเมื่ออัครทูตเปโตรเทศนา
ใน กจ. 2 คริสตจักรถือกำเนิดขึ้น อันเป็นการเริ่มต้นของฤดูกาลใหม่ วาระที่จะไปทั่วโลกพร้อมกับข่าวประเสริฐ  เป็นผลแรกของการหว่านข่าวประเสริฐแต่จะได้เก็บเกี่ยวครั้งใหญ่ในช่วงสิ้นยุค

  2.ระดับพระพรด้านการสำแดง(Revelation):พระบัญญัติ 10 ประการ
( (10 Commandments/Torah) 

อพยพ 34:24-28
24   เพราะเราจะขับไล่ชนชาติทั้งหลายออกไปให้พ้นหน้าพวกเจ้า  และจะขยายเขตแดนเมืองของเจ้าให้กว้างออกไป  เมื่อพวกเจ้าจะขึ้นไปเฝ้าพระเจ้าของเจ้าปีละสามครั้งนั้น  จะไม่มีใครอยากได้แผ่นดินของเจ้าเลย
   25   "อย่าถวายเลือดบูชา  พร้อมกับขนมปังมีเชื้อ  และเครื่องบูชาอันเกี่ยวกับเทศกาลเลี้ยงปัสกานั้น  อย่าให้เหลือไว้จนถึงวันรุ่งขึ้น
   26   จงคัดพืชผลแรกจากผลรุ่นแรกในไร่นามาถวายในพระนิเวศพระเจ้าของเจ้า  อย่าต้มเนื้อลูกแพะด้วยน้ำนมแม่ของมันเลย"
   27   พระเจ้าตรัสกับโมเสสอีกว่า  "คำเหล่านี้จงเขียนไว้  เพราะเราทำพันธสัญญาไว้กับเจ้า  และพวกอิสราเอลตามข้อความเหล่านี้แล้ว"
   28   ฝ่ายโมเสสเฝ้าพระเจ้าอยู่ที่นั่นสี่สิบวันสี่สิบคืน  มิได้รับประทานอาหารหรือน้ำเลย  และท่านจารึกคำพันธสัญญาไว้ที่แผ่นศิลา  คือพระบัญญัติสิบประการ

ณ ภูเขาซีนาย หลังจากเทศกาลปัสกา โมเสสไปเข้าเฝ้าพระเจ้า 40 วัน พระเจ้าประทานพระบัญญัติ 10 ประการ และหนังสือโทราห์ (Torah) (หนังสือ 5 เล่มแรกของอิสราเอล-ในภาษากรีกใช้คำว่า “เพ็นทาทีอุค”Pentateuch(พระธรรมหมวดเบญจบรรณ) เพื่อใช้ในการสอนชนชาติอิสราเอล
(โมเสสเป็นคนแรกของโลกที่ได้ใช้ Tablet(แผ่นศิลา)พระบัญญัตินี้เขียนโดยนิ้วพระหัตถ์ของพระเจ้า)
  โทราห์ (Torah)  คืออะไร ?  บางคนคิดว่าหมายถึง ธรรมบัญญัติ  คือ คำสั่ง “ จง หรือ อย่า 
คำว่า “โทราห์” หมายถึง การให้ทิศทาง,การสั่งสอน (Direction, Teaching)
โทราห์ = คำสอนของพระเจ้า   เป็น การสำแดงน้ำพระทัยของพระเจ้า ความรักและพระลักษณะของพระองค์ พระวจนะทั้งหมดคือโทราห์ พระเจ้าสำแดงหัวใจของพระองค์แก่ประชากรของพระองค์ในวันเพ็นเทคอสต์
เทศกาลเพ็นเทคอสต์จึงเป็นการเฉลิมฉลองการปลดปล่อยการสำแดงของพระเจ้า
 
ตามธรรมเนียมชาวยิว การเฉลิมฉลองเทศกาลชาวูโอต หรือ เพ็นเทคอสต์ที่พวกเขา ตามที่ทำสืบต่อกันมา นั้นคือ การไม่นอนทั้งคืนเพื่อศึกษาพระคัมภีร์โทราห์ เพราะโทราห์หมายถึง ถ้อยคำของพระเจ้าซึ่งเป็นถ้อยคำแห่งชีวิตของพวกเขา
ในพระธรรมกิจการฯ บทที่ 2 เหล่าสาวก 120 คนมารวมตัวกันที่ห้องชั้นบนเพื่อศึกษาพระคัมภีร์โทราห์และอธิษฐานร่วมกัน ก่อนที่พระวิญญาณจะเทลงมาที่ห้องชั้นบน
ในเทศกาลเพ็นเทคอสต์   พวกเขาได้รับการสำแดงโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่เสด็จลงมาประทับพวกเขาอย่างเต็มล้นจนมีประสบการณ์ที่เป็นเหมือนน้ำที่เติมลงไปในแก้วจนเต็มล้นและไหลออกมา
 สิ่งนี้เรียกว่าเป็นการสำแดง “ปรากฏการณ์ไฟพระวิญญาณแห่งการฟื้นฟู
(เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการจุดไฟการฟื้นฟูไปสู่คริสตจักรในยุคสุดท้าย)
จากบันทึกในพระธรรมกิจการฯบทที่ 2 ในข้อ 14 ได้บันทึกถึงเหตุการณ์ที่อัครทูตเปโตรได้ยืนขึ้นพร้อมกับอัครทูตสิบเอ็ดคน และกล่าวกับเขาทั้งหลายด้วยเสียงดังว่า




พี่น้องชาวยิวกับทุกท่านที่อยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม จงทราบเรื่องนี้และฟังถ้อยคำของข้าพเจ้า 
ข้อ 15 และ 16 “คนเหล่านี้ไม่ได้เมาเหล้าองุ่นเหมือนอย่างที่ท่านทั้งหลายคิด เพราะว่าเพิ่งจะเก้าโมงเช้าเท่านั้น แต่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตามคำที่โยเอลผู้เผยพระวจนะกล่าวไว้ 

  ในปรากฏการณ์นี้   ผู้คนจำนวนมาก ที่เห็นประสบการณ์การเต็มล้นในพระ  
  วิญญาณฯ  และมีคนจำนวนมากมีอาการแปลก  ทำให้คนทั่วไปคิดว่าพวก 
  สาวกเมาเหล้าองุ่น แต่แท้จริงแล้วเป็นการเต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์
 เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จลงมาเติมเต็มเรา เราก็หยุดพูดไม่ได้ เราทุกคนถูกปลุกเร้าภายในถ้าเราพยายามที่จะยับยั้งตัวเองไม่ให้พูด เหมือนกับน้ำที่กำลังเดือด  
พระวิญญาณได้มาควบคุมลิ้น การควบคุมลิ้นคือการควบคุมทั้งตัวได้ด้วย
อัครทูตยากอบบอกไว้ใน
ยากอบ 3:2-5 
   2   เพราะเราทุกคนทำผิดพลาดไปหลายๆอย่าง  ถ้าผู้ใดมิได้ทำผิดทางวาจา  ผู้นั้นก็เป็นคนดีรอบคอบแล้ว  และสามารถบังคับทั้งตัวไว้ได้ด้วย
   5   ลิ้นก็เช่นเดียวกัน  เป็นอวัยวะเล็กๆและอวดอ้างเรื่องใหญ่ๆ  จงดูเถิดไฟนิดเดียวอาจเผาป่าใหญ่ให้ไหม้ได้หนอ

เราถูกควบคุมโดยพระวิญญาณ ไม่ได้เมา ถ้าเมาเหล้าควบคุมตนเองไม่ได้
เมาพระวิญญาณแล้วนิสัยดี เมาเหล้าแล้วนิสัยเสีย

ข้อ 17 ‘พระเจ้าตรัสว่า ในวาระสุดท้าย เราจะเทพระวิญญาณของเราบนมนุษย์ทั้งหมด บุตรา บุตรีของท่านทั้งหลายจะเผยพระวจนะ บรรดาคนหนุ่มของท่านจะเห็นนิมิต และบรรดาคนแก่ของท่านทั้งหลายจะฝันเห็น

พระวิญญาณฯ เป็นผู้ประทานนิมิตเหล่านี้ให้ นิมิตเหล่านั้นประทานแก่พวกหนุ่มสาวที่เต็มล้นด้วยพระวิญญาณ ที่ได้รับการแตะต้องสัมผัสจากพระวิญญาณ บรรดาคนแก่จะฝันเห็นโลกใหม่และสวรรค์ใหม่

ข้อ 18 ‘แน่ทีเดียวเวลานั้น เราจะเทพระวิญญาณของเราบนทาสทาสีของเรา และเขาทั้งหลายจะเผยพระวจนะ

เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ถูกเทลงมาบนทาสทาสีของพระองค์ พวกเขาก็จะเผยพระวจนะ จะมีการเทศนาอย่างเป็นธรรมชาติ
ในวาระสุดท้าย เมื่อมีการเทลงมาของพระวิญญาณบริสุทธิ์ บุตราบุตรีของพระองค์จะเต็มล้นไหลหลั่งไปด้วยแม่น้ำแห่งน้ำธำรงชีวิต ช่างเป็นการแตกต่างในการรับใช้ด้วยกำลังสติปัญญาของมนุษย์ที่จำกัดแต่พระวิญญาณมีการเปิดเผยสำแดงที่ไม่จำกัด

ข้อ 19 และ 20 เราจะสำแดงการอัศจรรย์ในอากาศเบื้องบน และ หมายสำคัญ ที่แผ่นดิน เบื้องล่าง เป็นเลือด ไฟ และไอควัน ดวงอาทิตย์จะมืดไป และดวงจันทร์จะกลับเป็นเลือด ก่อนถึงวันยิ่งใหญ่และสง่างามของพระเจ้า
เป็นการเห็นถึงหมายสำคัญและการอัศจรรย์

เลือดคือการไถ่ ไฟ คือการชำระ  ไอควันเป็นการปรากฏขึ้นของเมฆแห่งพระสิริของพระเจ้า เพื่อการฟื้นฟูจนกว่าถึงวันแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้ากำลังจะเสด็จมา

ในวันนี้ให้เราเริ่มต้นในการจุดไฟแห่งการฟื้นฟู เพื่อการเสด็จกลับมาของพระเจ้า
เทศกาลเพ็นเทคอสต์เป็นเวลาที่กำหนดไว้ สำหรับการจัดเตรียมของพระองค์ เป็นเวลาที่จะขอบคุณพระเจ้าสำหรับการจัดเตรียมของพระองค์ในฤดูกาลที่แล้ว แต่เป็นเวลาที่จะเตรียมการปกป้องการจัดเตรียมของพระเจ้าสำหรับฤดูกาลใหม่ข้างหน้า

นี่คือปรากฏการไฟแห่งการฟื้นฟู ที่เราจะต้องรักษาไฟและส่งต่อการฟื้นฟูออกไป


เราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการไฟแห่งการฟื้นฟูในเทศกาลเพ็นเทคอสต์นี้
พระเจ้าได้จัดเตรียมพระพรในระดับการสำแดงให้กับเรา

3.ระดับพระพรด้านฤทธิ์เดช(Power):พระวิญญาณบริสุทธิ์(Holy Spirit)

กจ.1: 8 แต่ท่านทั้งหลายจะได้รับพระราชทานฤทธิ์เดช เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์จะเสด็จมาเหนือท่าน และท่านทั้งหลายจะเป็นพยานฝ่ายเราทั้งในกรุงเยรูซาเล็ม ทั่วแคว้นยูเดีย แคว้นสะมาเรีย และจนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก"

ข้อนี้พระคัมภีร์บอกว่า “เราจะได้รับฤทธิ์เดชจากพระเจ้าฤทธิ์เดชนี้ ได้จากการที่พระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จมาเหนือเราเมื่อได้รับแล้ว เราจะออกไปเป็นพยานในที่ต่างๆ จนสุดปลายแผ่นดินโลก”  จากฤทธิ์เดชนี้ คนจากทั่วสารทิศได้รับความรอด

พระสัญญานี้สำเร็จเป็นจริงในพระธรรมกิจการฯบทที่ 2 เมื่อพระวิญญาณเสด็จลงมา

คำว่า “ฤทธิ์เดช” ตรงนี้ ในภาษากรีกบอกว่า ดูนามิส δύναμις dunamis (doo'-nam-is) คือ อำนาจ  พลัง ที่น่าอัศจรรย์ ที่เหนือธรรมชาติ   ความสามารถ   ความรุนแรง  การงานที่น่าอัศจรรย์ เป็นพลังแห่งการสร้างสรรค์ไม่ใช่พลังแห่งการทำลายล้าง
ระเบิดไดนาไมต์(Dynamite) คิดค้นโดยดร.อัลเฟรด โนเบล ( Alfred Nobel) จากพลังสร้างสรรค์กลายเป็นพลังแห่งการทำลาย เขาจึงคิดที่จะมอบรางวัล Nobel สาขาสันติภาพขึ้นมา

เรื่องของแผ่นดินของพระเจ้าจึงไม่ใช่แค่คำพูดแต่เป็นฤทธฺ์เดช!

ฤทธิ์อำนาจแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์นี้ทำให้คนป่วยหายโรค คนตายกลับเป็นขึ้นมา สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในสายตามนุษย์โดยทั่วไป กลับเป็นไปได้ในพระเจ้า
ฤทธิ์อำนาจนี้เป็นสิ่งที่พระเจ้าให้แก่สาวกของพระองค์ ในระดับของการออกไปรับใช้ ไม่ใช่แค่ระดับของการได้รับความรอด ซึ่งเป็นระดับเบื้องต้นเท่านั้น  ฤทธิ์เดชนี้มาควบคู่กับการเจิม พระเจ้ามองหาผู้ที่พระองค์จะเจิม

เมื่อไรก็ตามที่ใครคนหนึ่งได้รับการเจิม มันหมายความว่าอย่างไร?  มันหมายความว่า
 เราได้รับการอวยพรจากพระเจ้า  (Blessing) เราได้รับการปกป้อง   (Protection)
เราได้รับอำนาจสำหรับตำแหน่งที่พระเจ้ามอบหมาย (Empowerและเราเป็นผู้ที่ได้รับการเลือกสรรไว้(Chosen one)ที่จะถูกส่งออกไปดุจทูตแห่งไฟของพระเจ้า

ฮีบรู 1:7  "ส่วนพวกทูตสวรรค์นั้น พระองค์ตรัสว่า พระองค์ทรงสร้างพวกทูตสวรรค์ของพระองค์ให้เป็นดุจลม และทรงสร้างบรรดาผู้รับใช้ของพระองค์ให้เป็นดุจเปลวเพลิง

ในเทศกาลเพ็นเทคอสต์  พระเจ้าทรงเจิมเราทั้งหลายด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์  ทรงปรากฏ 2 ลักษณะตามการงานของพระองค์ 

ลักษณะแรก คือ  การเคลื่อนไหวเหนือบรรยากาศโลกทรงควบคุมทุกเหตุการณ์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมของมนุษย์ทางภายนอก  (ภาษากรีก ใช้คำว่า เพลโธ-Pletho)  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อพระราชกิจของพระองค์เป็นครั้งเป็นคราว  
ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างบุคคลในพระคัมภีร์เดิมที่ได้รับการเจิมพิเศษเพื่อรับใช้
เช่น การเจิม เบซาเลล  และโอโฮลีอับ คนอิสราเอลในการสร้างพลับพลาของพระเจ้า
อพยพ 36:1   ฝ่ายเบซาเลล  และโอโฮลีอับ  กับคนทั้งปวงที่มีความสามารถ  ซึ่งพระเจ้าทรงประทานสมรรถภาพ  และสติปัญญาให้พอที่จะทำการทุกอย่างในการสร้างสถานนมัสการตามที่พระเจ้าทรงบัญชาไว้แล้วทุกประการ"

สภาวการณ์ภายนอกตัวตนมนุษย์  (Pletho)  เรียกว่า “การเจิม” หรือการชโลมให้มีพลังฤทธิ์เดชเพื่อกระทำการงานของพระองค์   เช่น  เจิมผู้เผยพระวจนะ  กษัตริย์  ผู้วินิจฉัย   เพื่อนำพาไพร่ผลของพระองค์ให้รอดปลอดภัยหรือมีชัยชนะเป็นครั้งเป็นคราวไป

ลักษณะที่ คือ เป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์เข้าสู่ภายในจิตวิญญาณของมนุษย์(ภาษากรีกใช้คำว่า เพลรู--Pleroo)  เมื่อเข้าไปแล้วจะสถิตอยู่อย่างถาวร โดยจะค่อยๆ เพิ่มพูนขึ้นหากมนุษย์คนนั้นติดสนิทแสวงหายำเกรงพระองค์   เมื่อเพิ่มพูนขึ้นจะมีสภาวะที่ปรากฏคือ มนุษย์คนนั้นอุปนิสัยจิตใจจะเปลี่ยนไป โดยที่สำแดงออกซึ่งพระฉายของพระองค์   คือ   มีความรัก ความบริสุทธิ์   สง่าราศี และฤทธิ์เดช

การจัดเตรียมด้วยฤทธิ์เดชนี้มาโดยแผนการพระเจ้าผ่านทางพระคริสต์

เมื่อพระเยซูคริสต์มาบังเกิดและสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน  พระองค์ทรงรับโทษทัณฑ์แทนมนุษย์ทุกคนแล้ว  พระองค์จึงทรงประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์กลับคืน(Pleroo)  เข้าสู่วิญญาณมนุษย์ทุกคนที่รับเชื่อพระองค์  โดยจะสถิตอยู่อย่างถาวร และจะเพิ่มพูนมากหรือน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับคน ๆนั้นว่า ดำเนินติดสนิทอยู่กับพระองค์ มากน้อยเพียงใด 

เหตุการณ์ที่บันทึกไว้ในพระคัมภีร์นั่นคือ   เมื่อพระองค์เสด็จมาหาสาวกของพระองค์หลังจากฟื้นคืนพระชนม์ พระองค์ระบายลมหายใจออกแล้วตรัสว่าจงรับพระวิญญาณบริสุทธิ์เถิด” (ยน.21 :22) ซึ่งเป็นสภาวการณ์ที่พระเยซูคริสต์ผู้ชนะความตาย ได้แปรสภาพเป็นพระวิญญาณผู้ประสาทชีวิต เหตุการณ์นี้มิใช่เกิดขึ้นเฉพาะกับสาวกพระเยซูในขณะนั้นเพียงพวกเดียว  แต่เกิดขึ้นเป็นประสบการณ์ชีวิตแก่ทุก ๆ คนที่รับเชื่อในพระองค์  ทุกวาระสืบต่อมาจนปัจจุบัน

บทสรุปเพื่อประยุกต์ใช้จากวาระเวลาแห่งจัดเตรียมเพื่อการฟื้นฟู

หากเราทำความเข้าใจเรื่องของวาระเวลาในเทศกาลต่างๆ เราจะทราบว่า นี่เป็นวาระเวลาแห่งจัดเตรียมเพื่อการฟื้นฟู

ในพระคัมภีร์เดิม

พระเจ้าทรงนำคนอิสราเอลออกจากการเป็นทาสในอียิปต์( ก้าวออกมา - Passover) โดยพระองค์ให้มีการทำปัสกาเอาเลือดแกะทาที่ประตู รับประทานขนมปังไร้เชื้อ (อพย.12)  ให้จัดเทศกาลนี้ตลอดทุกชาติพันธุ์(ลนต.23:1-10) มีการถวายผลแรกเป็นฟ่อนข้าวโบก
ถวาย  ต่อจากนั้น 50 วันจัดเทศกาลสัปดาห์(ชาวูโอต) (ลนต.23:15-20)  ให้มีถวายผลแรกของพืชผลทำเป็นขนมปังมีเชื้อฟู 2 ก้อนมาถวาย เพื่อฉลองการเก็บเกี่ยวที่ขนาดและเพิ่มพูนมากขึ้น นอกจากนี้โมเสสได้เข้าเฝ้าพระเจ้า 40 วันและพระองค์ได้ประทานพระบัญญัติ 10 ประการและหนังสือโทราห์เพื่อเป็นการสอนในการดำเนินชีวิตกับคนอิสราเอล
คนอิสราเอล พวกเขาเคลื่อนตามการทรงของพระเจ้าโดยมีเสาเพลิง(เล็งถึงไฟแห่งพระวิญญาณ)และเสาเมฆ (เล็งถึงพระสิริ)

พระเจ้าทรงให้พวกเขามีวาระเวลาที่จะรับการจัดเตรียมจากพระเจ้าและเคลื่อนตามการทรงนำของพระองค์ในทุกยุค  แต่ในยุคข้างหน้า พระวิญญาณจะป็นผู้นำให้กับผู้เชื่อทุกคน (ตามคำเผยพระวจนะของโยเอลในบทที่ 2:17-19)
17   "พระเจ้าตรัสว่าในวาระสุดท้าย  เราจะเทฤทธิ์เดชแห่งพระวิญญาณของเราโปรดประทานแก่มนุษย์ทั้งปวง  บุตราบุตรีของท่านทั้งหลายจะกล่าวคำพยากรณ์  คนหนุ่มของท่านจะเห็นนิมิต  และคนแก่จะฝันเห็น
 18   ในคราวนั้น  เราจะเทฤทธิ์เดชแห่งพระวิญญาณของเราบนทาสทาสีของเรา  และคนเหล่านั้นจะกล่าวคำพยากรณ์
19   เราจะสำแดงการอัศจรรย์ในอากาศเบื้องบน  และนิมิตที่แผ่นดินเบื้องล่าง  เป็นเลือด  ไฟ  และไอควัน  ( เลือดเล็งถึง การไถ่  ไฟคือพระวิญญาณ ไอควันคือเมฆแห่งพระสิริ)

สิ่งเหล่านี้สำเร็จในพระคัมภีร์ใหม่ในสมัยของพระเยซูคริสต์ สมัยกิจการของอัครทูต

ในพระคัมภีร์ใหม่
นับจากเทศกาลปัสกาที่พระเยซูคริสต์ถูกตรึงที่ไม้กางเขน (มธ.26:2)  พระเยซูคริสต์เป็นแกะปัสกาที่ถูกนำไปฆ่าเพื่อไถ่บาป 

ขนมปังในพิธีปัสกานั้น (มธ.26:19-29)   พระเยซูคริสต์ทรงตั้งพิธีมหาสนิทเพื่อระลึกถึงพระองค์ก่อนที่พระเยซูจะถูกตรึง  และ 3 วันถัดมาพระเยซูฟื้นคืนพระชนม์ในวันสะบาโต(วันเสาร์) ในเทศกาลปัสกา แสดงถึงคำที่พระองค์กล่าวว่าว่า “บุตรมนุษย์เป็นเจ้าเป็นใหญ่เหนือวันสะบาโต" (มธ.12:8)   

หลังจากที่พระเยซูฟื้นคืนพระชนม์  พระองค์ทรงอยู่กับสาวกอีก 40 วันเพื่อทำพระราชกิจของพระองค์   รวมเวลาเป็น 43 วันหลังจากเทศกาลปัสกา และพระเยซูเสด็จขึ้นสวรรค์ที่ภูเขามะกอกเทศและทรงกำชับถึงพระมหาบัญชาและพระสัญญาเรื่องพระวิญญาณฯ(มธ.28:19-20,กจ.1:8)
และอีก 7 วัน หลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสวรรค์  วันนั้นเป็นที่ 50 หลังจากปัสกา คือ เทศกาลเพ็นเทคอสต์ (กจ.2) พระวิญญาณบริสุทธิ์จึงเสด็จมาเหนือพวกสาวก      
มีเสียงกึกก้องเหมือนพายุ  พร้อมไฟสัณฐานเหมือนลิ้น  กระจายอยู่บนพวกเขาทุกคน  พวกเขาจึงได้พูดภาษาต่างๆ (Speaking in  tongue) ซึ่งเป็นภาษาสามัญของประชาชนประเทศต่างๆ ตามแต่พระวิญญาณบริสุทธิ์จะให้พูด

สิ่งเหล่านี้คือหมายสำคัญ (Sign) เพื่อสำแดงการทรงสถิตของพระเจ้า
เราไม่หยุดเพียงแค่ปรากฏการณ์สำแดงจากพระเจ้า แต่เราต้องการเข้าไปสู่ประสบการณ์ที่ลึกซึ้งในพระเจ้า

ในกจ.2 ประสบการณ์นี้เรียกว่า “การเจิมทางภายนอก  (Pletho) ของพระวิญญาณ ซึ่งจะเกิดขึ้นตามการเคลื่อนของพระวิญญาณเพื่อปรนนิบัติรับใช้พระเจ้าตามแต่โอกาสที่ทรงนำพา
แต่เราจึงต้องรักษาการเจิมที่เราได้รับการจัดเตรียมจากพระเจ้าในระดับพระพรด้านฤทธิ์เดช คือการที่พระเจ้าประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์ เราจึงต้องรับบัพติศมาด้วยพระวิญญาณและบัพติศมาด้วยไฟเป็นการรักษาไฟแห่งการเจิมไม่ให้มอดดับไป เป็นการเจิมภายในโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ (Pleroo)

การรับใช้จะเต็มไปด้วยฤทธิ์เดช นี่คือสิ่งที่พระเยซูให้สาวกรอคอยอธิษฐานจนกว่าพระวิญญาณจะเทลงมา(กจ.1:8,กจ.2)

ดังนั้่นเราเคลื่อนตามพระบัญชาของพระเจ้า เคลื่อนตามการทรงนำของพระวิญญาณของพระเจ้าผ่านการสำแดงในรูปแบบต่างๆ ในเรื่องการคำเผยพระวจนะ  เคลื่อนตามวาระเวลาปฏิทินของพระเจ้าดั่งเผ่าอิสสาคาร์ที่รู้กาลเวลาของพระเจ้า

ในช่วง 3 เดือนนี้นับจากเทศกาลปัสกา ค่ายประจำปีและเทศกาลเพ็นเทคอสต์
เพราะเป็นในช่วง 3 เดือนแห่งการเริ่มต้นวงจรใหม่ตามปฏิทินฮีบรูแบบศาสนา(Ecclesiastical calendar)
  1. เดือนนิสาน (Nisan)(หรืออาบีบ) มีเทศกาลปัสกา (เริ่มช่วงเย็นวันที่ 25มี..- เย็นวันที่ 2 เม.. 13 จำนวน 8 วัน)  เป็นเดือนแห่งสิงห์เผ่ายูดาห์เป็นเดือนแห่งการสรรเสริญพระเจ้าตามชื่อ ยูดาห์ เป็นช่วงเวลาแห่งการชำระชีวิตเพื่อเตรียมสู่การฟื้นฟู
  2. เดือนอิยาร์ (Iyar)  มีค่ายประจำปีของเรา (4-7 .. 13) เดือนแห่งเผ่าอิสสาคาร์ เป็นการเชื่อมระหว่าง 2 เดือน เป็นช่วงเวลารับการเรียนรู้เพื่อเตรียมสู่การฟื้นฟู
  3. เดือนสิวาน (Sivan -10 ..-9 มิ..13)  มีเทศกาลเพ็นเทคอสต์ (ชาวูโอต – Pentecost (ช่วงเย็นวันที่  14 ..13) เป็นเดือนแห่งเผ่าเศบูลุน เผ่าแห่งความมั่งคั่งในการค้า(ปฐก 49:13)    
เราจะเห็นการจัดสรรจากพระเจ้าอย่างเต็มขนาดในช่วงเวลานี้ เราได้รับไฟแห่งการฟื้นฟูจากค่ายเราจะต้องรักษาไว้และส่งต่อออกไป

เราเฉลิมฉลองเพ็นเทคอสต์อย่างไร
  1. เราเฉลิมฉลองเพ็นเทคอสต์ โดยขอบคุณสำหรับทุกอย่างที่พระเจ้าได้ให้เรา เป็นการเฉลิมฉลองการขอบพระคุณ  ในขณะที่เราขอบคุณในสิ่งที่พระเจ้าทำให้เราในอดีต ประตูถูกเปิดออกเพื่อรับการจัดเตรียมสำหรับอนาคต (นั่นเป็นสาเหตุที่บางคนมีชีวิตอยู่ในความขาดแคลน ถ้าไม่รู้สึกขอบคุณสำหรับพระพรในอดีต หรือขมขื่นในอดีต เราไม่สามารถรับในอนาคตได้ เราจะต้องทำลายคำแช่งสาปและบาปตั้งแต่ในอดีต เราต้องอธิษฐานทำลายคำแช่งสาปให้หมดเหลือไว่เฉพาะมรดกก็พอ)
  2. เทศกาลเพ็นเทคอสต์เป็นเวลาที่จะนำของถวายเพื่อการขอบพระคุณมาให้พระเจ้า เป็นเวลาสำคัญที่จะนำผลแรกมาถวายอย่างเต็มขนาด 
  3. เทศกาลเพ็นเทคอสต์ ควรเป็นเวลาของการเป็นพยาน ระลึกถึงการเคลื่อนไหวฟืนฟูใหญ่ของพระวิญญาณในสมัยพระธรรมกิจการฯ และออกไปเป็นพยานเรื่องข่าวประเสริฐเริ่มจากพื้นที่เราอาศัยอยู่ กระจายออกไปทั่วประเทศไทยและทั่วโลกนี้(กจ.1:8
  4. เทศกาลเพ็นเทคอสต์ เป็นช่วงเวลาที่เราจะมาอธิษฐานร่วมกันเพื่อรับไฟแห่งการฟื้นฟูที่เทลงมา (คริสตจักรแห่งพระบัญชาจะมีการจัดการอธิษฐานเพื่อรับการฟื้นฟูใหญ่ที่ห้องชั้นบนที่ตึก Glory Building ในช่วงเย็นวันอังคาร 14 ..13 เรียกว่า เจอกันในค่ำคืนวันเพ็น..เพ็นเทคอสต์)
การเฉลิมฉลองเพ็นเทคอสต์ในกลุ่มย่อยหรือในครอบครัว
เราสามารถสามัคคีธรรมในกลุ่มย่อยในงานเลี้ยงเพ็นเทคอสต์  ดังนี้
  1. ใช้เวลาในการสรรเสริญ รับประทานอาหารเลี้ยงฉลองด้วยกัน เตรียมของผลไม้มารับประทานร่วมกันเล็งถึงการถวายผลแรก  เพื่อขอบพระคุณสำหรับความดีงามของพระเจ้า
  2. ใช้เวลากับพระคัมภีร์  เหมือนดังที่เหล่าสาวกอ่านหนังสือโทราห์   ศึกษาหลาย ๆ ตอนเกี่ยวกับพระวิญญาณของพระเจ้าและฤทธิ์อำนาจของพระองค์ เช่นพระธรรมกิจการฯ
  3. อธิษฐานในกลุ่มเพื่อพระวิญญาณของพระองค์จะปลดปล่อยการฟื้นฟูที่จะไปทั่วเมืองของเรา เจิมซึ่งกันและกัน รับการฟื้นฟูจากพระองค์ 
    ในเทศกาลต่างๆ  เป็นเวลานัดหมายกับพระเจ้า เทศกาลเพ็นเทคอสต์เป็นวาระเวลาแห่งจัดเตรียมเพื่อการฟื้นฟู  เราขอบคุณสำหรับพระพรการจัดเตรียมจากพระเจ้าในด้านต่างๆ