28 กันยายน 2554

คำเผยพระวจนะ ประจำเดือน ทิชรี

เดือนทิชรี : เดือนที่ 7 ของฮีบรู

แต่ละเดือนของฮีบรูนั้นมีพระพรที่เฉพาะเจาะจงสำหรับเราที่จะเข้าไปรับ เราจำเป็นต้องรู้ว่าพรเหล่านั้นคืออะไรและป่าวประกาศออกมา และอธิษฐาน นี่เป็นวิธีที่เราจะทำงานร่วมกับพระเจ้า (2คร 6.1) เมื่อเราเดินอยู่ในวาระเวลาของพระเจ้า เราก็เข้าสู่วงจรของพระองค์ที่จะดึงเราให้สูงขึ้น เข้าไปสู่ความอุดมสมบูรณ์

เดือนทิชรี : 30 วัน ตั้งแต่ 29 กันยายน ถึง 28 ตุลาคม 2011

ทิชรีเป็นเดือนแรกของปีถ้านับในทางพลเรือน และเป็นเดือนที่ 7 ถ้านับในทางศาสนจักร มี 3 เทศกาลในเดือนนี้คือ

1) เทศกาลเป่าเขาสัตว์ (วันที่ 1 เดือนทิชรี)(28 ก.ย.11) เพื่อปลุกให้ตื่นขึ้นสู่ความดีของพระเจ้า

2) วันแห่งการลบมลทินบาป (วันที่ 10 เดือนทิชรี)(7ต.ค.11) เพื่อเตือนเราว่าพระเยซูทรงชดใช้บาปทั้งสิ้นแทนเรา และ

3) เทศกาลอยู่เพิง (วันที่ 15-21 เดือนทิชรี) (12ต.ค.-19 ต.ค.11)เพื่อเราจะได้สามัคคีธรรม ชื่นชม และดำเนินอยู่ต่อการทรงสถิตของพระเจ้าและรับความอุดมสมบูรณ์ของพระองค์


1) เดือนแห่งเผ่าเอฟราอิม บุตรคนที่สองของโยเซฟ จงเกิดผลและทวีคูณ! (ปฐก 49.22 โยเซฟเป็นกิ่งที่เกิดผล มีกิ่งเลื้อยไปบนกำแพง ปฐก 49.26 พรของบิดาเจ้ายิ่งใหญ่กว่าพรของภูเขา)

2) เดือนที่เจ็ด เดือนอันเป็น "ที่รักยิ่ง" เพราะว่าบรรดาเลข 7 เป็นที่รัก และสร้างเดือนที่ "พอใจ" หรือ "เต็มอิ่ม" (เราได้ทำงานผ่านเลขสาม 2 ครั้ง และตอนนี้กำลังเป็นการเริ่มต้นใหม่) คิดใน "ความบริบูรณ์ของพระเจ้า" คิดถึงความอุดมสมบูรณ์และความดีของพระองค์ที่กำลังไหลท่วมท้น

3) เดือนที่การจัดเตรียมจากเบื้องบนนั้นสร้าง "การเริ่มต้น" (สังเกตว่าเป็นเดือนแรกตามปีปฏิทินฮีบรู) จงคาดหวังว่าสิ่งใหม่ๆกำลัง "เริ่มต้นขึ้น" สำหรับคุณ ณ ตอนนี้ ที่ผ่านมาคุณอยู่ในเวลาแห่งการตระเตรียม แต่ตอนนี้สิ่งเหล่านั้นกำลังเริ่มต้นแล้ว

4) การเริ่มต้นของหกเดือนแห่ง "แสงสะท้อน" นี่จะเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมของเรา วิธีที่เราใช้เวลา วิธีที่เราทำงาน วิธีที่พืชผลเจริญขึ้น วิธีที่เราเก็บเกี่ยว

- จงคิดถึงตัวคุณเองในฐานะเป็นผู้สะท้อนพระสิริของพระเจ้าไปรอบตัวคุณ ดู อสย. 60.1-9, ยน 8.12; 9.5

- จงคิดถึงพระเจ้าที่สะท้อนพระสิริของพระองค์บนชีวิตคุณ

5) เดือนของตัวอักษรฮีบรู LAMED ל ที่เล็งถึงความปรารถนายิ่งที่จะหวนกลับสู่แหล่งที่สมบูรณ์ของคุณ พระเจ้าทรงเป็นแหล่งของเรา เราต้องอธิษฐานว่า "ข้าแต่พระเจ้า ทำอย่างไรเราจึงจะกลับมามั่นใจได้ว่าเราไหลไปตามสิ่งที่พระองค์กำลังทำ?"

6) เดือนแห่งการหวนคืน เราต้องป่าวประกาศสิ่งที่เคยกระจัดกระจายไปให้กลับคืนมา (จำไว้ว่า วิญญาณชั่วต้องการกวาดให้กระจายและทำให้เราหมดไฟ พระเจ้าต้องการรวบรวมและทำให้เราเข้มแข็ง)


7) เดือนแห่งราศีตุลย์ (ตาชั่ง) การกระทำของมนุษย์จะถูกชั่ง และการพิพากษาจะถูกปลดปล่อย สังเกตว่า "วันแห่งการลบมลทินบาป" ซึ่งเป็นวันที่ 10 เดือนทิชรีนั้น ถูกมองว่าเป็นวันแห่งการพิพากษา ในเดือนนี้เราจดจ่อกับระบบกระบวนการยุติธรรมมากกว่าในเดือนอื่นๆ


8) เดือนแห่งการ "แตะต้อง" ให้คิดถึงผู้หญิงที่ฝ่าเข้ามาและแตะเสื้อผ้าของพระเยซู นี่เป็นเวลาที่จะรู้สึกถึงการทรงสถิตของพระเจ้า แตะพระองค์และให้พระองค์ปลดปล่อยฤทธิ์ของพระองค์ให้คุณ (ลก 8.40-49) สังเกตด้วยว่าเทศกาลอยู่เพิงเกิดขึ้นในเดือนนี้ ก็เพื่อให้เราได้ดำเนินอยู่ในพระสิริของพระเจ้า - คือดำเนินอยู่ในการทรงสถิตของพระองค์

9) เดือนแห่งถุงน้ำดี สิ่งนี้บ่อยครั้งเชื่อมโยงกับอาการสะดุ้งตื่น ดังนั้นจงคิดถึงการตื่นตัวฝ่ายวิญญาณ แล้วต้องมั่นใจว่าคุณได้กำจัดสิ่งที่ขัดขวางคุณไม่ให้กลับสู่หรือเข้าสู่ความไพบูลย์ของพระเจ้าที่มีไว้สำหรับคุณ



10) เฝ้าระวังความขมขื่น ณ ต้นปีนี้ คุณต้องล้างตัวคุณเองจากความขมขื่น ที่จุดเริ่มต้นของปี (เดือนแรก) คุณต้องระวังความขมขื่น และตอนนี้ในเดือนที่ 7 ให้ไปไกลขึ้นอีกก้าวและต้องมั่นใจได้ว่าคุณถูกล้างแล้วจากความขมขื่นทั้งหมด ทั้งต่อคนอื่น ต่อตัวคุณเอง และต่อพระเจ้า (ฮบ. 12.15)

11) เดือนแห่งการควบคุมสภาพสมดุลอย่างดี บางสิ่งกำลังเข้าสู่การเสร็จสมบูรณ์ ในขณะที่สิ่งอื่นๆเพิ่งจะเริ่มต้น

12) เดือนนี้เชื่อมโยงกับโยเซฟ ซึ่งอ้างอิงถึงสัดส่วน 2 เท่า ดูปฐก 49.22-26 จากโยเซฟคนเดียว มาเป็น ลูกชาย 2 คน คือ เอฟราอิม กับ มนัสเสห์ ผู้ซึ่งกลายมาเป็น 2 ใน 12 เผ่าของอิสราเอล

(ข้อมูลจาก http://www.arise5.com/#/hebrew-months)

(ขอขอบคุณ คุณเอกจิต จรุงพรสวัสดิ์ ผู้แปล)

27 กันยายน 2554

Tishrei: Seventh Hebrew Month

http://www.arise5.com/#/hebrew-months

Tishrei: Seventh Hebrew Month
Each Hebrew month has specific blessings for us to enter into. We need to know these and declare them
and pray them. This is how we co-labor with the Lord (2 Corinthians 6:1). As we walk in God’s timing
we enter His cycle that pulls us upward and into abundance.

TISHREI: 30 Days, September 29–October 28, 2011

Tishrei is the first month of the civil year, and the seventh month of the ecclesiastical year. There are
three feasts this month: Blowing of Trumpets (Tishri 1) —to wake up to goodness of God; Day of
Atonement (Tishri 10) —to remind us that Jesus atoned for all our sin; and Feast of Tabernacles (Tishri
15-21) —for us to fellowship, enjoy, and live in the presence of the Lord and receive His abundance.

1. Month of Ephraim, the second son of Joseph. Be fruitful and multiply (Genesis 49:22, “Joseph is a
fruitful bough . . . his branches run over the wall.” Genesis 49:26, “The blessings of your father have
excelled the blessings of my ancestors.”)

2. The seventh month. The “dearest” of months—because all sevens are dear, creating the most
“satiated,” or “full” month. (We have worked through two “threes,” and are now at a new
beginning). Think “fullness of God.” Think of His overflowing abundance and goodness.

3. The month where divine providence creates a “beginning.” (Note the beginning of the Hebrew
Year.) Expect many new things to “begin” for you now. You have been in a time of preparation; now
those things begin.

4. The beginning of six months of “reflected light.” This changes our environment, the way we process
time, the way we work, the crops grow, and the way we harvest.
• Think of yourself as one who reflects the glory of the Lord all around you. See Isaiah 60:1-9;
John 8:12; 9:5.
• Think of God reflecting His glory on you.

5. Month of the Hebrew letter “LAMED,” which signifies the aspiration to return to your absolute
source. God is our source. We need to pray, “Lord, how do we get back to be sure that we flow in
what you are doing?”

6. The month of return. We need to declare things that have been scattered will come back. (Remember
the devil wants to scatter and dissipate us. The Lord wants to gather and strengthen.)

7. Month of Libra (the scales). The deeds of man are weighed, and judgment is released. Note that the
“Day of Atonement,” which is the tenth day of Tishrei, is considered a day of judgment. During this
month, we concentrate more on the justice system than in other months.

8. Month of “touch.” Think of the woman who pressed through and touched Jesus’ garments. This is
the time to feel the presence of God. Touch Him and let Him release virtue on you (Luke 8:40-49).
Note also that the Feast of Tabernacles occurs during this month. The purpose is for us to live in the
glory of God—to live in His presence.

9. Month of the gall bladder. This is often linked with arousal. Therefore, think of spiritual awakening,
and then be sure to remove that which would keep you from returning or entering into all the
fullness God has for you.

10. Watch for bitterness. At head of year, you must purge yourself of bitterness. At the beginning of the
year (the first month) we had to watch out for bitterness. Now in the seventh month, go a step
further and make sure you are purged of all bitterness—against people, against yourself, and against
the Lord (Hebrews 12:15).

11. Month of well balanced control. Some things are coming to completion; others are just beginning.

12. This month is linked with Joseph, which refers to a double portion. See Genesis 49:22-26. From
Joseph came two sons, Ephraim and Manasseh, who became two of the twelve tribes of Israel

25 กันยายน 2554

Rosh Hashanah นี่เป็นเวลาแห่งเสียงแตรเขาสัตว์

สวัสดีครับเพื่อนผู้อ่านทุกท่าน ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม เป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับเราชาวคริสตชนเพราะจะมีเทศกาลต่างๆตามปฏิทินยิวที่เป็นตารางเวลานัดพบกับพระเจ้า เทศกาลต่างๆมีความสำคัญและมีความหมายในฝ่ายวิญญาณ บางท่านอาจจะคิดว่าเทศกาลต่างๆของพระเจ้านั้นไม่มีประโยชน์อะไรสําหรับผู้เชื่อเลย แต่ว่าใน โคโลสี บทที่่ 2 อัครทูตเปาโลได้สอนไว้ว่าเราไม่ควรที่จะ “ยอมอยู่ใต้บัญญัติต่างๆอันเป็นหลักธรรมและคําสอนของมนุษย์” (โคโลสี 2:20,22) ที่จะทําให้เราหยุดปฏิบัติตามเทศกาลต่างๆได้อย่างถูกต้อง อัครทูตเปาโลได้เขียนไว้ว่า “อย่าให้ผู้ใดพิพากษาปรักปรำท่านใน...เรื่องเทศกาล วันต้นเดือน หรือวันสะบาโตสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเงาของเหตุการณ์ที่จะมีมาในภายหลัง” โคโลสี 2:16- 17)
อัครทูตเปาโลได้กล่าวไว้ว่าเทศกาลต่างๆนั้นเป็นเงาของเหตุการณ์ที่จะมีมาภายหลัง ฉะนั้นเทศกาลต่างๆของพระเจ้าสอนเราเกี่ยวกับแผนของพระเจ้า
พระเจ้าได้ทรงบรรยายถึงทุกเทศกาลของท่านไว้ใน เลวินิติ บทที่ 23 ได้เริ่มต้นด้วยคําว่า “พระเจ้าตรัสกับโมเสสว่า จงกล่าวแก่คนอิสราเอลว่า เทศกาลเลี้ยงตามกําหนดแด่พระเจ้า ซึ่งเจ้าจะต้องประกาศว่าเป็นการประชุมบริสุทธ์” (เลวินิติ 23:1-2)

เทศกาลเหล่านี้เป็นวันประชุมบริสุทธ์ที่ทุกคนจะมาประชุมกันและเรียนรู้ถึงแผนการของพระเจ้า

บางคนมีความเชื่อว่าพระเจ้าได้ให้ชาวอิสราเอลถือเทศกาลเหล่านี้แต่เพียงพวกเดียว แต่พระเยซูได้ทรงสอนทุกคนให้ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติ (มัทธิว 5:17-19) พระองค์ไม่ได้มาเลิกล้างธรรมบัญญัติ แต่พระองค์ทำให้สมบูรณ์
อัครทูตเปาโล ยอห์นและศิษย์คนอื่นทุกคนก็ได้สอนให้ทุกคนประพฤติตามธรรมบัญญัติและรวมทั้งเทศกาลต่างๆด้วยเช่นกัน (1 โครินธ์ 5:8,1 ยอห์น 5:3) พระเยซูก็ได้ปฏิบัติตามเทศกาลต่างๆเช่นกัน (ยอห์น 2:23,7:10,14,37)
และผู้เชื่อช่วงระยะเริ่มต้นก็ได้ปฏิบัติตามเทศกาลต่างๆเช่นกัน (กิจการของอัครทูต 2:1,18:21, 20:6, 16)
และในอนาคตนั้นทุกคนจะกระทําการฉลองเทศกาลต่างๆ ดังที่พระธรรม เศคาริยห์ 14:16 กล่าวเป็นเชิงพยากรณ์ไว้ว่า
เศคาริยห์ 14:16 และอยู่มาบรรดาคนที่เหลืออยู่ในประชาชาติทั้งปวงซึ่งยกขึ้นมาสู้รบกับเยรูซาเล็ม จะขึ้นไปนมัสการกษัตริย์ปีแล้วปีเล่า คือพระเจ้าจอมโยธา และจะถือเทศกาลอยู่เพิง

พระเจ้าได้ทรงสร้างเทศกาลต่างๆไว้สําหรับทุกคน

เราไม่ได้เลียนแบบวิธีการฉลองเทศกาลต่างๆ แต่เราเรียนรู้จากหลักการฉลองเทศกาลต่างๆ เพื่อเตรียมชีวิตของเราสู่วาระเวลาของพระเจ้า เพื่อเคลื่อนไปตามพระองค์

ในครั้งนี้ผมขอนำคำสอนของอ.นิมิต พานิชที่สอนในเรื่อง Rosh Hashana นี่เป็นเวลาเแห่งเสียงแตรเขาสัตว์ มาสรุปให้อ่านดังนี้ครับ

เลวีนิติ 23:23-25
23 พระเจ้าตรัสกับโมเสสว่า
24 "จงกล่าวแก่คนอิสราเอลว่า ในวันที่หนึ่งของเดือนที่เจ็ด เจ้าทั้งหลายจงถือเป็นวันหยุดพักสงบวันหนึ่ง เป็นวันประชุมบริสุทธิ์ประกาศเป็นที่ระลึกด้วยเสียงแตร
25 เจ้าอย่าทำงานหนัก และเจ้าจงนำเครื่องบูชาด้วยไฟถวายแด่พระเจ้า"


เนื่องจากในช่วงเย็นวันที่ 28 กันยายน 2011 ตามปฏิทินยิว เป็นช่วงเวลาเริ่มต้นเทศกาลแห่งเสียงแตรเขาสัตว์ Rosh Hashanah หรือที่เราเรียกว่า ร้อช ฮ้าชชะนาห์ (28 ก.ย.-30 ก.ย.) ซึ่งเป็นเทศกาลเริ่มต้นปี (Head of the year) มีความสำคัญและมีความหมายฝ่ายวิญญาณมาก

เมื่อช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา อ โรเบิร์ต ไฮด์เลอร์(Robert Heidler) ได้มาสอนให้เราเข้าใจเรื่องความหมายของปฎิทินยิวในปี 5772 ตามปฏิทินฮีบรู เป็นปีของอักษร בע"Ayin-Bet"คือ
พระเจ้าเฝ้าดูเหนือบ้านของพระองค์ ที่สำคัญสุดคือพันธสัญญา (covenant) เป็นปีของการเข้าใจเรื่องพันธสัญญา พระเจ้าไม่เพียงแต่ต้องการให้เราเดินในพันธสัญญา แต่พระองค์ถักทอเชื่อมเราไว้ในพันธสัญญาของพระองค์

และอ.แอแลน ฟาบิยอน (Allen Faubion)ได้สอนเราให้เข้าใจในเรื่องการป่าวประกาศฤดูกาลใหม่ด้วยเสียงแตรเขาสัตว์(Shofar)
ดังนั้นให้เราพิจารณาถึงเทศกาลนี้ เพื่อจะมีความเข้าใจและก้าวไปสู่เวลาใหม่ของพระเจ้า

เทศกาลเสียงแตรมีขึ้นในวันแรกของเดือนที่เจ็ด (เดือนทีชรี) เป็นเดือนที่สำคัญมากเพราะในเดือนนี้มีเทศกาลอยู่ถึงสามเทศกาลได้แก่ เทศกาลเป่าแตรเขาสัตว์(Rosh Hashanah) เทศกาลวันลบมนทิลบาป (Day of Atonement)และเทศกาลอยู่เพิง (Feast of Tabernacles)



ในปี 2011 จะเป็นช่วงเวลาในเดือนกันยายน-ตุลาคม จะมีเทศกาลดังนี้



  1. เทศกาลแห่งเสียงแตรเขาสัตว์ Rosh Hashanah (ร้อช ฮ้าชชะนาห์) ช่วงวันที่ 28 ก.ย.-30 ก.ย.

  2. เทศกาลวันลบมนทิลบาป (Day of Atonement) (Yom Kippur - ยม คิปปูร์)ช่วงวันที่ 7-8 ต.ค.ในช่วง 10 วันตั้งแต่ Rosh Hashanah ถึง Yom Kippur เป็นช่วงวันแห่งความยำเกรงพระเจ้า (Days of Awe)(Awesome)

  3. เทศกาลอยู่เพิง (Feast of Tabernacles)(Sukkot-สุคต)ช่วงวันที่ 12-19ต.ค.
    ทั้ง3เทศกาลนี้เป็นแบบที่ทำให้เห็นแผนการแห่งการไถ่ที่สมบูรณ์ของพระเจ้า
ในแต่ละปีทางศาสนาของยิวนั้นจะมีการเป่าแตรเขาสัตว์ แต่การเป่าแตรในเทศกาลเป่าแตรเขาสัตว์ ซึ่งอยู่ในเดือนที่เจ็ดนั้น ถือเป็นการเป่าแตรเขาสัตว์ ในช่วงระยะเวลาท้ายสุดของปี เพื่อบอกถึงการสำเร็จเสร็จสิ้น ความสมบูรณ์ในแผนการของพระเจ้าสำหรับการไถ่บาป และเปิดฉากสู่การก้าวสู่เวลาใหม่ มิติใหม่ หรือ ก้าวสู่ New world

ในพระคัมภีร์เดิม เทศกาลเป่าแตรมีขึ้นในวันแรกของเดือนที่เจ็ด หรือเดือนทีชรี แต่เดิมเรียกว่าเดือนเอธานิม ซึ่งปรากฏใน
1 พงศ์กษัตริย์ 8:2 และผู้ชายทั้งสิ้นของอิสราเอลก็ประชุมต่อพระพักตร์พระราชาซาโลมอน ณการเลี้ยงในเดือนเอธานิม ซึ่งเป็นเดือนที่เจ็ด
แต่มาภายหลังเมื่ออิสราเอลกลับจากการเป็นทาสที่บาบิโลนจึงเรียกชื่อเดือนนี้ใหม่เป็นเดือนทิชรี ทิชรีจึงเป็นเดือนแรกในปฏิทินชาวบาบิโลน
ชาวยิวเรียกวันแรกในเดือนทิชรีนี้ว่า ร้อช ฮ้าชชะนาห์ ซึ่งแปลตามตัวอักษรหมายถึง ต้นปี (Head of the year)คนยิวจึงถือเอาวันนี้เป็นวันปีใหม่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้น คือ เริ่มต้นสิบวันแห่งการกลับใจใหม่ หรือ เริ่มต้นวันอันน่ายำเกรง (Days of Awe) นี่เป็นสิบวันแห่งการเตรียมตัวสู่วันลบมลทินบาปหรือวันยมคิปปูร ซึ่งอยู่ในวันที่สิบของเดือนที่เจ็ด

เทศกาลเสียงแตรและวันแห่งการลบมลทินบาปนี้ มีความแตกต่างจากเทศกาลอื่น ๆ นั่นก็คือ

ประการแรก เทศกาลทั้งสองนี้ไม่มีความเชื่อมโยงใด ๆ กับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของชาติ มีการเฉลิมฉลองเทศกาลนี้อย่างเป็นส่วนตัว เพราะถือว่าเป็นเวลาส่วนตัวที่เล็งถึงแต่ละคนจะยืนขึ้นต่อหน้าพระเจ้าที่ทรงประทับบนบัลลังก์การพิพากษาและร้องขอการอภัยบาป และการชำระบาป


ประการที่สอง เทศกาลอื่น ๆ จะเฉลิมฉลอง เน้นความชื่นชมยินดีในจิตวิญญาณ แต่เทศกาลนี้เป็นเทศกาลที่เน้นการใคร่ครวญทางจิตวิญญาณ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเสด็จกลับมาพิพากษาและปกครองโลก


เทศกาลเสียงแตรถือเป็นหนึ่งในสองเทศกาลที่มีบรรยากาศจริงจัง ซึ่งมาจากข้อพระวจนะใน เลวีนิติ 23:24 บอกให้เป็นวันที่ระลึกด้วยเสียงแตรและในกันดารวิถี 29:1 บอกว่าเป็นวันที่ให้คนทั้งหลายเป่าแตรในพระคัมภีร์เดิมมีการอ้างถึงเทศกาลเสียงแตรครั้งแรกใน เลวีนิติ 23:24
24 "จงกล่าวแก่คนอิสราเอลว่า ในวันที่หนึ่งของเดือนที่เจ็ด เจ้าทั้งหลายจงถือเป็นวันหยุดพักสงบวันหนึ่ง เป็นวันประชุมบริสุทธิ์ประกาศเป็นที่ระลึกด้วยเสียงแตร
และมีการอ้างถึงครั้งที่สองใน กันดารวิถี 29:1"ในวันที่หนึ่งเดือนที่เจ็ดเจ้าจงมีการประชุมบริสุทธิ์ เจ้าอย่าทำงานหนัก เป็นวันให้เจ้าทั้งหลายเป่าแตร" โดยปกติแล้วก็มีการเป่าโชฟาร์ ทุกต้นเดือน (Rosh Khodesh) โรช คอเดช


กันดารวิถี 10:10 ในวันที่เจ้าทั้งหลายมีความยินดี และในงานเทศกาลและในวันต้นเดือนของเจ้า เจ้าจงเป่าแตรเหนือเครื่องเผาบูชาและเหนือสัตวบูชาอันเป็นเครื่องศานติบูชา เป็นที่ให้พระเจ้าของเจ้าระลึกถึงเจ้า เราเป็นพระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้า"
แต่การเป่าแตรในเดือนเจ็ดนี้พิเศษกว่าเดือนอื่น ๆ ตรงที่เป็นการปลุกให้คนยืนขึ้นเพื่อเตรียมตัวให้พรอ้มก่อนการพิพากษาของพระเจ้าจะมาถึง
การเป่าแตรเป็นการเรียกให้กลับใจใหม่ก่อนวันแห่งการลบมลทินบาปซึ่งเล็งถึงวันแห่งการพิพากษาของพระเจ้า
โดยทั่วไป การเป่าแตรในแต่ละเดือนนั้นใช้แตรสั้น แต่การเป่าแตรในเดือนเจ็ดนั้นเป็นการเป่าแตรโดยใช้แตรที่มีขนาดยาว แตรแบบนี้จะให้เสียงดังกว่าเสียงดังจะปลุกจิตวิญญาณที่หลับใหลให้ตื่นขึ้น

คำว่า ร้อช ฮ้าชชะนาห์ แปลว่า จุดเริ่มต้นของปี (Head of the year) คนยิวจะมีปฏิทินแตกต่างกัน คือ ปฏิทินทางศาสนา และปฏิทินทั่ว ไป ปฏิทินทางศาสนานั้นจะเริ่มต้นนับในฤดูใบไม้ผลิ ดังที่บันทึกในอพยพ12:2 เฉลยธรรมบัญญัติ 16:1


เดือนแรกในปีทางศาสนา คือ เดือนที่คนอิสราเอลออกจากอียิปต์ และได้ฉลองเทศกาลปัสกา ซึ่งถือเป็นเทศกาลแห่งการไถ่ เรียกกันว่าเดือนอาบิบ คือ เดือนแห่งการได้ยินเสียง แต่ภายหลังเมื่อคนอิสราเอลกลับจากการเป็นทาสที่บาบิโลน ได้ตั้งชื่อเดือนอาบิบใหม่เป็นเดือนนิสาน ซึ่งเริ่มต้นในวันเพ็ญของเดือนมีนาคม หรือเมษายน
ส่วนปีที่ประชาชนทั่วไปยึดถือกัน เป็นปีทางการเกษตร ไม่ใช่ปฏิทินทางศาสนานั้นเชื่อว่า การเริ่มต้นปีอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ล่วงซึ่งอยู่ในเดือนที่เจ็ด ภายหลังจากที่อิสราเอลกลับจากการเป็นเชลย ได้เรียกเดือนนี้ว่าเดือนทิชรี

ตามประวัติศาสตร์พบว่าเครื่องมือที่ใช้ในการเป่าในวัน ร้อช ฮ้าชชะนาห์ ในอดีตเคยใช้โชฟาร์ ซึ่งเป็นเขาแกะที่มีลักษณะโค้ง
แต่ต่อมาในสมัยหลังๆ คนยิวส่วนใหญ่กลับใช้แตรเงิน ซึ่งเชื่อกันว่า การเป่าด้วยแตรเงินมีความหมายยิ่งใหญ่กว่าการเป่าด้วยโชฟา เพราะว่า แตรเงินมักนำมาใช้อย่างกว้างขวางในพิธีทางศาสนามากกว่า
การเป่าเสียงแตรนั้นจะกระตุ้นความรู้สึก ออกจากความเฉื่อยชา และทำให้เกิดการตระหนักรู้ ใคร่ครวญในจิตวิญญาณ เสียงการเป่าโชฟาร์นั้นมีครั้งแรกที่พระเจ้าสำแดงบนภูเขาซีนาย


อพยพ 19:16 อยู่มาพอถึงรุ่งเช้าวันที่สาม ก็บังเกิดฟ้าร้องฟ้าแลบ มีเมฆอันหนาทึบปกคลุมภูเขานั้นไว้กับมีเสียงแตรดังสนั่น จนคนทั้งปวงที่อยู่ในค่ายต่างก็พากันกลัวจนตัวสั่น

การเป่าโชฟาร์ ในเทศกาลเสียงแตรเขาสัตว์ หรือ ร้อช ฮ้าชชะนาห์ มีความหมายอย่างไรบ้างและเป่าอย่างไร ลองพิจาณากันโดยสังเขปดังนี้
(ข้อมูลจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Rosh_Hashanah)





  1. เป่าแบบเทคีอาห์ (Tekiah) เป่าเสียงเดียวยาวใช้เพื่อเรียกประชุม ความหมายฝ่ายวิญญาณหมายถึงข้อตกลง (Agreement)
    กันดารวิถี 10:3 เมื่อเป่าแตรทั้งสองนั้นก็ให้ชุมนุมชนทั้งหมดมาประชุมพร้อมกันกับเจ้าที่ประตูพลับพลาแห่งชุมนุม


  2. เป่าแบบเชวาริม (Shevarim) เป่าเสียงแตก 3 ครั้ง เพื่อเคลื่อนขบวนทัพความหมายฝ่ายวิญญาณหมายถึงการกลับใจ (repentance) กันดารวิถี 10:5 เมื่อเป่าแตรปลุกให้บรรดาค่ายที่ตั้งอยู่ด้านตะวันออกยกออกเดิน


  3. เป่าแบบเทรูอาห์ หรือ เทรัวห์ (Teruah)เป่าเสียงสั้น 9 ครั้ง เพื่อทำการรบในสงคราม ความหมายฝ่ายวิญญาณหมายถึงการรับใช้ (ministry) กันดารวิถี 10:9 และเมื่อเจ้าทั้งหลายจะไปทำศึกในแผ่นดินของเจ้าสู้ศัตรูผู้มาบีบบังคับเจ้า ก็ให้เป่าแตรทำเสียงปลุก และเจ้าจะเป็นที่ระลึกต่อพระพักตร์พระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้า และเจ้าจะได้พ้นจากศัตรูของเจ้า

นอกจากนี้เป็นการเป่าแบบผสมผสาน เช่น แบบเทคีอาห์ กีโดอาห์ Tekiah Gedolah เป่าเสียงดังยาวนานใช้เมื่อจบการอธิษฐานที่เรียกว่า Ashkenazi rite prayer services
อพยพ19:16 อยู่มาพอถึงรุ่งเช้าวันที่สาม ก็บังเกิดฟ้าร้องฟ้าแลบ มีเมฆอันหนาทึบปกคลุมภูเขานั้นไว้กับมีเสียงแตรดังสนั่น จนคนทั้งปวงที่อยู่ค่ายต่างก็พากันกลัวจนตัวสั่น
อพยพ19:19 เมื่อเสียงแตรยิ่งดังขึ้น โมเสสก็กราบทูล พระเจ้าก็ตรัสตอบเป็นเสียงร้อง


ในครั้งนี้เราจะมาพิจารณาในเรื่องเวลาแห่งเสียงแตรเขาสัตว์ 4 ประการคือ

1 เสียงปลุกให้ตื่นตัวฝ่ายวิญญาณ (Revive)
(Revive! wake up !:จงฟื้นขึ้น จงตื่นตัว!)

ผู้เผยพระวจนะในพระคัมภีร์เดิมใช้เป็นคำว่า “โชฟาร์” เป็นอุปมาเปรียบเทียบถึงการเรียกผู้คนให้กลับใจและหันกลับมาหาพระเจ้า จากการหลับไหลในฝ่ายวิญญาณ
ตัวอย่างเช่น ผู้เผยพระวจนะโยเอล เป่าแตรหรือโชฟาร์ ในศิโยนเพื่อเรียกให้คนกลับใจใหม่
โยเอล 2:15 จงเป่าเขาสัตว์ที่ในศิโยน จงเตรียมทำพิธีอดอาหาร จงเรียกประชุมตามพิธี
ในระหว่างการปฏิรูปศาสนาของกษัตริย์อาสา คนอิสราเอลแสวงหาพระเจ้า
2 พงศาวดาร 15:12 และเขาก็เข้าทำพันธสัญญาที่จะแสวงหาพระเยโฮวาห์พระเจ้าแห่งบรรพบุรุษของเขา ด้วยสุดจิตสุดใจของเขา
และเขาได้ประทับคำสัญญาของพวกเขาด้วยเสียงแตร

2 พงศาวดาร 15:14 เขาทั้งหลายได้กระทำสัตย์สาบานต่อพระเจ้าด้วยเสียงอันดัง และด้วยเสียงโห่ร้อง และด้วยเสียงแตรและเขาสัตว์
เสียงโชฟาร์เป็นเสียงแห่งการต่อต้านความบาป



อิสยาห์ 58:1 จงร้องดังๆอย่าออมไว้ จงเปล่งเสียงของเจ้าเหมือนเป่าเขาสัตว์ จงแจ้งแก่ชนชาติของเราให้ทราบถึงเรื่องการทรยศของเขา แก่เชื้อสายของยาโคบเรื่องบาปของเขา

เสียงของโชฟาร์เป็นเสียงเรียกให้ตอบสนอง เพื่อใคร่ครวญดูการกระทำของตน และดำเนินชีวิตใหม่ให้ถูกต้อง ก่อนวันแห่งการพิพากษา เป็นการหวนระลึกถึงการกระทำของตน เป็นการเผชิญหน้ากับจิตวิญญาณภายในของตน
พระเจ้ามักสื่อสารและเตือนประชากรของพระองค์ล่วงหน้าเสมอ ก่อนที่พระองค์จะทำการพิพากษา พระเจ้าเตือนประชากรของพระองค์ก่อนน้ำจะท่วมโลก และเตือนนินะเวห์ก่อนจะเกิดหายนะ

เทศกาลแห่งเสียงแตรสะท้อนถึง พระประสงค์ของพระเจ้าที่จะรวบรวมประชากรของพระองค์ให้กลับใจใหม่ เพื่อว่าพระองค์จะสามารถกู้พวกเขาในวันแห่งการพิพากษาได้

ชาวยิวมีช่วงเวลาสิบวันเรียกว่า “สิบวันแห่งการสำนึกบาป” ซึ่งเริ่มขึ้นในเทศกาลเสียงแตร และสิ้นสุดในวันทำการลบมลทินบาปซึ่งนับว่าเป็นวันสำคัญที่สุดในปฏิทินอิสราเอล
ในระหว่างเวลาเหล่านี้ พวกประชาชนต่างพยายามแสวงหาโอกาสคืนดีกับศัตรู ระลึกถึงคนอนาถา และจะกลับใจจากบาป เพื่อเตรียมใจสำหรับวันลบมลทินที่จะมาถึง
เทศกาลเป่าแตรสำคัญมาก เป็นการเปิดฉากการพิพากษาของสวรรค์ ซึ่งนำไปสู่วันลบมนทิลบาป ซึ่งจะเผยให้เห็นบาปของคนอิสราเอลแต่ละคน นี่เป็นภาพที่เล็งไปถึงการเสด็จกลับมาของพระคริสต์ เพื่อพิพากษาโลกนี้ ในวันสุดท้ายนั้น บาปของทุกคนจะถูกเปิดออกให้เห็น

คนยิวเชื่อว่า การพิพากษาครั้งสุดท้ายได้เปิดฉากในเทศกาลร้อช ฮ้าชชะนาห์ ด้วยเสียงแตร และจะปิดฉากเมื่อครบกำหนดสิบวันหลังจากนั้น ซึ่งเป็นวันลบมลทินบาป
วันทำการลบมนทิลจะตรงกับวันที่สิบของเดือนที่เจ็ด ในวันนี้มหาปุโรหิตจะแยกตัวออกจากคนอื่น ๆ ปุโรหิตจะถอดเครื่องยศบริสุทธิ์และงดงามออก สวมเพียงเสื้อกางเกงและหมวกผ้าป่านสีขาว (ซึ่งเล็งถึงความเป็นมนุษย์ของพระคริสต์” เขาจะชำระกายห้าครั้งกับล้างมือและเท้าสิบครั้ง
แพะสองตัวเป็นลักษณะเฉพาะที่สำคัญอย่างหนึ่งของวันทำการลบมลทิน ตัวหนึ่งจะเป็นแพะรับบาป และแพะตัวนี้จะถูกปล่อยเข้าไปในถิ่นทุรกันดาร พร้อมทั้งบรรทุกเอาความบาปทั้งสิ้นของประชาชนไปด้วย (เลวีนิติ 16:20-22)
มีการถวายบูชาหลายอย่างที่กำหนดให้ทำในวันทำการลบมนทินนี้ มหาปุโรหิตจะถวายวัวหนุ่มตัวหนึ่งเป็นเครื่องไถ่บาปของตน แพะตัวที่สองจะถูกแยกไว้เพื่อถวายแด่พระเจ้าเป็นเครื่องบูชาไถ่บาปของประชาชน
เขาจะนำเลือดวัวและเลือดแพะประพรมอภิสุทธิสถาน ม่าน แท่นเผาเครื่องหอม และแท่นเครื่องเผาบูชา เพื่อชำระทุกสิ่งเหล่านี้ให้ปราศจากมลทิน
มหาปุโรหิตจะเข้าไปในอภิสุทธิสถานเพียงปีละครั้ง คือ ในวันทำการลบมลทินบาป และต้องนำเลือดเข้าไปถวาย
มหาปุโรหิตไม่เพียงแต่นำเลือดของสัตว์ที่ถวายบูชาเข้าไปในอภิสุทธิสถานเท่านั้น เขายังต้องนำกระถางเผาเครื่องหอมมีถ่านลุกอยู่มาจากแท่นเผาเครื่องหอม ใส่เครื่องหอมทุบละเอียดสองกำมือไว้ และควันเครื่องหอมจะคลุมพระที่นั่งกรุณาซ่อนพระสิริเสียจากสายตาของเขา และมหาปุโรหิตจะได้รอดตาย เพราะขณะนั้นเขาอยู่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าและวิงวอนพระองค์เพื่อประชาชน โดยออกพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ คือ ยาเวห์

พระคริสต์ได้เสด็จมาเป็นมหาปุโรหิตแล้ว พระองค์ก็ได้เสด็จเข้าไปสู่เต็นท์อันใหญ่ยิ่งกว่าแต่ก่อน พระองค์ได้เสด็จเข้าไปสู่วิสุทธิสถานเพียงครั้งเดียวเท่านั้น และพระองค์ไม่ได้ทรงนำเลือดแพะและเลือดลูกวัวเข้าไป แต่ทรงนำพระโลหิตของพระองค์เข้าไป และทรงสำเร็จการไถ่บาปชั่วนิรันดร์ (ฮีบรู 9:11-12)
อย่างไรก็ตามสำหรับคนยิวแล้ว วันทั้งสิบวันก่อนวันลบมนทินนั้น ถูกเรียกกันว่า วันแห่งความยำเกรงพระเจ้า
เทศกาลเสียงแตรหรือร้อช ฮ้าชชะนาห์ ถือเป็นวันที่เข้าสู่การพิพากษา แต่วันที่ประทับตราคำพิพากษาคือวันลบมนทิลบาป หรือยมคิพปูร์ ว่าผลจะออกมาอย่างไรถ้ากลับใจบาปก็ถูกลบ หรือชำระให้หมดสิ้นได้

นี่เป็นภาพที่เล็งถึงการเสด็จกลับมาของพระคริสต์ ที่บอกเราให้มีชีวิตยำเกรงพระเจ้า
วิวรณ์ 14:7 ท่านประกาศด้วยเสียงอันดังว่า "จงยำเกรงพระเจ้า และถวายพระเกียรติแด่พระองค์ เพราะถึงเวลาที่พระองค์จะทรงพิพากษาแล้ว และจงนมัสการพระองค์ ผู้ได้ทรงสร้างฟ้าสวรรค์ แผ่นดินโลก ทะเล และบ่อน้ำพุทั้งหลาย"

2.เสียงเรียกเพื่อกลับมาแสวงหาพระเจ้า (Return)
(Turn and Return :Draw near & be made whole ! :จงเปลี่ยน และหันกลับอย่างสิ้นเชิง จงเข้ามาชิดใกล้ และยอมเปลี่ยนทั้งหมด)
นอกจากนี้การเป่าเสียงแตรด้วยโชฟาร์ ยังเป็นการเรียกเพื่อกลับมาแสวงหาพระเจ้า
เลวีนิติ 25:9 เจ้าจงให้เป่าเขาสัตว์ดังสนั่นในวันที่สิบเดือนที่เจ็ด เจ้าจงให้เป่าเขาสัตว์ทั่วแผ่นดินในวันทำการลบมลทิน
เสียงแห่งการประกาศถึงการเริ่มต้นสู่การพิสูจน์ และสำรวจใจ
การเป่าโชฟาร์ในวันร้อช ฮ้าชชะนาห์ ยังเป็นการประกาศก้องถึงการเริ่มต้นของการเข้าสู่การสำรวจใจ ก่อนวันแห่งการพิพากษา การสำรวจนี้กินเวลา สิบวัน จนกระทั่งวันลบมลทินบาป (หรือ วันยมคิปปูร์) มาถึง
ในระหว่างสิบวันนี้ ชาวยิวจะตระหนักถึงชีวิตของตน เหมือนเอาชีวิตไปชั่งบนตาชั่ง พวกเขาจะได้ตระหนักถึงความเปราะบางของชีวิต และจะถามคำถามตนเองว่าถ้าชีวิตของเขาจบลงในวันนี้ เขาได้ใช้ชีวิตคุ้มค่า หรือสมควรแล้วหรือไม่
ช่วงเวลาแห่งการใคร่ครวญนี้ จะทำให้ได้ตระหนักว่าชีวิตของคนแต่ละคนนั้น เป็นชีวิตที่อยู่ภายใต้พระหัตถ์ของพระเจ้า เราไม่สามารถกำหนดทุกสิ่งได้ด้วยตนเอง


เสียงโชฟาร์จะประกาศให้เห็นว่าไม่มีสิ่งใดที่หลบซ่อนในใจได้ เหมือนการยืนอยู่ต่อหน้าหมู่ทหารที่ทำการยิงเป้า ซึ่งต้องพิสูจน์ในระดับลึกของจิตใจ ในสมัยพระคัมภีร์ใหม่ เทศกาลเสียงแตรนี้ เล็งถึงการกลับมาของพระคริสต์ เพื่อประกาศเวลา ฤดูกาลใหม่ ที่พระองค์ทรงปฏิเสธการดำเนินชีวิตอย่างศาสนา แต่สถาปนาการนมัสการด้วยจิตวิญญาณและความจริง
ดังนั้นการเป่าแตรจึงเป็นสัญลักษณ์ของการประกาศการหลุดพ้นจากวิถีเดิมแห่งพันธการ การตกอยู่ภายใต้วิญญาณแห่งกฏเกณฑ์ และการดำเนินชีวิตอย่างเป็นรูปแบบ


3 เสียงแห่งการรื้อฟืน (Restore)
(Be Restored! To God and His covenant plan! : จงรับการรื้อฟื้น สู่พระเจ้าและแผนการในพันธสัญญาของพระองค์)
ในพระคัมภีร์เดิม พระเจ้าทรงสัญญาจะส่งพระเมสิยาห์มาปลดปล่อยชนชาติของพระองค์
เสียงโชฟาร์จึงเป็นเครื่องหมายแห่งการระลึกถึงพระสัญญาของพระเจ้าที่จะส่งพระเมสิยาห์ ผู้ที่จะเสด็จมามารวบรวมลูก ๆ ที่กระจัดกระจายให้กลับมารวมกันเป็นหนึ่งเดียว
อิสยาห์ 27:13
13 และในวันนั้นเขาจะเป่าเขาสัตว์ใหญ่ และบรรดาผู้ที่กำลังพินาศอยู่ในแผ่นดินอัสซีเรีย และบรรดาผู้ถูกขับไล่ออกไปยังแผ่นดินอียิปต์จะมานมัสการพระเจ้า บนภูเขาบริสุทธิ์ที่เยรูซาเล็ม


เสียงโชฟาร์ไม่เพียงเป็นการประกาศถึงการเสด็จมาเพื่อรวบรวมผู้คนของพระเมสสิยาห์ที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์เดิม (อิสยาห์ 27:13)
ในพระคัมภีร์ใหม่ เป็นการประกาศถึงการครอบครอง การปกครองของพระคริสต์บนแผ่นดินโลก


1เธสะโลนิกา 4:16 ด้วยว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าจะเสด็จมาจากสวรรค์ ด้วยพระดำรัสสั่ง ด้วยสำเนียงเรียกของเทพบดีและด้วยเสียงแตรของพระเจ้า และคนทั้งปวงในพระคริสต์ที่ตายแล้วจะเป็นขึ้นมาก่อน

1โครินธ์ 15:52 ในชั่วขณะเดียว ในพริบตาเดียว เมื่อเป่าแตรครั้งสุดท้าย เพราะว่าจะมีเสียงแตร และคนที่ตายแล้วจะเป็นขึ้นมาปราศจากเน่าเปื่อย แล้วเราทั้งหลายจะถูกเปลี่ยนแปลงใหม่

วิวรณ์ 11:15-18
15 และทูตสวรรค์องค์ที่เจ็ดก็เป่าแตรขึ้น และมีเสียงหลายๆเสียงกล่าวขึ้นดังๆในสวรรค์ว่า "ราชอาณาจักรแห่งพิภพนี้ ได้กลับเป็นราชอาณาจักรขององค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา และเป็นของพระคริสต์ของพระองค์ และพระองค์จะทรงครอบครองตลอดไปเป็นนิตย์ "
16 และผู้อาวุโสยี่สิบสี่คนซึ่งนั่งในที่นั่งของตน เบื้องหน้าพระเจ้าก็ทรุดตัวลงกราบนมัสการพระเจ้า


พระคริสต์จะเสด็จมาเพื่อรวบรวมคนทั้งปวงที่พระองค์ทรงเลือกสรรไว้แล้ว
มัทธิว 24:30-31
30 เมื่อนั้นนิมิตแห่งบุตรมนุษย์ จะปรากฏขึ้นในท้องฟ้า มนุษย์ทุกชาติทั่วโลกจะตีอกร้องไห้ บุตรมนุษย์เสด็จมาบนเมฆในท้องฟ้า ทรงฤทธานุภาพและพระสิริเป็นอันมาก
31 พระองค์ทรงใช้เหล่าทูตสวรรค์ของพระองค์ มาด้วยเสียงแตรอันดังยิ่งนัก ให้รวบรวมคนทั้งปวงที่พระองค์ทรงเลือกสรรไว้แล้ว ทั้งสี่ทิศนั้น ตั้งแต่ที่สุดฟ้าข้างนี้จนถึงที่สุดฟ้าข้างโน้น



เมื่อเราได้รู้แล้วว่าเทศกาลเสียงแตรนี้ เป็นการสัญลักษณ์ของยุคพระเมสสิยาห์ หรือของพระคริสต์ที่จะเสด็จกลับมารวมรวมผู้คน เมื่อเสียงแตรดังขึ้นให้เราอธิษฐานขอการเชื่อมต่อพระกาย และรวมตัวเป็นหนึ่งเดียว ขอความเป็นเอกภาพ การรวมเป็นหนึ่งเดียวระหว่างพี่น้องในคริสตจักร ระหว่างคริสตจักรต่าง ๆ และความเป็นเอกภาพหนึ่งเดียวของคนในประเทศชาติ อธิษฐานขอการที่คริสตจักรเข้าไปเชื่อมต่อกับอิสราเอล
อธิษฐานขอให้พี่น้องที่หลงหายไปในที่ต่าง ๆ กลับมาหาพระเจ้า

4 เสียงร้องชื่นชมในการทรงสถิต(Rejoice)
(Rejoice! In His presence is fullness of joy! : จงชื่นชมยินดี ในการทรงสถิตของพระเจ้าเป็นความชื่นชมอย่างเต็มล้น)
เสียงของโชฟาร์ยังเป็นสัญลักษณ์ของการเป่าเพื่อให้พระเจ้าเสด็จเข้ามาครอบครอง การทรงสถิตของพระเจ้าเป็นความชื่นชมอย่างเต็มล้น
การพิพากษาของพระเจ้าและการครอบครองเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กัน เมื่อไรก็ตามที่พระเจ้าทรงสถิตและครอบครอง เมื่อนั้น สิ่งผิดสิ่งถูกจะถูกชี้ชัด คนจะเห็นความบาปผิดของตนเอง

เป็นภาพของกษัตริย์นั่งบนบัลลังก์แห่งการครอบครอง และพิพากษาเหนือประชากรของพระองค์
พระวจนะบันทึกเหตุการณ์ว่าเมื่อกษัตริย์ใหม่ขึ้นนั่งครอบครอง จะมีการเป่าแตรเพื่อป่าวประกาศบัลลังก์ของพระองค์
1 พงศ์กษัตริย์ 1:39 แล้วศาโดกปุโรหิตได้นำเขาสัตว์ที่บรรจุน้ำมันมาจากเต็นท์ของพระเจ้า และเจิมตั้งซาโลมอนไว้ และเขาทั้งหลายก็เป่าเขาสัตว์ และประชาชนทั้งปวงกล่าวว่า "ขอพระราชาซาโลมอน ทรงพระเจริญ"
เช่นเดียวกันที่ในเทศกาลเสียงแตรที่เป่าออกไปเพื่อประกาศก้องว่าพระคริสต์ทรงยิ่งใหญ่และทรงเสด็จมาครอบครอง ด้วยเสียงแห่งความชื่นชมยินดี พระธรรมสดุดีบางบทก็ได้บันทึกถึงเสียงแตรแห่งการเฉลิมฉลองการครอบครองของพระเจ้า
ตัวอย่างเช่น สดุดี 47 :1-9
สดุดี 98:6 ด้วยเสียงแตรและเสียงเป่าเขาสัตว์ จงกระทำเสียงชื่นบานถวายพระมหากษัตริย์ คือพระเจ้า

เสียงของโชฟาทำให้ระลึกถึงการครอบครองที่เปี่ยมด้วยความยุติธรรมและเมตตา
พระคริสต์ปรารถนาจะสถิตอยู่ในชีวิตของเรา ทรงปรารถนาการครอบครองเหนือตัวเรา เหนือคริสตจักร

การเป่าแตรเขาสัตว์เป็นการเตือนให้ระลึกถึงความเมตตาของพระเจ้า การให้อภัยบาปของพระองค์ อย่างที่เขาไม่สมควรได้รับ
เพื่อเตือนใจให้ระลึกถึงความเมตตาของพระเจ้า ในวันนี้คนยิวจะอ่านพระวจนะในธรรมศาลาถึงเรื่องราวของอับราฮัมในการถวามอิสอัค (ปฐมกาล 22) และอับราฮัมได้ชื่นชมกับพระเมตตาของพระองค์ที่พระองค์ได้ส่งแกะมาเพื่อถวายบูชาแทนอิสอัค

นี่เป็นที่มาว่าเหตุใดคนยิวจึงใช้เขาแกะปลายงอนเป่า ทั้งนี้เพื่อจะได้หวนกลับไประลึกถึงพระเมตตาที่ทรงกระทำต่ออับราฮัม
เขาจากแกะที่ถูกจับได้จากพุ่มไม้ กลายมาเป็นสัญลักษณ์ เพื่อระลึกถึงคนบาป และการลบล้างบาป
การเป่าแตรในการออกศึกสงครามนั้นก็เป็นการเชื่อมโยงถึงเทศกาลเสียงแตร เพื่อเตือนใจว่าพระเจ้าระลึกถึงเรา และจะช่วยเราซึ่งเป็นประชากรของพระองค์ เช่นเดียวกัน ในขณะนี้เราอยู่ท่ามกลางสงครามฝ่ายวิญญาณ และเมื่อเราเดินหน้าในงานพระเจ้า เรารู้ว่าจะมีการปะทะในฝ่ายวิญญาณ
เสียงแตรที่เราจะเป่านี้ ก็เป็นการประกาศก้องว่า พระเจ้าทรงอยู่ฝ่ายเรา ทรงระลึกถึงเรา และจะช่วยเราให้มีชัยเหนือมารซาตานได้

ภาคประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน
การเป่าเสียงแตรเป็นช่วงเวลาของการทำลายสิ่งเก่าและรุกเข้าไปสู่สิ่งใหม่


จงออกมาจากรูปแบบเดิมที่รู้สึกมั่นคง
คำอธิษฐาน : ข้าแต่พระเจ้า โปรดให้ข้าพระองค์แสวงหาความมั่นคงปลอดภัยในพระองค์

จงทำลาย นิสัยเดิมๆ
คำอธิษฐาน : ข้าแต่พระเจ้า โปรดให้ใจของข้าพระองค์ปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลง


กลับใจจากวิธีคิดแบบเดิมๆ
คำอธิษฐาน : ข้าแต่พระเจ้า โปรดให้ข้าพระองค์ออกจากสิ่งเก่าเข้าสู่สิ่งใหม่

พระเจ้าตรัสว่า เสียงของแตรเขาสัตว์ ถูกสร้างมาเพื่อกระตุ้นเร้าสิ่งที่อยู่ในจิตวิญญาณของคุณ ขอพระองค์ที่เคลื่อนไปตามเสียงแตรเขาสัตว์
แผนการของพระเจ้าสำหรับการเริ่มต้นปี



  1. จงฟื้นขึ้น จงตื่นตัว!


  2. จงเปลี่ยน และหันกลับอย่างสิ้นเชิง จงเข้ามาชิดใกล้ และยอมเปลี่ยนทั้งหมด


  3. จงรับการรื้อฟื้น สู่พระเจ้าและแผนการในพันธสัญญาของพระองค์


  4. จงชื่นชมยินดี ในการทรงสถิตของพระเจ้าเป็นความชื่นชมอย่างเต็มล้น
เมื่อได้ยินเสียงแตร จงเคลื่อนไป!

ประสบการณ์สู่พระสิริของพระเจ้า
1. ฟังเสียงปลุกให้ตื่น ดังเช่นการเข้าสู่เทศกาลเสียงแตรโดยตื่นจากหลับใหลเข้าสู่เวลาของพระองค์
2. เสาะแสวงหาพระเจ้า ในช่วง 10วันแห่งความยำเกรง
3. รับการรื้อฟื้น อธิษฐานสารภาพบาปในวันลบมลทินบาป กลับใจจากสิ่งเลวร้าย เข้ามาพึ่งพาพระคุณพระเจ้า
4. ชื่นชมในการทรงสถิตของพระเจ้า ดังเช่นการเข้าสู่เทศกาลอยู่เพิง ด้วยความหวังใจ พระเยซูเป็นดังที่พำนักในชีวิตของเรา พระองค์ทางอยู่ทามกลางเรา


พระเจ้าทรงตั้งปฏิทินของพระองค์ ไว้เพื่อนำเราก้าวไปสู่ 4 ขั้นนี้ในแต่ละปี

ขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นนี้เป็นรูปแบบเพื่อการฟื้นฟูในระดับปัจเจกบุคลและในระดับประเทศ!

22 กันยายน 2554

สายธารแห่งการชำระ สู่ชัยชนะในชีวิตนิรันดร์

สวัสดีครับเพื่อนผู้อ่านทุกท่าน ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมการสัมมนา Cleansing Stream มีอาจารย์Chris Heyward และอาจารย์ Khoo Kah Leong มีหลายสิ่งที่ได้รับพระพรอย่างมาก ในครั้งนี้จึงได้เขียนบทความบอกกล่าวเล่าสู่กันฟังดังนี้ครับ
การสัมมนา Cleansing stream ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่รับการชำระบริสุทธิ์จากพระเจ้า หลังจากการสัมมนาครั้งนี้ สิ่งได้ที่เรียนรู้ทุกสิ่งไม่เพียงแต่เพียงการเรียนรู้ระดับข้อมูล (Knowledge) แต่ต้องรู้ถึงวิธีการในภาคปฎิบัติ (Know-how) และที่สำคัญคือการรู้หลักการเบื้องหลัง (Know-why) เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตของเราได้


Ralph Waldo Emerson นักปรัชญาชาวอเมริกัน เคยกล่าวไว้ว่า “…The man who knows how will always have a job. The man who also knows why will always be his boss. As to methods there may be a million and then some, but principles are few. The man who grasps principles can successfully select his own methods. The man who tries methods, ignoring principles, is sure to have trouble.” แปลได้ว่า “…คนที่รู้วิธีการย่อมมีงานทำเสมอ แต่คนที่เข้าใจเหตุผลด้วยจะได้เป็นหัวหน้าคนพวกนั้น วิธีการอาจจะมีเป็นล้านวิธี แต่หลักการนั้นมีไม่มาก คนที่เข้าใจในหลักการสามารถเลือกใช้วิธีการอย่างได้ผล คนที่ได้แต่ทำไปตามวิธีการโดยไม่สนใจหลักการย่อมเจอแต่ปัญหา”

ดังนั้น การเรียนรู้ทุกสิ่งไม่เพียงแต่เพียงการเรียนรู้ระดับข้อมูล (Knowledge) แต่ต้องรู้ถึงวิธีการในภาคปฏิบัติ (Know-how) ในการจัดการกับทุกปัญหา และที่สำคัญคือการรู้หลักการเบื้องหลัง (Know-why) เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตของเราได้ ขอเพิ่มเติมข้อคิดนี้คือต้องรู้จักผู้ประทานชัยชนะในชีวิตของเราด้วยคือพระเยซูคริสต์ผู้ชำระชีวิตของเรา อย่างนี้เรียกว่า Know-who
ในพระคัมภีร์ได้กล่าวไว้ว่า

กาลาเทีย 5:1 เพื่อเสรีภาพนั้นเอง พระคริสต์จึงได้ทรงโปรดให้เราเป็นไท เหตุฉะนั้นจงตั้งมั่นและอย่าเข้าเทียมแอกเป็นทาสอีกเลย

สิ่งสำคัญที่คุ้มกันเสรีภาพของเราคือ การอย่ายอมให้ตัวของเราถูกดึงกลับไปในเรื่องที่ได้รับการเสรีภาพแล้ว ให้เราได้ทำสิ่งเหล่านี้ร่วมกัน สิ่งที่เป็นแนวทางปฎิบัติในการรักษาชีวิตให้บริสุทธิ์มีดังต่อไปนี้
กล่าวคำอธิษฐานปลดปล่อยและป่าวประกาศคำแห่งชัยชนะ


ในสัมมนาครั้งนี้มีการให้นิยาม “จิตใจแบบลูกกำพร้า” คือ จิตใจที่รู้สึกโดดเดี่ยวและไม่รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของใคร ต้องดูแลและพึ่งพาตนเองเพื่อความอยู่รอด

กล่าวคำอธิษฐานปลดปล่อยและป่าวประกาศคำแห่งชัยชนะตามพระวจนะดังนี้

ยอห์น 14:18 "เราจะไม่ละทิ้งท่านทั้งหลายไว้ให้เปล่าเปลี่ยว เราจะมาหาท่าน"

กาลาเทีย 4:6-7
6 และเพราะท่านเป็นบุตรของพระเจ้าแล้ว พระองค์จึงทรงใช้พระวิญญาณแห่งพระบุตรของพระองค์ เข้ามาในใจของเรา ร้องว่า "อาบา" คือ พระบิดา
7 เหตุฉะนั้นโดยพระเจ้า ท่านจึงไม่ใช่ทาสอีกต่อไป แต่เป็นบุตร และถ้าเป็นบุตรแล้ว ท่านก็เป็นทายาท การสำนึกผิด ความอับอาย และการฟ้องผิด


สดุดี 34:5 เขาทั้งหลายเพ่งดูพระองค์ และเบิกบาน เพื่อหน้าตาของเขาจะไม่ต้องอาย วิญญาณการทำร้าย


สดุดี 147:3 พระองค์ทรงรักษาคนที่ชอกช้ำระกำใจ และทรงพันผูกบาดแผลของเขา

ผู้ที่มีวิญญาณของการเป็นเหยื่อ คือ วิญญาณที่ถูกส่งมาทำให้รู้สึกไร้อำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์
กล่าวคำอธิษฐานปลดปล่อยและป่าวประกาศคำแห่งชัยชนะดังพระวจนะนี้

โรม 8:37 แต่ว่าในเหตุการณ์ทั้งปวงเหล่านี้ เรามีชัยเหลือล้นโดยพระองค์ผู้ได้ทรงรักเราทั้งหลาย

ป่าวประกาศคำแห่งชัยชนะไปสู่หนทางความบริสุทธิ์ ทั้งจิตใจ วาจา การกระทำ ชีวิตที่บริสุทธิ์ทางเพศ


อิสยาห์ 1:18 พระเจ้าตรัสว่า "มาเถิด ให้เราสู้ความกัน ถึงบาปของเจ้าเหมือนสีแดงเข้ม ก็จะขาวอย่างหิมะ ถึงมันจะแดงอย่างผ้าแดง ก็จะกลายเป็นอย่างขนแกะ


1โครินธ์ 6:18 จงหลีกเลี่ยงเสียจากการล่วงประเวณี บาปอย่างอื่นที่มนุษย์กระทำนั้นเป็นบาปนอกกาย แต่คนที่ล่วงประเวณีนั้น ทำผิดต่อร่างกายของตนเอง


ป่าวประกาศคำแห่งชัยชนะไปสู่ชีวิตที่ฟื้นจากความตาย ความเจ็บไข้และการสูญเสีย


โรม 8:38-39
38 เพราะข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า แม้ความตาย หรือชีวิต หรือบรรดาทูตสวรรค์ หรือเทพเจ้า หรือสิ่งซึ่งมีอยู่ในปัจจุบันนี้ หรือสิ่งซึ่งจะมีในภายหน้า หรือฤทธิ์เดชทั้งหลาย
39 หรือซึ่งสูง หรือซึ่งลึก หรือสิ่งใดๆอื่นที่ได้ทรงสร้างแล้วนั้น จะไม่สามารถกระทำให้เราทั้งหลายขาดจากความรักของพระเจ้า ซึ่งมีอยู่ในพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราได้



ป่าวประกาศคำแห่งชัยชนะเหนือความหยิ่งและการถูกทำลาย

สุภาษิต 29:23 ความเย่อหยิ่งของคนนำเขาให้ต่ำลง แต่คนที่มีใจถ่อมจะได้รับเกียรติ


นอกจากนี้เราต้องขอบพระคุณพระเจ้าและกล่าวคำพยานของเราออกไปดังพระวจนะนี้

สดุดี 107:8 ให้เขาขอบพระคุณพระเจ้า เพราะความรักมั่นคงของพระองค์ เพราะการอัศจรรย์ของพระองค์ที่มีต่อบุตรของมนุษย์

วิวรณ์ 12:11 เขาเหล่านั้นชนะพญามารด้วยพระโลหิตของพระเมษโปดก และเพราะคำพยานของพวกเขาเอง เพราะเขาไม่ได้เสียดายที่จะพลีชีพของตน

ให้เราได้ขอบคุณพระเจ้าสำหรับสิ่งที่พระองค์ทรงกระทำและเล่าถึงคำพยานที่ได้รับการปลดปล่อยสู่เสรีภาพในพระองค์ เพราะมารซาตานวิญญาณชั่ว กลัวในการที่เราออกไปเล่าคำพยาน คำพยานนำมาซึ่งการปลดปล่อยฤทธิ์อำนาจของพระเจ้าไปสู่ผู้ที่อยู่ในพันธนาการ


ลูกา 4:18 พระวิญญาณแห่งพระเป็นเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะว่าพระองค์ได้ทรงเจิมตั้งข้าพเจ้าไว้ เพื่อนำข่าวดีมายังคนยากจน พระองค์ได้ทรงใช้ข้าพเจ้าให้ร้องประกาศอิสรภาพแก่บรรดาเชลย ให้ประกาศแก่คนตาบอดว่าจะได้เห็นอีก ให้ปล่อยผู้ถูกบีบบังคับเป็นอิสระ


เราจะต้องรุกหน้าต่อไป…สู่ชีวิตที่รับการชำระบริสุทธิ์ เพื่อเราจะมีชีวิตที่มีเสรีภาพเต็มด้วยพระพรและการทรงสถิตของพระเจ้า
ขั้นตอนต่อไป เราจำเป็นต้องเรียนรู้จักความรักของพระบิดา เรียนรู้ความจริงในพระคุณการไถ่ในพระเยซูและดำเนินชีวิตสัมพันธ์สนิทกับพระวิญญาณบริสุทธ์ เพื่อรู้ในน้ำพระทัยของพระเจ้า
2โครินธ์ 13:14 ขอให้พระคุณของพระเยซูคริสตเจ้า ความรักแห่งพระเจ้า และความสนิทสนมซึ่งมาจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ จงดำรงอยู่กับท่านทั้งหลายเถิด

เรียกง่ายๆว่า ต้องเรียนรู้ในการรู้จัก รู้จริงและรู้ใจพระจ้า ดังต่อไปนี้

1. ดำเนินชีวิตในพระวิญญาณ-เรียนรู้ในการรักษาทางในการเดินอย่างถูกต้องตามการทรงนำ
2. การมอบทุกสิ่งให้พระเจ้าดูแล-การมอบทุกสิ่งให้พระเจ้าทรงดูแลและวางใจในความรักของพระองค์
3. การพูดถ้อยคำแห่งความจริง-กล่าวถ้อยคำที่สอดคล้องต่อพระวจนะและกระทำตาม
4. เข้าสู่สายธารแห่งการชำระ-เพื่อไปสู่เสรีภาพและรับการรักษาให้หายดี


ก่อนที่เราจะเดินทางบากบั่นม่งสู่หลักชัย ลองทบทวนชีวิตด้วยคำถามต่อไปนี้
การบากบั่นมุ่งสู่หลักชัยหมายถึงอะไร และทำไมต้องบากบั่นมุ่งสู่หลักชัย ? โดยพิจารณาจากข้อพระคัมภีร์ข้อนี้ด้วยกัน


ฟิลิปปี 3:12-14
12 มิใช่ว่าข้าพเจ้าได้แล้ว หรือสำเร็จแล้ว แต่ข้าพเจ้ากำลังบากบั่นมุ่งไป เพื่อข้าพเจ้าจะได้ฉวยเอาไว้เป็นของตน อย่างที่พระเยซูคริสต์ได้ทรงฉวยข้าพเจ้าไว้เป็นของพระองค์แล้ว
13 ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่ถือว่าข้าพเจ้าได้ฉวยไว้ได้แล้ว แต่ข้าพเจ้าทำอย่างหนึ่ง คือลืมสิ่งที่ผ่านพ้นมาแล้วเสีย และโน้มตัวออกไปหาสิ่งที่อยู่ข้างหน้า
14 ข้าพเจ้ากำลังบากบั่นมุ่งไปสู่หลักชัย เพื่อจะได้รับรางวัล ซึ่งในพระเยซูคริสต์พระเจ้าได้ทรงเรียกจากเบื้องบน ให้เราไปรับ
พระเจ้าทรงกำหนดหนทางให้เราไปสู่เป้าประสงค์ของพระองค์ เราจึงต้องไปสู่ความสำเร็จ


สดุดี 139:16 พระเนตรของพระองค์ทรงเห็นส่วนประกอบของข้าพระองค์วันทั้งหลายทุกๆ วันที่กำหนดให้ข้าพระองค์นั้น ก็ทรงจารึกไว้ในพระตำรับของพระองค์ เมื่อครั้งยังไม่เกิดวันนั้นเลย

ฮีบรู 12:1-2
1 เหตุฉะนั้น เมื่อเรามีพยานพรั่งพร้อมอยู่รอบข้างเช่นนี้แล้ว ก็ขอให้เราละทิ้งทุกอย่างที่ถ่วงอยู่ และบาปที่เกาะแน่น ขอให้เราวิ่งแข่งด้วยความเพียรพยายาม ตามที่ได้กำหนดไว้สำหรับเรา
2 หมายเอาพระเยซูเป็นผู้บุกเบิกความเชื่อ และผู้ทรงทำให้ความเชื่อของเราสมบูรณ์ พระองค์ได้ทรงอดทนต่อกางเขน เพื่อความรื่นเริงยินดีที่ได้เตรียมไว้สำหรับพระองค์ ทรงถือว่าความละอายนั้นไม่เป็นสิ่งสำคัญและพระองค์ได้ประทับ ณ เบื้องขวาพระที่นั่งของพระเจ้า


การบากบั่นมุ่งสู่หลักชัยทำได้อย่างไร?
เดินต่อไป…เปลี่ยนจากพระสิริหนึ่งไปสู่พระสิริหนึ่ง- รับการเปลี่ยนแปลงชีวิตให้เหมือนพระเจ้ามากยิ่งขึ้นในทุกวัน

2โครินธ์ 3:18 แต่เราทั้งหลายไม่มีผ้าคลุมหน้าแล้ว จึงแลดูพระสิริขององค์พระผู้เป็นเจ้า และตัวเราก็เปลี่ยนไปเป็นเหมือนพระฉายขององค์พระผู้เป็นเจ้า คือมีศักดิ์ศรีเป็นลำดับขึ้นไป เช่นอย่างศักดิ์ศรีที่มาจากองค์พระผู้เป็นเจ้าซึ่งเป็นพระวิญญาณ

เราจะเป็นบุคคลที่เต็มด้วยการขอบพระคุณ…เต็มด้วยพระคำ – การขอบคุณเป็นการเลือกที่จะตอบสนองพระเจ้าต่อสิ่งที่พระองค์เป็นและทำในชีวิตของเรา การสะสมพระคำทำให้ชีวิตเต็มด้วยพระพร

สดุดี 119:11 ข้าพระองค์ได้สะสมพระดำรัสของพระองค์ไว้ในใจของข้าพระองค์ เพื่อข้าพระองค์จะไม่ทำบาปต่อพระองค์


เราจะเป็นบุคคลที่เต็มด้วยความเชื่อ…เต็มด้วยพระวิญญาณ (เอเฟซัส 5:18,โรม 10:17)
เราจะต้องเป็นคนใหม่ –เรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงโดยฤทธิ์อำนาจของพระเจ้า
เราจะต้องจัดบ้านของคุณให้เป็นระเบียบ-ใจของเราเป็นบ้านของพระคริสต์ ต้องชำระใจของเราให้สะอาดและเชิญพระวิญญาณเข้ามาเพื่อรักษาใจอยู่เสมอ และคิดใคร่ครวญในสิ่งที่ถูกต้องเสมอ


สุภาษิต 4:23 จงรักษาใจของเจ้าด้วยความระวังระไวรอบด้านเพราะชีวิตเริ่มต้นออกมาจากใจ

ฟิลิปปี 4:8 ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย ในที่สุดนี้ขอจงใคร่ครวญถึงสิ่งที่จริง สิ่งที่น่านับถือ สิ่งที่ยุติธรรม สิ่งที่บริสุทธิ์ สิ่งที่น่ารัก สิ่งที่ทรงคุณ คือถ้ามีสิ่งใดที่ล้ำเลิศ สิ่งใดที่ควรแก่การสรรเสริญ ก็ขอจงใคร่ครวญดู

ไม่หยุดเพียงเท่านั้น สิ่งที่สำคัญคือ “การออกไปปรนนิบัติผู้อื่น ปลดปล่อยสารธารการชำระออกไปสู่ผู้อื่น”


มาระโก 10:43-45
43 แต่ในพวกท่านหาเป็นอย่างนั้นไม่ ถ้าผู้ใดใคร่จะได้เป็นใหญ่ในพวกท่าน ผู้นั้นจะต้องเป็นผู้ปรนนิบัติท่านทั้งหลาย
44 และถ้าผู้ใดใคร่จะเป็นเอกเป็นต้น ผู้นั้นจะต้องเป็นทาสสมัครของคนทั้งปวง
45 เพราะว่าบุตรมนุษย์มิได้มาเพื่อรับการปรนนิบัติ แต่ท่านมาเพื่อจะปรนนิบัติเขา และประทานชีวิตของท่านให้เป็นค่าไถ่คนเป็นอันมาก"



เมื่อเรารับการชำระบริสุทธิ์แล้วและมีเสรีภาพพ้นจากพันธนาการแล้ว ไม่ใช่สิ่งที่เราควรจะเก็บไว้คนเดียวแต่เราต้องออกไปช่วยเหลือผู้อื่น พาคนเหล่านั้นไปสู่หลักชัยในพระเจ้าด้วยกัน เราจะต้องเดินต่อไปด้วยการมีชีวิตที่เต็มด้วยการขอบคุณ เต็มด้วยความเชื่อ เป็นคนใหม่ มีใจใหม่ใสสะอาดและไปปรนนิบัติผู้อื่นด้วยความถ่อมใจ! รับการชำระบริสุทธิ์…บากบั่นมุ่งสู่หลักชัยด้วยกัน!

การเผชิญปัญหาและต้องจัดการกับปัญหา


มีคนเคยถามผมว่า “หากเราเชื่อในเรื่อง งานที่สำเร็จแล้วของพระเยซูบนกางเขน (Finished work) แล้วเราต้องรับการเยียวยาและการชำระชีวิตให้บริสุทธิ์ไหม?”
ผมขอตอบไว้โดยสังเขปไว้ดังนี้

มีหลักความเชื่อเรื่อง งานที่สำเร็จแล้วของพระเยซูบนกางเขน (Finished work) เชื่อว่า พระเจ้าต้องการเปลี่ยนแปลงชีวิตของเรา รักษาร่างกายของเรา และทำให้เราเจริญรุ่งเรือง เพื่อที่ว่าเราจะดำเนินชีวิตอยู่ในพระพร และมีชีวิตอยู่ในชัยชนะซึ่งจะทำให้เราสามารถมีผลกระทบต่อชีวิตของผู้อื่นและ สามารถช่วยเหลือเขาได้


โดยสรุปคือ การพึ่งพาพระคุณของพระเจ้า และเชื่อในเรื่องสิ่งที่พระเยซูทำเสร็จแล้วที่กางเขน และ เราเป็นลูกของพระองค์แล้วอำนาจของวิญญาณชั่ว ไม่สามารถเข้ามาในเราได้

จากการวิเคราะห์สิ่งนี้ ผมคิดว่า การพึ่งพาพระคุณของพระเจ้าเป็นสิ่งที่ดี และการเชื่อในเรื่องการงานที่สำเร็จแล้ว ที่พระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน แต่มีข้อบางอย่างที่น่าเป็นห่วงคือความเชื่อที่ว่า การที่เชื่อว่า แหล่งแห่งชัยชนะและชีวิตที่ครบบริบูรณ์นั้น สามารถพบได้ในการงานที่สำเร็จแล้วของพระเยซูบนกางเขนเท่านั้น…

การพึ่งพาพระคุณของพระเจ้า และเชื่อในเรื่องสิ่งที่พระเยซูทำเสร็จแล้วที่กางเขน และ เราเป็นลูกของพระองค์แล้ว อำนาจของวิญญาณชั่ว ไม่สามารถเข้ามาในเราได้

สิ่งเหล่านี้ หากมีมุมมองที่ไม่ครบถ้วน อาจจะเกิดความมั่นใจในตนเอง จนอาจจะไม่เปิดใจในการรับการชำระชีวิตและการปลดปล่อยเยียวยาในชีวิต รวมถึงการไม่ตระหนักในสงครามในฝ่ายวิญญาณ แม้ว่าเราเป็นไทแล้ว แต่สงครามในฝ่ายวิญยาณยังไม่จบ มารซาตานยังทำสงครามกับเราอย่างไม่สิ้นสุด


ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ การมั่นใจในวิธีการเดียวเท่านั้น ที่จะเชื่อว่าแหล่งแห่งชัยชนะและชีวิตที่ครบบริบูรณ์นั้น สามารถพบได้ในการงานที่สำเร็จแล้วของพระเยซูบนกางเขนเท่านั้น

การเชื่อแบบนี้ทำให้ไม่ยอมรับในเรื่องการเยียวยาและการชำระชีวิตให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ เพราะคิดว่า พระเยซูทำสำเร็จแล้ว เราเพียงรับพระคุณ เราไม่ต้องทำอะไรอีก

ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจจะมองในมุมมองของวิธีการเยียวยารักษา ที่คลาดเคลื่อน คือ มองว่าการเยียวยาเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น เพราะพระเยซูคริสต์มีชัยชนะเหนือมารแล้วที่กางเขน หากว่ามาร แค่มันรู้ว่าเรามีความเชื่อในพระเยซู มันก็หนีเราแล้ว ด้วยสิทธิอำนาจของพระองค์ และเพียงแค่เราจดจ่อและมองในความดี และ ความรักของพระองค์ ก็ทำให้เราได้รับการเยียวยาผ่านถ้อยคำของพระองค์แล้ว ไม่ต้องพึ่งวิธีที่มองในอดีต และ สารภาพทีละอย่าง ซึ่งเท่ากับว่าการที่ไม่เชื่อว่า ที่กางเขนพระองค์ทำสำเร็จแล้ว และการที่ต้องเยียวยาเรื่อย ๆ เพราะเราเปิดชองให้มารเข้ามาในความคิดผ่านอดีตที่ขมขื่น

ทำความเข้าใจในเรื่องงานที่สำเร็จแล้วของพระเยซูบนกางเขน (Finished work)

คำว่า “สำเร็จแล้ว” ที่พระเยซูพูดก่อนสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน

ยอห์นฺ 19:30 "เมื่อพระเยซู ทรงรับน้ำส้มองุ่นแล้ว พระองค์ตรัสว่า สำเร็จแล้ว"และทรงก้มพระเศียรลงสิ้นพระชนม์…"

คำว่า "สำเร็จแล้ว" ที่พระเยซูตรัสขณะที่อยู่บนกางเขนนั้น (ยน.19:30)มาจากภาษากรีกคำว่า τετελεσται "เทเทเลสไท" ความหมายตรงตัวแปลว่า "จ่ายชำระหนี้หมดแล้ว"

หมายความว่า พระองค์ทรงจ่ายชำระหนี้บาปของมนุษย์ทั้งสิ้นหมดแล้ว เราไม่ต้องรับผลจากบาปที่เราทำอีกต่อไป


ดังนั้น คนที่ยอมให้พระเยซูคริสต์รับแบกบาปของเขาไป ก็เท่ากับว่าเขาไม่ต้องจ่ายหนี้บาปนั้นแล้ว ทั้งบาปในอดีต บาปในปัจจุบันที่วันนี้ยังพ่ายแพ้อยู่ และบาปในอนาคต
ในส่วนนี้เป็นส่วนที่พระเยซูคริสต์ทรงกระทำให้กับเรา โดยที่เราไม่สามารถทำได้ เพราะเราไม่สามารถยกโทษบาปโดยตัวของเราเองได้
พระเยซูคริสต์ทรงเป็นผู้ที่ทำให้ แผนการพระเจ้าสำหรับการช่วยเหลือมนุษย์ให้พ้นจากความบาปและความตายฝ่ายวิญญาณสำเร็จแล้ว

1 ยอห์น 2:2 “และพระองค์ทรงเป็นผู้ลบล้างพระอาชญาที่ตกกับเราทั้งหลาย เพราะบาปของเรา และไม่ใช่แต่บาปของเราพวกเดียว แต่ของมนุษย์ทั้งปวงในโลกด้วย พระเยซูทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย และทรงประกาศชัยชนะของพระองค์เหนือความบาปและความตาย”

โดยสรุปคือ ความรอดนั้นรอดโดยทางนิตินัย แต่การรับการชำระชีวิตให้บริสุทธิ์เพื่อไปสู่ความไพบูลย์ เป็นการกระทำตามพฤตินัย


ข้อสังเกตจากสิ่งที่พระเยซูคริสต์อธิษฐานที่สวนเกทเสมานี (ยอห์น 17:14-19)
14 ข้าพระองค์ได้มอบพระดำรัสของพระองค์ให้แก่เขาแล้ว และโลกนี้ได้เกลียดชังเขา เพราะเขาไม่ใช่ของโลก เหมือนดังที่ข้าพระองค์ไม่ใช่ของโลก
15 ข้าพระองค์ไม่ได้ขอให้พระองค์เอาเขาออกไปจากโลก แต่ขอปกป้องเขาไว้ให้พ้นจากมารร้าย
16 เขาไม่ใช่ของโลก เหมือนดังที่ข้าพระองค์ไม่ใช่ของโลก
17 ขอทรงโปรดชำระเขาให้บริสุทธิ์ด้วยความจริง พระวจนะของพระองค์เป็นความจริง
18 พระองค์ทรงใช้ข้าพระองค์มาในโลกฉันใด ข้าพระองค์ก็ใช้เขาไปในโลกฉันนั้น
19 ข้าพระองค์ชำระตัวถวายเพราะเห็นแก่เขา เพื่อให้เขารับการทรงชำระแต่งตั้งไว้โดยสัจจะด้วยเช่นกัน


จะเห็นได้ว่าพระเยซูคริสต์ได้อธิษฐานให้กับสาวกเพื่อชำระชีวิตให้ได้รับการปกป้องจากพวกมารร้าย และให้พวกสาวกออกไปสู่โลกเพื่อประกาศความจริงในเรื่องนี้ (18)

ดังนั้นสำเร็จแล้วคืองานของพระองค์ในการไถ่ แต่งานที่ยังไม่สำเร็จ คือ คริสตจักรของพระองค์ ที่จะต้องรับการชำระเพื่อไปสู่ความไพบูลย์และนำความจริงของพระเจ้าไปสู่โลกนี้

โคโลสี 1:24 บัดนี้ข้าพเจ้าปลื้มปีติในการที่ได้รับความทุกข์ยากเพื่อท่าน ส่วนการทนทุกข์ของพระคริสต์ที่ยังขาดอยู่นั้น ข้าพเจ้าก็รับทนจนสำเร็จในเนื้อหนังของข้าพเจ้า เพราะเห็นแก่พระกายของพระองค์ คือคริสตจักร

พระเยซูทำสำเร็จแล้ว แต่ยังเหลือการประกาศเพื่อให้อาณาจักรพระเจ้ามาตั้งอยู่(มธ.6:10) คือการงานของเรา ที่ยังไม่สำเร็จ
อัครทูตเปาโลบอกว่าเป็นส่วนทนทุกข์ที่พระคริสต์ยังขาดอยู่ (จริงแล้วก็คือการมีส่วนในการทนทุกข์แบบพระองค์ ร่วมในพระกาย หรือ บัพติศในพระกาย คือ คริสตจักร เรียกให้ง่าย ก็คือ การรับใช้ นั่นเอง

การรับการชำระชีวิตเป็นกระบวนการต่อเนื่องไม่ใช่ทำเพียงครั้งเดียวเสร็จสิ้นแบบสิ่งที่พระคริสต์ทำที่กางเขน



พระเยซูคริสต์จึงให้รูปแบบกับสาวกในการบัพติศมาและการรับการชำระ
มัทธิว 3:11-12
11 เราให้เจ้าทั้งหลายรับบัพติศมาด้วยน้ำ แสดงว่ากลับใจใหม่ก็จริง แต่พระองค์ผู้จะมาภายหลังเรา ทรงมีอิทธิฤทธิ์ยิ่งกว่าเราอีก ซึ่งเราไม่คู่ควรแม้จะถอดฉลองพระบาทของพระองค์ พระองค์จะทรงให้เจ้าทั้งหลาย รับบัพติศมาด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และด้วยไฟ
12 พระหัตถ์ของพระองค์ถือพลั่วพร้อมแล้ว และจะทรงชำระลานข้าวของพระองค์ให้ทั่ว พระองค์จะทรงเก็บข้าวของพระองค์ไว้ในยุ้งฉาง แต่พระองค์จะทรงเผาแกลบด้วยไฟที่ไม่รู้ดับ"
ข้อ 12 บอกว่า “พระหัตถ์ของพระองค์ถือพลั่วพร้อมแล้ว และจะทรงชำระลานข้าวของพระองค์ให้
ทั่ว พระองค์จะทรงเก็บข้าวของพระองค์ไว้ในยุ้งฉาง แต่พระองค์จะทรงเผาแกลบด้วยไฟที่ไม่รู้ดับ”


ลานข้าวของพระองค์คืออะไรครับ ลานข้าวของพระองค์ก็คือคริสตจักร พระองค์ถือพลั่วมาแล้ว

บัพติศมาด้วยน้ำคือจุ่มลงไปในน้ำตายกับชีวิตเก่า การบัพติศมาด้วยไฟแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์
พระองค์นำไฟมาแล้วและพระองค์จะชำระคริสตจักรของพระองค์ ถ้าคนในคริสตจักรดำเนินชีวิตอยู่ในความบาป อยู่ในการทำงานของผีร้ายวิญญาณชั่ว ในคริสตจักร คือพระองค์จะทรงล้างคริสตจักรของพระองค์ และให้สิ่งที่ไม่ดีออกไป
แกลบก็คือสิ่งที่เราไม่ต้องการแล้ว แกลบก็คือสิ่งเราต้องการทิ้งมันออกไป


ชีวิตคริสเตียนในคริสตจักรที่มีไฟของพระเจ้า จะเป็นชีวิตที่ดีขึ้นเรื่อยๆอย่างรวดเร็ว คนในคริสตจักรก็จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเป็นคริสตจักรที่มีสง่าราศี เป็นคริสตจักรที่มีพระสิริของพระเจ้า เพราะพระเจ้าลงมาเผาผลาญสิ่งที่ไม่ดีหรือสิ่งที่ชั่วร้ายออกไป

เมื่อเราพูดถึงคำว่าไฟนั้น จริงๆ แล้วในพระคัมภีร์ คำว่าไฟนั้นมี 3 ประการด้วยกัน

1. ไฟแห่งพระวิญญาณ ไฟแห่งพระวิญญาณที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี่ ไฟสำหรับปัจจุบันนี้ สำหรับคริสตจักรที่พระเจ้าทรงส่งไฟแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ลงมา ไฟแห่งการฟื้นฟู ไฟแห่งความบริสุทธิ์ลงมาชำระเผาผลาญ
เมื่อเราพูดถึงไฟ เราจำทองได้ไหมครับว่าทองถูกไฟเผาให้มันกลายเป็นของเหลวๆ และสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ก็ลอยขึ้นมา และช่างหลอมทองก็ตักเอาสิ่งไม่บริสุทธิ์ออกไป ไฟเป็นเรื่องของการเผาผลาญ พระเยซูพูดตอนนี้บอกว่า เผาผลาญแกลบก็คือสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ออกไป
2. ไฟนรก เชื่อว่าไม่มีใครอยากไปอยู่ในไฟนรกนิรันดร์กาล
3. ไฟแห่งการทดสอบและการทดลองในชีวิต เราต้องผ่านการทดสอบและการทดลอง เรา บัพติศมาคือจุ่มลงไปในไฟของพระเจ้า คำว่า "บัพติศมา" แปลว่าจุ่มลงไป เพื่อชำระคริสตจักรและคริสเตียนแต่ละคนให้บริสุทธิ์มากขึ้น มากขึ้น

สุภาษิต 17:3 เบ้ามีไว้สำหรับเงิน และเตาถลุงมีไว้สำหรับทองคำ และพระเจ้าทรงทดลองใจ
สุภาษิต 27:21 เบ้ามีไว้สำหรับเงิน เตาถลุงมีไว้สำหรับทองคำคำสรรเสริญของคนจะพิสูจน์คน
2 โครินธ์ 3:18 แต่เราทั้งหลายไม่มีผ้าคลุมหน้าแล้ว จึงแลดูพระสิริขององค์พระผู้เป็นเจ้า และตัวเราก็เปลี่ยนไปเป็นเหมือนพระฉายขององค์พระผู้เป็นเจ้า คือมีศักดิ์ศรีเป็นลำดับขึ้นไป เช่นอย่างศักดิ์ศรีที่มาจากองค์พระผู้เป็นเจ้าซึ่งเป็นพระวิญญาณ


ใน 2 โครินธ์ 3:18 บอกว่าเราพบพระเยซู เราเห็นพระเยซูผ่านพระวิญญาณ และเราจะถูกเปลี่ยนจากพระสิริระดับหนึ่งไปสู่พระสิริอีกระดับหนึ่ง และไปสู่พระสิริอีกระดับหนึ่ง


การบัพติศมา คือ การจุ่มให้มิด Baptizo เป็นการทำเพียงครั้งเดียวเสร็จสิ้น แต่การชำระคือคำว่า Hagiazo ชำระจนไปสู่ความไพบูลย์ (Entire Sanctification)

มัทธิว 5:48 เหตุฉะนี้ท่านทั้งหลายจงเป็นคนดีรอบคอบ เหมือนอย่างพระบิดาของท่าน ผู้ทรงสถิตในสวรรค์เป็นผู้ดีรอบคอบ
โดยเหตุนี้ คริสเตียน จึงยังมีการทนทุกข์ที่ขาดอยู่เพื่อเติมเราให้สมควรแก่สง่าราศีในความไพบูลย์ (Entire Sanctification) ไม่ใช่เพื่อให้ได้รับความรอด เพราะเราได้อยู่แล้ว

ผู้เชื่อในงานที่สำเร็จแล้ว จะไม่ได้มองเรื่องนี้เป็น'งาน' แต่มองเรื่องนี้เป็น 'ผล' ของการที่พระคริสต์สถิตอยู่ในเรา ทำงานของพระองค์ผ่านเราออกมา (Manifestation) จะสะท้อนออกมาเป็นผลพระวิญญาณ(กท.5:22-25) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการเจริญเติบโตในรูปแบบหนึ่ง

ดังนั้นในความเข้าใจของผม งานที่สำเร็จแล้วของพระเยซูบนกางเขน (Finished work) เป็นส่วนหนึ่งของงานที่พระองค์ทำให้เรา แต่เราจะต้องสะท้อนผลของงานนั้นออกมาคือ การพัฒนาชีวิตไปสู่ผลของสิ่งที่พระเยซูคริสต์ทำให้เราบนการกางเขน ฉะนั้น “งานเข้าละครับ” และเป็น “งานช้าง” ครับ และเราจะต้องเข้าสู่กระบวนการชำระเพื่อไปสู่ความไพบูลย์ในพระคริสต์


แม้ว่าเราจะเป็นผู้ชอบธรรมแล้วโดยทางนิตินัย คือ ผ่านทางความเชื่อในเรื่องการชำระบาปที่กางเขน(อฟ.2:8-9) การกระทำไม่ทำให้รอด แต่เราต้องทำในส่วนของเราคือรับด้วยความเชื่อ แต่ในภาคปฎิบัติเราคงต้องอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยความบาป เปรียบเสมือนกองขยะ เราจึงได้รับอิทธิพลของความบาปเข้ามา ดังนั้นเราจึงต้องอาบน้ำต้องชำระชีวิตเสมอ

1ยอห์น 1:9 ถ้าเราสารภาพบาปของเรา พระองค์ทรงสัตย์ซื่อและเที่ยงธรรม ก็จะทรงโปรดยกบาปของเรา และจะทรงชำระเราให้พ้นจากการอธรรมทั้งสิ้น

เป็นกระบวนการชำระในบริสุทธิ์ (Sanctification) อะไรที่เป็นการงานของพระองค์ เราทำไม่ได้ คือ การไถ่บาป เราทำเองไม่ได้ เราจะต้องร่วมมือกัน เช่นการชำระบาป เราต้องขอให้พระเจ้าเข้ามาเยียวยารักษา

กระบวนการชำระที่ต่อเนื่องไปสู่ชีวิตที่สมบูรณ์
โรม 12:1-2
1 พี่น้องทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้โดยเห็นแก่ความเมตตากรุณาของพระเจ้า ข้าพเจ้าจึงวิงวอนท่านทั้งหลายให้ถวายตัวของท่านแด่พระองค์ เพื่อเป็นเครื่องบูชาที่มีชีวิตอันบริสุทธิ์และเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า ซึ่งเป็นการนมัสการโดยวิญญาณจิตของท่านทั้งหลาย
2 อย่าประพฤติตามอย่างคนในยุคนี้ แต่จงรับการเปลี่ยนแปลงจิตใจ แล้วอุปนิสัยของท่านจึงจะเปลี่ยนใหม่ เพื่อท่านจะได้ทราบน้ำพระทัยของพระเจ้า จะได้รู้ว่าอะไรดี อะไรเป็นที่ชอบพระทัยและอะไรดียอดเยี่ยม


กระบวนการชำระ เริ่มจากการถวายชีวิตของเรา และรับการเปลี่ยนแปลงชีวิต เพื่อไปสู่ความไพบูลย์ตามน้ำพระทัยของพระเจ้า ดังนั้นจึงต้องเริ่มจากการักษาใจ เพราะจิตใจภายในเป็นตัวกำหนดการกระทำภายนอก

สุภาษิต 4:23 จงรักษาใจของเจ้าด้วยความระวังระไวรอบด้านเพราะชีวิตเริ่มต้นออกมาจากใจ

ฉะนั้นหลายคนก่อนมารู้จักพระเจ้ามีบาดแผลจากการถูกทำร้ายในด้านจิตใจ การเยียวยาเป็นส่วนหนึ่งในการชำระชีวิต เพื่อพัฒนาไปสู่กระบวนการชำระที่สมบูรณ์
บางกลุ่มที่ไม่เชื่อเรื่องการเยียวยา ก็จะให้มองไปที่อนาคต โดยมองที่พระสัญญาของพระคริสต์และหวังใจในอนาคตที่จะเกิดขึ้น การกล่าวถึงอดีตเป็นสิ่งที่ไม่ดีทำให้ทุกข์ใจโดยเฉพาะอดีตที่มีความทุกข์ใจ
ก็จะใช้วิธีการลืมอดีตที่ผ่านมา แต่ในความเป็นจริง การลืมอดีตไม่สามารถลืมได้ เหมือนคนที่มีบาดแผลอยู่แล้ว แต่พยายามลืมความเจ็บปวดจากบาดแผล เมื่อกล่าวถึงอดีตจะมีความรู้สึกเหมือนการไปจี้บาดแผลที่เกิดขึ้นในอดีต
คนที่บาดเจ็บ ก็จะไปทำร้ายให้คนอื่นบาดเจ็บ เหมือนคนที่ป่วยจะไม่ยอมรับว่าจนเองป่วย และไปแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้ ดังนั้นจึงต้องมีการเยียวรักษาและการปลดปล่อยจากวิญญาณชั่วร้าย

ข้อคิดจาก อ.เจริญ ยธิกุลในเรื่องการเยียวและการปลดปล่อย

ทำความเข้าใจเรื่องการเยียวยา
การเยียวยา คือ การรักษา สภาพจิตใจและจิตวิญญาณที่ชอกช้ำ ซึ่งถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์ จิตใจ หรือร่างกาย และเนื่องจากการชอกช้ำและความบาดเจ็บที่ได้รับนั้น ทำให้หลายต่อหลายคนที่มีศักยภาพสูงแต่เขาไม่สามารถปลดปล่อยศักยภาพนั้นออกมา ได้ เนื่องจากความเจ็บช้ำและความชอกช้ำของบาดแผลในจิตใจ

ทำไมเราต้องสนใจกับการเยียวยา?
เพราะบาดแผลนั้นๆ มีผลต่อการประพฤติในชีวิตประจำวันของเราแต่ละคน บางคนดำเนินชีวิตในความละอาย หรือต่อสู้กับตัวเอง เกลียดตัวเอง เพราะดูภาพตัวเองไม่น่ารัก ซึ่งเกิดจากผลของการกระทำของคนที่มีอิทธิพลต่อเราทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่การกระทำบางเรื่องก็ไม่มีผลต่อคนๆ นั้น แต่สำหรับบางเรื่องก็มีผล เรื่องนี้เราสรุปคิดแทนหรือตั้งทฤษฎีขึ้นมาไม่ได้นะครับ สิ่งที่เรารู้มานั่นคือว่าบางคนไม่สามารถต้านทานต่อบาดแผลนั้น และบาดแผลนั้นได้ส่งผลออกมาทางความประพฤติ อารมณ์ และอาจส่งผลต่อครอบครัวและคนรอบข้าง โดยที่เขาก็รู้ตัวและอยากหายจากอาการเหล่านี้
มีหลายคนถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์และจิตใจอยู่เป็นประจำ เลยสร้างพฤติกรรมที่ปกป้องตัวเองขึ้นมา ถูกบ้างผิดบ้าง ส่วนนี้อยู่ที่แต่ละบุคคล เพราะหากบางคนมาจากครอบครัวหรือมีภูมิคุ้มกันเข้มแข็ง สามารถอดทนต่อบาดแผลเหล่านี้ได้ก็ไม่มีผลต่อเขา แม้อาจมีบ้างก็มีน้อยมากเป็นช่วงสั้นๆ แต่ถ้าหากบางคนมาจากสภาพครอบครัวที่ไม่ได้สร้างภูมิคุ้มกันแก่เขา ศักยภาพหรือเสรีภาพในตัวเขาก็จะถูกบาดแผลทำลายไปในแต่ละวัน จนต่อมาเขาจะกลายเป็นคนที่ไร้ศักยภาพ ถ้าเราจะคิดแบบมนุษย์ ก็คือ แต่ละคนมีความเข้มแข็งไม่เท่ากัน งานของเราก็คือช่วยคนที่ไม่เข้มแข็ง ให้เริ่มต้นชีวิตใหม่ หรือให้เขาเรียนรู้วิธีเยียวยา เพื่อต่อไปเขาจะสามารถไปช่วยลูก หลาน หรือเพื่อนที่อ่อนแอกว่าเขาได้ครับ
หลายคนคิดว่าทำไมเมื่อเชื่อพระเจ้าแล้วต้องรับการเยียวยา เพราะเมื่อเชื่อพระเจ้าแล้วพระองค์ก็ทรงจัดการชำระและนำความผิดบาปของเราไป ที่กางเขนแล้ว แต่เราอย่าลืมว่า ขณะที่เราดำเนินชีวิตไปในแต่ละวันนั้น เราต้องเจริญสู่ความเชื่อ เราต้องผ่านมรสุม เหมือนต้นไม้ที่เติบโตต้องโดนฝน โดนความร้อน โดนความหนาว โดนคนเดินเหยียบย่ำ โดนชนบ้าง เราจึงจำเป็นต้องจัดการด้วยการมีชีวิตใหม่ นิสัยใหม่ ค่านิยมใหม่ และรับสิ่งเหล่านี้จากพระวจนะพระเจ้า และรับการช่วยเหลือจากพระองค์ แต่บางคนไม่ได้เข้มแข็งแบบนั้น หรือมีตัวเร้าให้บาดเจ็บผ่านสถานการณ์ ผ่านคนรอบข้าง เขาอยากเป็นคนดี อยากมีใจบริสุทธิ์ อยากมีชัยชนะต่อเหตุการณ์เหล่านี้ สิ่งเดียวครับที่ช่วยได้ พันธกิจการเยียวยาก็เพื่อช่วยและสอนให้เขาปกป้องตัวเองได้

ทำความเข้าใจเรื่องการปลดปล่อย
การปลดปล่อย คือ ปล่อยคนๆนั้นที่ถูกผูกมัดโดยการสาบาน หรือการผูกมัดด้วยวิญญาณ หรือเสพย์ติดบางเรื่อง จนไม่สามารถหลุดได้ เพราะการถูกผูกมัดนี้เองทำให้เขาผู้นั้นไม่มีอิสระจากวิญญาณจิต เพราะการครอบงำมันมี 3ระดับ

ระดับอ่อนๆ คือ การครอบงำ เป็นสิ่งที่ครอบงำในสมอง เราต่อสู้กับความคิดในสมอง
ระดับที่สอง คือ ครอบครอง คือ นิสัยพฤติกรรมบางเรื่องครอบครองจิตใจความคิดหนักกว่าครอบงำ เช่น สามีหลายคนยอมทะเลาะกับภรรยา เพื่อจะได้ดูผลและเล่นการพนันตอนดึกๆ ซึ่งต่างกับครอบงำ ครอบงำคือยังไม่ทำ คิดแค่ในสมอง
ระดับครอบครองเต็มที่ คือ ถ้าไม่ได้ทำจะทรมาน ถ้าไม่ได้ทำจะหงุดหงิดมาก สรุปคือ การเยียวยาเป็นการรักษาบาดแผลและอาการบาดเจ็บ ปลดปล่อย เป็นเรื่องเกี่ยวกับการถูกผูกมัด

บางคนต้องรับการปลดปล่อยและการเยียวยาคู่กันเลย เพราะชีวิตเหมือนเปลือกหัวหอมมีหลายชั้นซ่อนอยู่ข้างใน แน่นอนในการช่วยเหลือผู้ต้องการรับการปลดปล่อยนั้นต้องการทั้งการบำบัดและ ปลดปล่อย บางคนมีทั้งเรื่องบาดแผลที่พ่ายแพ้บาดเจ็บบวกกับถูกครอบงำในสมองความคิดด้วย ผู้บำบัดก็ต้องช่วยกันไปตามความเร่งด่วนหรือการสำแดงของอาการ เช่น เขาต่อสู้กับเรื่องใดหรือนิสัยนั้นๆ ที่มีผลเสียต่อคนรอบข้างก็ต้องจัดการครับ

ข้อคิดจาก Pastor Chris Hayward
“การปลดปล่อยไม่ควรถูกมองว่าเป็นเหตุการณ์เพียงครั้งเดียวในชีวิต หากแต่ควรจะเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการชำระชีวิตให้บริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง คนหนึ่งคนใดสามารถรับการปลดปล่อยให้มีเสรีภาพทันทีจากพันธนาการที่เจาะจง ในชีวิตโดยฤทธิ์อำนาจของพระเจ้า อย่างไรก็ตามทุกคนซึ่งยังอยู่ในร่างกายนี้จักต้องรุกหน้าต่อไปสู่การมี ชีวิตเหมือนพระคริสต์”

การที่ไม่รับการเยียวยาและปลดปล่อยจะเกิดข้อเสียคือ การพึ่งพาพระคุณของพระเจ้า จนเกิดความประมาท และใช้การพึ่งพาพระคุณทำให้ทำบาป ตอบสนองความต้องการของเนื้อหนังของตนเอง ไม่รับการปกคลุมในฝ่ายวิญญาณ ซึ่งจะถูกมารซาตานเข้ามาโจมตีได้
1เปโตร 5:8 ท่านทั้งหลายจงสงบใจจงระวังระไวให้ดี ด้วยว่าศัตรูของท่านคือมารวนเวียนอยู่รอบๆดุจสิงห์คำรามเที่ยวไปเสาะหาคนที่มันจะกัดกินได้

ทำความเข้าใจเรื่องการถูกครอบงำจากมาร
คำถาม คือ คริสเตียนถูกมารเข้าครอบงำได้ไหม คำตอบคือ ได้ครับ ถ้าเปิดช่อง..ให้มันเข้ามา

พระคัมภีร์ไม่ได้บอกชัดเจนว่าคริสเตียนจะถูกครอบงำโดยผีมารได้ไหม แต่เนื่องจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงสถิตอยู่ในเรา (โรม 8:9-11; 1 โครินธ์ 3:16; 6:19) จึงไม่น่าจะเป็นไปได้ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงอนุญาตให้ผีมารเข้าครอบครอง ผู้ที่พระองค์ทรงสถิตอยู่
หากเราเปิดช่องจะถูกครอบงำโดยผีมารได้ การถูกครอบงำหมายถึงการมีอำนาจควบคุมเหนือความคิด และ/หรือการกระทำของคน ๆ นั้น (ลูกา 4:33-35; 8:27-33; มัทธิว 17:14-18) การครอบงำ/มีอิทธิพลต่อชีวิต หมายถึงผีมารหรือพวกของมันโจมตีคน ๆ นั้นฝ่ายวิญญาณ และ/หรือบังคับให้คน ๆ นั้นทำความบาป (1 เปโตร 5:8-9; ยากอบ 4:7)


ตัวอย่างในพระคัมภีร์ เปโตร อัครสาวกยังถูกครอบงำทางความคิดได้
มัทธิว16:23 พระองค์จึงหันพระพักตร์ตรัสกับเปโตรว่า "อ้ายซาตานจงไปให้พ้นเจ้าเป็นเครื่องกีดขวางเรา เพราะเจ้าคิดอย่างคน มิได้คิดอย่างพระเจ้า"

พระเยซู รักษา หญิงหลังค่อมคนนึง พระองค์บอกว่า หญิงนี้ถูกผีพันธนาการมา 18 ปี อะไรประมาณนี้ ทั้ง ๆ ที่เป็นลูกหลานของอับราฮัม (ทางความเชื่อ)
ลูกา 13:11และมีหญิงคนหนึ่งซึ่งมีผีเข้าสิงทำให้เป็นโรคสิบแปดปีมาแล้ว หลังโกง ยืดตัวขึ้นไม่ได้เลย
ลูกา 13:12 เมื่อพระเยซูทอดพระเนตรเห็นจึงเรียกและตรัสกับเขาว่า "หญิงเอ๋ย ตัวเจ้าหายพ้นจากโรคของเจ้าแล้ว"
ลู กา [13:16] ฝ่ายผู้หญิงนี้เป็นเชื้อสายของอับราฮัม ซึ่งซาตานได้ผูกมัดไว้สิบแปดปีแล้ว ไม่ควรหรือที่จะให้เขาหลุดพ้นจากเครื่องจำจองอันนี้ในวันสะบาโต"

ระดับของการครอบงำของวิญญาณชั่ว
1. เราต้องมาทำความเข้าใจกับคำว่าผีเข้าเสียก่อนครับ หากคำว่า “ผีเข้า” คือการถูกผีควบคุมทั้งหมด กาย จิต วิญญาณ แล้วก็จากข้อพระคัมภีร์ข้างบนย่อมหมายถึงพระสัญญาพระเจ้ารับประกันว่าผีมัน ไม่มีทาง

2. หากเป็นการถูกแทรกแซงแล้วก็ มารแทรกแซง แอบย่องเบา ใส่ความคิด ยน.10.10 มันทำได้ครับแต่มันครอบครองคริสเตียนไม่ได้เพราะพระเจ้าคือเจ้าของเรา
1 ซมอ 16:14 ฝ่ายพระวิญญาณของพระเจ้าก็พรากจากซาอูลและวิญญาณชั่วจากพระเจ้าก็ทรมาน(tormented him )ซาอูลทรมานไม่ได้หมายความว่าเข้านะครับ
1 ยน.5.18 เราทั้งหลายรู้ว่าคนที่เกิดจากพระเจ้าไม่ทำบาปแต่พระบุตรของพระเจ้าได้ทรงคุ้มครองรักษาเขาและมารร้ายไม่แตะต้องเขา
1 ยน.5.18 หากเราไม่ทำบาป มารยังแตะไม่ได้เลย อย่าว่าแต่เข้านะครับ

อฟ 1:13-14
13 ในพระองค์นั้นท่านทั้งหลายก็เช่นเดียวกันเมื่อท่านได้ฟังสัจวาทะคือข่าว ประเสริฐเรื่องความรอดของท่านและได้วางใจในพระองค์ได้รับการผนึกตราไว้ด้วย พระวิญญาณบริสุทธิ์แห่งพระสัญญา
14 เป็นมัดจำของการรับมรดกของเราจนกว่าเราจะได้รับเป็นกรรมสิทธิ์เป็นที่ถวายสรรเสริญแด่พระสิริของพระองค์


ตรามัดจำนั้นหมายถึงตราประทับแห่งสิทธิอำนาจ มารร้ายแตะต้องเราไม่ได้ โลกฝ่ายวิญญาณรู้ ไม่ว่าระดับเจ้าแห่งย่านอากาศ อิทธิเทพ ล้วนรู้จักและที่สำคัญวิญญาณเหล่านั้นแตะไม่ได้ (1ยน.5.18) ลบไม่ได้ คนลบได้คนเดียวคือเราเอง วิธีลบไม่ยากครับ ง่ายนิดเดียวปฏิเสธความเชื่อในพระเยซู … คราวนี้ 7 ผีร้ายจะเข้ามาในชีวิต (มธ.12.25)

ทำไมต้องรับการเยียวยาปลดปล่อย

โดยเฉพาะคริสตชนที่เชื่อในเรื่อง ความรอด (Salvation) “ความรอด” มักเชื่อว่า ทุกสิ่งสำเร็จที่กางเขน แล้ว แต่อย่าลืมว่า หลายเรื่องฝ่ายวิญญาณสำเร็จจริงๆ ในนิตินัย แต่ด้านพฤตินัย เราคงรำคาญ กับนิสัย อาการที่เราอ่อนแออยู่ ก็คือ บางเรื่องที่เราไม่สามารถทำได้ มันกำลังรอด ต้องพึ่งการสารภาพ การบำบัด ปลดปล่อยอย่างเป็นขบวนการ

อีกเรื่องที่น่าสนใจ คือ บาดแผล หรือ การกระทำในวัยเด็ก การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม และสังคมที่เราอยู่ บวกกับความอ่อนแอของเราในตอนนั้นๆ บางคน สามารถชนะได้อย่างง่ายดาย แต่บางคน ไม่สามารถผ่านไปได้ จำเป็นมากที่การให้คำปรึกษา การบำบัดเยียวยาเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่จะอยู่ในระดับไหน แล้วแต่กรณีไป
บางคน บางเรื่อง ไม่จำเป็นต้องรับการบำบัดจากผู้บำบัด เพราะหลังจากรับความรอด ได้เข้าสู่สังคมใหม่ๆ ของกลุ่มคริสตชน และการมีความสัมพันธ์กับพระเจ้า การอธิษฐาน ภาวนา การอ่านพระคัมภีร์ไบเบิ้ล การสามัคคีธรรมในกลุ่มย่อย ความรักเหล่านี้สามารถเยียวยา ชดเชยเขาได้และการเจริญเติบโต ผ่านการอ่านวรรณกรรม คำสอนทุกวันอาทิตย์ที่โบสถ์ที่เป็นเหมือนอาหารฝ่ายจิตวิญญาณของเรา เหมือนการรับน้ำใหม่เข้ามา ขับไล่น้ำเก่า แต่นิสัย บาดแผล บางคนต้องการรับการดูแลจากผู้ทำการบำบัดเป็นระยะๆ

ข้อวิพากษ์เกี่ยวกับเรื่องงานที่สำเร็จแล้วของพระเยซูบนกางเขน (Finished work)

1. หากเชื่อในเรื่องการทำสำเร็จแล้วของพระเยซูบนกางเขน เพียงครั้งเดียวเป็นการพอเพียง หมายความว่าในเรื่องอื่นๆ ก็น่าจะเป็นเช่นนั้นคือหลักการเสมอต้นเสมอปลาย เช่น อธิษฐานก็ทำเพียงครั้งเดียวก็เพียงพอ หรือ สารภาพบาปก็ต้องทำเพียงครั้งเดียวไม่ต้องทำหลายครั้ง สิ่งนี้จะขัดแย้งกับ 1 ยอห์น 1:9 คือสารภาพบาปอย่างเสมอ หรือ เรื่องอื่นๆ เช่นการชำระครั้งเดียวเพียงพอ แสดงว่า การอาบน้ำครั้งเดียวก็เพียงพอ แต่ในความเป็นจริงคือ เราต้องอาบน้ำทุกวัน

2. การพึ่งพาพระคุณของพระเจ้าที่กางเขนเพียงอย่างเดียวจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิต คือ การพึ่งพาแต่พระคุณของพระเจ้า จนทำให้ทำตามใจตนเอง ไม่สนใจการดำเนินชีวิตไปสู่ความบริสุทธิ์ในทางพระเจ้า เพราะคิดว่าพระเยวูคริสต์ทำให้แล้ว ไม่ต้องทำส่วนของตนเอง


3. การพึ่งพาพระคุณของพระเจ้าที่กางเขนเพียงอย่างเดียวจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิต คือ การไม่ยอมรับการช่วยเหลือจากบุคคลอื่นๆ เช่นการอธิษฐานเยียวยาและปลดปล่อยจะส่งผลเสียในชีวิตฝ่ายวิญญาณ

4. การพึ่งพาพระคุณของพระเจ้าที่กางเขนเพียงอย่างเดียวจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิต คือจะคิดว่าวิธีการนี้เป็นวิธีการเดียวเท่านั้นที่จะประสบความสำเร็จ ไม่จำเป็นต้องทำวิธีการอื่นๆ


02 กันยายน 2554

คำเผยพระวจนะเดือน Elul

ข้อมูลจาก :http://www.arise5.com/#/resources

เดือนที่6ตามปฎิทินฮีบรู คือเดือน Elul(อ่านว่า เอลูล หรือ เอลลูล)ช่วงวันที่31 สิงหาคม ถึงวันที่ 28 กันยายน 2011 มี 29 วัน

ทำไมจึงเฉลิมฉลองและฉลองอย่างไรในแต่ละเดือนฮีบรู ทั้งนี้เพราะนี่เป็นหนึ่งในหนทางเบื้องต้นของพระเจ้าที่ทำให้เราเติบโตขึ้น พระเจ้าทรงมีแผนการไถ่ที่ถูกเขียนขึ้นในสวรรค์ (สดุดี19,สดุดี8:1-3)

สดุดี 8:1-3
1 ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้าของบรรดาข้าพระองค์ พระนามของพระองค์สูงส่งยิ่งนักทั่วทั้งแผ่นดินโลกพระองค์ผู้ซึ่งพระสิริของพระองค์ในฟ้าสวรรค์ได้รับคำแซ่ซ้องสาธุการ 2 โดยปากของเด็กอ่อนและทารก พระองค์ทรงตั้งป้อมปราการเพราะคู่อริของพระองค์ เพื่อระงับยับยั้งศัตรูและผู้กระทำการแก้แค้น 3 เมื่อข้าพระองค์มองดูฟ้าสวรรค์อันเป็นฝีพระหัตถ์ของพระองค์ ดวงจันทร์และดวงดาวซึ่งพระองค์ได้ทรงสถาปนาไว้

และเมื่อฟ้าสวรรค์ประกาศถ้อยคำเหล่านั้น สิ่งเหล่านั้นเป็นเหมือนดังวงโคจร
สดุดี 19:6 ดวงอาทิตย์ขึ้นมาจากสุดปลายฟ้าสวรรค์ข้างหนึ่งและโคจรไปถึงที่สุดปลายอีกข้างหนึ่ง ไม่มีสิ่ง ใดสามารถซ่อนให้พ้นจากความร้อนของมันได้

เราจึงจำเป็นต้องเข้าใจและเชื่อในการอวยพระพรของพระเจ้าในแต่ละเดือน เมื่อเราได้ป่าวประกาศถึงพระพร สิ่งเหล่านี้ก็จะปรากฎขึ้นในชีวิตของเรา
จงยอมรับและป่าวประกาศถึงพระพรที่พระองค์มีสำหรับเรา นี่เป็นหนึ่งในวิธีการที่เราจะต้องร่วมแรง ทำงานกับพระคริสต์

2โครินธ์ 6:1 ในเมื่อเราทำงานร่วมกับพระคริสต์แล้ว เราจึงขอวิงวอนท่านว่า อย่าสักแต่รับพระคุณของพระเจ้าเท่านั้น

1.เดือนแห่งเผ่ากาด เมื่อตอนที่กาดได้ถือกำเนิด นางเลอาห์กล่าวว่า “โชคดีจริงๆ"(ปฐก.30:11) ซึ่งมีนัยบ่งบอกถึงการเพิ่มทวี และใน ปฐก.49:19 ยาโคบได้อวยพรกาด ว่า "ฝ่ายกาดนั้นจะมีพวกปล้นไล่ปล้นเขา แต่เขาจะกลับไล่ปล้นติดส้นพวกนั้น"

เดือนนี้จึงเป็นเดือนที่บ่งบอกถึงการมีชัย ชัยชนะ มีแรงกดดัน และการทดสอบจากสองเดือนที่ผ่านมา แต่มาถึงเดือนนี้เรากำลังจะเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งการทวีคูณ จงป่าวประกาศการอวยพรเพิ่มทวีเหนือชีวิตของคุณ

2.เดือนแห่งการค้นหาที่ สถานที่ที่ตนเองจะยืนเป็นที่ ๆ จะไปกับพระเจ้า (จุดเริ่มต้นของปีใหม่(Rosh Hashanah)ในปฎิทินฮีบรูมักจะเริ่มต้นในช่วงระหว่างเดือนนี้) คนมากมายพลาดที่จะเปิด "หน้าต่างแห่งโอกาส" ที่จะค้นหาที่ของตัวเอง คุณจึงท่องไปทั่ว ขาดความไว้วางใจ และออกนอกการต่อติดกับพระเจ้า เมื่อหน้าต่างแห่งโอกาสเปิดออก คุณ ก็ไม่อาจเชื่อมต่อติด และท้ายที่สุดก็จะจบลงด้วยการแยกตัว อยู่คนเดียว ทั้งที่ จริง ๆ แล้ว ชีวิตของเราต้องการคนอื่น ๆ ด้วย เราถูกสร้างมาแบบนี้ การไม่ไว้วางใจคนอื่น เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการมีรากแห่งการถูกปฏิเสธ

รากนี้กันเราไม่ให้เข้าใกล้ความสมบูรณ์ และความเข้มแข็งซึ่งเราสามารถได้รับผ่านการมีชีวิตร่วมกับคนอื่น ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ คุณก็จะอยู่ในความทุกข์ยากตามลำพัง มันจะมีความทุกข์ยากที่จะผ่านเข้ามาในชีวิตเป็นช่วง ๆ (พระเยซูชี้ให้เห็น หลักการแห่งความทุกข์ยาก ว่าเป็นที่แห่งการทดสอบ เป็นที่ที่ทำให้เกิดคำพยานชีวิต และนำเราให้เผชิญหน้ากับศัตรู)

อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้จะเตือนเราเพื่อให้เข้ามาเชื่อมต่ออย่างถูกต้อง หากว่าเราแยกตัว ศัตรูอาจจะเข้าจู่โจมเรา
หากเราเดินเข้าไปสู่ความเศร้าโศก นี่จะกลายเป็นปีแห่งความโศกเศร้า ให้เราคว้าชัย บางครั้งเราต้องเดินในความทุกข์ยาก แต่ในความทุกข์ยากนั้นเรายังคงสามารถรับพระพรของแต่ละเดือนได้

ให้เราได้อธิษฐานว่า: “พระเจ้าข้า อย่าให้ข้าพระองค์พลาดโอกาสต่าง ๆ เนื่องจากชีวิตที่ขาดความวางใจของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงเข้ามาจัดการกับรากแห่งการถูกปฏิเสธในชีวิตของข้าพระองค์ พระองค์ประสงค์จะให้ข้าพระองค์เข้าสนิทกับพระองค์ และไม่แยกตัวตามลำพัง

3.เดือนของความโชคดี รางวัลจะริ่มต้นปรากฎขึ้นเหนือสิ่งที่คุณคิดและสิ่งที่คุณทำ
"รางวัล" คือคุณจะได้เก็บเกี่ยวสิ่งที่คุณมีหว่าน ถ้าคุณไม่ลงแรงอย่างต่อเนื่อง คุณจะไม่ได้เห็นรางวัลของเพราะสิ่งเหล่านั้นจะสูญหายไป

คุณจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงการเผชิญความอุดมสมบูรณ์ ในฟิลิปปี 4:12 อัครทูตเปาโล กล่าวว่า
"ข้าพเจ้ารู้จักที่จะเผชิญกับความตกต่ำ และรู้จักที่จะเผชิญกับความอุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าในกรณีใดๆข้าพเจ้ารู้จักเคล็ดลับที่จะเผชิญกับความอิ่มท้องและความอดอยาก ความสมบูรณ์พูนสุข และความขัดสน"

เริ่มต้นที่คิดถึง "ความอุดมสมบูรณ์"และ"ความมั่งมี" เริ่มต้นที่จะขอบคุณพระเจ้าสำหรับความมั่งคั่งของพระองค์และมองไปข้างหน้าว่าจะมีมากยิ่งขึ้น

4.เดือนที่องค์จอมกษัตราเสด็จมาอยู่กับเรา จงเข้าใกล้ชิดพระองค์และยอมให้พระพักตร์ของพระองค์ฉายแสงในชีวิตของคุณ คุณจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการที่จะเข้าใกล้ชิดพระองค์ ให้เราได้เข้าไปสู่ความยำเกรงพระเจ้า เพื่อพระองค์จะเทการทรงสถิตมาเหนือชีวิตของเรา จงรู้ว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าทอดพระเนตรงานของคุณและทุกขอบเขตความรับผิดชอบของคุณ พระองค์ปรารถนาที่จะอวยพระพรทุกสิ่งที่คุณทำ

5.เดือนของตัวอักษรฮิบรู י "โยด"ซึ่งหมายถึง"ความเมตตาได้รับการจากพระหัตถ์ของพระเจ้า"

6. เดือนแห่งหญิงสาว จากเพลงโซโลมอน 6:3 ตัวดิฉันเป็นกรรมสิทธิ์ของที่รักของดิฉัน และที่รักก็เป็นของดิฉัน
7.เดือนที่จะวิ่งไปสู่ป้อมปราการเข้มแข็ง ความเข้มแข็งที่มากกว่าความสามารถของคุณที่จะห้อมล้อมคุณ เพราะคุณไม่ได้เข้มแข็งตลอดเวลา

สุภาษิต 18:10 พระนามของพระเจ้าเป็นป้อมเข้มแข็ง คนชอบธรรมวิ่งเข้าไปในนั้นและปลอดภัย แต่คุณจะไปที่นั้นและปลอดภัยในป้อมเข้มแข็งของพระองค์

8.เดือนแห่งการล่วงรู้ สัมผัสถึงสันติสุขที่อยู่ภายใน ให้เราหาเวลาที่จะจัดสิ่งต่างๆให้เข้าที่เข้าทาง

9.เป็นเดือนที่มีสำคัญ การมีความเข้าใจตั้งแต่จุดเริ่มต้น ก็จะสามารถทำให้เราไปสู่ถึงเป้าหมายปลายทางได้

10.เดือนแห่งการซ่อมสิ่งที่แตกหักไป (ถ้าพระเจ้าไม่ได้บอกกับคุณ ว่าซ่อมแซมได้ สิ่งนั้นก็จะเสื่อมสลายและตายไป)

11. เป็นเดือนที่ระบบที่ซับซ้อน จะเริ่มต้นถูกจัดระบบ

12."เดือนแห่งมารดา" เดือนแห่งการบำรุงเลี้ยง นั้นคือเดือนแห่งอัครทูต เช่นเดียวกับเดือนอับ Av
คุณกำลังดูแลใครและใครคือผู้ที่คอยดูแลคุณ?

13.เดือนที่นางเรเบคาห์ให้กำเนิดยาโคบและเอซาว คุณจะให้กำเนิดการอวยพร หรือ ให้กำเนิดสิ่งที่พระเจ้าจะเกลียดชัง ใครกำลังชิงชัยกับคุณ?

14. เดือนแห่งมือซ้าย ซึ่งควบคุมการรับรู้แห่งการกระทำและควบคุมอารมณ์ดีร้าย
คุณต้องแน่ใจว่าอารมณ์ของคุณอยู่ในสภาพที่ดี และยอมให้การกระทำที่ดีออกมาจากอารมณ์ที่ดี

01 กันยายน 2554

The month of Elul

Elul, 6th month of the Hebrew Calendar August 31 – September 28, 2011 (29 days)

http://arise5.com/#/resources/hebrew-months

The “WHY” and “HOW” of celebrating each Hebrew Month:
• This is one of the primary ways God has for us to grow.
• God’s redemptive plan is written in the heavens (Psalm 19, Psalm 8:1-3) and
the heavens declare it. It’s like His word is in a circuit (Psalm 19:6).
• We need to know and believe the blessings of each month.
• As we declare them, they begin to manifest in our lives.
• Agree and declare the blessings that He has for us: this is one way that we are
to be co-laborers with Christ (2 Corinthians 6:1)

1. The month of the tribe of Gad. When Gad was being born, Leah said, “A troop
comes,” (Genesis 30:11) which indicates increase. Another reference is Genesis
49:19, which has the blessing that Jacob spoke over him: “a troop shall tramp
upon him, but he shall triumph at last,” which indicates that this is also a month of
triumph and victory. There was a pressing and testing the past two months. Now
we are coming into a time of increase. Declare increase over your life.

2. The month to camp or find your place in the order of camps or company of the
Lord. This is often the head of the year (the beginning of Hebrew year often
occurs during this month). Many people miss their “window of opportunity” to find
their place. Therefore, they wander around. Some kind of mistrust came in,
preventing them from connecting. If you don’t deal with mistrust correctly, when
the new window of opportunity opens, you will not connect, and eventually can
end up completely alone. We need other people. This is how we were made.
Mistrust of others is a sign of a root of rejection. It will prevent you from coming
into the fullness and strength that you can get from others. Thus, you can be in
your wilderness by yourself. There will always be wildernesses to go through
periodically. (Jesus demonstrated the wilderness principle–a place of testing that
produces testimony and brings confrontation with the enemy.) However, this is a
warning to be properly connected. If you are isolated, you will get picked off by
the enemy.
If you go through tragedy, this will be a year of grief. Process it using the victory
blessings of each month. Sometimes we must go through the wilderness, but you
can still receive the blessings of each month.
Pray, “Lord, do not let me miss opportunities because of inbuilt mistrust. Deal
with rejection in me. You want me to be abundantly connected and not isolated and alone.”

3. The month of good fortune. Rewards begin to manifest over what you have
done–think “reward.” You will reap what you have sown. If you constantly labor
and never see the reward, you’ll get burned out. You need to know how to
abound. (In Philippians 4:12, Paul said that he knew how to abound.) Begin to
think “abounding” and “abundance.” Start thanking God for his abundance and
looking for more of it.

4. The month that “the King is in the field.” Approach Him and allow His
countenance to shine upon you. You need to learn how to approach Him. There
is an awe of God that we come into so He can pour his presence upon us. Know
that the Lord has come to look at your field, and at your own boundaries. He
wants to bless all you are doing.

5. The month of the Hebrew letter “YOD,” which means “appointed mercy from the
hand of God.”

6. Month of the maiden. “I am my beloved’s, and my beloved is mine” (Song of
Solomon 6:3)

7. Month to run into the tower of might–a strength greater than yours that can
encompass you. You don’t have to be strong all the time (see Proverbs 18:10),
but you can enter into His strength.

8. Month for inner knowledge of peace to be activated. Always find time to
“regroup” in order be whole.

9. The “point month.” The understanding of the beginning so you can begin to
reach your end.

10. The month to fix what has been broken. (If He doesn’t tell you it is fixable, let it
disintegrate and die.)

11. The month of complex systems beginning to be managed.

12. The “mother month.” The month of nurturing. This month is “apostolic,” just like
Av. Who are you watching after? Who is watching after you?

13. The month where Rebecca gave birth to Jacob and Esau. Do you “birth”
blessing, or something that God is going to hate later on. Who is contending for
you?

14. The month of the left hand, which controls the sense of action, and good or bad
emotions. You need to be sure your emotions are in good order. In other words,
let your actions come out of good emotions.