27 กรกฎาคม 2562

เทคนิค ก่อสร้างความถ่อมใจ

เทคนิค ก่อสร้างความถ่อมใจ โดย Philip Kavilar

คนถ่อมใจหรือความถ่อมใจ ในรากภาษาฮีบรูคือคำว่า Anav ซึ่งประกอบด้วยพยัญชนะสำคัญคือ พยัญชนะอายิน กับ พยัญชนะนูน (2 พยัญชนะนี้เป็นพยัญชนะในภาษาฮีบรู)


ภาพพยัญชนะอายิน ซึ่งเป็นภาพของดวงตา

ในภาษาฮีบรู คำหนึ่งคำจะมีความหมายตามพยัญชนะที่มาประกอบกัน เช่น คำว่า “คุณพ่อ” ในภาษาฮีบรูคือคำว่า Av ซึ่งประกอบไปด้วย พยัญชนะอาเลฟ กับ พยัญชนะเบธ โดยปกติแล้ว พยัญชนะอาเลฟจะมีความหมายที่สื่อถึง “กำลัง” ส่วนพยัญชนะเบธจะมีความหมายที่สื่อถึง “บ้าน” เมื่อนำความหมายของพยัญชนะสองตัวนี้มารวมกัน ก็จะได้ความว่าเป็น “ผู้มีกำลังในบ้าน” ซึ่งนั้นก็คือคุณพ่อนั้นเอง

ความถ่อมใจในภาษาฮีบรูประกอบไปด้วย พยัญชนะอายิน กับ พยัญชนะนูน ซึ่งพยัญชนะอายินให้ความหมายเกี่ยวกับ “ดวงตา” ส่วนพยัญชนะนูนให้ความหมายเกี่ยวกับ “เมล็ดพืช” ความถ่อมใจในภาษาฮีบรูจึงมีความหมายรวมกันระหว่าง “ดวงตา” กับ “เมล็ดพีช” แล้วดวงตากับเมล็ดพืชมีความหมายอย่างไร?
ภาพพยัญชนะนูน อันเป็นภาพของเมล็ดพืช

ปกติแล้ว มนุษย์ทุกคนย่อมมีเมล็ดพืชอันล้ำค่าอยู่ภายใน เมล็ดพืชอันล้ำค่านี้อาจจะหมายถึง อุปนิสัยที่ดีที่ซ่อนเร้นอยู่ หรืออาจจะหมายถึง ศักยภาพพิเศษที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน บางครั้งบางคราว เมล็ดพืชอันล้ำค่านี้ก็ไม่อาจเห็นได้อย่างชัดเจน ทว่าพระเจ้าทรงล่วงรู้ถึง เมล็ดพืชอันล้ำค่าที่อยู่ภายในเพื่อนๆและภายในมนุษย์ทุกคน บางครั้งถ้าเมล็ดพืชเหล่านี้ได้งอกเงยขึ้นมา สิ่งดีๆมากมายก็เกิดขึ้น

ความถ่อมใจในภาษาฮีบรูที่ประกอบไปด้วย “เมล็ดพืช” กับ “ดวงตา” ได้อธิบายว่า ความถ่อมใจคือ ทักษะในการมองเห็นเมล็ดพืชอันล้ำค่าที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในผู้คน

คนที่มีความถ่อมใจที่มาก มักจะเป็นคนที่มองเห็นเมล็ดพืชอันล้ำค่าที่ผู้อื่นมีอยู่ คนบางคนแม้ภายนอกอาจจะดูไม่มีความสามารถ แต่คนที่ถ่อมใจจะมองเห็นถึงศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในคนที่ไม่มีความสามารถเหล่านั้น คนบางคนแม้ภายนอกอาจจะดูมีอุปนิสัยอันชั่วร้าย แต่คนที่มีความถ่อมใจจะมองเห็นอุปนิสัยอันประเสริฐที่ซ่อนอยู่ในคนเหล่านั้น

พระเจ้าทรงเป็นพระเจ้าที่มีความถ่อมใจ พูดอีกอย่างหนึ่ง พระเจ้าทรงเป็นบุคคลที่มองเห็นถึงเมล็ดพืชอันประเสริฐที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในมนุษย์แต่ละคน

เทคนิคสำคัญในการก่อสร้างความถ่อมใจก็คือ การฝึกฝนทักษะในการมองเห็นเมล็ดพืชอันล้ำค่าที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในผู้คน เมื่อคนเราฝึกฝนทักษะในด้านนี้ คนเราก็ก้าวเดินอยู่บนวิถีแห่งความถ่อมใจอย่างแท้จริง

บางคนพยายามเพิ่มพูนความถ่อมใจให้กับตัวเอง โดยพยายามกดให้ตัวเองต่ำลง แต่ผู้คนที่มากประสบการณ์จะตระหนักรู้ดีว่า การพยายามกดตัวเองลงเรื่อยๆแทบจะไม่ช่วยให้เกิดความถ่อมใจ ทว่า โดยการฝึกฝนทักษะในการมองเห็นเมล็ดพืชอันล้ำค่าที่ซ่อนเร้นอยู่ในผู้คน คนเราก็ก้าวเดินอยู่ในความถ่อมใจที่แท้จริง
คนที่ถ่อมใจ นอกจากจะมองเห็นถึงเมล็ดพืชอันล้ำค่าที่อยู่ภายในผู้อื่นแล้ว
คนที่ถ่อมใจก็มักจะมองเห็นถึงเมล็ดพืชอันล้ำค่าที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวเองด้วย
คนถ่อมใจที่แท้จริง จะไม่ดูถูกตัวเองหรือสบประมาทตัวเอง แต่จะมีความภาคภูมิใจในตนเอง
และพร้อมรับใช้ผู้อื่นด้วยความเปรมปรีดิ์ 

12 กรกฎาคม 2562

❤️ "รับพระคุณ รักษ์พระคำ ทำให้สุขใจ" 📕


ข้อคิดจาก Graham Cooke:
เสรีภาพเป็นของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจากพระเจ้า และข่าวดีสำหรับพวกเราทุกคนคือ เสรีภาพนี้ไม่ขึ้นกับเรา!


ไม่ใช่ภาระที่เราต้องแบกด้วยการพยายามที่จะเป็นอิสระ มีแต่การอนุญาตให้เราที่จะค้นพบว่า แท้จริงแล้วเรามีเสรีภาพมากแค่ไหนในพระคริสต์!

พระบิดา พระเยซู และพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้สำเร็จพระราชกิจแห่งความรอดเรียบร้อยไปแล้ว ก่อนที่เราจะปรากฏตัวบนโลกนี้เสียอีก พระองค์ต่างหากที่เป็นผู้ริเริ่มสิ่งนี้เพื่อเรา

แกนหลักของพันธสัญญาใหม่ผ่านพระคริสต์ เราได้รับสิ่งที่สูญเสียไปจากอาดัม นั่นคือพระเจ้าอยู่ด้วยกับเราเสมอ

1. รับพระคุณโดยไม่เพิกเฉย


ฮีบรู 12:15 จงระวังให้ดีอย่าให้ใครเพิกเฉยต่อพระคุณของพระเจ้า และอย่าให้มีรากขมขื่นงอกขึ้นมา ทำความยุ่งยากให้ ซึ่งจะเป็นเหตุให้คนเป็นอันมากเสียไป(defiled)

2. รับพระคุณโดยดำเนินชีวิตในเสรีภาพ

เส้นบางๆระหว่างเสรีภาพกับการทำตามใจตนเอง คือ "ท่าทีในใจ"

ท่าทีส่งผลต่อท่าทางคือการกระทำและเป็นตัวกำหนดผลปลายทาง

ท่าทีดีท่าทางจะเข้าท่า แต่ท่าทีไม่ดีท่าทางจะพลาดอย่างไม่เป็นท่า

อัครทูตเปาโล เขียนอธิบายเรื่องนี้ไว้ในจดหมายฝากถึงผู้เชื่อเมืองกาลาเทีย ในบทที่ 5

“เพื่อเสรีภาพนั้นเองพระคริสต์จึงได้ทรงให้เราเป็นไท เพราะฉะนั้น จงตั้งมั่น และอย่าเข้าเทียมแอกของการเป็นทาสอีกเลย” (‭‭กาลาเทีย‬ ‭5:1‬)

พระเยซูตายไถ่บาปให้เราพ้นจากการเป็นทาสแล้วอย่าไปสวมแอกแห่งทาสคือธรรมบัญญัติอีก คือ มีเสรีภาพภายใต้กรอบที่ถูกต้องคือพระวิญญาณ ไม่ใช่การงานเนื้อหนังการทำอะไรตามใจชอบ ระวังจะไปที่ชอบๆ

ประมวลกฎประหารให้ตายแต่พระวิญญาณประทานชีวิต Torah คือ กฎแห่งความรัก

“พี่น้องทั้งหลาย เพราะว่าท่านถูกเรียกให้มีเสรีภาพ ขอแต่เพียงอย่าถือโอกาสใช้เสรีภาพเพื่อทำตามเนื้อหนัง แต่จงรับใช้กันและกันด้วยความรักเถิด เพราะว่าธรรมบัญญัติทั้งสิ้นนั้นสรุปได้เป็นคำเดียวคือว่า จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง” (‭‭กาลาเทีย‬ ‭5:13-14‬ ‭)

เสรีภาพใหม่ส่งผลจากภายในที่เปลี่ยนโดยพระวิญญาณ

ความรักเป็นผลของพระวิญญาณ(กาลาเทีย 5:22-23)ที่สำแดงออกเป็นการกระทำตามธรรมบัญญัติ ไม่ใช่การประมวลผลแบบ input แล้วออกมาเป็น output แต่เป็นผลที่เกิดจากต้น ต้นไม้ดีให้ผลดี

ธรรมบัญญัติเป็นกฎของความรัก เพื่อปรับปรุงแก้ไข ไม่ใช่การปรักปรำเมื่อทำผิด

ธรรมบัญญัติเป็นรั้วกั้นเพื่อเราจะไม่ตกขอบ อยู่ในกรอบที่ปลอดภัย

“ท่านทั้งหลายที่ปรารถ‌นาจะถูกชำระให้ชอบธรรมโดยธรรมบัญญัติ ก็ถูกตัดขาดจากพระคริสต์ และหล่นจากพระคุณไปเสียแล้ว”(‭‭กาลาเทีย‬ ‭5:4)

ธรรมบัญญัติไม่ใช่แอกที่ต้องแบกไว้ เพราะนั่นคือการเป็นทาส ที่เน้นการกระทำภายนอกแบบศาสนาที่ตัดสินคนอื่น รวมถึงการผลักไสไล่พระคริสต์ ปิดใจที่จะรับพระคุณ

การทำตามใจตนเองไม่ใช่เสรีภาพแต่เป็นการงานของเนื้อหนั
ดังคำกล่าวที่ว่า "ทำอะไรตามใจคือไทยแท้ " ‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬
แต่ความจริง ธาตุแท้คือความเป็นทาสแท้ แพ้ความบาป เพราะตกเป็นทาสของบาปยังดำเนินอยู่ในบาป

3.รับพระคุณด้วยการรักษาพระคำ

พระเยซูไม่เคยลบล้างธรรมบัญญัติแต่ทำให้สมบูรณ์ (มัทธิว 5:17-20)

มัทธิว 19:23-26
23 พระเยซูตรัสกับเหล่าสาวกของพระองค์ว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า คนมั่งมีจะเข้าในแผ่นดินสวรรค์ก็ยาก
24 เราบอกท่านทั้งหลายอีกว่า ตัวอูฐจะลอดรูเข็มก็ง่ายกว่าคนมั่งมีจะเข้าในแผ่นดินของพระเจ้า”
25 เมื่อพวกสาวกได้ยินก็ประหลาดใจมาก จึงทูลว่า “ถ้าอย่างนั้นใครจะรอดได้”
26 พระเยซูทอดพระเนตรดูพวกสาวก และตรัสว่า “ฝ่ายมนุษย์ก็เหลือกำลังที่จะทำได้ แต่พระเจ้าทรงกระทำให้สำเร็จได้ทุกสิ่ง”


แต่ไม่ใช่การปรักปรำเพื่อทำโทษ เพราะประมวลกฏประหารให้ตายแต่พระวิญญาณประทานชีวิต(2 โครินธ์ 3:6)

ความรักที่แท้จริงจะต้องไม่บีบบังคับแต่ต้องให้อิสระในการตัดสินใจ 

เหตุเพราะผลจากต้นไม้แห่งความรู้ดีรู้ชั่วจึงทำให้มนุษย์ตัดสินใจไม่รับพระคุณแต่เคร่งครัดตามกฏที่สร้างขึ้นม 

อัครทูตเปาโลได้กล่าวว่า ธรรมบัญญัติทำให้ผู้คนได้รู้ว่า สิ่งใดเป็นสิ่งชอบธรรมและสิ่งใดเป็นความบาป กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ธรรมบัญญัติทำให้ผู้คนได้รู้ว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ดีและสิ่งใดเป็นสิ่งที่ชั่ว(โรม 7:7) แต่ว่าถ้าไม่มีธรรมบัญญัติแล้ว ข้าพเจ้าก็คงไม่รู้จักบาป...

คำว่า “ดี” ในภาษาฮีบรูมาจากคำว่า Tov ส่วนคำว่า “ชั่ว” ในภาษาฮีบรูมาจากคำว่า Rah และคำว่า ธรรมบัญญัติ ในภาษาฮีบรูมาจากคำว่า Torah เมื่อนำคำว่า “ดีชั่ว” มาประกอบกันก็จะได้เสียงเป็น Tovrahซึ่งมีเสียงที่ใกล้เคียงกับคำว่า Torah ที่หมายถึงธรรมบัญญัติ ดังนั้นเป็นไปได้ว่า ต้นไม้แห่งความรู้ดีรู้ชั่ว มีความหมายที่สะท้อนถึงธรรมบัญญัติ

เปาโลได้กล่าวว่า “เรารู้ว่าธรรมบัญญัตินั้นดีถ้าใช้ให้ถูกในจดหมาย (1 ทิโมธี 1:8) นั่นหมายความว่าธรรมบัญญัติสามารถใช้ในทางที่ถูกหรือผิดก็ได้ ด้านหนึ่งธรรมบัญญัติเป็นกระจกที่สะท้อนพระลักษณะอันชอบธรรมของพระเจ้า

1. ธรรมบัญญัติทำให้รู้ว่าสิ่งใดดีและสิ่งใดชั่ว
2. ธรรมบัญญัติสามารถใช้ในทางที่ถูกหรือผิดก็ได้
3. ธรรมบัญญัติเมื่อใช้อย่างผิดๆ ก็ก่อให้เกิดความตาย

ต้นไม้แห่งความรู้ดีรู้ชั่วเป็นต้นไม้ที่สามารถใช้ในทางที่ถูกหรือผิดก็ได้ การใช้ต้นไม้แห่งความรู้ดีรู้ชั่วในทางที่ถูกก็คือ การชื่นชมและมองดูความงดงามของมัน
ส่วนการใช้ต้นไม้แห่งความรู้ดีรู้ชั่วในทางที่ผิดก็คือการกินผลของมัน เมื่ออาดัมใช้ต้นไม้แห่งความรู้ดีรู้ชั่วในทางที่ผิดโดยการกินผลของมัน ความตายก็ได้เข้ามา

สรุปได้ว่าเมื่อมีการใช้ต้นไม้แห่งความรู้ดีรู้ชั่วในทางที่ผิด ก็ก่อให้เกิดความตายได้ ซึ่งเหมือนกับธรรมบัญญัติที่ว่า เมื่อมีการใช้ธรรมบัญญัติอย่างผิดๆ ความตายก็ได้เข้ามา

เรามีสิทธิในการเลือกเป็นของประทานที่พระเจ้าทรงให้กับทุกคนคือ Freewill ตั้งแต่สวนเอเดน แต่สิ่งที่เราเลือกเราจะต้องรับผิดชอบในผลที่เกิดขึ้น ดังเช่นอาดัมเลือกที่จะไม่เชื่อฟัง นำมาซึ่งความบาปส่งผลคือความตาย

“แต่เดี๋ยวนี้พวกท่านพ้นจากการเป็นทาสของบาปและกลับมาเป็นทาสของพระเจ้าแล้ว ผลสนองที่ท่านได้รับก็คือการชำระให้บริ‌สุทธิ์ และผลสุดท้ายคือชีวิตนิ‌รันดร์ เพราะว่าค่าจ้างของบาปคือความตาย แต่ของประ‌ทานจากพระเจ้าคือชีวิตนิ‌รันดร์ในพระเยซูคริสต์องค์พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้าของเรา” (‭‭โรม ‬‭6:22-23‬‭)


คนที่ดำเนินชีวิตตามใจไร้ขอบเขต เรียกว่าทำตัว Freestyle อาจจะตายฟรีๆเพราะขาดวินัยในการดำเนินชีวิต

เขาจะตายเพราะขาดวินัยในชีวิต และเพราะความโง่อย่างยิ่งของเขา เขาจึงหลงเจิ่นไป(สุภาษิต5:23)

บทสรุป คือ การดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณ ดั่งว่าวเคลื่อนไหวมีเสรีภาพตามลม(พระวิญญาณ)แต่ต้องมีสายป่าน(ธรรมบัญญัติ)กำกับไว้ แต่ถ้าสายป่านขาดว่าวนั้นก็ตกลงมา

“ผู้ที่อยู่ฝ่ายพระ‍เยซู‍คริสต์ได้ตรึงเนื้อ‍หนังไว้ที่กาง‌เขน พร้อม‍กับราคะและตัณ‌หาแล้ว ถ้าเรามีชีวิตอยู่โดยพระ‍วิญ‌ญาณ ก็จงดำ‌เนินชีวิตตามพระ‍วิญ‌ญาณด้วย” (‭‭กาลาเทีย‬ ‭5:24-25)‬‬‬‬‬‬‬

กจ. 15:28-29 แก้ปัญหาเรื่องการเข้าสุหนัตของคนต่างชาติด้วยการรับพระคุณ รักษาธรรมบัญญัติไว้ เพื่อให้อยู่อย่างเป็นสุข

28 เพราะว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์และข้าพเจ้าทั้งหลายก็เห็นชอบ ที่จะไม่วางภาระบนท่านทั้งหลาย เว้นไว้แต่สิ่งเหล่านั้นที่จำเป็น
29 คือว่าให้ท่านทั้งหลายงดการรับประทานสิ่งของซึ่งเขาได้บูชาแก่รูปเคารพ และการรับประทานเลือด และการรับประทานเนื้อสัตว์ซึ่งถูกรัดคอตาย และการล่วงประเวณี ถ้าท่านทั้งหลายงดการเหล่านี้ก็จะเป็นการดี ขอให้อยู่เป็นสุขเถิด”


❤️ผู้ที่รับพระคุณและรักษ์พระคำก็เป็นสุข สนุกอย่างมีเสรีภาพ‬‬‬‬‬‬‬ 🕍

ค่าสัมบูรณ์ของความเป็นลูก /Sonship/

ในทางคณิตศาสตร์ ค่าสัมบูรณ์( Absolute)คือ 
ผลต่างระหว่างจำนวนนั้นกับ 0 พูดง่ายๆคือ จำนวนที่ไม่มีเครื่องหมายลบ
แต่ในทางของพระเจ้าในฐานะของพระบิดานั้นเราได้รับสิทธิ์ในความเป็นบุตรอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่เรามารับเชื่อรู้จักกับพระเยซูคริสต์
“แต่ทุกคนที่ยอมรับพระองค์ คือคนที่เชื่อในพระนามของพระองค์นั้น พระองค์ก็จะประทานสิทธิให้เป็นลูกของพระเจ้า” (ยอห์น‬ ‭1:12‬)
แต่เราไม่ได้ทำตัวในความเป็นลูกแบบสมบูรณ์ โดยพยายามทำดีเพื่อจะพึ่งพาตนเอง ทำให้หล่นล่วงไปในความสัมพันธ์ จึงกลายเป็นการติดลบเหมือนตัวอย่างคำอุปมาเรื่องบุตรน้อยหลงหาย
แต่สุดท้ายคุณค่าแม้จะติดลบแต่ผู้เป็นบิดาก็ไม่จดจำความผิดที่มีกลับกลายเป็นศูนย์ และได้กลับมาเป็นบุตรดังเดิมไม่ได้เป็นทาส
อุปมาเรื่อง "บุตรน้อยหลงหาย" ( The Parable of the Prodigal Son) ลูกาบทที่ 15
สำหรับลูกคนเล็กของพ่อ ผมขอเรียกว่า "บุตรน้อยฟุ่มเฟือย" (Prodigal Son) เพราะความรักของพ่อที่มีต่อลูกคนเล็กทำให้เขาใช้ทรัพย์ได้อย่างฟุ่มเฟือย ลูกคนเล็กขอแบ่งสมบัติทั้งที่เป็นเรื่องไม่สมควรทำ เพราะตามธรรมเนียมคนยิว สมบัติของพ่อ ลูกจะได้รับเป็นมรดกเมื่อพ่อตาย แต่ลูกมาขอแบ่ง เหมือนการแช่งผู้เป็นพ่อ พ่อจึงแบ่งให้ทั้ง 2 คนทั้งลูกคนโตและคนเล็ก (ลูกา 15:12-13)
บุตรน้อยคนนี้หลงหายไปจากความรักของพ่อ หลงหายจากความเป็นลูก ทำตัวเป็น "ลูกกำพร้า" เพราะในความคิดของเขา หวังเพียงส่วนแบ่งสมบัติ ละทิ้งความรักของบิดา ผลาญสมบัติจนสิ้น สุดท้ายก็ตกอับ แม้ว่าจะกลับตัวกลับใจได้ อยากจะกลับมาหาพ่อ ไม่กล้าที่จะกลับมาเป็นลูก ขอเป็น "ลูกจ้าง"(ลูกา 15:14-19)
ทั้งนี้เพราะบุตรน้อยหลงหาย หลงไปในทางบาป ไม่เชื่อในความรักของพ่อ ถูกความโลภบังตา มองไม่เห็นความรักของพ่อ ตัดขาดความรักของพ่อและชีวิตกลับตกต่ำเป็นทุกข์
เมื่อเราห่างจากความรักของพระเจ้า เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง เราก็จะกลายเป็นลูกที่มีหัวใจของลูกกำพร้า(orphan heart) พึ่งพาตนเองโดยวางใจในทรัพย์สมบัติเงินทอง มากกว่าพักพิงในความรักของพ่อ แต่แม้ว่าเราจะทำผิด ผู้เป็นพ่อก็พร้อมที่จะให้อภัย และพร้อมช่วยเหลือเสมอ
สำหรับลูกคนโตของพ่อ ผมเรียกว่า "บุตรชายหลงผิด" คำว่า "หลงผิด" ในที่นี้ หมายถึง การสำคัญตัวเองผิด คิดว่าตนเองทำดีพร้อมสมควรที่จะได้รับ จึงไม่มีคำว่า "พระคุณ" ให้สำหรับคนที่ทำผิด
เขาทักท้วงในสิทธิที่เขาควรจะได้รับเพราะการกระทำและน้องชายที่ทำผิดไม่สมควรได้รับการอภัย (ลูกา 15:29-32)
บุตรชายคนโต เปรียบได้กับผู้ที่นับถือศาสนา ถือรักษาพระบัญญัติของพระเจ้าแต่ภายนอกแต่จิตใจภายในยังห่างไกลจากหัวใจของความเป็นพ่อ ที่พร้อมจะให้อภัยโดยไม่มีเงื่อนไข ตามแผนการไถ่ของพระบิดาที่ทรงให้พระเยซูคริสต์มาตายบนไม้กาเขนเพื่อไถ่บาป
คำอุปมาของพระเยซูในเรื่องบุตรน้อยหลงหายนี้ ให้ภาพเงา(type)เล็งถึง แผนการของพระบิดาที่นำบุตรน้อยหลงหหายกลับบ้านและนำบุตรชายที่หลงผิดกลับคืนดีกับบุตรน้อย
ภาพสัญลักษณ์ในอุปมานี้บอกถึงความหมาย ดังนี้
การฆ่าวัวอ้วนพลี เล็งถึง พระเยซูได้ตายอภัยความผิดของเขาแล้ว
แหวนที่พ่อสวมให้ เล็งถึง พันธสัญญาว่าพระเจ้าจะไม่จดจำความผิดบาปของเขาอีกต่อไป
เสื้อคลุม เล็งถึง เสื้อความชอบธรรมเป็นเสื้อคลุมแห่งการไถ่ที่ใส่เพื่อปกปิดความบาปที่เขากระทำ ดั่งเช่นพระเจ้าทรงให้เสื้อขนสัตว์ปกปิดกายของอาดัมและเอวาแทนใบมะเดื่อ
รองเท้า เล็งถึง การได้รับสถานะเป็นบุตรของพระเจ้า เพราะทาสจะไม่มีรองเท้า
ดังนั้นเราจึงไม่ใช่ทาสแต่เราเป็นลูกของพระเจ้า เราไม่ต้องทำตัวเป็น "ลูกจ้างชั่วคราว" เพราะเราเป็น"ลูกของพระเจ้าชั่วนิรันดร์"
ตัวอย่างพระเยซูคริสต์ทรงสำแดงความเป็นลูกและได้รับการยืนยันในความเป็นลูกด้วยความรักของพระบิดา เป็นการตอบโจทย์ในความเป็นลูกสมการของพระบิดาแก้ไขความผิดด้วยความรักทำให้ค่าสัมบูรณ์แห่งความเป็นลูก ได้อย่างสมบูร์ผ่านทางพระบุตรและพระวิญญาณแห่งการรับเป็นบุตร
“และความหวังจะไม่ทำให้ผิดหวัง เพราะเหตุว่าความรักของพระเจ้าได้หลั่งเข้าสู่จิตใจของเรา โดยทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งพระองค์ได้ประทานให้แก่เราแล้ว”(โรม‬ ‭5:5‬)
“เพราะฉะนั้น โดยพระเจ้าท่านจึงไม่ใช่ทาสอีกต่อไปแต่เป็นบุตร และถ้าเป็นบุตรแล้ว ท่านก็เป็นทายาท” (กาลาเทีย‬ ‭4:7‬ ‭)
การบัพติศมาใน้ำของพระเยซูไม่ใช่สัญลักษณ์ของการกลับใจจากบาปเป็นพิธีการล้างชำระ (doctrine of baptisms) ฮีบรู 6:2 และคำสอนเรื่องพิธีล้างชำระต่างๆ การวางมือ การเป็นขึ้นจากความตาย และการลงโทษชั่วนิรันดร์)
การรับบัพติศมาในน้ำแบบนี้จึงเป็นการบัพติศมา : ท่วมท้นในความรัก รู้จักอัตลักษณ์ความเป็นลูก
มัทธิว 3:16-17
16 ครั้น​พระ​องค์​ทรง​รับ​บัพติศมา​แล้ว ใน​ทันใด​นั้น​ก็​เสด็จ​ขึ้น​จาก​น้ำ และ​ท้องฟ้า​ก็​แหวก​ออก และ​พระ​องค์​ได้​ทรง​เห็น​พระ​วิญญาณ​ของ​พระ​เจ้า​ดุจ​นกพิราบ ลง​มา​สถิต​อยู่​บน​พระ​องค์​         17 และ​นี่​แน่ะ​มี​พระ​สุรเสียง​ตรัส​จาก​ฟ้า​สวรรค์​ว่า “ท่าน​ผู้​นี้​เป็น​บุตร​ที่​รัก​ของ​เรา เรา​ชอบ​ใจ​ท่าน​มาก”
สิ่งที่น่าอัศรรย์ใจในเหตุการณ์ครั้งนี้คือ การยืนยันด้วยถ้อยคำแห่งความรัก(love affirmation) พระบิดาทรงตรัสกับพระบุตรว่า “ท่านผู้นี้เป็นบุตรที่รักของเรา เราชอบใจท่านมาก”
สิ่งนี้เป็นคำกล่าวอวยพรของผู้เป็นพ่อผู้ให้กำเนิดที่มอบให้กับลูก (สดุดี 2:7 “เจ้าเป็นบุตรของเราวันนี้ เรา ให้กำเนิดเจ้าแล้ว)
สิ่งนี้เป็นการส่งผลต่อเป้าประสงค์ลิขิต(Destiny) สำหรับผู้ที่เป็นลูกที่จะผงาดขึ้นในความเป็นลูกเพื่อจะไปตามงานที่บิดามอบหมาย นี่คือจุดเริ่มต้นการรับใช้ของพระเยซูคริสต์ในฐานะของพระบุตรที่มาในโลกเพื่อสำแดงความรักของพระบิดา
คำว่า ”baptizo” ซึ่งหมายถึง “จุ่มลงแล้วนำขึ้นอย่างเร็ว” แต่การแช่ตัว (soaking) ยอมให้ความรักไหลล้นค่อยๆท่วมจนมิดอย่างต่อเนื่องเพื่อการชำระล้างและน้ำที่แช่ไหลซึมผ่าน
ภาพของท่วมท้นในความรักของพระบิดา เป็นภาพของการแช่อิ่ม(Soaking) เช่นเดียวกับผลไม้ที่ยอมให้น้ำเชื่อมไหลซึมผ่านเข้าไปในเนื้อผลไม้ที่แช่ (osmosis)
ดังนั้นขอหนุนใจให้เราได้มีประสบการณ์กับพระบิดาในการรับบัพติศมาหัวใจของเราใหม่ทุกๆวัน ให้ท่วมท้นในความรัก เพื่อเรียนรู้รักความรักของพระบิดาที่เข้ามาเยียวยาให้หายจากความบาดเจ็บ ประสบการณ์ในอดีตที่เลวร้าย หักล้างคำโกหกของศัตรูด้วยความจริงเพื่อเราจะเป็นไท
เรียนรู้จักอัตลักษณ์ความเป็นลูก ถึงเวลาแห่งการผงาดขึ้นในความเป็นลูก เพื่อไปสู่เป้าประสงค์ของพระบิดา ตามที่พระเยซูคริสต์ทรงมอบแผนการ พระมหาบัญชาที่ให้เราในฐานะผู้เชื่อได้กระทำตามพระบัญชา

09 กรกฎาคม 2562

พระวิญญาณ – ตราประทับรับรองความเป็นลูก


อห์น 1:12 แต่​ทุก​คน​ที่​ยอม​รับ​พระ​องค์ คือ​คน​ที่​เชื่อ​ใน​พระ​นาม​ของ​พระ​องค์​นั้น พระ​องค์​ก็​จะ​ประ​ทาน​สิทธิ​ให้เป็น​ลูก​ของ​พระเจ้า 
จากพระธรรมยอห์นข้อนี้ทำให้เราเข้าใจถึงสิทธิที่เราได้รับทันทีที่เราต้อนรับองค์พระเยซูคริสต์เข้ามาในชีวิต นั่นคือ การได้รับสิทธิในการเป็นลูกของระเจ้า จึงเป็นสถานะภาพใหม่เมื่อเราบังเกิดใหม่  เนื่องด้วยความรักของพระบิดาในสวรรค์ที่เราสามารถเรียกพระองค์ได้อย่างสนิทสนม ว่า "อับบา" หรือ "พ่อจ๊ะ พ่อจ๋า" ในฐานะของเรา ผู้ที่เชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์ได้รับฐานะในการเป็นบุตรของพระเจ้า

ในภาษาฮีบรู คำว่า "อับบา"(אַבָּא -abba)  โดยคำว่า อับ אַבָּ มาจากตัวอักษรตัวแรกคือ อาเลฟ (א) หมายถึง "กำลัง" เป็นอักษรภาพ คือ ภาพของวัว ตัวต่อมาคือตัวอักษรเบธ (ב) หมายถึง "บ้าน" 

ดังนั้นเมื่อรวมคำ พ่อจึงเป็น "ผู้ที่เป็นกำลังของบ้าน" พ่อเป็นผู้ท่ี่สร้างบ้านในพระวจนะของพระเจ้าได้บรรยายถึงความรักของพระบิดา ในฐานะความเป็นพ่อของพระองค์ ได้ดังนี้

โรม  8: 15 เพราะว่าพระวิญญาณที่พระเจ้าประทานมานั้นจะไม่ทรงให้ท่านเป็นทาสซึ่งทำให้ตกในความกลัวอีก แต่พระวิญญาณจะทรงให้ท่านมีฐานะเป็นบุตรของพระเจ้า โดยพระวิญญาณนั้นเราจึงร้องเรียกพระเจ้าว่า “อับบา (พ่อ)” 

กาลาเทีย  4:และเพราะท่านทั้งหลายเป็นบุตรแล้วพระองค์จึงทรงใช้พระวิญญาณแห่งพระบุตรของพระองค์ เข้ามาในใจของเราร้องว่า “อับบา (พ่อ)” 

เอเฟซัส 3:14-16
14 เพราะเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงคุกเข่าต่อพระบิดา  
15 (คำว่า บิดา ของทุกตระกูลในสวรรค์ก็ดี บนแผ่นดินโลกก็ดี มาจากคำว่าพระบิดานี้)  
16 ข้าพเจ้าทูลขอให้ประทานความเข้มแข็งภายในจิตใจด้วยฤทธานุภาพที่มาทางพระวิญญาณของพระองค์แก่พวกท่าน ตามพระสิริอันอุดมของพระองค์

เพื่อทำให้เรามั่นใจในความเป็นลูกและเพื่อให้เราได้รับสิทธิ พระบิดาจึงประทานพระวิญญาณแห่งการรับเป็นบุตร(spirit of adoption) เป็นเสมือนตราประทับรับรองความเป็นลูก เป็นภาพของการที่พ่อสวมแหวนประจำตระกูลให้กับลูก  
การรับเป็นบุตร(adoption) ในที่นี้ให้ความหมายถึง "การไถ่เรากลับมาจากการที่เราหลงหายไป" ไม่ใช่การรับลูกของคนอื่นมาเป็นลูกของตนเอง 
แท้จริงแล้วเราเป็นลูกของพระบิดาอยู่แล้ว พระองค์ทรงกำหนดเราไว้แล้วและมีเป้าประสงค์สำหรับเราอย่างเจาะจงในแต่ละคน

เอเฟซัส 1:พระองค์ทรงกำหนดเราไว้ล่วงหน้าด้วยความรัก ให้เป็นบุตรของพระองค์โดยทางพระเยซูคริสต์ ตามความชอบพระทัยและพระประสงค์ของพระองค์
 Eph 1:5 He predestined us to be adopted through Jesus Christ for Himself, according to His favor and will, (Holman CT Standard BB)

เพียงแต่มารซาตานได้ขโมยเราไปเป็นลูก เมื่อสมัยอาดัมและเอวาปฏิเสธการเป็นลูกด้วยการไม่เชื่อฟังพระบิดา และพระบิดาจึงไถ่เรากลับมาสู่ความเป็นลูกผ่านทางพระบุตร คือ พระเยซูคริสต์ เป็นภาพเหมือนบุตรน้อยหลงหายได้กลับมาหาพ่อ

ลูกา 15:22 แต่บิดาสั่งพวกบ่าวของตนว่า ‘จงรีบไปเอาเสื้อที่ดีที่สุดออกมาสวมให้เขา เอาแหวนมาสวมที่นิ้วมือ และเอารองเท้ามาสวมให้ด้วย

การรับกลับมาเป็นลูกอีกครั้งหลังจากหลงหายไป พ่อได้มอบแหวนให้ ดั่งเช่นพระบิดามอบพระวิญญาาณเป็นตราประทับรับรองความเป็นลูก 

โครินธ์ 1:22 และพระองค์ทรงประทับตรารา และประทานพระวิญญาณไว้ในใจของเราเป็นมัดจำด้วย

เอเฟซัส 1:13-14
13ในพระคริสต์ ท่านทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้นด้วย คือเมื่อพวกท่านได้ยินสัจวาทะคือข่าวประเสริฐเรื่องความรอดของท่าน และวางใจในพระองค์แล้ว พวกท่านก็ได้รับการประทับตราด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ตามที่ทรงสัญญาไว้
14 พระ​วิญ​ญาณ​นั้น​เป็น​มัด​จำ​ใน​การ​รับ​มร​ดก​ของ​เรา จน​กว่า​คน​ของ​พระ​เจ้า​จะ​ได้​รับ​การ​ไถ่ เพื่อ​เป็น​การ​ยก​ย่อง​พระ​เกียรติ​ของ​พระ​องค์ 

 เอเฟซัส 4:30 และอย่าทำให้พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าเสียพระทัย ด้วยพระวิญญาณนั้นท่านได้รับการประทับตราไว้สำหรับวันที่จะได้รับการไถ่
การรับรองเป็นการมัดจำไว้ล่วงหน้า เพื่อลูกนั้นจะเติบโตเพิื่อรับสิทธิการครอบครองนั่นคือมรดกที่เราจะได้รับจากพระบิดา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม 

พระธรรมยอห์นบทที่ 14 พระเยซูคริสต์ทรงอธิบายเรื่องนี้ ดังนี้ 
พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระบุตร ทรงมาเพื่อไถ่เราและเตรียมเราไปสู่พระบิดา ทรงเป็นทางนั้น ความความจริงและเป็นชีวิตสู๋พระบิดา 
ยอห์น 14:6 พระ​เยซู​ตรัส​กับ​เขา​ว่า “เรา​เป็น​ทาง​นั้น เป็น​ความ​จริง และ​เป็น​ชีวิต ไม่​มี​ใคร​มา​ถึง​พระ​บิดา​ได้​นอก​จาก​จะ​มา​ทาง​เรา

พระบิดาไม่ปล่อยให้เราเป็นลูกกำพร้า(ลูกไม่มีพ่อ) แต่จะให้พระวิญญาณมาเพื่อรับเราเป็นลูก
ยอห์น 14:16-18
16 เรา​จะ​ทูล​ขอ​พระ​บิดา และ​พระ​องค์​จะ​ประ​ทาน​ผู้​ช่วย​อีก​ผู้​หนึ่ง​ให้​กับ​พวก​ท่าน เพื่อ​จะ​อยู่​กับ​ท่าน​ตลอด​ไป
17 คือ​พระ​วิญ​ญาณ​แห่ง​ความ​จริง​ซึ่ง​โลก​รับ​ไว้​ไม่​ได้ เพราะ​มอง​ไม่​เห็น​และ​ไม่​รู้​จัก​พระ​องค์ พวก​ท่าน​รู้​จัก​พระ​องค์​เพราะ​พระ​องค์​สถิต​อยู่​กับ​ท่าน และ​จะ​ประ​ทับ​อยู่​ท่าม​กลาง​ท่าน
18 “เรา​จะ​ไม่​ละ​ทิ้ง​พวก​ท่าน​ไว้​ให้​เป็น​ลูก​กำพร้า เรา​จะ​มา​หา​ท่าน

พระเยซูคริสต์ พระบุตรจะอยู่แค่ชั่วคราวในเวลาพระราชกิจของพระองค์แต่พระวิญญาณจะอยู่กับผู้เชื่อตลอดไป และพระเยซูทรงไปจัดเตรียมบ้านให้กับเราได้ไปอยู่กับพระบิดาในเวลาที่เหมาะสม
ยอห์น 14:2-3 
2 ใน​พระ​นิ​เวศ​(บ้าน)ของ​พระ​บิดา​เรา​มี​ที่​อยู่​มาก​มาย ถ้า​ไม่​มี​เรา​คง​บอก​ท่าน​แล้ว เพราะ​เรา​ไป​จัด​เตรียม​ที่​ไว้​สำ​หรับ​พวก​ท่าน
3 เมื่อ​เรา​ไป​จัด​เตรียม​ที่​ไว้​สำ​หรับ​ท่าน​แล้ว เรา​จะ​กลับ​มา​อีก​และ​รับ​ท่าน​ไป​อยู่​กับ​เรา เพื่อ​ว่า​เรา​อยู่​ที่​ไหน​พวก​ท่าน​จะ​ได้​อยู่​ที่​นั่น​ด้วย

ในพระธรรมยอห์น บทที่ 14  คำว่า ใน​พระ​นิ​เวศ​(บ้าน)ของ​พระ​บิดา​ ให้ความหมายถึง "เพิงที่อยู่อาศัย(Sukkah  סוכה)"และเพิง (chuppah חוּפָּה‎)สถานที่จัดงานเลี้ยงเพื่อเฉลิมฉลองในสวรรค์ 
นั้นคือ ภาพงานสมรสของพระเมษโปดก คือ พระเยซูคริสต์แต่งงานกับเจ้าสาวคือคริสต์จักร และภาพของงานเลี้ยงรับบุตรน้อยกลับมา  ตามอุปมาเรื่องบุตรน้อยหลงหาย (ลูกาบทที่ 15 :23-24  และ​จง​ไป​เอา​ลูก​วัว​ตัว​ที่​อ้วน​พี​มา​ฆ่า​เลี้ยง​กัน​เพื่อ​ความ​รื่น​เริง เพราะ​ว่า​ลูก​ของ​เรา​คน​นี้​ตาย​แล้ว​แต่​กลับ​เป็น​ขึ้น​อีก หาย​ไป​แล้ว​แต่​ได้​พบ​กัน​อีก’ พวก​เขา​ต่าง​ก็​มี​ความ​รื่น​เริง )

พระวิญญาณบริสุทธิ์จึงเป็นตราประทับรับรองความเป็นลูกสำหรับชีวิตของเรา เพื่อทำให้เราเข้าใจและรับสิทธิในการเป็นลูก และพระวิญญาณจะช่วยก่อร่างสร้างชีวิตภายในของเราจนเป็นผู้ใหญ่ในพระคริสต์

โคโลสี 1:28-29
28 พระ​องค์​นี้​แหละ​ที่​เรา​ประ​กาศ​อยู่​โดย​การ​เตือน​สติ​และ​สั่ง​สอน​ทุก​คน​ด้วย​สรรพ​ปัญ​ญา เพื่อ​ว่า​เรา​จะ​ถวาย​ทุก​คน​ที่​เป็น​ผู้ใหญ่​แล้ว​ใน​พระ​คริสต์
29 เพราะ​เหตุ​นี้ ข้าพ​เจ้า​จึง​ตราก​ตรำ​ต่อ​สู้​ตาม​กำ​ลัง​ที่​พระ​องค์​ทรง​ทำ​กิจ​ใน​ตัว​ข้าพ​เจ้า​อย่าง​มาก​มาย

พิธี Bar mitsvah
ตามธรรมเนียมคนยิวจะมีพิธีบาร์ มิตซวาห์ (Bar mitsvah)  โดยเมื่อเด็กชายอายุ 13 ปีบริบูรณ์จะต้องเข้าจึงจะถือว่าเด็กหนุ่มได้กลายเป็นผู้ใหญ่ในสายตาของศาสนาและปฏิบัติศาสนกิจอย่างผู้ใหญ่ได้  (สำหรับเด็กผู้หญิงจะเรียกว่าพิธีบัต มิตซวาห์ (Bat Mitsvah) เมื่ออายุได้ 12 ปีบริบูรณ์)  โดยจะรับการเรียนรู้พระบัญญัติของพระเจ้า(Torah) ซึ่งจะมีรับบีคอยสั่งสอนตามหลักการของพระธรรมเฉลยธรรมบัญญัติ บทที่ 6  

“โอ คนอิสราเอล จงฟังเถิด พระยาห์เวห์ พระยาห์เวห์เท่านั้นทรงเป็นพระเจ้าของเรา  5ท่านจงรักพระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านด้วยสุดจิตสุดใจและสุดกำลังของท่าน ...และท่านจงสอนถ้อยคำเหล่านั้นแก่บุตรหลานของท่าน และจงพูดถึงถ้อยคำเหล่านั้นเมื่อท่านนั่งอยู่ในบ้าน เดินอยู่ตามทาง นอนลงหรือลุกขึ้น จงเอาถ้อยคำเหล่านี้ผูกไว้ที่มือของท่านเป็นหมายสำคัญ และคาดไว้ที่หน้าผากของท่านเป็นสัญลักษณ์
เด็กๆชาวยิวได้รับผ้าคลุมศีรษะสำหรับอธิษฐาน(Tallit - טַלִּית)เพื่ออยู่ภายใต้พระสิริของพระเจ้า และมีกักข้อพระคำ (Tefillin-תפילין) ติดไว้ที่หน้าผากพันไว้ที่มือ เป็นสัญลักษณ์
สรุปความเข้าใจสำหรับพิธีนี้ คือ เป็นการสถาปนาความให้เป็น"ลูก"เพื่อได้มีสิทธิ์เท่าเทียมกับพ่อ เนื่องด้วยก่อนหน้านี้ พวกเขาจะเป็นเพียงแค่"เด็ก"ที่ต้องถูกดูแลและตอนนี้เขาเป็นผู้ใหญ่ได้รับตราประทับรับรองความเป็นลูก เพิื่อรับสิทธิ์คือเป็นทายาทผู้รับมรดกและดำเนินชีวิตเป็นผู้ใหญ่ตามหลักการพระเวจนะของพระเจ้า(โทราห์) 
อัครทูตเปาโลอธิบายถึงการเป็นลูกเพื่อรับสิทธิ์เป็นทายาทไว้ในพระธรรมกาลาเทีย บทที่ 4:1-8
1 ข้าพเจ้าหมายความว่า ตราบใดที่ทายาทยังเป็นเด็กอยู่ เขาก็ไม่ต่างอะไรกับทาสเลย ถึงแม้เขาจะเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติทั้งหมด
2 แต่เขาก็อยู่ใต้บังคับของผู้ปกครองและพ่อบ้าน จนถึงเวลาที่บิดาได้กำหนดไว้
3 เราก็เหมือนกัน เมื่อเป็นเด็กอยู่ เราก็เป็นทาสอยู่ใต้บังคับของภูตผีที่ครอบงำของจักรวาล
4 แต่เมื่อครบกำหนดแล้ว พระเจ้าก็ทรงใช้พระบุตรของพระองค์มา ประสูติจากสตรีเพศและทรงถือกำเนิดใต้ธรรมบัญญัติ
5 เพื่อจะทรงไถ่คนเหล่านั้นที่อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ เพื่อให้เราได้รับฐานะเป็นบุตร
6 และเพราะท่านทั้งหลายเป็นบุตรแล้วพระองค์จึงทรงใช้พระวิญญาณแห่งพระบุตรของพระองค์ เข้ามาในใจของเราร้องว่า “อับบา (พ่อ)”
7 เพราะฉะนั้น โดยพระเจ้าท่านจึงไม่ใช่ทาสอีกต่อไปแต่เป็นบุตร และถ้าเป็นบุตรแล้ว ท่านก็เป็นทายาท 

ดังนั้นให้เราขอบคุณ อับบา พระบิดา สำหรับพระวิญญาณซึ่งเป็นตราประทับรับรองความเป็นลูก วันนี้เราไม่ได้เป็นทาส แต่เป็นทายาทผู้รับมรดกในฐานะลูก

 เครดิตภาพ https://steemit.com และhttps://en.wikipedia.org