27 สิงหาคม 2562

เอลลูล : องค์จอมกษัตราเสด็จมาอยู่กับเรา (The King is in the field)

❤️ใกล้ถึงการเริ่มต้นใหม่ในเดือนเอลูล(Elul) ปี 5779 (ช่วงวันที่ 1-29 ก.ย.2019) เป็นเดือนแห่งความหฤหรรษ์(Entertain) เพราะผ่านช่วงเวลาแห่งความหฤโหด(Endurance)มาได้ในเดือนที่ผ่านมา🌈
ในเดือนนี้ชาวฮีบรูมีธรรมเนียมที่จะอ่านพระคัมภีร์พระธรรมสดุดีบทที่ 27 เป็นกิจวัตรประจำวัน
ตั้งแต่วันแรกของเดือนเอลลูล Elul จนไปถึงวันที่ 1 ในเดือนทิชรี (Tishrei)(ในปี 2019 ตรงกับช่วงในเย็นวันที่ 29 กันยายน เริ่มต้นในปีใหม่ที่เรียกว่า “รอช ฮาชชะนาห์” (Rosh Hashanah)
🌈ในปี 5780 ปีแห่งการเริ่มต้นทศวรรษใหม่ เปลี่ยนจากช่วงปีของตัวอักษรเอยิน(Ayin - ע) ภาพของดวงตา คือ การเฝ้าดู(behold) สิ่งที่พระยาห์เวห์ทรงทำกิจต่างๆในชีวิตของเรา เข้าสู่ปีของตัวอักษรเพ (Pey-פ) ภาพของปาก เป็นป่าวประกาศถ้อยคำของพระวจนะออกไป เป็นการเริ่มต้นยุคใหม่ (New era)ในทศวรรษใหม่ของปี 5780 🌈
ดังนั้นจึงขอหนุนใจให้อ่านพระธรรมสดุดีบทที่ 27 ในทุกวันของเดือนนี้
สดุดี 27:1 พระเจ้าทรงเป็นความสว่างและความรอดของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะกลัวผู้ใดเล่า พระเจ้าทรงเป็นที่กำบังเข้มแข็งแห่งชีวิตข้าพเจ้าข้าพเจ้าจะต้องเกรงใคร
เดือนนี้จะเป็นเดือนที่เราจะเข้าสู่ป้อมปราการเข้มแข็ง ความเข้มแข็งที่มากกว่าความสามารถของเรา เพราะเราไม่ได้เข้มแข็งตลอดเวลา
🕎เดือนเอลลูลเป็นเดือนที่องค์จอมกษัตราเสด็จมาอยู่กับเรา (The King is in the field)
จงเข้าใกล้ชิดพระองค์และยอมให้พระพักตร์ของพระองค์ฉายแสงในชีวิตของเรา
เราจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการที่จะเข้าใกล้ชิดพระองค์ ให้เราได้เข้าไปสู่ความยำเกรงพระเจ้า เพื่อพระองค์จะเทการทรงสถิตมาเหนือชีวิตของเรา
👍จงรู้ว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าทอดพระเนตรงานของเราและทุกขอบเขตความรับผิดชอบของเรา พระองค์ปรารถนาที่จะอวยพระพรทุกสิ่งที่เราทำ 💪

24 สิงหาคม 2562

วิธีหลุดพ้นจากความขัดสน (แบบเบื้องต้น)

คนเราบางครั้งบางคราวก็เผชิญกับความขัดสน บางคนก็อาจใช้เวลาแปปเดียวก็หลุดพ้นจากความขัดสน แต่บางคนแม้เวลาจะผ่านไปนานก็ไม่หลุดพ้นจากความขัดสนเสียที เงินทุนที่มีอยู่ก็ดูเหมือนจะไม่ค่อยพอ ความสงบในหัวใจก็ไม่ค่อยมีนักเพราะวิตกกับค่าใช้จ่าย ในทีนี้ผมจึงขอเสนอ วิธีหลุดพ้นจากความขัดสนในระดับเบื้องต้น เพื่อว่าเพื่อนๆจะหลุดพ้นจากความขัดสนได้เร็วและง่ายขึ้น

        หลักการพื้นฐานของชีวิตประการหนึ่งก็คือ “ความเชื่อ” มีพลังในการแปรสภาพ “ความหวัง” ให้ปรากฏเป็นจริงได้ ในพระคัมภีร์อธิบายว่า “ความเชื่อคือการแปรสภาพสิ่งที่หวังไว้ให้เป็นแก่นสาร” (ฮีบรู 11) กล่าวอีกประการหนึ่ง ความเชื่อทำให้สิ่งที่เราหวังได้ปรากฏเป็นจริง

รูป ฮารูฮิ
        ฮารุฮิ เป็นตัวละครหนึ่งในมังงะเรื่อง “Suzumiya Haruhi เรียกเธอว่าพระเจ้า” ตัวละครตัวนี้เป็นบุคคลที่มีความสามารถพิเศษที่ว่า “คิดเรื่องไหน เรื่องนั้นก็จะเกิดขึ้น” เช่น หากเธอคิดว่าจะมีสายสืบมาสืบสวนเรื่องของเธอ วันเวลาผ่านไปก็จะมีสายสืบมาสืบสวนเรื่องของเธอจริงๆ หรือถ้าเธอคิดว่าจะมีอุกกาบาตมาถล่มโลก วันเวลาผ่านไปก็จะมีอุกกาบาตมาถล่มโลกจริงๆ ความสามารถพิเศษของฮารูฮินี้ เป็นดั่งความสามารถของพระเจ้า สมดั่งชื่อของมังงะที่ว่า “เรียกเธอว่าพระเจ้า”
  
        ในมังงะ ฮารุฮิมีความสามารถพิเศษแบบพระเจ้าที่ว่า “คิดอะไร ก็จะเกิดขึ้นตามนั้น” คราวนี้ให้ย้อนกลับมาดูชีวิตจริงของคนเราว่า มนุษย์ทั่วๆไปมีความสามารถพิเศษแบบนั้นหรือไม่? ในพระคัมภีร์ได้อธิบายว่า มนุษย์เป็นพระฉายของพระเจ้า (ปฐมกาล 1:26) หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง ในบ้างด้านมนุษย์ก็มีความเป็นพระเจ้าแฝงอยู่ และโดยความเป็นพระเจ้าที่แฝงอยู่ มนุษย์ทุกคนจึงมีความสามารถอย่างหนึ่งที่ว่า สิ่งที่คนหนึ่งหวังไว้มากๆ ก็สามารถปรากฏเป็นจริงได้โดยความเชื่อ บางทีมนุษย์ก็สามารถเนรมิตสร้างบางสิ่งให้เกิดขึ้นได้ โดยอาศัย “ความหวังและความเชื่อ”

ความหวังคือสิ่งที่เก็บอยู่ในหัวใจ ส่วนความเชื่อเป็นขั้นตอนที่ทำให้ความหวังได้ปรากฏเป็นจริง


        เทคโนโลยีและนวัตกรรมหลายอย่างบนโลกนี้ล้วนแล้วแต่ปรากฏขึ้นมาจาก “ความหวังและความเชื่อ” สมัยก่อนที่ยังไม่มีเครื่องบิน มนุษย์เราก็ฝันใฝ่ถึงการบินบนท้องฟ้า และแล้วสองพี่น้องตระกูลไรต์ (บุคคลสำคัญคนแรกของโลกที่ผลิตเครื่องบิน) ผู้ซึ่งเป็นลูกของศิษยาภิบาล มีความหวังและความเชื่ออย่างแรงกล้าในการบินบนท้องฟ้า จนท้ายสุดความหวังที่พวกเขามีก็ได้ปรากฏเป็นจริงขึ้นมา ปัจจุบันนี้มนุษยชาติจึงมีเครื่องบินในการเดินทาง

ขั้นตอนแรกของการหลุดพ้นจากความขัดสน – ความหวัง
        การหลุดพ้นจากความขัดสน สามารถปรากฏเป็นจริงได้โดยเริ่มต้นจาก “ความหวัง” คนเราถ้ามีความหวังไว้ว่า “ยังไงๆ พระเจ้าก็จะเลี้ยงดูเรา” หรือมีความหวังว่า “พระเจ้าจะไม่ทอดทิ้งเราแน่นอน”  ความหวังที่เกิดขึ้นนี้ก็จะเป็นทรัพยากรสำคัญที่ทำให้คนเราหลุดพ้นจากความขัดสน

        สิ่งสำคัญก็คือ ความหวังนี้ไม่ควรอิงอยู่กับ “เงินในบัญชี” แต่ควรอิงอยู่กับ “พระบิดา” บางครั้งพอเงินในบัญชีมีเยอะ เราก็อาจหวังว่าจะเอาตัวรอดได้ แต่พอเงินในบัญชีมีน้อย เรากลับหวังว่าคงเอาตัวรอดยาก ในทางตรงกันข้าม หากความหวังของเราอิงอยู่กับพระบิดา ไม่ว่าเงินในบัญชีจะน้อยหรือมาก เราก็หวังได้ว่า “พระบิดาจะเลี้ยงดูเราแน่นอน” และ “การจัดเตรียมของพระบิดาจะมาถึงเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง”

ขั้นตอนที่สอง – ความเชื่อ
เป็นที่ชัดเจนว่า บางครั้งสิ่งที่เราหวังไว้ก็ไม่ปรากฏเป็นจริง เหตุหนึ่งที่ความหวังไม่ปรากฏก็เป็นเพราะการขาดความเชื่อ ทั้งนี้ความเชื่อคือการแปรสภาพสิ่งที่หวังให้ปรากฏเป็นจริง การหลุดพ้นจากความขัดสนจึงไม่ใช่แค่การอาศัยของความหวังเท่านั้น แต่ต้องมีความเชื่อด้วย

        ความเชื่อจะมีภาคปฏิบัติบางประการ และโดยภาคปฏิบัตินี้ก็จะทำให้สิ่งที่หวังปรากฏเป็นจริงขึ้นมา จากการค้นคว้าของผมแล้ว ความเชื่อมีภาคปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. การพูด
คนเราถ้าเชื่ออะไรก็จะพูดออกมาตามนั้น ถ้าผู้ใดมีความเชื่อที่ว่า “พระเจ้าเลี้ยงดูแน่นอน”  คำพูดของผู้นั้นก็จะเต็มเปี่ยมด้วยถ้อยคำแง่บวก เขาจะไม่พูดถ้อยคำที่เป็นด้านลบเลย เขาจะไม่พูดว่า “ซวยแล้ว” หรือ “เป็นไปไม่ได้” แต่จะพูดว่า “เอาตัวรอดได้แน่นอนและมีอยู่อย่างเหลือเฟือด้วย” หรือพูดว่า “การเลี้ยงดูและการจัดเตรียมมาถึงแล้ว” (เพียงแต่การจัดเตรียมอาจจะมาในวิถีที่คาดไม่ถึง)

2. จินตนาการ
        คนเราถ้าเชื่ออะไร เขาจะไม่เพียงแต่พูดเท่านั้นแต่จะจินตนาการด้วย ถ้าผู้ใดเชื่อว่า “พระเจ้าเลี้ยงดูแน่นอน” จินตนาการของเขาจะไม่อยู่ในความวิตก แต่จะมีความผ่อนคลายและไว้วางใจ เขาจะจินตนาการถึงการเลี้ยงดูที่มาถึง เขาจะจินตนาการถึงการมีอยู่อย่างเหลือเฟือ

3. การกระทำ (การถวาย)
        แน่นอนว่าคนเราถ้าเชื่ออะไร เขาก็จะทำตามนั้นด้วย ในเรื่องเกี่ยวกับการเงิน ถ้าผู้ใดมั่นใจว่า “พระเจ้าเลี้ยงดูเขาแน่นอน” เขาก็จะถวายเงินได้อย่างง่ายดายแม้ว่าเงินในบัญชีอาจมีอยู่น้อยนิด ทั้งนี้เพราะเขามั่นใจว่า ยังไงๆก็มีการจัดเตรียมเข้ามาไม่ทางใดก็ทางหนึ่งแน่นอน ยิ่งถ้าความหวังและความเชื่อไม่ได้อิงอยู่กับ “ปริมาณเงินในบัญชี” แต่อิงอยู่กับ "พระบิดา" ก็จะยิ่งกล้าหาญในการมอบถวาย บางครั้ง คนเราอาจจะรู้สึกว่าตนเองกำลังขัดสน แต่ถ้าเขากล้าหาญด้วยการถวายเงินที่มีอยู่น้อยนิดออกไป ความรู้สึกที่ว่าตนเองกำลังขัดสนก็กลับมีน้อยลง แถมยังเกิดมีความหวังที่มากขึ้นว่า การเลี้ยงดูมาถึงแน่นอน

สรุป
        ถ้าคนเราไม่ได้มีความหวังว่า “พระเจ้าจะเลี้ยงดู” เขาก็มีแนวโน้มที่จะอยู่ในความขัดสนเรื่อยๆ ทว่าหากเขาเกิดมีความหวังขึ้นมาในหัวใจว่า “พระเจ้าจะเลี้ยงดู” และมีความเชื่อที่สำแดงในภาคปฏิบัติ การเลี้ยงดูก็มาถึงได้โดยง่าย และการหลุดพ้นจากความขัดสนก็เริ่มเกิดขึ้น


พระคุณจงทวีคูณแด่ทุกท่าน
Philip Kavilar

01 สิงหาคม 2562

สุขสันต์สำหรับการเริ่มต้นเดือนใหม่ในเดือน “อับ”(Av) 5779


✡️ Chodesh Tov! สุขสันต์สำหรับการเริ่มต้นเดือนใหม่ในเดือน “อับ”(Av) ปี 5779 ตามปฏิทินฮีบรู 🇮🇱 ( ช่วงวันที่ 2 - 11 ส.ค. 2019)

🎈เดือนอับ(Av) เป็นเดือนที่ 5 ตามปฏิทินศาสนาและเป็นเดือนที่ 11 ตามปฏิทินราชการของอิสราเอล🌈
คำว่า אָב “อับ” (อ่านตามภาษาฮีบรู จะอ่านว่า "อัฟ"เพราะสะกดด้วยตัว Beth ไม่มีจุด(Dagesh)จะออกเสียงตัววี Av ไม่ใช่ตัวบี Ab)

‎אָב ในภาษาฮีบรู ความหมายตามตัวอักษรหมายถึง “บิดา”(Father) มีรากศัพท์ให้ความหมายถึงน้ำพระทัย (will) และความปรารถนา (desire) ดังนั้นเราจึงต้องเข้าใจถึงหัวใจของพระบิดา
พระยาห์เวห์ทรงเป็นพระบิดาและทรงมีเป้าประสงค์ลิขิตสำหรับเราทุกคนอย่างเจาะจง

พระเจ้าทรงมีน้ำพระทัยที่จะอวยพรชนชาติของพระองค์ผ่านทางบิดาแห่งความเชื่อคือ “อับราฮัม” พระเจ้าทรงเปลี่ยนชื่อจากอับรามเป็นอับราฮัม บิดาของมวลชน เพื่อแผนการแห่งน้ำพระทัยพระบิดา (ปฐก.17:5)
แม้จะเป็นเดือน “อับ”แต่ชีวิตเราจะไม่”อับเฉา” หรือ “ตกอับ” แต่จะรับพร
แม้ดวงเดือนดับ”อับแสง” แต่แสงแห่งพระสิริของพระเจ้าจะเข้ามาขับไล่ความมืดออกไป
ดังนั้นเดือนนี้เราควรที่จะทำความเข้าใจและรับรู้ถึงหัวใจของพระบิดาโดยการสดับฟังพระสุรเสียงของพระองค์ เพื่อตั้งชีวิตของเราเชื่อมตรง(Alignment)กับเป้าประสงค์ของพระองค์

🤟เราจึงสุขสันต์ในวันต้นเดือนและขอให้ใจร่าเริงตลอดทั้งเดือน ไม่ต้องห่วงเรื่องโรค “ทรัพย์จาง หรือ ตังค์น้อย” แม้ตังค์น้อยแต่ตั้งใจทำงานก็เป็นสุข

“วันทั้งสิ้นของคนที่ทุกข์ใจก็เลวร้าย แต่ใจร่าเริงมีงานเลี้ยงต่อเนื่องกัน มีทรัพย์น้อยแต่มีความยำเกรงพระยาห์เวห์ ก็ดีกว่ามีทรัพย์มากแต่มีความวิตกกังวลอยู่ด้วย” (สุภาษิต‬ ‭15:15-16‬)

เดือนนี้เป็นแห่งการได้ยิน ตระหนักและกระทำตาม
เดือนนี้เป็นเดือนแห่งเผ่า “สิเมโอน” (Simeon) שמעון  มาจากคำภาษาฮีบรูที่ออกเสียงว่า “ชามา” (Shama) שָׁמַע แปลว่า “ได้ยิน”(to hear) เดือนนี้จึงเป็นเดือนที่จะต้อง "ได้ยินและตระหนัก" (to hear, to be concerned.”)

🚩ที่มาของชื่อ “สิเมโอน” เนื่องด้วยเมื่อนางเลอาห์ตั้งครรภ์และคลอดลูกคนที่2เป็นบุตรชาย และตั้งชื่อด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจที่นางไม่ได้เป็นหญิงที่ยาโคบรัก เพราะท่านรักราเชล แต่เธอตระหนักว่าพระเจ้าทรงได้ยินเสียงของเธอ (ปฐก.29:31-33)🧡
เดือนนี้จึงป็นช่วงเวลาแห่งการตระหนักรับรู้ถึงความรักของพระบิดา เพื่อจะผงาดขึ้นในความเป็นลูกและไปสู่เป้าประสงค์ของพระองค์🕍
🤗สุขสันต์ในการเริ่มเดือนใหม่ 🚗ตั้งสติก่อนสตาร์ท
“สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา”😫
ถ้อยคำแห่งการอธิษฐานป่าวประกาศ : 🔊
“ขอบคุณพระองค์สำหรับความเข้าใจในระดับใหม่ ให้ความเข้าใจนี้เพิ่มพูนชีวิตขึ้นเพื่อข้าพระองค์จะไม่ขัดขวางคำแนะนำ ชี้แนะของพระองค์
ขอที่จะไม่มีสิ่งใดขัดขวางการทรงนำของพระองค์สำหรับชีวิตของข้าพระองค์ได้”