26 กันยายน 2561

มาร VS พระเจ้า

มารพูดสิ่งที่ “เทียมเท็จ” พระเจ้าตรัสสิ่งที่”เที่ยงแท้”
มารทำให้เราเป็น”ทาส” พระเจ้าทำให้เราเป็น”ไท”
มารชอบ”ปรักปรำ”เรา พระเจ้าชอบ”โปรดปราน” เรา
มารให้ร้าย “พยาบาท” พระเจ้าให้รัก”พยาบาล”
มารเน้นการ”ชอบทำ” พระเจ้าให้เรา “ชอบธรรม”
มารทำให้ชีวิตเรา”พัง” พระเจ้าทำให้เราได้”พัก”
มารทดลองให้เรา”ท้อแท้” พระเจ้าทดสอบให้เรา”ทนทาน”

อะไรคือ ศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูต?


ตั้งแต่ทศวรรษ 1990 ก็เกิดมีกระบวนการเคลื่อนไหวหนึ่งทีเรียกว่า การปฏิรูปแห่งอัครทูตครั้งใหม่ (New Apostolic Reformation - NAR) กระบวนการเคลื่อนไหวนี้เป็นการกระบวนการที่มีจุดเริ่มต้นที่ว่า อัครทูตเป็นตำแหน่งที่ไม่ได้มีเฉพาะผู้คนในสมัยของพระคัมภีร์เท่านั้น แต่ผู้คนในปัจจุบันนี้สามารถดำรงตำแหน่งอัครทูตได้ และตำแหน่งผู้นำสูงสุดของคริสตจักรไม่ใช่ศิษยาภิบาลแต่เป็นอัครทูต จากจุดเริ่มต้นของตำแหน่งอัครทูตในยุคปัจจุบันก็ผลักดันให้เกิดการต่อยอดนานาประการ และการต่อยอดประการหนึ่งของขบวนการเคลื่อนไหวนี้ก็คือ ศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูต (Apostolic Center)

            ในฤดูกาลที่แล้ว ลักษณะของคริสตจักรมักจะเป็นการนำโดยศิษยาภิบาล โดยรูปแบบของคริสตจักรที่เกิดขึ้นสามารถเรียกได้เป็น โบสถ์แบบศิษยาภิบาล (Pastoral Church) แต่ในฤดูกาลใหม่ ลักษณะของคริสตจักรนี้จะเป็นการนำโดยอัครทูต และรูปแบบของคริสตจักรในลักษณะนี้มีชื่อเรียกว่า ศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูต

            ลักษณะและธรรมชาติขององค์กรระหว่าง โบสถ์แบบศิษยาภิบาลกับศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูต จะมีจุดต่างตรงที่ว่า ธรรมชาติของโบสถ์แบบศิษยาภิบาลจะเป็นมิติแบบฝูงลูกแกะ แต่ธรรมชาติของศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูตจะเป็นมิติแบบฝูงราชสีห์ ลูกแกะกับราชสีห์มีลักษณะที่ต่างกันฉันใด ลักษณะของโบสถ์แบบศิษยาภิบาลกับศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูตก็มีความแตกต่างกันฉันนั้น โดยรายละเอียดคร่าวๆอาจเป็นดังนี้

1. ลักษณะของการนมัสการ
            การนมัสการในมิติแบบฝูงลูกแกะ จะเน้นในด้านการใกล้ชิดสนิทสนมกับพระเจ้าและแช่อิ่มอยู่ในความรักของพระองค์ ลักษณะของการนมัสการแบบนี้จะเป็นการร้องเพลงประกอบกับการอธิษฐานเบาๆ แต่การมนัสการในมิติแบบฝูงราชสีห์ จะเน้นในความเป็นองค์จอมโยธาของพระเจ้าและเน้นการแผ่ขยายอาณาจักรของพระเจ้าในระหว่างการนมัสการ ลักษณะของการนมัสการแบบฝูงราชสีห์มักจะเป็นการร้องเพลงสลับกับการอธิษฐานและป่าวประกาศอย่างดุเดือด

2. ลักษณะของการอธิษฐาน
          ลูกแกะเป็นสัตว์ที่มีลักษณะของความถ่อมใจและนุ่มนวล ดังนั้นการอธิษฐานแบบลูกแกะจะเป็นการอธิษฐานอ้อนวอนในวิญญาณของความถ่อมใจ ซึ่งมักจะเป็นการคุกเข่าและอธิษฐานอย่างนุ่มนวล ทว่าการอธิษฐานในแบบราชสีห์จะเป็นการอธิษฐานที่กล้าหาญและดุเดือด การอธิษฐานในแบบราชสีห์นอกจากจะอธิษฐานต่อองค์จอมโยธาแล้ว ยังมีการอธิษฐานป่าวประกาศเข้าไปยังสวรรคสถานอีกด้วย บางครั้งก็จะมีการทำสงครามต่อป้อมปราการของมาร ประกอบกับการทำกิจพยากรณ์

3. เป้าหมายต่อสังคม
            ในการขับเคลื่อนของโบสถ์แบบศิษยาภิบาล เป้าหมายที่มีต่อสังคมก็คือ การนำความรอดไปยังคนไม่เชื่อ โดยจะเน้นการเก็บเกี่ยวผู้คนเข้าสู่คริสตจักร แต่ในการขับเคลื่อนของศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูต เป้าหมายที่มีต่อสังคมจะเป็นการปฏิรูป โดยมุ่งเน้นการยึดครององค์ประกอบต่างๆของสังคม และเปลี่ยนแปลงสังคมนอกโบสถ์ให้สะท้อนถึงลักษณะแห่งอาณาจักรของพระเจ้า

4. การบริหารองค์กร
          การบริหารองค์กรของโบสถ์แบบศิษยาภิบาล จะนำด้วยศิษยาภิบาลโดยมีคณะผู้ปกครองคอยกำกับดูแล ดังนั้นการตัดสินใจเรื่องสำคัญๆหรือการกำหนดนโยบายต่างๆจะกระทำกันเป็นกลุ่มซึ่งประกอบด้วยศิษยาภิบาลกับคณะผู้ปกครอง แต่การบริหารองค์กรของศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูต จะจัดแจงโดยผู้นำสูงสุดที่ดำรงตำแหน่งอัครทูต ส่วนคณะผู้ปกครองจะมีหน้าที่สนับสนุนอัครทูต(ไม่ใช่กำกับดูแลอัครทูต) และการตัดสินใจเรื่องสำคัญๆหรือการกำหนดนโยบายต่างๆจะกระทำโดยอัครทูตเพียงคนเดียว

5. การเปลี่ยนแปลงองค์กร
          ในลักษณะของโบสถ์แบบศิษยาภิบาล จะไม่ชื่นชอบต่อการเปลี่ยนแปลง แต่จะสบายใจต่อการคงอยู่ในสภาพเดิม แต่ในลักษณะของศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูต จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้ลักษณะของคริสตจักรมีความพรักพร้อมต่อการแผ่ขยายของอาณาจักร

6. วิสัยทัศน์ขององค์กร
          ในระบบของโบสถ์แบบศิษยาภิบาล วิสัยทัศน์ขององค์กรจะได้รับมาจากคณะที่โบสถ์สังกัดอยู่ การขับเคลื่อนขององค์กรจึงเป็นไปตามคณะที่สังกัด แต่ในวิถีของศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูต วิสัยทัศน์ขององค์กรจะได้รับมาจากการสำแดงของทีมผู้เผยพระวจนะที่ทำงานกับอัครทูต การขับเคลื่อนของศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูตจึงก้าวเดินตามการสำแดงที่ได้รับผ่านทีมผู้เผยพระวจนะ

            จึงกล่าวได้ว่า การขับเคลื่อนในศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูตจะไม่อิงอยู่กับถ้อยคำของพระคัมภีร์เท่านั้น แต่จะอิงกับถ้อยคำแห่งการเผยพระวจนะด้วย ด้วยลักษณะเช่นนี้ ผู้คนในศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูตจึงมีความจริงจังมากต่อถ้อยคำเผยพระวจนะ

7. พันธกิจของสมาชิกองค์กร
          ตามขนบแล้ว โบสถ์แบบศิษยาภิบาลจะประกอบไปด้วยทีมผู้รับใช้และฆราวาส โดยฆราวาสที่เป็นสมาชิกของโบสถ์จะมาร่วมนมัสการและถวายทรัพย์ให้กับคริสตจักร ทั้งนี้ฆราวาสบางคนอาจมีส่วนช่วยงานของโบสถ์บ้างเล็กน้อย ส่วนทีมผู้รับใช้ก็จะทำพันธกิจต่างๆของโบสถ์ ทั้งนี้ในภาพรวม พันธกิจศูนย์กลางของโบสถ์แบบศิษยาภิบาล คือการรวมตัวกันนมัสการในวันที่กำหนดไว้

ทว่า ลักษณะของศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูตจะมีความแตกต่างจากขนบเหล่านี้ เพราะเป้าหมายหลักของศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูตจะไม่ใช่การรวบรวมผู้คนมานมัสการ แต่มีเป้าหมายหลักในการส่งผู้คนไปยึดครอง ศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูตจึงมีหน้าที่ติดอาวุธให้กับเหล่าสมาชิก โดยทีมผู้นำในศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูตซึ่งประกอบไปด้วยพันธกรทั้ง 5 (เอเฟซัส 4:11) จะทำหน้าที่ติดอาวุธให้กับเหล่าสมาชิก ส่วนสมาชิกแต่ละคนก็จะมีพันธกิจส่วนตัวในการเข้าไปปฏิรูปสังคมหรือนำอาณาจักรของพระเจ้าเข้าไปยังที่ทำงานของพวกเขา


พระคุณจงทวีคูณแด่เพื่อนๆ
Philip Kavilar


แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
รายละเอียดเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง โบสถ์แบบศิษยาภิบาล กับ ศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูต
สามารถดูได้ที่ https://www.gloryofzion.org/docs/Apostolic%20Centers_sm.pdf

หนังสือ ปฏิรูปประชาชาติ เขียนโดย ซินดี้ เจคอปส์
หนังสือ Apostolic Centers เขียนโดย Alain Caron

11 กันยายน 2561

4 สัญลักษณ์แห่งสัญญารักในเทศกาลของพระยาห์เวห์

Shanah Tovah U Metuka! สุขสวัสดีด้วยความหวานชื่นใจในปีใหม่ 5779 นี้สำหรับผู้อ่านทุกท่านนะครับ
เมื่อเราเข้าสู่เดือนทิชรี (Tishri) ปี 5779 (ช่วงเย็นวันที่ 9 ก.ย.-9 ต.ค.2018) ถือเป็นการเข้าสู่ช่วงเทศกาลการนัดหมายของพระยาห์เวห์ เนื่องจากเดือนนี้มีเทศกาลสำคัญถึง 3 เทศกาลด้วยกัน (ลนต.23:24-40) นั่นคือ

1. เทศกาลเป่าแตรเขาสัตว์ หรือ การเริ่มต้นปีใหม่ (Rosh Hashanah -โรช ฮาชชะนาห์) - Head of the year ตรงกับช่วงเย็นวันที่ 9-10 กันยายน 2018

2. เทศกาลลบมลทินบาป (Yom Kippur-ยม คิปปูร์) - Day of Atonement ตรงกับวันที่ วันที่ 20 กันยายน 2018

3.เทศกาลอยู่เพิง(Sukkot-สุคคท)-Feast of Tabernacles ตรงกับช่วงวันที่ 24-30 กันยายน 2018
ในช่วงระหว่างวันที่ 10-20 กันยายน 2018 ช่วงเวลา 10 วันแห่งความยำเกรงพระเจ้า (Days of Awe) เป็นเวลาที่จะหันชีวิตออกจากวิถีแห่งความบาป และหันกลับมาหาพระยาห์เวห์โดยการอดอาหารอธิษฐานเป็นการเตรียมชีวิตกลับใจจากความบาป

ปี 5779 ตัวอักษรประจำปีนี้คือตัวอักษร Teth -ט เป็นภาพของวงจร(wheel) ครรภ์(womb) หมายถึงวรจรเวลาใหม่กำลังเคลื่อนมาถึงแล้ว และสิ่งใหม่ๆกำลังคลอดออกมา ดั่วทารกที่ถูกฟูมฟักอยู่ในครรภ์ถึง 9 เดือน เป็นเวลาแห่งการยินดีที่จะฉลองในปีแห่งผลองุ่นที่สดใหม่

เทศกาลงานเลี้ยงของพระยาห์เวห์เป็นความบริบูรณ์ของเวลากำหนดทั้งสิ้นของพระองค์ (ภาษาฮีบรู : Mo’ed) เป็นการเรียกชุมนุมอันบริสุทธิ์

เทศกาลคือสิ่งที่เป็นมาในอดีต สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและเป็นสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในสวรรค์เพื่อพระเยซูคริสต์กลับมา! ฉะนั้นเทศกาลต่างๆเหล่านี้จึงเป็นภาพเงาหรือสัญลักษณ์เตือนใจที่เล็งถึงพระเยซูคริสต์

โคโลสี 2:16-17
16 เหตุ​ฉะนั้น​อย่า​ให้​ผู้ใด​พิพากษา​ปรักปรำ​ท่าน​ใน​เรื่อง​การ​กิน การ​ดื่ม ใน​เรื่อง​เทศกาล วัน​ต้น​เดือน หรือ​วันสะบาโต
17สิ่ง​เหล่า​นี้​เป็น​เพียง​เงา​ของ​เหตุการณ์​ที่​จะ​มี​มา​ใน​ภายหลัง แต่​กาย​นั้น​เป็น​ของ​พระ​คริสต์​

เทศกาลต่างๆจึงเป็น“สัญลักษณ์” เตือนใจเพื่อกระตุ้นเราให้มีความเชื่อเข้มแข็งขึ้นใน“สัญญารัก” ของพระเยซู(เยชูวาห์) ว่าทรงเป็นพระผู้ช่วยซึ่งทรงรักเรา
พระเจ้าทรงกำหนดเวลานัดหมาย(Divine Appointment) ในเทศกาลต่างๆและแน่นอนว่าพระองค์จะมารับผู้ที่รักษาความเชื่อที่พร้อมไปกลับพระองค์ในวาระสุดท้าย

การเริ่มต้นปีใหม่ (Rosh Hashanah) ปี 5779 ปีแห่งตัวอักษรฮีบรูคือ อายิน เท็ธ (Ayin Teth)
แม้แต่ตัวอักษรภาษาฮีบรูยังเป็นภาษาสัญลักษณ์ซึ่งเล็งถึงคุณลักษณ์(Attributes) ทั้ง 22 ประการที่พระเมสสิยาห์ทรงสำแดงแก่ประชากรของพระองค์ ตั้งแต่ตัวแรกคือ א Aleph "อาเล็ฟ" จนถึงตัวสุดท้าย คือ ת Tav"ทาว" พระองค์ทรงเป็นปฐมและอวสาน
(หากเป็นภาษาไทย พระองค์คงจะเป็นตั้งแต่ ก.เอ๋ย ก.ไก่ไปจนถึง ฮ.นกฮูก ตาโต)

Aleph א เป็นตัวอักษรตัวแรกและเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นหนึ่งเดียวและยิ่งใหญ่ เปรียบดั่งกษัตริย์ของตัวอักษรตัวอื่น
คำว่า אֱלֹהִים เอโลฮิม(พระเจ้า ผู้ทรงเป็นพระผู้ทรงสร้าง) ก็ขึ้นต้นด้วยตัวนี้
Tav ת เป็นสัญลักษณ์หมายถึง ความจริง (Emet) และความสมบูรณ์แบบ
Tav ת หมายถึงต้นไม้หรือกางเขน ที่เป็นการเชื่อมไปสู่ทาง ความจริงและชีวิต ผ่านทางพระเยซูเพื่อไปถึงพระบิดาหรือเอโลฮิม

ยอห์น 14:6 พระเยซูตรัสกับเขาว่า "เราเป็นทางนั้น เป็นความจริงและเป็นชีวิต ไม่มีผู้ใดมาถึงพระบิดาได้นอกจากจะมาทางเรา"

1 เปโตร 2:24 ​พระ​องค์​เอง​ได้​ทรง​รับ​แบก​บาป​ทั้ง​หลาย​ของ​เรา​ไว้​ใน​พระ​กาย​ของ​พระ​องค์ ที่​ต้นไม้​( ת Tav)นั้น เพื่อ​ว่า​เรา​จะ​ตาย​ต่อ​บาป​ได้ และ​ดำเนิน​ชีวิต​เพื่อ​ความ​ชอบธรรม ด้วย​บาดแผล​ของ​พระ​องค์ พวก​ท่าน​จึง​ได้รับ​การ​รักษา​ให้​หาย​

เมื่อคนอิสราเอลอยู่ในถิ่นทุรกันดาร พระยาห์เวห์ทรงทำพันธสัญญากับคนของพระองค์ คือ มอบพระบัญญัติให้ที่ภูเขาซีนาย รวมถึงกำหนดเทศกาลต่างๆ เพื่อให้คนของพระองค์ได้ฉลองตลอดจนนิรันดร์ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งสัญญารักนิรันดร์ของพระยาห์เวห์กับคนของพระองค์ ตามหนังสือเลวีนิติบทที่ 23

ดังนั้นช่วงเวลาแห่งเทศกาลต่างๆจึงเป็น “สัญลักษณ์” ที่สำแดงถึง “สัญญารัก” ของพระยาห์เวห์” ที่พระองค์ทรงมีต่อคนของพระองค์ เพื่อนัดหมายและเล็งถึงอนาคตให้รอคอยพระองค์กลับมารับด้วยใจจดจ่อ

4 สัญลักษณ์แห่งสัญญารักในเทศกาลของพระยาห์เวห์ มีดังต่อไปนี้

1. เขาสัตว์(Shofar-โชฟาร์) เป็น“สัญลักษณ์” ในเทศกาลเสียงแตรเขาสัตว์ (Rosh Hashanah)
การเป่าโชฟาร์เป็นสัญญาณที่ดังขึ้นเพื่อปลุก(revive) จิตวิญญาณให้หันกลับ(return)มาฟังเสียงเรียกให้กลับใจ
ผู้เผยพระวจนะโยเอล เป่าแตรหรือโชฟาร์ ในศิโยนเพื่อเรียกให้คนกลับใจใหม่ 
โยเอล 2:15 จง​เป่า​เขา​สัตว์​ที่​ใน​ศิ​โยน จง​เตรียม​ทำ​พิธี​อด​อาหาร จง​เรียก​ประชุม​ตาม​พิธี

ในระหว่างการปฏิรูปศาสนาของกษัตริย์อาสา ให้คนเป่าโชฟาร์เพื่อให้คนอิสราเอลแสวงหาพระเจ้า

2 พงศาวดาร 15:12 และเขาก็เข้าทำพันธสัญญาที่จะแสวงหาพระยาห์เวห์ พระเจ้าแห่งบรรพบุรุษของเขา ด้วยสุดจิตสุดใจของเขา และเขาได้ประทับคำสัญญาของพวกเขาด้วยเสียงแตร
2 พงศาวดาร 15:14 เขาทั้งหลายได้กระทำสัตย์สาบานต่อพระเจ้าด้วยเสียงอันดัง และด้วยเสียงโห่ร้อง และด้วยเสียงแตรและเขาสัตว์

เสียงโชฟาร์เป็นเสียงแห่งการต่อต้านความบาป
อิสยาห์ 58:1 จงร้องดังๆอย่าออมไว้ จงเปล่งเสียงของเจ้าเหมือนเป่าเขาสัตว์ จงแจ้งแก่ชนชาติของเราให้ทราบถึงเรื่องการทรยศของเขา แก่เชื้อสายของยาโคบเรื่องบาปของเขา

เสียงของโชฟาร์เป็นเสียงเรียกให้ตอบสนอง เพื่อใคร่ครวญดูการกระทำของตน และดำเนินชีวิตใหม่ให้ถูกต้อง ก่อนวันแห่งการพิพากษา เป็นการหวนระลึกถึงการทำตน
ดังนั้นก่อนจะถึงวันนั้นผู้เชื่อจึงควรสำรวจใจ และกลับใจ(ฮีบรู 9:27) พระเจ้ามักสื่อสารและเตือนประชากรของพระองค์ล่วงหน้าเสมอ ก่อนที่พระองค์จะทาการพิพากษา เทศกาลแห่งเสียงแตรสะท้อนถึง พระประสงค์ของพระเจ้าที่จะรวบรวมประชากรของพระองค์ให้กลับใจใหม่ เพื่อว่าพระองค์จะสามารถกู้พวกเขาในวันแห่งการพิพากษา

2. คันประทีป (Menorah-เมโนราห์) เป็นสัญลักษณ์แห่งการรื้อฟื้น(restore)
การจุดไฟที่คันประทีปเป็นการรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับระหว่างระหว่างพระยาห์เวห์กับคนของพระองค์
ในช่วงเวลา 10 วันแห่งความยำเกรงพระเจ้า (Days of Awe) หลังจากเทศกาลเสียงแตรเขาสัตว์จะมีช่วงเวลา 10 วันแห่งความยำเกรงพระเจ้า (Days of Awe) เป็นเวลาที่จะหันชีวิตออกจากวิถีแห่งความบาป และหันกลับมาหาพระเจ้าโดยการอดอาหารอธิษฐานเป็นการเตรียมชีวิตกลับใจ(repent)จากความบาป
การจุดไฟที่คันประทีป เล็งถึงความสัมพันธ์ที่ต้องรักษาไว้เสมอ
การตั้งคันประทีปในพระวิหารเป็นการกำหนดทิศทางได้เพื่อให้หันกลับมาในทิศทางที่ถูกต้อง หากอยู่ต่างประเทศคนยิวจะตั้งคันประทีปหันไปทางทิศที่ตั้งของประเทศอิสราเอล หากอยู่ในประเทศอิสราเอลจะตั้งคันประทีปหันไปทางทิศที่ตั้งของกรุงเยรูซาเล็ม และหากอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็มจะตั้งคันประทีปหันไปทางทิศที่ตั้งของภูเขาพระวิหาร
ดังนั้นเราจึงต้องหันทิศทางชีวิตของเราให้ถูกต้องในช่วง10 วันแห่งความยำเกรงพระเจ้า (Days of Awe)และรับการการรื้อฟื้น(restore) ความสัมพันธ์กับพระเจ้าเสมอเหมือนดั่งการจุดรักษาไฟที่คันประทีปในเทศกาลที่จะไม่มอดดับตลอดไป

3.พระที่นั่งกรุณา (คัปโปเร็ท- Kapporet (Mercy Seat)) เป็นสัญลักษณ์แห่งการกลับใจใหม่(Repent) ในเทศกาลลบมลทินบาป(Yom Kippur-ยม คิปปูร์)
วันลบมลทินบาป(Day of Atonement) เป็นวันเดียวในรอบ 1 ปีที่มหาปุโรหิตจะเข้าไปในห้องอภิสุทธิสถานเพื่อทำการลบมลทินบาปให้กับชุมชน ซึ่งพิธีกรรมนี้เป็นภาพเงาที่เล็งถึงพระเยซูคริสต์ที่พระองค์มาสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเป็นการลบมลทินบาปให้กับเราชั่วนิรันดร์(ฮีบรู 9:12, 24-27) เราจึงไม่ต้องทำพิธีนี้แล้ว แต่เราไม่ควรที่จะตกอยู่ใน “ความกลัว”ต่อการปรักปรำในบาปอีกต่อไปแต่เราควรจะมี “ความกล้า”เข้าไปพระที่นั่งกรุณาโดยพระคุณที่โปรดปรานผ่านทางพระคริสต์

ฮีบรู 4:15-16
15 ​เพราะ​ว่า เรา​ไม่ได้​มี​มหา​ปุโรหิต​ที่​ไม่​สามารถ​จะ​เห็น​ใจ​ใน​ความ​อ่อนแอ​ของ​เรา แต่​ทรง​เคย​ถูก​ทดลอง​ใจ​เหมือน​เรา​ทุก​อย่าง ถึง​กระนั้น​พระ​องค์​ก็​ยัง​ปราศจาก​บาป
16 ​ฉะนั้น​ขอ​ให้​เรา​เข้า​มาถึง​พระ​ที่​นั่ง​แห่ง​พระ​คุณ​ด้วย​ความ​กล้า เพื่อ​เรา​จะ​ได้รับ​พระ​เมตตา และ​จะ​พบ​พระ​คุณ​ที่​ช่วย​เรา​ใน​ยาม​ต้อง​การ

4.เพิงที่พำนัก หรือเต็นท์นัดพบ (Sukkot-สุคคท) เป็นสัญลักษณ์แห่งเทศกาลอยู่เพิง
การพักสงบในเต็นท์นัดพบในเทศกาลอยู่เพิงเป็นช่วงเวลาที่เราจะชื่นชมยินดี(Rejoice)จะได้สามัคคีธรรมอยู่ต่อการทรงสถิตภายใต้ร่มเงาในเพิงแห่งพระสิริของพระเจ้า
เทศกาลนี้ชาวยิวจะไปตั้งค่ายพักแรมสร้างเพิงที่พำนัก เป็นครอบครัว เป็นช่วงเวลาแห่งการนัดพบกับพระยาห์เวห์ด้วยความชื่นชมยินดีในการอ่านพระบัญญัติ(โทราห์)
เมื่อเราศึกษาจากพระธรรมเนหะมีย์ บทที่ 8 เราจะเห็นถึงความสำคัญของเทศกาลอยู่เพิง ทั้งนี้เพราะช่วงเวลานั้นคนอิสราเอลได้รับการปลดแอกจากการป็นเชลยที่บาบิโลนและได้เดินทางกลับมาที่กรุงเยรซาเล็มเพื่อสร้างกำแพงและรื้อฟื้นการเฉลิมฉลองเทศกาลของพระยาห์เวห์
เนหะมีย์หนุนใจประชาชนอิสราเอลให้ชื่นชมยินดีเพราะความยินดีในพระเจ้าเป็นกำลัง(8:10) พวกเขามีความยินดีเพราะเขาจะได้ร่วมฉลองเทศกาลอยู่เพิง!
เทศกาลอยู่เพิงนี้ คนยิวจะอยู่ในเพิง 7 วันและวันที่ 8 มีการประชุมกัน(Shemini Atzeret ) และพวกเขาจะออกมาเต้นรำและถือหนังสือม้วนโทราห์(Torah) อ่านข้อความตั้งแต่พระธรรมปฐมกาลข้อแรก จนถึงข้อสุดท้ายของพระธรรมเฉลยธรรมบัญญัติ เพื่อแสดงว่า “พระวจนะของพระเจ้าไม่มีวันสิ้นสุด”
เนหะมีย์ 8:18 และ​ทุก​วัน​ท่าน​อ่านธรรม​บัญญัติ(Torah)​ของ​พระ​เจ้า ตั้งแต่​วัน​แรก​จน​วัน​สุดท้าย เขา​ถือ​เทศกาล​เลี้ยง​(Sukkot) อยู่​ 7 วัน และ​ใน​วันที่​8 (Shemini Atzeret )มี​การ​ชุมนุม​ตาม​พิธี​ตาม​กฎหมาย​

สดุดี149:4-6 ​เพราะ​พระ​ยาห์เวห์ท​รง​ปรีดี​ใน​ประชากร​ของ​พระ​องค์ ​พระ​องค์​ประทาน​ชัย​ชนะ​เป็น​มงกุฎ​แก่​คน​ที่​ถ่อม​ใจ ​ให้​ผู้​จงรักภักดี​ยินดี​ใน​เกียรติ​นี้ ​ให้​พวก​เขา​ร้อง​เพลง​ด้วย​ความ​ยินดี​บน​ที่​นอน ​ให้​การ​สดุดี​เทิดทูน​พระ​องค์​อยู่​ใน​ลำคอ​ของ​พวก​เขา ​และ​ให้​ดาบ​สอง​คม​อยู่​ใน​มือ​ของ​พวก​เขา

นี่คือ 4 “สัญลักษณ์” แห่ง “สัญญารัก” ในช่วงเวลาแห่งเทศกาลของพระยาห์เวห์
เราไม่ได้ถือเทศกาลต่างๆตามกฏบัญญัติว่า "เราจำเป็นต้องทำ" แต่เราถือเทศกาลต่างๆ เพราะหัวใจของเรา บอกว่า "เราอยากทำ" เราไม่ได้เรียนรู้เรื่องเทศกาลเป็นเพียง “ความรู้” ที่เพิ่มรอยหยักที่หัวสมอง แต่เราเรียนรู้ด้วยความเข้าใจใน “ความรัก” ของพระยาห์เวห์ที่กำหนดไว้ที่เป็น “รอยสลัก” แห่งพันธสัญญา

เพลงโซโลมอน 8:6 จงแนบดิฉันไว้ให้เป็นเนื้อเดียวดุจดวงตราแขวนอยู่ที่ใจของเธอ ประดุจดวงตราบนแขนของเธอ เพราะความรักนั้นเข้มแข็งอย่างความตาย ความรักรุนแรงก็ดุเดือดเหมือนแดนคนตาย และประกายแห่งความรักรุนแรงนั้นก็คือประกายเพลิงคือประกายเพลิงที่แสนรุนแรง
เทศกาลแห่งการเริ่มต้นปีใหม่ 5779 นี้จึงเป็นการปลุก(Revive)จิตวิญญาณของเราให้กลับใจ(Repent) หันกลับมา(Return)เพื่อรื้อฟื้น(Restore)คืนความสัมพันธ์กับพระยาห์เวห์ในช่วงเทศกาลแห่งการนัดพบพักสงบ และชื่นชม(Rejoice)
ในเทศกาลงานเลี้ยงของพระยาห์เวห์ เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นหมายสำคัญที่เราจะฉลองใหญ่อีกครั้งในแผ่นดินสวรรค์! วันนี้เป็นการฉลองงานเลี้ยงเทศกาลเป็นเพียงสิ่งชั่วคราว แต่ที่นั่นบนสวรรค์เรามีงานเลี้ยงฉลองเทศกาลชั่วนิรันดร์ตลอดไป วันนี้เราอยู่ในเพิงพักชั่วคราว แต่ในวันนั้นบนสวรรค์เราจะอยู่ในบ้านถาวรชั่วนิรันดร์ อาเมน

เศคาริยาห์ 14:16 และ​อยู่​มา​บรรดา​คน​ที่​เหลืออยู่​ใน​ประชาชาติ​ทั้ง​ปวง​ซึ่ง​ยกขึ้น​มา​สู้​รบ​กับ​เยรูซาเล็ม จะ​ขึ้น​ไป​นมัสการ​กษัตริย์​ปี​แล้ว​ปี​เล่า คือ​พระ​เจ้า​จอม​โยธา และ​จะ​ถือ​เทศกาล​อยู่​เพิง

วิวรณ์ 21:3 ข้าพเจ้า​ได้​ยิน​เสียง​ดัง​มา​จาก​พระ​ที่​นั่ง​ว่า “ดู​เถิด พลับพลา​ของ​พระ​เจ้า​อยู่​กับ​มนุษย์​แล้ว ​พระ​องค์​จะ​ทรง​สถิต​กับ​เขา เขา​จะ​เป็น​ชน​ชาติ​ของ​พระ​องค์ และ​พระ​เจ้า​เอง​จะ​ประทับ​อยู่​กับ​เขา​ และ​จะ​ทรง​เป็น​พระ​เจ้า”

Rosh Hashanah 5779

Rosh Hashanah 5779

"ชานาห์ โตวาห์" (Shanah Tovah) สุขสวัสดีในปีใหม่ เชื่อว่าจะเป็นปีแห่งความยินดีที่เราจะจดจำในสิ่งดีที่จะเกิดขึ้นในปี 5779 นี้
ตามพระคัมภีร์มีการเป่าแตรเขาสัตว์เพื่อเป็นการอธิษฐานป่าวประกาศเข้าสู่ปีใหม่ (Rosh Hashanah)
“จงกล่าวแก่คนอิสราเอลว่า ในวันที่ 1 ของเดือนที่7 (Tishri)เจ้าทั้งหลายจงถือเป็นวันหยุดพักสงบวันหนึ่ง เป็นวันประชุมบริสุทธิ์ ประกาศเป็นที่ระลึกด้วยเสียงแตร” (เลวีนิติ‬ ‭23:24‬ )
สำหรับปีนี้ปี 5779 ปีของตัวอักษรที่ 9 คือ Teth -ט การเริ่มต้น Rosh Ha Shanah ตรงกับเย็นวันที่ 9 กันยายน 2018 จึงเป็นการสุขสันต์วันที่ 9 เดือน 9 เป็นปีแห่งเลข 9 คือ ตัวอักษร Teth คือวงจรก้าวใหม่ และครรถ์ที่ถือกำเนิดสิ่งใหม่เมื่อผ่านไป 9 เดือน
ปีแห่งสวนองุ่นที่มีผลผลิตดก ชีวิตที่สำแดงผลพระวิญญาณ 9 ประการ(กท.5:22-23)

ในการฉลองปีใหม่จะมีการรับประทานน้ำผึ้ง แอ๊ปเปิ้ล เป็นสัญลักษณ์ของการเฉลิมฉลอง Rosh Hashanah ให้ความหวานและความยินดี
เมื่อเริ่มต้นปีใหม่นั่นหมายถึงช่วงเวลาแห่งการเตรียมชีวิตเพื่อไปสู่พระสิริของพระยาห์เวห์ที่เพิ่มขึ้นในระดับใหม่ในช่วงเวลาแห่งเทศกาล(Feast)
พระองค์ทรงได้กำหนดเทศกาลต่างๆไว้สําหรับทุกคน เราไม่ได้เลียนแบบวิธีการฉลองเทศกาลต่างๆของยิว แต่เราเรียนรู้จากหลักการฉลองเทศกาลต่างๆ เพื่อเตรียมชีวิตของเราสู่วาระเวลาของพระยาห์เวห์เพื่อเคลื่อนไปตามเวลานับพบกับพระองค์(Divine Appointment)
ปี 5779 นี้มีเทศกาลในช่วงเดือนนี้คือ

1. เทศกาลเป่าแตรเขาสัตว์ หรือ การเริ่มต้นปีใหม่ 
(Rosh Hashanah -โรช ฮาชชะนาห์) - Head of the year ตรงกับช่วงเย็นวันที่ 9-10 กันยายน 2018
2. เทศกาลลบมลทินบาป (Yom Kippur-ยม คิปปูร์) - Day of Atonement ตรงกับวันที่ วันที่ 20 กันยายน 2018
3.เทศกาลอยู่เพิง(Sukkot-สุคคท)-Feast of Tabernacles ตรงกับช่วงวันที่ 24-30 กันยายน 2018
ในช่วงระหว่างวันที่ 10-20 กันยายน 2018 ช่วงเวลา 10 วันแห่งความยำเกรงพระเจ้า (Days of Awe) เป็นเวลาที่จะหันชีวิตออกจากวิถีแห่งความบาป และหันกลับมาหาพระยาห์เวห์โดยการอดอาหารอธิษฐานเป็นการเตรียมชีวิตกลับใจจากความบาป

ปี 5779 ตัวอักษรประจำปีนี้คือตัวอักษร Teth -ט
เป็นภาพของวงจร(wheel) ครรภ์(womb) หมายถึงวรจรเวลาใหม่กำลังเคลื่อนมาถึงแล้ว และสิ่งใหม่ๆกำลังคลอดออกมา ดั่วทารกที่ถูกฟูมฟักอยู่ในครรภ์ถึง 9 เดือน เป็นเวลาแห่งการยินดีที่จะฉลองในปีแห่งผลองุ่นที่สดใหม่
ในภาคปฏิบัติ
สิ่งที่เราควรรักษาไว้คือการทรงสถิต
แต่สิ่งที่เราจะทำลายคือ สถิติ
สถิติมีไว้เพื่อทำลาย เราจะทำสิ่งใหม่ที่ดีกว่าเดิม
ปี 5779 จะเป็นปีแห่งก้าวใหม่ที่ไปไกลขึ้นกว่าเดิม สิ่งที่เป็นความใฝ่ฝัน นิมิตการสำแดงที่รอคอยจะเกิดขึ้นเป็นจริง(Our visions come forth) ตามถ้อยคำการพระวจนะ

“เพราะเหมือนฝนและหิมะลงมาจากฟ้าสวรรค์ และไม่กลับที่นั่นเว้นแต่ได้รดแผ่นดินโลก แล้วทำให้บังเกิดผลและแตกหน่อ ทั้งให้เมล็ดพืชแก่ผู้หว่านและอาหารแก่คนกิน ทำนองเดียวกัน คำของเราที่ออกจากปากของเรา จะไม่กลับมาสู่เราเปล่าๆ แต่จะทำให้สิ่งที่เราพอใจนั้นสำเร็จ และให้สิ่งที่เราใช้ไปทำนั้นเสร็จสิ้น”(อิสยาห์‬ ‭55:10-11‬)

"เรา​จะ​ให้​ฝน​ตก​บน​แผ่น​ดิน​ของ​พวก​เจ้า​ตาม​ฤดู​กาล คือ​ฝน​ต้น​ฤดู​และ​ฝน​ชุก​ปลาย​ฤดู เพื่อ​เจ้า​จะ​ได้​เก็บ​ข้าว เหล้า​องุ่น​ใหม่ และ​น้ำ​มัน​ของ​เจ้า"- เฉลยธรรมบัญญัติ 11:14

เชื่อว่านี่เป็นเวลาแห่งการเก็บเกี่ยว

“อย่าให้เราเมื่อยล้าในการทำดี เพราะว่าถ้าเราไม่ท้อใจแล้ว เราก็จะเก็บเกี่ยวในเวลาอันสมควร” (กาลาเทีย‬ ‭6:9‬ )

01 กันยายน 2561

มองย้อนกลับไปนับพระพรก่อนเข้าสูปีใหม่ 5779

ก่อนที่เราจะเข้าสู่เทศกาลเสียงแตรเขาสัตว์ (Rosh Hashanah) ซึ่งเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ตามปฏิทินฮีบรู  ปี 5779 ซึ่งเป็นปีตัวอัษรฮีบรู คือ ตัวอักษร Ayin Teth (อายิน เทท)  ในค่ำวันที่ 9 กันยายน 2018 นี้

เลวีนิติ 23:24 “จงกล่าวแก่คนอิสราเอลว่า ในวันที่หนึ่งของเดือนที่เจ็ด(Tishrei) เจ้าทั้งหลายจงถือเป็นวันหยุดพักสงบวันหนึ่ง เป็นวันประชุมบริสุทธิ์ประกาศเป็นที่ระลึกด้วยเสียงแตร(Shofar)

ผมขอนำเพื่อนผู้อ่านทุกท่าน มองย้อนกลับไปเพื่อนับพระพร ตั้งแต่ปี 5771-5779 ที่ผ่านมา 

5700 = “ขอให้เป็นปีแห่ง...”   70 = อักษรฮีบรู  เรายังอยู่ในช่วงทศวรรษ 70 ทศวรรษแห่งการมองเห็น  อักษร Ayin  “อัยยิน”  เป็นภาพของดวงตา”  ในฤดูกาลอัยยิน พระเจ้าต้องการเพิ่มความสามารถของเราในการเห็น!   พระองค์กำลังบอกว่า  ดูใหม่อีกครั้ง!   เราคิดว่าเราเห็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นแล้ว แต่ให้มองใหม่อีกครั้งและเราจะเห็นชัดเจนขึ้นอีก!  เราลองมองกลับไปนับพระพรในแต่ละปีกันอีกครั้งดังนี้
 (สามารถ click เข้าไป อ่านบทความแต่ละปีตาม link ได้นะครับ)

ปี 5771 ปี Ayin Aleph  ปีแห่งฤดูกาลแห่งสิทธิอำนาจใหม่ ด้วยฤทธานุภาพ การยอมจำนนต่อจอมกษัตรา (A season of new authority,power,and submission to the King)

ปี 5772 ปี Ayin Beth ปีแห่งพันธสัญญา พระเจ้าทรงมองมาที่บ้านของพระองค์

 ปี 5773 ปี Ayin Gimel ปีแห่งมวลอฐ ปีแห่งพระพรความมั่งคั่ง ปีการรื้อฟื้นสู่การไถ่กลับมาทั้งหมด ปีที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างช่องว่างของอดีตไปสู่อนาคต (From recovery to wholeness : A year to bridge the gap between past and future)


ปี 5774 ปี Ayin Dalet ปีแห่งประตู "เชิญเข้ามาเถิด เพื่อจะเห็นการเปิดประตูสู่สายธารน้ำพุใหม่" (Enter In! Seeing the Open Door to New Springs!)


ปี 5775 เป็นปีแห่งอักษร  เฮ้  ถ้าเรามองดูสิ่งที่ขัดเป็นตารางบนหน้าต่าง มันทำจากตัวอักษรเฮ้ตัว
เล็กๆ จำนวนมาก!  ภาพของหน้าต่าง 
ความหมายของ เฮ้” คือ  เสียงลมที่พัดผ่านช่องตารางบนหน้าต่าง นอกจากนี้ยังหมายถึง ลม 
เสียง 
คำว่า เฮ้ หมายถึง  ลมหายใจ พระวิญญาณ และการสำแดง  การสรรเสริญเสียงดังอย่างรุนแรง! “ฮาเลล!” (ฮาเลลูยา)
       
ดังนั้น ปีแห่งอักษรเฮ้ เป็นปีแห่งลม เสียง ถ้อยคำ ลมหายใจ พระวิญญาณ และการสำแดง
        
สดุดี 91  กล่าวถึง  “การดำเนินชีวิตในตาแห่งพายุ        ท่านจะไม่กลัวความสยดสยองในกลาง
คืนหรือกลัวลูกธนูที่ปลิวไปในกลางวัน   หรือโรคภัยที่ไล่มาในความมืด หรือโรคซึ่งทำลายใน
เที่ยงวัน …เพราะท่านได้กระทำให้พระเจ้าผู้เป็นที่ลี้ภัยของข้าพเจ้า คือองค์ผู้สูงสุด เป็นที่อยู่
ของท่านไม่มีการร้ายใดๆ จะตกมาบนท่าน ไม่มีภัยมาใกล้เต็นท์ของท่าน 

ในปีฮีบรูที่ 5775 เสียงแห่งสวรรค์จะซึมซาบในที่ใหม่ของคุณ     ปีข้างหน้าดูเหมือนกับลม
หมุน เป็นลมพายุที่จะปลดปล่อยเมล็ดต่างๆ เพื่อจะหว่านสำหรับ  อนาคตของคุณ ประตูต่างๆ 
ของยุ้งฉางที่กักเมล็ดพันธุ์ทั้งหลายสำหรับอนาคตของเรา จะถูกพัดให้เปิดออก    จงโอบรับเอา
เสียงแห่งลมพายุ จากสวรรค์ และปลดปล่อยเมล็ดพันธุ์ต่างๆ สำหรับอนาคตของเรา!"

ในปี 5776 Ayin Vav ปีของการสถาปนาอนาคตของเราโดยพระยาห์เวห์ ตัวอักษรวาร์ฟ(Vav)ให้ภาพหมุดเต็นท์ ที่เราต้องตอกย้ำเชื่อมโยงอนาคตของเรากับแผนการของพระเจ้า และเราต้องปกป้องประตูแห่งอนาคตของเรา ไม่ให้ศัตรูมาทำลาย ปีที่สวรรค์นำการแทรงแซงเข้ามาในโลก 
นอกจากนี้ยังเป็นปีแห่งเสียงแตรเขาสัตว์ (Jubilee) ปีแห่งการอิสรภาพและปลดปล่อย  พระเจ้าทรงนำความโปรดปรานมาสู่ชีวิตของเรา (เลวีนิติ 25:8-12)



สำหรับความหมายปี 5777  
 อายิน ซายิน (Ayin Zayin)  ปีแห่งดาบสิทธิอำนาจการปกครอง (Year of The Ruling Sword) 

สดุดี 45:3 ข้า​แต่​กษัตริย์​ผู้​ทรง​อำ​นาจ ขอ​ทรง​คาด​ดาบ​ไว้​ที่​บั้น​พระ​องค์ โดย​พระ​สิริ​และ​ความ​สง่า​งาม​ของ​พระ​องค์

และเป็นปีที่พระวิญญาณบริสุทธิ์เคลื่อนไหวเพื่อการฟื้นฟูทั่วโลก สามารถเข้าไปอ่านบทความเรื่อง 

สรุปทิศทางปี 5777 Ayin Zayin เพื่อเข้าใจและดำเนินในเวลาของพระเจ้า


ซึ่งเป็นการสรุปจากคำสอนของอ.นิมิต พานิช ศบ.คริสตจักรแห่งพระบัญชา ในช่วงปีที่ผ่านมา โดยสรุปคือ 

1. ปีแห่งดาบ  มีสงครามทั้งในสวรรค์ และในแผ่นดินโลก แต่กระนั้น  พระยาห์เวห์ทรงปราบสิ่งสารพัดด้วยดาบแห่งสิทธิอำนาจ

2.ปีแห่งการสวมมงกุฎ!  ชัยชนะ!  ความหวังที่เต็มเปี่ยม!

3. ปีแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์  ซึ่งพระวิญญาณทรงเคลื่อนไหวไปทั่วโลกและสำแดงฤทธานุภาพของพระองค์

4. ปีแห่งการเห็นพ้องไปกับวาระเวลาของพระเจ้า   วาระแห่งการนัดหมายที่เราจะอธิษฐานแสวงหาและพบพระองค์ได้เสมอ

5. ปีที่จะจดจำ  จงระลึกถึงพระราชกิจยิ่งใหญ่ของพระเจ้าในอดีต และเพิ่มพูนความเชื่อขึ้นเพื่ออนาคต

6.ปีแห่งการสรรเสริญ ยึดพระวจนะของพระเจ้าไว้ และยกชูขึ้นต่อพระองค์!  จงทำให้ฟ้าสวรรค์ส่องสว่างด้วยคำสรรเสริญ
7.  ปีแห่งต้นมะกอกเทศ  คนอิสราเอลจะต้องตื่นขึ้นมา เป็นปีแห่งการเป็นคนใหม่คนเดียวกัน(One New Man)

ในปี 5778  ปี Ayin Chet (อายิน เฆ็ท)  

ภาพสัญลักษณ์ปี 5778 โดย James Nesbit 

ดร.ชัค เพียร์ซ (Chuck Pierce) กล่าวว่า  "ระหว่างปีนี้ซึ่งเป็นปีแห่งดาบ (5777) ที่กำลังมาสู่จุดสิ้นสุด พระเจ้าได้ทรงตัดโครงสร้างเก่าต่างๆ ออกไป และได้ทรงปลดปล่อยอัตลักษณ์ภายในเรา เราต้องให้ผู้ที่เรากลายเป็นนั้นปรากฏออกมา! 
นี่คือเวลาที่จะเอามือของเราจับที่ดาบ รับเอากำลังและฤทธิ์เดช แล้วเดินหน้าเข้าไปในแผ่นดินพันธสัญญาของเรา จงสวมใส่ยุทธภัณฑ์และฉวยดาบแห่งอนาคตของคุณ! ปี 5778 เป็นปีที่จะเข้าประตูนั้นด้วยความกล้าหาญ"  

ปี 5778 จึงเป็นปีแห่งประตู ที่เราต้องเดินทางเข้าไปสู่ประตูทั้ง 4 ประตู คือ ประตูแห่งพระคุณ,ประตูแห่งพันธสัญญา ประตูแห่งการนมัสการและประตูแห่งชัยชนะในสงคราม

สำหรับปี 5779 นี้เป็นปีแห่งตัวอักษร Ayin Teth ตัวอักษร ט‬ เป็นภาพที่สื่อถึงวงจร การตั้งครรภ์ ซึ่งเชื่อว่าจะมีสิ่งที่ดีได้คลอดออกมาเป็นพระพรสู่ชีวิตของเรา 
ปี 5779 เป็นปีสุดท้ายของ 10 ปีของการเฝ้ามองตามความหมายของตัวอักษร Ayin ע ซึ่งตัวอักษรต่อไปที่ให้สัญลักษณ์ของเลข 80 ตามภาษาฮีบรู  คือตัวอักษร เพ פ เป็นภาพของปากที่จะกล่าวพระวจนะของพระเจ้าและเชื่อมั่นว่าทุกถ้อยคำพระสัญญาของพระองค์ ทรงเป็นความจริงเสมอ

อิสยาห์ 55:10-11  
10“เพราะ​ฝน​และ​หิมะ​ลง​มา​จาก​ฟ้า​สวรรค์ และ​ไม่​กลับ​ที่​นั่น​เว้น​แต่​รด​แผ่นดิน​โลก  
กระทำ​ให้​มัน​บังเกิด​ผล​และ​แตก​หน่อ อำนวย​เมล็ด​แก่​ผู้​หว่าน​และ​อาหาร​แก่​ผู้​กินฉัน​ใด 
 11 คำ​ของ​เรา​ซึ่ง​ออกไป​จาก​ปาก​ของ​เรา จะ​ไม่​กลับมา​สู่​เรา​เปล่า  แต่​จะ​สัมฤทธิ์​ผล​ซึ่ง​เรา​มุ่ง​หมาย​ไว้
และ​ให้​สิ่ง​ซึ่ง​เรา​ใช้​ไป​ทำ​นั้น​จำเริญ​ขึ้น​ฉัน​นั้น