28 มกราคม 2555

Acts_2:22-36_คริสตจักรที่สื่อสารข่าวประเสริฐ

ศึกษาพระธรรมกิจการของอัครทูต

คริสตจักร “ต้นแบบ” ตามพระบัญชา

กิจการของอัครทูต 2:22-36
22 "ท่านทั้งหลายผู้เป็นชนชาติอิสราเอล ขอฟังคำของข้าพเจ้า คือพระเยซูชาวนาซาเร็ธ เป็นผู้ที่พระเจ้าทรงโปรดชี้แจงให้ท่านทั้งหลายทราบ โดยการอิทธิฤทธิ์ การอัศจรรย์และหมายสำคัญต่างๆซึ่งพระเจ้าได้ทรงกระทำโดยพระองค์นั้น ท่ามกลางท่านทั้งหลาย ดังที่ท่านทราบอยู่แล้ว
23 พระเยซูนี้ทรงถูกมอบไว้ตามที่พระเจ้าได้ทรงดำริแน่นอนล่วงหน้าไว้ก่อน ท่านทั้งหลายได้ให้คนอธรรมจับพระองค์ไปตรึงที่กางเขนและประหารชีวิตเสีย
24 พระเจ้าได้ทรงบันดาลให้พระองค์คืนพระชนม์ ด้วยทรงกำจัดความเจ็บปวดแห่งความตายเสีย เพราะว่าความตายจะครอบงำพระองค์ไว้ไม่ได้
25 เพราะกษัตริย์ดาวิดได้ทรงกล่าวถึงพระองค์ว่า "ข้าพเจ้าได้เห็นองค์พระผู้เป็นเจ้าตรงหน้าข้าพเจ้าเสมอ เพราะว่าพระองค์ประทับที่มือขวาของข้าพเจ้า เพื่อข้าพเจ้าจะมิได้หวั่นไหว
26 เพราะฉะนั้น จิตใจของข้าพเจ้าจึงยินดี และลิ้นของข้าพเจ้าจึงเปรมปรีดิ์ อนึ่งร่างกายของข้าพเจ้าจะอยู่ด้วยความไว้ใจ
27 เพราะพระองค์จะไม่ทรงละข้าพระองค์ไว้ในแดนคนตาย ทั้งจะไม่ทรงให้องค์บริสุทธิ์ของพระองค์เปื่อยเน่าไป
28 พระองค์ได้ทรงโปรดให้ข้าพระองค์ทราบทางแห่งชีวิตแล้ว พระองค์ทรงโปรดให้ข้าพระองค์มีความยินดีเต็มเปี่ยมหน้าพระพักตร์ของพระองค์
29 "พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้ามีใจกล้าที่จะกล่าวแก่ท่านทั้งหลายถึงดาวิดบรรพบุรุษของเราว่า ท่านสิ้นชีวิตแล้วฝังไว้ และอุโมงค์ฝังศพของท่านยังอยู่กับเราจนถึงทุกวันนี้
30 ท่านเป็นผู้เผยพระวจนะ และทราบว่าพระเจ้าตรัสสัญญาไว้แก่ท่านด้วยพระปฏิญาณว่า พระองค์จะทรงประทานผู้หนึ่งในวงศ์ตระกูลของท่านให้ประทับบนพระที่นั่งของท่าน
31 กษัตริย์ดาวิดก็ทรงล่วงรู้เหตุการณ์นี้ก่อน จึงทรงกล่าวถึงการคืนพระชนม์ของพระคริสต์ว่า พระเจ้ามิได้ทรงละพระองค์ไว้ในแดนคนตาย ทั้งพระมังสะของพระองค์ก็ไม่เปื่อยเน่าไป
32 พระเยซูนี้พระเจ้าได้ทรงบันดาลให้คืนพระชนม์แล้ว ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นพยานในข้อนี้
33 เหตุฉะนั้นเมื่อทรงเชิดชูพระองค์ขึ้นอยู่ที่พระหัตถ์เบื้องขวาของพระเจ้า และครั้นพระองค์ได้ทรงรับพระวิญญาณบริสุทธิ์จากพระบิดาตามพระสัญญา พระองค์ได้ทรงเทฤทธิ์เดชนี้ลงมา ดังที่ท่านทั้งหลายได้ยิน และเห็นแล้ว
34 เหตุว่าท่านดาวิดไม่ได้ขึ้นไปยังสวรรค์แต่ท่านได้กล่าวว่า "พระเจ้าตรัสกับองค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้าว่า จงนั่งขวามือของเรา
35 จนกว่าเราจะกระทำให้ศัตรูของเจ้าอยู่ใต้เท้าเจ้า
36 เหตุฉะนั้น ให้พงศ์พันธุ์อิสราเอลทั้งปวงทราบแน่นอนว่า พระเจ้าได้ทรงยกพระเยซูนี้ ซึ่งท่านทั้งหลายได้ตรึงไว้ที่กางเขนนั้น ทรงตั้งขึ้นให้เป็นทั้งองค์พระผู้เป็นเจ้าและเป็นพระคริสต์"

อารัมภบท

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน เรากำลังศึกษาพระธรรรมกิจการฯมาถึงตอนที่ 4 แล้วในตอนนี้ ผมขอตั้งชื่อว่า "คริสตจักรที่สื่อสารข่าวประเสริฐ" เพราะเนื้อหาหลักคือการสื่อสารเรื่องของพระกิตติคุณของพระคริสต์ ซึ่งถือเป็นข่าวประเสริฐที่สำคัญที่คริสตชนทุกคนต้องไปประกาศข่าวดีนี้ไปจนสุดปลายแผ่นดิน(กจ.1:8)คำว่า "ข่าวประเสริฐ" หมายถึงข่าวดี นั่นคือความรอดของเราทั้งหลายที่ผ่านทางพระเยซูคริสต์ มาจากภาษาอังฤษคือคำว่า "Gospel" มีผู้นำคริสตจักรท่านหนึ่งให้นิยามกับผมว่า "Gospel"มาจาก คำว่า GOSPEL-God Offers Sinful Person to Eternal Life.แปลว่า พระเจ้าประทานชีวิตนิรันดร์ให้กับคนบาป สำหรับผมแล้วมันเป็นสิ่งที่จริงเลย ข่าวประเสริฐเป็นสิ่งที่เราควรจะนำข่าวดีไปบอกกล่าวเล่ากับทุกคน

ในสัปดาห์นี้เราได้ศึกษาต่อจากสัปดาห์ก่อน ครั้งนี้จะเป็นข้อ 22-36 หลังเหตุการณ์ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้เทลงมาเหนือผู้เชื่อที่รวมตัวรอคอยที่กรุงเยรูซาเล็มเพื่อรับตามพระสัญญา
คนเหล่านั้นเต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ และ พูดภาษาต่าง ๆ ตามที่พระวิญญาณทรงโปรดให้พูด ซึ่งทำให้คนที่เห็นเหตุการณ์นั้นแปลกประหลาดใจ และ สำคัญผิดว่า พวกเขากำลังเมาเหล้าองุ่น อัครทูตเปโตรจึงได้ลุกขึ้นอธิบายให้รู้และเข้าใจความจริงว่า คนเหล่านั้นหาได้เมาเหล้าองุ่นไม่ แต่เป็นหมายสำคัญที่พระวิญญาณเทลงมาตามพระสัญญาซึ่งมีคำพยากรณ์ล่วงหน้าไว้ในหนังสือโยเอล 2:28-32 เมื่อท่านได้อธิบายให้เข้าใจความจริงดังกล่าวแล้ว เพื่อขึ้นต้นกล่าวประเด็นใหม่ จึงได้กล่าวใน ข้อ 22 ว่า "ท่านทั้งหลายผู้เป็นชนชาติอิสราเอล ขอฟังคำของข้าพเจ้า …”
การที่อัครทูตเปโตรกล่าวขึ้นต้นอ้างถึงการเป็นชนชาติอิสราเอลนี้ ทำให้คนฟังสัมผัสได้ถึงความเอาใจใส่ในการให้เกียรติ เพราะการบอกว่าเป็นชนชาติอิสราเอลนั้น หมายถึงการเป็นชนชาติพิเศษที่รับการเลือกสรรให้เป็นชนชาติเฉพาะของพระเจ้า นี่จึงเป็นถ้อยคำที่กล่าวนำ เพื่อจูงใจให้สนใจฟังในสิ่งสำคัญที่จะการกล่าวต่อไป นั่นคือ “ข่าวประเสริฐเรื่องราวของพระคริสต์”
ข้อ 22 เปโตรกล่าวถึงพระคริสต์ว่า …คือพระเยซูชาวนาซาเร็ธ เป็นผู้ที่พระเจ้าทรงโปรดชี้แจงให้ ท่านทั้งหลายทราบโดยการอิทธิฤทธิ์การอัศจรรย์ และหมายสำคัญต่างๆซึ่งพระเจ้าได้ทรงกระทำโดยพระองค์นั้น ท่ามกลางท่านทั้งหลาย ดังที่ท่านทราบอยู่แล้ว
การที่ระบุว่า พระเยซูทรงเป็น“ชาวนาซาเร็ธ” กำลังบอกว่า พระเยซูผู้ทรงเป็นพระเจ้าที่รับสภาพเป็นมนุษย์ (Incarnation) คำว่า “พระเยซูชาวนาซาเร็ธ” ก็เป็นชื่อที่ คนทั่วไปรู้จักกันว่า เป็นมนุษย์ที่สำแดงพระเจ้าท่ามกลางพวกเขา
ท่านบอกว่า “ดังที่ท่านทราบอยู่แล้ว” เป็นการตอกย้ำความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ เพราะได้เห็นต่อหน้าต่อตา เป็นเหตุผลที่ชัดเจน เป็นเหตุการณ์ที่เป็นพยานหลักฐานที่แน่นหนา ที่พระเยซูคริสต์ได้ทำการอัศจรรย์ ท่ามกลางพวกเขาเป็นสิ่งรับรอง และ สำแดงว่าพระองค์เป็นพระผู้ช่วยให้รอดของโลก
ดังนั้นเรื่องราวของพระเยซูคริสต์เป็นข่าวดีที่พระเจ้าต้องการให้เราทั้งหลายสื่อสารออกไปให้โลกได้รู้ เพื่อนำไปสู่ความรอดของคนทั้งหลายที่กลับใจเชื่อ ดังนั้นเราจึงต้องเป็น "คริสตจักรที่สื่อสารข่าวประเสริฐ"ในเรื่องพระกิตติคุณของพระคริสต์


1.ข้อสังเกตเพื่อใคร่ครวญ
ในข้อ 23 บอกว่า …พระเยซูนี้ทรงถูกมอบไว้ตามที่พระเจ้าได้ทรงดำริแน่นอน ล่วงหน้าไว้ก่อน ท่านทั้งหลายได้ให้คนอธรรมจับพระองค์ ไปตรึงที่กางเขนและประหารชีวิตเสีย
คำว่า “ทรงถูกมอบไว้” ความหมายในภาษาเดิมนั้น ถูกใช้โดยทั่วไปกับคนที่ถูกทำให้ยอมจำนน หรือ ถูกมอบไว้ในมือของศัตรู ความหมายที่อัครทูตเปโตรต้องการสื่อให้เห็นว่า พระเยซูถูกทำให้ต้องยอมจำนน หรือ ยอมสละให้แก่ศัตรู
คำถามคือ ใคร คือ ผู้มอบพระเยซูและ มอบให้แก่ใคร?
คำตอบคือ “ปอนทิอัส ปีลาต” ผู้ว่าราชการเมือง ผู้ที่มีอำนาจที่จะปกป้องพระองค์ได้ แต่กลับ ไม่ได้ใช้อำนาจนั้นในทางที่ถูกต้อง
ในพระธรรมลูกา 23:22 ได้บันทึกเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า ปีลาตถามฝูงชนย้ำแล้วย้ำอีกถึง 3 ครั้งว่า ตรึงทำไม เขาได้ทำผิดประการใด เราไม่เห็นเขาทำผิดอะไรที่สมควรจะมีโทษถึง
ตาย เหตุฉะนั้นเมื่อเราเฆี่ยนเขาแล้วก็จะปล่อยเสีย”
เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ทั้งที่ปีลาตก็รู้อยู่แก่ใจว่า พระองค์ปราศจากความผิด และตัวเขาก็วินิจฉัยแล้วว่า พระองค์ไม่ได้ทำผิดอะไรเลย แต่เขาก็กลับใช้วิธีการ "นิติราษฏร์" เขาเลือกวิธีการที่ "ถูกใจ"คนส่วนมากแทนที่จะใช้วิธีการที่ "ถูกต้อง"ในการตัดสินตามกระบวนการยุติธรรม ในบางครั้งจะเห็นได้ว่า "เสียงส่วนใหญ่" ใช่ว่าจะเป็นการเลือกที่ถูกต้อง เพราะกระบวนการยุติธรรมไม่ใช่ประชาธิปไตย หลักการตัดสินต้องให้ความเป็นธรรม


ปีลาตแทนที่จะปล่อยพระเยซูไป กลับให้โอกาสปล่อยนักโทษที่มีความผิดอย่างชัดเจนไป
ซึ่งในเทศกาลปัสกาธรรมเนียมของคนยิวจะปล่อยนักโทษได้ 1 คน
แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งสิ้นนี้ไม่ได้เป็นความผิดพลาดที่พระเยซูคริสต์ต้องตายบนกางเขน มันไม่ใช่อุบัติเหตุแต่เป็นแผนการของพระเจ้าที่ทรงดำริไว้
กจ.2:23 บอกว่า
…พระเยซูนี้ทรงถูกมอบไว้ตามที่พระเจ้าได้ทรงดำริแน่นอน ล่วงหน้าไว้ก่อน พระเยซูทราบล่วงหน้าแล้วว่า อะไรจะเกิดขึ้นกับพระองค์เป็นพระประสงค์ของพระองค์เองที่เสด็จเข้ามาในโลกนี้ ก็เพื่อสิ้นพระชนม์เพื่อมวลมนุษยชาติ พระองค์เต็มใจไปที่กางเขน ดังที่พระเยซูได้เปิดเผยให้แก่เหล่าสาวกก่อนเหตุการณ์ที่จะทรงถูกอายัด (มก.10:32-33)และ สิ่งนี้ก็ได้เกิดขึ้นตามคำพยากรณ์ที่เล็งถึงพระเยซูคริสต์
พระเยซูตรัสกับสาวกไว้อย่างนั้นใน (ลก.22:37) ซึ่งทรงอ้างจาก(อสย.53:12)
ว่าด้วยเราบอกท่านทั้งหลายว่า พระวจนะซึ่งเขียนไว้แล้วนั้นต้อง สำเร็จในเรา คือที่ว่าท่านถูกนับเข้ากับคนอธรรม เพราะว่าคำพยากรณ์ที่เล็งถึงเรานั้นจะสำเร็จ"


มีคำพยากรณ์มากกว่า 300 ข้อที่พยากรณ์ถึงพระคริสต์และสำเร็จตามนั้นทุกประการ แต่สาระสำคัญที่บอกให้รู้ว่า พระเจ้ารักเราอย่างมากมาย (ยน 3:16) บอกว่า เป็นความรักที่มีมากถึงกับยอมสละพระบุตรองค์เดียวได้เพื่อคนที่วางใจในพระบุตรจะไม่ต้องพินาศ
(1ยน.4:9-10) บอกว่า ความรักของพระเจ้านั้นก็เป็นที่ประจักษ์นั่นคือ เป็นความรักที่จับต้องได้ โดยสำแดงผ่านการเสด็จเข้ามาในโลกนี้ มารับสภาพเป็นมนุษย์อย่างเรา
ทรงเป็นผู้ลบล้างพระอาชญาที่ตกกับเราทั้งหลายเพราะบาปของเรา

ความรัก คือ การอภัยโทษบาปของเรา
ความยุติธรรม คือ การรับโทษทัณฑ์ของบาปนั้นแทนเรา
ความรักของพระเจ้าได้มาบรรจบกับความยุติธรรมของพระองค์ที่กางเขน

ไม่เพียงแต่ “การสิ้นพระชนม์ของพระคริสต์” เพื่อรับโทษแห่งบาปแทนมวลมนุษย์จะเป็นเนื้อหาสาระของข่าวสารที่ควรสื่อสารออกไป สาระของข่าวประเสริฐของพระคริสต์ปรากฏใน ข้อ 24-32 ที่เป็นข้อคิดสะกิดใจของเราดังนี้


2.ข้อคิดสะกิดใจ
เนื้อหาสาระข่าวประเสริฐของพระคริสต์ซึ่งควรสื่อสารออกไปคือ“การฟื้นคืนพระชนม์”
พระเจ้าของเราเป็นพระเจ้าที่ยังทรงพระชนม์อยู่ พระองค์ไม่ได้เป็นพระเจ้าที่ตายแล้ว แต่ยังทรงพระชนม์อยู่ การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูที่ไม้กางเขนนั้น ดูเหมือนว่า เป็นจุดจบที่พ่ายแพ้ แม้แต่มารมันนึกว่า มันชนะ แต่หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะภายหลังจากที่ทรงสิ้นพระชนม์ไปเพียง 3 วัน พระองค์ทรงฟื้นคืนพระชนม์ ทรงชัยชนะเหนือความตาย และมารร้าย

มารร้ายต้องเจ็บปดใจในความพ่ายแพ้ เหมือนโดนใครยิงธนูปักเข่า
ฮบ.2:14…เพื่อโดยทางความตายนั้นเอง พระองค์จะได้ทรงทำลายผู้ที่มีอำนาจแห่งความตายคือมารเสียได้
ในกจ.2:24 พระเจ้าได้ทรงบันดาลให้พระองค์คืนพระชนม์ ด้วยทรงกำจัดความเจ็บปวดแห่งความตายเสีย เพราะว่า ความตายจะครอบงำพระองค์ไว้ไม่ได้
คำว่า “ความเจ็บปวด” ที่อัครทูตเปโตรใช้ในที่นี้ ให้ความหมายในลักษณะของความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส บางครั้งคำนี้ก็ใช้กับการคลอดบุตรที่มีความเจ็บปวดอย่างมาก
อสย.66:7 ก่อนที่นางจะปวดครรภ์ นางก็คลอดบุตร ก่อนที่ความเจ็บปวดจะมาถึงนางนางก็ให้กำเนิดบุตรชายคนหนึ่ง
ความเจ็บปวดของผู้ทึ่่เป็นแม่จะหายเป็นปลิดทิ้ง เมื่อแม่ได้เห็นหน้าลูกที่คลอดออกมา เช่นเดียวกัน การที่พระเยซูคริสต์ฟื้นจากความตาย เป็นการประกาศชัยชนะเหนือความบาปความตายของเราทั้งหลาย จากเสียงร่ำไห้ กลับกลายเป็นเสียงร้องเพลงด้วยใจชื่นชม



คำถามที่เราจะใคร่ครวญด้วยกันคือ วันนี้มีความบาปอะไรบ้างในชีวิตของเรา ที่เป็นเหมือนบ่วงที่ฉุดรั้งเราไว้ วันนี้ขอป่าวประกาศชัยชนะกับพระคริสต์ร่วมกัน

ให้เราป่าวประกาศด้วยพระคำในกจ.2:24-28
24 พระเจ้าได้ทรงบันดาลให้พระองค์คืนพระชนม์ ด้วยทรงกำจัดความเจ็บปวดแห่งความตายเสีย เพราะว่าความตายจะครอบงำพระองค์ไว้ไม่ได้
25 เพราะกษัตริย์ดาวิดได้ทรงกล่าวถึงพระองค์ว่า "ข้าพเจ้าได้เห็นองค์พระผู้เป็นเจ้าตรงหน้าข้าพเจ้าเสมอ เพราะว่าพระองค์ประทับที่มือขวาของข้าพเจ้า เพื่อข้าพเจ้าจะมิได้หวั่นไหว
26 เพราะฉะนั้น จิตใจของข้าพเจ้าจึงยินดี และลิ้นของข้าพเจ้าจึงเปรมปรีดิ์ อนึ่งร่างกายของข้าพเจ้าจะอยู่ด้วยความไว้ใจ
27 เพราะพระองค์จะไม่ทรงละข้าพระองค์ไว้ในแดนคนตาย ทั้งจะไม่ทรงให้องค์บริสุทธิ์ของพระองค์เปื่อยเน่าไป

28 พระองค์ได้ทรงโปรดให้ข้าพระองค์ทราบทางแห่งชีวิตแล้ว พระองค์ทรงโปรดให้ข้าพระองค์มีความยินดีเต็มเปี่ยมหน้าพระพักตร์ของพระองค์
ในข้อ 24 คำว่า “ทรงกำจัด” ในภาษาเดิมให้ความหมายว่า "ทรงปลดปล่อยเราแล้ว"ในภาษาเดิมให้ความหมายว่า "ปลดปล่อย" คำที่มีใช้ในที่อื่น ๆ เช่น ในมธ.21:1 ใช้คำว่า “แก้” จากการถูกมัดไว้…
ท่านจะพบแม่ลาตัวหนึ่งผูกอยู่กับลูกของมัน จงแก้จูงมาให้เรา
นั่นคือ ความเจ็บปวดแห่งความตายได้ถูกปลดปล่อย เช่นเดียวกับความตายของลาซารัส พระเยซูทรงเรียกลาซารัสให้ออกจากอุโมงค์ความตาย แต่พระองค์ทรงปลดปล่อยแก้ผ้าพันศพของลาซารัส (ยน.11)
กจ.2:25-28 อัครทูตเปโตรได้อ้างคำกล่าวของกษัตริย์ดาวิดใน สดด.16:8-11ซึ่งเป็นคำพยากรณ์ล่วงหน้าเล็งถึงพระเยซูคริสต์ที่จะมาเป็นพระมาซีฮา
คำว่า “ได้เห็น” ความหมายในภาษาเดิม แสดงถึงการมีความมั่นใจในการรอคอยว่าจะได้รับการช่วยเหลืออย่างแน่นอน
ดังนั้น ที่บอกว่า ได้เห็นองค์พระผู้เป็นเจ้าตรงหน้าเสมอ จึงหมายถึงความมั่นใจว่า พระเจ้าทรงสถิตอยู่ด้วย และ เอาใจใส่อย่างใกล้ชิดเป็นความมั่นใจที่ดาวิดมีในพระเจ้า
ดาวิดยังบอกอีกว่า เพราะพระองค์ประทับที่มือขวาของข้าพเจ้า ประโยคนี้แสดงให้เห็นถึงการพร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือเป็นการแสดงออกของการกระทำที่เมตตา ดังที่ สดด 109:31 บอกว่า …
เพราะพระองค์ประทับขวามือของคนขัดสน เพื่อทรงช่วยเขาให้พ้นจากคนที่ปรับโทษเขานั้น
ในกจ.2:27 ดาวิดกล่าวเล็งไปถึงพระมาซีฮาว่า… ทั้งจะไม่ทรงให้องค์บริสุทธิ์ของพระองค์เปื่อยเน่าไป คำว่า “องค์บริสุทธิ์” ในภาษาฮีบรูให้ความหมายว่า ผู้หนึ่งที่อุทิศตัวอย่างตั้งใจมาตายไถ่บาปเพื่อผู้อื่น ในข้อ 27 บอกว่า ทั้งจะไม่ทรงให้องค์บริสุทธิ์ของพระองค์เปื่อยเน่าไป จึงหมายถึง“พระคริสต์” นั่นเอง สิ่งที่ดาวิดกล่าวนี้ เล็งถึง พระมาซีฮา เป็นภาพเล็งถึงการฟื้นคืนพระชนม์และ ถูกยกชูไว้สูงสุดเหนือบรรดาสรรพสิ่ง(อฟ.1:20-22)
ในกจ.2:28 พระองค์ได้ทรงโปรดให้ข้าพระองค์ทราบทางแห่งชีวิตแล้ว พระองค์ทรงโปรดให้ข้าพระองค์มีความยินดีเต็มเปี่ยมหน้าพระพักตร์ของพระองค์
นั่นคือ ความมั่นใจของดาวิดว่า พระมาซีฮา พระผู้ช่วยให้รอดเป็นผู้ทรงพระชนม์อยู่เป็นนิตย์ ความตายไม่อาจมีชัยเหนือพระองค์ได้ นี่ก็เป็นความหวังใจของดาวิด และ ของธรรมิกชนทุกคน เป็นความหวังที่เต็มเปี่ยมด้วยความปิติยินดีที่จะได้อยู่กับพระองค์นิตย์นิรันดร์ในสวรรค์สถาน ซึ่งก็หมายถึง "การได้อยู่ในการที่แห่งการทรงสถิตของพระเจ้า"

กจ.2:29-30 บันทึกคำพูดของอัครทูตเปโตรซึ่งลุกขึ้นกล่าวเป็นตัวแทนของผู้เชื่อในขณะนั้นว่า
29 "พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้ามีใจกล้าที่จะกล่าวแก่ท่านทั้งหลายถึงดาวิดบรรพบุรุษขของเราว่าท่านสิ้นชีวิตแล้วฝังไว้ และอุโมงค์ฝังศพของท่านยังอยู่กับเราจนถึงทุกวันนี้
30 ท่านเป็นผู้เผยพระวจนะ และทราบว่าพระเจ้าตรัสสัญญาไว้แก่ท่านด้วยพระปฏิญาณว่า พระองค์จะทรงประทานผู้หนึ่งในวงศ์ตระกูลของท่านให้ประทับบนพระที่นั่งของท่าน

อัครทูตเปโตรสรุปคำกล่าวของดาวิดที่บันทึกในสดุดี 16 ไว้อย่างชัดแจ้งว่า ผู้ที่ดาวิดกล่าวถึงนั้น หมายถึง "พระคริสต์" กษัตริย์ดาวิดสิ้นพระชนม์ไปแล้วและทรงเปื่อยเน่าไปแล้ว ถูกฝังไว้แล้ว อุโมงค์ฝังศพก็ยังอยู่ทุกวันนี้ อัครทูตเปโตรยืนยันชัดเจน เป็นสิ่งที่คนยิวที่ฟังย่อมรู้ดีแก่ใจ
และ ใน ข้อ 31-32 เปโตรบอกต่อไปอีกว่า
31 กษัตริย์ดาวิดก็ทรงล่วงรู้เหตุการณ์นี้ก่อน จึงทรงกล่าวถึงการคืนพระชนม์ของพระคริสต์ว่า พระเจ้ามิได้ทรงละพระองค์ไว้ในแดนคนตายทั้งพระมังสะของพระองค์ก็ไม่เปื่อยเน่าไป
32 พระเยซูนี้พระเจ้าได้ทรงบันดาลให้คืนพระชนม์แล้ว ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นพยานในข้อนี้
นั่นคือ เปโตรบอกว่า ดาวิดรู้เหตุการณ์ล่วงหน้านี้ จึงกล่าวเป็น คำพยากรณ์ถึงการฟื้นคืนพระชนม์ของพระคริสต์ พระองค์ไม่ได้สิ้นพระชนม์แล้วเปื่อยเน่าอยู่ในหลุมฝังศพ
แต่ พระองค์เป็นขึ้นมาจากความตายแล้ว
อัครทูตเปโตรบอกว่า ข้าพเจ้ามีใจกล้าที่จะบอกเช่นนั้นและ เป็นตัวแทนผู้เชื่อในขณะนั้นกล่าวว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นพยานในเรื่องนี้ นั่นคือ ความมั่นใจที่ เปโตรกล่าวอย่างหนักแน่น
นั่นคือ การสื่อข่าวสารของพระคริสต์อย่างมั่นใจ อย่างหนักแน่นในเรื่องการฟื้นคืนพระขนม์ของพระเยซูคริสต์
เพราะเปโตรมีประสบการณ์พบพระคริสต์ด้วยตนเอง



คำถามที่เราต้องถามตนเองคือ วันนี้ประสบการณ์ใดที่เรามั่นใจจากชีวิตของเราว่าพระเยซูคริสต์ยังทรงพระชนม์อยู่ในชีวิตของเรา?


3.ข้อสรุปเพื่อประยุกต์ใช้
ในข้อ 33-35 อัครทูตเปโตรได้กล่าวต่อไปเป็นเนื้อหาข่าวประเสริฐคือ “การประทับบนสวรรค์ของพระคริสต์” ข้อ 33 ได้กล่าวอ้างถึงเหตุการณ์ ที่พวกเขาเห็นฤทธิ์เดชพระวิญญาณเทลงมาเหนือบรรดาผู้เชื่อที่ห้องชั้นบนทั้ง 120 คนนั้นว่า ได้เกิดขึ้นหลังจากที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์นั่นเอง ซึ่งเป็นไปตามที่พระเยซูได้ตรัสกับสาวกไว้เมื่อยังทรงดำเนินอยู่ท่ามกลางพวกเขาในโลกนี้ ใน ยน.16:7 นั่นคือ พระผู้ช่วย คือ พระวิญญาณจะเสด็จลงมา เมื่อพระเยซู เสด็จขึ้นประทับบนสวรรค์แล้ว เมื่อกล่าวมาถึงการเสด็จขึ้นไปยังสวรรค์
อัครทูตเปโตรกล่าวย้ำอีกครั้งในข้อ 34-35 ว่า สิ่งที่กษัตริย์ดาวิดพูดนั้น ไม่ได้หมายถึงตัวกษัติย์ดาวิดแต่ หมายถึง "พระคริสต์" เป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของพระเยซูคริสต์ ที่กางเขนนั้น ดูเหมือนเป็นที่ที่อับอายและพ่ายแพ้ ที่อุโมงค์ฝังศพของพระองค์นั้น ดูเหมือนเป็นจุดจบที่น่าสลดแต่ทว่า อย่างที่ไม่มีใครคาดคิด สาวกเองก็ลืมไปทั้ง ๆ ที่พระเยซูได้บอกไว้แล้ว พระองค์จะเป็นขึ้นมาจากความตาย
พระเยซูได้ทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย ไม่เพียงเท่านั้น พระองค์ได้ทรงถูกยกชูขึ้นสูงเหนือนามทั้งปวงทั่วใต้ฟ้า
ข้อ 35 บอกว่า จนกว่าเราจะกระทำให้ศัตรูของเจ้าอยู่ใต้เท้าเจ้า นั่นคือ ชัยชนะอย่างท่วมท้นของพระเยซูคริสต์
ข้อ 36 อัครทูตเปโตรได้กล่าวสรุปประการสุดท้าย ซึ่งเป็นเนื้อหาสาระข่าวสารของพระคริสต์ในที่นี้ว่า “พระเยซูคริสต์ทรงเป็นทั้ง องค์พระผู้เป็นเจ้าและเป็นพระผู้ช่วยให้รอด”….
การสรุปลงท้ายอย่างเด็ดขาดชัดเจนว่า เหตุฉะนั้นให้พงศ์พันธุ์อิสราเอลทั้งปวงทราบแน่นอนว่า พระเจ้าได้ทรงยกพระเยซูนี้ ซึ่งท่านทั้งหลายได้ตรึงไว้ที่กางเขนนั้น ทรงตั้งขึ้นให้เป็นทั้งองค์พระผู้เป็นเจ้าและเป็นพระคริสต์"
คำว่า “ทราบแน่นอน” หมายความว่า ขอให้รู้ว่า สิ่งที่เปโตรกล่าวมาทั้งหมดนั้น ควรรับไว้อย่างไม่ต้องลังเลหรือไม่แน่ใจว่า พระเยซูที่พวกเขาจับตรึงที่กางเขนนั้น เป็นทั้งองค์พระผู้เป็นเจ้า และ เป็นพระคริสต์ หรือ พระผู้ช่วยให้รอด ที่พวกเขาตั้งตารอคอย
ผู้อ่านทุกท่านครับ ขอให้แน่ใจเถิดว่า สิ่งที่อัครทูตเปโตรพูดและถูกบันทึกไว้ในหนังสือกิจการฯ ไม่มีสิ่งใดผิดพลาด ผมขอสรุปสิ่งที่เราต้องไปสื่อสารข่าวประเสริฐที่มีสาระดังต่อไปนี้

1. การสิ้นพระชนม์ของพระคริสต์ (23)
2. การฟื้นคืนพระชนม์ของพระคริสต์ (24-32)
3. การประทับบนสวรรค์ของพระคริสต์ (33-36)

และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือพระคริสต์ทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าและเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของเราทุกคนที่เชื่อ แม้ว่าจะมีคนมากมายที่พยายามโต้แย้งความจริงนี้

(ตัวอย่าง เรื่อง ข้อโต้แย้งเรื่องกางเขน จากหนังสือมานาประจำวัน วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม 2011)


มีคดีในศาลฎีกาสหรัฐฯ คดีหนึ่งที่พิจารณาว่าสัญลักษณ์ทางศาสนา โดยเฉพาะไม้กางเขน ควรจะได้รับอนุญาตให้ใช้ในสถานที่สาธารณะหรือไม่


มาร์ค เชอร์แมนนักเขียนของสำนักข่าว AP กล่าวว่า ถึงแม้ไม้กางเขนที่เป็นปัญหานี้จะตั้งขึ้นในปี 1934 เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงทหารที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่ทหารผ่านศึกกลุ่มที่ต่อต้านเรียกไม้กางเขนนี้ว่า “สัญลักษณ์อันทรงพลังของคริสเตียน” และ “ไม่ใช่สัญลักษณ์ของศาสนาอื่นใด”
เรื่องกางเขนเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันเสมอมา ในศตวรรษแรก เปาโลกล่าวว่าพระคริสต์ทรงส่งท่านมาเพื่อ “ประกาศข่าวประเสริฐ และมิใช่ด้วยชั้นเชิงอันฉลาดในการพูด เกรงว่าเรื่องกางเขนของพระคริสต์จะหมดฤทธิ์เดช คนทั้งหลายที่กำลังจะพินาศก็เห็นว่าเรื่องกางเขนเป็นเรื่องโง่ แต่พวกเราที่กำลังจะรอดเห็นว่าเป็นฤทธานุภาพของพระเจ้า” (
1 คร.1:17-18)


เราที่เป็นผู้ติดตามพระคริสต์เห็นว่าไม้กางเขนไม่ได้เป็นเพียงสัญลักษณ์อันทรงพลังของคริสเตียน แต่เป็นหลักฐานถึงฤทธิ์อำนาจของพระเจ้าที่ปลดปล่อยเราจากการเป็นทาสของความบาป


ในสังคมที่หลากหลายและมีความเชื่อแตกต่างกัน ข้อโต้แย้งระหว่างสัญลักษณ์ทางศาสนาต่างๆ จะยังคงมีอยู่ต่อไป ไม้กางเขนจะประดิษฐานในที่สาธารณะได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ศาลจะตัดสิน แต่การสำแดงฤทธานุภาพของกางเขนผ่านชีวิตของเรา เป็นสิ่งที่ใจเราต้องตัดสิน


ไม่มีสิ่งใดพูดถึงความรักของพระเจ้าได้ชัดเจนกว่าไม้กางเขน
คนที่เป็นพยานดีที่สุดคือคนที่เป็นพยานด้วยชีวิต ให้เราออกไปสื่อสารข่าวประเสริฐของพระคริสต์จากชีวิตที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงจากพระองค์ด้วยกัน


พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ


27 มกราคม 2555

ความหมายของเดือนเชิงการเผยพระวจนะ ประจำเดือนเชบัท (Shevat)

ความหมายของเดือนเชิงการเผยพระวจนะประจำเดือนเชบัท Shevatเดือนที่ 11ของปีฮีบรู (25ม.ค.–23ก.พ.12, ปีปฎิทินฮีบรู 5772)

นี่คือคู่มือการอธิษฐาน (หรือคู่มือแห่งพระพร) สำหรับเดือน Shevat เดือนที่ 11 ตามปฏิทินฮีบรู ขอจงได้รับพรเมื่อคุณได้อ่าน อธิษฐานตาม และประกาศพระพรเหล่านี้สู่ชีวิตของคุณและครอบครัว (เนื้อหามีที่มาจากบันทึกของข้าพเจ้าในปี 2006 ที่จดจากชุดคำสอน [CD] โดยอ.ชัค เพียซ [กลอรี่ออฟไซออน] ข้าพเจ้าแนะนำให้ท่านเยี่ยมชมเว็บไซต์ของอาจารย์เพื่อรับเนื้อหาอื่นๆที่มากขึ้นและคำอธิบายที่ลงลึกยิ่งขึ้น - รอน ซอว์คา (Ron Sawka))

1.เดือนของเผ่าอาเชอร์ เป็นเดือนที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดเรื่องความสุขและสิ่งที่ดีต่างๆ (ปฐมกาล 49:20 อาหารของอาเชอร์จะบริบูรณ์ และเขาจะผลิตเครื่องเสวยสำหรับกษัตริย์)พรของยาโคบที่ระบุไว้ว่าอาเชอร์จะมีชีวิตที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ทั้งจากอาหารและเครื่องเสวยสำหรับพระมหากษัตริย์ (นี่คือสิ่งที่พระเจ้าต้องการอวยพรสำหรับคุณในเดือนนี้)

2.อย่างไรก็ตาม ต้องระมัดระวังการปล่อยตัวปล่อยใจตามเนื้อหนัง(Overindulgence)(สุภาษิต 23:03 อย่าปรารถนาของโอชะของท่าน เพราะมันเป็นอาหารที่หลอกลวง)จงอ่านหนังสือของแดเนียล – บางทีคุณอาจจำเป็นที่จะต้องกระทำการ “อดอาหารอธิษฐานแบบดาเนียล”(กินเฉพาะพืชผัก ผลไม้และน้ำ)ดาเนียลไม่รับประทานอาหารสูงที่พระราชาประทานให้ (ดนล.1:10-12)


3. เดือนที่จะพัฒนาแผนเพื่อรักษาพงศ์พันธุ์ไว้รุ่นต่อรุ่น ซึ่งหมายถึงคนที่คุณเป็นผู้อภิบาลเขาอยู่ ต้นมะกอกของคุณจะออกดอกออกผลอย่างไร?

4.เดือนของตัวอักษรภาษาฮีบ​​รู ซาเดะ(tsade) ความชอบธรรมของคุณกลายเป็นรากฐานของคุณ คุณเชื่อมต่อกับต้นไม้ต่าง ๆ ในสวนของคุณ มีสวนอะไรบ้าง และใครได้รับการเพาะปลูกอยู่ที่นั่น? ต้นไม้ต่าง ๆ พร้อมที่จะออกผลแล้วหรือไม่?

5.เดือนของราศีกุมภ์,ผู้ถือคนโทน้ำ รากของคุณตื่นตัวขึ้นเข้าหาน้ำแห่งชีวิต แม่น้ำจะให้อาหารบำรุงแก่ราก (เราเป็นเหมือนต้นไม้ที่ปลูกไว้ริมธารน้ำ (สดุดี 1:3 เขาเป็นเช่นต้นไม้ที่ปลูกไว้ริมธารน้ำ ซึ่งเกิดผลตามฤดูกาล และใบก็ไม่เหี่ยวแห้ง การทุกอย่างซึ่งเขากระทำก็จำเริญขึ้น)

6.มองหาผู้ที่จะนำเหยือกน้ำให้คุณ คุณจะต้องตัดสินใจหลายอย่างจึงจะสามารถรับการรดน้ำในวิถีทางใหม่ ๆ จงวางใจในพระเจ้าที่พระองค์จะนำ ผู้ซึ่งจะทำการปรนนิบัติคุณมาหาคุณ ให้ศึกษาเรื่องราวของเรเบคาห์ในปฐมกาล 24 (เธอได้นำน้ำมาให้เอลีเซอร์ (คนรับใช้ของอับราฮัม)ดื่ม ซึ่งนำไปสู่​​การแต่งงานของเธอกับอิสอัค)และศึกษาเรื่องหญิงชาวสะมาเรียในยอห์น 4 (ผู้มาตักน้ำที่บ่อน้ำพุ และได้รับน้ำแห่งชีวิต)


7.เดือนที่จะต้องป่าวร้องออกไป "พรที่เป็นของฉันกำลังจะมาถึง"มีการป่าวร้องอยู่ภายในคุณว่า "ความกระหายที่ฉันมีจะได้รับการบรรเทา"

ยอห์น 7:37-39
37 ในวันสุดท้ายของงานเทศกาลซึ่งเป็นวันใหญ่นั้น พระเยซูทรงยืนและประกาศว่า "ถ้าผู้ใดกระหาย ผู้นั้นจงมาหาเราและดื่ม
38 ผู้ที่วางใจในเราตามที่มีคำเขียนไว้แล้วว่า "แม่น้ำที่มีน้ำธำรงชีวิต จะไหลออกมาจากภายในผู้นั้น""
39 สิ่งที่พระเยซูตรัสนั้นหมายถึงพระวิญญาณ ซึ่งผู้ที่วางใจในพระองค์จะได้รับ เหตุว่ายังไม่ได้ประทานพระวิญญาณให้ เพราะพระเยซูยังมิได้ประสบเกียรติกิจ

8.เดือนนี้เป็นเดือนแห่งปีใหม่ของต้นไม้ต่าง ๆ จงเลือกที่จะกินจากต้นไม้แห่งชีวิต (ปฐมกาล 3:22 แล้วพระเจ้าตรัสว่า "ดูเถิดมนุษย์มาเป็นเหมือนผู้หนึ่งในพวกเราแล้ว โดยที่รู้สำนึกในความดีและความชั่ว บัดนี้ อย่าปล่อยให้เขายื่นมือไปหยิบผลต้นไม้แห่งชีวิตมากิน แล้วมีอายุยืนชั่วนิรันดร์")จงสังเกต ต้นปา​​ล์มทั้ง 70ต้นที่ตำบลเอลิม (Elim)(อพยพ 15:27 พวกเขามาถึงตำบลเอลิม ที่มีบ่อน้ำพุสิบสองบ่อ มีต้นอินทผลัมเจ็ดสิบต้น พวกเขาจึงตั้งค่ายใกล้บ่อน้ำนั้น)เราเป็นเหมือนต้นมะกอกเขียวสดในพระนิเวศของพระเจ้า (สดด.52:8) เราเป็นต้นไม้ที่พระเจ้าทรงปลูกไว้(อสย.60:21,61:3)

สดุดี 52:8 ฝ่ายข้าพเจ้าเป็นเหมือนต้นมะกอกเขียวสด ในพระนิเวศของพระเจ้า ข้าพเจ้าวางใจในความรักมั่นคงของพระเจ้า เป็นนิจกาล

อิสยาห์ 60:21ชนชาติของเจ้าจะชอบธรรมทั้งสิ้น เขาจะได้ที่ดินนั้นเป็นกรรมสิทธิ์เป็นนิตย์ หน่อที่เราปลูก และผลงานแห่งมือของเรานั้น เพื่อเราจะสำแดงพระสิริ

อิสยาห์ 61:3เพื่อจัดให้บรรดาผู้ที่ไว้ทุกข์ในศิโยน เพื่อประทานมาลัยแทนขี้เถ้าให้เขา น้ำมันแห่งความยินดีแทนการไว้ทุกข์ ผ้าห่มแห่งการสรรเสริญแทนจิตใจที่ท้อถอย เพื่อคนจะเรียกเขาว่าต้นก่อหลวงแห่งความชอบธรรมที่ซึ่งพระเจ้าทรงปลูกไว้เพื่อพระองค์จะทรงสำแดงพระสิริของพระองค์

9.เดือนนี้เป็นเดือนที่ดีในการเข้าร่วมรับประทานอาหาร การอดอาหารแบบดาเนียลของคุณจะจบแล้ว และพระเจ้าจะสำแดงว่าจะรับประทานอาหารในแบบที่แตกต่างออกไปได้อย่างไร ขอพระเจ้าที่จะช่วยคุณว่าจะรับประทานอะไร หรือ รับประทานอย่างไร


10.เดือนแห่งกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ซึ่งมีนัยว่า สิ่งที่คุณกินนั้นสร้างชีวิตของคุณและทะนุบำรุงอนาคตของคุณ ถ้าคุณรับประทานพระวจนะของพระเจ้า คุณก็จะสามารถแยกแยะเข้าใจสิ่งที่พระเจ้าให้กับคุณในเชิงพยากรณ์ จงมุ่งมั่นใช้เวลามากเป็นพิเศษในการอ่านพระวจนะของพระเจ้าในเดือนนี้


11.จงแน่ใจว่าคุณได้รับประทานพระคำของพระเจ้า (สดุดี 34:8 ขอเชิญชิมดูแล้วจะเห็นว่า พระเจ้าประเสริฐคนที่ลี้ภัยอยู่ในพระองค์ก็เป็นสุข) แล้วคุณจะสามารถที่จะแยกแยะการเปิดเผยสำแดงใหม่ที่เข้ามา ถ้าเราไม่ทราบถึงความดีงามของพระเจ้า เราก็มีแนวโน้มที่จะพลาดการเปิดเผยสำแดงที่พระองค์ต้องการจะให้เรา

(ข้อมูลจาก :http://arise5.com/#/hebrew-months )

ขอขอบคุณผู้แปลโดย เอกจิต จรุงพรสวัสดิ์

25 มกราคม 2555

Shevat, the 11th Hebrew Month


Shevat, the 11th Hebrew Month
(January 25–February 23, Hebrew year 5772)
This is the prayer (or blessing) guide for Shevat, the eleventh month of the Hebrew year. Be blessed as you read, pray through, and declare these blessings for yourself and your family. (The material comes from my 2006 notes taken from a series of lectures [on CD] given by Chuck Pierce [Glory of Zion]. I highly recommend his website for more materials and more in-depth explanations. —Ron Sawka)



  1. 1. The month of the tribe of Asher. It’s connected to the ideas of pleasure and good things. In Genesis 49:20, Jacob’s blessing stated Asher would have a life filled both with an abundance of food and delicacies fit for a king. (This is what God wants for you.)

  2. However, beware of overindulgence (See Proverbs 23:3). Read the book of Daniel—maybe you need to commit to a “Daniel fast.” (He wouldn’t eat the delicacies that the king provided.)

  3. This is a month to develop a plan to sustain the generations, the ones you mentor. How does your olive tree blossom?

  4. The month of the Hebrew letter tsade (“tz” sound). Your righteousness becomes your foundation. You connect with the trees in your field. What fields are there—who is planted there? Are the trees ready to bear fruit?

  5. The month of Aquarius, the water carrier. Your roots awaken to the water of life. The river nourishes the roots. (We are like a tree, planted by a river [Psalm 1:3].)

  6. Look for those who are bringing pitchers of water to you. Many decisions will be made so you can be watered in a new way. Trust the Lord to bring you people who will minister to you. Study the stories of Rebecca in Genesis 24 (she brought water for Eliezer, which led to her marrying Isaac) and the Samaritan woman in John 4 (who came for well water, but received the water of life).

  7. This is a month to shout, “My blessings are on the way!” There is a shout inside of you that “my thirst will be quenched” (see John 7:37–39).

  8. This is a month of the new year of trees. Choose to eat of the tree of life (Gen. 3:22). Note the seventy palm trees at Elim (Exod. 15:27). We are like a green olive tree in house of God (Ps. 52:8); we are the planting of the Lord (Isa. 60:21, 61:3).

  9. It is a good month to partake of food. You will end your Daniel fast, and God will show you how to eat in a different way. Ask the Lord to help you in how/what you eat.

  10. The Month of the stomach and the esophagus. In other words, what you eat produces the life or nourishment for your future. If you consume the word of God, then you can digest what God gives you prophetically. Be sure to spend extra reading the Word of God this month.

  11. Be sure to eat the word. “Taste and see that the Lord is good” (Ps 34:8). Then, you will be able to digest new revelation that comes. If we don’t know the goodness of the Lord, we will tend to miss revelation that He wants to give us.
http://arise5.com/#/hebrew-months

20 มกราคม 2555

Acts 2:1-21_คริสตจักรที่ “ทำตาม”พระบัญชา(Total obedience)

ศึกษาพระธรรมกิจการของอัครทูต
คริสตจักร “ต้นแบบ” ตามพระบัญชา


1 เมื่อวันเทศกาลเพ็นเทคอสต์ {แปลว่า ที่ห้าสิบ เป็นเทศกาลภายหลังวันเริ่มเทศกาลขนมปังไร้เชื้อ50วัน} มาถึง จำพวกศิษย์จึงรวมอยู่ในที่แห่งเดียวกัน
2 ในทันใดนั้นมีเสียงมาจากฟ้าเหมือนเสียงพายุกล้าสั่นก้องทั่วตึกที่เขานั่งอยู่นั้น
3 มีเปลวไฟสัณฐานเหมือนลิ้นปรากฏแก่เขากระจายอยู่บนเขาสิ้นทุกคน
4 เขาเหล่านั้นก็ประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ จึงตั้งต้นพูดภาษาอื่นๆตามที่พระวิญญาณทรงโปรดให้พูด
5 มีพวกยิวจากทุกประเทศทั่วใต้ฟ้าซึ่งเป็นผู้เกรงกลัวพระเจ้า มาอยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม
6 เมื่อมีเสียงอย่างนั้นเขาจึงพากันมา และฉงนสนเท่ห์เพราะต่างคนต่างได้ยินเขาพูดภาษาของตัว
7 คนทั้งปวงจึงประหลาดและอัศจรรย์ใจพูดว่า "ดูแน่ะ คนทั้งหลายที่พูดกันนั้นเป็นชาวกาลิลีทุกคนไม่ใช่หรือ
8 เหตุไฉนเราทุกคนได้ยินเขาพูดภาษาของบ้านเกิดเมืองนอนของเรา
9 เช่นชาวปารเธียและมีเดีย ชาวเอลามและคนที่อยู่ในเขตแดนเมโสโปเตเมีย และแคว้นยูเดียและแคว้นคัปปาโดเซีย ในแคว้นปอนทัสและเอเชีย
10 ในแคว้นฟรีเจีย แคว้นปัมฟีเลียและประเทศอียิปต์ในแขวงเมืองลิเบียซึ่งขึ้นกับนครไซรีน และคนมาจากกรุงโรม ทั้งพวกยิวกับคนเข้าจารีตยิว
11 ชาวเกาะครีตและชาวอาระเบีย เราทั้งหลายต่างก็ได้ยินคนเหล่านี้กล่าวถึงมหกิจของพระเจ้า ตามภาษาของเราเอง"
12 เขาทั้งหลายจึงอัศจรรย์ใจ และฉงนสนเท่ห์พูดกันว่า "นี่อะไรกัน"
13 แต่บางคนเยาะเย้ยว่า "คนเหล่านั้นเมาเหล้าองุ่นใหม่"
14 ฝ่ายเปโตรได้ยืนขึ้นกับอัครทูตสิบเอ็ดคน และได้กล่าวแก่คนทั้งปวงด้วยเสียงอันดังว่า "ท่านชาวยูเดียและบรรดาคนที่อยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม จงทราบเรื่องนี้และฟังถ้อยคำของข้าพเจ้าเถิด
15 ด้วยว่าคนเหล่านี้มิได้เมาเหล้าองุ่นเหมือนอย่างที่ท่านคิดนั้น เพราะว่าเป็นเวลาสามโมงเช้า
16 แต่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตามคำซึ่งโยเอลผู้เผยพระวจนะได้กล่าวไว้ว่า
17 "พระเจ้าตรัสว่าในวาระสุดท้าย เราจะเทฤทธิ์เดชแห่งพระวิญญาณของเราโปรดประทานแก่มนุษย์ทั้งปวง บุตราบุตรีของท่านทั้งหลายจะกล่าวคำพยากรณ์ คนหนุ่มของท่านจะเห็นนิมิต และคนแก่จะฝันเห็น
18 ในคราวนั้น เราจะเทฤทธิ์เดชแห่งพระวิญญาณของเราบนทาสทาสีของเรา และคนเหล่านั้นจะกล่าวคำพยากรณ์
19 เราจะสำแดงการอัศจรรย์ในอากาศเบื้องบน และนิมิตที่แผ่นดินเบื้องล่าง เป็นเลือด ไฟ และไอควัน
20 ดวงอาทิตย์จะมืดไป และดวงจันทร์จะกลับเป็นเลือด ก่อนถึงวันใหญ่นั้น คือวันใหญ่ยิ่งของพระเจ้า
21 และจะเป็นเช่นนี้คือ ทุกคนซึ่งได้ออกพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้าจะรอด


อารัมภบท

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน ตอนนี้เป็นตอนที่3ในการศึกษาพระธรรมกิจการฯร่วมกัน ซึ่งถือเป็นตอนจบของ Series แรกคือการเป็นคริสตจักรตามพระบัญชาของพระเจ้าที่มาจากการน้อมรับ ยอมจำนน และเชื่อฟังทำตามพระบัญชาอย่างสุดใจ ซึ่งผู้อ่านสามารถไปอ่านในตอนที่ 1คือ

คริสตจักรที่ “น้อมรับ” พระบัญชา(Total commitment)และตอนที่ 2 คริสตจักรที่ “ยอมจำนน”ตามพระบัญชา(Total surrender) และตอนที่ 3 กจ. 2:1-21 นี้ ผมขอให้ชื่อว่า คริสตจักรที่ “ทำตาม”พระบัญชา(Total obedience) เป็นการสำแดงความเชื่อฟังพระบัญชาออกมาเป็นการกระทำ เหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยน(Turning point)ครั้งสำคัญของการรับใช้ของคริสตจักรในสมัยนั้น เพราะเคลื่อนไปด้วยฤทธิ์เดชแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่เทลงมาตามพระสัญญาของพระเยซูคริสต์ ในครั้งนี้เราได้รับการเรียนรู้สิ่งใดบ้าง เราจะมาศึกษาไปด้วยกัน



1.ข้อสังเกตเพื่อใคร่ครวญ

สิ่งแรกที่เราสามารถสังเกตได้คือการ“คาดหวังการเต็มล้นอย่างเป็นหนึ่งเดียว”ของบรรดาสาวกที่เฝ้าอธิษฐานที่ห้องชั้นบน แลเห็นผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น นั่นคือการเทศลงมาของพระวิญญาณบริสุทธิ์ในช่วงเทศกาลวันเพ็นเทคอสต์(Pentecost)
วิลเลี่ยม แคร์รี่ (William Carey) มิชชั่นนารีชาวอังกฤษที่ไปประกาศในประเทศอินเดียกล่าวไว้ว่า "เมื่อเราคาดหวังสิ่งยิ่งใหญ่จากพระเจ้า เราต้องทำสิ่งที่ใหญ่ยิ่งเพื่อพระองค์ด้วย"
(Expect great things; attempt great things,)
นั่นเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในการเต็มล้นด้วยพระวิญญาณและการออกไปประกาศข่าวประเสริฐเพื่อพระเจ้า
“เทศกาลเพ็นเทคอสต์” ที่กล่าวถึงนี้ เป็นเทศกาลของคนยิว ซึ่งมีขึ้น 50 วัน หลังเทศกาลปัสกา(Passover) สำหรับคนยิวจะมีเทศกาลหลักประจำปีอยู่ 3 เทศกาลด้วยกัน คือ

1.“เทศกาลปัสกา” หรือ บางทีเรียกว่า “เทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อ”
2. “เทศกาลเลี้ยงฉลองการเก็บเกี่ยว” หรือ “เทศกาลเพ็นเทคอสต์”ตามภาษาเดิมเรียกว่า เพนเทคศเต

3. “เทศกาลอยู่เพิง” หรือ บางทีเรียกว่า “เทศกาลฉลองการเก็บพืชผล”


“เทศกาลเพ็นเทคอสต์” นั้น ก็คือ เทศกาลเลี้ยงฉลองการเก็บเกี่ยว เป็นการฉลองที่เต็มไปด้วยความชื่นชมยินดี โดยมีการฉลองหลังจากเทศกาลปัสกา 50 วัน จึงได้ชื่อเรียกว่า “เทศกาลเพ็นเทคอสต์” ซึ่งเป็นคำทับศัพท์ที่แปลว่า “ที่ห้าสิบ” เป็นที่น่าสังเกตว่า วันเพ็นเทคอสต์มีขึ้น 50 วัน หลังจากพระเยซู ผู้ทรงเป็นลูกแกะปัสกาที่ได้สละพระองค์ดุจเครื่องสัตวบูชาไถ่บาป และวันเพนเทคศเตนี่เอง เป็นวันสำคัญที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ ได้เทลงมา เหนือคน 120 คน และ เป็นวันกำเนิดของคริสตจักรอย่างเป็นทางการ และเป็นการตั้งเวลานับถอยหลังเริ่มจากยุดสุดท้ายจนถึงวันสิ้นยุคที่เหล่าสาวกต้องออกไปประกาศข่าวประเสริฐตามพระมหาบัญชาของพระคริสต์(มธ.28:18-20)
18 พระเยซูจึงเสด็จเข้ามาใกล้แล้วตรัสกับเขาว่า "ฤทธานุภาพทั้งสิ้นในสวรรค์ก็ดี ในแผ่นดินโลกก็ดีทรงมอบไว้แก่เราแล้ว
19 เหตุฉะนั้นเจ้าทั้งหลายจงออกไปสั่งสอนชนทุกชาติ ให้เป็นสาวกของเรา ให้รับบัพติศมาในพระนามแห่งพระบิดา พระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์
20 สอนเขาให้ถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกเจ้าไว้ นี่แหละเราจะอยู่กับเจ้าทั้งหลายเสมอไป จนกว่าจะสิ้นยุค"

ดังนั้นสาวกจำนวน 120 คน ในวันเพ็นเทคอสต์จึงเปรียบเสมือนเป็น พืชผลแรกของคริสตจักรของพระเยซูนั่นเอง จึงเห็นชัดเจนว่า เทศกาลของชาวยิวในพระคัมภีร์เดิมนั้น เป็นเงาสะท้อนเพื่อเล็งถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในพระคัมภีร์ใหม่ ใน กจ.2:1 บอกว่า ในวันเพ็นเทคอสต์นั้นเอง จำพวกศิษย์จึงรวมอยู่ในที่แห่งเดียวกัน “ที่แห่งเดียวกัน” นั้น อาจเป็นบ้านของยอห์น มาระโก ซึ่งเป็นที่ที่พระเยซูกับบรรดาสาวกมักจะอยู่ร่วมกันเสมอ ๆ และ ในการอยู่รวมกันในวันเพ็นเทคอสต์นั่นเอง ที่พระวิญญาณ ได้เสด็จลงมา นี่จึงเป็นภาพของการคาดหวังการเต็มล้นร่วมกัน ซึ่งเป็นลักษณะของคริสตจักรที่มีรากฐานถูกต้อง ที่เห็นคุณค่าและความสำคัญของการรับพระวิญญาณบริสุทธิ์ ตามคำกำชับที่พระเยซูได้สั่งให้รอคอยที่กรุงเยรูซาเล็มจนกว่า จะได้รับพระราชทานฤทธิ์เดชจากพระวิญญาณบริสุทธิ์นั่นเอง


คำว่า “รวมอยู่” ให้ความหมายในลักษณะของการอยู่รวมกันอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน การรวมตัวกันอยู่ในที่แห่งเดียวกันนั้น จึงไม่ใช่อยู่รวมกันแต่เพียงกายภาพภายนอกเท่านั้น แต่มีจิตใจที่คาดหวังรอคอยการเทของพระวิญญาณบริสุทธิ์ร่วมกันอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เป็นการเตรียมจิตเตรียมใจรอคอย ด้วยความคาดหวังร่วมกัน ด้วยความเชื่อร่วมกันว่า สิ่งที่พระเยซูสัญญาไว้จะเป็นจริง การเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันนี้ เป็นเหตุให้พระเจ้าบังคับบัญชา พระพรลงมา ดังที่ สดด. 133 ได้กล่าวไว้เช่นนั้นว่า… 1 ดูเถิด ซึ่งพี่น้องอาศัยอยู่ด้วยกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ก็เป็นการดี และน่าชื่นใจมากสักเท่าใด 2 เหมือนน้ำมันประเสริฐอยู่บนศีรษะไหลอาบลงมาบนหนวดเครา บนหนวดเคราของอาโรน ไหลอาบลงมา บนคอเสื้อของท่าน 3 เหมือนน้ำค้างของภูเขาเฮอร์โมน ซึ่งตกลงบนเทือกเขาศิโยน เพราะว่าพระเจ้าทรงบังคับบัญชาพระพรที่นั่น คือ ชีวิตจำเริญเป็นนิตย์


หลักการแห่งการเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันนั้น เกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในคริสตจักรเป็นเหตุให้พระเจ้าอวยพระพรได้ คริสตจักรแรกนั้นมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันอย่างโดดเด่น เช่น


เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในความเชื่อความคาดหวัง

กจ. 2:1 เมื่อวันเทศกาลเพ็นเทคศเตมาถึง จำพวกศิษย์จึงรวมอยู่ในที่แห่งเดียวกัน

เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการสามัคคีธรรม

กจ. 2:46 เขาได้ร่วมใจกันไปในพระวิหาร และหักขนมปังตามบ้านของเขา ร่วมรับประทานอาหารด้วยความชื่นชมยินดี และใจกว้างขวางทุกวันเรื่อยไป

เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการอธิษฐาน

กจ. 4:24 เมื่อเขาทั้งหลายได้ฟังจึงพร้อมใจกันเปล่งเสียงทูลพระเจ้า ว่า "ข้าแต่พระเจ้า พระองค์ได้ทรงสร้างฟ้าสวรรค์แผ่นดินโลก ทะเลและสรรพสิ่งที่มีอยู่ในที่เหล่านั้น

เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการแบ่งปันสิ่งของ

กจ. 4:32 คนทั้งปวงที่เชื่อนั้นเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และไม่มีใครอ้างว่าสิ่งของที่ตนมีอยู่เป็นของตนแต่ทั้งหมดเป็นของกลาง

เราสังเกตเห็นได้ว่า การเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันจึงเป็นพลังที่ขับเคลื่อนคริสตจักรในสมัยแรก แต่น่าแปลกใจที่คริสตจักรในสมัยหลังกลับต่างคนต่างแยกกันรับใช้ ไม่ค่อยรวมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
ครั้งหนึ่ง ดี แอล มูดดี้ (D.L.Moody) ต้องการสอนความจริงเกี่ยวกับชีวิตที่พร้อมรับการเทลงมาของพระวิญญาณบริสุทธิ์ โดยตั้งคำถามว่า “ทำอย่างไร จึงจะนำอากาศออกจากแก้วน้ำที่ว่างเปล่านี้ได้” ชายคนหนึ่งตอบว่า “ก็ใช้เครื่องดูดอากาศดูดออกสิ” มูดดี้กล่าวว่า “โอ.. ถ้าเช่นนั้น อาจจะทำให้แก้วน้ำปราศจากอากาศก็จริง แต่แก้วนี้ก็จะต้องแตกละเอียดอย่างแน่นอน” มูดดี้จึงหยิบเหยือกน้ำขึ้นมา แล้วรินน้ำลงไปในแก้วน้ำที่ว่างเปล่านั้นอยู่จนน้ำเต็มและล้น แล้วตอบว่า “นี่อย่างไร เท่านี้ อากาศก็ถูกไล่ออกไปจากแก้วจนหมด”
นั่นเป็นความจริง
เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์เต็มล้นเข้ามาแทนที่ความบาปก็จะไม่สามารถอยู่ได้ในชีวิตของเรา เมื่อคริสตจักรเต็มล้นด้วยพระวิญญาณอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันจะเกิดพลังที่ขับไล่ความอธรรมออกไปได้

2.ข้อคิดสะกิดใจ
(กจ2:2-3)ข้อ 2 บอกว่า …ในทันใดนั้นมีเสียงมาจากฟ้าเหมือนเสียงพายุกล้าสั่นก้องทั่วตึกที่เขานั่งอยู่นั้น
นั่นเป็นประสบการณ์ครั้งแรกของผู้เชื่อที่ได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นประสบการณ์ที่สัมผัสได้อย่างชัดเจนทางกายภาพ
ข้อ 3 …มีเปลวไฟสัณฐานเหมือนลิ้นปรากฏแก่เขากระจายอยู่บนเขาสิ้นทุกคน
นายแพทย์ลูกาได้บรรยายให้เห็นว่า ไม่เพียงแต่จะมีเสียงเหมือนเสียงพายุกล้าสั่นก้องทั่วตึกที่พวกเขานั่งอยู่ ยังมีเปลวไฟสัณฐานเหมือนลิ้นปรากฏกระจายอยู่บนพวกเขาด้วย นี่คือ สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงการทรงสถิตของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ไม่ว่าจะเป็น “ลม” หรือ
“ไฟ”
คำว่า “ฟ้า” ในภาษากรีกใช้ทั้งหมายถึง “ฟ้า” และ “สวรรค์” และ ข้อนี้บอกว่า เหมือน นั่นคือ ไม่ใช่เสียงของพายุ แต่เหมือนเสียงของพายุ เหมือนเสียงของลมที่พัดมาอย่างแรงดุจพายุ
คำว่า “พายุ หรือ ลม” ที่ใช้ในที่นี้ ในภาษากรีกหมายถึงทั้ง
‘ลม’และ ‘พระวิญญาณบริสุทธิ์’
ลมนั้น จึงเป็นสัญลักษณ์ของฤทธิ์เดชพระวิญญาณบริสุทธิ์ และ หมายถึง
การทรงสถิตที่ไม่อาจเห็นด้วยตาเปล่า
พระเยซูได้ตรัสเปรียบเทียบพระวิญญาณบริสุทธิ์กับลมไว้เช่นนั้น ใน
ยน. 3:8 …
“ลมใคร่จะพัดไปข้างไหนก็พัดไปข้างนั้น และท่านได้ยินเสียง ลมนั้น แต่ท่านไม่รู้ว่าลมมาจากไหนและไปที่ไหน คนที่บังเกิดจากพระวิญญาณ ก็เป็นอย่างนั้นทุกคน"

ดังนั้น เหตุการณ์ครั้งนั้น ไม่ใช่ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ เพราะขณะนั้น ไม่มีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของฟ้าแลบ ฟ้าร้องหรือ พายุฝนแต่อย่างใด แต่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการทรงสถิตของพระวิญญาณ
นอกจากนั้น ลูกายังบรรยายอีกว่า มีไฟสัณฐานเหมือนลิ้น(แมลงชนิดหนึ่ง)ปรากฏอยู่บนพวกเขาสิ้นทุกคน
คำว่า “ไฟสัณฐานเหมือนลิ้น” เป็นการบรรยายให้เห็นว่า
มีบางสิ่งที่คล้ายกับเปลวไฟซึ่งแผ่กระจายบนผู้เชื่อในขณะนั้น
ข้อคิดคือ
ประสบการณ์การรับพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเกิดขึ้นกับแต่ละบุคคล
ข้อนี้บอกว่า ไม่เพียงแต่พวกเขารวมตัวอยู่ในที่แห่งเดียวกัน มีใจคาดหวังรอคอยร่วมกัน แต่พวกเขายังได้รับประสบการณ์แห่งการเต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นรายบุคคล เป็นส่วนตัวของแต่ละคน
ทุกคนจำเป็นต้องมีชีวิตเต็มล้นด้วยพระวิญญาณจึงไม่ใช่เฉพาะผู้นำเท่านั้น ที่ต้องเต็มล้นด้วยพระวิญญาณ ไม่ใช่เฉพาะผู้ทำการพระเจ้าเท่านั้น ที่ต้องเต็มล้นด้วยพระวิญญาณแต่ทุกคนต้องรับประสบการณ์แห่งการเติมให้เต็มและล้นด้วย พระวิญญาณบริสุทธิ์
แม้ว่าประสบการณ์นั้น อาจจะไม่เหมือนกับที่ผู้เชื่อ 120 คนได้รับ เพราะนั่นเป็นเหตุการณ์เฉพาะเจาะจงที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
แต่ไม่ได้หมายความทุกคน หรือ ทุกครั้งว่า รายละเอียดแห่งประสบการณ์รับพระวิญญาณนั้น ทุกอย่างต้องเหมือนกัน
ดังนั้นประสบการณ์จึงไม่ใช่หลักการ หลักการคือผู้ที่เชื่อและคาดหวังจะได้รับการเต็มล้นด้วยพระวิญญาณฯ แต่เป็นหมายสำคัญที่ทำให้เราตระหนักว่าพระเจ้าทรงสถิตอยู่ ซึ่งหมายสำคัญนั้นมีหลายประการคือ การพูดภาษาต่าง ๆ ตามที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงโปรดให้พูด
“การรับพระราชทานฤทธิ์เดชแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์” เป็นคำสั่งที่พระเจ้าให้คริสเตียนทุกคนคาดหวังได้รับ เพราะการรับพระวิญญาณบริสุทธิ์นั้น เกี่ยวข้องกับการทำตาม พระมหาบัญชาของพระเยซูที่สั่งทุกคนให้เชื่อฟังและทำด้วยกัน
กจ.1:8 “แต่ท่านทั้งหลายจะได้รับพระราชทานฤทธิ์เดช เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์จะเสด็จมาเหนือท่าน และท่านทั้งหลายจะเป็นพยาน ฝ่ายเราในกรุงเยรูซาเล็ม ทั่วแคว้นยูเดีย แคว้นสะมาเรีย และจนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก"
นั่นคือ พระเยซูไม่ได้ตรัสกับเพียงบางคน แต่ตรัสกับผู้เชื่อทุกคนให้รอคอยจนกว่าจะได้รับพระราชทานฤทธิ์เดชแห่งพระวิญญาณ
อัครทูตเปาโลเป็นตัวอย่างที่ดีของการดำเนินชีวิตในพระวิญญาณเสมอ ท่านจึงสั่งให้พี่น้องที่เอเฟซัสมีชีวิตที่เต็มล้นด้วยพระวิญญาณเสมอ
เอเฟซัส 5:18
…จงประกอบด้วยพระวิญญาณ
คำว่า “จงประกอบด้วยพระวิญญาณ” นี้ ลักษณะคำในภาษากรี
กเป็นคำสั่ง แสดงว่า ไม่ใช่จะเลือกที่จะเต็มล้นก็ได้ ไม่เต็มล้นก็ได้และ คำนี้ยังพหูพจน์ แสดงว่า ไม่ใช่คนใด คนหนึ่ง แต่ทุกคนต้องเชื่อฟังคำสั่งนี้
นอกจากนั้น ลักษณะไวยากรณ์แสดงให้เห็นว่า ยังต้องเป็น ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นเรื่อยไป
นั่นคือ การเต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ไม่ได้เป็นประสบการณ์เพียงครั้งเดียว แต่ต้องเต็มล้นครั้งแล้วครั้งเล่า
คริสตจักรแรกก็เป็นอย่างนั้น พวกเขาประกอบด้วยพระวิญญาณ หรือ เต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ครั้งแล้วครั้งเล่า เช่น …
กจ. 4:8 เปโตรเต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ กล่าวพระวจนะด้วยใจกล้าหาญ
กจ. 4:31 ผู้เชื่อรวมตัวกันอธิษฐาน ข้อนี้บอกว่า แล้วคนเหล่านั้นก็ประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์


คำถามคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เรามีชีวิตที่เต็มล้นด้วยพระวิญญาณหรือไม่?
อฟ. 5:18-21 ได้ให้ข้อสังเกตว่า อย่างน้อยคนที่เต็มล้นด้วยพระวิญญาณนั้น ต้องมีลักษณะชีวิตอย่างน้อย 3 สิ่ง
สิ่งที่ 1 ข้อ 19 บอกว่า เป็นคนที่เสียงแห่งการนมัสการสรรเสริญอยู่ในชีวิตเสมอ …จงปราศรัยกันด้วยเพลงสดุดี เพลงนมัสการ และเพลงสรรเสริญ คือร้องเพลงสรรเสริญและสดุดีจากใจของท่าน ถวายองค์พระผู้เป็นเจ้า
สิ่งที่ 2 ข้อ 20
บอกว่า เป็นคนที่ขอบพระคุณพระเจ้าเสมอใน ทุกกรณี …จงขอบพระคุณพระเจ้าคือพระบิดาสำหรับสิ่งสารพัดเสมอในพระนามของพระเยซูคริสตเจ้าของเรา
และ สิ่งที่ 3
ข้อ 21 บอกว่า เป็นคนที่มียอมฟังผู้อื่น จงยอมฟังกันและกันด้วยความเคารพในพระคริสต์
ให้เราลองสำรวจดูว่า เรามีลักษณะชีวิตทั้ง 3 อย่างนี้หรือไม่และมีมากเพียงไร?

เพราะนี่เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถบอกได้ว่า เรามีชีวิตที่เต็มล้นด้วยพระวิญญาณฯ


เราจะมาศึกษาต่อไปจนจบในกจ.4-21 ได้บรรยายต่อไปให้เราได้เห็นว่า …
คริสตจักรที่ทำตามพระบัญชาจะอยู่ภายใต้การควบคุมโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์

ข้อ 4-10 ได้บรรยายให้เห็นผลว่าเมื่อรับพระวิญญาณ คือ “มีชีวิตอยู่ภายใต้พระวิญญาณบริสุทธิ์”
สิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ชีวิตอยู่ภายใต้พระวิญญาณบริสุทธิ์ ก็คือ “การถูกควบคุมคำพูด หรือ ลิ้น”
เพราะ ข้อ 4 บอกว่า …เขาเหล่านั้นก็ประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์จึงตั้งต้นพูด ภาษาอื่นๆ ตามที่พระวิญญาณทรงโปรดให้พูด
นั่นคือ ลิ้นถูกควบคุมให้พูดในสิ่งที่พระวิญญาณทรงโปรดให้พูด
คำว่า “ประกอบ” ความหมายในภาษากรีก หมายถึง การเต็ม หรือ เปี่ยมล้น


ดังนั้น เมื่อพระคัมภีร์ใช้คำว่า ประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ จึงหมายถึง การเต็มล้น หรือ เต็มเปี่ยมด้วยพระวิญญาณ
ข้อนี้บอกว่า หมายสำคัญที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า พวกเขาเต็มล้นด้วยพระวิญญาณ คือ การพูดภาษาต่าง ๆ ที่พระวิญญาณทรงโปรดให้พูด
ซึ่งเราได้เห็นอย่างชัดเจนว่า หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ทุกครั้งที่มีการรับพระวิญญาณบริสุทธิ์ จะมีหมายสำคัญที่เป็น พื้นฐานอย่างน้อยที่เห็นได้ชัดเจน คือ การพูดภาษาแปลก ๆ เช่น
กจ.8:17-18 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดกับชาวสะมาเรียเมื่อได้รับการวางมือจากเปโตรและยอห์น
17 เปโตรกับยอห์นจึงวางมือบนเขา แล้วเขาทั้งหลายก็ได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์
18 เมื่อซีโมนเห็นว่า คนเหล่านั้นได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ ด้วยการวางมือของอัครทูต จึงนำเงินมาให้อัครทูต โมนซึ่งเคยเป็นคนที่ทำวิทยาคม และ ได้กลับใจมาเชื่อพระเจ้า เมื่อได้เห็นเปโตรและยอห์นวางมือชาวสะมาเรียที่กลับใจเชื่อทำให้ได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ จึงอยากทำได้อย่างเปโตรกับยอห์นบ้าง
แสดงให้เห็นว่า ต้องเป็นหมายสำคัญที่ประจักษ์ชัด อย่างน้อยต้องเป็นการพูดภาษาตามที่พระวิญญาณทรงโปรดให้พูด นาอกจากนี้ยังมีอีกหลายเหตุการณ์ใน(กจ.10:44-46,19:6)
นั่นคือ หมายสำคัญของการมีชีวิตที่เต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ คือ การพูดภาษาพระวิญญาณหรือบางคนเรียกว่าพูดภาษาแปลกๆ(speak in tongue) ที่จริงแล้วไม่ใช่เรื่องแปลกเมื่อคนเข้าใจ แต่คนไม่เข้าใจคิดว่าแปลก จะเห็นได้มีการพูดภาษาต่างๆจนผู้ที่มาร่วมเทศกาลเพ็นเทคอสต์ในกรุงเยรูซาเล็มแปลกใจว่าคนเหล่านั้นที่เต็มล้มพูดภาษาของพวกเขาและบางคนไม่เข้าใจการเต็มล้นด้วยพระวิญญาณ คิดว่าเมาเหล้าองุ่น(กจ.2:5-15)ดังนั้น อัครทูตเปโตรจึงเทศนาจากพระธรรมโยเอลบทที่2 อธิบายให้เกิดความเข้าใจ

(สามารถอ่านบทความเรื่องเข้าใจประสบการณ์พระวิญญาณได้ที่ http://pattamarot.blogspot.com/2010/05/blog-post_17.html)


โดยสรุปข้อคิดจากตอนนี้ จะเห็นได้ว่า 2สิ่งนี่สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกัน คือ


1.ชีวิตที่อยู่ภายใต้การควบคุมของพระวิญญาณ เป็นการให้ลิ้นหรือคำพูดอยู่ภายใต้การควบคุมของพระวิญญาณ (ดังที่ ยก.3:2 บอกว่า คนที่ควบคุมวาจาได้ ก็ควบคุมทั้งตัวได้) ดังนั้น การที่คนได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ถูกควบคุมลิ้นให้พูดภาษาที่พระวิญญาณทรงโปรดให้พูด จึงเป็นหมายสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า มีชีวิตอยู่ภายใต้พระวิญญาณแล้วนั่นเอง
แต่ในเหตุการณ์กิจการบทที่ 2 ที่พระวิญญาณเทลงมาเหนือผู้เชื่อทำให้พูดภาษาต่าง ๆ ได้นั้น เป็นหมายสำคัญการรับพระวิญญาณ
ในข้อ5 ใช้คำว่า “ทั่วใต้ฟ้า” นั้น หมายถึงประเทศต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่รอบ ๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นี่เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ใจ ที่พระวิญญาณควบคุมลิ้นให้พูดภาษาต่างๆออกไป ฉะนั้นจะสังเกตได้ว่า หากพระวิญญาณควบคุม ผู้นั้นจะมีสติสัมปชัญญะควบคุมตนเองได้ไม่ได้เมาเหล้าองุ่น แม้อาการอาจจะคล้ายคนเมา แต่เขาไม่ได้เมา เมาเหล้าองุ่นอาจจะทำให้นิสัยเสีย แต่การเต็มล้นในพระวิญญาณทำให้นิสัยดี

2.ชีวิตที่สำแดงผลพระวิญญาณ ดังที่พระธรรมกาลาเทีย 5:22-23 ได้บรรยายรายชื่อผลของพระวิญญาณไว้ 9ประการ จะเป็นเรื่องของการพัฒนาลักษณะชีวิตตามผลพระวิญญาณ ส่วนการรับใช้จะเป็นการรับใช้ด้วยฤทธิ์เดชของพระวิญญาณเป็นของประทานในชีวิต(1คร.12) ฉะนั้นการเชื่อฟังพระบัญชาคือการทำตามการทรงนำของพระวิญญาณในชีวิที่สำแดงออกมาเป็นผลของลักษณะชีวิตและผลการกระทำคือการรับใช้ตามของประทานพระวิญญาณ


3.ข้อสรุปเพื่อประยุกต์ใช้

ผมขอสรุปโดยนำหลักการของอัครทูตเปโตรที่อธิบายไว้ในข้อ16-21
คริสตจักรที่ทำตามพระบัญชาคือต้องออกไปป่าวประกาศข่าวประเสริฐของพระเจ้า
ในข้อ 11 ชาวเกาะครีตและชาวอาระเบีย เราทั้งหลายต่างก็ได้ยินคนเหล่านี้กล่าวถึงมหกิจของพระเจ้าตามภาษาของเราเอง"
“มหกิจของพระเจ้า” คำว่า “มหกิจ” ภาษากรีกให้ความหมายที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่
นี่คือ ผลที่ตามมาเมื่อเต็มล้นด้วยพระวิญญาณ มีผลทำให้เกิด การป่าวประกาศมหกิจอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า
ข้อ14 บรรยายว่า …
ฝ่ายเปโตรได้ยืนขึ้นกับอัครทูตสิบเอ็ดคน และได้กล่าวแก่ คนทั้งปวงด้วยเสียง อันดังว่า "ท่านชาวยูเดีย และบรรดาคนที่อยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม จงทราบเรื่องนี้ และฟังถ้อยคำของข้าพเจ้าเถิด
จากคำกล่าวนี้ เราเห็นชัดเจนว่า จากคนที่ขลาดกลัว เคยปฏิเสธว่า ไม่รู้จักพระเยซู ได้กลับกลายเป็นคนที่กล้าหาญที่จะพูดความจริง
คำว่า “ฟังถ้อยคำ” ในภาษากรีกนั้น คือ
จงให้หูของท่านแก่ คำพูดของข้าพเจ้า หมายความว่า ให้จดจ่อฟัง ให้ตั้งใจฟังให้ดี
ถ้าเป็นอัครเปโตรคนเดิมคงไม่กล้าหาญที่จะพูดได้ขนาดนี้แน่ แต่นี่เป็นการเทลงมาของพระวิญญาณจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิต ทุกคนต้องมาถึงจุดเปลี่ยน แค่สัมผัสเดียวของพระวิญญาณนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงชีวิต
อัครทูตเปโตรคนใหม่ที่ได้รับฤทธิ์เดชแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์แล้ว ทำให้บังเกิดความกล้าหาญ ไม่ขลาดกลัวเหมือนเดิมอีกต่อไป
ข้อ15 อัครทูตเปโตรบอกว่า … ด้วยว่าคนเหล่านี้มิได้เมาเหล้าองุ่นเหมือนอย่างที่ท่านคิดนั้น เพราะว่าเป็นเวลาสามโมงเช้า เวลาสามโมงเช้า หรือ เก้านาฬิกานั้น แต่ก่อนสำหรับยิว ไม่น่าจะเป็นเวลาที่จะกินหรือดื่ม เพราะเป็นชั่วโมงแห่งการอธิษฐาน
เปโตรจึงกล่าวด้วยความมั่นใจว่า ณ ที่ห้องชั้นบนที่เขาประชุมอธิษฐานร่วมกันอยู่นั้น ไม่ปรากฏว่ามีคนขี้เมาที่นั่นแน่
ในเหตุการณ์ครั้งนั้น อัครทูตเปโตรได้อ้าง “คำพยากรณ์ของโยเอล” ซึ่งเป็นผู้เผยพระวจนะในพระคัมภีร์เดิม ว่า ..แต่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตามคำซึ่งโยเอลผู้เผยพระวจนะได้กล่าวไว้ว่า
ซึ่งเนื้อความตั้งแต่ ข้อ 17-21นั้น ปรากฏใน โยเอล 2:28-32
ข้อ 17 เปโตรบอกว่า…"พระเจ้าตรัสว่าในวาระสุดท้าย
คำว่า “ในวาระสุดท้าย” เป็นคำที่คนยิวเข้าใจดีว่า เป็นวันของพระมาซีฮา ในวันนั้นจะเกิดอะไรขึ้น ข้อ 17-20 บรรยายต่อไปว่า…
17 …เราจะเทฤทธิ์เดชแห่งพระวิญญาณของเราโปรดประทาน แก่มนุษย์ทั้งปวง บุตราบุตรี ของท่านทั้งหลายจะกล่าว คำพยากรณ์ คนหนุ่มของท่านจะเห็นนิมิต และคนแก่จะฝันเห็น
18 ในคราวนั้น เราจะเทฤทธิ์เดชแห่งพระวิญญาณของเราบน ทาสทาสีของเรา และคนเหล่านั้นจะกล่าวคำพยากรณ์

19 เราจะสำแดงการอัศจรรย์ในอากาศเบื้องบน และนิมิตที่แผ่นดินเบื้องล่าง เป็นเลือด ไฟ และไอควัน
20 ดวงอาทิตย์จะมืดไป และดวงจันทร์จะกลับเป็นเลือด ก่อนถึงวันใหญ่นั้น คือ วันใหญ่ยิ่งของพระเจ้า

นี่คือ สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามคำพยากรณ์ บางสิ่งเกิดขึ้นแล้วในวันเพ็นเทคอสต์ ในข้อ 17-18 คือ การเทลงมาของพระวิญญาณบริสุทธิ์ บางสิ่งกำลังจะสำเร็จตามคำพยากรณ์อย่างแน่นอน ในข้อ 19-20 และ จะสำเร็จอย่างสมบูรณ์ก่อนถึง “วันอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า”
กาลปัจจุบันที่เราอยู่นี้ จึงกำลังถูกนับถอยหลังเข้าสู่วันอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า เป็นวันที่น่าสะพรึงกลัวสำหรับบางคน และ เป็นวันที่น่าปิติชื่นชมสำหรับบางคน
สำหรับคนที่ปิติชื่นชม คือ กลุ่มคนที่อัครทูตเปโตรกล่าวลงท้ายในข้อ21 ว่า
และจะเป็นเช่นนี้คือ ทุกคนซึ่งได้ออกพระนามของ องค์พระผู้เป็นเจ้าจะรอด
ดังนั้นคริสตจักรต้องตื่นตระหนักในขณะที่สถานการณ์ในยุคสุดท้าย คนที่ไม่เชื่อ ขาดความเข้าใจเริ่มตื่นตระหนกในภัยพิบัติ สงคราม ข่าวลือ หรือการกันดารอาหารซึ่งเป็นหมายสำคัญในช่วงวาระสุดท้ายของยุคสุดท้าย(มธ.24) บทบาทของเราคือการออกไปประกาศข่าวประเสริฐ และสำแดงพระมหกิจของพระเจ้าที่ทำในชีวิตของเราให้คนทั้งหลายได้เห็น ได้ฟังและได้เข้าใจ


ในครั้งต่อไปเราจะมาศึกษาต่อในบทที่ 2:22-36 ในเรื่องการสื่อสารข่าวประเสริฐ

พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ ขอพระเจ้าอวยพร

12 มกราคม 2555

Acts1:12-26_คริสตจักรที่ยอมจำนนตามพระบัญชา (Total surrender)

ศึกษาพระธรรมกิจการของอัครทูต
คริสตจักร “ต้นแบบ” ตามพระบัญชา


กจ.1:12-26
12 แล้วอัครทูตจึงลงจากภูเขามะกอกเทศซึ่งอยู่ใกล้กรุงเยรูซาเล็ม ระยะทางเท่ากับระยะที่อนุญาตให้คนเดินในวันสะบาโต กลับไปกรุงเยรูซาเล็ม

13 เมื่อเข้ากรุงแล้วเขาเหล่านั้นจึงขึ้นไปยังห้องชั้นบนที่เคยพักอยู่นั้น มีเปโตร ยอห์น ยากอบกับอันดรูว์ ฟีลิปกับโธมัส บารโธโลมิวกับมัทธิว ยากอบบุตรอัลเฟอัส ซีโมน พรรคชาตินิยม กับยูดาสบุตรยากอบ
14 พวกเขาร่วมใจกันขะมักเขม้นอธิษฐานพร้อมกับพวกผู้หญิง และมารีย์มารดาของพระเยซูและพวกน้องชายของพระองค์ด้วย
15 คราวนั้นเปโตรจึงได้ยืนขึ้นท่ามกลางพี่น้องทั้งหลาย ซึ่งประชุมกันอยู่ มีรวมทั้งสิ้นประมาณร้อยยี่สิบคนและกล่าวว่า
16 "ดูก่อนพี่น้องทั้งหลายจำเป็นจะต้องสำเร็จตามพระคัมภีร์ ซึ่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ตรัสไว้โดยโอษฐ์ของกษัตริย์ดาวิด ด้วยเรื่องยูดาส ซึ่งเป็นผู้นำทางคนที่ไปจับพระเยซู 17 เพราะเขานับยูดาสเข้าในพวกเรา และได้รับส่วนในภารกิจนี้
18 ฝ่ายผู้นี้ได้เอาบำเหน็จแห่งการผิดของตนไปซื้อที่ดิน แล้วก็ล้มคะมำลงแตกกลางตัวไส้พุงทะลักออกมาหมด
19 เหตุการณ์นี้คนทั้งปวงที่อยู่ในกรุงเยรูซาเล็มก็รู้ เขาจึงเรียกที่ดินแปลงนั้นตามภาษาของเขาว่า อาเคลดามา คือนาเลือด
20 ด้วยมีคำเขียนไว้ในพระธรรมเพลงสดุดีว่า ขอให้ที่อยู่ของเขาร้างเปล่า และอย่าให้มีผู้ใดอยู่ที่นั่น และ ขอให้อีกผู้หนึ่งมายึดตำแหน่งของเขา
21 เหตุฉะนั้น ในบรรดาคนที่เป็นพวกเดียวกับเราเสมอตลอดเวลาที่พระเยซูเจ้าได้เสด็จเข้าออกกับเรา
22 คือตั้งแต่บัพติศมาของยอห์น จนถึงวันที่พระเจ้าทรงรับพระองค์ขึ้นไปจากเรา คนหนึ่งในพวกนี้จะต้องเป็นพยานกับเรา ว่าพระองค์ได้ทรงคืนพระชนม์แล้ว"
23 เขาทั้งหลายจึงเสนอชื่อคนสองคนคือ โยเซฟที่เรียกว่าบารซับบาส มีนามสกุลว่ายุสทัสและมัทธีอัส
24 แล้วพวกศิษย์จึงอธิษฐานว่า "พระองค์ผู้ทรงทราบใจของมนุษย์ทั้งปวงเจ้าข้า ขอทรงสำแดงว่าในสองคนนี้พระองค์ทรงเลือกคนไหน
25 ให้รับส่วนในการปรนนิบัตินี้ และรับตำแหน่งเป็นอัครทูตแทนยูดาส ซึ่งได้หลงจากหน้าที่ไปยังที่ของตน"
26 เขาทั้งหลายจึงจับสลากกัน และสลากนั้นได้แก่มัทธีอัสจึงนับเขาเข้ากับอัครทูตสิบเอ็ดคนนั้น

อารัมภบท

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2สำหรับการที่เราได้มาศึกษาพระธรรมกิจการของอัครทูตด้วยกัน ในครั้งที่แล้วเราศึกษาในข้อ 1-11 คริสตจักรที่น้อมรับพระบัญชา(Total commitment)ซึ่งเป็นการน้อมรับพระบัญชาจากพระเยซูคริสต์ให้ออกไปเป็นพยานเรื่องข่าวประเสริฐจนสุดปลายแผ่นดิน และได้มองดูพระเยซูขณะที่พระองค์กำลังเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และทูตสวรรค์ของพระเจ้าได้มาบอกว่า พระองค์จะเสด็จกลับมาเหมือนอย่างที่พวกเขาเห็นพระองค์เสด็จขึ้นไปนั้น ครั้งนี้เราจะมาศึกษาต่อในข้อ 12-26ด้วยกัน สำหรับหัวข้อในครั้งนี้ ผมขอตั้งชื่อว่า "คริสตจักรที่ยอมจำนนตามพระบัญชา (Total surrender)" นั่นเป็นเพราะเหล่าอัครทูตได้สำแดงการเชื่อฟังแบบยอมจำนนอย่างสิ้นเชิงต่อพระบัญชาของพระคริสต์ที่ให้พวกเขารอคอยรับฤทธิ์เดชเสียก่อนที่จะไปทำการประกาศข่าวประเสริฐ พวกเขาไม่ได้ออกไปทำการด้วยยุทธวิธีของมนุษย์แต่ไปด้วยยุทธศาสตร์ของพระเจ้า นั้นคือการเคลื่อนไปตามการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์
การเชื่อฟังเช่นนี้เอง ทำให้พวกเขาตอบสนองแผนการของพระเจ้าได้ ทำให้พวกเขามีชัยเหนือการต่อต้านขัดขวาง

การเต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์นั้นส่งผลถึงลักษณะชีวิตที่เปลี่ยนแปลงตามผลพระวิญญาณ(กท.5:22-23)และการรับใช้ที่เปลี่ยนไปโดยการเคลื่อนตามการทรงนำและรับใช้ตามของประทานพระวิญญาณ(Charisma)ที่เป็นดั่งของขวัญที่พระเจ้าทรงมอบให้กับเราโดยพระคุณ ดังนั้น“ชีวิตเป็นของขวัญที่พระเจ้าประทานให้เรา แต่การดำเนินชีวิตเป็นของขวัญที่เรามอบถวายแด่พระเจ้า” สิ่งที่สำคัญคือการยอมจำนนอย่างสิ้นเชิงให้พระองค์ทรงใช้ตามแผนการของพระองค์ ผมเชื่อว่าทุกท่านคงคิดเช่นนั้นใช่ไหมครับ

1.ข้อสังเกตเพื่อใคร่ครวญ
12 แล้วอัครทูตจึงลงจากภูเขามะกอกเทศซึ่งอยู่ใกล้กรุงเยรูซาเล็มระยะทางเท่ากับระยะที่อนุญาตให้คนเดินในวันสะบาโตกลับไปกรุงเยรูซาเล็ม
13 เมื่อเข้ากรุงแล้วเขาเหล่านั้นจึงขึ้นไปยังห้องชั้นบนที่เคยพักอยู่นั้น มีเปโตร ยอห์น ยากอบกับอันดรูว์ ฟีลิป กับโธมัสบารโธโลมิวกับมัทธิว ยากอบบุตรอัลเฟอัส ซีโมนพรรคชาตินิยม กับยูดาสบุตรยากอบ
14 พวกเขาร่วมใจกันขะมักเขม้นอธิษฐานพร้อมกับพวกผู้หญิงและมารีย์มารดาของพระเยซูและพวกน้องชายของพระองค์ด้วย

สิ่งที่น่าสังเกตคือระยะทางที่อนุญาตให้คนเดินในวันสะบาโตตามที่ข้อนี้บอกไว้ เป็นบัญญัติที่คนยิวถือปฏิบัติต่อ ๆ กันมา โดยระยะทางที่กำหนดให้สามารถเดินทางได้ในวันสะบาโตนั้น ประมาณ 2 พันก้าวหรือ 7 เฟอล็อง ซึ่ง 8 เฟอล็อง เท่ากับ 1 ไมล์ นั่นก็คือ ประมาณ 1 ไมล์ หรือประมาณ 1.6 กิโลเมตร
ระยะทางนี้ไม่ได้ถูกกำหนดด้วยธรรมบัญญัติของโมเสส แต่ถูกกำหนดขึ้นภายหลังโดยครูสอนศาสนาของชาวยิว มาตรฐานที่กำหนด และได้กลายเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติต่อๆ กันมานี้
มีความเป็นมาว่า ขณะเมื่อคนอิสราเอลเดินทางออกมาจากประเทศ อียิปต์ ได้มีการตั้งเต็นท์รอบๆ พลับพลา โดยไม่มีส่วนใดของแค้มป์ที่มีระยะทางมากกว่า 2 พันก้าวจากพลับพลา หลักการเบื้องหลังคือ "อย่าก้าวออกให้ไกลห่างจากการทรงสถิตของพระเจ้า" ซึ่งเป็นที่ประทับของพระเจ้าด้วยระยะห่างนี้เอง ที่พวกเขาอนุญาตให้เดินทางเพื่อนมัสการได้ ในวันสะบาโตกฎเกณฑ์นี้จึงถูกยึดถือปฏิบัติกันต่อๆ มา แม้ปัจจุบันก็ยังมีคนยิวที่เคร่งครัดในกฎเกณฑ์นี้อยู่
จะเห็นได้ว่าหากไม่เข้าใจหลักการเบื้องหลัง ก็จะทำเป็นรูปแบบ พิธีกรรมแต่ขาดชีวิตสิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นประโยชน์อะไร
ซึ่งสิ่งเหล่านี้พระเยซูคริสต์ได้กล่าวโทษไว้ใน มธ.15:8-9
8 ประชาชนนี้ให้เกียรติเราแต่ปาก ใจของเขาห่างไกลจากเรา
9 เขานมัสการเราโดยหาประโยชน์มิได้ ด้วยเอาบทบัญญัติของมนุษย์มาตู่ว่า เป็นพระดำรัสสอนของพระเจ้า
ในข้อ 12 บอกว่า พวกเขาลงจากภูเขามะกอกเทศ ซึ่งอยู่ใกล้เยรูซาเล็ม นั่นคือ ลักษณะการตอบสนองแผนการพระเจ้าแสดงออกเป็น “การเชื่อฟังแบบยอมจำนนต่อพระบัญชา” เพราะพระเยซูได้กำชับพวกเขาก่อนที่จะเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ว่า อย่าเพิ่งออกไปจากกรุงเยรูซาเล็มจนกว่าจะได้รับตามพระสัญญา คือ ก่อนที่จะได้รับพระราชทานฤทธิ์เดชพระวิญญาณบริสุทธิ์

หากเรากลับไปทบทวนในข้อที่ 4ของบทที่1จะเห็นว่าพระเยซูทรงกำชับไว้อย่างชัดเจน
กจ.1:4เมื่อพระองค์ได้ทรงพำนักอยู่กับอัครทูต จึงกำชับเขามิให้ออกไปจากกรุงเยรูซาเล็ม แต่ให้คอยรับตามพระสัญญาของพระบิดา คือ พระองค์ตรัสว่า "ตามที่ท่านทั้งหลายได้ยินจากเรานั่นแหละ
การที่พวกเขาไม่ได้ออกไปจากเยรูซาเล็ม จึงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า มีความตั้งใจที่จะตอบสนองแผนการของพระเจ้าด้วยความเชื่อฟัง เพราะถ้าพวกเขาไม่เชื่อฟัง ดื้อรั้น ดึงดัน รีบออกไปจากกรุงเยรูซาเล็มก่อนที่จะได้รับพระราชทานฤทธิ์เดชจะเกิดอะไรขึ้น
เราเห็นความจริงนี้ชัดเจนนับตั้งแต่พระเยซูถูกจับกุม พระคัมภีร์บอกว่า พวกสาวกก็กระจัดกระจายหลบหนีไปด้วยความกลัว แม้แต่อัครทูตเปโตรพี่ใหญ่ยังปฏิเสธว่าไม่รู้จักพระเยซู ถึง3ครั้ง ดังนั้น ถึงแม้ว่า พระเยซูจะเป็นขึ้นจากความตายแล้ว และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว ซึ่งเป็นการประกาศชัยชนะอันยิ่งใหญ่แล้วก็ตาม แต่พวกเขาก็ยังไม่ได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ ตามที่พระองค์ได้ตรัสสัญญาไว้ ฉะนั้นการยอมจำนนมาจากใจที่ชื่อฟังแบบสุดใจ
ตัวอย่างจากอับราฮัมเป็นแบบแห่งการเชื่อฟังแบบยอมจำนนโดยสิ้นเชิง
(ฮบ.11:8)เพราะอับราฮัมมีความเชื่อ ฉะนั้นเมื่อพระเจ้าทรงเรียกให้ท่านออกเดินทาง ไปยังที่ซึ่งท่านจะรับเป็นมรดก ท่านได้เชื่อฟังและได้เดินทางออกไปโดยหารู้ไม่ว่าจะไปทางไหน แม้ไม่เข้าใจในแผนการของพระเจ้าให้ถวายบุตรสุดที่รัก แต่อับราฮัมก็เลือกที่จะเชื่อฟังแบบยอมจำนนโดยปราศจากเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น
ในที่สุด เพราะการเชื่อฟัง ท่านได้มีส่วนทำให้คนมากมายหลายชาติ ได้รับพระพรเพราะท่าน ซึ่งเป็นดังพระสัญญาใน (ปฐก.12:2-3)
"วีรบุรุษแห่งความเชื่อ เชื่อฟังพระเจ้าทำให้แผนการพระเจ้าสำเร็จฉันใด ให้เราเป็นแบบอย่างการเชื่อฟังเพื่อทำให้แผนการพระเจ้าสำเร็จฉันนั้น"
การเชื่อฟังเช่นนี้คือการ จึงเป็นลักษณะของคนที่ตอบสนองแผนการของพระเจ้า พระวจนะพระเจ้าใน สภษ.3:5-7 กล่าวว่า…
5จงวางใจในพระเจ้าด้วยสุดใจของเจ้า และอย่าพึ่งพา ความรอบรู้ของตนเอง
6จงยอมรับรู้พระองค์ในทุกทางของเจ้า และพระองค์จะทรงกระทำให้วิถีของเจ้าราบรื่น
7อย่าคิดว่าตนฉลาด จงยำเกรงพระเจ้า และหันจากความชั่วร้าย
เพราะถ้าเราพิจารณาต่อไปหลังจากนี้ เมื่ออัครทูตทั้งหลายออกไปทำการของพระเจ้าจึงไปด้วยความกล้าหาญเพราะฤทธิ์เดชของพระวิญญาณที่อยู่ภายในเขา



2.ข้อคิดสะกิดใจ
ความลับจากคำอธิษฐานในห้องชั้นบน(Upper room)
ข้อ 13 กล่าวต่อไปว่า
เมื่อเข้ากรุงแล้วเขาเหล่านั้นจึงขึ้นไปยังห้องชั้นบนที่เคยพักอยู่นั้น...ที่ซึ่งพวกเขาเดินทางไป และ รวมตัวอยู่ด้วยกันคือ “ห้องชั้นบน” ข้อนี้บอกว่า เป็นที่ที่พวกเขาเคยพักอยู่ จึงมีความเป็นไปได้ว่า เป็นชั้นบนบ้านของ ยอห์น มาระโก
ดังที่ กจ.12:12 บันทึกไว้ว่า …
เมื่อเปโตรคิดอย่างนั้นแล้วก็มาถึงตึกของมารีย์มารดาของยอห์นผู้มีชื่ออีกว่ามาระโก ที่นั่นมีหลายคนได้ประชุมอธิษฐานกันอยู่
และเป็นไปได้ที่อาจเป็นห้องที่พระเยซูได้ร่วมรับประทานอาหารกับเหล่าสาวกเป็นครั้งสุดท้าย
ลก 22:12 เจ้าของเรือนจะชี้ให้ท่านเห็นห้องใหญ่ชั้นบนที่ตกแต่งไว้แล้ว ที่นั่นแหละจงจัดเตรียมไว้เถิด"
ห้องชั้นบนนี้ อาจเป็นทั้งห้องสำหรับการนมัสการ และ เป็นบ้านของหนึ่งในเหล่าสาวก ซึ่งเป็นที่ที่พวกเขาเคยชินที่จะพบกัน ณ ห้องชั้นบนนั้น ข้อนี้บรรยายว่า มีอัครสาวกอยู่กันพร้อมหน้า 11 คน นอกจากนั้น ยังมีพวกผู้หญิง มีมารีย์มารดาของพระเยซู และ น้อง ๆ ของพระองค์อีกด้วย ข้อ 14 บอกว่า
พวกเขาร่วมใจกันขะมักเขม้นอธิษฐานพร้อมกับพวกผู้หญิง และ มารีย์มารดาของพระเยซู และพวกน้องชายของพระองค์ด้วย
คำว่า “ร่วมใจ” ความหมายในภาษาเดิม หมายถึงการมีความคิดอย่างเดียวกัน คำนี้พบใน รม. 15:6 ภาษาไทยแปลว่า “พร้อมใจกัน” เราจึงเห็นภาพอย่างชัดเจนถึงการเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในอธิษฐาน ข้อนี้บอกว่า …ร่วมใจกันขะมักเขม้นอธิษฐาน
คำว่า “ขะมักเขม้น” แสดงให้เห็นถึง ความขยันพากเพียร อุตสาหะ ยึดมั่น แน่วแน่ และ สม่ำเสมอ นั่นแสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่อธิษฐานชั่วครั้งชั่วคราว ชั่วครู่ชั่วยาม แต่อธิษฐานอย่างสม่ำเสมอ อธิษฐานอย่างพากเพียร อธิษฐานอย่างแน่วแน่ อย่างเอาจริงเอาจัง ระหว่างรอคอยรับ พระวิญญาณบริสุทธิ์ตามพระสัญญา
นี่เองที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึง “ความเชื่อฟังแบบยอมจำนน” อย่างสุดใจ
เป็นการแสดงออกของการเชื่อฟังพระดำรัสของพระเยซูที่บอกให้ รอคอยจนกว่าจะได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ตามที่พระสัญญา
“เชื่อฟัง” ข้อ 15-20 ชี้ให้เห็นว่ายังตั้งใจ“ทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า”
เริ่มต้นใน ข้อ 15 ได้บรรยายว่า … คราวนั้นเปโตรจึงได้ยืนขึ้นท่ามกลางพี่น้องทั้งหลาย ซึ่งประชุมกันอยู่ มีรวมทั้งสิ้นประมาณร้อยยี่สิบคนและกล่าวว่า..
แม้ข้อนี้จะบันทึกต่อจากข้อ 14 แต่ก็ไม่ได้เป็นเหตุการณ์เดียวกัน เพราะเปโตรไม่ยืนอยู่ต่อหน้าสาวก แต่ยืนต่อหน้าผู้เชื่อ 120 คน “เปโตรได้ยืนขึ้นท่ามกลางพี่น้องทั้งหลาย”
นี่คือ ภาพความเป็นผู้นำที่โดดเด่นของเปโตรในท่ามกลางสาวก
เป็นตามพระดำรัสที่พระเยซูได้บอกกับเปโตรใน มธ.16:18 ว่า …ฝ่ายเราบอกท่านว่าท่านคือเปโตร และบนศิลานี้ เราจะสร้างคริสตจักรของเราไว้ และพลังแห่งความตายจะมีชัยต่อคริสตจักรนั้นหามิได้
ข้อ 16 เปโตรกล่าวว่า…ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย จำเป็นจะต้องสำเร็จตามพระคัมภีร์ซึ่ง พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ตรัสไว้โดยโอษฐ์ของกษัตริย์ดาวิด ด้วยเรื่องยูดาส ซึ่งเป็นผู้นำทางคนที่ไปจับพระเยซู
ที่ว่า “จำเป็นต้องสำเร็จตามพระคัมภีร์” นั้น สำเร็จอย่างไร
เปโตรได้อ้างถึง สิ่งที่ตรัสโดยโอษฐ์ของดาวิด ซึ่งคนยิวมักเรียกหนังสือสดุดีทั้งเล่มว่า เป็นสดุดีของดาวิด
และ หนังสือสดุดีที่เปโตรอ้างถึง คือ สดุดี 69 และ สดุดี 109 ซึ่งได้ พูดถึงการทนทุกข์และ การถูกทรยศของชนอิสราเอลทั้งชาติ
หนังสือสดุดี 2 ตอนนี้ เป็นคำพยากรณ์ที่เล็งถึงพระคริสต์ที่ต้อง ถูกทรยศและต้องรับทุกข์ เพราะยูดาส
ข้อ 17 เปโตรบอกว่า …เพราะเขานับยูดาสเข้าพวกเรา และเขาได้รับส่วนในภารกิจนี้
ยูดาสเป็นคนหนึ่งที่ได้รับการทรงเลือกจากพระเยซูให้เป็นอัครสาวก ยน.6:70 พระเยซูกล่าวถึงยูดาสว่า เป็นมารร้าย พระเยซูตรัสตอบเขาว่า "เราเลือกพวกท่านสิบสองคนมิใช่หรือ และคนหนึ่งในพวกท่านเป็นมารร้าย"
พระเยซูรู้จักลักษณะชีวิตทั้งหมดของยูดาสเมื่อพระองค์เลือกเขา
ยน. 2:25 บอกเช่นนั้นว่า …เพราะพระองค์ทรงรู้จักมวลมนุษย์ และสำหรับพระองค์ไม่มีความจำเป็นที่จะมีพยานในเรื่องมนุษย์ ด้วยพระองค์เองทรงทราบว่าอะไรมีอยู่ในมนุษย์ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า ยูดาสถูกกำหนดให้เป็นคนทรยศ ยูดาสมีเสรีภาพในการเลือกดำเนินชีวิต แต่เขาเลือกที่จะทรยศพระเยซู ยูดาสเลือกที่จะเป็นคนนำทางคนที่ไปจับพระเยซู
ฉันใดก็ฉันนั้น เราไม่อาจอ้างว่า หลายสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตนั้น มาจากพระเจ้าลิขิต หรือ ที่คนทั่วไปบอกว่า ฟ้าลิขิต ดวงชะตากำหนด
เพราะแม้จริงอยู่หลายสิ่งมาโดยการอนุญาตและการทรงนำของพระเจ้า แต่ก็มีหลายสิ่งที่มาจากตัวของเราเป็นผู้เลือกตัดสินเอง
เพราะพระเจ้าสร้างมนุษย์มาในพระฉาย เราจึงมีเสรีภาพในอารมณ์ ในความรู้สึกนึกคิด และ ในการตัดสินใจ บ่อยครั้ง พระเจ้าไม่ได้เห็นด้วยในสิ่งที่เราเลือก ในสิ่งที่เราคิด ในสิ่งที่เราตัดสินใจ หลายครั้งพระองค์ก็ประทานพระคุณเพื่อช่วยปกป้องเรา
ปลายทางของพระเจ้าคือชีวิตนิรันดร์ แล้วปลายทางของเราซึ่งเป็นทางตรงข้ามกับพระเจ้า จะเจออะไรที่ปลายทางนั้น
เพราะยูดาสเลือกที่จะไปในทางของตนเอง แม้ว่า พระเยซูได้พยายามเตือนสติทุกช่องทาง แต่ยูดาสก็หาได้รู้สึกผิดและกลับใจทันทีไม่คงปล่อยให้ความผิดครอบงำใจ และ ให้โอกาสมารเข้าทำงานในชีวิต
ยูดาสไม่ได้เกิดมาเพื่อมาเป็นผู้อายัดพระเยซู แต่เขาไม่เชื่อฟังพระองค์อย่างสุดใจทำให้เขาทำผิดพลาด วึ่งเป็นหนทางไปสู่ตวามตาย
พระคัมภีร์ได้บันทึกเหตุการณ์ที่พระเยซูเตือนสติยูดาสครั้งแล้วครั้งเล่า เช่น ยน.6:70-71 13:21-26 การเตือนสติครั้งนี้เป็นการเตือนอย่างเจาะจง แต่ยูดาสก็ไม่กลับใจอยู่ดี
นั่นคือ กระบวนการใจที่แข็งกระด้างของยูดาส ที่นำไปสู่การเป็นผู้ ทรยศพระเยซู
กจ. 1 ข้อ 18-19 บันทึกต่อไปว่า …
18 ฝ่ายผู้นี้ได้เอาบำเหน็จแห่งการผิดของตนไปซื้อที่ดิน แล้วก็ล้มคะมำลงแตกกลางตัวไส้พุงทะลักออกมาหมด
19 เหตุการณ์นี้คนทั้งปวงที่อยู่ในกรุงเยรูซาเล็มก็รู้ เขาจึงเรียกที่ดินแปลงนั้นตามภาษาของเขาว่า อาเคลดามา คือ นาเลือด

ในพระธรรม 2ข้อนี้ ไม่ใช่เป็นคำพูดของเปโตร แต่เป็นการกล่าวขยายความ โดยลูกาเพื่อให้ผู้รับจดหมาย คือ เธโอฟีลัส ซึ่งเป็นคนกรีกได้เข้าใจ ทั้งนี้เราทราบได้จากข้อความที่ว่า อาเคลดามา คือ นาเลือด เนื่องจากคำว่า "อาเคลดามา" เป็นภาษาอารเมค ที่ผู้ฟังเปโตรเข้าใจ อยู่แล้วไม่จำเป็นต้องแปลความอีก
บั้นปลายชีวิตของคนที่ไม่ตอบสนองต่อ การเตือนสติของพระเยซูอย่างยูดาสเป็นเช่นไร
ยูดาสผู้ทรยศพระเยซูต้องจบชีวิตลงอย่างน่าสลดใจ
เพราะบั้นปลายของคนที่ใจแข็ง ไม่ยอมรับการเตือนสติ พระคัมภีร์ใน สภษ.29:1บุคคลที่ถูกตักเตือนบ่อยๆ แต่ยังแข็งคอ ประเดี๋ยวคอจะหักรักษาไม่ได้
ข้อ 20ของกจ.1เปโตรกล่าวอ้างถึงหนังสือสดุดีอีกว่า ด้วยมีคำเขียนไว้ในพระธรรมเพลงสดุดีว่า ขอให้ที่อยู่ของเขา ร้างเปล่า และอย่าให้มีผู้ใดอยู่ที่นั่น และ ขอให้อีกผู้หนึ่งมายึดตำแหน่งของเขา
นั่นคือ ข้อความที่อ้างอิงมาจากหนังสือ สดุดี 69:25 และ 109:8
นี่เป็นคำพยากรณ์ที่แสดงถึงพระประสงค์ของพระเจ้าที่จำเป็นต้องมี ผู้หนึ่งมาแทนยูดาส
ดังนั้น การที่เปโตรอ้างถึงหนังสือสดุดีเช่นนี้ จึงเป็นการแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า
พระประสงค์ของพระเจ้าในที่นี้ คือ การให้หาคนหนึ่งมาแทนผู้ทรยศ
เป็นข้อคิดแก่เราให้เรารู้ว่าพระประสงค์ของพระเจ้าได้อย่างชัดเจนในพระวจนะ แท้จริงแล้วการดำเนินชีวิตที่จะรู้น้ำพระทัยพระเจ้านั้น ไม่ใช่เรื่องเร้นลับซับซ้อนแต่อย่างใดเลย ตราบที่เราเดินอยู่ในน้ำพระทัยพระเจ้า คนที่เดินอยู่ในน้ำพระทัยพระเจ้า ไม่พยายามหลบหลีกแผนการพระเจ้า
แต่มีท่าทีภายในที่พร้อมเสมอที่จะทำตามพระประสงค์พระเจ้า การทรงนำก็จะชัดเจน เพราะใจเปิดอยู่แล้ว เปโตรรู้น้ำพระทัยหรือพระประสงค์ในกรณีที่ต้องหาคนมาแทนยูดาส ก็รู้มาจากสิ่งที่มีบันทึกไว้ในพระคัมภีร์ ดังนั้น โดยพื้นฐานแล้วคำตอบมีอยู่ในพระวจนะพระเจ้าอยู่แล้ว
ถ้าเรายังไม่สามารถตอบสนองสิ่งที่พระเจ้าพูดไว้ในพระคัมภีร์ก็ยากยิ่งที่เราจะรู้แผนการและน้ำพระทัยพระเจ้าในชีวิตได้
ขอให้เราเป็นคนที่ใฝ่ใจในพระวจนะแล้วชีวิตของเราจะไม่เดินออกนอกเส้นทางแห่งแผนการของพระเจ้า
ลองถามตัวของท่านเองดังนี้นะครับ (ผู้อ่านสามารถตั้งคำถามเพิ่มเติมเองได้)
1.การเชื่อฟังแบบยอมจำนนอย่างสิ้นเชิง นำมาซึ่งผลปลายทางในชีวิตอย่างไร ?
2.มีสิ่งใดบ้าง ที่เป็นอุปสรรคที่ทำให้เราไม่ตอบสนองเชื่อฟังพระเจ้าแบบยอมจำนน ?

3.ท่านคิดว่า สิ่งใดที่จะช่วยชีวิตของท่านให้อยู่ในพระประสงค์ของพระองค์?

3.ข้อสรุปเพื่อประยุกต์ใช้

เราคงได้ทำความเข้าใจจากพระธรรมตอนี้กันไปบ้างแล้ว นั่นคือการยอมจำนนเชื่อฟังทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า เฝ้าระมัดระวังในการอธิษฐานเผื่อแสวงหาการทรงนำของพระวิญญาณของพระองค์ สำหรับ ข้อ 21-26จะเป็นกรณีศึกษาในการทำตามพระประสงค์์ของพระเจ้าที่บัญชาไว้ ในการเลือกผู้ที่จะมาเป็นอัครทูตแทนยูดาส
21 เหตุฉะนั้น ในบรรดาคนที่เป็นพวกเดียวกับเราเสมอตลอดเวลาที่พระเยซูเจ้าได้เสด็จเข้าออกกับเรา
22 คือตั้งแต่บัพติศมาของยอห์น จนถึงวันที่พระเจ้าทรงรับพระองค์ขึ้นไปจากเรา คนหนึ่งในพวกนี้จะต้องเป็นพยานกับเรา ว่าพระองค์ได้ทรงคืนพระชนม์แล้ว"
23 เขาทั้งหลายจึงเสนอชื่อคนสองคนคือ โยเซฟที่เรียกว่าบารซับบาส มีนามสกุลว่ายุสทัสและมัทธีอัส

เปโตรได้บอกถึงคุณสมบัติของคนที่สมควรได้รับพิจารณาในการกำหนดให้มาแทนยูดาสซึ่งเราเห็นอย่างน้อย 2 อย่าง นั่นคือ
1.เป็นพวกเดียวกันกับสาวก โดยเคยอยู่กับพระเยซูในช่วงที่ทำพระราชกิจ (ข้อ 21) 2.เป็นพยานได้ว่าพระเยซูทรงฟื้นคืนพระชนม์(ข้อ 22)
คุณสมบัติทั้งสองอย่างนี้ เราเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ได้ใช้มาตรฐานที่มีพระเยซูเป็นศูนย์กลาง นั่นคือ เป็นมาตรฐานของพระเจ้า นั่นเอง
เปโตรไม่ได้ตั้งมาตรฐานในการเลือกสรรตามใจชอบ ไม่ได้บอกว่า คนที่จะถูกเลือกเข้ามาแทนยูดาสนั้นต้องมีชื่อเสียงใหญ่โตได้รับการนับหน้าถือตา หรือ มียศถาบรรดาศักดิ์ในสังคมยิวขณะนั้น ท่านไม่ได้เลือกคนที่ "ชอบ" แต่เลือกคนที่ "ใช่" โดยใช้หลักการพระเจ้า
แต่เปโตรใช้ “มาตรฐานของพระเจ้า” เป็นเกณฑ์ในการเลือกสรร คือ ให้พระเยซูเป็นศูนย์กลาง
พระเยซูได้เลือกสาวก 12 คนตามจำนวนเผ่าสิบสองเผ่าของอิสราเอลด้วยความตั้งใจ ตามที่พระองค์ได้ตรัสไว้ใน (มธ.19:28)พระเยซูตรัสกับเขาว่า "เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ในโลกใหม่คราวเมื่อบุตรมนุษย์จะนั่งบนพระที่นั่งอันรุ่งเรืองนั้น พวกท่านที่ได้ติดตามเรามาจะได้นั่งบนบัลลังก์สิบสองที่พิพากษาชนอิสราเอลสิบสองเผ่า"
นี่คือ เหตุผลที่ต้องนำคนขึ้นมาแทนยูดาส เนื่องจากอิสราเอลแห่งพันธสัญญาเดิมจะสำเร็จได้ โดยคริสตจักร ในพันธสัญญาใหม่ จำนวนอัครทูตจึงจำเป็นต้องครบตามจำนวน
ในที่สุด ท่ามกลางคนที่อยู่ในขณะนั้น พวกเขาก็เลือกได้ 2 คนที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ระบุไว้ทุกประการ
ข้อ 23 บอกว่า เขาทั้งหลายจึงเสนอชื่อคนสองคนคือ โยเซฟที่เรียกว่า บารซับบาส มีนามสกุลว่ายุสทัสและมัทธีอัส
ข้อคิดในการประยุกต์ใช้คือ ไม่ว่าเราจะตัดสินใจเรื่องใด เราต้องให้พระคริสต์ เป็นศูนย์กลางในเรื่องนั้น แล้วเราจะไม่พลาดจากแผนการของพระเจ้า
เปโตรไม่ผิดพลาดในการทำตามแผนการของพระเจ้า เพราะได้ให้พระเยซูคริสต์เป็นศูนย์กลางในการตัดสินใจ

หลังจากที่เลือกออกมาได้ 2 คน คือ ยุสทัส และ มัทธีอัสแล้ว สิ่งที่พวกเขาทำกันต่อไปคือ “อธิษฐาน” ข้อ 24-25 บันทึกไว้ว่า
24 แล้วพวกศิษย์จึงอธิษฐานว่า "พระองค์ผู้ทรงทราบใจของมนุษย์ทั้งปวงเจ้าข้าขอทรงสำแดงว่าในสองคนนี้พระองค์ทรงเลือกคนไหน
ข้อ 25 ให้รับส่วนในการปรนนิบัตินี้ และรับตำแหน่งเป็นอัครทูตแทนยูดาส ซึ่งได้หลงจากหน้าที่ไปยังที่ของตน"

นั่นเองที่แสดงให้เห็นถึงการทำตามแผนการของพระเจ้าโดย “พึ่งพา การทรงนำ” ด้วย ภายหลังจากที่ใช้สติปัญญาในการตัดสินใจ
สิ่งที่พวกเขาอธิษฐานคือ ขอพระเจ้าสำแดงให้รู้ว่าระหว่างสองคนนี้จะเลือกใครดี
หลังจากอธิษฐานแล้วสิ่งต่อไปที่พวกเขาทำต่อไปนั้น ข้อ 26 บันทึกว่า เขาทั้งหลายจึงจับสลากกัน และสลากนั้นได้แก่มัทธีอัสจึงนับเขาเข้ากับอัครทูตสิบเอ็ดคนนั้น
“การจับฉลาก” นั้น เป็นสิ่งที่คนยิวคุ้นเคยและทำกันมาก่อนเมื่อต้องการตัดสินใจเรื่องสำคัญ ๆ ยกตัวอย่างเช่น
เมื่อโมเสสต้องการจัดสรรแผ่นดินให้แก่เผ่าต่าง ๆ ในกดว. 34:13
เมื่อโยชูวาต้องการจัดแบ่งที่ดินให้แก่คนอิสราเอลตามส่วนแบ่งของแต่ละเผ่า ยชว.18:10 เมื่อซามูเอลตามหาผู้ที่พระเจ้าต้องการเจิมตั้งให้เป็นกษัตริย์ก็ใช้การจับฉลาก ดังที่บันทึกใน 1ซมอ.10:20-21
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การจับฉลากในสมัยนั้นก็อยู่ในการควบคุมของพระเจ้าดังที่ สภษ.16:33 ฉลากนั้นเขาทอดลงที่ตัก แต่การตัดสินมาจากพระเจ้าทั้งสิ้น
นั่นเป็นวิธีที่พวกเขาเลือกทำก่อนที่พระวิญญาณบริสุทธิ์จะเสด็จมา
หลังจากพระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จมาแล้ว ก็ไม่ปรากฏการใช้วิธีจับฉลากอีกเลย แต่ต้องไม่ลืมว่า … ก่อนที่จะมาถึงขั้นตอนการจับฉลาก ได้ผ่านขั้นตอนที่มีการกลั่นกรองมาก่อนหน้านี้แล้ว
เริ่มต้นด้วยการกำหนดมาตรฐานตามมาตรฐานของพระเจ้า คือ เป็นมาตรฐานที่พระเยซูคริสต์เป็นศูนย์กลางว่า …
คนที่จะเลือกมาแทนยูดาสนั้นต้องเคยอยู่กับพระเยซู และ เป็นพยานเรื่องการฟื้นคืนพระชนม์
จากนั้น จึงมีการคัดเลือกจากท่ามกลางคนร้อยยี่สิบคนที่มีคุณสมบัติตรงตามนั้น แล้วก็มีการอธิษฐานขอการทรงนำ
จึงจะตามมาด้วยการจับฉลาก ทุกอย่างจึงมีการผ่านกระบวนการขั้นตอนที่กลั่นกรองมาอย่างดี
ในการจับฉลากนั้น เขาจะใช้วิธีการเขียนชื่อไว้บนหินคนละก้อน แล้วนำก้อนหินนั้นใส่ในภาชนะแล้วเขย่าจนก้อนใดก้อนหนึ่ง ตกลงมา
จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ผลที่ออกมา คือ ก้อนที่เขียนชื่อของ “มัทธีอัส” ก็ได้ตกลงมา มัทธีอัสจึงได้รับเลือกให้เป็นอัครสาวกแทนยูดาส


ในปัจจุบันพระวิญญาณบริสุทธฺ์เป็นพระผู้ช่วยของเราในทุกเรื่อง เราสามารถอธิษฐานขอการทรงนำในการตัดสินใจ ไม่จำเป็นที่เราต้องมาใช้วิธีการเสี่ยงทายจับสลากแล้ว



ผมข้อสรุปในการประยุกต์ใช้ไว้ดังนี้ครับ
“เชื่อฟังอย่างสุดใจ ใช้หลักการพระเจ้า เฝ้าอธิษฐานขอทรงนำ ทำตามพระบัญชาอย่างครบถ้วน"
ขอพระเจ้าอวยพระพรนะครับ ในสัปดาห์หน้าเราจะมาศึกษากันต่อในตอนที่ 3 คริสตจักรที่ “ทำตาม”พระบัญชา(กจ.2:1-21)(Total obedience)