29 พฤศจิกายน 2560

รักษาบาดแผลจากพ่อ(Healing Father Wounds)

รักษาบาดแผลจากพ่อ (Healing Father Wounds) โดย อาเชอร์ อินเทรเตอร์(Asher Intrater)


พระบัญญัติ 10 ประการได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของพ่อแม่ไว้ 2 ครั้ง
ซึ่งมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ไม่มีพ่อแม่คนไหนที่จะดีสมบูรณ์แบบหรือ
เลวร้ายไปเสียหมด ไม่ว่าพวกเขาจะแสดงออกด้านหนึ่ง99%
 และอีกด้านหนึ่งเพียง1% ทั้งนี้ในทุกความสัมพันธ์ระดับครอบครัว 
มีทั้งสิ่งดีที่ต้องรับไว้รวมถึงสิ่งไม่ดีที่ต้องปฏิเสธ 
פוקד עוון אבות על בנים...

ฉธบ5:8 ให้โทษของบิดาตกทอดไปถึงลูกหลาน…
พระเจ้าไม่ได้ลงโทษเราเพราะความผิดของพ่อแม่ อย่างไรก็ตามความบกพร่องและความผิดพลาดของพ่อแม่มีอิทธิพลต่อเราอย่างมาก เราต้องให้อภัยพวกเขาและลบอิทธิพลเชิงลบออกจากความทรงจำ จิตใจ           จิตวิญญาณและพฤติกรรมของเรา บางครั้งเราแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีเหมือนอย่างพ่อแม่ออกมาโดยไม่รู้ตัว หรือบางครั้งเราแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบเกินควรในทางตรงกันข้าม ซึ่งนั่นก็ยังเป็นการรับผลปล่อยให้อิทธิพลนั้นครอบงำอยู่ พ่อบางคนอาจจะรุนแรงหรือบางคนอาจไม่ได้อยู่กับคุณ
כבד את אביך ואת אמך...


ฉธบ5:15 จงให้เกียรติบิดามารดาของเจ้า

เมื่อเราให้เกียรติใคร เราก็วางชีวิตในจุดที่จะรับสิ่งดีจากเขา เมื่อเราให้เกียรติพ่อแม่ เราก็จะได้รับคุณสมบัติและมรดกที่ดีในฝ่ายวิญญาณที่พวกเขาจะต้องส่งต่อมายังเรา เมื่อการให้เกียรติแสดงออก พระพรก็จะเทลงมา
เราต้องสร้างสันติกับสิ่งที่พ่อแม่ถ่ายทอดรวมถึงอิทธิพลของพวกเขาในชีวิตของเรา ผมเพิ่งพบรูปภาพเก่าๆของพ่อแม่โดยบังเอิญ เป็นรูปตอนที่พวกเขาอายุประมาณเท่ากับลูกๆของผมเวลานี้ เมื่อผมเห็น
 ผมก็ได้รับการปลดปล่อยและมีอิสรภาพจากภายใน ราวกับว่าผมได้สร้างสันติโดยสมบูรณ์และเชื่อมต่อกับตัวตนที่พ่อแม่ผมเป็นอย่างสิ้นเชิ
มีขั้นตอนที่เราหลายๆคนเผชิญ คือในแต่ละช่วงวัยของลูกๆ เราเริ่มจะเข้าใจมุมมองของพ่อแม่ด้านความสัมพันธ์ที่มีต่อเราเมื่อเราอายุเท่ากับพวกเขาด้วย นี่คือ “โอกาสครั้งที่สอง” ที่จะกลับใจ เป็นอิสระและรับ   พระพร
สัปดาห์นี้เรามีเวลาพูดคุยและอธิษฐานกับกลุ่มผู้ชายในทีมซึ่งเราตระหนักว่าประเด็นที่ดูเหมือนเป็นเรื่องที่ต้องต่อสู้ในพันธกิจ ในคริสตจักร และในขั้นตอนการตัดสินใจ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ดูจะเป็นประเด็นเด่นชัด แต่มาจากความสัมพันธ์ระหว่างคนนั้นกับพ่อของเขา
การตอบสนองของเราแต่ละคนนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมต่อประเด็นปัญหาที่เราเผชิญ เราต้องรับการเยียวยาบาดแผลที่มาจากพ่อแม่ ให้อภัยความผิดของเขา และรับเอาคุณลักษณะที่ดีเข้ามา เพื่อเราจะเป็นอย่างที่พระเจ้าสร้างเราให้เป็น ให้ลิขิตชีวิตของเราสำเร็จ และมีชีวิตที่เกิดผลมาก
ขอบคุณข้อมูลจาก https://tribe.reviveisrael.org

28 พฤศจิกายน 2560

การสะเทือน (แผ่นดินไหว) อันยิ่งใหญ่ (The Great Quake)


 การสะเทือน (แผ่นดินไหว) อันยิ่งใหญ่ (The Great Quake)

 โดย อาเชอร์ อินเทรเตอร์(Asher Intrater)

พระเยซูสอนว่าจะเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในหลาย ๆ ที่ทั่วโลกในช่วงยุคสุดท้าย (มัทธิว 24:7,มาระโก13:8, ลูกา21:11) 
มัทธิว 24:7 ​เพราะ​ว่า ประชาชาติ​กับ​ประชาชาติ และ​อาณาจักร​กับ​อาณาจักร​จะ​ต่อสู้​กัน ทั้ง​จะ​เกิด​กันดาร​อาหาร​และ​แผ่น​ดิน​ไหว​ใน​ที่​ต่าง
แผ่นดินไหวบางครั้งอาจเป็นผลมาจากการปะทะกันของกองกำลังฝ่ายจิตวิญญาณเบื้องหลัง มี   แผ่นดินไหวเมื่อพระเจ้าเยี่ยมเยือนเอลียาห์ที่ภูเขาโฮเรบ (1พงศ์กษัตริย์19:11-12) และในสมัยของกษัตริย์อุสซียาห์ (เศคาริยาห์ 14:5, อาโมส 1: 1)
แผ่นดินไหวสามารถเกิดขึ้นได้จากผลของการอธิษฐาน, การเผยพระวจนะ, และการสรรเสริญ - เมื่อรวมกันกับการทำงานของฑูตสวรรค์และไฟของพระวิญญาณบริสุทธิ์ (กิจการ 16:25-26 วิวรณ์ 8: 3-5; 11:13, 19) การเกิดแผ่นดินไหวที่ภูเขาซีนาย (อพยพ 19:18) และในเวลาที่พระเยซูถูกตรึงบนไม้กางเขน (มัทธิว 27:54) และการฟื้นคืนพระชนม์ (มัทธิว 28:2)

คำว่า "แผ่นดินไหว" ในภาษากรีกคือ seismos (เช่นใน "seismic" และ "seismograph") ในภาษาฮีบรูมีสองคำ คำแรกแปลง่ายๆว่า "เขย่า" และใช้ในภาษาฮีบรูสมัยใหม่สำหรับแผ่นดินไหว re'idah רעידה


ในพระคัมภีร์ภาษาในฮีบรู อีกความหมายหนึ่งของคำว่า ra'ash רעש แปลว่าเสียงแผ่นดินไหว,เขย่า, หรือสั่นไหวได้ เสียงของพระเจ้าสามารถเขย่าโลกได้ 

ฮีบรู 12:26 ​พระ​สุรเสียง​ของ​พระ​องค์​ใน​เวลา​นั้น​ทำ​ให้​แผ่นดิน​สั่นสะเทือน แต่​บัดนี้​พระ​องค์​ตรัส​สัญญา​ว่า อีก​ครั้ง​หนึ่ง​เรา​จะ​ทำ​ให้​แผ่น​ดิน​ไหว  อีก​ทั้งฟ้า​สวรรค์ ด้วย​

คำว่า ra'ash นี้อธิบายถึงเสียงที่ปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติจากการสำแดงพระสิริของยาห์เวห์ 
เอเสเคียล 3:12-13
12 ​พระ​วิญญาณ​จึง​ยก​ข้าพเจ้า​ขึ้น​และ​เมื่อ​พระ​สิริ​ของ​พระ​เจ้า​ขึ้น​มา​จาก​สถานที่​อยู่ ข้าพเจ้า​ก็​ได้​ยิน​เสียง​กระหึ่ม​อยู่​ข้าง​หลัง​ข้าพเจ้า​
13 และ​มี​เสียง​ปีก​สัตว์​ที่​ถูกต้อง​กัน และ​เสีย​งวง​ล้อ​ข้างๆ สัตว์​นั้น เป็น​เสียง​กระหึ่ม​


คำนี้ถูกค้นพบในสามคำเผยพระวจนะสำคัญเกี่ยวกับยุคสุดท้าย:
1. การฟื้นคืนพระชนม์ (Resurrection) : มีภาพที่ชัดเจนและมีรายละเอียดเกี่ยวกับการฟื้นฟูร่างกายในช่วงเวลาแห่งการฟื้นคืนพระชนม์ใน เอเสเคียล 37: 1-14 ในขณะที่มีการฟื้นคืนพระชนม์ มีแผ่นดินไหวสั่นสะเทือนเสียงดัง: ra'ash (ข้อ 7)
เอเสเคียล 37 : 7 ข้าพเจ้า​ก็​เผย​พระ​วจนะ​ดังที่​ข้าพเจ้า​ได้รับ​บัญชา เมื่อ​ข้าพเจ้า​เผย​อยู่​นั้น​ก็​มี​เสียง และ​ดู​เถิด เป็น​เสียง​กรุก​กริก กระดูก​เหล่า​นั้น​ก็​เข้า​มา​หา​กัน​ตาม​ที่​ของ​มัน​
2. สงครามครั้งยิ่งใหญ่ (Great War): เมื่อกองกำลังของโกกและมาโกกโจมตีอิสราเอลในตอนท้าย มีพลังอันแรงกล้าจากพระเจ้าที่ถูกปล่อยออกมาเพื่อทำลายพวกเขา ทำให้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่: ra'ash (เอเสเคียล 38:19 ,อิสยาห์ 29: 7)
เอเสเคียล 38:19  เพราะ​เรา​ขอ​ประกาศ​ด้วย​ความ​หวง​แหน​และ​ด้วย​ความ​พิโรธ ดั่ง​เพลิง​พลุ่ง​ของ​เรา​ว่า ใน​วัน​นั้น​จะ​มี​การ​สั่นสะเทือน​ใหญ่​ยิ่ง​ใน​แผ่นดิน​อิสราเอล​
3. การเสด็จมาครั้งที่สอง (Second Coming): เมื่อพลังแห่งความชั่วมาถึงกรุงเยรูซาเล็ม พระเจ้าจะลงมาสู้กับพวกเขา เท้าของพระองค์ตั้งอยู่บนภูเขามะกอกเทศ และเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ซึ่งแยกภูเขาออกเป็นสองส่วน: ra'ash  (อิสยาห์ 29: 6; เศคาริยาห์ 14: 4-5)

ข้อความเหล่านี้ระบุว่าการฟื้นคืนพระชนม์,สงคราม, และการเสด็จมาครั้งที่สอง เกิดขึ้นในเวลาที่มีแผ่นดินไหวครั้งใหญ่และเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์เดียวกัน การถูกรับขึ้นไปถูกอธิบายว่าเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันกับการเสด็จมาครั้งที่สองและการคืนพระชนม์ 
(มัทธิว 24:31, มาระโก 13:27, 1 โครินธ์ 15:52,1 เธสะโลนิกา 4: 15-17, 2 เธสะโลนิกา 2: 1)
2 เธสะโลนิกา 2:1 ดูก่อน​พี่​น้อง​ทั้ง​หลาย เรื่อง​การ​ซึ่ง​พระ​เยซู​คริสต​เจ้า​ของ​เรา​จะ​เสด็จ​มา และ​ที่​พระ​องค์​จะ​ทรง​รวบรวม​เรา​ทั้ง​หลาย​ไป​เป็น​ของ​พระ​องค์​นั้น เรา​ขอ​วิงวอน​ท่าน​ว่า​

เป็นที่ประจักษ์ว่าเหตุการณ์ทั้งหมดมีการเชื่อมต่อกันทั้งหมด
การคืนพระชนม์, การถูกรับขึ้นไป, สงคราม และการเสด็จมาครั้งที่สอง ทั้งหมดเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน     ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปลดปล่อยฤทธิ์อำนาจซึ่งจะสั่นสะเทือนแผ่นดินโลกทั้งมวล การเขย่าแผ่นดินโลกด้วยฤทธิ์อำนาจนี้ อธิบายว่าคล้ายคลึงกับความหายนะที่ยิ่งใหญ่ในยุคของโนอาห์ 
(2เปโตร 3: 5-12)


การสั่นสะเทือนนี้จะเกิดขึ้นอีกเพียงครั้งเดียว (ฮีบรู 12:26; ฮักกัย 2:6) ปรากฏการณ์"อีกครั้งหนึ่ง” นี้เป็นการรวมกันของเหตุการณ์ในยุคสุดท้าย ซึ่งอธิบายว่าเป็น”วันยิ่งใหญ่และน่าสะพรึงกลัวของยาห์เวห์"   (โยเอล 2:11, 31, เศฟันยาห์ 1:14, 2 เธสะโลนิกา 2: 2; วิวรณ์ 6:12, 16: 18)


การเสด็จกลับมาครั้งที่สองได้อธิบายไว้หลายครั้งในหนังสือวิวรณ์ (1: 7; 6: 12-14; 11:13; 14:20; 16: 18-19; 19:11)
 ในสามคำอธิบายเหล่านี้ มีแผ่นดินไหวที่ยิ่งใหญ่: seismos - วิวรณ์ 6:12; 11:13; 16:18  
แผ่นดินไหวในวิวรณ์ 16:18 ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และเกิดขึ้นพร้อมกับการสู้รบแห่งอาร์มาเกดอน (16:16) แผ่นดินไหวในสงครามโกกและมาโกก (เอเสเคียล 38) เป็นเช่นเดียวกับแผ่นดินไหวที่เกิดจากการสู้รบของอาร์มาเกดอน (วิวรณ์ 16)
โดยสรุป จะเกิดแผ่นดินไหวขึ้นหลายครั้งในช่วงยุคสุดท้าย ซึ่งเป็นผลมาจากการปะทะกันของกองกำลัง   ฝ่ายวิญญาณ จะเกิดแผ่นดินไหวครั้งสุดท้าย เมื่อพระเยซูเสด็จกลับมา ซึ่งจะปล่อยฤทธิ์อำนาจเพื่อทำลายคนชั่วร้าย, ชุบคนตายให้ฟื้นคืนชีพ, และเปลี่ยนแปลงวิสุทธิชน การเสด็จกลับมาครั้งที่สอง, 
สงครามอาร์มาเกดอน, การฟื้นคืนพระชนม์, และการถูกรับขึ้นไป เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นในเวลาที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่
ขอบคุณข้อมูลจาก https:reviveisrael.org

27 พฤศจิกายน 2560

ความสำคัญของการนำอิสราเอลกลับสู่ดินแดนพันธสัญญา(Aliyah)

 “ความสำคัญของการนำอิสราเอลกลับสู่ดินแดนพันธสัญญา(Aliyah)”
โดย อ.นิมิต พานิช  ศิษยาภิบาลอาวุโส คริสตจักรแห่งพระบัญชา

บทเพลงแห่งความหวัง “ฮาทิควา” (Hatikvah) เป็นเพลงชาติของประเทศอิสราเอลเนื้อเพลงกล่าวถึงความหวังของชาวยิวทั่วโลกที่จะได้กลับมาสู่บ้านเกิดอีกครั้ง  หลังจากที่ถูกกองทัพโรมันโจมตีและทำลายพระวิหาร   พวกเขาถูกเนรเทศออกจากดินแดนนี้ไปเมื่อปีค.ศ. 70  ในทุกวันนี้ เมื่อพวกเขาอธิษฐานประจำวัน  เขาจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเยรูซาเล็ม ด้วยความหวังในหัวใจว่าสักวันจะได้กลับบ้าน
คำกล่าวที่ว่า “ไม่มีที่ใดอุ่นใจเท่าบ้านเกิด”  ดังก้องอยู่ในจิตวัญญาณส่วนลึกของคนยิวแม้ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ใดและสร้างคุณประโยชน์มากมายในที่ต่างๆทั่วโลก   แต่“ดินแดนศักดิ์สิทธิ์”(Holly land) เป็นดินแดนพิเศษที่ไม่เหมือนที่ใดในโลกเพราะเป็นพันธสัญญาที่พระยาห์เวห์ทรงมอบให้ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ คือ อับราฮัม อิสอัค และยาโคบ(อิสราเอล)
พระยาห์เวห์ทรงเป็นความหวังแห่งอิสราเอล(ยรม.17:13)แม้พวกเขาจะละทิ้งพระองค์หลายครั้งในประวัติศาสตร์  แต่พระองค์ทรงไม่เคยละทิ้งพวกเขาเลย  จึงไม่ขึ้นอยู่กับว่า คนยิวทำตัวอย่างไรแต่พระยาห์เวห์ทรงมองเขาเช่นไร  พระองค์ทรงรักเขาอย่างแก้วตาดวงใจ(ฉธบ. 32:10) ทรงอยู่ร่วมกับเขาในทุกสถานการณ์ทั้งดีและร้าย   พระองค์ทรงมีแผนการแห่งสวัสดิภาพเพื่ออนาคตและความหวังใจของเขาเสมอ(ยรม.29:11)
ถ้อยคำเผยพระวจนะกล่าวไว้ว่า...เมื่อเราเปิดหลุมศพของเจ้า และยกเจ้าออกมาจากหลุมศพของเจ้า และเราจะบรรจุวิญญาณของเราไว้ในเจ้า และเจ้าจะมีชีวิต และเราจะวางเจ้าไว้ในแผ่นดินของเจ้า แล้วเจ้าจะทราบว่าเราคือพระเจ้าได้ลั่นวาจาแล้ว และเราได้กระทำ...” (อสค.37:13-14 ) 
ถ้อยคำนี้สำเร็จเป็นจริง เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่  2  ฝ่ายอักษะคือเยอรมัน เป็นฝ่ายแพ้สงคราม  เชลยสงครามชาวยิวได้รับการปล่อยตัวให้กลับบ้าน  ในปี ค.ศ.1947 ชาวยิวที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์ฆ่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คนยิว( Holocaust) ได้เดินทางกลับบ้านโดยทางเรือ โดยเรือนั้นมีชื่อว่า  "อพยพ”(Exodus) พวกเขาอพยพกลับบ้านในดินแดนพันธสัญญาและในปี ค.ศ.1948 รัฐอิสราเอลได้รับการสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการ  
หลังจากนั้นเป็นต้นมาจึงมีการเริ่มต้นโครงการ"อาลียาห์” (Aliyah) เพื่อส่งเสริมให้คนยิวได้เดินทางกลับสู่บ้าน
คำว่า "Aliyah" หมายความว่า “ขึ้นไปสู่ที่สูง” (to ascend,go up) ตามพระวจนะ (อสย.11:12) ​พระองค์จะทรงยกเครื่องหมายนั้นขึ้นให้แก่บรรดาประชาชาติ และจะชุมนุมอิสราเอลที่พลัดพราก และรวบรวมยูดาห์ที่กระจัดกระจาย จากสี่มุมแห่งแผ่นดินโลก 
ดังนั้นการที่คนยิวอพยพกลับไปบ้านที่อิสราเอล พวกเขากำลัง Aliyah กลับไปยังดินแดนพันธสัญญา  แต่เนื่องจากคนยิวบางคนไม่อยู่ในฐานะที่จะช่วยตัวเองให้เดินทางกลับไปยังแผ่นดินของตนได้ เพราะพวกเขาขาดปัจจัยและโอกาส
ผมขอหนุนใจพี่น้องทุกท่านว่า ในฐานะที่เราเป็นคนใหม่คนเดียวกัน(One New Man)กับคนยิวเป็นคนในครอบครัวเดียวกันผ่านทางพระเยซูคริสต์(อฟ.2:15-17) เราจึงมีภาระใจร่วมกันในการอธิษฐานเผื่อและเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมจัดหาทุนส่งเสริมให้พวกเขาได้กลับบ้าน  อิสราเอลเป็นชนชาติแห่งพระพร  เมื่อเราทำสิ่งดีให้เขา เราจะได้รับพระพรตามพระสัญญา(ปฐก.12)  ให้เรามีส่วนร่วมทำให้เป้าประสงค์ของพระยาห์เวห์สำเร็จ
อสย. 49:22 ...“ดูเถิด เราจะยกมือของเรากวักบรรดาประชาชาติ และยกสัญญาณของเราต่อชนชาติทั้งหลาย และเขาทั้งหลายจะอุ้มบรรดาบุตรชายของเจ้ามา และบรรดาบุตรหญิงของเจ้านั้น เขาจะใส่บ่าแบกมา”

18 พฤศจิกายน 2560

อย่าไถลเข้าสู่การหมดไฟ(Flirting with burnout)

อย่าไถลเข้าสู่การหมดไฟ (Flirting with burnout)  
โดย โคดี้ อาเชอร์(Cody Archer)
คุณเคยเริ่มต้นฤดูกาลหรือตำแหน่งใหม่ที่มาพร้อมกับความหวังและความตื่นเต้นสูงหรือไม่? จากนั้นเมื่อเวลาผ่านไปสิ่งต่างๆ ก็ไม่ได้เป็นตามแบบที่คุณคิดว่ามันควรจะเป็น โครงการต่างๆ ก็คืบหน้าช้ากว่าที่คาดไว้ ความสัมพันธ์ก็ถดถอยลงไป ปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขก็อยู่นอกเหนือการควบคุมของคุณ ทำให้พลังงานและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของคุณกำลังหมดไปเรื่อยๆ คุณรู้สึกว่าความต้องการของคนอื่นที่ฝากไว้กับคุณกำลังโถมทับ การเงินไม่คล่องมือมากกว่าที่คาดคิด และยังปัญหาด้านสุขภาพที่ไม่จบไม่สิ้นจนเหมือนจะทำลายคุณ...
โคดี้ อาเชอร์ (Cody Archer)
ผมเองได้มีประสบการณ์บางอย่างกับความท้าทายเหล่านี้ในปีที่ผ่านมาและได้เรียนรู้ว่าถ้าความกดดันเช่นนี้ไม่ได้ถูกรับมือในทางที่ถูกต้อง พวกมันสามารถกลายเป็นสูตรสำเร็จไปสู่การหมดไฟ
ทางลื่นอันลาดชัน(Slippery Slope)
พัฒนาการอย่างง่ายๆ ไปสู่การหมดไฟ เป็นไปอย่างนี้: ด้วยเหตุผลหลายประการ ความหวังอันสูงของคุณนั้นอาจลดน้อยลงไป ซึ่งอาจนำไปสู่ความตึงเครียดและความขุ่นเคือง ในเมื่อยังไม่พบวิธีแก้ปัญหาเพื่อต่อสู้กับความขุ่นเคืองเหล่านั้น คุณก็จะเริ่มรู้สึกโกรธไม่พอใจ ความไม่พอใจสามารถแสดงให้เห็นได้ด้วยวิธีต่างๆ     แต่ถ้าไม่จัดการแก้ไข คุณก็จะไถลลงไปตามทางลื่นอันลาดชันนั้นไปยังความเฉยชา คุณเลิกใส่ใจ         ความปรารถนาครั้งหนึ่งนั้นของคุณที่มันเคยเป็นไฟเร่าร้อนเพื่อสร้างความแตกต่างได้กลายเป็นแค่กองถ่าน ที่ระอุอยู่เท่านั้น การตัดสินใจอะไรที่เคยง่ายก็กลายเป็นเรื่องยาก และคุณก็ต้องการให้คนอื่นตัดสินใจให้คุณมากกว่า ถ้าคุณละเลยต่อสัญญาณเตือนสภาวะอารมณ์ของคุณเช่นนี้ ความเฉยชานั้นแหละจะนำคุณไปสู่ภาวะความซึมเศร้าและภาวะหมดไฟ
ผมกลับดีใจที่ผมสังเกตเห็นสัญญาณเตือนและได้พบกับผู้นำของผม ได้หารือเกี่ยวกับความต้องการของผมสำหรับการได้พักผ่อนและการพักฟื้น นี่รวมถึงการใช้เวลาหลายสัปดาห์หยุดพักจากการทำรับใช้ และอุทิศเวลาของผมเพื่อรับกำลังในการทรงสถิตของพระเจ้ารวมถึงจุดไฟภายในของผมขึ้นใหม่
รากสาเหตุ(Root Cause)
ผมได้เรียนรู้ว่าคนที่มีบุคลิกเก็บตัวแต่เป็นบุคลิกประเภท 'A'  อย่างตัวผมเองนั้นส่วนใหญ่มักจะมีแนวโน้มว่าจะหมดไฟได้ง่าย ตัวการหนึ่งเดียวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการก้าวสู่ความถดถอยของผมไม่ได้เป็นปริมาณงานมากที่ผมทำอยู่ (แน่นอนนี่เป็นปัจจัยหนึ่ง) แต่คือปริมาณงานที่ผมทำนอกเหนือความสนใจหลักของผมต่างหาก ผมเปลี่ยนจากการเป็นผู้นำไปสู่การบริหารจัดการ ผมต้องวุ่นอยู่กับอีเมล์ การประชุมและงานด้านการบริหาร รวมถึงสูญเสียการมองภาพรวมไป
ทุกวันนี้ทุกคนก็ดูเหมือนจะใช้ชีวิตที่เร่งรีบเกินจะรับไหว เราคิดว่า "การทำตัวยุ่ง" เราควรได้รับติดเข็มเกียรติยศและสามารถแสดงให้คนอื่นเห็นเพื่อว่าเรารู้สึกมีความสำคัญมากขึ้น แต่เมื่อเราหยุดและนั่นผมหมายถึงหยุดจริงๆ และกลับมาประเมินทั้งหมดดูสิ่งที่เรากำลังทำและเหตุผลที่เรากำลังทำมัน ส่วนใหญ่จะพบว่าพวกเขาได้กลายเป็นอยู่กับรูปการปัจจุบันแทนที่จะได้ไขว่คว้าหาสิ่งที่ดีที่สุด โดยตามสถิติ ผู้คนเป็นจำนวนมาก ไม่ได้ทำในสิ่งที่พวกเขารัก แต่กลับทำในสิ่งที่ทำให้ตนไม่พึงพอใจ รับภาระหนักเกินไป และกำลังไถลเข้าสู่การหมดไฟในที่สุด
สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับคุณหรือไม่? คุณกำลังกำลังไถลเข้าสู่การหมดไฟหรือไม่? สภาพฝ่ายวิญญาณ จิตใจ และร่างกายของคุณเป็นอย่างไร? สัปดาห์หน้าผมจะแบ่งปันกับคุณถึง 5 สิ่งที่ผมได้รับเพื่อให้ชีวิตและสุขภาพภายในของผมได้กลับมาเป็นปกติสุข
ขอบคุณข้อมูลจาก http://kehilanews.com/2017/11/09/flirting-with-burnout/

12 พฤศจิกายน 2560

ที่มาของวันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day)

ทุกวันพฤหัสบดีที่ 4 ของเดือนพฤศจิกายน (ปี 2017 ตรงกับวันที่ 23 พ.ย.) ประเทศสหรัฐอเมริกาจะถือเป็น "วันขอบคุณพระเจ้า"(Thanksgiving Day)
ชาวอเมริกันจะเลี้ยงฉลองขอบคุณพระเจ้าที่อวยพระพรพวกเขาทั้งหลายให้มีความสุขทั้งกายและใจตลอดปีที่ผ่านมา และเป็นวันที่สมาชิกครอบครัวจะอยู่พร้อมหน้ากัน เพื่อรับประทานอาหารเย็น รวมทั้งพูดคุยถึงสิ่งที่ ต้องการขอบคุณพระเจ้า
วันขอบคุณพระเจ้า มีประวัติความเป็นมาเริ่มตั้งแต่การอพยพตั้งถิ่นฐานครั้งแรก ในอเมริกาในปี ค.ศ. 1620 เริ่มจากชาวอังกฤษกลุ่มหนึ่งซึ่งเรียกตนเองว่า เพียวริแทนสฺ (Puritans) นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ ต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบ ศาสนาในประเทศอังกฤษซึ่งในยุคนั้นเป็นนิกาย เชิร์ชออฟอิงแลนด์ (Church of England) ให้เป็นไปตามความเชื่อ เน้นความเรียบง่ายไม่หรูหรา ผลปรากฏว่าพวกเพียวริแทนส์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ จนในที่สุดได้ตัดสินใจย้ายถิ่นฐาน
การออกเดินทางมุ่งหน้าสู่โลกใหม่ พวกเพียวริแทนสฺ เริ่มเรียกตัวเองว่าพิลกริม (Pilgrims) เนื่องมาจากการท่องหาดินแดนแห่งเสรีภาพทางศาสนานี้
เมื่อเวลาผ่านไปเข้าสู่ฤดูหนาว (Winter) พวกพิลกริมต้องเผชิญกับการต่อสู้ภัยธรรมชาติ ซึ่งยากที่จะรับมือได้เนื่องจาก ไม่คุ้นเคยและไม่ได้รับการฝึกฝนทนกับความหนาวเย็น การใช้ชีวิตในป่าดงพงไพรอันเต็มไปด้วยโรคต่าง ๆ การทำงานหนัก ตลอดจนอาหารมีไม่เพียงพอ พวกเขาจึงได้รับความทุกข์ทรมานอย่างมากจนถูกคร่าชีวิตไปกว่าครึ่งหนึ่ง เมื่อสิ้นสุดฤดูหนาว จำนวนผู้รอดชีวิตเหลืออยู่แค่ 50 คนเท่านั้น ในเช้าวันหนึ่งของฤดูใบไม้ผลิอันเป็นฤดูกาลถัดจากฤดูหนาว ชายชาวอินเดียนแดงคนหนึ่งเดินเข้ามาในหมู่บ้านเล็ก ๆ ของพลีมัธ และแนะนำตัวเองอย่างเป็นมิตรซึ่งในเวลาต่อมาเขาได้นำหัวหน้าเผ่าอินเดียนแดง ชื่อแมสซาซอยท์ (Massasoit) นำของกำนัลต่าง ๆ มามอบให้พวกพิลกริม และยังเสนอความช่วยเหลืออีกด้วย โดยสมาชิกในเผ่าของแมสซาซอยท์ได้สอนวิธีการล่าสัตว์ จับปลาและปลูกพืชให้กับพวกพิลกริม นอกจากนี้ยังสอนวิธีการใช้ปลา เป็นปุ๋ยสำหรับปลูกข้าวโพด (Corn) ฟักทอง (Pumpkins) และถั่ว (Beans) มีผลให้พวกพิลกริมสามารถเก็บเกี่ยว พืชผลได้อย่างดีมาก
ผู้ว่าการวิลเลี่ยม แบรดฟอร์ด (William Bradford) เจริญรอยตามแบบแผนประเพณีเก่าแก่ที่เคยปฏิบัติกันมา ได้กำหนดวันเพื่อขอบคุณพระเจ้าในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1621 และยังได้ใช้โอกาสทางศาสนานี้สร้างสายสัมพันธ์ อันดีงามระหว่างพวกพิลกริม และเพื่อนบ้านชาวอินเดียนแดงเหล่านั้น
ประเพณีการฉลองวันขอบคุณพระเจ้าของคนอเมริกันในยุคปัจจุบันมีที่มาจากการฉลองวันขอบคุณพระเจ้าครั้งแรกดังกล่าว ดังนั้นอาหารหลักบนโต๊ะอาหารในวันนี้ซึ่งถือเป็นอาหารประจำเทศกาลขอบคุณพระเจ้าจะมีไก่งวงอบยัดไส้ (Roast turkey with stuffing) ผลสควอช ขนมปังข้าวโพด (Corn bread) และซอสแครนเบอร์รี่ (Cranberry sauce) พายฟักทอง (Pumpkin pie) เช่นเดียวกับอาหารที่หาและเก็บเกี่ยวได้ ในยุคสมัยนั้น...
ในวันศุกร์หลังจากวันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day) เรียกกันว่า Black Friday เป็นวันเริ่มต้น การหาซื้อของขวัญเทศกาลคริสต์มาส เพื่อเตรียมมอบให้แก่กันและกัน
(ที่มา http://www.thainewyork.com/find-411.htm)
สำหรับเราในฐานะคริสตชน สามารถขอบพระคุณพระเจ้าได้ทุกวันเวลา สำหรับการจัดเตรียมจัดสรรของพระองค์ การไปคริสตจักรในทุกสัปดาห์จึงมีึวามหมายเพื่อเราจะได้เข้าไปนมัสการและขอบพระคุณพระเจ้า
สดุดี 95:2 ​ให้​เรา​เข้า​มา​อยู่​เฉพาะ​พระ​พักตร์​พระ​องค์​ด้วย​การ​ขอบ​พระ​คุณ ​ให้​เรา​โห่​ร้อง​ด้วย​ความ​ชื่น​บาน​ถวาย​แด่​พระ​องค์​ด้วย​บท​เพลง​สรรเสริญ
สดุดี 100:4 ​จง​เข้า​ประตู​ของ​พระ​องค์​ด้วย​การ​ขอบ​พระ​คุณ ​และ​เข้า​บริเวณ​พระ​นิเวศ​ของ​พระ​องค์​ด้วย​การ​สรรเสริญ จง​ขอบ​พระ​คุณ​พระ​องค์ จง​ถวาย​สาธุการ​แด่​พระ​นาม​ของ​พระ​องค์

10 พฤศจิกายน 2560

คำคมควรคิด :ความรู้กับความรัก

ความรู้ทำให้หยิ่งอยู่ด้วยความลำพอง
ความลำพองไม่ยอมรับความจริงจะอยู่อย่างลำพัง
ความลำพังทำให้เผชิญทุกสิ่งอย่างลำบาก
ความลำบากทำให้ชีวิตจริงอยู่อย่างลำเค็ญ

ความรู้ทำให้หยิ่ง ความจริงทำให้ตระหนัก ความรักทำให้กลับใจ

ความรักที่ท่วมท้นล้นใจดีกว่าความรู้ที่ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอด

‭‭2 โครินธ์‬ ‭1:5-6‬
“เพราะความรักของพระคริสต์มากท่วมท้นเราอย่างไร การหนุนใจของพระคริสต์ก็มากท่วมท้นเราอย่างนั้น ที่เราทนความยากลำบากนั้น ก็เพื่อให้พวกท่านได้รับการหนุนใจและได้รับความรอด และที่เราได้รับการหนุนใจ ก็เพื่อให้พวกท่านได้รับการหนุนใจด้วย ซึ่งท่านจะได้รับเมื่อ สู้ทนความทุกข์เช่นเดียวกับที่เราทนอยู่นั้น
” ‭
ขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับความรักที่ให้โดยพระคุณไม่ใช่ขึ้นอยู่กับการกระทำ
1 ยอห์น 4:9 -10
9 โดยข้อนี้ความรักของพระเจ้าก็เป็นที่ประจักษ์แก่เราทั้งหลาย คือพระเจ้าทรงใช้พระบุตรองค์เดียวของพระองค์เข้ามาในโลก เพื่อเราทั้งหลายจะได้ดำรงชีวิตโดยพระบุตร
10 ความรักที่ข้าพเจ้าพูดถึงนี้มิใช่ที่เรารักพระเจ้า แต่ที่พระองค์ทรงรักเรา และทรงใช้พระบุตรของพระองค์มา ทรงเป็นผู้ลบล้างพระอาชญาที่ตกกับเราทั้งหลายเพราะบาปของเรา

ปล. แถมให้เพื่อความครื้นเครง "ลำปาง" หนาวมากไม่หนาวใจเท่า "ลำพัง" อยากกินลำใยต้องไปซื้อที่ลำพูน  รับรองลำแต้แต้

02 พฤศจิกายน 2560

"เลือกคนที่เหมาะเพราะเป็นคู่ที่ใช่"

“True love is like a jigsaw puzzle.
The pieces will find themselves
when they are right for each other.”

ความรักที่แท้จริงก็เหมือนกับเกมจิ๊กซอว์
ชิ้นส่วนทั้งหมดจะสามารถค้นพบตัวเองได้
ก็ต่อเมื่อแต่ละชิ้นสามารถหาชิ้นที่”ใช่”สำหรับตัวมันเอง


"เลือกคนที่เหมาะเพราะเป็นคู่ที่ใช่"

เตรียมพบกับ E book เล่มใหม่ของเรา เร็วๆนี้ - Naphtali Family