เทศกาล “ฮานุกกะห์” (Hanukkah) หรือ “คานุกะห์”(Chanukah)
เทศกาลนี้ได้ชื่อว่าเป็น “เทศกาลแห่งแสงสว่าง” (Festival of lights) อันเป็นความสว่างและความหวังใจของคนอิสราเอลที่ได้รับชัยชนะโดยพระยาห์เวห์
คำว่า “คานุกะห์” חֲנֻכָּה ในภาษาฮีบรู หมายถึง การอุทิศตน(Dedication) เพื่อการชำระตนต่อพระยาห์เวห์
เทศกาลนี้จะเริ่มต้นฉลองในวันที่ 25 เดือนคิสเลฟ ไปจนถึงวันที่ 2 เดือนเทเบท (ปี 2016 อยู่ในช่วงวันที่ 25 ธันวาคม - 1 มกราคม 2017 ซึ่งตรงกับช่วงเทศกาลคริสต์มาส)
เทศกาลนี้เราอาจจะไม่คุ้นเคยนักเพราะไม่ได้เป็นเทศกาลหลัก
3 เทศกาลตามพระคัมภีร์คือเทศกาลปัสกา
เพ็นเทคอสต์ และอยู่เพิง (เลวีนิติ บทที่ 23)
แต่สำหรับคนอิสราเอลนั้นมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะเป็นการรำลึกถึงชัยชนะกลุ่มมัคคาบี นำโดย ยูดาห์ มัคคาบี (Judah Maccabee) ที่มีต่อกองทัพของกษัตริย์อันติโอคัสที่ 4 แห่ง
อีพิฟานีส(Antiochus IV Epiphanes) ในช่วงประมาณ 165 ปีก่อนคริสตศักราช
กษัตริย์อันติโอคัสที่ 4 ได้ทำรูปปั้นพระซุส(Zeus) เทพเจ้าของกรีกและถวายสัตวบูชาโดยใช้สุกรซึ่งเป็นสัตว์มลทินในพระวิหารของพระยาห์เวห์ ทรงสั่งให้คนยิวนมัสการเทพเจ้าของกรีก หากพวกเขาไม่นมัสการพระองค์จะฆ่าพวกเขาเสีย แต่คนยิวไม่ยอมก้มกราบนมัสการเทพเจ้าของกรีก
ยูดาห์ มัคคาบี (Judah Maccabee) ได้นำคนยิวต่อต้านจึงได้ชื่อว่า "กบฎมัคคาบี"
เมื่อศัตรูจะทำลายคนยิว พระยาห์เวห์ สะบาโอท พระองค์ทรงอยู่ฝ่ายประชากรของพระองค์เสมอ ทรงปกป้องช่วยเหลือประชากรของพระองค์เสมอ
กองทัพกรีกซึ่งเป็นกองทัพใหญ่ ส่วนคนยิวมีกองกำลังเพียงเล็กน้อย แต่คนยิวสามารถชนะกองทัพของกรีกได้ พวกเขาได้พระวิหารกลับคืนมาและได้ทำการชำระพระวิหาร แต่คันประทีป 7 กิ่ง(Menorah) นั้นได้ดับลงไปแล้ว
ตามหลักการในพระธรรมเลวีนิติ ไฟที่คันประทีบต้องถูกจุดให้ลุกอยู่เสมอ
ปกติน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ 1 ขวดใช้ได้เพียง 1 วัน จึงเป็นที่มาของการเฉลิมฉลองเทศกาลฮานุกกะห์เป็นระยะเวลา 8 วัน โดยคันประทีปที่ใช้ในเทศกาลนี้จะมี 8 กิ่ง เรียกว่า “ฮานุคิอาห์” (Hanukiah)
การจุดฮานุคิอาห์เริ่มจุดเทียนเล่มกลางหรือเทียนผู้รับใช้ (ชาแมช- shamash)ก่อนและจุดเทียนเล่มแรกในวันแรกจากนั้นจะจุดเทียนแต่ละเล่มเพิ่มขึ้นวันละ 1 เล่มทุกๆ วันจนครบทั้ง 8 เล่ม
ในวันที่ 8 ฮานุคิอาห์จะส่องสว่างอย่างครบบริบูรณ์เป็นการแสดงความเคารพของชาวยิวต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าและวีรบุรุษของชนชาติอิสราเอลที่ล่วงหลับไป
เลข 8 ในภาษาฮีบรู เล็งถึง พันธสัญญานิรันร์ของพระยาห์เวห์
หลังจากจุดเทียนจึงจะมีการรับประทานอาหารร่วมกัน และมอบของขวัญให้กับคนในครอบครัว
นอกจากนี้ยังมีการหมุน “ลูกข่างเดรเดล” (Dreidel) เป็นลูกข่าง 4 ด้านมีตัวอักษรฮีบรู 4 ตัว คืออักษรนูน กิเมล เฮ้ และชิน
เมื่อนำทั้ง 4 ตัวมารวมกันจะหมายความว่า "ปาฏิหาริย์เกิดขึ้นที่นั่น" เป็นการแสดงถึงการขอบพระคุณพระยาห์เวห์ สำหรับชัยชนะที่น่าอัศจรรย์โดยพระองค์
จากเหตุการณ์ที่พระวิหารถูกยึดครองโดยกษัตริย์ของกรีกนั้น เป็นไปตามคำเผยพระวจนะของดาเนียลที่เห็นภาพนิมิตถึงอนาคตของอิสราเอลจะถูกอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มายึดครอง 4 อาณาจักร คือ มีเดีย(บาบิโลน) เปอร์เซีย กรีก และโรมัน และตอนนี้คือ "อาณาจักรกรีก" ซึ่งภาพนิมิตคือ "แพะผู้"ตามที่ทูตสวรรค์กาเบียลอธิบาย
ดาเนียล 8:8-11,
8 แล้วแพะผู้ก็พองตัวขึ้นอย่างมาก แต่เมื่อมันแข็งแรงเต็มที่ เขาใหญ่ของมันก็หัก มีเขาเด่นอีกสี่เขางอกขึ้นแทนที่ หันไปทางทิศลมทั้งสี่ของฟ้าสวรรค์
9 และมีเขาเล็กๆ เขาหนึ่งงอกออกมาจากเขาหนึ่งในบรรดาเขาเหล่านี้ ซึ่งงอกขึ้นใหญ่โตเหลือเกินขยายไปทางใต้ ไปทางตะวันออก และไปยังแผ่นดินอันรุ่งโรจน์นั้น...
11 มันโตขึ้นอีกจนถึงเจ้านายแห่งบริวาร และเครื่องเผาบูชาเนืองนิตย์ก็ถูกชิงไปจากพระองค์ และสถานนมัสการของพระองค์ก็ถูกทำให้เสื่อม...
21 และแพะผู้คือกษัตริย์ของกรีก และเขาใหญ่ระหว่างนัยน์ตาคือกษัตริย์องค์แรก
กษัตริย์อันติโอคัสที่ 4 ได้ทำรูปปั้นพระซุส(Zeus) เทพเจ้าของกรีกและถวายสัตวบูชาโดยใช้สุกรซึ่งเป็นสัตว์มลทิน พระวิหารถูกทำให้เป็นมลทิน(ดาเนียล 8:11)
เทศกาลฮานุกกะห์ เป็นภาพเงาที่เล็งถึงพระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็นแสงสว่างที่ส่องเข้ามาในโลกที่ถูกปกคลุมด้วยความมืด
ยอห์น 8:12 พระเยซูตรัสกับพวกเขาอีกครั้งหนึ่งว่า “เราเป็นความสว่างของโลก คนที่ตามเรามาจะไม่ต้องเดินในความมืด แต่จะมีความสว่างแห่งชีวิต”
กลุ่มคนยิวที่เชื่อในองค์พระเยซูคริสต์(Messianic Jew) เชื่อว่าในเทศกาลนี้ มารีย์หญิงพรหมจารีได้ปฏิสนธิด้วยฤทธิ์เดชของพระวิญญาณบริสุทธิ์และได้ให้กำเนิดองค์พระเยซูคริสต์ในช่วงเทศกาลอยู่เพิง
พระองค์ทรงเป็นองค์อิมมานูเอล เป็นความสว่างแห่งพระสิริที่อยู่ท่ามกลางเรา
มัทธิว 1:23 “นี่แน่ะ หญิงพรหมจารีคนหนึ่งจะตั้งครรภ์ และคลอดบุตรชายคนหนึ่ง และเขาจะเรียกนามของท่านว่า อิมมานูเอล” (แปลว่า พระเจ้าสถิตกับเรา)
ยอห์น 10:22-23
22 ขณะนั้นเป็นเทศกาลฉลองพระวิหาร (Hanukkah)ที่กรุงเยรูซาเล็ม และเป็นฤดูหนาว
เทศกาลนี้ได้ชื่อว่าเป็น “เทศกาลแห่งแสงสว่าง” (Festival of lights) อันเป็นความสว่างและความหวังใจของคนอิสราเอลที่ได้รับชัยชนะโดยพระยาห์เวห์
คำว่า “คานุกะห์” חֲנֻכָּה ในภาษาฮีบรู หมายถึง การอุทิศตน(Dedication) เพื่อการชำระตนต่อพระยาห์เวห์
เทศกาลนี้จะเริ่มต้นฉลองในวันที่ 25 เดือนคิสเลฟ ไปจนถึงวันที่ 2 เดือนเทเบท (ปี 2016 อยู่ในช่วงวันที่ 25 ธันวาคม - 1 มกราคม 2017 ซึ่งตรงกับช่วงเทศกาลคริสต์มาส)
แต่สำหรับคนอิสราเอลนั้นมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะเป็นการรำลึกถึงชัยชนะกลุ่มมัคคาบี นำโดย ยูดาห์ มัคคาบี (Judah Maccabee) ที่มีต่อกองทัพของกษัตริย์อันติโอคัสที่ 4 แห่ง
อีพิฟานีส(Antiochus IV Epiphanes) ในช่วงประมาณ 165 ปีก่อนคริสตศักราช
Antiochus IV Epiphanes |
ยูดาห์ มัคคาบี (Judah Maccabee) ได้นำคนยิวต่อต้านจึงได้ชื่อว่า "กบฎมัคคาบี"
เมื่อศัตรูจะทำลายคนยิว พระยาห์เวห์ สะบาโอท พระองค์ทรงอยู่ฝ่ายประชากรของพระองค์เสมอ ทรงปกป้องช่วยเหลือประชากรของพระองค์เสมอ
กองทัพกรีกซึ่งเป็นกองทัพใหญ่ ส่วนคนยิวมีกองกำลังเพียงเล็กน้อย แต่คนยิวสามารถชนะกองทัพของกรีกได้ พวกเขาได้พระวิหารกลับคืนมาและได้ทำการชำระพระวิหาร แต่คันประทีป 7 กิ่ง(Menorah) นั้นได้ดับลงไปแล้ว
ตามหลักการในพระธรรมเลวีนิติ ไฟที่คันประทีบต้องถูกจุดให้ลุกอยู่เสมอ
เลวีนิติ 24:2 “เจ้าจงบัญชาแก่คนอิสราเอลให้นำน้ำมันอย่างบริสุทธิ์
สกัดจากมะกอกเทศเพื่อเติมประทีป เพื่อให้ตะเกียงลุกอยู่เสมอ
เมื่อมีการจุดได้เกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ขึ้น นั่นคือ
น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ที่ใช้จุดคันประทีปซึ่งเหลืออยู่เพียง 1 ขวดนั้นสามารถเป็นเชื้อเพลิงให้คันประทีปส่องสว่างได้ยาวนานถึง 8 วัน ปกติน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ 1 ขวดใช้ได้เพียง 1 วัน จึงเป็นที่มาของการเฉลิมฉลองเทศกาลฮานุกกะห์เป็นระยะเวลา 8 วัน โดยคันประทีปที่ใช้ในเทศกาลนี้จะมี 8 กิ่ง เรียกว่า “ฮานุคิอาห์” (Hanukiah)
การจุดฮานุคิอาห์เริ่มจุดเทียนเล่มกลางหรือเทียนผู้รับใช้ (ชาแมช- shamash)ก่อนและจุดเทียนเล่มแรกในวันแรกจากนั้นจะจุดเทียนแต่ละเล่มเพิ่มขึ้นวันละ 1 เล่มทุกๆ วันจนครบทั้ง 8 เล่ม
ในวันที่ 8 ฮานุคิอาห์จะส่องสว่างอย่างครบบริบูรณ์เป็นการแสดงความเคารพของชาวยิวต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าและวีรบุรุษของชนชาติอิสราเอลที่ล่วงหลับไป
เลข 8 ในภาษาฮีบรู เล็งถึง พันธสัญญานิรันร์ของพระยาห์เวห์
หลังจากจุดเทียนจึงจะมีการรับประทานอาหารร่วมกัน และมอบของขวัญให้กับคนในครอบครัว
นอกจากนี้ยังมีการหมุน “ลูกข่างเดรเดล” (Dreidel) เป็นลูกข่าง 4 ด้านมีตัวอักษรฮีบรู 4 ตัว คืออักษรนูน กิเมล เฮ้ และชิน
เมื่อนำทั้ง 4 ตัวมารวมกันจะหมายความว่า "ปาฏิหาริย์เกิดขึ้นที่นั่น" เป็นการแสดงถึงการขอบพระคุณพระยาห์เวห์ สำหรับชัยชนะที่น่าอัศจรรย์โดยพระองค์
จากเหตุการณ์ที่พระวิหารถูกยึดครองโดยกษัตริย์ของกรีกนั้น เป็นไปตามคำเผยพระวจนะของดาเนียลที่เห็นภาพนิมิตถึงอนาคตของอิสราเอลจะถูกอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มายึดครอง 4 อาณาจักร คือ มีเดีย(บาบิโลน) เปอร์เซีย กรีก และโรมัน และตอนนี้คือ "อาณาจักรกรีก" ซึ่งภาพนิมิตคือ "แพะผู้"ตามที่ทูตสวรรค์กาเบียลอธิบาย
ดาเนียล 8:8-11,
8 แล้วแพะผู้ก็พองตัวขึ้นอย่างมาก แต่เมื่อมันแข็งแรงเต็มที่ เขาใหญ่ของมันก็หัก มีเขาเด่นอีกสี่เขางอกขึ้นแทนที่ หันไปทางทิศลมทั้งสี่ของฟ้าสวรรค์
9 และมีเขาเล็กๆ เขาหนึ่งงอกออกมาจากเขาหนึ่งในบรรดาเขาเหล่านี้ ซึ่งงอกขึ้นใหญ่โตเหลือเกินขยายไปทางใต้ ไปทางตะวันออก และไปยังแผ่นดินอันรุ่งโรจน์นั้น...
11 มันโตขึ้นอีกจนถึงเจ้านายแห่งบริวาร และเครื่องเผาบูชาเนืองนิตย์ก็ถูกชิงไปจากพระองค์ และสถานนมัสการของพระองค์ก็ถูกทำให้เสื่อม...
21 และแพะผู้คือกษัตริย์ของกรีก และเขาใหญ่ระหว่างนัยน์ตาคือกษัตริย์องค์แรก
เทศกาลฮานุกกะห์ เป็นภาพเงาที่เล็งถึงพระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็นแสงสว่างที่ส่องเข้ามาในโลกที่ถูกปกคลุมด้วยความมืด
ยอห์น 8:12 พระเยซูตรัสกับพวกเขาอีกครั้งหนึ่งว่า “เราเป็นความสว่างของโลก คนที่ตามเรามาจะไม่ต้องเดินในความมืด แต่จะมีความสว่างแห่งชีวิต”
มัทธิว 1:23 “นี่แน่ะ หญิงพรหมจารีคนหนึ่งจะตั้งครรภ์ และคลอดบุตรชายคนหนึ่ง และเขาจะเรียกนามของท่านว่า อิมมานูเอล” (แปลว่า พระเจ้าสถิตกับเรา)
ยอห์น 1:4-5
4 พระองค์ทรงเป็นแหล่งชีวิต และชีวิตนั้นเป็นความสว่างของมนุษย์
5 ความสว่างส่องเข้ามาในความมืด และความมืดหาได้ชนะความสว่างไม่
4 พระองค์ทรงเป็นแหล่งชีวิต และชีวิตนั้นเป็นความสว่างของมนุษย์
5 ความสว่างส่องเข้ามาในความมืด และความมืดหาได้ชนะความสว่างไม่
ยอห์น 1:14 พระวาทะทรงเกิดเป็นมนุษย์และทรงอยู่ท่ามกลางเรา เราเห็นพระสิริของพระองค์ คือ พระสิริที่สมกับพระบุตรองค์เดียวของพระบิดา บริบูรณ์ด้วยพระคุณและความจริง
พระคริสตธรรมคัมภีร์บันทึกว่า
พระเยซูคริสต์ทรงอยู่ร่วมเทศกาลฮานุกกะห์หรือที่เรียกว่า “เทศกาลฉลองพระวิหาร”ยอห์น 10:22-23
22 ขณะนั้นเป็นเทศกาลฉลองพระวิหาร (Hanukkah)ที่กรุงเยรูซาเล็ม และเป็นฤดูหนาว
23 พระเยซูทรงดำเนินอยู่ในบริเวณพระวิหารที่เฉลียงของซาโลมอน
พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับพระวิหารและทรงเรียกว่า “นิเวศแห่งพระบิดาของเรา” (ลูกา 2:49) พระองค์ทรงชำระพระวิหารที่เต็มไปด้วยสิ่งที่เป็นมลทิน (มาระโก 11:15-17)
สิ่งสำคัญของการฉลองเทศกาลฮานุกกะห์ ในสมัยของพระเยซูคริสต์ นั่นคือ ช่วงเวลานั้นคนยิวถูกอาณาจักรโรมันครอบครองอยู่เป็นอาณาจักรที่ 4 ซึ่งเป็นการปกครองต่อจากมีเดีย(บาบิโลน) เปอร์เซีย และกรีก
สมัยการปกครองโดยอาณาจักกรีก คนยิวได้รับการปลดปล่อยโดยผู้นำคือ ยูดาห์ มัคคาบี
แต่ในสมัยโรมัน คนยิวบางคนคิดว่า พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระเมสสิยาห์ ทรงเป็นสิงห์แห่งเผ่ยูดาห์ เชื้อสายของดาวิดที่จะมาเป็นกษัตริย์ของยิวและปลดปล่อยพวกเขาจากอาณาจักรโรมัน แต่ยิวบางคนก็ต่อต้านไม่เชื่อว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระเมสสิยาห์ และจะเอาก้อนหินขว้างพระองค์
แต่ในสมัยโรมัน คนยิวบางคนคิดว่า พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระเมสสิยาห์ ทรงเป็นสิงห์แห่งเผ่ยูดาห์ เชื้อสายของดาวิดที่จะมาเป็นกษัตริย์ของยิวและปลดปล่อยพวกเขาจากอาณาจักรโรมัน แต่ยิวบางคนก็ต่อต้านไม่เชื่อว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระเมสสิยาห์ และจะเอาก้อนหินขว้างพระองค์
พระเยซูคริสอยู่ในเทศกาลฮานุกกะห์ ในพระธรรม ยอห์น 10 :22-38
22 ขณะนั้นเป็นเทศกาลฉลองพระวิหาร(Hanukkah)ที่กรุงเยรูซาเล็ม
23 เป็นฤดูหนาว
พระเยซูทรงดำเนินอยู่ในบริเวณพระวิหารที่เฉลียงของซาโลมอน
24 พวกยิวก็พากันมาห้อมล้อมพระองค์และทูลว่า
“จะให้ใจเราแขวนอยู่นานสักเท่าใด
ถ้าท่านเป็นพระคริสต์ก็จงบอกเราให้ชัดแจ้งเถิด”
25 พระเยซูตรัสกับเขาทั้งหลายว่า “เราได้บอกท่านทั้งหลายแล้วและท่านไม่เชื่อ
สิ่งซึ่งเราได้กระทำในพระนามพระบิดาของเรา ก็เป็นพยานให้แก่เรา
26 แต่ท่านทั้งหลายไม่เชื่อเพราะท่านมิได้เป็นแกะของเรา
27 แกะของเราย่อมฟังเสียงของเรา
และเรารู้จักแกะเหล่านั้น และแกะนั้นตามเรา
28 เราให้ชีวิตนิรันดร์แก่แกะนั้น
แกะนั้นจะไม่พินาศเลย และจะไม่มีผู้ใดแย่งชิงแกะเหล่านั้นไปจากมือของเราได้
29 พระบิดาของเราผู้ประทานแกะนั้นให้แก่เราเป็นใหญ่กว่าทุกสิ่ง
และไม่มีผู้ใดอาจชิงแกะนั้นไปจากพระหัตถ์ของพระบิดาของเราได้
30 เรากับพระบิดาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน”
31 พวกยิวจึงหยิบก้อนหินขึ้นมาอีกจะขว้างพระองค์ให้ตาย
32 พระเยซูจึงตรัสกับเขาว่า “เราได้สำแดงให้ท่านเห็นการดีหลายประการของพระบิดาของเรา
ท่านทั้งหลายหยิบก้อนหินจะขว้างเราให้ตาย เพราะการกระทำข้อใดเล่า”
33 พวกยิวทูลตอบพระองค์ว่า “เราจะขว้างท่านมิใช่เพราะการกระทำดี แต่เพราะการพูดหมิ่นประมาทพระเจ้า
เพราะท่านเป็นเพียงมนุษย์แต่ตั้งตัวเป็นพระเจ้า”
34 พระเยซูตรัสว่า “ในพระธรรมของท่านมีคำเขียนไว้มิใช่หรือว่า ‘เราได้กล่าวว่าท่านทั้งหลายเป็นพระ’
35 ถ้าพระธรรมนั้นเรียกผู้ที่รับพระวจนะของพระเจ้าว่า
เขาเป็นพระ (และจะฝ่าฝืนพระคัมภีร์ไม่ได้)
36 ท่านทั้งหลายจะกล่าวหาท่านที่พระบิดาได้ทรงตั้งไว้
และทรงใช้เข้ามาในโลกว่า ‘ท่านกล่าวคำหมิ่นประมาทพระเจ้า’
เพราะเราได้กล่าวว่า ‘เราเป็นบุตรของพระเจ้า’
อย่างนั้นหรือ
37 ถ้าเราไม่ปฏิบัติพระราชกิจของพระบิดาของเรา
ก็อย่าวางใจในเราเลย
38 แต่ถ้าเราปฏิบัติพระราชกิจนั้น
แม้ว่าท่านมิได้วางใจในเรา ก็จงวางใจเพราะพระราชกิจนั้นเถิด
เพื่อท่านจะได้รู้และเข้าใจว่าพระบิดาทรงอยู่ในเรา และเราอยู่ในพระบิดา”
พระเยซูคริสต์ทรงตรัสกับคนยิวเหล่านั้นว่า พระองค์ทรงมาเพื่อจะตามหาแกะที่หลงหายไปจากพระบิดา ตามอุปมาเรื่องคอกแกะ(ยอห์น 10) ใครที่เชื่อฟังพระองค์ก็เป็นแกะของพระองค์ แกะของพระองค์จะได้ยินเสียงของพระองค์และ พระเยซูคริสต์จะให้ชีวิตนิรันดร์ พวกเขาไม่จะพินาศ (ยอห์น10:25-28)
พระเยซูทรงชี้ให้พวกเขาเห็นถึงความรอดจากการเป็นทาสของบาป ดีกว่าเป็นเชลยที่ได้รับการปลดปล่อยโดย ยูดาห์ มัคคาบี แต่มันก็ไม่ได้คำตอบที่คนยิวต้องการที่จะได้ยิน พวกเขาจึงจะขว้างพระเยซูคริสต์
พระเยซูคริสต์ไม่ได้มาเพื่อจะปลดปล่อยคนยิวให้พ้นจากการเป็นเชลยของโรมัน แต่พระเยซูคริสต์มาปลดปล่อยพวกเขาจากการเป็นทาสของบาปและความตาย นำพวกเขาเพื่อจะได้รับชีวิตนิรันดร์และอยู่ในราชอาณาจักรของพระเจ้า!
คนยิวก็หมดหวังเมื่อพระเยซูถูกทหารโรมันจับไปตรึงกางเขน และพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็มถูกกองทัพโรมันทำลายลงในปี ค.ศ. 70 ซึ่งเป็นไปตามคำพยากรณ์ของพระเยซูคริสต์
มัทธิว 24:1-2
1 พระเยซูเสด็จออกจากบริเวณพระวิหาร ระหว่างเสด็จไป บรรดาสาวกของพระองค์มาชี้อาคารทั้งหลายในบริเวณพระวิหารให้พระองค์ทอดพระเนตร
2 พระองค์จึงตรัสตอบพวกเขาว่า “สิ่งทั้งหมดนี้พวกท่านเห็นแล้วไม่ใช่หรือ? เราบอกความจริงกับท่านว่า ที่นี่จะไม่เหลือก้อนหินซ้อนทับกันอยู่แม้แต่ก้อนเดียว แต่จะถูกทำลายลงหมด”
พระเยซูคริสต์พยากรณ์ว่า พระองค์จะถูกตรึงที่กางเขน และตายและผ่านไป 3 วันพระองค์จะเป็นขึ้นมาจากความตาย(มัทธิว 27:40) พระองค์จะสร้างพระวิหารใหม่คือ พระวิหารในฝ่ายวิญญาณ คือ ผู้ที่เชื่อในพระองค์ และเป็นพระวิหารที่ประทับของพระวิญญาณบริสุทธิ์
แม้ว่าพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็มถูกกองทัพโรมันทำลายลงไปแล้ว แต่ก็มีการฉลองเทศกาลฮานุกกะห์ต่อเนื่องมาจนปัจจุบันนี้
ในอนาคตพระวิหารหลังที่ 3 จะถูกสร้างขึ้นใหม่ และเมื่อสิ้นยุคของโลกนี้ พระเยซูคริสต์จะกลับมาอีกครั้งหนึ่งในฐานะกษัตริย์ที่จะเสด็จเข้ามาทางประตูพระวิหารของพระองค์ด้วยพระสิริ(สดุดี 24) และจะทรงนำอาณาจักรและการครอบครองตลอดนิรันดร์กาล
ดังนั้น
ทุกครั้งที่มีการฉลองเทศกาลนี้ ให้เราตระหนักว่า
พระยาห์เวห์ทรงปรารถนาที่จะรื้อฟื้นพระวิหารของพระองค์ต่อไป
เราทั้งหลายเป็นพระวิหารในฝ่ายวิญญาณเป็นที่ประทับของพระวิญญาณบริสุทธิ์
1
โครินธ์ 3:16 ท่านทั้งหลายรู้แล้วไม่ใช่หรือว่า พวกท่านเป็นวิหารของพระเจ้า และพระวิญญาณของพระเจ้าสถิตอยู่ในพวกท่าน?
เทศกาลนี้จึงเป็นเวลาที่เราจะอุทิศตัวเพื่อรับการชำระจากพระยาห์เวห์
เพื่อนำสิ่งมลทินออกไปจากชีวิตและรับพระสิริของพระองค์เข้ามาฉายส่องในชีวิตของเรา (อิสยาห์ 60)
เราสามารถร่วมฉลองเทศกาลฮานุกกะห์
เทศกาลแห่งแสงสว่างและการอุทิศตน ด้วยการป่าวประกาศชัยชนะเหนือความมืดในภาคปฏิบัติ
ได้ดังต่อไปนี้
1. อุทิศตัวให้เวลาในการใคร่ครวญภาวนาพระวจนะ
เพราะพระวจนะเป็นโคมที่ส่องสว่างในชีวิต
โคโลสี 4:2 จงอุทิศตัวในการอธิษฐาน จงเฝ้าระวังในเรื่องนี้ด้วยการขอบพระคุณ
สดุดี 119:105 พระวจนะของพระองค์เป็นตะเกียงแก่เท้าของข้าพระองค์ และเป็นความสว่างแก่ทางของข้าพระองค์
โคโลสี 4:2 จงอุทิศตัวในการอธิษฐาน จงเฝ้าระวังในเรื่องนี้ด้วยการขอบพระคุณ
สดุดี 119:105 พระวจนะของพระองค์เป็นตะเกียงแก่เท้าของข้าพระองค์ และเป็นความสว่างแก่ทางของข้าพระองค์
2. อธิษฐานเพื่อรับการปกคลุมด้วยพระสิริของพระยาห์เวห์
และรับการปกป้องให้พ้นจากเงามืดของศัตรู (อิสยาห์ 60)
3. ขอบคุณพระเจ้าที่ให้เราเป็นพระวิหารของพระองค์
ใช้เวลาอธิษฐานชำระชีวิตให้บริสุทธิ์
4. อธิษฐานป่าวประกาศฤทธิ์เดชของพระวิญญาณที่อยู่ในชีวิต
ให้เราเรียนรู้ที่จะคาดหวังในการอัศจรรย์ของพระองค์เพื่อจะมีชัยชนะเหนือกิจการแห่งความมืด มีความหวังใจในพระเจ้าเสมอ
3 แต่ในเวลาที่พระองค์ทรงกำหนดไว้ ก็ได้ทรงโปรดให้พระวาทะของพระองค์ปรากฏด้วยการประกาศ ซึ่งข้าพเจ้าได้รับมอบไว้ ตามพระบัญชาของพระเจ้าผู้ทรงช่วยเราทั้งหลายให้รอด
5. ตระหนักว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นความสว่างของโลกนี้ ให้เราดำเนินชีวิตในความสว่างและพร้อมที่จะออกไปส่องสว่างท่ามกลางความมืดของโลกนี้
เราเป็นตะเกียงที่ถูกจุดเพื่อส่องสว่างเพื่อออกไปทำสิ่งดีและเป็นพยานถึงข่าวประเสริฐกับคนทั้งปวง
ทิตัส 1:2-3
2 ด้วยหวังว่าจะได้ชีวิตนิรันดร์ ซึ่งพระเจ้าผู้ไม่ทรงมุสาเลยได้ทรงสัญญาไว้ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์
2 ด้วยหวังว่าจะได้ชีวิตนิรันดร์ ซึ่งพระเจ้าผู้ไม่ทรงมุสาเลยได้ทรงสัญญาไว้ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์
3 แต่ในเวลาที่พระองค์ทรงกำหนดไว้ ก็ได้ทรงโปรดให้พระวาทะของพระองค์ปรากฏด้วยการประกาศ ซึ่งข้าพเจ้าได้รับมอบไว้ ตามพระบัญชาของพระเจ้าผู้ทรงช่วยเราทั้งหลายให้รอด
มัทธิว 5:14-16
14 “ท่านทั้งหลายเป็นความสว่างของโลก นครซึ่งอยู่บนภูเขาจะปิดบังไว้ไม่ได้
15 เมื่อจุดตะเกียงแล้ว ไม่มีผู้ใดเอาถังครอบไว้ ย่อมตั้งไว้บนเชิงตะเกียง จะได้ส่องสว่างแก่ทุกคนที่อยู่ในเรือนนั้น
16 ท่านทั้งหลายก็เหมือนกับตะเกียง จงส่องสว่างแก่คนทั้งปวง เพื่อว่าเมื่อเขาได้เห็นความดีที่ท่านทำ เขาจะได้สรรเสริญพระบิดาของท่าน ผู้ทรงอยู่ในสวรรค์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น