เทศกาลปัสกา(Pesach) หรือ Passover เป็นเทศกาลที่ชาวอิสราเอลจะรับประทานขนมปังไร้เชื้อและผักขม เพื่อระลึกถึงการปลดปล่อยจากจากเป็นทาสในอียิปต์
คำว่า "ปัสกา"หรือ เพซัค (Pesach-פֶּסַח)ในภาษาฮีบรู แปลว่า ผ่านไป หรือ ผ่านเว้น (Passover) จากเหตุการณ์ในพระธรรมอพยพบทที่ 12 พระเจ้าผ่านไปและเขาไม่ถูกทูตแห่งความตายจัดการ เพราะพวกเขานำเลือดแกะมาทาที่วงกบประตูนั้นจะเป็นหมายสำคัญว่าพวกเขาจะถูก ผ่านเว้น (Passover) รอดจากการประหารบุตรหัวปี
คำว่า "ปัสกา"หรือ เพซัค (Pesach-פֶּסַח) ยังหมายความว่า "ยืนตระหง่านปกป้อง" พระเจ้าทรงยืนตระหง่านปกป้องพวกเขา (อพย.12:1-14) เทศกาลนี้จึงเป็นการเตือนใจชนชาติอิราเอลเพื่อระลึกถึงสิ่งที่พระเจ้าทรงกระทำเพื่อเขา ในการนำเขาออกจากชนชาติอียิปต์ที่เขาไปเป็นทาส 430 ปี แม้เวลาจะผ่านมาหลายพันปี แต่อิสราเอลก็ยังยึดเทศกาลนี้อย่างมั่นคง เพราะเป็นการนัดหมายสำหรับคนของพระเจ้า นั่นคือสิ่งที่พระคัมภีร์ได้ย้ำเตือนกับเรา (ข้อ14) วันนี้จะเป็นวันที่ระลึกสำหรับเจ้า ให้เจ้าทั้งหลายถือไว้เป็นเทศกาลแด่พระเจ้าชั่วชาติพันธุ์ของเจ้า เจ้าจงฉลองเทศกาลนี้และถือเป็นกฎถาวร
เทศกาลปัสกาไม่ถือเฉพาะคนยิวเท่านั้น แม้แต่คนต่างชาติจะถือ
พระเจ้าก็ทรงอนุญาตตั้งแต่ตอนอพยพออกจากอียิปต์ ตามพระวจนะใน กดว.9:14 กล่าวว่า "ถ้าคนต่างด้าวที่มาอาศัยอยู่ท่ามกลางเจ้าทั้งหลายจะถือเทศกาลปัสกาแด่พระยาห์เวห์
ก็ให้เขาถือตามกฎเกณฑ์และกฎหมายของเทศกาลปัสกา เจ้าจงมีกฎเกณฑ์อย่างเดียวกันสำหรับคนต่างด้าวและคนพื้นเมือง”
ดังนั้นการฉลองเทศกาลปัสกาจึงมีความหมาย สำหรับคริสตชนเช่นเดียวกัน เพราะปัสกานั้นเกี่ยวข้องกับพระเยซูคริสต์ แต่หลายคริสตจักรได้รับอิทธิพลจากความคิดทางซีกโลกตะวันตก ได้จัดเทศกาลอีสเตอร์(Easter)ซึ่งเป็นการนำเอาความเชื่อแบบศาสนาต่างชาติ (Pagan)ที่ผสมผสานลัทธิอื่นๆมาแทนเทศกาลปัสกา เพียงเพราะต่อต้านคนอิสราเอลนั่นเอง ซึ่งสามารถอ่านบทความที่ผมเคยเขียนไว้ได้ดังนี้ครับ
(ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเทศกาลปัสกาและอีสเตอร์ /เทศกาลปัสกา : ก้าวสู่เสรีภาพใหม่ด้วยใจขอบพระคุณ /ปัสกา เทศกาลแห่งชัยชนะ)
สำหรับในครั้งนี้ผมขอเขียนในมุมมองที่แตกต่างกว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เพราะได้รับความเข้าใจที่เพิ่มมากขึ้นผ่านทางคำสอน การศึกษาเพิ่มเติมและการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
และในปี 2015 นี้เป็นปีพิเศษ เรียกว่า "ปีสะบาโต" หรือ "ปีซามิตะห์" (Shmita year) นักวิชการพระคัมภีร์บางคนเชื่อว่า ปีหน้าจะเป็น ปี 2016 ปีแห่งการเฉลิมฉลองครอบรอบ ปีแห่งเสียงเขาสัตว์ หรือ จูบิลี ( Jubilee ปีแห่งการครบรอบ) หมายถึง ช่วงเวลาแห่งการร้องตะโกน คำฮีบรู คือ โยเบล “yobel” หรือ เสียงเป่าเขาสัตว์เป็นการเป่าเขาแกะ (ลนต.25:8-55) เพื่อโห่ร้องถึงการพิพากษาของพระเจ้า เป็นภาพที่จะเกิดขึ้นในวาระสิ้นยุค
ในปีนี้มีหมายสำคัญที่เตือนใจเรา นั่นคือ ในช่วงเดือนนิสานปี 5775 นี้ (ช่วงวันที่ 21 มี.ค.-19 เม.ย.2015) หากเราสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จะมีหมายสำคัญบนท้องฟ้า นั่นคือเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง (A Total Solar Eclipse) หรือดวงอาทิตย์มืดไป และเกิดดวงจันทร์กลายเป็นสีเลือด(ฺBlood moon)
ตามข้อพระธรรม กจ.20:19-20
19 เราจะสำแดงการอัศจรรย์ในอากาศเบื้องบน และ หมายสำคัญที่แผ่นดิน เบื้องล่าง เป็นเลือด ไฟ และไอควัน
20 ดวงอาทิตย์จะมืดไป และดวงจันทร์จะกลับเป็นเลือด ก่อนถึงวันยิ่งใหญ่และสง่างามของพระเจ้า
(อ้างอิงจาก ยอล. 2:30-31) ในวันที่ 20 มี.ค.2015 ที่ผ่านมาเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง (A Total Solar Eclipse) เกิดจากดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์มิดหมดดวง (ดวงอาทิตย์จะมืดไป ) ตรงกับการเริ่มต้นเดือนที่ 1 คือเดือนนิสานหรือเดือนอาบีบ(อพย.13:4) ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีปฏิทินฮีบรู แบบศาสนา(Ecclesiastical Calendar) เป็นจุดเริ่มต้นของวงจรใหม่ของการไถ่
และในช่วงหัวค่ำของวันเสาร์ที่ 4 เมษายน 2015 จะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์ผ่านเข้าไปในเงามืดของโลกหมดทั้งดวง (ดวงจันทร์จะกลับเป็นเลือด)
ข้อสังเกตที่น่าสนใจนั้นคือ ตรงกับช่วงการเริ่มต้นของเทศกาลปัสกา!
สิ่งที่ผมตีความหมายคือ หมายสำคัญทางฝ่ายธรรมชาติสะท้อนภาพฝ่ายวิญญาณ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการเชื่อมต่อตรงกัน(Alignment) ระหว่างฟ้าสวรรค์กับแผ่นดินโลก เพราะดวงจันทร์ โลกและดวงอาทิตย์อยู่ในแนวเดียวกัน ผมคิดว่านี่เป็นวาระเวลาการจัดตั้งระบบให้ตรงกันเพื่อที่พระเจ้าจะจัดกองกำลังเคลื่อนทัพสู่ชัยชนะ
พระเจ้าทรงเป็นผู้สร้างและมีฤทธานุภาพในการขึงดวงดาว ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และควบคุมวงจรต่างๆในกัลปจักรวาล
พระเจ้าทรงเป็นผู้สร้างและมีฤทธานุภาพในการขึงดวงดาว ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และควบคุมวงจรต่างๆในกัลปจักรวาล
สดด.104:2 ผู้ทรงคลุมพระองค์ด้วยแสงสว่างดุจดังฉลองพระองค์ ผู้ทรงขึงฟ้าสวรรค์ออกดังขึงม่าน
อสค.32:3-8
3 พระเจ้าตรัสดังนี้ว่า เราจะกางข่ายของเราคลุมท่าน โดยกองทัพชนชาติทั้งหลายเป็นอันมาก และเขาเหล่านั้นจะลากท่านขึ้นมาด้วยอวนของเรา...
7 เมื่อเราดับท่าน เราจะคลุมฟ้าสวรรค์ไว้ และกระทำให้ดวงดาวมืดไป เราจะเอาเมฆบังดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์จะไม่ทอแสง
8 แสงสุกใสทั้งสิ้นแห่งสวรรค์นั้น เราจะกระทำให้มืดอยู่เหนือท่าน และวางความมืดไว้เหนือแผ่นดินของท่าน พระเจ้าตรัสดังนี้แหละ
สำหรับเรื่องหมายสำคัญบนท้องฟ้า เราคงต้องติดตามกันต่อไป แต่เราไม่ควรตื่นตระหนกตกใจ แต่ให้เราอธิษฐานเผื่ออิสราเอล และเตรียมชีวิตของเราเสมอ ผมขอสรุปไว้เท่านี้ ผู้อ่านสามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ในสิ่งที่ผมเขียนไว้ในบทความเรื่อง (หมายสำคัญบนท้องฟ้า สัญญาณเตือนใจก่อนวันสิ้นโลก?)
ขอให้ความสำคัญสำหรับเทศกาลปัสกาในปีนี้ ซึ่งผมเชื่อว่าเป็น การจัดกองกำลังเคลื่อนทัพสู่ชัยชนะโดยพระเจ้า พระยาห์เวห์จอมทัพ (ํYahweh Sabaoth )
เราต้องทำความเข้าใจในเรื่องชนชาติแห่งพระพร คือ “ชาวฮีบรู” เพราะชนชาตินี้เป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงตั้งไว้เพื่อที่จะอวยพระพรและนำพระพรไปสู่ประชาชาติดังที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้กับอับบราฮัม
ปฐก.12:2-3
2 เราจะให้เจ้าเป็นชนชาติใหญ่ เราจะอวยพรแก่เจ้า จะให้เจ้ามีชื่อเสียงใหญ่โตเลื่องลือไป แล้วเจ้าจะช่วยให้ผู้อื่นได้รับพร
3 เราจะอำนวยพรแก่คนที่อวยพรเจ้า เราจะสาปคนที่แช่งเจ้า บรรดาเผ่าพันธุ์ทั่วโลกจะได้พรเพราะเจ้า"
ปฐก.12:2-3
2 เราจะให้เจ้าเป็นชนชาติใหญ่ เราจะอวยพรแก่เจ้า จะให้เจ้ามีชื่อเสียงใหญ่โตเลื่องลือไป แล้วเจ้าจะช่วยให้ผู้อื่นได้รับพร
3 เราจะอำนวยพรแก่คนที่อวยพรเจ้า เราจะสาปคนที่แช่งเจ้า บรรดาเผ่าพันธุ์ทั่วโลกจะได้พรเพราะเจ้า"
อับราฮัมเป็นคนแรกที่พระเจ้าทรงเรียกมาเพื่อรับพระพร เขาถูกเรียกโดยพระเจ้าว่าเป็นชาวฮีบรูคำว่า"ฮีบรู" (Hebrew) หมายถึง การก้าวข้าม (crossover) ที่เป็นอย่างนั้นเพราะท่านได้รับการทรงเรียกให้ออกจากเมืองไปสู่สถานที่แห่งพระพร
ปฐก.14:13 มีคนหนึ่งหนีมาจากที่รบนั้นบอกให้อับรามคนฮีบรูรู้ เพราะอับรามอาศัยอยู่ที่หมู่ต้นก่อหลวงของมัมเร ...
คำนี้มีความหมายคือ คนแปลกถิ่น(Alien) ที่เที่ยวไปบนอยู่โลกผู้เขียนพระธรรมฮีบรูได้ให้ความหมายไว้
ฮบ.11:13 คนเหล่านั้นได้ตายไปขณะที่มีความเชื่อเต็มที่ และไม่ได้รับสิ่งที่ได้ทรงสัญญาไว้ แต่เขาก็ได้เห็นและได้เตรียมรับไว้ตั้งแต่ไกล และรู้ดีว่าเขาเป็นคนแปลกถิ่นที่ท่องเที่ยวไปในโลก
ข้อคิดคือ พระเจ้ามักจะเรียกร้องคนของพระองค์ให้ตัดสินใจก้าวข้ามอุปสรรค ด่านทดสอบความเชื่อ และเมื่อผ่านไปแล้ว นั่นหมายถึงพระพรที่เราจะได้รับ
ผมขอให้ภาพเปรียบเทียบคู่ขนาน เป็นข้อคิดในเทศกาลปัสกา ดังนี้ครับ
1. ก้าวข้าม(Passover) ดีกว่าตายเปล่า (Pass away)
ในเทศกาล ปัสกาเป็น การก้าวข้าม Passover เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งของเทศกาลนี้ เทศกาลนี้เป็นเทศกาลเริ่มต้นของเทศกาลของพระเจ้า และเป็นเทศกาลแรกในเดือนที่ 1 คือ นิสาน(Nissan) หรือ อาบีบ (Aviv) ซึ่งให้ความหมายในภาษาฮีบรูหมายถึง “green ears” การเริ่มต้นผลิใบในฤดูใบไม้ผลิ (Spring ) เป็นการที่ต้นไม้เริ่มผลิใบจากในฤดูหนาว(Winter) สภาพต้นไม้มันเหมือนจะตายซากแล้ว แต่เมื่อฤดูกาลใหม่ มันกลับมีชีวิต(อสย.43:19 ดูเถิด เรากำลังกระทำสิ่งใหม่ งอกขึ้นมาแล้ว...) หากไม่ก้าวข้ามก็ต้องยอมตาย เหมือนเหตุการณ์ที่ชนชาติอิสราเอลเดินทางออกจากอิยิปต์และกองทัพของอียิปต์กำลังไล่มามาจนสุดทาง อุปสรรคขวางหน้าคือ ทะเลแดง สิ่งอั์จรรย์คือ พระเจ้าทรงเปิดหนทางออกให้อิสราเอลข้ามผ่านไปได้ (อพย.14)
เมื่อพระเจ้าทรงนำคนยิวก้าวออกมา (Passover) พระองค์ทรงมีจุดหมาย(Destiny)สำหรับพวกเขาคือ"ดินแดนพันธสัญญา" เมื่อพวกเขาเจออุปสรรคคือ "ทะเลแดง" พวกเขาจำเป็นต้องก้าวข้าม(Passover) หากเขาไม่ไปต่อก็ตายเปล่่า(Pass away) เพราะกองทัพอียิปต์ไล่ลาตามมาแล้ว
(อพย.14) ทะเลแดงแหวกได้ด้วยความเชื่อที่ทะลวงสู่จุดหมาย(faith to
destiny)
ใบางครั้งเราพบกับอุปสรรคปัญหา เราอาจจะมองไม่เห็นทาง หนทางอาจจะตัน แต่ในพระเจ้าทรงมีหนทางเสมอ
"เพียงเพราะเรามองไม่เห็นทาง แต่ไม่ได้หมายความว่าพระเจ้าไม่ทรงประทานหนทาง" เมื่อเราร้องทูลต่อพระเจ้าพระองค์จะทรงเปิดหนทางให้
"เพียงเพราะเรามองไม่เห็นทาง แต่ไม่ได้หมายความว่าพระเจ้าไม่ทรงประทานหนทาง" เมื่อเราร้องทูลต่อพระเจ้าพระองค์จะทรงเปิดหนทางให้
และสิ่งนี้เป็นคำหนุนใจให้ระลึกถึงในเทศกาลปัสกา ชาวยิวจดจำเหตุการณ์นี้ได้และเล่าให้ฟังต่อไปถึงรุ่นต่อไป แม้แต่ผู้เผยพระวจนะอิสยาห์ได้ใช้ถ้อยคำจากเหตุการณ์นี้หนุนใจคนอิสราเอล ให้ระลึกถึงการช่วยกู้ของพระเจ้าจากการเป็นทาสในอียิปต์
อสย. 43:15-17
15 เราคือพระเจ้า องค์บริสุทธิ์ของเจ้า เป็นผู้สร้างของอิสราเอล เป็นกษัตริย์ของเจ้า”
16 พระเจ้า ผู้ทรงสร้างทางในทะเล สร้างวิถีในน้ำที่มีอานุภาพ
17 ผู้ทรงนำรถรบและม้า กองทัพ และนักรบออกมา เขาทั้งหลายนอนลงด้วยกันและลุกขึ้นไม่ได้ เขาทั้งหลายศูนย์ไปและดับเสียเหมือนไส้ตะเกียง
เราจะสามารถมีบทเพลงสรรเสริญพระเจ้าในชัยชนะในเทศกาลปัสกาได้เหมือนกับมิเรียมนำคนอิสราเอลร้องเพลง อพย. 15:21 มิเรียมจึงร้องนำว่า “จงร้องเพลงถวายพระเจ้าเถิด เพราะพระองค์ทรงได้ชัยชนะอย่างใหญ่หลวง พระองค์ทรงกวาดม้าและพลม้าให้ตกลงไปในทะเล”
นอกจากนี้ คำว่า "ปัสกา"หรือ เพซัค (Pesach-פֶּסַח)ในภาษาฮีบรูยังให้ความหมายอีกอย่างว่า "การกระโดดข้าม"(Leap over) สิ่งกีดขวาง เช่นกำแพง พระเจ้าจะเสริมกำลังให้เรา เราจะมีกำลังในการกระโดดข้ามสิ่งกีดขว่าง (แต่ไม่ใช่มีกำลังเพราะกินอาหารเมนูพระกระโดดกำแพงนะครับ)
สดด. 18:29 พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ตะลุยกองทัพได้โดยพระองค์ และโดยพระเจ้าของข้าพเจ้านี้ ข้าพเจ้าสามารถกระโดดข้าม (leaped over)กำแพงได้
ขอพระเจ้าอวยพระพรให้เทศกาลปัสกาในปีนี้ เราจะก้าวข้ามอุปสรรคและกระโดดข้ามกำแพงแห่งปัญหาไปสู่ชัยขนะในพระองต์
ในการอพยพออกจากอียิปต์ ประชาชนชาวอิสราเอลมีจำนวนประมาณ 6 แสนคน(อพย.12:37) หากไม่มีการจัดกองทัพคงจะวุ่นวาย เหมือนเอาคนมากองรวมทับกันไว้ เหมือนอิฐจะมีประโยชน์ไม่ใช่กองรวมกันไว้แต่ต้องนำมาจัดเรียงก่อร่างเป็นพระวิหาร(อฟ.2:20-22 )
ในพระธรรมอาโมส 3:3 กล่าวว่า "สองคนจะเดินไปด้วยกันได้หรือ นอกจากทั้งสองจะได้ตกลงกันไว้ก่อน" ขนาด 2 คนจะไปไนก็ต้องตกลงกันก่อน จึงจะไปได้ มีคำกล่าวว่า "คนเดียวไปได้เร็วแต่ไปได้ไม่ไกล แต่หลายคนช่วยกันจะไปได้ไกล แต่ถ้าหลายคนไม่ได้ตกลงกันคงจะไปกันใหญ่"
เนื่องด้วยประชาชนชาวอิสราเอลมีจำนวนประมาณ6แสนคนดังนั้นพระเจ้าจึงให้มีการจัดทัพของอิสราเอล
พระเจ้าทรงประทานพระบัญญัติ(Torah)สอนให้เข้าใจถึงทิศทางต่างๆและเคลื่อนไปด้วยการจัดกองกำลังเป็นเผ่าๆ โดยเริ่มต้นที่เผ่ายูดาห์ ยูดาห์เป็นเผ่าแรกของอิสราเอลที่เคลื่อนขบวนทัพเข้าไปในถิ่นทุรกันดาร (กดว.10:14) เผ่ายูดาห์ขึ้นไปสู้รบ ทำสงครามก่อนเผ่าอื่น (วนฉ.1:2,20:18)
พระเจ้าทรงประทานพระบัญญัติ(Torah)สอนให้เข้าใจถึงทิศทางต่างๆและเคลื่อนไปด้วยการจัดกองกำลังเป็นเผ่าๆ โดยเริ่มต้นที่เผ่ายูดาห์ ยูดาห์เป็นเผ่าแรกของอิสราเอลที่เคลื่อนขบวนทัพเข้าไปในถิ่นทุรกันดาร (กดว.10:14) เผ่ายูดาห์ขึ้นไปสู้รบ ทำสงครามก่อนเผ่าอื่น (วนฉ.1:2,20:18)
คำว่า “ยูดาห์” หมายถึง “การสรรเสริญ” กองทัพของอิสราเอลนำด้วยการสรรเสริญนมัสการพระเจ้า ความหมายของเดือนในเชิงการเผยพระวจนะ เดือนแรกคือเดือนนิสาน จึงเป็นเดือนแห่งเผ่ายูดาห์
หลังจากนั้นตามด้วยเดือนอิยาร์ เดือนที่ 2 เป็นเดือนของเผ่าอิสสาคาร์ เป็นเผ่าที่รู้กาลเวลาของพระเจ้า ทราบว่าอิสราเอลควรทำประการใด (1 พศด. 12:32) อิสสาคาร์ได้รับการสำแดงให้รู้ถึงวาระ
เวลา และฤดูกาลของพระเจ้า
ข้อคิดคือ เราต้องปรับเวลาของเรา เคลื่อนตามวาระเวลาของพระเจ้า เหมือนเผ่าอิสสาคาร์
หลังจากเผ่าอิสสาคาร์ คือ เผ่าเศบูลุน เป็นเผ่าประจำเดือนที่ 3 คือเดือนสิวาน โมเสสได้เผยพระวจนะถึงเว่าเผ่าอิสสาคาร์
และเผ่าเศบูลุนจะร่วมสนับสนุน “เศบูลุนเอ๋ย จงปีติร่าเริงเมื่อท่านออกไป
และอิสสาคาร์เอ๋ย จงปีติร่าเริงในเต็นท์ของตน เขาจะเรียกชนชาติทั้งหลายมาที่ภูเขา
และถวายเครื่องสัตวบูชาอันถูกต้องที่นั่น
เพราะเขาจะดูดความอุดมจากทะเล
และได้ขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ในทราย”(ฉธบ.33:18-19)
เศบูลุนเป็นกองสนับสนุนของอิสราเอลในเรื่องของสเบียงและสิ่งต่างๆ
หลังจากนั้นก็ไล่เผ่าดังนี้ รูเบน,สิเมโอน,กาด ต่อด้วย เอฟราอิม,มนัสเสห์,เบนยามิน ปิดท้ายด้วย 3 เผ่าท้ายคือ ดาน,อาเชอร์และนัฟทาลี หากนับเดือนจะปิดท้ายที่เดือนอาดาร์ เผ่านัฟทาลี
(เนื่องจากบทความนี้มีพื้นที่จำกัด ผมคงไม่สามารถอธิบายได้หมดในแต่ละเผ่าซึ่งผู้อ่านสามารถไปอ่านบทความที่ผมเขียนไว้ เรื่อง "คุณอยู่เผ่าไหนในกองกำลังของพระเจ้า?" และเข้าไปอ่านในบทความ ความหมายของเดือนเชิงการเผยพระวจนะในแต่ละเดือนได้ )
ขอหนุนใจว่า เราควรจะนำชีวิตของเราเข้ามา(Alignment)อยู่ในกองกำลังของพระเจ้า ด้วยการผูกพันอุทิศตัวกับคริสตจักรท้องถิ่นของท่าน เพราะคริสตจักรเป็นดั่งกองทัพในฝ่ายวิญญาณ ตัวอย่างเช่น "อามาสัย" ได้ "มาอาศัย"อยู่กับดาวิด จนเป็นทหารของกองทัพดาวิด
1พศด. 12:18 แล้วพระวิญญาณได้มาเหนืออามาสัย หัวหน้าของคนทั้งสามสิบนั้น และเขาทูลว่า “ข้าแต่ดาวิด ข้าพระบาททั้งหลายเป็นของฝ่าพระบาท และอยู่กับฝ่าพระบาท ข้าแต่บุตรเจสซี สวัสดิภาพ สวัสดิภาพ จงมีแก่ฝ่าพระบาท และสวัสดิภาพจงมีแก่ผู้ช่วยของฝ่าพระบาท เพราะว่าพระเจ้าทรงอุปถัมภ์ฝ่าพระบาท” แล้วดาวิดทรงรับเขาทั้งหลายไว้ และทรงตั้งให้เป็นนายทหารในกองทัพของพระองค์
ในเทศกาลปัสกา ขอให้เราออกจากความคิดเดิมวงจรเก่าเข้าสู่ฤดูกาลใหม่ นั่นคือการออก เป็น "ปัดรังควานในฝ่ายวิญญาณ" ตามรูปแบบปัสกา ชาวอิสราเอลจะกินผักขมเพื่อระลึกถึงความทุกข์ยากในอียิปต์และกินขนมปังไร้เชื้อ พวกเขาจะกำจัดเชื้อต่างๆที่อยู่ในบ้านให้หมดไป เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นมลทิน
ข้อคิดคือ เราต้องชําระเชื้อเก่าเพื่อก้าวสู่ความเป็นไทในความเชื่อใหม่
คําว่า "เชื้อ" ในพระคัมภีร์เดิม โดยทั่วไปเป็นสัญลักษณ์ของการมีอยู่ของความชั่วร้ายหรือความไม่บริสุทธิ์(มลทิน) เชื้อนั้นสามารถทําให้แป้งขนมปังที่หมักและฟู ทําให้เกิดการเน่าเปื่อยหรือเสื่อมสภาพได้ ในเทศกาลปัสกาจึงมีการรับประทานขนมปังไร้เชื้อ (อพย.12:19,13:6-8)
ในพระคัมภีร์ใหม่ พระเยซูคริสต์ตักเตือนสาวกให้ระวังเชื้อ เชื้อ หมายถึงคําสอนผิด และหลักคําสอนที่ชั่วร้ายของฟาริสี สะดูสี และพวกเฮโรด(Herodias) (มธ.8:15,16:12)
ในพระธรรม 1โครินธ์ 5:7-8 กล่าวว่า
7 จงชําระเชื้อเก่าเสีย เพื่อท่านจะได้เป็นแป้งดิบก้อนใหม่ เหมือนขนมปังไร้เชื้อ เพราะพระคริสต์ผู้ทรงเป็นปัสกาของเราได้ถูกฆ่าบูชาเสียแล้ว
8 เหตุฉะนั้นให้เราถือปัสกานั้น มิใช่ด้วยเชื้อเก่าซึ่งเป็นเชื้อของความชั่วช้าเลวทราม แต่ด้วยขนมปังที่ไม่มีเชื้อ คือความจริงใจและสัจจะ
คําว่า “เชื้อ” ถูกกล่าวถึงโดยอัครทูตเปาโลว่าเป็นสัญลักษณ์ของ "ความชั่วช้าเลวทราม" ในขณะที่การไม่มีเชื้อหมายถึง "ความจริงใจและสัจจะ" ดังนั้นชีวิตที่เป็นไทคือการมีความเชื่อในพระวจนะของพระองค์
เจมส์ กอลล์(James Goll) ผู้รับใช้พระเจ้า กล่าวไว้ว่า "ความจริงแค่เพียง 1 ช้อน สามารถชำระล้างมหาสมุทรแห่งคำหลอกลวงได้ คุณจะต้องรู้ความจริงและความจริงจะทำให้คุณเป็นไท"
A spoonful of truth... Washes away an ocean of lies." You shall know the truth and the truth shall set you free.
อัครทูตเปาโลกล่าวถึงการชำระตัวหรือเชื้อเก่า ด้วยสัจจะแห่งพระวจนะของพระเจ้าเพื่อเราจะเป็นไทและได้รับสิ่งใหม่ในพระองค์
ผมขอหนุนใจด้วยถ้อยคำแห่งความจริงใจว่า "เราต้องตระหนักว่า ธาตุแท้(ความเป็นตัวตน)ของเรา คือ เราเป็นไท เราไม่ได้เป็นทาสอีกต่อไป เพราะเราได้รับการไถ่แล้วโดยพระโลหิตของพระเยซูคริสต์ เมื่อเป็นไทแล้วก็อย่ากลับไปเป็นทาสอีกเลย"
การค้นพบธาตุแท้ความเป็นตัวตนของเรา สิ่งนี้เราเรียกว่า อัตลักษณ์(Identity) การค้นพบบางครั้งเราต้องปล้ำสู้ต่อสู้เพื่อให้ได้มา เหมือนดังยาโคบ (ปฐก.32:24-31)
24 ยาโคบอยู่ที่นั่นแต่ผู้เดียว มีบุรุษผู้หนึ่งมาปล้ำกับเขาจนเวลารุ่งสาง 25เมื่อบุรุษผู้นั้นเห็นว่าจะเอาชนะยาโคบไม่ได้ ก็ถูกต้องที่ข้อต่อตะโพกของยาโคบขณะที่ปล้ำสู้กัน ข้อต่อตะโพกของยาโคบก็เคล็ด 26บุรุษนั้นจึงว่า “ปล่อยให้เราไปเถิดเพราะใกล้สว่างแล้ว” แต่ยาโคบตอบว่า “ข้าพเจ้าไม่ยอมให้ท่านไป นอกจากท่านจะอวยพรแก่ข้าพเจ้า” 27บุรุษผู้นั้นจึงถามยาโคบว่า “เจ้าชื่ออะไร” ยาโคบตอบว่า “ข้าพเจ้าชื่อยาโคบ” 28บุรุษนั้นจึงว่า “เขาจะไม่เรียกเจ้าว่ายาโคบต่อไป แต่จะเรียกว่า อิสราเอล(แปลว่า เขาผู้ปล้ำสู้กับพระเจ้า หรือพระเจ้าทรง ปล้ำสู้) เพราะเจ้าสู้กับพระเจ้าและมนุษย์ และได้ชัยชนะ”
29 ยาโคบจึงถามบุรุษผู้นั้นว่า “ขอท่านบอกข้าพเจ้าว่าท่านชื่ออะไร?” แต่บุรุษนั้นกล่าวว่า “ทำไมเจ้าจึงถามชื่อเรา?” แล้วก็อวยพรยาโคบที่นั่น
30 ยาโคบจึงเรียกสถานที่นั้นว่า เปนีเอล กล่าวว่า “เพราะข้าพเจ้าได้เห็นพระเจ้าต่อหน้าข้าพเจ้า แล้วพระองค์ทรงไว้ชีวิตข้าพเจ้า”
31 เมื่อยาโคบผ่านเปนูเอลดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว เขาเดินโขยกเขยก (คำว่า Pesach) เพราะเจ็บสะโพก
ยาโคบได้พบกับพระเจ้าที่ เปนีเอล (เห็นพระพักตร์พระเจ้า) ท่านปล้ำสู้กับพระเจ้า และได้รับการเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนอัตลักษณ์ใหม่ จากยาโคบ แปลว่าจับส้นเท้า หรือ เขาหลอก เมื่อก่อนนั้นเขาอยู่ด้วยการหลอกแยกชิงพระพรของเอซาวมาเป็นของตน แต่ตอนนี้พระเจ้าทรงให้พระพรเพราะเขาได้ปล้ำสู้จนได้รับ เขาต้องเจ็บปวดที่สะโพก และเดินโขยกเขยก คำว่า โขยกเขยก (Lame-เลม) ในภาษาฮีบรูใช้คำว่า คำว่า เพสัคห์ Pesach ให้ความหมายถึงการยับยั้งเดินไม่สะดวกเหมือนคนที่เดินโขยกเขยก)
24 ยาโคบอยู่ที่นั่นแต่ผู้เดียว มีบุรุษผู้หนึ่งมาปล้ำกับเขาจนเวลารุ่งสาง 25เมื่อบุรุษผู้นั้นเห็นว่าจะเอาชนะยาโคบไม่ได้ ก็ถูกต้องที่ข้อต่อตะโพกของยาโคบขณะที่ปล้ำสู้กัน ข้อต่อตะโพกของยาโคบก็เคล็ด 26บุรุษนั้นจึงว่า “ปล่อยให้เราไปเถิดเพราะใกล้สว่างแล้ว” แต่ยาโคบตอบว่า “ข้าพเจ้าไม่ยอมให้ท่านไป นอกจากท่านจะอวยพรแก่ข้าพเจ้า” 27บุรุษผู้นั้นจึงถามยาโคบว่า “เจ้าชื่ออะไร” ยาโคบตอบว่า “ข้าพเจ้าชื่อยาโคบ” 28บุรุษนั้นจึงว่า “เขาจะไม่เรียกเจ้าว่ายาโคบต่อไป แต่จะเรียกว่า อิสราเอล(แปลว่า เขาผู้ปล้ำสู้กับพระเจ้า หรือพระเจ้าทรง ปล้ำสู้) เพราะเจ้าสู้กับพระเจ้าและมนุษย์ และได้ชัยชนะ”
29 ยาโคบจึงถามบุรุษผู้นั้นว่า “ขอท่านบอกข้าพเจ้าว่าท่านชื่ออะไร?” แต่บุรุษนั้นกล่าวว่า “ทำไมเจ้าจึงถามชื่อเรา?” แล้วก็อวยพรยาโคบที่นั่น
30 ยาโคบจึงเรียกสถานที่นั้นว่า เปนีเอล กล่าวว่า “เพราะข้าพเจ้าได้เห็นพระเจ้าต่อหน้าข้าพเจ้า แล้วพระองค์ทรงไว้ชีวิตข้าพเจ้า”
31 เมื่อยาโคบผ่านเปนูเอลดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว เขาเดินโขยกเขยก (คำว่า Pesach) เพราะเจ็บสะโพก
ยาโคบได้พบกับพระเจ้าที่ เปนีเอล (เห็นพระพักตร์พระเจ้า) ท่านปล้ำสู้กับพระเจ้า และได้รับการเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนอัตลักษณ์ใหม่ จากยาโคบ แปลว่าจับส้นเท้า หรือ เขาหลอก เมื่อก่อนนั้นเขาอยู่ด้วยการหลอกแยกชิงพระพรของเอซาวมาเป็นของตน แต่ตอนนี้พระเจ้าทรงให้พระพรเพราะเขาได้ปล้ำสู้จนได้รับ เขาต้องเจ็บปวดที่สะโพก และเดินโขยกเขยก คำว่า โขยกเขยก (Lame-เลม) ในภาษาฮีบรูใช้คำว่า คำว่า เพสัคห์ Pesach ให้ความหมายถึงการยับยั้งเดินไม่สะดวกเหมือนคนที่เดินโขยกเขยก)
เช่นตอนที่มีการต่อสู้กันที่ภูเขาคารเมล ระหว่างผู้เผยพระวจนะของพระบาอัลและเอลียาห์
1พกษ.18:26 เขาทั้งหลายก็เอาวัวผู้ที่เขานํามาให้และเขาทั้งหลายก็จัดเตรียมและร้องออกพระนามพระบาอัล ตั้งแต่เวลาเช้าจนเที่ยงกล่าวว่า "ข้าแต่พระบาอัล ขอตอบพวกข้าพเจ้าเถิด" แต่ก็ไม่มีเสียงและไม่มีใครตอบ และเขาก็โขยกเขยก (คำว่า Pesach) อยู่รอบแท่นซึ่งเขาได้สร้างขึ้นนั้นอยู่รอบแท่นซึ่งเขาได้สร้างขึ้นนั้น
ปัสกาปีนี้จะเป็นปีที่เราจะต้องตัดสินใจว่า เราจะ“ก้าวข้ามไปข้างหน้า(Passover) หรือถูกยับยั้งเอาไว้(Lame-เลม)” ก้าวไปเราจะเป็นไท แต่ถุกยับยั้งไว้เราจะยังคงเป็นทาสต่อไป เหมือนผู้เผยพระวจนะของพระบาอัล ที่เขายึดมั่นในพระเจ้าเทียมเท็จ เขาก็ยังคงวนเวียนเดินโขยกเขยก รอบแท่นบูชา อยู่ในวงจรแห่งการเป็นทาส แต่เอลียาห์ได้สั่งให้ไฟตกลงมาจากฟ้า ทำให้รู้ว่าพระยาห์เวห์ทรงเป็นพระเจ้าที่เที่ยงแท้
1พกษ. 18:31-39
31 เอลียาห์นำศิลาสิบสองก้อนมา ตามจำนวนเผ่าบุตรชายของยาโคบผู้ซึ่งพระวจนะของพระยาห์เวห์มาถึงว่า “อิสราเอลจะเป็นชื่อของเจ้า” ...
36 และต่อมาเมื่อถึงเวลาถวายบูชา เอลียาห์ผู้เผยพระวจนะก็เข้ามาใกล้ ทูลว่า “ข้าแต่พระยาห์เวห์พระเจ้าของอับราฮัม อิสอัค และอิสราเอล ขอให้เขาทราบเสียทั่วกันในวันนี้ว่า พระองค์คือพระเจ้าในอิสราเอล และข้าพระองค์เป็นผู้รับใช้ของพระองค์ และข้าพระองค์ได้ทำสิ่งเหล่านี้ทั้งสิ้นตามพระดำรัสของพระองค์
37 ข้าแต่พระยาห์เวห์ ขอทรงตอบข้าพระองค์ ทรงตอบข้าพระองค์ เพื่อชนชาตินี้จะทราบว่าพระองค์คือพระยาห์เวห์ ทรงเป็นพระเจ้า และพระองค์ทรงหันจิตใจของเขาทั้งหลายกลับมาอีก”
38 แล้วไฟของพระยาห์เวห์ก็ตกลงมาและเผาเครื่องบูชาเผาทั้งตัว และฟืน หิน และผงคลี และลามเลียน้ำในร่องจนแห้ง
39 และเมื่อประชาชนทั้งหมดได้เห็น พวกเขาก็ซบหน้าลงร้องว่า “พระยาห์เวห์ พระองค์ทรงเป็นพระเจ้า พระยาห์เวห์ พระองค์ทรงเป็นพระเจ้า”
ปัสกาปีนี้จะเป็นปีที่เราจะต้องตัดสินใจว่า เราจะ“ก้าวข้ามไปข้างหน้า(Passover) หรือถูกยับยั้งเอาไว้(Lame-เลม)” ก้าวไปเราจะเป็นไท แต่ถุกยับยั้งไว้เราจะยังคงเป็นทาสต่อไป เหมือนผู้เผยพระวจนะของพระบาอัล ที่เขายึดมั่นในพระเจ้าเทียมเท็จ เขาก็ยังคงวนเวียนเดินโขยกเขยก รอบแท่นบูชา อยู่ในวงจรแห่งการเป็นทาส แต่เอลียาห์ได้สั่งให้ไฟตกลงมาจากฟ้า ทำให้รู้ว่าพระยาห์เวห์ทรงเป็นพระเจ้าที่เที่ยงแท้
1พกษ. 18:31-39
31 เอลียาห์นำศิลาสิบสองก้อนมา ตามจำนวนเผ่าบุตรชายของยาโคบผู้ซึ่งพระวจนะของพระยาห์เวห์มาถึงว่า “อิสราเอลจะเป็นชื่อของเจ้า” ...
36 และต่อมาเมื่อถึงเวลาถวายบูชา เอลียาห์ผู้เผยพระวจนะก็เข้ามาใกล้ ทูลว่า “ข้าแต่พระยาห์เวห์พระเจ้าของอับราฮัม อิสอัค และอิสราเอล ขอให้เขาทราบเสียทั่วกันในวันนี้ว่า พระองค์คือพระเจ้าในอิสราเอล และข้าพระองค์เป็นผู้รับใช้ของพระองค์ และข้าพระองค์ได้ทำสิ่งเหล่านี้ทั้งสิ้นตามพระดำรัสของพระองค์
37 ข้าแต่พระยาห์เวห์ ขอทรงตอบข้าพระองค์ ทรงตอบข้าพระองค์ เพื่อชนชาตินี้จะทราบว่าพระองค์คือพระยาห์เวห์ ทรงเป็นพระเจ้า และพระองค์ทรงหันจิตใจของเขาทั้งหลายกลับมาอีก”
38 แล้วไฟของพระยาห์เวห์ก็ตกลงมาและเผาเครื่องบูชาเผาทั้งตัว และฟืน หิน และผงคลี และลามเลียน้ำในร่องจนแห้ง
39 และเมื่อประชาชนทั้งหมดได้เห็น พวกเขาก็ซบหน้าลงร้องว่า “พระยาห์เวห์ พระองค์ทรงเป็นพระเจ้า พระยาห์เวห์ พระองค์ทรงเป็นพระเจ้า”
พูดง่ายๆ คือ ปัสกาปีนี้ เราจะต้องตัดสินใจ ก้าวออกมา สู่สิ่งใหม่ ปลายทางคือคานาอันหรือเราจะยังคงเดินแบบ โขยกเขยก ในถิ่นทุรกันดาร
ผมเชื่อว่าเราจะฉลองปัสกาปีนี้ด้วยการก้าวทะลุทะลวงในฤดูกาลใหม่ของพระเจ้า
ปัสกาปีนี้เป็นเวลาของการจัดกองกำลังเคลื่อนทัพสู่ชัยชนะในพระเจ้า
เราต้องรับยุทธศษตร์จากพระองค์ เคลื่อนตามเสียงของพระองค์ และก้าวข้ามผ่านอุปสรรคไปสู่เป้าหมายของพระเจ้า
ปัสกาปีนี้เป็นเวลาของการจัดกองกำลังเคลื่อนทัพสู่ชัยชนะในพระเจ้า
เราต้องรับยุทธศษตร์จากพระองค์ เคลื่อนตามเสียงของพระองค์ และก้าวข้ามผ่านอุปสรรคไปสู่เป้าหมายของพระเจ้า
ผมขอปิดท้ายด้วยภาคปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
1. ชำระบ้านของเราให้พ้นมลทินจากเชื้อที่ไม่ดี เริ่มจากบ้านของพระวิญญาณบริสุทธิ์ คือ ชีวิตของเรา ให้เราอธิษฐานขอการชำระความคิด ในภาคปฏิบัติ เราใช้เวลาในช่วงเทศกาลปัสกา ทำความสะอาดบ้านของเรา (ปัดรังควานในฝ่ายวิญญาณ) จัดงานเลี้ยงฉลองปัสกาในบ้านกับครอบครัว เราอาจจะไม่ต้องทำตามรูปแบบ อาหารในเทศกาลปัสกา
สิ่งสำคัญคือ การรับพิธีมหาสนิทร่วมกันในครอบครัว เพื่อระลึกถึงการไถ่ของพระเยซูคริสต์ที่เป็นดั่งแกะปัสกา พระเยซูทรงรับปัสการ่วมกับสาวกก่อนจะไปสิ้นพระชนม์ที่กางเขน
(ลก. 22:15-20)
15 พระองค์ตรัสกับเขาทั้งหลายว่า “เรามีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะรับประทานปัสกานี้กับท่านก่อนที่เราจะต้องทนทุกข์
16 เราบอกท่านทั้งหลายว่า เราจะไม่รับประทานปัสกานี้อีกจนกว่าจะสำเร็จ ความหมายของปัสกานั้นในแผ่นดินของพระเจ้า”
17 พระองค์ทรงหยิบถ้วย เมื่อขอบพระคุณแล้วตรัสว่า “จงรับถ้วยนี้ไปแบ่งกันดื่ม
18 เราบอกท่านทั้งหลายว่า เราจะไม่ดื่มจากผลของเถาองุ่นอีกต่อไปจนกว่าแผ่นดินของพระเจ้าจะมา”
19 พระองค์ทรงหยิบขนมปัง เมื่อขอบพระคุณแล้วก็ทรงหักส่งให้พวกเขา ตรัสว่า “นี่เป็นกายของเรา ซึ่งให้ไว้สำหรับท่านทั้งหลาย จงทำอย่างนี้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเรา”
20 เมื่อรับประทานแล้ว จึงทรงหยิบถ้วยและทรงทำเหมือนกันตรัสว่า “ถ้วยนี้ที่เทออกเพื่อท่านทั้งหลาย เป็นพันธสัญญาใหม่โดยโลหิตของเรา
2.ถวายผลแรก เป็นเทศกาลแห่งการถวายผลแรก( first fruits) ในภาษาฮีบรูคือ bikkurim ביכורים
พระเยซูคริสต์ทรงเป็นแกะปัสกาที่ถูกนำไปฆ่าเพื่อไถ่เราและเป็นผลแรกของการฟื้นขึ้นจากความตาย
1คร. 15:20 แต่บัดนี้ พระคริสต์ทรงถูกทำให้เป็นขึ้นมาจากความตายแล้ว และทรงเป็นผลแรกของพวกที่ล่วงหลับไป
ลนต. 23:9-14 ชาวอิสราเอลจะต้องถือ เทศกาลนี้หลังจากได้เข้าไปในดินแดนพระสัญญาแล้ว สิ่งที่พระเจ้าประทานให้ เราต้องถวายเป็น "ผลแรก" นี่คือสิ่งที่พระเจ้าทรงประสงค์และจะมีพิธียื่นถวายให้พระเจ้าทรงรับในวันแรกของสัปดาห์ (วันอาทิตย์) ในระหว่างเทศกาลขนมปังไร้เชื้อ (ลนต. 23:11)
ในวันที่มีเทศกาล นี้ ฟ่อนข้าวแรกของการเก็บเกี่ยวจะถูกนำมายังพระวิหาร ปุโรหิตจะโบกรวงข้าวนี้ต่อพระพักตร์พระเจ้าเพื่อให้พระเจ้าทรงยอมรับ
เราสามารถนำผลแรกของเรามาถวายในคริสตจักร เพื่อขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับการไถ่ของพระองค์
(สามารถอ่านบทความ ความเข้าใจเกี่ยวกับผลแรก เพื่อทำความเข้าใจได้)
3.เข้าร่วมในกองทัพแห่งชัยชนะของพระเจ้า เราต้องนำชีวิตของเราเข้ามา(Alignment)อยู่ในกองกำลังของพระเจ้า ด้วยการผูกพันอุทิศตัวกับคริสตจักรท้องถิ่นของเราเพราะคริสตจักรเป็นดั่งกองทัพในฝ่ายวิญญาณ ฝึกฝนอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
4.ก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ทีละขั้นด้วยชัยชนะร่วมกับพระองค์
เทศกาลต่างๆ มีความหมายในฝ่ายวิญญาณที่พระเจ้าทรงกำหนดขึ้น เราในฐานะคริสตชนควรที่จะตระหนักและทำความเข้าใจถึงความหมาย เข้าใจถึงวาระเวลาของพระเจ้าในการให้เราระลึกถึงสิ่งที่พระเจ้าทรงกระทำ พักจากการงานเพื่อฟังพระสุรเสียงของพระเจ้า
เราไม่ควรจัดงานเทศกาลต่างๆ อย่างเป็นประเพณีนิยมที่ทำตามกันมา โดยปราศจากความเข้าใจถึงความสำคัญที่แท้จริง เน้นกิจกรรมมากกว่า วัตถุประสงค์ของพระเจ้าในเทศกาลต่างๆ
ขอพระเจ้าอวยพระพร ให้เทศกาลปัสกาปีนี้เป็นปีที่เราจะเข้าสู่กองกำลังของพระเจ้าและเคลื่อนทัพสู่ชัยชนะในพระองค์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น