บทความเรื่อง "แผ่นดินสวรรค์คืออะไรกันแน่?" โดย Haiyong Kavilar
ก่อนหน้าทศวรรษที่ 1990 คำว่าอัครทูตไม่ได้เป็นที่พูดถึงหรือใช้กันมากนัก ผู้นำคริสตจักรในยุคนั้นมักถูกเรียกว่า “ศิษยาภิบาล” ทว่าในทศวรรษ 1990 เกิดกระบวนการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของคริสตจักรที่เรียกว่าการปฏิรูปอัครทูตครั้งใหม่(New Apostolic Reformation) และเมื่อคริสตจักรก้าวเข้าสู่ปี 2001 ตำแหน่งและคำว่า “อัครทูต” จึงเป็นที่พูดถึงและได้รับการยอมรับอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
ก่อนหน้าทศวรรษที่ 1990 คำว่าอัครทูตไม่ได้เป็นที่พูดถึงหรือใช้กันมากนัก ผู้นำคริสตจักรในยุคนั้นมักถูกเรียกว่า “ศิษยาภิบาล” ทว่าในทศวรรษ 1990 เกิดกระบวนการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของคริสตจักรที่เรียกว่าการปฏิรูปอัครทูตครั้งใหม่(New Apostolic Reformation) และเมื่อคริสตจักรก้าวเข้าสู่ปี 2001 ตำแหน่งและคำว่า “อัครทูต” จึงเป็นที่พูดถึงและได้รับการยอมรับอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
การปฏิรูปอัครทูตครั้งใหม่นี้กำลังจะพลิกโฉมหน้าของคริสตจักรโปรเตสแตนต์
จากกรอบความคิดแบบศิษยาภิบาลสู่กรอบความคิดแบบอัครทูต ในกรอบความคิดแบบศิษยาภิบาล
จุดจดจ่อจะอยู่ที่ "โบสถ์” แต่กรอบความคิดแบบอัครทูต จุดจดจ่อจะอยู่ที่ “อาณาจักรพระเจ้า”
มีคำศัพท์อยู่
3 คำในพระคัมภีร์ที่แตกต่างกันคือคำว่า สวรรค์(Heaven) แผ่นดินสวรรค์(Kingdom
of Heaven) และแผ่นดินของพระเจ้า(Kingdom of God) แต่ต่อจากนี้ผมจะไม่แปลคำว่า Kingdom เป็น “แผ่นดิน” แต่จะขอแปลคำว่า Kingdom เป็น “อาณาจักร” แทน
ดังนั้นในที่นี้จะใช้คำว่า “อาณาจักรสวรรค์” แทนคำว่า “แผ่นดินสวรรค์” และจะใช้คำว่า
“อาณาจักรพระเจ้า” แทนคำว่า “แผ่นดินของพระเจ้า”
คำว่า “อาณาจักรสวรรค์” กับ “อาณาจักรพระเจ้า”
มีความหมายเหมือนกัน
ในพระคัมภีร์คำว่าอาณาจักรสวรรค์ปรากฏเฉพาะในพระกิตติคุณมัทธิวเท่านั้น
จากคำตรัสอันเดียวกันของพระเยซู ถ้าเป็นพระกิตติคุณมัทธิวจะใช้คำว่าอาณาจักรสวรรค์
แต่ถ้าเป็นพระกิตติคุณเล่มอื่นๆ(เช่น มาระโก ลูกา) จะใช้คำว่าอาณาจักรพระเจ้า นี่บ่งชี้ว่าอาณาจักรสวรรค์กับอาณาจักรพระเจ้ามีความหมายเหมือนกัน
เหตุที่หนังสือมัทธิวหลีกเลี่ยงการใช้คำว่าอาณาจักรพระเจ้าเป็นเพราะหนังสือมัทธิวเขียนให้คนยิวอ่านโดยเฉพาะ
ซึ่งคนยิวที่เคร่งครัดจะไม่ออกนาม “พระเจ้า” เท่าใดนัก มัทธิวจึงเลี่ยงการใช้คำว่าอาณาจักรพระเจ้า
โดยใช้คำว่าอาณาจักรสวรรค์แทน
คำว่า "สวรรค์" หมายถึง ที่ประทับของพระเจ้า ซึ่งมีทูตสวรรค์อยู่มากมาย
ส่วนคำว่าอาณาจักรสวรรค์หรืออาณาจักรพระเจ้าหมายถึงขอบข่ายที่พระเจ้าทรงปกครอง
ขอบข่ายที่พระเจ้าปกครองนี้ไม่ได้มีเฉพาะในสวรรค์เท่านั้น
แต่ยังแผ่ขยายถึงแผ่นดินโลกด้วย หากมีกลุ่มคนใดหรือภูมิภาคใดบนแผ่นดินโลกที่ยอมรับว่าพระเยซูเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า
อาณาจักรสวรรค์หรืออาณาจักรพระเจ้าก็มาถึงที่นั้น อาณาจักรพระเจ้าเป็นขอบข่ายฝ่ายวิญญาณที่พระเจ้าทรงปกครองซึ่งขอบข่ายนี้แผ่ขยายไปถึงแผ่นดินโลกด้วย
คำว่า
“สวรรค์” กับ “อาณาจักรสวรรค์” จึงไม่เหมือนกัน โดยสวรรค์จะหมายถึงสถานที่ที่พระเจ้าประทับ
ส่วนอาณาจักรสวรรค์หมายถึงขอบข่ายที่พระเจ้าทรงปกครองอันเป็นขอบข่ายฝ่ายวิญญาณ
ก่อนที่พระเยซูจะสิ้นพระชนม์
พระองค์ตรัสว่า “อาณาจักรพระเจ้ามาใกล้แล้ว”
นี่หมายความว่าก่อนที่พระเยซูจะถูกตรึงกางเขน อาณาจักรสวรรค์ยังมิได้มาถึง(เพียงแต่มาใกล้แล้ว)
ทว่าหลังจากที่พระเยซูเป็นขึ้นและนั่งที่เบื้องขวาพระเจ้าในสวรรคสถาน
พระองค์ก็มิได้ตรัสเช่นนี้อีก นี่แสดงว่าหลังจากที่พระเยซูประทับที่สวรรคสถาน อาณาจักรพระเจ้าก็ได้ถูกสถาปนาขึ้นในโลกโดยมีพระเยซูคริสต์เป็นกษัตริย์
และถ้าพื้นที่ใดหรือกลุ่มคนใดที่ยอมรับว่าพระเยซูเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า
อาณาจักรพระเจ้าก็มาถึงที่นั่น
อาณาจักรพระเจ้าเป็นขอบข่ายในฝ่ายวิญญาณอันเป็นขอบข่ายที่พระเจ้าปกครอง
อาณาจักรพระเจ้าจึงเป็นสิ่งที่กว้างกว่าคำว่าคริสตจักร
คำว่าคริสตจักรมีความหมายสื่อถึง “ประชากรของพระเจ้า” แต่อาณาจักรหมายถึงการปกครองของพระเจ้า
ซึ่งพระเจ้าปรารถนาที่จะให้ผู้เชื่อนำอาณาจักรนี้เข้าไปยังแผ่นดินโลกผ่านที่ทำงานหรืองานอาชีพ
อาณาจักรพระเจ้าจึงไม่ได้จำกัดเฉพาะในอาคารโบสถ์
คุณสมบัติบางส่วนของอาณาจักรพระเจ้าที่ปรากฏในพระคัมภีร์ก็คือ
ความชอบธรรม สันติสุข ความยินดี และฤทธิ์เดช
เมื่อผู้เชื่อทำให้สังคมหรือองค์กรที่ตนรับผิดชอบมีความชอบธรรม
อาณาจักรพระเจ้าก็มาถึงที่นั่น ถ้าผู้เชื่อนำพาให้ครอบครัวมีสันติสุข
อาณาจักรพระเจ้าก็มาถึงที่นั่น ถ้าผู้เชื่อสามารถขจัดความยากจนบนภูมิภาคหนึ่งได้
อาณาจักรพระเจ้าก็มาถึงที่นั่น
นอกจากนี้ถ้าหมายสำคัญหรือการรักษาโรคอย่างอัศจรรย์เกิดขึ้นที่ใด อาณาจักรพระเจ้าก็มาถึงที่นั่น
พันธกิจของการแผ่ขยายอาณาจักรพระเจ้านี้ถูกนำพาโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งพระองค์กำลังเคลื่อนไหวทั่วแผ่นดินโลก
ทรงดลใจทั้งผู้เชื่อและผู้ไม่เชื่อ (ในพระคัมภีร์มีหลายเหตุการณ์ที่พระเจ้าดลใจคนต่างชาติให้ทำภารกิจบางอย่างด้วย)
จุดจดจ่อของการขับเคลื่อนแบบอัครทูตก็คือ
“อาณาจักรพระเจ้า” พันธกิจแบบอัครทูตจึงไม่ถูกจำกัดเฉพาะงานรับใช้ในโบสถ์เท่านั้น
แต่พันธกิจแบบอัครทูตยังหมายถึงการนำอาณาจักรพระเจ้าเข้าไปยังสังคมภายนอกโบสถ์ด้วย
เอกลักษณ์หนึ่งของการขับเคลื่อนแบบอัครทูตคือส่งคนออกไปเพื่อแผ่ขยายอาณาจักรพระเจ้า
ซึ่งต่างจากการขับเคลื่อนแบบศิษยาภิบาลที่เน้นเพียงแต่การเก็บเกี่ยวและรวมตัวกันในโบสถ์
การเคลื่อนไหวแบบอัครทูตคือส่งคนออกไป การเคลื่อนไหวแบบศิษยาภิบาลคือดึงดูดคนเข้ามา
กรอบความคิดแบบศิษยาภิบาลเน้นพันธกิจเพื่อโบสถ์ แต่กรอบความคิดแบบอัครทูตเน้นพันธกิจเพื่ออาณาจักร
หนังสือแนะนำเพิ่มเติม
Thy Kingdom Come เขียนโดย Harold Eberle
Changing Church เขียนโดย C. Peter Wagner
Thy Kingdom Come เขียนโดย Harold Eberle
Changing Church เขียนโดย C. Peter Wagner
ที่มาของรูป
รูปหนังสือ Apostolic Church Arising จาก
https://www.arsenalbooks.com/Apostolic-Church-Chuck-Pierce-and-Robert-Heidler-p/9780979167881.htm
รูปหนังสือ Apostolic Church Arising จาก
https://www.arsenalbooks.com/Apostolic-Church-Chuck-Pierce-and-Robert-Heidler-p/9780979167881.htm
รูปมงกุฎ
จาก
https://twitter.com/KINGDOMCROWN2
https://twitter.com/KINGDOMCROWN2
รูปขั้นบันได
จาก
https://www.gloryofzion.org/docs/Apostolic%20Centers_sm.pdf
https://www.gloryofzion.org/docs/Apostolic%20Centers_sm.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น