“เทศกาลอยู่เพิง”
เป็นเทศกาลสุดท้ายของฤดูกาลการเก็บเกี่ยวซึ่งอยู่ในเดือนทิชรี(Tisthrei) ถัดจากเทศกาลแห่งเสียงแตรเขาสัตว์ (Rosh Hashanah)และเทศกาลวันลบมนทิลบาป (Yom Kippur) ตามพระธรรมเลวีนิติ บทที่23:39-44
เทศกาลนี้จะเริ่มขึ้น 5 วันหลังจาก เทศกาลวันลบมนทิลบาป (Yom Kippur) ในวันที่ 15 เดือนทิชรี มีการฉลองเทศกาลอยู่เพิงกัน 7 วัน จนถึงวันที่ 22 เดือนทิชรี (ปี 2014 ตรงกับช่วงเย็นวันที่ 8-15 ต.ค.) บวกกับ 1 วัน รวมเป็น 8 วัน ในวันที่ 8 (16 ต.ค.) เรียกว่า “ชิมหัต โทราห์” (Simchat Torah) หมายถึง “ชื่นชมยินดีในโทราห์” ตามธรรมเนียมคนยิวจะออกมาเต้นรำและถือหนังสือม้วนโทราห์ อ่านข้อความจากหนังสือเบญจบรรณ(Pentateuch) ตั้งแต่ปฐมกาลข้อแรก และข้อสุดท้ายของเฉลยธรรมบัญญัติ เพื่อแสดงว่า “พระวจนะของพระเจ้าไม่มีวันสิ้นสุด”
เทศกาลนี้จะเริ่มขึ้น 5 วันหลังจาก เทศกาลวันลบมนทิลบาป (Yom Kippur) ในวันที่ 15 เดือนทิชรี มีการฉลองเทศกาลอยู่เพิงกัน 7 วัน จนถึงวันที่ 22 เดือนทิชรี (ปี 2014 ตรงกับช่วงเย็นวันที่ 8-15 ต.ค.) บวกกับ 1 วัน รวมเป็น 8 วัน ในวันที่ 8 (16 ต.ค.) เรียกว่า “ชิมหัต โทราห์” (Simchat Torah) หมายถึง “ชื่นชมยินดีในโทราห์” ตามธรรมเนียมคนยิวจะออกมาเต้นรำและถือหนังสือม้วนโทราห์ อ่านข้อความจากหนังสือเบญจบรรณ(Pentateuch) ตั้งแต่ปฐมกาลข้อแรก และข้อสุดท้ายของเฉลยธรรมบัญญัติ เพื่อแสดงว่า “พระวจนะของพระเจ้าไม่มีวันสิ้นสุด”
คำว่า “อยู่เพิง” ในภาษาฮีบรู คือ คำว่า “สุคคท”(Sukkot) เป็นคำพหูพจน์ (คำเอกพจน์คือ สุคะห์ (sukkah) ซึ่งหมายถึง เพิงพักหรือที่พักอาศัยชั่วคราว (booth)
ถูกกล่าวครั้งแรกใน ตอนที่ยาโคบ(อิสราเอล) สร้างที่อาศัยชั่วคราวเพื่อพักแรม(ปฐก. 33:17) ในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า “tabernacles” เนื่องจากยืมมาจากภาษาละติน คือ คำว่า “ tabernāculum” หมายถึง เต็นท์ (Tent)
ในเทศกาลอยู่เพิงจะมี พิธีหลั่งน้ำเพื่อครัวเรือน (House of Water Pouring Ceremony) (ยน
7:37-39 ) ในวันสุดท้ายของงานเทศกาลซึ่งเป็นวันใหญ่นั้นปุโรหิตจะนำเอาน้ำจากสระสิโลอัม มาเทบนแท่นบูชา พระเยซูทรงประกาศว่า "ถ้าผู้ใดกระหาย
ผู้นั้นจงมาหาเราและดื่ม ผู้ที่เชื่อในเรา
ตามที่พระคัมภีร์ได้กล่าวไว้แล้วว่า `แม่น้ำที่มีน้ำประกอบด้วยชีวิตจะไหลออกมาจากภายในผู้นั้น' ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญสำหรับผู้เชื่อในพระเยซูเป็นน้ำแห่งชีวิต และเล็งถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่จะเสด็จมาประทับอยู่ในผู้เชื่อในภายหลังและสำเร็จในพระธรรมกจ.บทที่ 2
คนยิวในปัจจุบันฉลองเทศกาลอยู่เพิงนี้อย่างไร
ครอบครัวชาวยิวจะสร้างและตกแต่งเพิงในสวนหรือบริเวณบ้าน และรับประทานอาหารร่วมกันเป็นครอบครัว คุณพ่อจะอ่านโทราห์ให้ลูกๆฟังและชี้ให้ดูดวงดาวในท้องฟ้ายามค่ำคืน เพื่อระลึกถึงพันธสัญญาอับราฮัม(ปฐก.15) เทศกาลนี้เป็นการเตือนใจชาวยิวถึงการปกป้องของพระเจ้า ในช่วงที่บรรพบุรุษของเขาต้องเร่ร่อนในถิ่นทุรกันดารในช่วงอพยพออกจากอียิปต์ เทศกาลนี้จึงเล็งถึงพระสิริของพระเจ้าที่อยู่กับพวกเขาทุกหนทุกแห่ง ดั่งเสาเมฆแห่งพระสิริที่นำหน้าพวกเขา
ติดตามการทรงสถิต
ชีวิตในเพิงพระสิริ
“เพิง หรือ“เต็นท์” เป็นที่พักชั่วคราวของผู้ที่เดินทางเร่ร่อนในทะเลทราย คนอิสราเอลใช้เป็นที่อยู่อาศัยในการเดินทางในถิ่นทุรกันดาร ก่อนที่จะเข้าสู่แผ่นดินคานาอัน ชีวิตของพวกเขาติดตามพระเจ้าไปทุกหนแห่งที่พระองค์ทรงนำ
“เพิง หรือ“เต็นท์” เป็นภาพเงาเล็งถึงที่อยู่อาศัยของผู้เชื่อที่อยู่ชั่งคราวในแผ่นดินโลกนี้ บ้านที่แท้จริงคือแผ่นดินสวรรค์(ฟป.3:20)
“ฮีบรู” เป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงตั้งไว้เพื่อที่จะอวยพระพรและนำพระพรไปสู่ประชาชาติดังที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้กับอับบราฮัม(ปฐก.12:2-3) อับราฮัมเป็นคนแรกที่พระเจ้าทรงเรียกมาเพื่อรับพระพร เขาถูกเรียกโดยพระเจ้าว่าเป็นชาวฮีบรูคำว่า "ฮีบรู"
(Hebrew) หมายถึง การก้าวข้าม (crossover) ที่เป็นอย่างนั้นเพราะท่านได้รับการทรงเรียกให้ออกจากเมืองไปสู่สถานที่แห่งพระพร(ปฐก.14:13) คำนี้มีความหมายคือ “คนแปลกถิ่น”(Alien) ที่เที่ยวไปบนอยู่โลก (ฮบ.11:13)
พระเจ้ามักจะเรียกร้องคนของพระองค์ให้ตัดสินใจก้าวข้ามอุปสรรค ด่านทดสอบความเชื่อ และเมื่อผ่านไปแล้ว นั่นหมายถึง พระพรที่จะได้รับจากพระเจ้า
ดังนั้น โลกใบนี้จึงเปรียบเสมือน
“เพิง” เป็นสถานที่พักชั่วคราวที่เราต้องเคลื่อนไปตามการทรงนำของพระเจ้า จนกว่าจะไปพำนักในเพิงแห่งพลับพลาบนสวรรค์
สถานที่พักชั่วนิรันดร์(วว.21:3)
ทุกเทศกาลจึงเป็นเวลาการนัดหมายของพระเจ้า(Divine
Appointment) มาพบกับพระองค์ที่เต็นท์นัดพบ เพื่อฟังเสียงและก้าวตามแผนการของพระเจ้า
เมื่อมีเสียงแตร(เล็งถึงเทศกาล Rosh Hashanah) ดังเป็นสัญญาณเรียก “จงฟังและหันกลับสู่ทางพระเจ้า” เพื่อรับการชำระตนเองจากมลทิน(เล็งถึงเทศกาลYom
Kippur) เพื่อเข้าอยู่ในการทรงสถิตของพระเจ้าในเพิงพระสิริ
(ลนต.23:24,กดว.10:2) สิ่งสำคัญคือ เราต้องเคลื่อนตามเสียงของพระเจ้าในการนำเรา จนกว่าเสียงแตรสุดท้ายในวาระสุดท้ายและเราจะได้เข้าสู่การพำนักในที่ถาวรคือสวรรค์
(1 ธส.4:16-17)
ปี 5775 เป็นปีแห่งการพักสงบ(Sabbatical
Year) จะเป็นปีที่เราจะมีการพักสงบในเต็นท์นัดพบ แม้สถานการณ์ในโลกนี้จะเป็นดั่งลมพายุถาถมเข้ามาในชีวิต
แต่เราสามารถนิ่งสงบในการทรงสถิตของพระเจ้าได้และมองจากหน้าต่างเฝ้าดูถึงสิ่งที่พระเจ้าจะกระทำ
เมื่อยามรบอยู่ในสงครามฝ่ายวิญญาณเราจะเป็น "นักรบที่ห้าวหาญ" แต่ในยามพักสงบ เราต้องเป็น "นักรักที่หวานซึ้ง" ในความรักของพระเจ้า
เราเฉลิมฉลองเทศกาลอยู่เพิงอย่างไร?
จัดเตรียมบ้านของเราให้เป็นเพิงที่ประทับของพระเจ้า และฉลองเทศกาลนี้ด้วยกันเป็นชุมชน เพราะเทศกาลอยู่เพิงเป็นช่วงเวลาสำคัญในชีวิตของเรานั่นคือ
1. เวลาแห่งการพักสงบในเพิงพระสิริ พระเจ้าจะทรงอยู่ด้วยกับประชากรของพระองค์
2. เวลาแห่งความเพลิดเพลินในการอ่านพระธรรมของพระเจ้า(Torah) เป็นทิศทางของชีวิต
3. เวลาแห่งความชื่นชมยินดีในการถวาย เพราะช่วงเทศกาลอยู่เพิงเป็นการสิ้นสุดฤดูกาลเก็บเกี่ยว
จึงมีการถวายที่เต็มขนาดให้กับพระเจ้า (ฉธบ.16:16-17) เพื่อขอบคุณสำหรับการอวยพรของพระเจ้า
ในยุคพันธสัญญาใหม่
เมื่อพระเยซูคริสต์ทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ม่านในพระวิหารฉีกขาด(มธ.27:51) เป็นหมายสำคัญถึงความสัมพันธภาพครั้งใหม่ ที่ไม่มีสิ่งใดขวางกั้น
เพราะพระเจ้าทรงก้าวออกมาจากพระที่นั่งกรุณาที่หลังม่าน
และพระองค์มาร่วมพักอยู่ในเพิงที่ประทับของพระองค์ในชีวิตของเราด้วยเช่นกัน! อนุญาตให้พระเจ้าเข้ามาในชีวิตและพักสงบกับพระองค์ด้วยกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น