18 สิงหาคม 2555

เดินในพันธสัญญาร่วมกับอิสราเอล

สวัสดีครับเพื่อนผู้อ่านทุกท่าน ผมได้เขียนบทความนี้เพื่อบันทึกการเดินทางสู่ประเทศอิสราเอล ดินแดนแห่งพันธสัญญาของพระเจ้า ซึ่งผมจะเดินทางไปในช่วงวันที่ 28 ส.ค.-5ก.ย.12 ผมเชื่อว่าการเดินทางในครั้งนี้จะมีสิ่งที่ดีและพระพรที่พระเจ้าทรงจัดเตรียมไว้ให้ หลังจากกลับมาจากประเทศอิสราเอล ผมจะมาเขียนเล่าสู่กันฟังนะครับ 

ในครั้งนี้ขอแบ่งปันในเรื่อง "เดินในพันธสัญญาร่วมกับอิสราเอล" ครั้งนี้ขอกล่าวในเรื่องของเครื่องหมายพันธสัญญาและการเดินร่วมกันไปในพันธสัญญาระหว่างคริสตจักรและชนชาติอิสราเอล 

คำว่า "พันธสัญญา" อ.นิมิต พานิช ศบ.คริสตจักรแห่งพระบัญชา ได้ให้นิยามว่า “พันธสัญญาเป็นเรื่องสองหัวใจที่มาเชื่อมกัน ไม่ใช่เรื่อง2สมองที่เชื่อมกัน และมีบททดสอบและพิสูจน์ในการดำเนินในพันธสัญญา”   

 
ดังนั้นพันธสัญญาจึงเป็นการเชื่อมกันที่หัวใจ ไม่ใช่เพียงคำสัญญาหรือการทำสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษร
ในช่วงวันที่ 9-16 เม.ย.12 คริสตจักรแห่งพระบัญชาได้ส่งคณะผู้นำและตัวแทนคริสตจักร เดินทางไปประเทศอิสราเอล เพื่อเป็นการร่วมทำพันธสัญญาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชนชาติแห่งพระพรของพระเจ้า
การเดินทางครั้งนี้เป็นพระบัญชาของพระเจ้า ซึ่งเป็นพระสัญญาที่เรียกให้เรายืนอยู่เคียงข้าง และเราได้อธิษฐานวิงวอนและสนับสนุนของอิสราเอลด้วยคำมั่นสัญญาตามพระวจนะที่กล่าวว่า
สดุดี 122:6 จงอธิษฐานขอสันติภาพให้แก่เยรูซาเล็ม ว่า "ขอบรรดาผู้ที่รักเธอจงจำเริญ
หากเรานึกถึงคำสอนของ Dr.Robert Heidler ท่านกล่าวว่า "ในปี 2012 ตรงกับปีปฏิทินฮีบรู 5772 ความหมายคือ “ปีที่พระเจ้าเฝ้าดูอยู่เหนือบ้านของพระองค์ และปีของการเข้าใจพันธสัญญา”
ปฏิทินฮีบรูแต่ละปีมีการให้สัญลักษณ์ ตัวอักษรฮีบรูโดยดั้งเดิมเป็นอักษรภาพ ซึ่งให้ภาพการเผยพระวจนะสำหรับปีนั้น

ปี 5772 มีความหมายว่าอย่างไร?
5700 = “ขอให้เป็นปีแห่ง....” 70= อักษรฮีบรูคือ “อัยยิน” Y
2=อักษรฮีบรู คือ “เบท” ב: เรียกว่า "ปีแห่ง อัยยิน เบท"
คำว่าดวงตาในภาษาฮีบรูคือ อัยยิน!
อัยยินเป็นภาพของ ดวงตา! ดังนั้น ปีของอัยยินคือ “ปีแห่งดวงตา”
ปีนี้เป็นปีที่จะมองเห็น! พระเจ้าต้องการจะเพิ่มความสามารถให้การเห็นของเรา!มันเป็นฤดูกาลที่พระเจ้ากำลังเฝ้ามองดู!
2พศด.16:9 เพราะว่าพระเนตรของพระยาห์เวห์สอดส่องอยู่เหนือแผ่นดินโลกทั้งหมด
ตัวอักษรอีกตัวคือ เบท ซึ่งเป็นภาพของบ้าน ดังนั้น อัยยินและเบทรวมกันหมายถึง...ดวงตาของพระเจ้ากำลังเฝ้ามองอยู่ เหนือบ้านของพระองค์! พระเจ้ากำลังเฝ้ามองเหนือบ้านของพระองค์ปีนี้!
พระองค์ต้องการที่จะอวยพรบ้านของพระองค์ ด้วยการจัดเตรียมที่อุดมสมบูรณ์! และที่สำคัญที่สุดคือพันธสัญญา! ที่มีต่อบ้านของพระองค์ คือ คริสตจักร
(ในช่วงวันที่ 16 ก.ย.12จะเป็นการเริ่มต้นในปีใหม่หรือหัวของปี(Head of Year)5773 ปีแห่งตัวอักษร Ayin Gimel ปีแห่งมวลอูฐที่นำพาความมั่่งคั่ง (อสย.60:6) จะมีการฉลองเทศกาลขึ้นปีใหม่ Rosh Hashanah ปี 5773 การรื้อฟื้นสู่การไถ่กลับมาทั้งหมด ปีที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างช่องว่างของอดีตไปสู่อนาคต)

คำว่า "พันธสัญญา" คือ ข้อตกลงระหว่างคนสองคนหรือคนสองกลุ่มที่เกี่ยวข้องกันด้วยสัญญาระหว่างกัน
แนวคามคิดในเรื่องพันธสัญญาระหว่างพระเจ้ากับคนของพระองค์ ซึ่งเป็นหนึ่งในความสำคัญของความจริงแห่งศาสนศาสตร์ในพระคัมภีร์

โดยพระองค์ทรงสัญญากับอับราฮัม จะอวยพรลูกหลานของเขาให้เป็นคนพิเศษของพระองค์ ผู้ที่หะนกลับมาและรักษาความสัตย์ซื่อในการติดตามพระเจ้า และรับใช้พระองค์ นี่เป็นช่องทางที่พระเจ้าจะใช้เอาให้เป็นพรไปสู่ประชาชาติ
ปฐมกาล 12:1-3
1 พระเจ้าตรัสแก่อับรามว่า "เจ้าจงออกจากเมืองจากญาติพี่น้องจากบ้านบิดาของเจ้า ไปยังดินแดนที่เราจะบอกให้เจ้ารู้
2 เราจะให้เจ้าเป็นชนชาติใหญ่ เราจะอวยพรแก่เจ้า จะให้เจ้ามีชื่อเสียงใหญ่โตเลื่องลือไป แล้วเจ้าจะช่วยให้ผู้อื่นได้รับพร
3 เราจะอำนวยพรแก่คนที่อวยพรเจ้า เราจะสาปคนที่แช่งเจ้า บรรดาเผ่าพันธุ์ทั่วโลกจะได้พรเพราะเจ้า"

ความหมายของคำว่า “ พันธสัญญา” คือคำที่สำคัญที่สุดสำหรับปีนี้ และอาจเป็นคำหนึ่งในคำที่สำคัญที่สุดในพระคัมภีร์ แต่คำว่า “ พันธสัญญา” กลับเป็นคำที่คริสเตียนมากมายไม่เข้าใจ
แต่ปีนี้พระเจ้าต้องการให้เราเข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำว่า “พันธสัญญา” และต้องการให้เราเรียนรู้ที่จะเดินในพันธสัญญา เพื่อรับพระพรแห่งพันธสัญญา

เราจะต้องทำความเข้าใจว่า “พันธสัญญา” คืออะไรและอะไรไม่ใช่พันธสัญญา  ชุมชนคริสเตียนในโลกมักจะสับสนกับคำว่า “พันธสัญญา” กับคำว่า “สัญญา” 
การทำ “สัญญา” นั้นเป็นการกระทำระหว่างคนที่มีการตกลงร่วมกันและต้องใช้ความพยายาม
ระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุข้อตกลงในที่สุด ถ้าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ทำตาม
ข้อตกลงนั้น สัญญานั้นก็จะขาดลงและอีกฝ่ายก็ไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ ท่าทีที่อยู่เบื้องหลังสัญญานี้คือ “ถ้าคุณทำอย่างนี้ให้ฉัน ฉันก็จะทำอย่างนั้นเป็นการตอบแทน”
ความสัมพันธ์ระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องของข้อแม้ และเป็นเพียงชั่วคราว จนกว่าสัญญานั้นจะสำเร็จหรือขาดลง
“พันธสัญญา” นั้นต่างกันโดยสิ้นเชิงและเพื่อทำความเข้าใจกับเรื่องนี้ ผู้มองเหตุการณ์จะต้องมองด้วยความคิดจากมุมมองของชาวฮีบรู ไม่ใช่จากมุมมองแบบชาวตะวันตก

พันธสัญญาเกิดขึ้นเพราะผู้คนมีนิมิตและเป้าหมายเดียวกัน และความเชื่อในสัมพันธ์ภาพระหว่างกันเป็นพลังที่ช่วยรักษาพันธสัญญานี้ไว้ พันธสัญญามักจะเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยกรอบของเวลาหรือระยะทาง ยุคสมัยหรือสถานที่ พันธสัญญานั้นผูกมัดไม่เพียงในแง่มุมของกฎหมาย แต่ในแง่จิตวิญญาณและความรู้สึก
เกือบทุกครั้งจะมีพยานเกี่ยวข้องและด้วยเหตุนี้จึงมีความรับผิดชอบสูง ในพระคัมภีร์ พันธสัญญานั้นทำทุกเวลา ความสัมพันธ์ในพันธสัญญานี้ดำรงอยู่ไกลกว่าการพิจารณาเรื่องข้อกฎหมาย และผู้ที่กระทำพันธสัญญาร่วมกันจะเห็นกันและกันเป็นเพื่อนที่ตลอดชั่วนิ รันดร์จะผูกมัดกับพันธสัญญานี้

พระเจ้าของเราเป็นพระเจ้าแห่งพันธสัญญา พระเจ้าเป็นผู้ริ่เริ่มที่จะทำพันธสัญญากับคนของพระองค์
ปฐก.9:8-9
8 พระเจ้าจึงตรัสแก่โนอาห์และบุตรทั้งหลายว่า
9 "นี่แน่ะ เราเองเป็นผู้ตั้งพันธสัญญาของเราไว้กับพวกเจ้าและกับพงศ์พันธุ์ของเจ้า

ทุกสิ่งที่พระเจ้าทำอยู่บนพื้นฐานของพันธสัญญา พระเจ้าทำตามสิ่งที่พระองค์ทรงสัญญาไว้ เราสังเกตเห็นได้หลายเหตุการณ์ในพระคัมภีร์ เช่น พระเจ้าสัญญาว่าอับราฮัมจะเป็นบิดาแห่งประชาชาติ , พระเยซูสัญญาว่าพระบิดาจะส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มาเป็นองค์พระผู้ช่วยในพระธรรมกิจการ ฯลฯ

ความสัมพันธ์ของเรากับพระเจ้า เป็นความสัมพันธ์ตามพันธสัญญา เข้าส่วนเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนในพระธรรมยอห์น 15 เรื่องเถาองุ่นกับแขนง
แผนการของพระเจ้าเป็นแผนการแห่งพันธสัญญา พระพรของพระเจ้าเป็นพระพรตามพันธสัญญา พระเจ้าต้องการให้เราดำเนินชีวิตในพันธสัญญาต่อกันและกัน พระเจ้าเรียกให้เราเป็นคนแห่งพันธสัญญา

คำว่า “พันธสัญญา” เป็นการอุทิศตนที่จริงจัง และผูกเข้าด้วยกันระหว่างคนสองคนหรือมากกว่านั้น เป็นการปฏิญาณถึงการจงรักภักดีและการอุทิศตนอย่างสิ้นเชิงต่ออีกฝ่ายหนึ่ง มีความหมายมากกว่าสัญญาหรือการอุทิศตนใด ๆ มีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งกว่าชีวิต เป็นหุ้นส่วนชั่วกัลปาวสาน (จนสิ้นชีวิต) ไม่สามารถละเมิดได้

ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Covenant : a compact (because made by passing between pieces of flesh) คำว่า Compact พจนานุกรมให้ความหมายว่า สัญญา ข้อตกลง

ดังนั้น พันธสัญญา จึงมีความหมายสำหรับคู่สมรสที่ต้องกล่าวคำสัญญาต่อกันในวันแต่งงาน (Marriage vows) มีความหมายถึง การทำสัญญาที่กลั่นออกมาจากเลือดเนื้อจิตวิญญาณภายใน พันธสัญญาระหว่างชายและหญิงโดยพระเจ้าเป็นผู้ที่ผูกพันครอบครัวด้วยพันธสัญญา คู่สมรสจึงเป็นเนื้อเดียวกัน
มธ.19:4-6
4 พระองค์ตรัสตอบเขาว่า "พวกท่านไม่ได้อ่านหรือว่า พระผู้ทรงสร้างมนุษย์แต่เดิม ได้ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง
5 และตรัสว่า เพราะเหตุนั้นบุรุษจึงต้องละบิดามารดาของตน ไปผูกพันอยู่กับภรรยาและเขาทั้งสองจะเป็นเนื้ออันเดียวกัน
6 เขาจึงไม่เป็นสองต่อไป แต่เป็นเนื้ออันเดียวกัน เหตุฉะนั้นซึ่งพระเจ้าได้ทรงผูกพันกันแล้ว อย่าให้มนุษย์ทำให้พรากจากกันเลย"
ในทำนองเดียวกัน วันนี้เราได้ทำพันธสัญญาร่วมยืนเคียงข้างกับชนชาติของพระเจ้าคืออิสราเอล เป็นการแสดงตัวร่วมความเป็นพี่น้องร่วมสายโลหิตของพระเยซู (Yeshua) คือเป็นคนใหม่คนเดียวกัน (One New Man)
อฟ.2:14-15 14 เพราะว่าพระองค์ทรงเป็นสันติสุขของเรา เป็นผู้ทรงกระทำให้ทั้งสองฝ่ายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และทรงรื้อกำแพงที่กั้นระหว่างสองฝ่ายลง
15 คือการเป็นปฏิปักษ์กัน โดยในเนื้อหนังของพระองค์ ได้ทรงให้ธรรมบัญญัติอันประกอบด้วยบทบัญญัติและกฎหมายต่างๆนั้นเป็นโมฆะ เพื่อจะกระทำให้ทั้งสองฝ่ายเป็นคนใหม่คนเดียวในพระองค์ เช่นนั้นแหละ จึงทรงกระทำให้เกิดสันติสุข

การทำพันธสัญญาระหว่างคริสตจักรกับอิสราเอล เป็นเรื่องสองหัวใจที่มาเชื่อมกัน ไม่ใช่เรื่องสองสมองที่เชื่อมกัน และมีบททดสอบและพิสูจน์ในการดำเนินในพันธสัญญา
พูดง่ายๆ คือ เมื่อก่อนเรามองอิสราเอลแบบผู้ชายดูใจคบกับผู้หญิง แต่ตอนนี้เมื่อทำพันธสัญญา หมายถึงตกลงปลงใจมาแต่งงานกันนั่นเอง
เราจึงต้องทำความเข้าใจกัน ตกลงใจกัน เพื่อจะร่วมเดินในพันธสัญญาด้วยกัน การทำพันธสัญญาครั้งนี้จึงเป็นภาพความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันทั้งคริสตจักรที่มีต่อชนชาติอิสราเอล
 อมส. 3:3 "สองคนจะเดินไปด้วยกันได้หรือ นอกจากทั้งสองจะได้ตกลงกันไว้ก่อน

ผมจึงขอหนุนใจให้เราร่วมทำพันธสัญญาร่วมกันกับชนชาติอิสราเอลตามที่ตัวแทนของคริสตจักรได้ไปทำแล้วในช่วงที่ผ่านมา ที่เราจะยืนเคียงข้างและร่วมเดินในพันธสัญญากับพระเจ้าร่วมกัน

"หัวใจ" หมายถึง เครื่องหมายแห่งพันธสัญญา และ "บททดสอบ คือสถานที่แห่งพันธสัญญา" แต่ละสถานที่ในประเทศอิสราเอลล้วนเป็นบททดสอบชีวิต ที่มีความสำคัญในฝ่ายวิญญาณ ที่เราควรจะได้เดินทางไปเยือนสักครั้งหนึ่งในชีวิตของเรา 

ในครั้งนี้ผมขอกล่าวถึงเครื่องหมายแห่งพันธสัญญา ส่วนในเรื่องบททดสอบการก้าวเดินในดินแดนแห่งพันธสัญญา ผมจะขอแบ่งปันในโอกาสต่อไปเมื่อผมกลับมาจากประเทศอิสราเอล  

เครื่องหมายของพันธสัญญา : พระเยซูมีเครื่องหมายของพันธสัญญาบนมือของพระองค์
อสย.49:15-16
15 “ผู้หญิงจะลืมบุตรที่ยังกินนมของนาง และจะไม่เมตตาบุตรจากครรภ์ของนางได้หรือ” แม้ว่าคนเหล่านี้ยังลืมได้ กระนั้นเราก็จะไม่ลืมเจ้า
16 ดูเถิด เราได้สลักเจ้าไว้บนฝ่ามือของเรา กำแพงเมืองของเจ้าอยู่ต่อหน้าเราเสมอ
เครื่องหมายพันธสัญญาของเรากับพระเจ้าคือ การตัดความเป็นเนื้อหนังออก และดำเนินชีวิตในความบริสุทธิ์
เมื่อเราอยู่ต่อหน้าพระองค์ ให้เรายกมือที่บริสุทธิ์ขึ้นต่อหน้าพระองค์
เมือเราอยู่ต่อหน้าศัตรู ให้เรายกมือของเราขึ้นเพื่อเตือนศัตรูว่า ฉันมีผู้ปกป้อง เพราะพระเจ้าสลักเราไว้บนฝ่ามือของพระองค์
อสย.9:17 ผู้ก่อสร้างเจ้าก็เอาชนะผู้ทำลายเจ้า และบรรดาผู้ที่ทำให้เจ้าถูกทิ้งร้างก็ออกไปจากเจ้า
และเมื่อเรายกมือของเราขึ้นต่อหน้าของเรา ก็คือเป็นการเตือนว่า เราทำพันธสัญญากับพระเจ้า
พันธสัญญานั้นเป็นเรื่องจริงจัง แต่ก็เป็นพระพรที่ยิ่งใหญ่

วันนี้พระเยซูเชื้อเชิญเราทุกคนเข้าสู่พันธสัญญา ที่มาจากการเสียสละชีวิตของพระองค์ เป็นเครื่องบูชาไถ่บาปให้กับเรา

การทำพันธสัญญาว่า “ผ่าพันธสัญญา” เพราะว่าการฆ่าสัตว์เพื่อบูชาเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมในการทำพัธสัญญา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกว่าต่างฝ่ายต่างจะรักษาพันธสัญญานี้ด้วยชีวิตของตนเอง

สิ่งที่ไม่ธรรมดาเกี่ยวกับพันธสัญญาระหว่างอิสราเอลและชนชาติยิวก็คือพระ เจ้าพระองค์เองเป็นผู้ “ผ่าพันธสัญญา”นี้กับพวกเขาโดยผ่านทางอับราฮัมในปฐมกาล 15:1-17 พิธีกรรมในการทำพันธสัญญาในตะวันออกกลางโบราณที่ใช้วิธีเดินระหว่างกลางซาก สัตว์ที่ผ่าครึ่งซีกนั้น โดยปกติมักกระทำโดยทั้งสองฝ่าย เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกว่า “ขอให้สิ่งที่เกิดขึ้นกับซากสัตว์นี้ ได้เกิดขึ้นกับตัวฉันหากฉันผิดพันธสัญญากับพี่น้องของฉัน”
พันธสัญญาที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลง “ชั่วนิจนิรันดร์” ที่พระเจ้าได้ทรงกระทำกับอับราฮัมและลูกหลานของเขานี้ ไม่เพียงมีผลต่อประชากรเท่านั้น แต่มีผลต่อแผ่นดินอิสราเอลด้วย
ปฐมกาล 17:7-8 “เราจะตั้งพันธสัญญาของเราไว้ระหว่างเรากับเจ้า และเชื้อสายของเจ้าที่สืบมาตลอดชั่วชาติพันธุ์ของเขาให้เป็นพันธสัญญานิรัน ดร์ คือเป็นพระเจ้าแก่เจ้าและแก่เชื้อสายของเจ้าที่สืบมา เราจะให้ดินแดนที่เจ้าอาศัยอยู่นี้ คือแผ่นดินคานาอันทั้งสิ้นแก่เจ้าและแก่เชื้อสายของเจ้าที่จะสืบมา ให้เป็นกรรมสิทธิ์นิรันดร์ และเราจะเป็นพระเจ้าของเขา”


เครื่องหมายแห่งพันสัญญา : พิธีมหาสนิท
1คร.11:23-28
23 เพราะว่าเรื่องซึ่งข้าพเจ้าได้มอบไว้กับท่านแล้วนั้น ข้าพเจ้าได้รับจากองค์พระผู้เป็นเจ้า คือในคืนที่เขาอายัดพระเยซูเจ้านั้น พระองค์ทรงหยิบขนมปัง
24 ครั้นขอบพระคุณแล้วจึงทรงหัก แล้วตรัสว่า “นี่เป็นกายของเรา ซึ่งให้แก่ท่านทั้งหลาย จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา”
25 เมื่อรับประทานแล้ว พระองค์จึงทรงหยิบถ้วยด้วยอาการอย่างเดียวกัน ตรัสว่า “ถ้วยนี้คือพันธสัญญาใหม่ โดยโลหิตของเรา เมื่อท่านดื่มจากถ้วยนี้เวลาใด จงดื่มเป็นที่ระลึกถึงเรา”
26 เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายกินขนมปังนี้และดื่มจากถ้วยนี้เวลาใด ท่านก็ประกาศการวายพระชนม์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า จนกว่าพระองค์จะเสด็จมา
27เหตุฉะนั้นถ้าผู้ใดกินขนมปัง หรือดื่มจากถ้วยขององค์พระผู้เป็นเจ้าอย่างไม่สมควร ผู้นั้นก็ทำผิดต่อพระกายและพระโลหิตขององค์พระผู้เป็นเจ้า
28ขอให้ทุกคนพิจารณาตนเอง แล้วจึงกินขนมปังและดื่มจากถ้วยนี้
พระเยซูทรงสละชีวิตของพระองค์ลงเพื่อเรา เพื่อทำให้พระสัญญาแห่งการไถ่ของพระเจ้าเป็นจริง
ยน.3:16 เพราะว่าพระเจ้าทรงรักโลก จนได้ทรงประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่วางใจในพระบุตรนั้นจะไม่พินาศ แต่มีชีวิตนิรันดร์
เหมือนดังภาพของกางเขน องค์ประกอบของแนวตั้งคือ ถ้วยน้ำองุ่นในพิธีมหาสนิท ด้วยพระโลหิตของพระองค์ได้ชำระเราและนำเราเข้าสู่พันธสัญญากับพระเจ้า
1ยน.3:16 ดังนี้แหละเราจึงรู้จักความรัก โดยที่พระองค์ได้ทรงยอมสละพระชนม์ของพระองค์เพื่อเราทั้งหลาย และเราทั้งหลายก็ควรจะสละชีวิตของเราเพื่อพี่น้อง
องค์ประกอบของแนวนอน คือ ขนมปัง เล็งถึงพระกายของพระเยซู ด้วยพระกายของพระคริสต์ที่ได้วายพระชนม์ เราจึงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับอิสราเอล และผู้เชื่อ
1คร.10:16-17
16 ถ้วยแห่งพระพร ซึ่งเราได้ขอพระพรนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เรามีส่วนร่วมในพระโลหิตของพระคริสต์มิใช่หรือ ขนมปังซึ่งเราหักนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เรามีส่วนร่วมในพระกายของพระคริสต์มิใช่หรือ
17แม้เราซึ่งเป็นบุคคลหลายคน แต่เนื่องจากมีขนมก้อนเดียว เราจึงเป็นร่างกายเดียว เพราะว่าเราทุกคนรับประทานขนมก้อนเดียวกัน
ดังนั้น เมื่อเรารับมหาสนิท เรากำลังปฏิญาณตัวเองในพันธสัญญาต่อพระเจ้า และต่อพี่น้องชายหญิงของเรา คือ ชนชาติอิสราเอล ซึ่งเป็นพื้นฐานของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เหมือนดังช่วงเทศกาลปัสกา(Passover) ชาวอิสราเอล เข้ารับประทานขนมปังไร้เชื้อเพื่อระลึกการไถ่จากการเป็นทาสในอียิปต์
นอกจากหัวใจ ที่เป็นเครื่องหมายที่เราเชื่อมต่อทางใจ กับชนชาติอิสราเอล สิ่งต่อมาคือ สถานที่ เป็นบททดสอบในร่วมเดินในพันธสัญญา
Dr.Jack Hayford เขียนในหนังสือชื่อ Why stand with Israel today ว่า “เมื่อเราพูดเกี่ยวกับอิสราเอลเรากำลังข้องเกี่ยวกับ:
1) ดินแดน ทรัพย์สินผืนหนึ่งที่พระเจ้าประกาศถึง
2) ประชากรของพระเจ้าที่พระองค์ได้ประทานแผ่นดินผืนนั้นไว้

นี่เป็นเรื่องสำคัญสำหรับพระผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งและเป็นเรื่องที่ไม่สามารถต่อรองได้ สิ่งที่พระเจ้าได้ตรัสอย่างพิเศษเกี่ยวกับอิสราเอลนั้นไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย ดังนั้นสถานที่ในประเทศอิสราเอลจึงเป็นดินแดนแห่งพันธสัญญาและเมื่อเราได้เข้ามีส่วนร่วมในพันธสัญญานี้ มรดกที่พระเจ้าสัญญากับอิสราเอลจะไหลผ่านพระพรมาสู่ผู้ที่อยู่ในพันธสัญญาอันนี้ด้วย
"ไม่เพียงแต่แผ่นดินเท่านั้นที่เป็นของพระเจ้า แต่พระเจ้ายังได้มอบแผ่นดินนี้ให้แก่อับราฮัมและลูกหลานของเขาผ่านทางอิสอัค (ปฐก.17:7-8)

ตัวอย่างสถานที่ในดินแดนพันธสัญญา
ภูเขาโมริยาห์ :สถานที่พระเจ้าทรงทำพันธสัญญากับอับราฮัม  บทบดสอบความเชื่อของอับราฮัม ท่านได้ตัดสินใจมอบถวายบุตรคนเดียวของท่าน ทำให้ท่านได้รับพระสัญญาว่าจะเป็นบิดาแห่งมวลชน
ปฐมกาล 22:2-17... 
12 ทูตสวรรค์ว่า "อย่าแตะต้องเด็กนั้นหรือกระทำอะไรเขาเลย เพราะบัดนี้เรารู้แล้วว่าเจ้ายำเกรงพระเจ้า ด้วยเห็นว่าเจ้ามิได้หวงบุตรชายของเจ้า แต่ยอมถวายบุตรชายคนเดียวของเจ้าให้เรา"...
14 อับราฮัมจึงเรียกสถานที่นั้นว่า เยโฮวาห์ยิเรห์ {แปลว่า พระเจ้าจะทรงจัดหาไว้ให้} อย่างที่เขาพูดกันทุกวันนี้ว่า "จะจัดไว้บนภูเขาของพระเยโฮวาห์"
15 ทูตของพระเจ้าเรียกอับราฮัมครั้งที่สองมาจากฟ้าสวรรค์ว่า
16 "พระเจ้าตรัสว่า เราปฏิญาณในนามของเราว่า เพราะเจ้ากระทำอย่างนี้และมิได้หวงบุตรชายของเจ้า คือบุตรชายคนเดียวของเจ้า
17 เราจะอวยพรเจ้าแน่ เราจะทวีเชื้อสายของเจ้าให้มากขึ้น ดังดวงดาวในท้องฟ้า และดังเม็ดทรายบนฝั่งทะเล เชื้อสายของเจ้าจะได้ประตูเมืองศัตรูของเจ้าเป็นกรรมสิทธิ์

นี่คือสถานที่แห่งพันธสัญญา ที่เป็นบททดสอบความเชื่อและความวางใจในพระเจ้า เมื่อผ่านบททดสอบความเชื่อนี้ ผลคือได้รับพระพร หวังเป็นอย่างยิ่งว่าในชีวิตของเราอาจจะเดินทางมาถึงที่ภูเขาโมริยาห์  เราจะต้องตัดสินใจถวายสิ่งที่เรารักที่สุดให้กับพระเจ้า แต่เราจะผ่านการทดสอบและรู้ว่า พระเจ้าทรงเป็นเยโฮวาห์ยิเรห์ พระเจ้าจะทรงจัดหาไว้ให้เราในทุกสิ่ง เราสามารถเชื่อและวางใจในพระองค์ได้เสมอ...

สถานที่ต่างๆ ในประเทศอิสราเอลซึ่งเป็นบททดสอบการเดินในดินแดนแห่งพันธสัญญา ผมจะขอแบ่งปันในโอกาสต่อไปเมื่อผมกลับมาจากประเทศอิสราเอล ขอพระเจ้าอวยพระพรครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น