01 กันยายน 2562

สติปัญญาสุดท้ายจากแวกเนอร์ (การบริหารเงินในโบสถ์)

หนังสือเล่มสุดท้ายที่แวกเนอร์เขียน
ปีเตอร์ แวกเนอร์
ก่อนที่อัครทูตปีเตอร์ แวกเนอร์ จะล่วงหลับ
ท่านได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่ง อันเป็นหนังสือเล่มสุดท้ายที่ท่านเขียนก่อนจะสิ้นลม
หนังสือเล่มนี้นับเป็น สติปัญญาสุดท้ายที่ท่านได้มอบให้กับคริสตจักร
หนังสือเล่มนั้นชื่อว่า The Great Transfer of Wealth
ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “การถ่ายโอนความมั่งคั่งครั้งยิ่งใหญ่”

ลักษณะของวิญญาณแห่งความยากจน
หนังสือการถ่ายโอนความมั่งคั่งครั้งยิ่งใหญ่
ปกติแล้ว เมื่อคนที่มีวิญญาณแห่งความยากจน ได้รับเงินก้อนใหญ่
ผลสำรวจพบว่า ภายในเวลาไม่กี่ปี เงินก้อนใหญ่นี้ก็จะหายสาบสูญหมด
จากงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับ ผู้คนที่ถูกลอตเตอรี่รางวัลใหญ่ (แบบหลายสิบล้าน)
ผลวิจัยพบว่า ไม่เกินสิบปี คนส่วนใหญ่ที่ถูกลอตเตอรี่มักจะมีความเป็นอยู่ที่เหมือนเดิมหรือไม่ก็แย่ลงกว่าเดิม นอกจากนี้เงินก้อนใหญ่ที่พวกเขาเคยมีก็มักจะสูญหายหมด

ลักษณะของวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง
อนึ่ง สำหรับคนที่มีวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง เมื่อพวกเขาได้รับเงินก้อนใหญ่
ภายในเวลาไม่กี่ปี เงินก้อนใหญ่ที่พวกเขามี ก็มักจะเพิ่มพูนขึ้นไปอีก

มีคำคมหนึ่งกล่าวไว้ว่า
เมื่อคุณให้เงิน 1 ล้าน กับคนที่มีวิญญาณแห่งความยากจน
1 ปีผ่านไป พวกเขาจะมีรถยนต์สุดหรู และมีโทรศัพท์รุ่นใหม่ แต่เงิน 1 ล้านนั้นจะหายไปหมด
ทว่าเมื่อคุณให้เงิน 1 ล้านกับคนที่มีวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง
1 ปีผ่านไป เงิน 1 ล้านนั้นจะเพิ่มพูนเป็นล้านกว่าๆ 

ในวิญญาณแห่งความยากจน เงินก้อนใหญ่จะร่อยหรอและสูญหายไปเรื่อยๆ
แต่ในวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง เงินก้อนใหญ่จะเพิ่มพูนและงอกเงยขึ้นเรื่อยๆ

วิญญาณแห่งความยากจนและวิญญาณแห่งความมั่งคั่งในโบสถ์
บางทีถ้าคริสตจักรอยู่ในวิญญาณแห่งความยากจน
สมมติถ้าเกิดมีเงินก้อนใหญ่โอนเข้ามา ภายในเวลาไม่กี่ปี คริสตจักรก็จะใช้เงินจนหมด
แต่ถ้าคริสตจักรอยู่ในวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง
แล้วถ้าเกิดมีเงินก้อนใหญ่โอนเข้ามา วันเวลาผ่านไป เงินทุนของคริสตจักรก็จะมีแด่เพิ่มพูนขึ้น

ดังนั้นสิ่งสำคัญก็คือ “การทำลายวิญญาณแห่งความยากจนในคริสตจักร”
ถ้าคริสตจักรยังคงอยู่ในวิญญาณแห่งความยากจน
ต่อให้มีเงินทุนก้อนใหญ่โอนมา คริสตจักรก็อาจจำเริญขึ้นในระยะสั้น แต่ในระยะยาวสภาพของคริสตจักรก็อาจจะคงเดิมหรือแย่กว่าเดิม
แต่ถ้าคริสตจักรเต็มล้นในวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง
ถ้าเกิดมีเงินทุนก้อนโตโอนมา คริสตจักรก็สามารถจำเริญขึ้นได้ในระยะยาว
เพราะโดยวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง คริสตจักรก็สามารถรับมือกับเงินทุนก้อนใหญ่ได้อย่างดี

และต่อไปนี้ คือคำแนะนำจากสติปัญญาสุดท้ายของอัครทูตปีเตอร์ แวกเนอร์

4 ห่วงโซ่ของกระแสเงินสด
ในหนังสือ “การถ่ายโอนความมั่งคั่งครั้งใหญ่” แวกเนอร์ได้อธิบายประมาณว่า
สำหรับโบสถ์นั้น กระแสเงินสดจะมีห่วงโซ่สำคัญอยู่ 4 ห่วงโซ่


รูป ห่วงโซ่ของการกระแสเงินสด


โดยห่วงโซ่แรกเรียกว่า เงินทุนที่เข้ามา (ซึ่งส่วนใหญ่ได้มาผ่านการถวาย)
ห่วงโซ่ที่สองเรียกว่า ผู้จัดการ (Manager)
ห่วงโซ่ที่สามและสี่เรียกว่า การแจกจ่ายและการใช้เงินที่หน้างาน

แวกเนอร์ได้อธิบายว่า ในบรรดา 4 ห่วงโซ่นี้
ห่วงโซ่ที่อ่อนแอที่สุด ณ ตอนนี้ก็คือ ห่วงโซ่ผู้จัดการ
หลายครั้งเมื่อโบสถ์ได้รับเงินถวายไม่ว่าจะเป็นก้อนใหญ่หรือก้อนเล็ก
โบสถ์ก็มักจะนำเงินถวายไปแจกจ่ายและใช้ที่หน้างานจนหมด
สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ต่างจากคนที่อยู่ในวิญญาณแห่งความยากจนเลย
คนที่อยู่ในวิญญาณแห่งความยากจน ต่อให้ได้เงินมาเท่าไร ก็ใช้จ่ายจนหมด

การบริหารในวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง
คนที่อยู่ในวิญญาณแห่งความยากจน เมื่อได้รับเงินทุนเข้ามาก็จะรีบใช้จ่ายจนหมด
ทว่าคนที่อยู่ในวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง เมื่อได้รับเงินทุนมาแล้วก็จะไม่รีบใช้จ่ายทันที
คนที่อยู่ในวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง จะนำเงินทุนที่ได้รับมาไปเพิ่มพูนก่อน
และเมื่อเงินทุนได้รับการเพิ่มพูนแล้ว จึงค่อยนำเงินในส่วนที่เพิ่มพูนไปใช้จ่ายอีกทีหนึ่ง

ดังนั้นถ้าโบสถ์อยู่ในวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง เมื่อโบสถ์ได้รับเงินทุนมาแล้ว
โบสถ์ก็จะไม่รีบใช้เงินทุนที่มี แต่โบสถ์จะนำเงินทุนที่ได้รับมานั้นไปเพิ่มพูนก่อน
และเมื่อเงินทุนเกิดมีการเพิ่มพูน โบสถ์จึงค่อยนำเงินในส่วนที่เพิ่มพูนมาใช้จ่ายอีกทีหนึ่ง
การบริหารเงินในวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง จะช่วยทำให้โบสถ์มีเงินสนับสนุนพันธกิจในระยะยาว

กระแสเงินสดควรมีครบทั้ง 4 ห่วงโซ่
ที่ผ่านมา กระแสเงินสดที่เกิดขึ้นในโบสถ์มักจะมีแค่สามห่วงโซ่
ก็คือ 1. ได้รับเงินทุนเข้ามา 2. แจกจ่ายเงินทุนในพันธกิจต่างๆ 3. ใช้จ่ายเงินทุนที่หน้างาน
กระแสเงินสดแบบนี้ มักจะทำให้เงินทุนที่มีอยู่หมดอย่างรวดเร็ว

ในคำแนะนำของแวกเนอร์ได้กล่าวถึงกระแสเงินสดที่มี 4 ห่วงโซ่ก็คือ
1. เงินทุนที่เข้ามา 2.ผู้จัดการ 3.การแจกจ่าย 4.ใช้หน้างาน
ทั้งนี้ห่วงโซ่ที่สำคัญสำหรับการสนับสนุนพันธกิจในระยะยาวก็คือ ห่วงโซ่ผู้จัดการ

ในคำแนะนำของแวกเนอร์ ผู้จัดการควรเป็นอัครทูตที่มีการเจิมด้านการเงิน
โดยหน้าที่หลักของผู้จัดการก็คือ นำเงินทุนที่เข้ามาไปเพิ่มพูน
ตามหลักของแวกเนอร์ โบสถ์ไม่ควรจะรีบใช้เงินทุนในทันที 
แต่โบสถ์ควรนำเงินทุนที่ได้รับมาไว้ในมือของผู้จัดการ
แล้วผู้จัดการจะนำเงินทุนที่ได้มาไปเพิ่มพูนก่อน
เมื่อเงินทุนได้รับการเพิ่มพูนแล้ว โบสถ์จึงค่อยใช้เงินที่เพิ่มพูนไปแจกจ่ายแล้วใช้ที่หน้างานอีกทีหนึ่ง

อนึ่ง แนวทางการเพิ่มพูนเงินของผู้จัดการนั้น ก็สามารถทำได้หลากหลายวิธี
ซึ่งอัครทูตด้านการเงินมักจะมีการเจิมที่รู้ว่า ต้องนำเงินไปเพิ่มพูนอย่างไรถึงจะเกิดผลสุกงอมในระยะยาว

ปัญญาอย่างสุดท้ายที่แวกเนอร์มอบให้กับคริสตจักร
การไม่รีบใช้เงินทุน แต่นำเงินทุนไปเพิ่มพูนด้วยอัครทูตด้านการเงิน ก่อนที่จะใช้จ่ายนั้น
ถือเป็นข้อแนะนำจากหนังสือ “การถ่ายโอนความมั่งคั่งครั้งใหญ่” 
อันเป็นปัญญาอย่างสุดท้ายที่อัครทูตแวกเนอร์ได้มอบให้กับคริสตจักร

ชาโลม

ค้นคว้าเพิ่มเติมได้จาก
หนังสือ “The Great Transfer of Wealth” เขียนโดย C. Peter Wagner

Philip Kavilar นักวิชาการด้านฟิสิกส์ ผู้ศึกษาพระคัมภีร์เป็นงานอดิเรก เป็นผู้ที่มีของประทานด้านวิชาการและการเผยพระวจนะผสมผสานกัน  ท่านมีความปรารถนาที่จะเห็นการร่วมประสานกันระหว่างพี่น้องในสายวิชาการกับพี่น้องในสายฤทธิ์เดช และหนุนใจให้คริสตจักรขับเคลื่อนในการเผยพระวจนะและการแปลภาษาแปลกๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น