สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน ขอต้อนรับเข้าสู่เดือนอิยาร์ (Iyar) ซึ่งเป็นเดือนที่ 8 ตามปฏิทินแบบราชการ (Civil calendar)และ เป็นเดือนที่ 2 ในวงจรแห่งการไถ่ตามปฏิทินแบบศาสนา(Ecclesiastical calendar) เดือนนี้เป็นแห่งตัวอักษรฮีบรู คือ ตัวอักษร ו "วาว์ฟ"(Vav) เป็นภาพของหลักหมุด จึงเป็นเดือนแห่งการเชื่อมต่อ(Connecting pin) เชื่อมต่อจากเดือนที่แล้ว คือ เดือนนิสาน(Nisan) เดือนแห่งสิงห์เผ่ายูดาห์ และเดือนที่จะมาถึงคือเดือนสิวัน(Sivan) เดือนแห่งเผ่าเศบูลุน นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อระหว่างเทศกาลสำคัญ 2 เทศกาลหลักคือ เทศกาลปัสกา(Pesach-Passover) และเทศกาลสัปดาห์(Shavuot) หรือเทศกาลเพ็นเทคอสต์(Pentecost)
(เดือนนิสาน เป็นเดือนแห่งสิงห์เผ่ายูดาห์ สามารถเข้าไปอ่านบทความ เรื่อง สิงห์แห่งเผ่ายูดาห์ (Lion of Judah) ได้ตาม link)
(เดือนนิสาน เป็นเดือนแห่งสิงห์เผ่ายูดาห์ สามารถเข้าไปอ่านบทความ เรื่อง สิงห์แห่งเผ่ายูดาห์ (Lion of Judah) ได้ตาม link)
เดือนนี้เกี่ยวข้องกับ เผ่าอิสสาคาร์(Issachar) เมื่อเราศึกษาพื้นภูมิของเผ่าอิสสาคาร์ จะพบว่า อิสสาคาร์ เป็นบุตรชายคนที่ 9 ของยาโคบ และเป็นบุตรคนที่ 5 ของนางเลอาห์ ภรรยาคนแรก
ปฐมกาล 30:14-18
14 ในฤดูเกี่ยวข้าวสาลี รูเบนออกไปที่นาพบต้นดูดาอิมจึงเก็บผลมาให้เลอาห์มารดาของเขา ราเชลจึงพูดกับเลอาห์ว่า “ขอผลดูดาอิมของลูกชายพี่ให้ฉันบ้าง”
15 เลอาห์ตอบว่า “ที่น้องแย่งสามีของฉันไปแล้วนั้นยังน้อยไปหรือ? จึงจะมาเอาผลดูดาอิมของลูกชายฉันด้วย” ราเชลตอบว่า “เอาอย่างนี้ ยาโคบจะไปนอนกับพี่คืนนี้เพื่อแลกกับผลดูดาอิมของลูกชายพี่”
16 ครั้นยาโคบกลับมาจากนาเวลาเย็น เลอาห์ก็ออกไปหาบอกว่า “เข้ามาหาฉันเถิด เพราะฉันให้ผลดูดาอิมของลูกชายฉันเป็นสินจ้างท่านแล้ว” คืนวันนั้นยาโคบก็นอนกับนาง
17 พระเจ้าทรงฟังเลอาห์ นางก็ตั้งครรภ์ และให้บุตรชายคนที่ห้าแก่ยาโคบ
18 ฝ่ายเลอาห์ว่า “พระเจ้าประทานสินจ้างนั้นให้แก่ฉัน เพราะฉันยกหญิงคนใช้ให้สามี” นางจึงตั้งชื่อบุตรนั้นว่า อิสสาคาร์
จากเหตุการณ์ที่บันทึกไว้ในพระคัมภีร์ จะเห็นได้ว่า นางราเชลภรรยาคนที่ 2 ของยาโคบ ยอมให้สามีของตนเองไปหลับนอนกับนางเลอาห์ โดยเพื่อแลกกับ "ผลดูดาอิม"(dudaim) ภาษาอังกฤษคือ "mandrake" แมนเดร็ก หรือบางที เรียกว่า 'apple of Sodom' หรือ "Satan's apple"
ความเชื่อของคนในแถบอาหรับ เชื่อว่า มันคือ"ยาปลุกเซ็กซ์" ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศสำหรับผู้ชายและสำหรับผู้หญิงทำให้มีลูกง่าย
ในช่วงเวลานั้นนางราเชลไม่มีลูกจึงอยากที่จะมีลูกบ้าง เพราะเห็นพี่สาวมีลูกตั้งหลายคน แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของนางราเชล เริ่มสั่นคลอนในการไว้วางใจพระเจ้า แต่กลับหันไปพึ่งพา "ยาปลุกเซ็กซ์"
นางเลอาห์ จึงตั้งชื่อลูกว่า อิสสาคาร์ หมายถึง "สินจ้าง"(hire) (ภาษฮีบรู คือ ซาคาร) ค้าจ้างที่ได้หลับนอนกับยาโคบ
พระคัมภีร์ไม่ได้บันทึกเรื่องราวหลังจากนั้นของอิสสาคาร์มากนัก เราแทบจะไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของอิสสาคาร์ แต่สิ่งที่เรารู้ก็คือว่า ลูกหลานของอิสสาคาร์นั้น มีความสามารถพิเศษ ดังในพระธรรม 1 พงศวดาร 12:32 บันทึกไว้ว่า จากเผ่าอิสสาคาร์ มีผู้รู้กาละ ทราบว่าอิสราเอลควรทำประการใด ….
เผ่าอิสสาคาร์ได้รับจากการเจิม พวกเขาเป็นผู้ที่รู้กาลเวลาของพระเจ้า เพราะของประทานที่อิสสาคาร์ได้รับนี้ พระเจ้าจึงทรงวางพวกเขาไว้ในตำแหน่งยุทธศาสตร์
อิสสาคาร์เป็นเผ่าลำดับที่ 2 ในกระบวนแถวกองทัพของอิสราเอล ถูกจัดกลุ่มแถวหน้า เข้ากับเผ่ายูดาห์ และเศบูลุน เมื่ออิสสคาร์ได้รับการสำแดงจากพระเจ้าให้เคลื่อนไปข้างหน้า กองทัพของอิสราเอลก็เคลื่อนไปตามการทรงนำของพระเจ้า
แม้ว่าชีวิตของอิสสาคาร์ เขาจะเกิดมาเป็นเช่นไร แต่พระเจ้าทรงมีแผนการที่ดีและทรงมีเป้าประสงค์ลิขิตสำหรับชีวิตของเขา เพราะคำอวยพรของยาโคบพ่อของเขาและโมเสส กำหนดอัตลักษณ์ประจำเผ่าอิสสาคาร์
เฉลยธรรมบัญญัติ 33:18-19 “ท่านกล่าวถึงเศบูลุนว่า “เศบูลุนเอ๋ย จงยินดีเมื่อท่านออกไป และอิสสาคาร์เอ๋ย จงยินดีในเต็นท์ของตน เขาจะเรียกชนชาติทั้งหลายมาที่ภูเขา และถวายเครื่องบูชาอันชอบธรรมที่นั่น เพราะเขาจะได้ดูดซับความอุดมจากทะเล และได้ขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ในทราย”
น่าสังเกตว่า
เมื่อพูดถึงเผ่าอิสสาคาร์ มีการกล่าวถึงคนที่เป็นหัวหน้าที่เข้ามาร่วมด้วย
ซึ่งมีจำนวนถึง 200 คน เผ่าอิสสาคาร์ เป็นเผ่าที่เคลื่อนในการเปิดเผยสำแดงจากพระเจ้า
ความหมายในพระคัมภีร์ ลา เป็นสัญลักษณ์ของความสงบ(peace) ตรงกันข้ามกับ ม้า จะเล็งถึงสงคราม(war)
แม้ว่าพวกเขาจะ "รักสงบแต่ถึงรบไม่ขลาด" ยามอิสราเอลมีภัยมาเยือนคนแห่งเผ่าอิสสาคาร์ก็มีความกล้าหาญจะไม่นิ่งเฉยแต่จะลุกขึ้นต่อสู้กับศัตรู แม้ว่าจะเป็นผู้หญิงก็ตาม หัวใจของเธอก็มีความกล้าหาญไม่แพ้ผู้ชาย ดังเช่น เดโบราห์ นักรบสาวผู้ห้าวหาญ (ผู้วินิจฉัยบทที่ 4)
พระคัมภีร์ไม่ได้บันทึกเรื่องราวหลังจากนั้นของอิสสาคาร์มากนัก เราแทบจะไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของอิสสาคาร์ แต่สิ่งที่เรารู้ก็คือว่า ลูกหลานของอิสสาคาร์นั้น มีความสามารถพิเศษ ดังในพระธรรม 1 พงศวดาร 12:32 บันทึกไว้ว่า จากเผ่าอิสสาคาร์ มีผู้รู้กาละ ทราบว่าอิสราเอลควรทำประการใด ….
เผ่าอิสสาคาร์ได้รับจากการเจิม พวกเขาเป็นผู้ที่รู้กาลเวลาของพระเจ้า เพราะของประทานที่อิสสาคาร์ได้รับนี้ พระเจ้าจึงทรงวางพวกเขาไว้ในตำแหน่งยุทธศาสตร์
อิสสาคาร์เป็นเผ่าลำดับที่ 2 ในกระบวนแถวกองทัพของอิสราเอล ถูกจัดกลุ่มแถวหน้า เข้ากับเผ่ายูดาห์ และเศบูลุน เมื่ออิสสคาร์ได้รับการสำแดงจากพระเจ้าให้เคลื่อนไปข้างหน้า กองทัพของอิสราเอลก็เคลื่อนไปตามการทรงนำของพระเจ้า
แม้ว่าชีวิตของอิสสาคาร์ เขาจะเกิดมาเป็นเช่นไร แต่พระเจ้าทรงมีแผนการที่ดีและทรงมีเป้าประสงค์ลิขิตสำหรับชีวิตของเขา เพราะคำอวยพรของยาโคบพ่อของเขาและโมเสส กำหนดอัตลักษณ์ประจำเผ่าอิสสาคาร์
คำอวยพรของโมเสสแก่เผ่าอิสสาคาร์และเผ่าเศบูลุน
เฉลยธรรมบัญญัติ 33:18-19 “ท่านกล่าวถึงเศบูลุนว่า “เศบูลุนเอ๋ย จงยินดีเมื่อท่านออกไป และอิสสาคาร์เอ๋ย จงยินดีในเต็นท์ของตน เขาจะเรียกชนชาติทั้งหลายมาที่ภูเขา และถวายเครื่องบูชาอันชอบธรรมที่นั่น เพราะเขาจะได้ดูดซับความอุดมจากทะเล และได้ขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ในทราย”
สิ่งที่เรียนรู้คือ การทำงานร่วมกันของ 2 เผ่า อิสสาคาร์จะอยู่ในเต็นท์เพื่อศึกษาพระคำของพระยาห์เวห์ เพื่อรับการสำแดงความล้ำลึกและเขาจะบอกกับเศบูลุนเพื่อจะออกไปลงทุนทำการค้า และผลที่ได้รับคือการอวยพรจากสิ่งที่เกินธรรมดา
คำอวยพรของยาโคบพ่อของอิสสาคาร์
ปฐมกาล 49:14-15
14 ฝ่ายอิสสาคาร์เป็นตัวลามีกำลังมาก (a strong ass) หมอบลงกลางอานสองข้างของมัน
15 เขาเห็นว่าที่พักดี และแผ่นดินสบาย จึงย่อบ่าของเขาลงรับไว้ กลายเป็นทาสแรงงาน
(หมายเหตุ คำว่า "ass" ในพระคัมภีร์ภาษาอังกฤษฉบับ KJV หมายถึง ลา (Donkey) กรุณาอย่าแปลเป็นอย่างอื่นนะครับ :)
ลา : ผู้มีกำลังและกล้าหาญมาก
ลา : ผู้มีกำลังและกล้าหาญมาก
สัญลักษณ์ของเผ่าอิสสาคาร์ จะเป็นรูป “ลา” ที่มีกำลังมาก (strong ass) ที่แบกภาระบนอาน 2 ข้าง นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์รูป “ดวงอาทิตย์ และ ดวงจันทร์” สื่อความหมายถึงความเข้าใจในเวลาและฤดูกาลนั่นเอง
ดังนั้น เผ่าอิสสาคาร์ คือ ลาที่มีกำลังกล้าหาญที่พร้อมจะยอมเป็นทาสรับใช้แบกภาระหนักให้กับผู้อื่น!
เมื่อเรานึกถึงลา เราอาจจะคิดว่า เผ่าอิสสาคาร์เฉื่อยชา และเกียจคร้าน หรือดูโง่เขลาดูเหมือนลาโง่ในนิทาน แต่มันไม่ใช่สำหรับเผ่าอิสสาคาร์ อิสสาคาร์เป็นเผ่าที่มีกำลังกล้าหาญ
ในบทเพลงของเดโบราห์
อิสสาคาร์ได้รับการยกย่องในเรื่องของความกล้าหาญ
1 พงศาวดาร 7:5 ญาติพี่น้องของเขาซึ่งเป็นคนในบรรดาตระกูลของอิสสาคาร์
มีหมดด้วยกันเป็นทแกล้วทหารแปดหมื่นเจ็ดพันคน ขึ้นทะเบียนไว้ในสำมะโนครัวเชื้อสาย
นอกจากนี้คนจากเผ่าอิสสาคาร์ก็ยังเป็นผู้ที่เต็มใจอาสาตัวต่อสู้เพื่อดาวิด
อีกด้วย
1 พงศาวดาร 12: 32 จากเผ่าอิสสาคาร์ มีผู้รู้กาละ ทราบว่าอิสราเอลควรทำประการใด
มีหัวหน้าสองร้อยคน
และญาติของเขาทั้งสิ้นอยู่ใต้บังคับบัญชาของเขา
Deborah |
ในช่วงยุคสมัยของเดโบราห์นั้น แผ่นดินอิสราเอลมีปัญหา มีศัตรูที่เข้ามากดขี่ข่มเหง
นั่นคือ สิเสรา “ชายผู้เป็นมือขวา”ของผู้ก่อการร้ายชาวคานาอัน เขามีรถรบเหล็ก
ถึง 900 คัน อิสราเอลตกอยู่ในวงจรของการถูกกดขี่อยู่ถึง 20 ปี กลุ่มคนของสิเสราท่องไปทั่วแผ่นดินเพื่อปล้นสะดม หลายคนถูกฆ่าอย่างเหี้ยมโหด และผู้คนก็เริ่มต้นร้องเรียกหาพระเจ้า
เดโบราห์เรียกบาราคให้เข้ามานำกองทัพลุกขึ้นสู้ศัตรู พระเจ้าทรงร่วมรบกับพวกเขา ดวงดาวในท้องฟ้า
และพลังแห่งธรรมชาติ หันเข้าสู้สิเสรา มีพายุที่เกิดขึ้นฉับพลันเข้ากระหน่ำในสมรภูมิรบ
น้ำท่วม และรถรบ 900 คันของสิเสรา
ติดหล่มโคลน กองกำลังของสิเสราแตกพ่าย สิเสราหนีเอาชีวิตรอด
สิเสราหนีเข้าไปยังเต็นท์ของหญิงคนหนึ่ง
ชื่อว่า ยาเอล เพื่อขอซ่อนตัว เธอพาสิเสราเข้ามาในเต็นท์ของเธอ เธอหาอะไรให้เขาดื่ม
และหาที่ให้เขานอน แต่ในขณะที่สิเสราหลับอยู่นั้น
ยาเอลเอาค้อนออกมา และดึงหมุดเต็นท์ออกมาตอกลงที่ศีรษะของเขา 20 ปี
แห่งการกดขี่ได้สิ้นสุดลง
เดโบราห์ทำให้เราเห็นภาพที่ดีของเผ่าอิสสาคาร์ เดโบราห์เป็นผู้เผยพระวจนะ เธอเข้าใจวาระและรู้ว่าอิสราเอลควรทำประการใด เธอเต็มใจที่จะออกไปด้วยพละกำลังเพื่อขับไล่ศัตรู เดโบราห์มีการเจิมของเผ่าอิสสาคาร์
เรื่องราวของเดโบราห์ และยาเอลที่มีใจกล้าหาญ จึงเป็นถ้อยคำที่เรานำมาอธิษฐานในเดือนนี้เชื่อว่า หมุดเต็นท์(vav)เป็นอาวุธจัดการศัตรู คือสิเสรา (วนฉ.4:21)นี่เป็นการพิพากษาของพระเจ้าที่จัดการเหนือศัตรูฝ่ายวิญญาณในชีวิตของเรา
ลา : ยอมเป็นทาสรับใช้ แบกรับภาระผู้อื่น
ภาพของลาในพระคัมภีร์ให้ภาพของความถ่อมใจ เหมือนดั่งพระเยซูคริสต์ ที่พระองค์ทรงถ่อมพระทัยมาเพื่อปรนนิบัติและนำความทุกข์ยากออกจากชีวิตของเรา ด้วยการไถ่
มาระโก 10:45 พราะว่าบุตรมนุษย์ไม่ได้มาเพื่อรับการปรนนิบัติ แต่มาเพื่อจะปรนนิบัติคนอื่น และให้ ชีวิตของท่านเป็นค่าไถ่คนจำนวนมาก"
ผู้เผยพระวจนเศคารียาห์ กล่าวไว้ในพระธรรมเศคารียาห์ 9:9 ว่า "ธิดาแห่งศิโยนเอ๋ย จงร่าเริงอย่างยิ่งเถิด โอ บุตรีแห่งเยรูซาเล็มเอ๋ย จงโห่ร้อง ดูเถิด กษัตริย์ของเธอเสด็จมาหาเธอ ทรงความยุติธรรมและความรอด พระองค์ทรงอ่อนสุภาพและทรงลา ทรงลูกลา"
ถ้อยคำเผยพรวจนะนี้สำเร็จในสมัยของพระเยซูคริสต์ ในพระธรรมมัทธิว 21:5,9 พระเยซูทรงเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มและทรงขี่ลา และประชาชนโห่ร้องต้อนรับพระองค์อย่างจอมกษัตรา
ฝ่ายฝูงชนซึ่งเดินไปข้างหน้า กับผู้ที่ตามมาข้างหลัง ก็พร้อมกันโห่ร้องว่า “โฮซันนา แก่ราชโอรสของดาวิด ขอให้ท่านผู้ที่เสด็จมาในพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า ทรงพระเจริญ โฮซันนา ในที่สูงสุด”
ภาพของลาจากเผ่าอิสสาคาร์ (มันคือรถ It's a car) ลาจึงกลายเป็นรถ ซึ่งเป็นพาหนะนำกษัตริย์เข้ากรุงเยรูซาเล็มดั่งเช่น กษํตริย์โซโลมอนทรงขี่ลาในวันที่ขึ้นครองราชย์สมบัติ ลานั้นเป็นลาที่เคยเป็นของกษัตริย์ดาวิดผู้บิดามาก่อน (1 พกษ. 1:33-44) กษัตริย์เยฮูได้ขี่ลาเข้าไปในดินแดนสะมาเรีย (ซึ่งชาวสะมาเรียถือว่าเป็นเยรูซาเล็มของเขา) เพื่อทำลายวิหารของพระบาอัล (2 พกษ. 9:11-10:28)
นี่คือลา ภาพที่เล็งถึงความถ่อมใจ และเป็นพาหนะของกษัตริย์
นอกจากนี้ ลา ยังให้ภาพถึงการแบกเอาภาระหนักออกไป คนในสมัยก่อนจะใช้ลาเพื่อเป็นพาหนะในการขนของ ลาแม้จะตัวเล็กแต่มันเป็นสัตว์ที่มีกำลังมาก
สิ่งที่น่าสนใจจากพระธรรมตอนนี้คือ พระเยซูทรงประทับบนลา 2 ตัวคือ แม่ลา(ass)และลูกลา(foal)
มัทธิว 21:5-8
5 จงบอกชาวศิโยนว่า กษัตริย์ของท่านเสด็จมาหาท่าน โดยพระทัยอ่อนสุภาพ ทรงลา(ass) ทรงลูกลา (foal)
6 สาวกทั้งสองคนนั้น ก็ไปทำตามพระเยซูตรัสสั่ง
7 จึงจูงแม่ลากับลูกของมันมา และเอาเสื้อผ้าของตนปูบนหลัง แล้วพระองค์ได้ทรงลานั้น
8 ฝูงชนเป็นอันมาก ได้เอาเสื้อผ้าของตนปูตามถนนหนทาง บางคนก็ตัดกิ่งไม้มาปูตามถนน
ความหมายที่ซ่อนอยู่ในเรื่องนี้ นั่นคือ แม่ลาและลูกลาหมายถึง ประชาชน 2 กลุ่ม
กลุ่มแรกคือ ชาวยิว(Jew)ที่ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติของโมเสส นั่นคือ แม่ลา
กลุ่มที่ 2 คือ ชาวต่างชาติ(Gentile) ซึ่งไม่ได้ถือตามพระบัญญัติของพระเป็นเจ้า นั่นคือ ลูกลา
แม่ลาหมายถึงชาวอิสราเอลที่ปฏิบัติธรรมบัญญัติของโมเสส อัครทูตเปโตรได้อธิบายธรรมบัญญัติของโมเสสว่า “เป็นแอก...ซึ่งบรรพบุรุษของเราหรือเราเองก็ไม่สามารถแบกไว้ได้”(กจ. 15:10)
ลูกลา หมายถึง คนต่างชาติ เป็นชนชาติใหม่และไม่เคยถือธรรมบัญญัติ ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะนำมาเป็นแอก แต่พระเยซูคริสต์ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงลาเข้ามาปกครองจิตใจ พระองค์นำการปลดแอกของธรรมบัญญติที่ปรับโทษนี้ออกไปแล้ว เรียนรู้จักพระองค์และรับแอกคือกางเขนของพระองค์แบกแทน
มัทธิว 11:28-30
28 บรรดาผู้เหน็ดเหนื่อยและแบกภาระหนัก จงมาหาเรา และเราจะให้ท่านทั้งหลายได้หยุดพัก
29 จงเอาแอกของเราแบกไว้ แล้วเรียนจากเรา เพราะว่าเราสุภาพอ่อนโยนและใจอ่อนน้อม และจิตใจของพวกท่านจะได้หยุดพัก
30 ด้วยว่าแอกของเราก็พอเหมาะ และภาระของเราก็เบา”
มาระโก 8:34-35
34พระองค์จึงทรงเรียกฝูงชนกับพวกสาวกให้เข้ามา แล้วตรัสกับพวกเขาว่า “ถ้าใครต้องการจะตามเรามา ให้คนนั้นปฏิเสธตนเอง รับกางเขนของตนแบกและตามเรามา
35 เพราะว่าใครต้องการจะเอาชีวิตรอด คนนั้นจะเสียชีวิต แต่ใครยอมเสียชีวิตเพราะเห็นแก่เราและข่าวประเสริฐ คนนั้นจะได้ชีวิตรอด
ภาพที่พระเยซูคริสต์ทรงลาเสด็จเข้าสู่กรุงเยรูซาเล็ม
พระองค์ได้ให้หมายสำคัญและบอกความจริงแก่เรา พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงปกครองจิตใจของเราด้วยความรัก
พระองค์จะทรงประทานสันติสุขให้ พระองค์พร้อมที่จะแบกภาระอันหนักของเราทั้งหลาย
ความทุกข์ ความกังวล
ความเจ็บป่วย ความบาป
ความท้อแท้ ความผิดบาป ออกไปดั่งพระวจนะที่ว่า
สดุดี 55:22 จงมอบภาระของท่านไว้กับพระยาห์เวห์ และพระองค์จะทรงค้ำจุนท่าน พระองค์จะไม่ทรงยอมให้ คนชอบธรรมคลอนแคลนเลย
ขอพระเจ้าทรงอวยพระพรตลอดเดือนอิยาร์นี้ ให้เป็นเดือนแห่งการเจิมแบบเผ่าอิสสาคาร์ ที่เราจะรู้วาระเวลาและเชื่อมต่อกับช่วงเวลาแห่งพระพรของพระองค์ได้
ให้เราเรียนรู้ที่จะถ่อมใจ ยอมเป็นทาสแบบลาที่มีกำลังมาก แต่กล้าหาญแบบเผ่าอิสสาคาร์
อย่าให้เราเป็นเหมือนบาลาอัม (กดว.22:22-24:25 ) ผู้เผยพระวจนะจากเมโสโปเตเมีย ผู้เห็นแก่เงินทอง ถูกจ้างวานให้ไปแช่งสาปชนชาติอิสราเอล พระเจ้าจึงทรงใช้ "ลา" เพื่อมากล่าวตักเตือน
บาลาอัมจึงรู้สึกสำนึกตัว เขาจึงเปลี่ยนคำแช่งสาปให้เป็นคำอวยแก่ชนชาติอิสราเอล
ขอพระเจ้าอวยพระพร ลาที ไม่ใช่ลาก่อน พบกันใหม่ในเดือนหน้าคือ เดือนสิวัน(Sivan) เดือนแห่งเผ่าเศบูลุน นะครับ
ภาพของลาในพระคัมภีร์ให้ภาพของความถ่อมใจ เหมือนดั่งพระเยซูคริสต์ ที่พระองค์ทรงถ่อมพระทัยมาเพื่อปรนนิบัติและนำความทุกข์ยากออกจากชีวิตของเรา ด้วยการไถ่
มาระโก 10:45 พราะว่าบุตรมนุษย์ไม่ได้มาเพื่อรับการปรนนิบัติ แต่มาเพื่อจะปรนนิบัติคนอื่น และให้ ชีวิตของท่านเป็นค่าไถ่คนจำนวนมาก"
ผู้เผยพระวจนเศคารียาห์ กล่าวไว้ในพระธรรมเศคารียาห์ 9:9 ว่า "ธิดาแห่งศิโยนเอ๋ย จงร่าเริงอย่างยิ่งเถิด โอ บุตรีแห่งเยรูซาเล็มเอ๋ย จงโห่ร้อง ดูเถิด กษัตริย์ของเธอเสด็จมาหาเธอ ทรงความยุติธรรมและความรอด พระองค์ทรงอ่อนสุภาพและทรงลา ทรงลูกลา"
ถ้อยคำเผยพรวจนะนี้สำเร็จในสมัยของพระเยซูคริสต์ ในพระธรรมมัทธิว 21:5,9 พระเยซูทรงเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มและทรงขี่ลา และประชาชนโห่ร้องต้อนรับพระองค์อย่างจอมกษัตรา
ฝ่ายฝูงชนซึ่งเดินไปข้างหน้า กับผู้ที่ตามมาข้างหลัง ก็พร้อมกันโห่ร้องว่า “โฮซันนา แก่ราชโอรสของดาวิด ขอให้ท่านผู้ที่เสด็จมาในพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า ทรงพระเจริญ โฮซันนา ในที่สูงสุด”
ภาพของลาจากเผ่าอิสสาคาร์ (มันคือรถ It's a car) ลาจึงกลายเป็นรถ ซึ่งเป็นพาหนะนำกษัตริย์เข้ากรุงเยรูซาเล็มดั่งเช่น กษํตริย์โซโลมอนทรงขี่ลาในวันที่ขึ้นครองราชย์สมบัติ ลานั้นเป็นลาที่เคยเป็นของกษัตริย์ดาวิดผู้บิดามาก่อน (1 พกษ. 1:33-44) กษัตริย์เยฮูได้ขี่ลาเข้าไปในดินแดนสะมาเรีย (ซึ่งชาวสะมาเรียถือว่าเป็นเยรูซาเล็มของเขา) เพื่อทำลายวิหารของพระบาอัล (2 พกษ. 9:11-10:28)
นี่คือลา ภาพที่เล็งถึงความถ่อมใจ และเป็นพาหนะของกษัตริย์
นอกจากนี้ ลา ยังให้ภาพถึงการแบกเอาภาระหนักออกไป คนในสมัยก่อนจะใช้ลาเพื่อเป็นพาหนะในการขนของ ลาแม้จะตัวเล็กแต่มันเป็นสัตว์ที่มีกำลังมาก
สิ่งที่น่าสนใจจากพระธรรมตอนนี้คือ พระเยซูทรงประทับบนลา 2 ตัวคือ แม่ลา(ass)และลูกลา(foal)
มัทธิว 21:5-8
5 จงบอกชาวศิโยนว่า กษัตริย์ของท่านเสด็จมาหาท่าน โดยพระทัยอ่อนสุภาพ ทรงลา(ass) ทรงลูกลา (foal)
6 สาวกทั้งสองคนนั้น ก็ไปทำตามพระเยซูตรัสสั่ง
7 จึงจูงแม่ลากับลูกของมันมา และเอาเสื้อผ้าของตนปูบนหลัง แล้วพระองค์ได้ทรงลานั้น
8 ฝูงชนเป็นอันมาก ได้เอาเสื้อผ้าของตนปูตามถนนหนทาง บางคนก็ตัดกิ่งไม้มาปูตามถนน
พระเยซูไม่ได้ทรงขี่ลาทีเดียว 2 ตัวแต่เมื่อเราศึกษาในประวัติศาสตร์เราจะพบว่า พระองค์ทรงขี่แม่ลาก่อนและทรงขี่ลูกลาเข้าเมือง
ในตอนแรก พระเยซูเจ้าทรงขี่แม่ลาก่อนเมื่ออยู่ห่างกรุงเยรูซาเล็มเพราะ มีเนินเขาและภูเขา และเมื่อใกล้เมือง พระองค์จึงเปลี่ยนมาขี่ลูกลาเพื่อเข้าเมือง (ลูกลานี้ไม่ใช่ลูกลาตัวเล็กๆ แต่เป็นลูกลาที่โตแล้ว แต่ยังไม่เคยถูกใช้งานมาก่อน) ความหมายที่ซ่อนอยู่ในเรื่องนี้ นั่นคือ แม่ลาและลูกลาหมายถึง ประชาชน 2 กลุ่ม
กลุ่มแรกคือ ชาวยิว(Jew)ที่ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติของโมเสส นั่นคือ แม่ลา
กลุ่มที่ 2 คือ ชาวต่างชาติ(Gentile) ซึ่งไม่ได้ถือตามพระบัญญัติของพระเป็นเจ้า นั่นคือ ลูกลา
แม่ลาหมายถึงชาวอิสราเอลที่ปฏิบัติธรรมบัญญัติของโมเสส อัครทูตเปโตรได้อธิบายธรรมบัญญัติของโมเสสว่า “เป็นแอก...ซึ่งบรรพบุรุษของเราหรือเราเองก็ไม่สามารถแบกไว้ได้”(กจ. 15:10)
ลูกลา หมายถึง คนต่างชาติ เป็นชนชาติใหม่และไม่เคยถือธรรมบัญญัติ ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะนำมาเป็นแอก แต่พระเยซูคริสต์ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงลาเข้ามาปกครองจิตใจ พระองค์นำการปลดแอกของธรรมบัญญติที่ปรับโทษนี้ออกไปแล้ว เรียนรู้จักพระองค์และรับแอกคือกางเขนของพระองค์แบกแทน
มัทธิว 11:28-30
28 บรรดาผู้เหน็ดเหนื่อยและแบกภาระหนัก จงมาหาเรา และเราจะให้ท่านทั้งหลายได้หยุดพัก
29 จงเอาแอกของเราแบกไว้ แล้วเรียนจากเรา เพราะว่าเราสุภาพอ่อนโยนและใจอ่อนน้อม และจิตใจของพวกท่านจะได้หยุดพัก
30 ด้วยว่าแอกของเราก็พอเหมาะ และภาระของเราก็เบา”
มาระโก 8:34-35
34พระองค์จึงทรงเรียกฝูงชนกับพวกสาวกให้เข้ามา แล้วตรัสกับพวกเขาว่า “ถ้าใครต้องการจะตามเรามา ให้คนนั้นปฏิเสธตนเอง รับกางเขนของตนแบกและตามเรามา
35 เพราะว่าใครต้องการจะเอาชีวิตรอด คนนั้นจะเสียชีวิต แต่ใครยอมเสียชีวิตเพราะเห็นแก่เราและข่าวประเสริฐ คนนั้นจะได้ชีวิตรอด
สดุดี 55:22 จงมอบภาระของท่านไว้กับพระยาห์เวห์ และพระองค์จะทรงค้ำจุนท่าน พระองค์จะไม่ทรงยอมให้ คนชอบธรรมคลอนแคลนเลย
ขอพระเจ้าทรงอวยพระพรตลอดเดือนอิยาร์นี้ ให้เป็นเดือนแห่งการเจิมแบบเผ่าอิสสาคาร์ ที่เราจะรู้วาระเวลาและเชื่อมต่อกับช่วงเวลาแห่งพระพรของพระองค์ได้
ให้เราเรียนรู้ที่จะถ่อมใจ ยอมเป็นทาสแบบลาที่มีกำลังมาก แต่กล้าหาญแบบเผ่าอิสสาคาร์
อย่าให้เราเป็นเหมือนบาลาอัม (กดว.22:22-24:25 ) ผู้เผยพระวจนะจากเมโสโปเตเมีย ผู้เห็นแก่เงินทอง ถูกจ้างวานให้ไปแช่งสาปชนชาติอิสราเอล พระเจ้าจึงทรงใช้ "ลา" เพื่อมากล่าวตักเตือน
บาลาอัมจึงรู้สึกสำนึกตัว เขาจึงเปลี่ยนคำแช่งสาปให้เป็นคำอวยแก่ชนชาติอิสราเอล
ขอพระเจ้าอวยพระพร ลาที ไม่ใช่ลาก่อน พบกันใหม่ในเดือนหน้าคือ เดือนสิวัน(Sivan) เดือนแห่งเผ่าเศบูลุน นะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น