สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน บทความในครั้งนี้ ผมขอแบ่งปันจากสิ่งที่ผมได้ไปเทศนาในพิธีไว้อาลัยพี่น้องท่านหนึ่งซึ่งจากไปอยู่กับพระเจ้าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ข้อจารึกบนหลุมฝังศพของชาวไอริช
(an
Irish headstone)
“Death leaves a heartache no one can
heal,
Love leaves a memory no one can steal”
"ความตายได้ทิ้งความเจ็บปวดไว้ ที่ไม่มีใครอาจเยียวยา
ความรักได้ทิ้งความทรงจำไว้ ที่ไม่ใครอาจลักพา "
นี่เป็นข้อคิดสำหรับการตายก็ดีกว่าการเจ็บป่วยในร่างกายที่ทรมาน และความตายก็ทำให้ต้องเสียใจในความคิดถึงและมันเป็นความทรงจำที่ดีที่ไม่มีวันจะลืมเลือน
สำหรับคริสเตียน ความตายไม่ใช่สิ่งที่ทำให้มีความเสียใจเพราะเรารู้ถึงบั้นปลายชีวิตของผู้ตายว่าเป็นเพียงผู้ล่วงหลับไปในพระคุณอบอุ่นในอ้อมกอดของพระบิดา แต่อาจจะมีความอาลัยและเสียดายโอกาสที่จะได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกันในโลกนี้หมดแล้ว
แต่ในโลกหน้าจะอยู่ด้วยกันนิรันดร์
ผมขอนำข้อคิดจากคำอุปมาของพระเยซูคริสต์ในพระธรรมลูกา 2 เรื่องด้วยกันคือ ในบทที่ 15:10-24 เรื่องบุตรน้อยหลงหาย ซึ่งเป็นการมีชีวิตที่ได้กลับมาสู่บ้านของพระบิดา และในบทที่ 16:19-31 เป็นเรื่องของเศรษฐีและลาซารัส ที่เมื่อตายไปแล้วมีบั้นปลายที่ต่างกัน คนหนึ่งไปอยู่นรกบึงไฟ อีกคนหนึ่งไปอยู่ในอ้อมอกของสวรรค์ (อ้อมอกอับราฮัม) ซึ่งผมขอตั้งชื่อบทความนี้ไว้ว่า
"มีชีวิตในหัวใจพระบิดา มรณาในอ้อมอกสวรรค์ (อ้อมอกอับราฮัม) "
ผมขอเริ่มต้นจากบทที่ 16 ก่อนเพราะเป็นเรื่องของบั้นปลายของการตายที่แตกต่างกัน
จากคำอุปมาของพระเยซูคริสต์เรื่อง
“เศรษฐีกับลาซารัส”
พระธรรมลูกา
16:19-31 (ฉบับมาตรฐาน 2011)
19 “มีเศรษฐีคนหนึ่งนุ่งห่มผ้าสีม่วงและผ้าป่านเนื้อดี อยู่อย่างรื่นเริงฟุ่มเฟือยทุกๆ วัน
20 และมีคนยากจนคนหนึ่งชื่อลาซารัส เป็นแผลทั้งตัว นอนอยู่ที่ประตูรั้วบ้านของเศรษฐี
21 เขาอยากจะกินเศษอาหารที่ตกจากโต๊ะของเศรษฐีคนนั้น แม้สุนัขก็มาเลียแผลของเขา
22 ต่อมาคนยากจนนั้นตาย และพวกทูตสวรรค์นำเขาไปอยู่กับอับราฮัม ส่วนเศรษฐีคนนั้นก็ตายด้วย และถูกฝังไว้
23 และเมื่อเขาเป็นทุกข์ทรมานอยู่ในแดนคนตาย เขาแหงนหน้าดู เห็นอับราฮัมอยู่แต่ไกล และลาซารัสก็อยู่กับท่าน
24 เศรษฐีจึงร้องว่า ‘อับราฮัมบิดาเจ้าข้า ขอเมตตาข้าพเจ้าเถิด ขอใช้ลาซารัสมา เพื่อเอาปลายนิ้วจุ่มน้ำมาแตะลิ้นของข้าพเจ้าให้เย็น เพราะข้าพเจ้าต้องทุกข์ระทมอยู่ในเปลวไฟนี้’
25 แต่อับราฮัมตอบว่า ‘ลูกเอ๋ย เจ้าจงระลึกว่าเมื่อเจ้ายังมีชีวิตอยู่ เจ้าได้สิ่งที่ดีสำหรับตัว และลาซารัสได้แต่สิ่งเลว เวลานี้เขาได้รับการปลอบโยนแล้ว แต่เจ้าได้รับแต่ความทุกข์ระทม
26 ยิ่งไปกว่านั้น ระหว่างเรากับพวกเจ้าก็มีเหวใหญ่ตั้งขวางอยู่ เพื่อว่าถ้าใครอยากจะข้ามจากที่นี่ไปถึงพวกเจ้าก็ทำไม่ได้ หรือถ้าจะข้ามจากที่นั่นมาถึงเราก็ทำไม่ได้’
27 เศรษฐีคนนั้นจึงกล่าวว่า ‘ถ้าอย่างนั้น บิดาเจ้าข้า ขอท่านใช้ลาซารัสไปที่บ้านบิดาของข้าพเจ้า
28 เพราะว่าข้าพเจ้ามีน้องชายห้าคน ให้ลาซารัสไปเตือนพวกเขา เพื่อไม่ให้เขาต้องมาอยู่ในที่ทุกข์ทรมานแห่งนี้’
29 แต่อับราฮัมตอบว่า ‘เขามีโมเสสและพวกผู้เผยพระวจนะแล้ว ให้พวกเขาฟังคนเหล่านั้นเถิด’
30 เศรษฐีคนนั้นจึงกล่าวว่า ‘ไม่ได้ อับราฮัมบิดาเจ้าข้า แต่ถ้ามีใครสักคนหนึ่งจากพวกคนตายไปหาพวกเขา เขาคงจะกลับใจใหม่’
31 อับราฮัมจึงตอบเขาว่า ‘ถ้าพวกเขาไม่ฟังโมเสสและพวกผู้เผยพระวจนะ แม้จะมีใครเป็นขึ้นมาจากตาย เขาก็ยังจะไม่เชื่อ’ ”
อุปมาเรื่องนี้ต่อจากอุปมาเรื่อง "คนต้นเรือน(คนรับใช้)ที่ไม่สัตย์ซื่อ" ซึ่งพระเยซูคริสต์ต้องการสอนว่า
ผู้ที่ประสงค์จะได้ชีวิตนิรันดร์จะต้องเตรียมพร้อมเสมอในการักษาชีวิตอย่างสัตย์ซื่อ ไม่เป็นเหมือนกับชาวโลกที่พยายามทุกวิถีทางที่จะหามาให้ได้ซึ่งทรัพย์สมบัติฝ่ายโลก การรักษาชีวิตในความชอบธรรมไม่ใช่นับถือศาสนาเพียงเปลือกนอกแบบนักการศาสนา
เช่น ฟาริสีที่ดูหมิ่นและเยาะเย้ยคำสอนของพระองค์
15 แต่พระองค์ตรัสกับพวกเขาว่า
“พวกท่านทำทีดูเป็นคนชอบธรรมต่อหน้ามนุษย์ แต่พระเจ้าทรงทราบจิตใจของท่าน เพราะว่าสิ่งที่มีคุณค่าสูงในหมู่มนุษย์ ก็เป็นที่เกลียดชังในสายพระเนตรของพระเจ้า
16 “มีเพียงธรรมบัญญัติ(Torah)และผู้เผยพระวจนะ จนกระทั่งยอห์นมาปรากฏ ตั้งแต่นั้นมาเขาประกาศข่าวประเสริฐเรื่องแผ่นดินของพระเจ้า และทุกคนก็พยายามแย่งชิงกันเข้าไปในแผ่นดินนั้น
อุปมาเรื่อง "เศรษฐีและลาซารัส" |
17
ถึงกระนั้น ฟ้าและดินจะล่วงไปก็ยังง่ายกว่าขีด ขีดหนึ่งในธรรมบัญญัติหลุดหายไป
อุปมาเรื่อง "เศรษฐีและลาซารัส"
กล่าวถึงคน 2 คนที่มีสภาพที่แตกต่างกัน คนหนึ่งเป็นเศรษฐี อีกคนหนึ่งเป็นยาจก เศรษฐีมีทรัพย์สมบัติฝ่ายโลกที่เขาปรารถนา และดูเหมือนว่าเขามีความสุข แต่ที่หน้าประตูบ้านของเศรษฐีนั้นมีขอทาน ที่ชื่อว่า "ลาซารัส" ร่างกายที่เต็มไปด้วยบาดแผล แต่หลังจากที่ทั้ง 2 คนตายไป สภาพกลับเปลี่ยนใหม่
เศรษฐีนั้นได้รับความทุกข์ทรมานเป็นอันมาก
ส่วนลาซารัสได้รับความสุขตลอดทั้งชั่วชีวิตนิรันดรในอ้อมอกของอับราฮัม
เศรษฐีได้วอนขอความช่วยเหลือแต่ไม่มีใครที่จะสามารถช่วยเหลือเศรษฐีคนนั้นได้
ข้อสังเกต คือ เศรษฐีคนนั้น พระเยซูคริสต์เจ้าไม่ได้บอกว่าเขาชื่ออะไร แต่ตรงกันข้าม พระองค์บอกเราว่า ขอทานนั้นชื่อลาซารัส คล้ายๆ
กับว่าพระองค์สนใจต่อคนจนมากกว่าคนรวย ทั้งนี้ก็เพราะว่า
ตามธรรมดาคนเรามักจะจำชื่อคนรวยหรือเศรษฐีกันได้ง่ายๆ ส่วนคนจนนั้นไม่มีใครสนใจจำชื่อของเขา
สำหรับพระเป็นเจ้าไม่ใช่เช่นนั้น พระองค์ทรงสนพระทัยต่อคนจนหรือผู้ที่ถูกทอดทิ้ง คนยากจนผู้หนึ่งชื่อ “ลาซารัส” (คนละคนกับ “ลาซารัส” น้องชายของมารีย์ มารธาที่เบธานี ยน.11) เป็นภาษาฮีบรูมาจากคำว่า “เอลีอาซาร์” ซึ่งหมายความว่า God is helper (El-God) ( `azar to surround,protect ) “พระเจ้าคือพระผู้ทรงช่วยเหลือ”หรือ“พระเป็นเจ้าเป็นองค์อุปถัมภ์ของข้าพเจ้า”
ดังนั้นชื่อของลาซารัส จึงมิใช่เป็นแค่ชื่อของชายผู้ยากจน, แต่เป็นชายยากจนที่เชื่อและวางใจในพระเจ้า นี่จึงน่าจะเป็นเหตุผลที่บอกได้ว่า ท่านอยู่ในสวนสวรรค์พร้อมกับอับราฮัม ก็เพราะความเชื่อและความใจในพระเจ้า ท่านได้เข้าสวรรค์มิใช่เพราะท่านยากจนแต่เพราะ “ท่านเป็นผู้เชื่อและวางใจในพระเจ้า”
แต่ในที่สุดวันนั้นก็มาถึง (When the day is come) วันที่ทั้ง2 คนต้องตาย ลาซารัสได้รับการช่วยเขาให้พ้นจากสภาพที่น่าสังเวช หลังจากได้สู้ทนมาด้วยความยากลำบากและด้วยความพากเพียร ในขณะที่เขามีชีวิตอยู่ไม่มีใครเหลียวแลเขา เมื่อเขาจากไปก็คงไม่มีใครไว้ทุกข์ให้ ทูตสวรรค์นำเขาไปอยู่ในอ้อมอกของอับบราฮัม ในฐานะที่เขาเป็นบุตรของอับราฮัมต้นตระกูลชาวยิว ลาซารัสได้รับการต้อนรับและทูตสวรรค์ได้พาเข้าไปอยู่ในอ้อมอกของอับราฮัม
สำหรับพระเป็นเจ้าไม่ใช่เช่นนั้น พระองค์ทรงสนพระทัยต่อคนจนหรือผู้ที่ถูกทอดทิ้ง คนยากจนผู้หนึ่งชื่อ “ลาซารัส” (คนละคนกับ “ลาซารัส” น้องชายของมารีย์ มารธาที่เบธานี ยน.11) เป็นภาษาฮีบรูมาจากคำว่า “เอลีอาซาร์” ซึ่งหมายความว่า God is helper (El-God) ( `azar to surround,protect ) “พระเจ้าคือพระผู้ทรงช่วยเหลือ”หรือ“พระเป็นเจ้าเป็นองค์อุปถัมภ์ของข้าพเจ้า”
ดังนั้นชื่อของลาซารัส จึงมิใช่เป็นแค่ชื่อของชายผู้ยากจน, แต่เป็นชายยากจนที่เชื่อและวางใจในพระเจ้า นี่จึงน่าจะเป็นเหตุผลที่บอกได้ว่า ท่านอยู่ในสวนสวรรค์พร้อมกับอับราฮัม ก็เพราะความเชื่อและความใจในพระเจ้า ท่านได้เข้าสวรรค์มิใช่เพราะท่านยากจนแต่เพราะ “ท่านเป็นผู้เชื่อและวางใจในพระเจ้า”
แต่ในที่สุดวันนั้นก็มาถึง (When the day is come) วันที่ทั้ง2 คนต้องตาย ลาซารัสได้รับการช่วยเขาให้พ้นจากสภาพที่น่าสังเวช หลังจากได้สู้ทนมาด้วยความยากลำบากและด้วยความพากเพียร ในขณะที่เขามีชีวิตอยู่ไม่มีใครเหลียวแลเขา เมื่อเขาจากไปก็คงไม่มีใครไว้ทุกข์ให้ ทูตสวรรค์นำเขาไปอยู่ในอ้อมอกของอับบราฮัม ในฐานะที่เขาเป็นบุตรของอับราฮัมต้นตระกูลชาวยิว ลาซารัสได้รับการต้อนรับและทูตสวรรค์ได้พาเข้าไปอยู่ในอ้อมอกของอับราฮัม
เศรษฐีคนนั้นก็ตายเช่นเดียวกัน ญาติพี่น้องของเขาคงจัดงานศพให้อย่างใหญ่โต แต่เมื่อเขาตายไปเขากลับลงไปยังนรกบึงไฟ เมื่อเขาแหงนหน้าขึ้น มองเห็นอับราฮัมแต่ไกล และเห็นลาซารัสอยู่ในอ้อมอก เศรษฐีได้รับอนุญาตให้เห็นความสุขซึ่งเขาได้สูญเสียไปเพราะความโง่เขลาของเขา เขาด้รับความทุกข์ทรมาน เขาจึงร้องขอต่ออับราฮัมว่า "ข้าแต่บิดาอับราฮัม" อับราฮัมเป็นบิดาของชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรร ชาวยิวทุกคนมีความภาคภูมิใจมากในต้นตระกูลของเขา เแต่น่าเสียดายที่ชาติยิวมีความไว้วางใจต่ออับราฮัมในฐานะที่เขาเป็นผู้สืบตระกูลมาจากอับราฮัมมากเกินไป และหลายๆ คนไม่ได้สนใจที่จะเลียนแบบความเชื่อของท่าน ( มธ 3:9,ยน 8:39-41,รม 2:17-29)
มธ. 3:9 อย่าทึกทักว่าตัวเองมีอับราฮัมเป็นบรรพบุรุษ เพราะข้าพเจ้าบอกพวกท่านว่า พระเจ้าทรงสามารถให้บุตรแก่อับราฮัมจากก้อนหินเหล่านี้ได้
ยน. 8:39 พวกเขาทูลตอบพระองค์ว่า “อับราฮัมเป็นบิดาของเรา” พระเยซูตรัสกับเขาว่า “ถ้าพวกท่านเป็นลูกของอับราฮัมแล้ว ท่านก็จะทำในสิ่งที่อับราฮัมทำ
รม. 2:17 แต่ถ้าท่านเรียกตัวเองว่ายิวและพึ่งธรรมบัญญัติ และอวดว่าตนมีความสัมพันธ์พิเศษกับ พระเจ้า
เศรษฐีคนนี้ร้องขอต่ออับราฮัมและเรียกท่านว่าเป็น
“บิดา” กรุณาส่งลาซารัสให้ใช้ปลายนิ้วจุ่มน้ำมาแตะลิ้นให้ลูกสดชื่นขึ้นบ้าง แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะเมื่อมีชีวิตเขาไม่เคยช่วยเหลือลาซารัสเลย
ยิ่งกว่านั้น ยังมีเหวใหญ่ขวางอยู่ระหว่างเราทั้งสอง เศรษฐีไม่ได้ขอร้องให้พระเป็นเจ้าเปลี่ยนแปลงคำตัดสิน สิ่งที่เขาขอร้องคือความบรรเทาจากการทรมาน
เศรษฐีจึงขอเพิ่มเติมอีกว่า ให้ส่งลาซารัสไปยังบ้านบิดาของเขา เพื่อช่วยพี่น้อง 5 คนที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลก แต่อับราฮัมได้ปฏิเสธคำขอร้องของเขาอีกครั้งหนึ่ง
จากคำอุปมาตอนนี้ได้เปิดเผยให้เราเห็นความจริงเกี่ยวกับความตายและชีวิตหลังความดังต่อไปนี้
ยิ่งกว่านั้น ยังมีเหวใหญ่ขวางอยู่ระหว่างเราทั้งสอง เศรษฐีไม่ได้ขอร้องให้พระเป็นเจ้าเปลี่ยนแปลงคำตัดสิน สิ่งที่เขาขอร้องคือความบรรเทาจากการทรมาน
เศรษฐีจึงขอเพิ่มเติมอีกว่า ให้ส่งลาซารัสไปยังบ้านบิดาของเขา เพื่อช่วยพี่น้อง 5 คนที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลก แต่อับราฮัมได้ปฏิเสธคำขอร้องของเขาอีกครั้งหนึ่ง
จากคำอุปมาตอนนี้ได้เปิดเผยให้เราเห็นความจริงเกี่ยวกับความตายและชีวิตหลังความดังต่อไปนี้
1. ความตายเป็นความเสมอภาคของมนุษย์
1 ทธ. 6:7 “ เพราะว่าเราไม่ได้เอาอะไรเข้ามาในโลกฉันใด เราก็เอาอะไรออกไปจากโลกไม่ได้ฉันนั้น”
จากคำอุปมาที่พระเยซูทรงยกมาทำให้เห็นสถานภาพของชาย 2 คน
ที่แตกต่างกัน เศรษฐีมีทุกอย่างในโลกนี้ที่เขาต้องการ
ดำเนินชีวิตอย่างหรูหราสนุกสนานฟุ่มเฟือย แต่ว่าฐานะความเป็นอยู่ของเขาก็ไม่สามารถยับยั้งความตายจากเขาได้ ในทางตรงกันข้ามลาซารัสเป็นคนยากจนเป็นขอทาน มีชีวิตอย่างรันทด และแล้ววันหนึ่งเขาก็ได้ตายไปเช่นกัน เราจะเห็นว่าเศรษฐีแม้จะมีทรัพย์สมบัติมากมาย
เมื่อตายจากโลกนี้ไปก็ไม่สามารถนำอะไรติดตัวไปได้แม้แต่อย่างเดียว
เช่นเดียวกับลาซารัสที่แม้จะไม่มีอะไรเลยในโลกนี้ ก็ไม่มีอะไรเมื่อเขาตายไป นับว่าเป็นความเสมอภาคที่มนุษย์ทุกคนได้รับ
2. ความตายเป็นการสิ้นสุดของสภาพของมนุษย์ฝ่ายเนื้อหนัง เพื่อรับกายใหม่ฝ่ายวิญญาณ
2. ความตายเป็นการสิ้นสุดของสภาพของมนุษย์ฝ่ายเนื้อหนัง เพื่อรับกายใหม่ฝ่ายวิญญาณ
เราจะเห็นว่าทั้ง 2
ถูกนำไปอยู่ในสถานที่ซึ่งถูกจัดเตรียมไว้ พระคัมภีร์บอกว่าเศรษฐีถูกนำไปยังสถานที่ที่ทุกข์ทรมาน ส่วนลาซารัสถูกนำไปสู่สถานที่สุขสำราญคือ "อ้อมอกของอับราฮัม" นั่นคือ สวรรค์
คนทั้งสองไม่สามารถที่จะไปไหนมาไหนตามใจชอบอีกต่อไป เศรษฐีต้องอยู่ในสถานที่ทุกข์ทรมาน ไม่สามารถออกจากที่นั่นไปหาลาซารัส หรือแม้แต่ขอให้ลาซารัสมาเยี่ยมเขาก็ไม่ได้ ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่าเสรีภาพได้สิ้นสุดลงแล้ว
คนทั้งสองไม่สามารถที่จะไปไหนมาไหนตามใจชอบอีกต่อไป เศรษฐีต้องอยู่ในสถานที่ทุกข์ทรมาน ไม่สามารถออกจากที่นั่นไปหาลาซารัส หรือแม้แต่ขอให้ลาซารัสมาเยี่ยมเขาก็ไม่ได้ ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่าเสรีภาพได้สิ้นสุดลงแล้ว
พระคัมภีร์ได้สอนว่าเมื่อคนนึ่งคนใดได้ตายจากโลกนี้เขาจะถูกนำไปยังสถานที่ซึ่งพระเจ้าได้จัดเตรียมไว้สำหรับแต่ละคนตามที่เขาได้เลือกไว้เมื่อยังมีชีวิตอยู่ เมื่อดวงวิญญาณของมนุษย์ได้หลุดลอยออกจากร่างไปแล้ว ก็ไม่สามารถจะกลับมาเข้าฝันหรือมาบอกให้กับคนที่มีชีวิตอยู่ว่าเขาไปอยู่ที่ไหนอย่างไร
ตามที่พระคัมภีร์สอนเรื่องการทรงเจ้าเข้าฝันหรือการเรียกวิญญาณของผู้ที่ตายแล้ว เป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ แต่ในกรณีที่มีการเรียกวิญญาณของผู้ที่จากไปและมีการกลับมาบอกเรื่องต่าง ๆนั้น พระคัมภีร์สอนว่านั้นไม่ใช่ดวงวิญญาณของผู้ที่ตายไปแล้ว แต่เป็นวิญญาณที่ครอบครองโลกนี้ หรือวิญญาณคุ้นเคย (familiar spirit) ที่สามารถใช้ร่างของคนทรงมาสื่อสารกับวิญญาณได้
(ประเด็นนี้ผมขอไม่อธิบาย เพราะเป็นเรื่องทางศาสนศาสตร์ ไม่สามารถอธิบายรายละเอียดในพื้นที่นี้)
อฟ. 2: 2 ครั้งเมื่อก่อนท่านเคยประพฤติในการบาปนั้นตามวิถีของโลก ตามเจ้าแห่งย่านอากาศ คือวิญญาณที่ครอบครองอยู่ในคนทั้งหลายที่ไม่เชื่อฟัง”
เรื่องเศรษฐีกับลาซารัสเป็นเรื่องจริงที่พระเยซูได้เปิดเผยให้เราทราบเกี่ยวกับสถานภาพของคนที่ตายแล้ว เราจะเห็นว่าเขาหมดเสรีภาพในการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด เศรษฐีร้องขอความเมตตาจากอับราฮัม ขอให้ลาซารัสเอาปลายนิ้วจุ่มน้ำมาแตะลิ้นของเขา แต่อับราฮัมตอบว่าไม่ได้ และเศรษฐีร้องขอให้ลาซารัสไปบอกพี่น้องของตนที่มีอยู่อีก 5 คนให้เขาเชื่อในพระเจ้า เพื่อเขาจะไม่ได้มาทางนี้ แต่อับราฮัมตอบว่า ไม่ได้
ในพระคัมภีร์ภาษาฮีบรู คำที่ใช้ในการอธิบายแดนผู้ตายคือ “Sheol” ซึ่งหมายความถึง “สถานที่ของคนตาย” หรือ “สถานที่ของจิตวิญญาณหรือวิญญาณที่ออกมาจากร่างกายแล้ว”
ในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ คำที่ใช้ในความหมายถึงนรกนั่น ภาษากรีกใช้คำว่า “Hades” ซึ่งหมายถึง “สถานที่ของคนตาย” เช่นกัน สำหรับข้อพระคัมภีร์อื่นๆในพันธสัญญาใหม่นั้น มีการระบุว่า Sheol และ Hades นั้นคือสถานที่ชั่วคราว ที่ซึ่งวิญญาณถูกพักไว้เพื่อรอการเสด็จกลับมาและการพิพากษาโลกครั้งสุดท้าย ในพระคัมภีร์วิวรณ์ 20:11-15 ได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนของทั้งสองสิ่งคือ นรก (ทะเลสาบเพลิง) คือสถานที่สุดท้ายและชั่วนิรันดร์ของผู้ที่ได้รับการตัดสินว่าเป็นผู้หลงหาย ในขณะที่ Hades หมายถึงสถานที่พักชั่วคราว ดังนั้นจึงตอบได้ว่า พระเยซูไม่ได้เสด็จลงไปที่ “นรก” เพราะ “นรก” เป็นเรื่องของอนาคต และจะเกิดขึ้นหลังจากการพิพากษาโลกบนพระที่นั่งใหญ่สีขาวเท่านั้น (วว. 20:11-15)
“Sheol” และ “Hades” จึงเป็นเรื่องของสองสถานที่ (มธ. 11:23; 16:18; ลก.10:15; 16:23; และกจ.2:27-31) คือระหว่างเป็นที่อยู่ของผู้ที่ได้รับความรอด และที่ของผู้หลงหาย สถานที่ของผู้ได้รับความรอดนั้น เรียกว่า “สวรรค์” หรือ “อ้อมอกของอับราฮัม” (Paradise) สถานที่ของผู้ที่ได้รับความรอด และผู้หลงหายนั้น ถูกกั้นแยกโดย “เหวใหญ่ลึกกั้นขวางอยู่” (ลก.16:26)
3. ความตายเป็นการสิ้นสุดของโอกาส
เมื่อมีบุคคลที่รักตายจากไป บุคคลที่ใกล้ชิดไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ สามีภรรยา หรือลูกๆของผู้ที่จากไปก็อยากจะทำทุกสิ่งเพื่อช่วยให้ผู้ที่จากไปสู่สุขคติ แต่ความตายคือจุดสิ้นสุดของโอกาสต่างๆ พระเจ้าให้มนุษย์แต่ละคนเกิดมาครั้งเดียว เราแต่ละคนมีโอกาสที่จะตัดสินใจเลือกที่ไปสำหรับชีวิตในโลกหน้าเมื่อยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้เท่านั้น
ดังนั้นบั้นปลายคือตวามตาย
เราจะต้องพบเจอ
เป็นที่สุดท้ายก่อนจะสิ้นสภาพความเป็นมนุษย์และเป็นโอกาสสุดท้ายของการใช้โอกาส อยากจะบอกรัก อยากจะกอดคนที่เรารัก เราต้องทำเมื่อเขามีชีวิตอยู่ และสิ่งสำคัญคือ การต้องเล่าเรื่องข่าวประเสริฐแห่งความรอดทางพระคริสต์ เพื่อคนให้คนที่เรารักได้โอกาสในการกลับใจ มาหาพระเจ้า ก่อนที่โอกาสของชีวิตจะหมดไปด้วยความตาย
ขอบพระคุณพระเจ้า
วันนี้คือวันที่หนึ่งที่เราจะนับถอยหลังจนถึงวันสุดท้าย
อุปมาเรื่องเศรษฐีกับลาซารัสเป็นข้อคิดกับเราในการเรื่องเป้าหมายสุดท้ายของชีวิต เชื่อว่า เราทุกคนต้องการที่จะมรณาในอ้อมอกสวรรค์ แบบลาซารัส
แต่ในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่เราจะเราจะใช้ชีวิตอย่างไร พระเยซูคริสต์ได้กล่าวเป็นคำอุปมา ในเรื่อง "บุตรน้อยหลงหาย (Prodigal Son)" เพื่อให้เราอยู่ในหัวใจพระบิดา กลับมาสู่อ้อมอกของพระองค์ดังนี้
แต่ในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่เราจะเราจะใช้ชีวิตอย่างไร พระเยซูคริสต์ได้กล่าวเป็นคำอุปมา ในเรื่อง "บุตรน้อยหลงหาย (Prodigal Son)" เพื่อให้เราอยู่ในหัวใจพระบิดา กลับมาสู่อ้อมอกของพระองค์ดังนี้
ลูกา 15:10-24
10 ในทำนองเดียวกัน เราบอกท่านทั้งหลายว่า จะมีความชื่นชมยินดีท่ามกลางพวกทูตสวรรค์ของพระเจ้าเรื่องคนบาปคนเดียวที่กลับใจใหม่”
11 พระเยซูตรัสว่า “ชายคนหนึ่งมีบุตรสองคน
12 บุตรคนเล็กพูดกับบิดาว่า ‘พ่อ ขอแบ่งทรัพย์สินส่วนที่ตกเป็นของลูกให้ลูกด้วย’ บิดาจึงแบ่งสมบัติให้แก่บุตรทั้งสอง
13 ต่อมาไม่กี่วัน บุตรคนเล็กนั้นก็รวบรวมทุกสิ่งทุกอย่างแล้วเดินทางไปยังเมืองไกล และผลาญทรัพย์สินของตนที่นั่นด้วยการใช้ชีวิตแบบฟุ่มเฟือย
14 เมื่อใช้จ่ายจนหมดสิ้นทุกอย่างแล้ว ก็เกิดกันดารอาหารอย่างรุนแรงทั่วเมืองนั้น เขาจึงเริ่มขาดแคลน
15 เขาไปอาศัยอยู่กับชาวเมืองนั้นคนหนึ่ง และคนนั้นก็ใช้เขาไปเลี้ยงหมูที่ทุ่งนา
16 เขาอยากจะอิ่มท้องด้วยฝักถั่วที่หมูกินนั้น แต่ไม่มีใครให้อะไรเขาเลย
17 เมื่อเขาสำนึกตัวได้ จึงพูดว่า ‘ลูกจ้างของพ่อไม่ว่าจะมีมากสักแค่ไหนก็ยังมีอาหารเหลือเฟือ แต่ข้ากลับต้องมาอดตายที่นี่
18 ข้าน่าจะลุกขึ้นไปหาพ่อ และพูดกับท่านว่า “พ่อ ลูกผิดต่อสวรรค์และผิดต่อท่านด้วย
19 ไม่สมควรจะได้ชื่อว่าเป็นลูกของพ่ออีกต่อไป ขอโปรดให้ลูกอยู่ในฐานะของลูกจ้างคนหนึ่งของท่านเถิด” ’
20 แล้วเขาก็ลุกขึ้นไปหาบิดา แต่เมื่อเขายังอยู่แต่ไกล บิดาก็เห็นเขาและมีใจสงสาร จึงวิ่งออกไปกอดคอและจูบแก้มของเขา
21 บุตรคนนั้นจึงกล่าวกับบิดาว่า ‘พ่อ ลูกผิดต่อสวรรค์และผิดต่อท่านด้วย ไม่สมควรจะได้ชื่อว่าเป็นลูกของพ่ออีกต่อไป’
22 แต่บิดาสั่งพวกบ่าวของตนว่า ‘จงรีบไปเอาเสื้อที่ดีที่สุดออกมาสวมให้เขา เอาแหวนมาสวมที่นิ้วมือ และเอารองเท้ามาสวมให้ด้วย
23 และจงไปเอาลูกวัวตัวที่อ้วนพีมาฆ่าเลี้ยงกันเพื่อความรื่นเริง
24 เพราะว่าลูกของเราคนนี้ตายแล้วแต่กลับเป็นขึ้นอีก หายไปแล้วแต่ได้พบกันอีก’ พวกเขาต่างก็มีความรื่นเริง
ข้อคิดจากอุปมาเรื่อง "บุตรน้อยหลงหาย (Prodigal Son)"
(ผมขอสรุปจากหนังสือเรื่อง "อ้อมกอดพระบิดา" Experiencing Father's Embrace เขียนโดยแจ็ค ฟรอสท์(Jack Frost)
ความสัมพันธ์ของพ่อกับลูกเป็นภาพสะท้อนว่าพระบิดาในสวรรค์เป็นพระบิดาที่ฟุ่มเฟือย พจนานุกรมฉบับเว๊บสเตอร์ คำว่า “ฟุ่มเฟือย” หรือ Prodigal หมายถึง ผู้ที่ให้ด้วยใจกว้างขวาง,ใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย คำอุปมาของพระเยซูคริสต์ในพระธรรมลูกา บทที่ 15 ใช้คำว่า บุตรน้อยผู้ฟุ่มเฟือย (Prodigal Son) (ในภาษาไทยใช้คำว่า บุตรน้อยหลงหาย)
(ผมขอสรุปจากหนังสือเรื่อง "อ้อมกอดพระบิดา" Experiencing Father's Embrace เขียนโดยแจ็ค ฟรอสท์(Jack Frost)
ความสัมพันธ์ของพ่อกับลูกเป็นภาพสะท้อนว่าพระบิดาในสวรรค์เป็นพระบิดาที่ฟุ่มเฟือย พจนานุกรมฉบับเว๊บสเตอร์ คำว่า “ฟุ่มเฟือย” หรือ Prodigal หมายถึง ผู้ที่ให้ด้วยใจกว้างขวาง,ใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย คำอุปมาของพระเยซูคริสต์ในพระธรรมลูกา บทที่ 15 ใช้คำว่า บุตรน้อยผู้ฟุ่มเฟือย (Prodigal Son) (ในภาษาไทยใช้คำว่า บุตรน้อยหลงหาย)
หลักศาสนามักจะยกขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นความล้มเหลวและความผิดบาปของลูกมากกว่าจะเน้นถึงความรัก
ความสัมพันธ์ของพระบิดาที่ทรงนำการกลับคืนดีระหว่างพระองค์กับลูกๆ ของพระองค์
แม้ว่าบุตรน้อยหลงหายจะใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยแต่ก็มาจากมรดกที่ได้รับจากบิดาที่มีความเมตตา
และยกโทษให้อภัยลูกเสมอ (คนที่เป็นเศรษฐีที่แท้จริงคือพระบิดา
ไม่ใช่เศรษฐีที่ทำกับลาซารัส)
ตามธรรมเนียม มรดกของลูกชายจะยังไม่ตกเป็นของเขาจนกว่าพ่อจะเสียชีวิต
(ลูกา 15:12) การขอแบ่งมรดกเป็นการอกตัญญูอย่างร้ายแรง
บัญญัติของคนยิวสมัยนั้น ผู้ที่ไม่ให้เกียรติบิดามารดาจะถูกขว้างด้วยก้อนหินจนตาย
แต่ผู้ที่เป็นพ่อยกโทษให้อภัยและยกมรดกให้บุตรคนนั้นอย่างไม่โกรธเคือง
เรียกร้องสิทธิในมรดกของพระเจ้า
ในช่วงปีค.ศ.1980-1990 คริสเตียนจำนวนมากเริ่มตีคุณค่าของพระคุณ
เป็นมรดกที่เขาสมควรได้รับเพราะการกระทำของพวกเขา
พระเจ้าต้องอวยพรให้เขาได้รับการรักษา อวยพรความมั่งคั่ง
แต่ไม่ได้ติดตามทางแห่งความรักของพระบิดา ทำให้เขาพลาดพระพรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ การมีความสัมพันธ์สนิทกับพระองค์
ดั่งบุตรน้อยหลงหายได้รับมรดกแต่ห่างไกลความสัมพันธ์กับบิดา (ลูกา 15:13)
เราจะต้องค้นหาในชีวิตของเราว่า
เราต้องการทำอะไรด้วยตัวเราเอง ต้องการกำหนดชีวิตตามวิธีการของเราเอง
เราจะเริ่มห่างไกลจากอ้อมกอดของพระบิดา
ไม่ช้าเราจะเสพการอวยพรของพระเจ้าที่พระองค์ให้เราจากความโลภของเราจนหมด
ในปี 1998 ริค นอร์ท ประธานกลุ่มพรอมมิส คีพเปอร์ (Promise
Keeper) ได้ทำวิจัยและพบว่า 62% ของคริสเตียนผู้ชายยอมรับว่ามีปัญหาความบาปทางเพศ
เนื่องจากให้คุณค่าความต้องการของตนเองมากกว่าความรักของพระบิดา
จึงทำให้เขาไม่ได้รับความรักมาเติมเต็ม เหมือนดั่งบุตรน้อยหลงหายที่พบว่าชีวิตขัดสนเมื่อห่างไกลจากบิดา
(ลูกา 15:14)
ชีวิตในเล้าหมู
(ลูกา 15:15-16)
ผลลัพธ์ของบุตรน้อยหลงหาย คือ ชีวิตที่ตกต่ำ
สิ่งที่เขาโหยหาและเป็นสิ่งเดียวที่มีความจำเป็นและความต้องการในชีวิตได้รับการตอบสนองอย่างที่สุดคือ
กลับสู่อ้อมกอดพระบิดา
รู้สำนึก
เมื่อบุตรน้อยรู้สึกว่ามาถึงจุดตกต่ำที่สุดอยู่ในคอกหมูแห่งความอับอายและหมดหวัง
ทำให้เริ่มรู้สำนึกและต้องการกลับบ้าน (ลูกา 15:17-19) การกลับใจใหม่ที่แท้จริงคือการเปลี่ยนแปลงทั้งความคิด จิตใจและความประพฤติ
(ลูกา 15:20) พระเจ้าพระบิดาทรงยกโทษและพร้อมจะไปหาด้วยความรัก
(2 ทิโมธี 2:13, เยเรมีย์ 31:3)
พระบิดาของเราเป็นพระบิดาที่ฟุ่มเฟือยที่ให้ความรักแก่เราอย่างสุรุยสุร่าย
พร้อมที่จะพระพรมาถึงเราแม้เราไม่สมคารที่จะได้รับ (ลูกา 15:21-24)
พ่อให้การต้อนรับอย่างวิเศษ
สวมเสื้อที่ดีที่สุด สวมแหวนที่เป็นสัญลักษณ์ของทายาท
และสวมรองเท้าแห่งสิทธิของลูกเท่านั้น พ่อยิ่งกว่าดีใจที่ลูกที่หลงหายกลับคืนมา
ใบมะเดื่อแห่งความอับอาย
ลูกของพระเจ้าจำนวนมากมีชีวิตอยู่ภายใต้แอกของการปรักปรำจากความบาปในอดีตที่เขากระทำ
ซึ่งเป็นวงจรที่เริ่มตั้งแต่บาปครั้งแรกที่สวนเอเดน
เกิดความอับอาย ความกลัว คือ การซ่อนตัวจากพระเจ้า (ปฐก.3:7-10) ความอับอาย คือใบมะเดื่อที่นำมาปิดซ่อนความเปลือยเปล่าของเขาไว้
ไม่ว่าจะเป็นความกลัว ไม่มั่นคง รู้สึกผิด อ้างว้าง แยกตัว วิตกและความล้มเหลว
มาจากผลของความบาปที่เป็นวงจรอุบาทว์ทำให้เกิดการล้มเหลวไปเรื่อยๆ
แต่หากเราหันหัวใจของเรากลับมาสู่บ้านของพระบิดา พระองค์จะต้อนรับเรา
เปลี่ยนใบมะเดื่อแห่งความอับอายให้เป็นอาภรณ์แห่งความชอบธรรม
และใส่แหวนให้เราเพื่อให้เรากลับคืนสถานภาพของการเป็นบุตรอย่างสมบูรณ์
ขั้นตอน 6
ประการสู่การสัมพันธ์สนิทกับพระบิดา
สำนึกตัว
หากว่าคุณต้อนรับพระเยซูคริสต์เป็นพระผู้ช่วยให้รอดแล้ว
คุณก็เป็นบุตรของพระบิดา แม้ว่าคุณจะอยู่ในคอกหมูแห่งมลทินและความบาป
จงสำนึกว่าพระบิดาทรงรักคุณและรอคอยอย่างจดจ่อต่อการกลับบ้านของคุณ
สารภาพบาปของคุณ
เปลี่ยนทัศนคติจากรักตัวเองมาเป็นความถ่อมใจ (มัทธิว 18:4)
หากไม่ถ่อมใจ การกลับบ้านจะไม่เกิดขึ้น
แต่เมื่อเราถ่อมใจลงในการสารภาพบาปเราจะได้รับการยกขึ้นต่อหน้าพระบิดา
ยกโทษให้กับคุณพ่อ (หรือคุณแม่)
ผู้ให้กำเนิดคุณ ในสิ่งที่ท่านได้ทำให้คุณเจ็บปวดหรือเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาในอดีต
คุณพ่อคุณแม่ผู้ให้กำเนิดคุณเป็นเพียงมนุษย์ปุถุชน
ท่านมีแนวโน้มจะทำผิดพลาดส่งผลต่อมุมมองพระบิดาของคุณ พระบิดาทรงรักและให้อภัย
คุณจะต้องปลดปล่อยตัวเองจากอดีต เพื่อมีความสัมพันธ์กับความสนิทสนมกับพระบิดา
มองดูบ้านพระบิดาว่าเป็นแหล่งความรักของคุณ
คาดหวังอ้อมของพระบิดา
เปิดแขนเพื่อรับการสวมกอดจากพระบิดากลับมาหาพระองค์
กลับคืนมายังบ้านของพระบิดา
วิญญาณของการเป็นบุตรจะปลดปล่อยคุณให้บังเกิดใหม่ (โรม 8:15)
พระบิดาจะเอาใบมะเดื่อของคุณออกและสวมความรักของพระองค์เพื่อปกคลุมคุณ
(1 เปโตร 4:8)
ฟังเสียงพระบิดากระซิบข้างหูว่า
“ลูกรัก พ่อรักลูก กลับมาหาพ่อนะ ทุกอย่างจะเรียบร้อย”
ขอพระเจ้าทรงอวยพระพรให้เรามีชีวิตในหัวใจพระบิดา และเมื่อมรณาในอ้อมอกสวรรค์
ขอพระเจ้าทรงอวยพระพรให้เรามีชีวิตในหัวใจพระบิดา และเมื่อมรณาในอ้อมอกสวรรค์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น