เทศกาลแห่งแสงสว่าง (Festival of lights) หรือ เทศกาลคานุกะห์ (Chanukah) ภาษาอังกฤษอ่านว่า
ฮานุกะห์ (Hanukah) เทศกาลนี้เราอาจจะไม่คุ้นเคยนัก เพราะไม่ได้เป็นเทศกาลหลัก
3 เทศกาลตามพระคัมภีร์คือ ปัสกา เพ็นเทคอสต์
และอยู่เพิง แต่สำหรับคนยิวนั้นเทศกาลนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
เพราะเป็นเทศกาลที่รำลึกถึงชัยชนะของกลุ่มมัคคาบี นำโดย ยูดาห์ มัคคาบีที่มีต่อกองทัพของกษัตริย์อันทิโอกัสที่
4 แห่งซีเรียเมื่อประมาณ
165 ปีก่อนคริสตศักราช เพราะกษัตริย์อันทิโอกัสที่ 4 ได้ทำรูปปั้นพระซุส เทพเจ้าของกรีกนำไปไว้ในพระวิหาร และถวายสุกร
(ซึ่งเป็นสัตว์มลทิน) เป็นเครื่องบูชาในพระวิหารของพระเจ้า กลุ่มมัคคาบีจึงได้ทำการบูรณะและชำระพระวิหาร
โดยการจุดคันประทีป 7 กิ่ง ได้เกิดเหตุการณ์ที่น่าอัศจรรย์ขึ้นนั่นคือ
น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ที่ใช้จุดเทียนที่คันประทีปซึ่งเหลืออยู่เพียง 1 ขวดนั้นสามารถเป็นเชื้อเพลิงให้แสงเทียนส่องสว่างได้ยาวนานถึง 8 วัน (ปกติน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ 1 ขวดใช้ได้เพียง 1 วัน
และต้องมีกรรมวิธีในการทำทั้งหมด 8 วันด้วยกัน)
นี่จึงเป็นที่มาของการเฉลิมฉลองเทศกาล “ฮานุกะห์” เป็นระยะเวลา
8 วัน โดยคันประทีปที่ใช้ในเทศกาลนี้จะมี 8 กิ่ง เรียกว่า “ฮานุคิอาห์” (Hanukiah) แต่จะเพิ่มอีก 1 กิ่งเพื่อตั้งเทียนเล่มกลางที่เรียกว่า ชาแมช (Shamash) เป็นเทียนผู้รับใช้
(Servant Candle)
คำว่า “คานุกะห์” ในภาษาฮีบรู หมายถึง การอุทิศตน
การชำระ และยังหมายถึงเลข 25เทศกาลนี้จะเริ่มต้นฉลองในวันที่
25 เดือนคิสเลฟ ไปจนถึงวันที่ 2 เดือนเทเบท
(ปีนี้อยู่ในช่วงเย็นวันที่ 6 – 14
ธันวาคม 2015 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 8 วัน) การจุดคันประทีปในการฉลองเทศกาลฮานุกะห์จะเริ่มจุดเทียนเล่มกลางหรือชาแมชก่อนและจุดเทียนเล่มแรกในวันแรก
จากนั้นจะจุดเทียนแต่ละเล่มเพิ่มขึ้นวันละ 1 เล่มทุกๆ วันจนครบทั้ง 8 เล่มในวันที่ 8
คันประทีปฮานุคิอาห์จะส่องสว่างอย่างครบบริบูรณ์เป็นการแสดงความเคารพของชาวยิวต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าและวีรบุรุษของชนชาติอิสราเอลที่ล่วงหลับไป
หลังจากจุดเทียนจึงจะมีการรับประทานอาหารร่วมกัน และมอบของขวัญให้กับคนในครอบครัว นอกจากนี้ยังมีการหมุน “ลูกข่างเดรเดล” (Dreidel) เป็นลูกข่าง 4 ด้านมีตัวอักษรฮีบรู
4 ตัว คืออักษรนูน กิเมล เฮ้ และชิน เมื่อนำทั้ง 4 ตัวมารวมกันจะหมายความว่า "ปาฏิหาริย์เกิดขึ้นที่นั่น" เป็นการแสดงถึงการขอบพระคุณพระยาห์เวห์ สำหรับชัยชนะที่น่าอัศจรรย์โดยพระองค์
ดังนั้น เทศกาลแห่งแสงสว่าง หรือเทศกาลฮานุกะห์ จึงเป็นภาพเงาที่เล็งถึงพระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็นแสงสว่างที่ส่องเข้ามาในโลกที่ถูกปกคลุมด้วยความมืด
(ยอห์น 8:12) เมสไซยานิคยิวเชื่อว่าในเทศกาลฮานุกกะห์นี้
มารีย์หญิงพรหมจารีย์ได้ปฏิสนธิด้วยฤทธิ์เดชของพระวิญญาณบริสุทธิ์ และได้ให้กำเนิดองค์พระเยซูคริสต์ในช่วงเทศกาลอยู่เพิง
พระองค์ทรงเป็นเพิงแห่งพระสิริที่อยู่ท่ามกลางเรา (ยอห์น 1:4-5,14)
พระเยซูคริสต์ทรงอยู่ร่วมเทศกาลฮานุกะห์ หรือที่เรียกอีกอย่างว่า เทศกาลฉลองพระวิหาร(ยอห์น
10:22-23)
พระองค์ทรงให้เกียรติพระวิหาร
และเรียกที่นั่นว่า “นิเวศแห่งพระบิดาของเรา” (ลูกา 2) พระองค์ทรงชำระพระวิหารที่เต็มไปด้วยสิ่งที่เป็นมลทิน
(มาระโก 11:15-17)
ดังนั้น ทุกครั้งที่มีเทศกาลฮานุกะห์ พระองค์ยังคงปรารถนาจะรื้อฟื้นพระวิหารของพระองค์ต่อไป
เราทั้งหลายคือ
พระวิหารของพระวิญญาณบริสุทธิ์ (1 โครินธ์ 3:16-19) นี่จึงเป็นเวลาที่เราจะอุทิศตัวเพื่อรับการชำระสิ่งมลทินออกไปและรับพระสิริเข้ามาฉายส่องในชีวิตของเรา
(อิสยาห์ 60)
เราทั้งหลายสามารถฉลองเทศกาลฮานุกะห์เพื่อการชำระและป่าวประกาศชัยชนะเหนือความมืดในภาคปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
2. อธิษฐานเพื่อรับการปกคลุมด้วยพระสิริของพระยาห์เวห์ และรับการปกป้องให้พ้นจากเงามืดของศัตรู
3. ขอบคุณพระเจ้าที่ให้เราเป็นพระวิหารของพระองค์ ใช้เวลาอธิษฐานชำระชีวิตให้บริสุทธิ์
4. อธิษฐานป่าวประกาศฤทธิ์เดชของพระวิญญาณที่อยู่ในชีวิต ให้เราเรียนรู้ที่จะคาดหวังในการอัศจรรย์ของพระองค์เพื่อจะมีชัยชนะเหนือกิจการแห่งความมืด
5. ตระหนักว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นความสว่างของโลกนี้ (ยอห์น 8:12) ให้เราดำเนินชีวิตในความสว่างและพร้อมที่จะออกไปส่องสว่างท่ามกลางความมืดของโลกนี้ เราเป็นตะเกียงที่ถูกจุดเพื่อส่องสว่างเพื่อออกไปทำสิ่งดีและเป็นพยานถึงข่าวประเสริฐกับคนทั้งปวง (มัทธิว 5:14-16)
(บทความนี้ลงในสูจิบัตรของคริสตจักรแห่งพระบัญชา(UCC) วันอาทิตย์ที่ 6 ธ.ค.2015)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น