1 พระเจ้าตรัสว่า "ในวาระนั้น เราจะเป็นพระเจ้าของบรรดาตระกูลแห่งอิสราเอลและเขาทั้งหลายจะเป็นประชากรของเรา"
2 พระเจ้าตรัสดังนี้ว่า "ชนชาติที่รอดตายจากดาบ ได้ประสบพระกรุณาคุณที่ในถิ่นทุรกันดาร เมื่ออิสราเอลแสวงหาการหยุดพัก
3 พระเจ้าทรงปรากฏแก่เขาจากที่ไกล ตรัสว่า 'เราได้รักเจ้าด้วยความรักนิรันดร์ เพราะฉะนั้นเราจึงมีความรักมั่นคงต่อเจ้าสืบไป
ข้อความจากพระธรรมตอนนี้ สะท้อนให้เราเห็นถึงการขับเคลื่อนชนชาติของพระเจ้า คือ อิสราเอล ตามวาระเวลาแห่งความรักและการจัดสรรของพระเจ้า ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่แห่งหนไหน แต่พระกรุณาคุณและความรักของพระองค์ทรงอยู่กับพวกเขาเสมอ
เมื่อพระเจ้าทรงเรียกชนชาติของพระองค์ออกจากการเป็นทาสในประเทศอียิปต์ ในช่วงอพยพพระองค์ทรงวางกำลังของเผ่าอิสราเอลไว้ 12 เผ่า แต่ละเผ่ามีอัตลักษณ์ (Identity) เป็นของตนเองแต่พระเจ้าทรงให้มีการเคลื่อนกองกำลังโดยให้คนเผ่าเลวีหามหีบพันธสัญญา และเคลื่อนไปเป็นเผ่าต่างๆ
เมื่อพระเจ้าทรงเรียกชนชาติของพระองค์ออกจากการเป็นทาสในประเทศอียิปต์ ในช่วงอพยพพระองค์ทรงวางกำลังของเผ่าอิสราเอลไว้ 12 เผ่า แต่ละเผ่ามีอัตลักษณ์ (Identity) เป็นของตนเองแต่พระเจ้าทรงให้มีการเคลื่อนกองกำลังโดยให้คนเผ่าเลวีหามหีบพันธสัญญา และเคลื่อนไปเป็นเผ่าต่างๆ
เริ่มต้นด้วย เผ่ายูดาห์ เป็นนักรบแห่งการสรรเสริญนมัสการ ตามด้วยเผ่าอิสสาคาร์ ผู้รู้กาลเวลาของพระเจ้า ตามด้วยเศบูลุน จากนั้นเป็นกลุ่ม 3 เผ่าคือ รูเบน,สิเมโอนและกาด, ตามด้วย เบนยามิน,เอฟราอิมและมนัสเสห์ และปิดท้ายด้วย 3 เผ่าที่เฝ้าระวังหลังคือ ดาน อาเชอร์ และนัฟทาลี
พระยาห์เวห์ทรงจัดทัพและขับเคลื่อนทัพตามวาระเวลาของพระองค์ เราได้เรียนรู้ถึงการขับเคลื่อนตามปฏิทินฮีบรู ใน 12 เดือนการเป็นการเคลื่อนตามวาระแห่งการเผยพระวจนะประจำแต่ละเดือน ซึ่งเราได้มีการถวายผลแรกของเวลา อธิษฐานอวยพรในการเริ่มต้นเดือนใหม่ (Rosh Chodesh)
(สามารถอ่านบทความเรื่อง เริ่มต้นเดือนใหม่ (Rosh Chodesh) และคำอธิษฐานอวยพรประจำเดือนได้ใน Blog)
ปฏิทินฮีบรู เริ่มต้นจาก 3 เดือนแรก คือเดือน นิสาน อิยาร์และสิวัน จะเป็นการเชื่อมต่อกันของ 3 เผ่าที่เคลื่อนไปข้างหน้า คือ ยูดาห์ อิสสาคาร์และเศบูลุน
ในการเริ่มต้นวงจรใหม่ของพระเจ้า นับจากเทศกาลปัสกา จนถึงเทศกาลเพ็นเทคอสต์ ไปจนถึงเดือนสุดท้ายคือ อาดาร์ นั่นคือ เผ่านัฟทาลี
คริสตจักรต้องมีการขับเคลื่อนตามการทรงนำ ผ่านทางการวางรากฐานตามของประทานอัครทูตและผู้เผยพระวจนะ(อฟ.2:20)
เอเฟซัส 2:20 ท่านได้ถูกประดิษฐานขึ้น บนรากแห่งพวกอัครทูตและพวกผู้เผยพระวจนะ พระเยซูคริสต์ทรงเป็นศิลามุมเอกโดยเริ่มต้นจากการเจิมแบบเผ่ายูดาห์คือการเตรียมทีมนมัสการ และมีการสอนในโรงเรียนอิสสาคาร์(Issachar) ถึง 4 ครั้งแล้วเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเจิมแบบอิสสาคาร์ ผู้ที่รู้กาลเวลาของพระเจ้า (1 พศด. 12:32) นั่นคือ
Issachar |
อิสสาคาร์ 2 “ร่วมขับเคลื่อนการเผยพระวจนะ” (How to move corporately in God’s prophetic camp)
อิสสาคาร์ 4 แคมป์ “ลงลึกกับการเผยพระวจนะ” (Going deeper in the prophetic)
(หนุนใจให้ติดต่อฟังคำสอนได้ที่ http://www.uccfellowship.com)
สำหรับการสัมมนาในครั้งนี้เป็นการสัมมนา โรงเรียนอิสสาคาร์ – เศบุลุน “วาระแห่งความรุ่งเรือง” (A Time to prosper)
วิทยากรโดย ดร.โรเบิร์ต ไฮด์เลอร์และทีมงานจาก Glory of Zion)
ครั้งนี้เราสามารถทำความเข้าใจเรื่องการเจิมแห่งเผ่าเศบูลุน คือ เผ่านักธุรกิจ พระเจ้าทรงปรารถนาให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับความรุ่งเรือง
คำอวยพรของยาโคบที่มีต่อเศบูลุน(Zebulun)
"...เศบูลุน จะอาศัยอยู่ที่ท่าเรือริมทะเล เขาจะเป็นท่าจอดเรือ เขตแดนของเขาจะต่อกันกับเมืองไซดอน..."(ปฐก.49:13)
คำอวยพรของโมเสสแก่เผ่าเศบูลุน
"...เศบูลุนเอ๋ย จงปีติร่าเริงเมื่อท่านออกไป และอิสสาคาร์เอ๋ย จงปีติร่าเริงในเต็นท์ของตน เขาจะเรียกชนชาติทั้งหลายมาที่ภูเขาและถวายเครื่องสัตวบูชาอันถูกต้องที่นั่น เพราะเขาจะดูดความอุดมจากทะเล และได้ขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ในทราย" (ฉธบ. 33:18-19)
เรามาทำความรู้จัก เผ่าเศบูลุน เพื่อเข้าใจวาระเวลาแห่งความรุ่งเรือง (A Time to Prosper)
เผ่าเศบูลุน เป็น 1 ในบรรดา 12 เผ่าของอิสราเอล ตามบันทึกในพระคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม ในหมวดพระธรรมเบญจบรรณ(Torah) เศบูลุน ซึ่งเป็นบุตรชายคนที่ 10 ของยาโคบ (อิสราเอล)ที่เกิดกับนางเลอาห์ ภรรยาคนแรกของยาโคบ โดยเศบูลุนนั้น เป็นบุตรชายคนที่ 6 ที่นางเลอาห์มีให้แก่ยาโคบ
นางจีงได้กล่าวว่า "บัดนี้สามีคงจะให้เกียรติข้าพเจ้า เพราะข้าพเจ้าได้ให้บุตรชายแก่เขาหกคนแล้ว" เศบูลุน จึงมาจากคำภาษาฮีบรู ที่ออกเสียงว่า ศาบัล ซึ่งแปลว่า ให้เกียรติ (ปฐก.30:20)
การเจิมของเผ่าอิสสาคาร์และเศบูลุนทำงานร่วมกัน โมเสสอวยพรเผ่าเศบูลุนและอิสสาคาร์พร้อมกัน เพราะทั้งสองเผ่าอยู่ใกล้กัน มีมารดาคนเดียวกัน ทั้ง 2 เผ่ามีสถานที่แห่งเดียวกัน (บนภูเขาทาโบร์-ภูเขาที่พระเยซูจำแลงพระกาย)
และมีอาชีพเป็นพ่อค้าเหมือนกัน "ดูดความอุดมจากทะเล" หมายความว่า เผ่าทั้ง 2 เผ่าทำการเกษตรและค้าขายทางทะเลกับชาวเฟนีเชีย
คำว่า "ขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ในทราย" อาจหมายถึงการใช้ทรายผลิตกระจก (บางคนเข้าใจว่าหมายถึงหอยชนิดหนึ่งที่ใช้ทำสีย้อมผ้าได้)
การเจิมของเผ่าอิสสาคาร์เป็นความเข้าใจ(Understanding) และเศบูลุนเป็นการยอมรับ(Acknowledgement) ความจริงใจ(sincerely) ที่เดินไปร่วมกันตามการทรงนำของพระเจ้า เศบูลุนจะเป็นผู้สนับสนุนกองกำลังของอิสราเอล เพราะเขาจะดูดความอุดมจากทะเล และได้ขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ในทราย"
(ฉธบ. 33:18-19)
คำอวยพรของโมเสสแก่เผ่าเศบูลุน
"...เศบูลุนเอ๋ย จงปีติร่าเริงเมื่อท่านออกไป และอิสสาคาร์เอ๋ย จงปีติร่าเริงในเต็นท์ของตน เขาจะเรียกชนชาติทั้งหลายมาที่ภูเขาและถวายเครื่องสัตวบูชาอันถูกต้องที่นั่น เพราะเขาจะดูดความอุดมจากทะเล และได้ขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ในทราย" (ฉธบ. 33:18-19)
Zebulun |
เผ่าเศบูลุน เป็น 1 ในบรรดา 12 เผ่าของอิสราเอล ตามบันทึกในพระคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม ในหมวดพระธรรมเบญจบรรณ(Torah) เศบูลุน ซึ่งเป็นบุตรชายคนที่ 10 ของยาโคบ (อิสราเอล)ที่เกิดกับนางเลอาห์ ภรรยาคนแรกของยาโคบ โดยเศบูลุนนั้น เป็นบุตรชายคนที่ 6 ที่นางเลอาห์มีให้แก่ยาโคบ
นางจีงได้กล่าวว่า "บัดนี้สามีคงจะให้เกียรติข้าพเจ้า เพราะข้าพเจ้าได้ให้บุตรชายแก่เขาหกคนแล้ว" เศบูลุน จึงมาจากคำภาษาฮีบรู ที่ออกเสียงว่า ศาบัล ซึ่งแปลว่า ให้เกียรติ (ปฐก.30:20)
การเจิมของเผ่าอิสสาคาร์และเศบูลุนทำงานร่วมกัน โมเสสอวยพรเผ่าเศบูลุนและอิสสาคาร์พร้อมกัน เพราะทั้งสองเผ่าอยู่ใกล้กัน มีมารดาคนเดียวกัน ทั้ง 2 เผ่ามีสถานที่แห่งเดียวกัน (บนภูเขาทาโบร์-ภูเขาที่พระเยซูจำแลงพระกาย)
และมีอาชีพเป็นพ่อค้าเหมือนกัน "ดูดความอุดมจากทะเล" หมายความว่า เผ่าทั้ง 2 เผ่าทำการเกษตรและค้าขายทางทะเลกับชาวเฟนีเชีย
คำว่า "ขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ในทราย" อาจหมายถึงการใช้ทรายผลิตกระจก (บางคนเข้าใจว่าหมายถึงหอยชนิดหนึ่งที่ใช้ทำสีย้อมผ้าได้)
(ฉธบ. 33:18-19)
ดังนั้นเราต้องเตรียมชีวิตของเราเพื่อรับการเจิมแบบเผ่าเศบูลุน เพราะเป็นการเจิมมาสู่ผู้เชื่อทุกคนไม่ใช่เพียงนักธุรกิจเท่านั้น เพราะความรอดที่พระเยซูคริสต์ประทานให้กับเราคือความอุดมรุ่งเรือง
เอเฟซัส 2:7-9
7 เพื่อว่าในยุคต่อๆไปพระองค์จะได้ทรงสำแดงพระคุณของพระองค์อันอุดมเหลือล้น ในการซึ่งพระองค์ได้ทรงเมตตาเราในพระเยซูคริสต์8 ด้วยว่าซึ่งเราทั้งหลายรอดนั้นก็รอดโดยพระคุณเพราะความเชื่อ และมิใช่โดยตัวเราทั้งหลายกระทำเอง แต่พระเจ้าทรงประทานให้
9 ความรอดนั้นจะเนื่องด้วยการกระทำก็หามิได้ เพื่อมิให้คนหนึ่งคนใดอวดได้
การสิ้นพระชนม์ที่กางเขนของพระเยซูไม่ใช่เพียงเพื่อไถ่บาปเราให้ได้รับความรอดเท่านั้น แต่ให้เราเข้าสู่ชีวิตที่ครบบริบูรณ์ด้วยทั้งด้านจิตวิญญาณ จิตใจ และร่างกาย จึงเป็นสิทธิ์อันชอบธรรมของเราในฐานะบุตรที่จะดำเนินในมรดกแห่งพระสัญญาของพระบิดา เป็นหัวมิใช่หาง เป็นคนให้ยืมมิใช่ขอยืม เป็นผู้ประสบความสำเร็จในบรรดากิจที่เราทำ
ถึงเวลาแล้วที่เราจะรับเอาความบริบูรณ์ และจัดการยึดคืนทุกสิ่งที่ศัตรูได้ทำลายลักขโมยไปจากเรา นี่คือเวลาที่ต้องรับการสร้างชีวิตให้หยั่งรากลึกในพระวจนะ รองรับการเจิม เพื่อทำลายป้อมปราการศัตรู ทะลุทะลวง เข้าสู่ความรุ่งเรือง
ถึงเวลาแห่งความรุ่งเรืองที่เราจะเตรียมชีวิตในการเคลื่อนกับพระองค์ด้วยกัน!
โรงเรียนอิสสาคาร์ – เศบุลุน “วาระแห่งความรุ่งเรือง” (A Time to prosper)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น