26 กรกฎาคม 2556

วิธีจัดการ 8 อันธพาลวิญญาณชั่ว(1)

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน บทความในวันนี้ขอนำเสนอ วิธีจัดการ 8 อันธพาลวิญญาณชั่ววิญญาณชั่วเป็นศัตรูที่สำคัญที่มันจ้องทำลายคนของพระเจ้า  ด้วยวิธีการต่างๆที่มันจะสร้างสรรค์ออกมาเพื่อทำลายล้าง เราต้องทำความเข้าใจในเรื่องของวิญญาณชั่ว(Spirit-ชั่ว) สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของสงครามในฝ่ายวิญญาณ(Spiritual Warfare) สงครามฝ่ายวิญญาณเป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นแต่มันเป็นความจริงและน่ากลัวมากกว่าสงครามใด ในพระวจนะของพระเจ้าได้กล่าวถึงสงครามฝ่ายวิญญาณว่าคนของพระเจ้าต้องต่อสู้กับพวกวิญญาณชั่วซึ่งมีฝีมือ "ขั้นเทพ"
เอเฟซัส 6:12 เพราะว่าเราไม่ได้ต่อสู้กับเนื้อหนังและเลือด แต่ต่อสู้กับเทพผู้ครอง (principalities),ศักดิเทพ(powers) เทพผู้ครองพิภพในโมหะความมืดแห่งโลกนี้ (The rulers of the darkness of this world)  ต่อสู้กับเหล่าวิญญาณที่ชั่วในสถานฟ้าอากาศ
 
พวกผีวิญญาณชั่วมันมีลำดับชั้นการปกครองต่างๆ ดังนั้นเราต้องทำความเข้าใจเรื่องสิทธิอำนาจของพระเจ้าและของวิญญาณชั่ว เพราะ 2 สิ่งนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
สิทธิอำนาจของพระเจ้า (Divine Authority)พระเจ้าทรงมอบสิทธิอำนาจให้กับเรา เพื่อใช้ในการประกาศข่าวประเสริฐ และเพื่อการปกครองแห่งอาณาจักรของพระเจ้าที่จะมาเมื่อสิ้นยุค
 
มัทธิว 28:18-20
18 พระเยซูจึงเสด็จเข้ามาใกล้แล้วตรัสกับเขาว่า "ฤทธานุภาพทั้งสิ้นในสวรรค์ก็ดี ในแผ่นดินโลกก็ดีทรงมอบไว้แก่เราแล้ว
19 เหตุฉะนั้นเจ้าทั้งหลายจงออกไปสั่งสอนชนทุกชาติ ให้เป็นสาวกของเรา ให้รับบัพติศมาในพระนามแห่งพระบิดา พระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์
20 สอนเขาให้ถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกเจ้าไว้ นี่แหละเราจะอยู่กับเจ้าทั้งหลายเสมอไป จนกว่าจะสิ้นยุค"

เราจะได้ครอบครองราชอาณาจักรร่วมกับพระเจ้าเมื่อสิ้นยุค แต่ในขณะที่เราอยู่โลกนี้เราอยู่ในสมรภูมิรบฝ่ายวิญญาณเราต้องต่อสู้ด้วยฤทธานุภาพที่พระเจ้ามอบกับเราตามพระมหาบัญชาและเหล่าอัครสาวกได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ในกจ.2 เทศกาลเพ็นเทคอสต์
 
ฤทธานุภาพ(ภาษากรีกใช้คำว่า เอ็กซูเซีย(exousia) มีบุพบท ex นำหน้า ซึ่งหมายถึง “ออกไป” เราจึงต้องออกไปด้วยสิทธิอำนาจจากพระเจ้า)  
ดังที่ นักบุญออกัสติน(Saint Augustine) กล่าวว่า "หากเราจะยิ่งใหญ่   จงเริ่มด้วยการดำเนินชีวิต ความยิ่งใหญ่มาจากความบริสุทธิ์ไม่ใช่สิ่งอื่น"
ดั่งนั้นสิทธิอำนาจมาพร้อมความรับผิดชอบ เราจะต้องเป็นผู้รับใช้ที่ยิ่งใหญ่และมีความรับผิดชอบที่ใหญ่ยิ่งในการประกาศข่าวประเสริฐจนสุดปลายแผ่นดินโลก(กจ.1:8)
 
สำหรับสิทธิอำนาจของมารจะเป็นการครอบครองแบบครอบงำ ทำลาย มันจะใช้การล่อลวงดังที่เคยหลอกให้มนุษย์ล้มลงในความบาปที่ไม่เชื่อฟังสิทธิอำนาจของพระเจ้าในปฐมกาลบทที่ 3 มันจึงได้สิทธิอำนาจในการครอบครองโลกนี้ตั้งแต่ตอนนั้นมา
 
แต่เมื่อพระเยซูคริสต์เข้ามาในโลกนี้และมาตายไถ่บาปให้กับเราบนกางเขนเป็นการนำสิทธิอำนาจของพระเจ้ากลับคืนให้กับผู้ที่เชือ(ยน.3:16)
ครั้งหนึ่งเมื่อพระเยซูคริสต์ทรงรักษาโรคและใช้สิทธิอำนาจในการขับผีออกแต่ฟาริสีไม่เข้าใจและหมิ่นประมาทสิทธิอำนาจนี้
มัทธิว 12:22-33
22 ขณะนั้นเขาพาคนหนึ่งมีผีเข้าสิงอยู่ ทั้งตาบอดและเป็นใบ้มาหาพระองค์ พระองค์ทรงรักษาให้หาย คนใบ้นั้นจึงพูดจึงเห็น... 
24 แต่พวกฟาริสีเมื่อได้ยินดังนั้นก็พูดกันว่า "ผู้นี้ขับผีออกได้ก็เพราะใช้อำนาจเบเอลเซบูลผู้เป็นนายผีนั้น"
25ฝ่ายพระเยซูทรงทราบความคิดของเขา จึงตรัสกับเขาว่า "ราชอาณาจักรใดๆ ซึ่งแตกแยกกันแล้ว ก็คงพินาศ เมืองใดๆ ครัวเรือนใดๆ ซึ่งแตกแยกกันแล้ว จะตั้งอยู่ไม่ได้
26 และถ้าซาตานขับซาตานออกมันก็แตกแยกกันในตัวมันเอง แล้วอาณาจักรของมันจะตั้งอยู่อย่างไรได้
27 และถ้าเราขับผีออกโดยเบเอลเซบูล พวกพ้องของท่านทั้งหลายขับมันออกโดยอำนาจของใครเล่า เหตุฉะนั้นพวกพ้องของท่านเองจะเป็นผู้ตัดสินกล่าวโทษพวกท่าน
28 แต่ถ้าเราขับผีออกด้วยพระวิญญาณของพระเจ้า แผ่นดินของพระเจ้าก็มาถึงท่านแล้ว
29  หรือใครจะเข้าไปในเรือนของคนที่มีกำลังมาก และปล้นเอาทรัพย์ของเขาอย่างไรได้ เว้นแต่จะจับคนที่มีกำลังมากนั้นมัดไว้เสียก่อน แล้วจึงจะปล้นทรัพย์ในเรือนนั้นได้
30 ผู้ใดไม่อยู่ฝ่ายเราก็เป็นปฏิปักษ์ต่อเรา และผู้ใดไม่รวบรวมไว้กับเรา ก็เป็นผู้กระทำให้กระจัดกระจายไป
31 เพราะฉะนั้นเราบอกท่านทั้งหลายว่า ความผิดบาปและคำหมิ่นประมาททุกอย่างจะโปรดยกให้มนุษย์ได้ เว้นแต่คำหมิ่นประมาทพระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงโปรดยกให้มนุษย์ไม่ได้
32 ผู้ใดจะกล่าวร้ายบุตรมนุษย์ จะโปรดยกให้ผู้นั้นได้ แต่ผู้ใดจะกล่าวร้ายพระวิญญาณบริสุทธิ์ จะทรงโปรดยกให้ผู้นั้นไม่ได้ ทั้งยุคนี้ยุคหน้า
33 "พึงกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งว่าต้นดีผลก็ดี หรือต้นเลวผลก็เลวด้วย เราจะรู้จักต้นไม้ด้วยผลของมัน
 
นี่เป็นหลักการที่สำคัญ ในการทำสงครามฝ่ายวิญญาณ นั่นคือ
 
1.เมื่ออาณาจักรของพระเจ้ามาตั้งอยู่ เราจะมีสิทธิอำนาจในการขับไล่วิญญาณชั่วออกไป
2.วิญญาณชั่วมีลำดับขั้นการปกครอง ผีที่มีอำนาจมากกว่าจัดการขับไล่ผีตัวเล็กได้
3.พระวิญญาณบริสุทธิ์ไม่ใช่ผี มีสิทธิอำนาจมากกว่าผี อย่าหมิ่นประมาทเพราะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยกโทษได้
4.ผีและพระวิญญาณบริสุทธิ์มีฤทธิ์เดชเช่นเดียวกัน แต่ส่งผลที่ต่างกันดังเช่นต้นไม้ที่ดีและเลว ผีจะส่งผลที่เลว แต่พระวิญญาณจะสะท้อนผลพระวิญญาณ(กท.5:22-23)ให้ผลที่ดี 
 
ผมขอสรุปเบื้องต้นไว้เท่านี้ก่อน เพราะในบทความครั้งต่อไปเราจะมาเจาะลึกถึงวิธีจัดการ 8 อันธพาลวิญญาณชั่ว

ในบทความครั้งนี้ เราต้องรู้จักศัตรูก่อนตามตำราพิชัยสงครามคือ "รู้เขา รู้เรา ร้อยศึกร้อยชัย"
เรามีทำความรู้จักเพื่อเข้าใจวิธีจัดการ 8 อันธพาลวิญญาณชั่วร้ายที่ทำลายชีวิตของเราดังนี้
(ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/wiki)
8 อันธพาลวิญญาณชั่ว ที่เราต้องอธิษฐานขอให้พระเจ้าทรงจัดการ อย่าปล่อยให้ วิญญาณชั่ว ลอยนวลมีดังนี้
1. วิญญาณราคะตัณหา (Spirit of lust) แอสโมดิวส์(Asmodeus)
2. วิญญาณตะกละ(Spirit of gluttony) เบลเซบับ(Beelzebub)
3. วิญญาณความโลภ(Spirit of greed) แมมมอน (Mammon)
4. วิญญาณเกียจคร้าน (Spirit of sloth ) เบลเฟกอร์ (Belphegor)
5. วิญญาณริษยา (Spirit of envy ) ลิเวียธาน (Leviathan)
6. วิญญาณโทสะ (Spirit of wrath) วิญญาณมังกรแห่งพระดาโกน ( Dragon Spirit)
7. วิญญาณการควบคุม (Spirit of control) เยเซเบล (Jezebel)
8. วิญญาณความหยิ่ง (Spirit of pride) ลูซิเฟอร์ (Lucifer)
 
เราแค่รู้จักมันก็พอนะครับ อย่าเข้าไปสนิทสนมกับมันเพราะจะเป็นภัยในชีวิต
เราจะมารูัจักแต่ละวิญญาณด้วยกัน
 
1.วิญญาณราคะตัณหา (Spirit of lust)
(ภาษาละติน คือ คำว่า "ลุกซุเรีย"(luxuria))


Asmodeus
วิญญาณนี้มีชื่อว่า "แอสโมดิวส์(Asmodeus)" ในภาษาฮีบรูมีการบันทึกไว้ว่ามีอีกชื่อว่า อาบัดโดน แปลว่า ผู้ทำลาย

วิวรณ์ 9:11 มันมีทูตแห่งช่องบาดาลนั้นเป็นกษัตริย์ปกครองมัน ชื่อทูตแห่งช่องบาดาลนั้น ภาษาฮีบรูเรียกว่าอาบัดโดน {แปลว่า ผู้ทำลาย} และภาษากรีกเรียกว่าอปอลลิโยน {แปลว่า ผู้ทำลาย}

ผู้ที่ถูกวิญญาณนี้ครอบงำจะมีลักษณะคือมีความต้องการทางเพศที่เร้าร้อน หมกมุ่นทางเพศที่มากจนเกินไป หรือที่ผิดมนุษย์ปกติ มีความใคร่ที่ผิดประเวณี เช่น การมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์ เพศสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัวเช่นพ่อแม่หรือลูกหลานตัวเอง ชอบการข่มขืน การมีชู้ ล่วงประเวณี 
  
สัญลักษณ์แห่งวิญญาณราคะคืองูหรือวัว 

  2.วิญญาณตะกละ(Spirit of gluttony)
 (ภาษาละติน คือ คำว่า "กูลา"(gula))
ในพระคัมภีร์ได้บันทึกไว้ใน
Beelzebub
2พงศ์กษัตริย์ 1:2 ฝ่ายอาหัสยาห์ทรงตกลงมาจากช่องพระแกลตาข่าย ที่ห้องชั้นบนของพระองค์ในกรุงสะมาเรีย และทรงประชวรจึงทรงใช้บรรดาผู้สื่อสารไป รับสั่งว่า "จงไปถามบาอัลเซบูบ (Beelzebub)  พระเจ้าแห่งเอโครนว่าเราจะหายจากความเจ็บป่วยนี้หรือไม่"

มัทธิว 12:22-24
22 ขณะนั้นเขาพาคนหนึ่งมีผีเข้าสิงอยู่ ทั้งตาบอดและเป็นใบ้มาหาพระองค์ พระองค์ทรงรักษาให้หาย คนใบ้นั้นจึงพูดจึงเห็น...
24 แต่พวกฟาริสีเมื่อได้ยินดังนั้นก็พูดกันว่า "ผู้นี้ขับผีออกได้ก็เพราะใช้อำนาจเบเอลเซบูล (Beelzebub)
ผู้เป็นนายผีนั้น"


 วิญญาณนี้จะทำให้ผู้ถูกครอบงำ มีการสนองความต้องการโดยไม่ยั้งคิด มุ่งร้ายเอาของคนอื่น บริโภคสิ่งต่างๆจนขาดการการไตร่ตรอง บริโภคจนมากเกินไป มากจนเกินความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหาร รวมถึงการบริโภคสิ่งๆ ต่างๆ โดยไม่คำนึงสนใจ หรือเห็นใจคนอื่น ทำให้เวลาสรรเสริญพระเจ้าน้อยลง และยังเป็นบาปที่สามารถชักจูงให้ทำบาปอื่นๆ ได้ เช่น ปรารถนาในความหิว (ราคะ) ฆ่าเพราะความหิว (โทสะ) เป็นต้น

มีการบันทึกในประวัติศาสตร์ของชาวยิวว่า

เบลเซบับ(Beelzebub) เคยเป็นพวกเดียวกับทูตสวรรค์เสราฟิมมาก่อน
แต่ด้วยการมีอำนาจที่มากกลับต่อต้านพระเจ้า จึงถูกไล่ออกจากสวรรค์มาเป็นปีศาจแห่งขุมนรก เป็นเจ้าชายแห่งนรกหรือเจ้าแห่งหมู่แมลงวัน

สัญลักษณ์ของตะกละคือ หมู หรือ นกกา  

3.วิญญาณความโลภ(Spirit of greed)
(ภาษาละติน คือ คำว่า "อวาริเทีย"(avaritia)) 

Mammon
วิญญาณนี้เรียกอีกชื่อว่า แมมมอน (Mammon) ไม่ใช่ช้างแมมมอธ (Mammoth)นะครับ เป็นวิญญาณที่ทำให้โลภรักเงินทองมากกว่ารักพระเจ้า แท้จริงความ "มั่งมี" ไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่การโลภ อยาก "มีมั่ง" มันผิดเพราะการมีเงินอยุ่ในใจจะเป็นมูลรากนำไปสู่การทำความชั่วอื่นๆ เราต้องให้เงินอยู่ในมือเพื่อเราจะใช้มัน ไม่ใช่ให้มันอยู่ในใจ เราจะตกเป็นทาสของมัน

มัทธิว 6:24 "ไม่มีผู้ใดเป็นข้าสองเจ้าบ่าวสองนายได้ เพราะว่าจะชังนายข้างหนึ่ง และจะรักนายอีกข้างหนึ่ง หรือจะนับถือนายฝ่ายหนึ่ง และจะดูหมิ่นนายอีกฝ่ายหนึ่ง ท่านจะปฏิบัติพระเจ้าและจะปฏิบัติเงินทอง (Mammon)พร้อมกันไม่ได้

1ทิโมธี 6:10 ด้วยว่าการรักเงินทองนั้นเป็นมูลรากแห่งความชั่วทั้งมวล และเพราะความโลภนี่แหละ จึงทำให้บางคนห่างไกลจากความเชื่อ และตรอมตรมด้วยความทุกข์

ผู้ที่มีวิญญาณแมมมอนครอบงำ จะมีลักษณะดังนี้คือ

มี่ความทะเยอทะยานอันแรงกล้าในการให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินและอำนาจ โดยไม่คำนึงถึงแนวทางหรือคุณธรรมในการได้มาซึ่งสิ่งเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการขโมย การขู่กรรโชกทรัพย์ ยักยอก การกักเก็บทรัพย์สินต่างๆ โดยไม่แบ่งปันหรือช่วยเหลือผู้อื่น ต่อมาโลภะรวมถึง การหาทรัพย์อย่างทุจริตมาใช้เพื่อประโยชน์ทางศาสนาด้วย ถือเป็นการมุ่งร้ายต่อศาสนา 
"Mammom" เป็นวิญญาณแห่งความมั่งคังที่ไม่เป็นธรรม แท้จริงแล้วมันเป็นวิญญาณแห่งความยากจน คือ ไม่รู้จักพอดี ไม่เคยเพียงพอ 

สัญลักษณ์ของวิญญาณความโลภ คือ กบ 

4.วิญญาณเกียจคร้าน (Spirit of sloth)
(ภาษาละติน คือ คำว่า "อาซีเดีย "(acedia)) 

    วิญญาณนี้เรียกอีกอย่างว่า "เบลเฟกอร์" (Belphegor)
    กันดารวิถี 25:1-4 
    Belphegor
       1   เมื่ออิสราเอลพักอยู่ในเมืองชิทธีม  ประชาชนก็ได้เริ่มเล่นชู้กับหญิงชาวโมอับ
       2   หญิงเหล่านี้ก็เชิญประชาชนให้ไปกระทำบูชาต่อพระของนาง  ประชาชนก็รับประทานและกราบไหว้พระของนาง
       3   ดังนั้นอิสราเอล  ก็เข้าถือพระบาอัลแห่งเปโอร์ ("เบลเฟกอร์" (Belphegor)) และพระเจ้าทรงพระพิโรธต่ออิสราเอล
       4   และพระเจ้าตรัสกับโมเสสว่า  "จงนำหัวหน้าทั้งหลายของประชาชนแขวนตากแดดไว้ต่อพระเจ้า  เพื่อว่าพระพิโรธอันเกรี้ยวกราดของพระเจ้าจะหันเหไปจากอิสราเอลเสีย"

ผู้ที่มีวิญญาณแบบนี้ครอบงำจะไม่สนใจใยดีต่อการเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งรอบข้าง ใช้เวลาอย่างไร้ค่า ความไม่ต้องการที่จะทำอะไร โดยปล่อยให้ผู้อื่นเป็นผู้ทำงานหนักเพื่อตนเองเท่านั้น การปล่อยปละละเลยต่อหน้าที่ของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการละเลยที่จะทำดีรวมถึงการละเลยที่จะเคารพต่อพระเจ้าด้วย ผู้ที่เกียจคร้านจะอยู่เฉยๆ รักษาสภาพความเป็นอยู่ของตนเองในภาวะเดิมตลอดเวลา ไม่ทำอะไรมาก แต่ก็ไม่ใช้อะไรมาก

สัญลักษณ์ของเกียจคร้านคือ แพะ 

สำหรับในครั้งนี้ทำความรู้จักใน 4 วิญญาณ อันธพาลวิญญาณชั่วก่อนนะครับ เราจะมารู้จักกับอีก 4 วิญญาณที่เหลือในครั้งหน้า

สุดท้ายขอหนุนใจด้วยข้อคิดให้เราได้ตระหนักว่า

มารชอบ "ปรักปรำ" เรา แต่พระเจ้า ให้ความ "โปรดปราน"กับเรา
มารชอบล่อลวงอย่าง "แยบยล" ให้เรา "อ่อนแอ" แต่พระเจ้าจะ "เยี่ยมเยียน" เราอย่าง "อ่อนโยน"
มารมาเพื่อทำร้ายเรา ให้ "ย่อยยับ" แต่พระเจ้าจะ "เยียวยา" ให้หายดี


การเยี่ยมเยียนจากพระเจ้า (Divine visitation) เพียงสัมผัสเดียว เยียวยารักษาบาดแผลให้เราหายดี

ขอพระเจ้าอวยพระพรนะครับ พบกันใหม่ครั้งหน้า
 
 

2 ความคิดเห็น: