04 กรกฎาคม 2554

Tammuz ทัมมุสเดือนแห่งการเตือนใจ

เดือนกรกฎาคมนี้ หรือเรียกตามปฎิทินยิวคือ ทัมมุส (Tammuz) ประเทศอิสราเอลจะมีการจัดเทศกาลเพื่อฉลองในช่วงต้นเดือน คือ Firstfruits Celebration for Tammuz เป็นเทศกาลถวายผลแรกในเดือนทัมมุส (ประมาณปลายเดือนมิ.ย.-กรกฎาคม)
ชื่อทัมมุส (Tammuz) เป็นชื่อเดือนที่10 ตามแบบปฎิทินราชการแต่เป็นเดือนที่ 4 ตามปฎิทินศาสนา ตั้งตามชื่อเทพเจ้าของบาบิโลน ซึ่งประยุกต์มาจากพวกบาบิโลน
ยิวได้ตั้งชื่อเดือนที่ 4 ว่า เดือนทัมมุส เนื่องจากเพื่อระลึกว่า รูปเคารพเป็นเหตุให้บ้านเมืองของตนต้องพินาศย่อยยับ ชือเดือนทัมมุส เป็นชื่อของรูปเคารพจริง ๆ แต่ตั้งเพื่อเตือนใจเขาให้หันกลับมาหาพระเจ้า ดังนั้นในเดือนนี้ คนยิวจะอดอาหาร และบรรยากาศของเดือนจะเต็มไปด้วยความเศร้าโศกใจ เพื่อเตือนใจเขาเรื่องพระวิหารถูกทำลายเพราะรูปเคารพ ดังที่กล่าวชื่อรูปเคารพไว้ใน
เอเสเคียล 8:14-15
14
แล้วพระองค์ทรงนำข้าพเจ้ามาถึงทางเข้าประตูพระนิเวศของพระเจ้าด้านเหนือ และดูเถิด ที่นั่นมีผู้หญิงหลายคนนั่งร้องไห้อาลัยเจ้าพ่อทัมมุสแล้วพระองค์ตรัสกับ ข้าพเจ้าว่า
15 "
บุตรแห่งมนุษย์เอ๋ย เจ้าเห็นแล้วหรือ เจ้ายังจะเห็นการลามกยิ่งกว่าสิ่งเหล่านี้อีก"
ในวันที่ 17 เดือนทัมมุส เป็นเทศกาลไว้ทุกข์ ถือการอดอหาร เพื่อระลึกถึงการที่บาบิโลนมาทำลายพระวิหารของยิวในช่วง ปี 606-587 กคศ. และเป็นการระลึกถึงความเศร้าโศกของโมเสสที่หักแผ่นพระบัญญัติด้วยความโกรธเนื่องจากคนอิสราเอลไปกราบไหว้รูปเคารพ
ทำไมต้องเฉลิมฉลองทั้งที่เดือนที่สี่นี้ เป็นเดือนแห่งการไว้ทุกข์ เศร้าโศกใจ
ในช่วงเริ่มต้นเดือนของทุกเดือนจะมีการเฉลิมฉลองเล็กๆ ก่อนในช่วงเริ่มต้นของเดือนหรือที่เรียกว่า Rosh Chodesh (โรช โคเดช)นี้จะมีการกินเลี้ยงเล็กๆน้อย และเป่าโชฟา(เขาสัตว์)
สำหรับการไว้ทุกข์ในเดือนทัมมุสนี้ เขาจะเริ่มในวันลำดับที่ 17 ของเดือน และกินเวลาแห่งการอดอาหารเพื่อกลับใจมาหาพระเจ้า หันหนีจากรูปเคารพ โดยกินเวลา สามสัปดาห์ หรือ 21 วันหลังจากนั้น
การตั้งชื่อเดือนตามปฎิทินยิวนั้นได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมต่างชาติทั้งบาบิโลน กรีกและโรมัน ปฎิทินยิวมี 12-13 เดือน อาจจะคาดเคลื่อนตามแต่ละปี คือมีเดือน Adar 2 ครั้ง ตามนี้
The Hebrew calendar has 12 or 13 months.
1. Nisan, 30 days ניסן
2. Iyyar, 29 days אייר
3. Sivan, 30 days סיון
4. Tammuz, 29 days תמוז
5. Av, 30 days אב
6. Elul, 29 days אלול
7. Tishri, 30 days תשרי
8. Heshvan, 29/30 days חשון
9. Kislev, 29/30 days כסלו
10. Tevet, 29 days טבת
11. Shevat, 30 days שבט
12. Adar 1, 30 days, intercalary month אדר א
13. Adar 2, 29 days אדר ב
Adar 1 is only added 7 times in 19 years. In ordinary years, Adar 2 is simply called Adar.
เราจะเห็นได้ว่าการตั้งชื่อเดือนตามปฎิทินสากล ก็ได้นำเอามาจากชื่อของเทพเจ้าของโรมันมาตั้งชื่อ เช่น เดือนมกราคม หรือ January ตั้งตามชื่อเทพเจ้า แจนนัส หมายถึงการเริ่มต้น การเปิดประตู
การนับเดือนของพวกเขาก็นับแบบจันทรคติ จะเห็นได้ว่ามีวันต้นเดือน หรือ New Moon จะมีการเฉลิมฉลอง ที่เรียกว่า Rosh Chodesh (โรช โคเดช)
กันดารวิถี 10:10 ในวันที่เจ้าทั้งหลายมีความยินดี และในงานเทศกาลและในวันต้นเดือนของเจ้า เจ้าจงเป่าแตรเหนือเครื่องเผาบูชาและเหนือสัตวบูชาอันเป็นเครื่องศานติบูชา เป็นที่ให้พระเจ้าของเจ้าระลึกถึงเจ้า เราเป็นพระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้า"
การเฉลิมฉลองนี้ได้มีการนำของมาถวายแด่พระเจ้าเป็นการถวายผลแรก เพื่อขอบคุณพระเจ้า
เราจะต้องทำความเข้าใจความหมายของชื่อเดือน และนำหลักการมาประยุกต์ใช้
สำหรับเรื่องการฉลองเทศกาลเป็นคำสั่งของพระเจ้าให้ฉลองในเทศกาลหลักๆ ปีละ 3 ครั้ง คือ เทศกาลปัสกา,หรือกินขนมปังไร้เชื้ เทศกาลเพ็นเทคอสต์ หรือสัปดาห์และเทศกาลอยู่เพิง
เฉลยธรรมบัญญัติ 16:16 "บรรดาผู้ชายทั้งสิ้นจะต้องเข้ามาเฝ้าพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านปีละสามครั้ง ณสถานที่ซึ่งพระองค์ทรงเลือกไว้ คือณ เทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อ เทศกาลสัปดาห์ และเทศกาลอยู่เพิง อย่าให้เขาไปเฝ้าพระเจ้ามือเปล่าๆ
การฉลองเทศกาลของพวกยิวนั้น พวกเขานำไปย่อยเป็นเทศกาลย่อยอีกมากมาย
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจว่าคนยิวในพระคัมภีร์เดิมกับยิว(อิสราเอล)ในปัจจุบันมีความแตกต่างกันอย่างมาก เพราะในปัจจุบันมีการผสมผสานวัฒนธรรมหลากหลายของคนต่างชาติไม่ว่าจะเป็นกรีก บาบิโลน หรือ โรมัน
มีจำแนกพวกยิวแบบต่างๆ เช่น พวกยิวนิยมกรีก เรียกว่า Hellenistic Judaism ซึ่งมีความเคร่งครัดตามพิธีกรรมศาสนา เช่นพวกฟาริสี สะดูสี หรือพวกธรรมาจารย์ ที่มีวิญญาณศาสนาคอยตัดสินความผิดผู้อื่นตามกฎเณฑ์ศาสนา
ชื่อเดือนต่างๆ พวกเขาก็รับเอามาจากต่างชาติเช่น เดือนแรกของปี คือ เดือน นิสาน รับเอามาจากบาบิโลน เปลี่ยนจากเดิมคือ เดือนอาบีบ
(อาบีบ หมายถึงพืชผลแรกที่ได้จากธัญพืชเช่น ต้นบารลี)
อพยพ 9:31 ต้นป่านต้นบารลีถูกลูกเห็บทำลายเสีย เพราะในเวลานั้นต้นบารลีก็กำลังออกรวง และต้นป่านก็ออกดอกแล้ว
อพยพ 23:15 จงถือเทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อตามเวลาที่กำหนดไว้ในเดือนอาบีบ อันเป็นเดือนซึ่งเราบัญชาไว้ เจ้าจงกินขนมปังไร้เชื้อเจ็ดวันตามที่เราสั่งเจ้าไว้แล้ว เพราะในเดือนนั้นเจ้าออกจากอียิปต์ อย่าให้ผู้ใดมาเฝ้าเรามือเปล่าเลย
จะ เห็นได้ว่าเมื่อการรับเอาวัฒนธรรมต่างๆ เข้ามาโดยขาดความเข้าใจและบางครั้งประนีประนอมกับความบาป จนไปรับเอาเทพเจ้าซึ่งเป็นพระของคนต่างชาติ ทำให้เกิดผลเสียมาสู่ประเทศ นำเอาความหายนะมาสู่แผ่นดิน นี่เป็นข้อเตือนใจของเหตุการณ์นี้ เดือนทัมมุสเดือนแห่งการเตือนใจ เพื่อให้กลับใจ กลับมาแสวงหาพระเจ้า
แต่ชาวยิวก็ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งคือมีพวกที่รักษาหลักการของพระเจ้าไว้ คือ พวกยิวแบบดั้งเดิม หรือ Messianic Judaism พวกเขามีความเข้าใจในวาระเวลาของพระเจ้า รักษาพระบัญญัติของพระเจ้าอย่างเข้าใจ และดำเนินชีวิตตามหลักการของพระองค์

ข้อคิด คือ เราจึงต้องกลับสู่ความคิดแบบรากฐานของยิว ไม่ใช่ความคิดแบบกรีก โรมัน คือเราต้องทำความเข้าใจในวาระเวลาของพระเจ้า แต่ไม่ใช่กลับไปถือปฎิบัติตัวตามพิธีกรรมของยิว เพราะเป็นการถือปฎิบัติแต่พิธีกรรมเปลือกนอก


ฉะนั้นแต่และเดือนมีความหมายในเชิงการเผยพระวจนะ เราต้องทำการศึกษาให้เข้าใจเพื่อจะเข้าใจวาระเวลาของพระเจ้าแบบเผ่าอิสสาคาร์

เป็นโอกาสดีเลย ที่เราจะได้เรียนในหัวข้อ
เข้าใจความหมายของเดือนในเชิงการเผยพระวจนะ (Understanding the Months Prophetically)

นการสัมมนา Issachar School ครั้งที่ 2 ในวันที่ 9 – 10 กันยายน 2011 นี้ เชื่อว่าหลังจากสัมมนาครั้งนี้เราจะได้รับพระพรอย่างมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น