สวัสดีครับเพื่อนผู้อ่านทุกท่าน บทความครั้งนี้ ผมขอแบ่งปันจากสิ่งที่ผมได้กล่าวพระวจนะในงานไว้อาลัยของพี่น้องคริสเตียนท่านหนึ่ง หวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต ผมใช้หัวข้อว่า "เข้าใจความจริงของชีวิต “อยู่อย่างไม่เสียดาย ตายอย่างไม่เสียใจ”
เป็นข้อคิดจากพระธรรมปัญญาจารย์บทที่ 7:1-10
พระธรรมปัญญาจารย์ 7:1-10
1 “ชื่อเสียงดีก็ดีกว่าน้ำมันหอมอย่างดี และวันตายก็ดีกว่าวันเกิด
2 “ไปยังเรือนที่มีการคร่ำครวญ ก็ดีกว่าไปยังเรือนที่มีการเลี้ยงกัน เพราะนั่นเป็นวาระสุดท้ายของมนุษย์ทุกคน และผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่จะเอาเหตุการณ์นั้นใส่ไว้ในใจ”
3 “ความโศกเศร้าก็ดีกว่าการหัวเราะ เพราะความโศกเศร้าบนใบหน้าทำให้จิตใจยินดี”
4 “จิตใจของคนมีปัญญา ย่อมอยู่ในเรือนที่มีการคร่ำครวญ แต่จิตใจของคนเขลา ย่อมอยู่ในเรือนที่มีการสนุกสนาน”
5 “ฟังคำตำหนิของคนที่มีปัญญา ยังดีกว่าฟังเพลงของคนเขลา”
6 “เสียงเรียวหนามไหม้แตกอยู่ใต้หม้ออย่างไร เสียงหัวเราะของคนเขลาก็เป็นอย่างนั้นนี่ก็อนิจจังด้วย”
7 “แท้จริงการกดขี่ข่มเหงทำให้ผู้มีปัญญาโง่ไป และสินบนก็ทำลายสามัญสำนึกเสีย” 8 “เบื้องปลายของสิ่งใดๆ ก็ดีกว่าเบื้องต้นของสิ่งนั้นๆ จิตใจที่อดกลั้นก็ดีกว่าจิตใจที่อหังการ”
9 “อย่าให้จิตใจของเจ้าโกรธเร็ว เพราะความโกรธฝังอยู่ในทรวงอกของคนเขลา
10 “อย่าว่า “ทำไมอดีตดีกว่าปัจจุบัน?” เพราะที่เจ้าถามเช่นนั้นไม่ได้ถามด้วยใช้ปัญญา”
หากเราได้ศึกษาพระธรรม “ปัญญาจารย์” (Ecclesiastes) ในภาษาฮีบรู ชื่อพระธรรมนี้คือ
"โคเฮเล็ท" ( קֹהֶלֶת, Qoheleth ) หมายถึง "การรวมตัวกัน
(Gatherer), การกล่าวในที่ประชุม หรือ หมายถึง นักเทศน์ (Preacher)" คำนี้มาจากคำว่า "คาฮัล"( קהל (qahal) คือห้องประชุม (assembly) ที่ใช้นมัสการของคนยิว
ข้อคิดในฐานะเป็นผู้เทศนาคือ "อย่าให้การเทศนา ผลักดันไปสู่การอ่านพระวจนะ แต่ให้การอ่านพระวจนะผลักดันไปสู่การเทศนา"
สิ่งนี้ทำให้ผมได้เข้าใจสิ่งนี้ และเมื่ออ่านพระธรรมเล่มนี้จึงเป็นหลักการของการเข้าใจความจริงของชีวิต ว่าทุกสิ่งล้วน "อนิจจัง"( Vanity) ไร้ความหมายหากปราศจากการดำเนินชีวิตในพระเจ้า พระผู้สร้าง
ข้อคิดในฐานะเป็นผู้เทศนาคือ "อย่าให้การเทศนา ผลักดันไปสู่การอ่านพระวจนะ แต่ให้การอ่านพระวจนะผลักดันไปสู่การเทศนา"
สิ่งนี้ทำให้ผมได้เข้าใจสิ่งนี้ และเมื่ออ่านพระธรรมเล่มนี้จึงเป็นหลักการของการเข้าใจความจริงของชีวิต ว่าทุกสิ่งล้วน "อนิจจัง"( Vanity) ไร้ความหมายหากปราศจากการดำเนินชีวิตในพระเจ้า พระผู้สร้าง
กษัตริย์ซาโลมอน (ผู้ที่ได้ชื่อว่า มีความรู้ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอด หรือ ลูกไม้หล่นไกลต้น เมื่อเทียบกับผู้เป็นพ่ออย่างกษัตริย์ดาวิด) เป็นผู้เขียนพระธรรมนี้ แม้ชีวิตจะเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่พระองค์เขียนเป็นพระวจนะของพระเจ้าที่พระเจ้าดลใจให้เขียน เราจึงน้อมรับและนำมาใช้ในชีวิตของเรา
กษัตริย์ซาโลมอนได้เขียนขึ้นจากมุมมองของนักปรัชญา ผู้สังเกตเห็นชีวิตด้านการเมืองในฐานะผู้ปกครองและเห็นผู้คนมากมายในสังคม พระองค์ทรงเตือนว่า ความสุขในโลกนี้นั้น ล้วนแต่ “อนิจจัง” เราควรที่จะมีมุมมองโลกทัศน์ที่ถูกต้อง ชีวิตจะมีความหมายเมื่อดำเนินชีวิตร่วมกับพระเจ้าที่เที่ยงแท้
คำว่า "ปรัชญา" หรือ "Philosophy" มาจากรากศัพท์ภาษากรีก คือ "ฟิโลโซเฟีย"
φιλοσοφία (philosophia) หมายถึง การรักในความรู้ หรือสติปัญญา
ในการดำเนินชีวิต เราต้องรักในความรู้ แต่เราต้องอยู่ด้วยความรัก ความรู้เป็นบำรุงหัวสมอง ความรักเป็นยาบำรงหัวใจ
มีคำกล่าวว่า “ทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งโลกเพียงพอสำหรับที่จะหล่อเลี้ยงคนทั้งโลกแต่ไม่เพียงพอ ที่จะหล่อเลี้ยงความโลภของคนเพียงคนเดียว”
หากเราพิจารณาข้อความตรงนี้ จะมีคน 2 ประเภท คือ
คนประเภทที่สอง “รู้ว่าวันเวลามีจำกัด แต่กลับเลือกใช้เวลากับสิ่งที่ไร้ค่า” ใช้ชีวิตแบบน่าใจ เพราะเวลาชีวิตเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต้องใช้ให้มันคุ้ม
เราจึงควรเข้าใจความจริงของชีวิต จากพระธรรมปัญญาจารย์บทที่ 7 เพื่อเตือนใจให้เราสามารถใช้เวลาทุกวันของเราอย่างมีค่าบนโลกใบนี้ เพื่อเราจะ “อยู่อย่างไม่เสียดาย ตายอย่างไม่เสียใจ” ดังต่อไปนี้
(ผมขอสรุปไม่ได้อธิบายในรายละเอียดทุกข้อ เนื่องจากพื้นที่บทความมีความจำกัด ผู้อ่านไปอ่านพระธรรมนร้ต่อนะครับ)
1. “ชีวิตมีคุณค่ากว่าสิ่งใดๆ”
(1) “ชื่อเสียงดีก็ดีกว่าน้ำมันหอมอย่างดี และวันตายก็ดีกว่าวันเกิด
(1) “ชื่อเสียงดีก็ดีกว่าน้ำมันหอมอย่างดี และวันตายก็ดีกว่าวันเกิด
ปัญญาจารย์ได้กล่าวเตือนใจให้ภาพเปรียบเทียบว่า น้ำมันหอมนั้นหมายถึง ความสนุกสนาน และความมั่งคั่ง เป็นสิ่งที่คนจำนวนมาก (ในสมัยของปัญญาจารย์)
ปรารถนาจะได้น้ำมันหอมและเลือกสะสมไว้ แต่พวกเขาลืมความเป็นความจริงที่ว่าเราต้องตายสักวันหนึ่ง และสิ่งของเหล่านั้นความสนกุสนานเหล่านั้นเป็นเหมือนกับน้ำหอมที่มีกลิ่นเพียงชั่วคราว และไม่สามารถนำติดตัวไปหลังจากความตายได้มี เพียงชื่อเสียงที่หมายถึงชีวิตของเรานั้นได้สร้างคุณประโยชน์และสร้างมรดกที่ดีงามไว้อย่างไรเท่านั้นที่จะดำรงอยู่และสืบทอดต่อไป
เมื่อเราอ่านในพระคัมภีร์ น้ำมันหอมเป็นของที่หายากและมีราคาแพงมากในสมัยก่อน เช่นน้ำมันหอมนาระดา ซึ่งนางมารีย์ได้เก็บรักษาไว้อย่างดี แต่เธอได้พบกับพระเยซูคริสต์ เธอรู้ดีว่าสิ่งของที่เธอมีไม่มีคุณค่าเทียบได้กับการได้รู้จักองค์พระเยซูคริสต์ เธอจึงนำมาชโลมพระบาทของพระคริสต์
ยน. 12:3 มารีย์จึงเอาน้ำมันหอมนาระดาบริสุทธิ์หนักประมาณครึ่งกิโลกรัม ซึ่งมีราคาแพงมากมาชโลมพระบาทของพระเยซู และเอาผมของเธอเช็ดพระบาทของพระองค์ เรือนก็หอมฟุ้งไปด้วยกลิ่นน้ำมันนั้น
คำว่า
"ชื่อเสียงดี"คือการงานที่เราทั้งหลายได้กระทำในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ สิ่งเหล่านั้นพระคัมภีร์บอกว่าเป็นเพียงสิ่งเดียวที่จะติดตามเราไป ไม่ว่าเราต้องการให้เป็นอย่างนั้นหรือไม่ก็ตามสิ่งที่เราทำทั้งหมดจะติดตามเราไปอย่างแน่นอน
คำว่า "วันตายก็ดีกว่าวันเกิด" เพราะการตายเป็นประตูนำไปสู่การหยุดจากการงานตรากตรำบนโลกนี้ไปพักสงบอยู่กับองค์พระผู้เป็นเจ้า
บางคนอยากมีชื่อเสียงเพียงแค่อยากดัง นั่นไม่ใช่สิ่งที่ดี เพราะ ความดังไม่คงที่ แต่ความดีคงทน ชื่อเสียงไม่ใช่มาจากความดังแต่มาจากความดี คือชื่อเสียงดี ไม่ใช่ชื่อเสีย เพราะดำเนินชีวิตเสียชื่อ การมีชื่อเสียงดีจึงดีกว่าหรือประเสริฐกว่าน้ำมันหอมอย่างประเสริฐ
ในการประยุกต์ เราต้องรักษาชื่อเสียงดี ดำเนินชีวิตให้คนอื่นเห็นพระเจ้าในตัวของเรา ว่าเป็นคนที่ซื่อสัตย์ในการทำงาน ทำให้ดีที่สุดในทุกบทบาท และสะสมสิ่งที่นำติดตัวไปได้หลังจากความตาย นั่น คือ การสะสมความดี
สภษ.22:1 ชื่อเสียงดีเป็นสิ่งควรเลือกยิ่งกว่าความมั่งคั่งมากมาย และซึ่งเป็นที่โปรดปรานก็ยิ่งกว่ามีเงินหรือทอง
2. “เรียนรู้ความจริงของชีวิต ในทุกโอกาส” (2-4)
2 “ไปยังเรือนที่มีการคร่ำครวญ ก็ดีกว่าไปยังเรือนที่มีการเลี้ยงกัน เพราะนั่นเป็นวาระสุดท้ายของมนุษย์ทุกคน และผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่จะเอาเหตุการณ์นั้นใส่ไว้ในใจ”
3 “ความโศกเศร้าก็ดีกว่าการหัวเราะ เพราะความโศกเศร้าบนใบหน้าทำให้จิตใจยินดี”
4 “จิตใจของคนมีปัญญา ย่อมอยู่ในเรือนที่มีการคร่ำครวญ แต่จิตใจของคนเขลา ย่อมอยู่ในเรือนที่มีการสนุกสนาน”
ปัญญาจารย์กล่าวไว้ใน ข้อ 2 ว่า “วาระสุดท้ายของมนุษย์ทุกคน” (for
this is the end of all mankind) ดังนั้นความตายเป็นจุดหมายปลายทางของทุกชีวิตบนโลก จึงต้องดำเนินชีวิตอย่างมีสติปัญญา ทำความเข้าใจเรียนรู้จักชีวิตผ่านทางเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะดีหรือร้าย โศกเศร้าหรือหัวเราะ
สภษ.
11:19 ความชอบธรรมนำไปสู่ชีวิตฉันใด บุคคลผู้ติดตามความชั่วร้ายจะนำไปสู่ความตายของตนเองฉันนั้น
ปญจ.2:14 คนมีสติปัญญามีตาอยู่ในสมอง แต่คนเขลาเดินในความมืด ถึงกระนั้นข้าพเจ้ายังเห็นว่า เหตุการณ์อย่างเดียวกันเกิดขึ้นแก่เขาทั้งมวล
ข้อ 3 “ความโศกเศร้าก็ดีกว่าการหัวเราะ” (Sorrow
is better than laughter)
สภษ.14:13 แม้ใจของคนที่หัวเราะก็เศร้า และที่สุดของความชื่นบานนั้นคือความโศกสลด
ข้อ
4 “อยู่ในเรือนที่มีการคร่ำครวญ” (is
in the house of mourning)
ปญจ.2:1 ข้าพเจ้ารำพึงในใจว่า "มาเถอะ มาลองสนุกสนานกันดู เอ้า จงสนุกสบายใจไป" แต่ ดูเถิด เรื่องนี้ก็อนิจจังเช่นกัน
ปัญญาจารย์ ในข้อที่ 2 กล่าวว่า “ไปยังเรือนที่มีการคร่ำครวญก็ดีกว่าไปยังเรือนที่มีการเลี้ยงกัน" เพราะนั่นเป็นวาระสุดท้ายของมนุษย์ทุกคนและผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่จะเอาเหตุการณ์ใส่ไว้ในใจ และ“เรียนรู้ความจริงของชีวิต ในทุกโอกาส”
การไปร่วมงานเฉลิมฉลองในโอกาสต่างๆ เป็นสิ่งที่สมควร เป็นการร่วมแสดงความยินดี แต่อย่าเอาสนุกสนานกับการกินและดื่ม จนเพลิดเพลินกับชีวิตจนลืมไปว่าทุกชีวิตจะสิ้นสุดที่ความตาย
การไปร่วมงานไว้อาลัย เป็นการร่วมอาลัยของผู้จากไปและยังเป็นการเตือนใจเราเพื่อให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ว่า ทุกชีวิตจะสิ้นสุดที่ความตาย
3. “ใช้ชีวิตอย่างมีสติปัญญา” (5-6)
5 “ฟังคำตำหนิของคนที่มีปัญญา ยังดีกว่าฟังเพลงของคนเขลา”
6 “เสียงเรียวหนามไหม้แตกอยู่ใต้หม้ออย่างไร เสียงหัวเราะของคนเขลาก็เป็นอย่างนั้นนี่ก็อนิจจังด้วย”
ปัญญาจารย์กล่าวเตือนในข้อที่ 5 กล่าว “ฟัง คำตำหนิของคนที่มีปัญญายังดีกว่าฟังเพลงของ คน เขลา” เป็นสิ่งที่น่าแปลกใจ คือ ในความเป็นจริงคนส่วนใหญ่มักทำตรงกันข้ามเสมอเรามักแสวงหาคำปรึกษาที่ถูกใจเรา มากกว่าคำปรึกษาที่ให้ปัญญากับเรา
ฟังคำตำหนิของคนที่มีสติปัญญา ยังดีกว่าฟังเพลงของคนเขลา คำตักเตือนหรือคำตำหนิของผู้ที่มีสติปัญญา มีคุณค่ามากเพราะเป็นดั่งกระจกเงาที่สะท้อนความจริง สิ่งที่ถูกต้องให้เราเห็น และเป็นประโยชน์ต่อเรา ซึ่งดีกว่าเสียงเพลงที่ไร้สาระ เสียงหัวเราะที่ไร้คุณค่าของคนเขลา
พระวจนะจึงสอนให้เรา ไวในการฟังช้าในการพูด ช้าในการโกรธ
“เสียงหัวเราะของคนเขลา” (
the laughter of the fools) เปรียบเสียงหัวเราะของคนโง่ กับเสียงแตกปะทุของหนามในไฟที่แม้จะดัง แต่อยู่ได้ไม่นาน เดี๋ยวไฟก็มอดดับไป เช่นเดียวกับคนโง่เขลาเบาปัญญาที่มองว่าเรื่องพระเจ้าเป็นเรื่องโง่เขลา และเรื่องไม้กางเขนเป็นการเทศนาที่โง่งมงาย
อัครทูตเปาโลได้กล่าวไว้ใน 1 คร.1:18-21
18 คนทั้งหลายที่กำลังจะพินาศก็เห็นว่าการประกาศเรื่องกางเขนเป็นเรื่องโง่ แต่พวกเราที่รอดเห็นว่าเป็นฤทธานุภาพของพระเจ้า
19 เพราะมีคำเขียนไว้แล้วว่า `เราจะทำลายสติปัญญาของคนมีปัญญา และจะทำให้ความเข้าใจของคนที่เข้าใจสูญสิ้นไป'
20 คนมีปัญญาอยู่ที่ไหน บัณฑิตอยู่ที่ไหน นักโต้ปัญหาแห่งยุคนี้อยู่ที่ไหน พระเจ้ามิได้ทรงกระทำปัญญาของโลกนี้ให้โฉดเขลาไปแล้วหรือ
21 เพราะตามเรื่องที่เป็นพระสติปัญญาของพระเจ้าแล้ว โลกจะรู้จักพระเจ้าโดยปัญญาไม่ได้ พระเจ้าทรงพอพระทัยที่จะช่วยคนที่เชื่อให้รอดโดยการเทศนาที่โง่เขลานั้น
คนโง่จะหัวเราะได้ไม่นานเมื่อพระเจ้าทรงพิพากษา คนมีปัญญาจะหัวเราะทีหลังดังและนานกว่า
กษัตริย์เรโหโบอัมลูกชายของซาโลมอนเลือกที่จะเชื่อฟังเพื่อนๆที่โตมาด้วยกันมากกว่าเชื่อที่ปรึกษาของพระบิดา เป็นเหตุให้ราชอาณาจักรของพระองค์แตก 2อาณาจักร คืออาณาจักรเหนือและใต้ คืออิสราเอลและยูดาห์ และพระองค์ได้สร้างรูปวัวทองคำให้คนกราบไหว้รูปเคารพแทนการนมัสการพระเจ้าที่เที่ยงแท้ พาคนหลงทางของพระเจ้า นี่คือตัวอย่างที่ไม่ดำเนินชีวิตด้วยสติปัญญา
4. “ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า” (7-10)
7 “แท้จริงการกดขี่ข่มเหงทำให้ผู้มีปัญญาโง่ไป และสินบนก็ทำลายสามัญสำนึกเสีย”
8 “เบื้องปลายของสิ่งใดๆ ก็ดีกว่าเบื้องต้นของสิ่งนั้นๆ จิตใจที่อดกลั้นก็ดีกว่าจิตใจที่อหังการ”
9 “อย่าให้จิตใจของเจ้าโกรธเร็ว เพราะความโกรธฝังอยู่ในทรวงอกของคนเขลา
10 “อย่าว่า “ทำไมอดีตดีกว่าปัจจุบัน?” เพราะที่เจ้าถามเช่นนั้นไม่ได้ถามด้วยใช้ปัญญา”
การใช้ชีวิตผิดๆ โดยไม่เห็นคุณค่า คนฉลาดก็กลายเป็นคนโง่ได้” ปัญญาจารย์เตือนไว้ในข้อที่ 7-10 นั่นคือ
การไม่ลดคุณค่าของชีวิต ด้วยการให้เงินมาซื้อ นั้นคือการเป็นทาส เป็นมูลเหตุแห่งความชั่วร้าย
การที่คนมีปัญญาใช้ปัญญาของตนในการเอาเปรียบผู้อื่น(7) พระคัมภีร์บอกว่าเมื่อนั้นเขาก็กลายเป็นคนโง่ไป เมื่อใดคนฉลาดรับสินบน (a bribe) ตัวอย่างเช่น ลก.22:4-6 ยูดาสรับสินบนจึงอายัดพระเยซู
หรือใช้อำนาจไปกดขี่ข่มเหงผู้อื่น สิ่งเหล่านี้ทำให้ลดคุณค่าของชีวิต
ในข้อที่ 8 ปัญญาจารย์กล่าวว่า "เบื้องปลายแห่งสิ่งใดๆก็ดีกว่าเบื้องต้นแห่งสิ่งนั้นๆ
" เพราะเบื้องปลายของสิ่งต่างๆได้ผ่านกระบวนการหล่อหลอม ขัดเกลามาแล้วจนสิ่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงให้งดงามดียิ่งขึ้น ชีวิตก็เช่นเดียวกันที่ต้องผ่านกระบวนการหล่อหลอมจึงจะสมบูรณ์แบบและดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่อยู่เบื้องปลายจึงดีกว่าสิ่งที่อยู่เบื้องต้น
การที่ มีใจอดกลั้นก็ดีกว่ามีใจอหังการ(8) เพราะการดำเนินชีวิตอย่างมีปัญญา จะสุขุมรอบคอบ อดทน อดกลั้นด้วยความตระหนักถึงคุณค่าในสิ่งที่ตนปฏิบัติ แต่คนที่ขาดปัญญาจะตกอยู่ภายใต้อำนาจของความโลภหลง คิดว่าตนเป็นคนสำคัญยิ่งกว่าคนอื่นจึงเกิดความเย่อหยิ่งและอหังการ ปล่อยให้อารมณ์ควบคุมสติปัญญา ปล่อยให้อารมณ์โกรธทำลายบุคลิกภาพ
ในข้อที่
10 “อย่าถาม ‘ทำไมอดีตดีกว่าปัจจุบัน’?”(Say not,
“Why were the former days better than these?”) เพราะการกล่าวเช่นนี้เป็นการบ่นว่าสภาพปัจจุบันของตน แทนที่จะชื่นชมยินดีกับชีวิตของตนและไว้วางใจในพระเจ้า
ปัญญาจารย์ยังได้สรุปให้เห็นว่า การดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่านั้น ต้องมีสติปัญญาที่พระเจ้าทรงประทานให้ มีความเชื่อ ความไว้วางใจในพระเจ้า และชื่นชมยินดีกับชีวิตและสถานการณ์ที่พระเจ้าทรงประทาน ไม่ว่าในช่วงที่เจริญรุ่งเรืองหรือในช่วงที่เผชิญกับวิกฤติของชีวิต
เราควรให้อดีตเป็นเหมือนขั้นบันไดที่นำพาชีวิตก้าวไปในปัจจุบันและนำไปสู่ความสำเร็จในอนาคต
เวลาชีวิต เป็นสิ่งที่สำคัญ ดำเนินชีวิตด้วยความรัก Love สะกดด้วย Time เพราะ Timeline ช่วงเวลาชีวิตเราไม่เท่ากัน อย่า ทำลาย(Line)ชีวิต ด้วยการใช้เวลาอย่างไร้คุณค่า
T-Treasure ทรัพย์สมบัติราคาแพง เห็นคุณค่าใช้ให้คุ้มราคา
I-Invest ลงทุนเวลาให้คุ้มทุน
M-Manage บริหารเวลาให้คุ้มค่า
E-Enjoy สนุกสนานอย่างคลุ้มคลั่ง (แต่ไม่ไร้สาระ)
และสุดท้าย ผมขอจบบทความนี้ด้วย คำกล่าวของ เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิลล์ ( Sir
Winston Leonard Spencer-Churchill) อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษของอังกฤษ
ท่านได้ให้ข้อคิดน่าสนใจว่า
"Attitude
is a little thing that makes a big difference."
“ทัศนคติเป็นเพียงสิ่งเล็กๆ ซึ่งสามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างใหญ่หลวง”
ขอให้เรามีทัศนคติที่ถูกต้องในมุมมองของชีวิต ตามแบบพระเยซูคริสต์ที่ทรงเทศนาครั้งแรกบนภูเขา คือคำเทศนาเรื่องผู้เป็นสุข (Be
Attitude) คือทัศนคติที่ควรจะมี 8 สิ่ง ตามพระธรรมมัทธิว 5:3-10
และข้อคิดสุดท้าย จาก เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิลล์ คือ
"We make a living by what we
get, we make a life by what we give."
เราดำเนินชีวิตจากสิ่งที่เรา
"รับ" แต่เราสร้างคุณค่าของชีวิตได้ด้วยการ
"ให้"ออกไป
ขอพระเจ้าอวยพระพรในการดำเนินชีวิตของเรา ให้เรา เข้าใจความจริงของชีวิต “อยู่อย่างไม่เสียดาย ตายอย่างไม่เสียใจ”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น