31 กรกฎาคม 2559

เผ่ารูเบน - บุตรชายสายน้ำเชี่ยว

สุภาษิตไทยกล่าวไว้ว่า "น้ำเชี่ยวอย่าเอาเรือเข้าไปขวาง"  ทั้งนี้เพราะการกระทำไปขัดจังหวะหรือขัดอารมณ์ของบางคนที่กำลังโกรธอยู่ ก็อาจส่งผลให้คนที่เข้าไปขัดจังหวะเกิดอันตรายได้

อารมณ์โกรธเดือดดาลของคนเป็นเหมือนน้ำที่เชี่ยว ดังนั้นไม่ควรที่จะอยู่ใกล้ เพราะคนนั้นจะควบคุมการกระทำของตนเองไม่ได้ อาจจะทำความเสียหายให้กับตนเองและผู้อื่น ต้องมานั่งเสียใจในภายหลังได้เมื่อทำไปแล้ว

สิ่งที่กล่าวมานั้น ผมกำลังเชื่อมโยงไปถึงเผ่ารูเบน(Reuben) ซึ่งเป็นเผ่าประจำเดือนนี้คือเดือนทัมมุส(Tammuz) ช่วงวันที่ 7 ..- 4 .. 2016 

          เดือน ทัมมุส” คนอิสราเอลตั้งชื่อเดือนตามชื่อเทพเจ้าของบาบิโลน เพื่อเป็นการระลึกว่ารูปเคารพเป็นเหตุให้บ้านเมืองต้องพินาศย่อยยับ” 
เอเสเคียล 8:14-15 
14 แล้วพระองค์ทรงนำข้าพเจ้ามาถึงทางเข้าประตูพระนิเวศของพระเจ้าด้านเหนือ และดูเถิด ที่นั่นมีผู้หญิงหลายคนนั่งร้องไห้อาลัย เจ้าพ่อทัมมุส  (Tammuz) แล้วพระองค์ตรัสกับ ข้าพเจ้าว่า
15 "บุตรแห่งมนุษย์เอ๋ย เจ้าเห็นแล้วหรือ เจ้ายังจะเห็นการลามกยิ่งกว่าสิ่งเหล่านี้อีก

เดือนนี้เราจะมาเรียนรู้จักลักษณะของเผ่ารูเบนด้วยกัน ผมขอตั้งชื่อบทความนี้ว่า "รูเบน(Reuben) - บุตรชายสายน้ำเชี่ยว"  

(หมายเหตุ เรียนรู้จักลักษณะของเผ่าต่างๆประจำเดือนของอิสราเอล สามารถอ่านได้ตาม Link นี้ครับ
  สิงห์แห่งเผ่ายูดาห์ (Lion of Judah),อิสสาคาร์ - ลาที่มีกำลังกล้าหาญ,เศบูลุน-เรือสำเภามุ่งสู่จุดหมาย

เดือนทัมมุสเป็นเดือนที่เชื่อมโยงกับเผ่ารูเบน  รูเบนเป็นบุตรหัวปีของยาโคบ  รูเบนมีศักยภาพความสามารถที่เยี่ยมยอดที่อยู่ในตัวเขา  แต่เพราะว่ารูเบนไม่ได้จัดการกับปัญหาสำคัญที่สุดของเขาที่ควรจัดการ นั่นคือการควบคุมตนเอง  เขาไปทำผิดบาปเรื่องเพศ คือ การร่วมประเวณีกับนางบิลฮาห์ ภรรยาน้อยของยาโคบ พ่อของเขา (ปฐมกาล 35:22) 

ผลคือ ยาโคบโกรธมาก เพราะเขาเป็นลูกคนแรก เป็นความหวังของครอบครัว ยาโคบจึงมอบสิทธิบุตรหัวปีของเขาให้กับยูดาห์แทน  อนาคตของเขาที่สุดยอดแต่การกระทำสุดแย่ทำให้เขาไม่ประสบความสำเร็จ  เมื่อเราดูจากคำเผยพระวจนะของยาโคบที่มาสู่ชีวิตของเขา นั่นคือ เขาเป็นบุตรชายแห่งสายน้ำเชี่ยว ที่เดือดดาลและเอาดีไม่ได้  
  
ปฐมกาล 49:3-4
"รูเบนเอ๋ย เจ้าเป็นบุตรหัวปีของเรา เป็นกำลังและเป็นผลแรกแห่งเรี่ยวแรงของเรา เป็นยอดแห่งความเย่อหยิ่งและยอดของความรุนแรง เจ้าเดือดดาลอย่างน้ำเชี่ยวจึงเป็นยอดไม่ได้ ด้วยเจ้าล่วงเข้าไปถึงที่นอนบิดาของเจ้า เจ้าทำให้ที่นอนนั้นเป็นมลทิน เจ้าล่วงเข้าไปถึงที่นอนของเรา”  

ภาษาฮีบรูของคำว่า เดือดดาล คือ פַּ֫חַז “pachaz ซึ่งมีความหมายว่า เป็นฟอง เป็นเหมือนสายน้ำเชี่ยว(Unstable As Water)ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ ให้ความหมายอีกอย่างคือ การไม่สามารถควบคุมหรืออยู่ในวินัยได้ 

เมื่อเราศึกษาจากประวัติศาสตร์อิสราเอล เดือนแรกคือ เดือนนิสาน  นับจากเทศกาลปัสกา(อพยพ 12) ที่พวกเขาออกจากการเป็นทาสในอียิปต์ เดือนทัมมุสจะเป็นเดือนในลำดับที่ ตามปฏิทินแบบฮีบรู
ทัมมุสเป็นเดือนที่มาพร้อมกับกับดัก  การไม่ระมัดระวังที่จะเฝ้านมัสการและเสาะแสวงหาพระเจ้าในเดือนนี้ ทำให้คนอิสราเอลติดกับดักคือ  "วัวทองคำ"

ในเดือนแรก คือเดือนนิสาน พระเจ้าทรงปลดปล่อยคนอิสราเอลให้เป็นไทจากการกดขี่ที่อียิปต์ พระเจ้าทรงปลดปล่อยพวกเขาให้เป็นอิสระ พวกเขาได้รับการไถ่โดยโลหิตของแกะ ออกจากเงื้อมมือของศัตรู

ในเดือนที่ 2  คือเดือนอิยาร์  พระเจ้าทรงนำคนอิสราเอลเดินผ่านถิ่นทุรกันดารตลอดเส้นทาง พระเจ้าทรงทดสอบ เพื่อเสริมสร้างความเชื่อของพวกเขาและทรงเลี้ยงดูพวกเขา จนมาถึงภูเขาซีนาย

ในเดือนที่ 3 คือเดือนสิวาน   พระเจ้าเสด็จลงมายังยอดเขานั้น เพื่อเยี่ยมเยียนพวกเขา พระองค์ตรัสด้วยพระสุรเสียงที่พวกเขาสามารถได้ยินได้ และได้ประทานบัญญัติ 10 ประการแก่พวกเขาในเทศกาลสัปดาห์(Shavuot)  พระเจ้าทรงเรียกโมเสส ขึ้นไปยังยอดเขาเป็นเวลาถึง 40 วัน พระเจ้าได้ประทานโทราห์(Torah) คำสอนของพระองค์แก่โมเสส แต่ในขณะที่โมเสส กำลังมี ประสบการณ์สุดยอดบนภูเขา นั้น  คนอิสราเอลถูกทิ้งไว้ตามลำพังอยู่ในถิ่นทุรกันดาร 
พวกเขาไม่ชอบถิ่นทุรกันดาร  พวกเขาเต็มไปด้วยความกลัว  พวกเขาไม่ชอบที่ที่พวกเขาอยู่นั้น พวกเขาต้องการพึ่งพาโมเสส ที่จะนำพวกเขาออกไป แต่ทว่า โมเสสหายไปแล้ว แต่พวกเขาต้องการฟื้นความมั่นใจกลับมา  พวกเขาไม่ชอบที่จะไว้วางใจในพระเจ้าที่ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตา พวกเขาต้องการบางสิ่งที่จับต้องได้ เพื่อปกป้องพวกเขา 

ดังนั้นในเดือนที่ 4 คือเดือนทัมมุส  อาโรนจึงได้สร้างวัวทองคำขึ้นมา และนมัสการสิ่งนั้น(อพยพ 32)  

ทัมมุสเป็นเดือนที่คนอิสราเอลได้สร้าง ลูกวัวทองคำ ขึ้นมา พวกเขาได้ลืมพระพรในอดีตที่ผ่านมา ที่พระเจ้าได้ทรงปลดปล่อยคนอิสราเอลออกจากอียิปต์ด้วยหมายสำคัญและการอัศจรรย์ที่ยิ่งใหญ่ในการแหวกทะเลแดงและการจัดสรรมานาในถิ่นทุรกันดาร เพียงเพราะเขาไม่มั่นคงในความเชื่อจึงสร้างรูปเคารพขึ้นมาที่เขาสร้างด้วยมือตนเองและสามารถมองเห็นได้ พวกเขาจำกัดความพระเจ้าของเขาคือรูปปั้นวัวทองคำ

ข้อคิด คือ พระเจ้าทรงเป็นพระเจ้าที่ไม่จำกัดแต่มนุษย์มักจะจำกัดพระเจ้าด้วยความจำกัดในตัวเอง เพียงแค่ความรู้สึกที่มั่นคง มองเห็นและสัมผัสได้

รูเบนก็เช่นกันเขาคิดแต่เพียงความสุขชั่วคราวแต่ไม่คำนึงถึงพระพรแห่งสิทธิบุตรหัวปีของเขา  เขามองเห็นแค่ความสวย ความสาวของบิลฮาห์ จึงไปหลับนอนกับนางโดยไม่คำนึงความถูกผิด และพระพรแห่งสิทธิบุตรหัวปีที่เขาจะได้รับ  เขาคงจะบอกกับตนเองว่า รูเบนก็เป็น "เพียงชายคนนี้ไม่ใช่ผู้วิเศษ" จึงยอม "กินน้ำใต้ศอก" ล่วงเกินเมียของพ่อ แต่สุดท้าย "น้ำตารินตกใน" ต้องเสียใจกับสิ่งที่ทำลงไป 

สิ่งนี้หากเราสังเกตเราจะพบว่ามันคือผลของบาปที่ตกทอดมา เช่นเดียวกับลุงของเขาคือ "เอซาว" แฝดผู้พี่ของพ่อเขาคือยาโคบ ที่ยอมสูญเสียสิทธิบุตรเพียงเพราะเห็นแก่ความสุขชั่วคราว คือ ของแดง(เอโดม) เพราะความหิวของเอซาวจึงยอมแลกสิทธิบุตรหัวปีกับของแดงถ้วยเดียว(อพยพ 25:27-34)

นี่คงเป็นอีกสาเหตุที่ยาโคบโกรธรูเบน บุตรคนหัวปีมาก เพราะเขาคาดหวังกับรูเบนมาก แต่สุดท้ายก็พลาดเช่นเดียวกับพี่ชายของเขาคือเอซาว

เราจะเห็นว่าตระกูลเผ่าของรูเบนก็ไม่ไปถึงเป้าประสงค์ของพระเจ้าในชีวิตของเขา  นั่นคือคานาอัน แต่เขาเห็นแก่ที่ดินที่ดูดีมีความสมบูรณ์ และไม่ยอมข้ามแม่น้ำจอร์แดน มาที่เมืองเยริโคแต่กลับตั้งรกรากในดินแดนนั้น เช่นเดียวกับเผ่ากาดและมนัสเสห์อีกคึ่งเผ่า 
กันดารวิถี 34:13-15 
13 ​โมเสส​บัญชา​คน​อิสราเอล​กล่าว​ว่า “นี่​เป็น​แผ่นดิน​ที่​เจ้า​ทั้ง​หลาย​จะ​จับ​ฉลาก​รับ​เป็น​มรดก ซึ่ง​พระ​ยาห์เวห์ท​รง​บัญชา​ให้​มอบ​แก่​เก้า​เผ่า​กับ​อีก​ครึ่ง​เผ่า​
14 ​เพราะ​ว่า​คน​เผ่า​รู​เบน​ตาม​สกุล คน​เผ่า​กาด​ตาม​สกุล และ​คน​เผ่า​มนัส​เสห์​ครึ่ง​เผ่า​ได้รับ​มรดก​ของ​พวก​เขา​แล้ว​

15 ​ทั้ง​สอง​เผ่า​และ​ครึ่ง​เผ่า​นั้น​ได้รับ​มรดก​ของ​เขา​ทั้ง​หลาย​ที่​ฟาก​แม่น้ำ​จอร์แดน​ด้าน​ตรง​ข้าม​เมือง​เย​รี​โค คือ​ด้าน​ตะวันออก​ทาง​ดวง​อาทิตย์​ขึ้น”​

ในวาระสุดท้ายของท่านโมเสส ก่อนจะสิ้นชีวิต ท่านอวยพรแต่ละเผ่าตามที่บันทึกในพระธรรมเฉลยธรรมบัญญัติ บทที่ 32 ในข้อที่ 6 เป็นคำอวยพรสำหรับเผ่ารูเบน ท่านอวยพรว่า  "ขอให้เผ่ารูเบนดำรงอยู่ อย่าสิ้นสูญ แม้ผู้คนของเขาจะมีจำนวนน้อย"  แปลความหมายคือ  โมเสสพูดถึงเผ่ารูเบนว่า "เผ่ารูเบนจะหมดความสำคัญลงในไม่ช้า" แต่ขอให้เผ่านี่ยังคงอยู่ต่อไป

ข้อคิดจากการศึกษาเผ่ารูเบน เราจะเห็นได้ว่า แม้รูเบนเป็นบุตรหัวปี ผู้ที่จะได้รับพระพรแต่พวกเขาไม่ควบคุมตนเอง จนทำบาปเพียงเพราะเห็นแก่สิ่งที่เป็นการล่อลวง กับดักทำให้พลาดติดกับไปไม่ถึงเป้าหมายที่ควรจะเป็น

รูเบน บุตรชายสายน้ำเชี่ยว แทนที่จะเป็นผู้ใหญ่มั่งคงไม่โลเล แต่กลับพลาดพลั้ง 

พระวจนะของพระเจ้าได้เตือนใจเราให้เราเป็นผู้ใหญ่ในฝ่ายวิญญาณและมั่งคง ไม่ถูกล่อลวงดังนี้

เอเฟซัส 4:14 เพื่อ​เรา​จะ​ไม่​เป็น​เด็ก​อีก‍ต่อ‍ไป ถูก​ซัด​ไป​ซัด​มา​และ​พัด​ไป​พัด​มา​ด้วย​ลม​คำ​สั่ง‍สอน​ทุก‍อย่าง ด้วย​เล่ห์‍กล​ของ​มนุษย์ ตาม​อุบาย​ที่​ฉลาด​ใน​การ​ล่อ‍ลวง

เดือนทัมมุสจึงเป็นช่วงเวลาแห่งการเฝ้าระวังและอธิษฐานกลับใจใหม่จากความผิดบาปที่ทำ

ในช่วงวันที่ 17 เดือนทัมมุส(Tammuz) หรือในภาษาฮีบรู คือ שבעה עשר בתמוז (Shiva Asar B'Tammuz) (ปี 2016 ตรงกับวันที่ 23 ก.ค.) จนถึงวันที่ 9 เดือนอับ(Av) หรือในภาษาฮีบรูคือ תשעה באב Tisha B'Av ) (ปี 2016 ตรงกับวันที่ 13 ส.ค.) เป็นช่วงเวลา 21 วัน ( 7X3 วัน หรือ 3 สัปดาห์) หรือ בין המצרים "Bein ha-Metzarim


สำหรับการไว้ทุกข์ของคนยิว พวกเขาจะมีการอดอาหารอธิฐานเพื่อกลับใจใหม่ กลับมาแสวงหาพระยาห์เวห์ เป็นระลึกถึงช่วงที่บรรพบุรษของพวกเขาหันไปกราบไหว้รูปเคารพ

ในวันที่ 17 เดือนทัมมุส(Tammuz) ในสมัยโมเสส หลังจากที่โมเสสขึ้นไปบนภูเขาซีนาย พวกคนยิวไปกราบไหว้รูปวัวทองคำ เมื่อโมเสสกลับมาจึงได้ขว้างแผ่นพระบัญญัติ 10 ประการ(לוחות -Luchot) แตกด้วยความโกรธเนื่องจากคนอิสราเอลไปกราบไหว้รูปเคารพ


อพยพ 32:19 พอโมเสสเข้ามาใกล้ค่าย ได้เห็นรูปโคหนุ่ม และคนเต้นรำ โทสะของโมเสสก็เดือดพลุ่งขึ้น ท่านโยนแผ่นศิลาทิ้งตกแตกเสียที่เชิงภูเขานั่นเอง


ในวันที่ 17 เดือนทัมมุส ยังมีเหตุการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับอิสราเอลนั่นคือ  มีการถวายเครื่องบูชาที่เป็นมลทินในพระวิหาร   พวกบาบิโลนมาล้อมกรุงเยรูซาเล็ม กำแพงกรุงเยรูซาเล็มถูกทำลาย ก่อนที่พระวิหารหลังแรกจะถูกทำลายในวันที่ 9 เดือนอับ (ยรม.32:2)


แม่ทัพของโรมัน ชื่อว่า อโพสโตมัส (Apostomus) ได้เผาทำลายหนังสือพระบัญญัติ (Torah scroll)

สำหรับในวันที่ 9 เดือนอับ(Av) หรือ Tisha B'Av เป็นวันที่มีเหตุการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับอิสราเอล 
นั่นคือ พระวิหารหลังแรกถูกทำลายในปี 587 ก่อนคริสตศักราช และพระวิหารหลังที่ 2 ถูกทำลาย
ในปี ค.ศ.70
จากเหตุการณ์พระวิหารหลังที่ 2 ในปี ค.ศ. 70 ทำให้คนยิวกระจัดกระจายไปทั่วโลก
และพวกเขาถูกลบหายไปจากแผนที่โลก และภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาที่ตายไปแล้ว
แต่เมื่อพวกเขากลับใจใหม่หันมาแสวงหาพระยาห์เวห์ พระองค์ทรงพระเมตตาและนำพวกเขา
กลับมารวมเป็นประเทศอีกครั้งใน ปีค.ศ. 1948 และสำเร็จตามถ้อยคำเผยพระวจนะ 

เอเสเคียล 36:24 “เพราะว่าเราจะเอาเจ้าออกมาจากท่ามกลาง ประชาชาติและรวบรวมเจ้ามาจากทุกประเทศ และนำเจ้าเข้ามาในแผ่นดินของเจ้าเอง”


 ในเดือนทัมมุสนี้ จงเรียนรู้จากชีวิตของรูเบน    พระเจ้ามีลิขิตชีวิต (destiny)ให้กับรูเบน แต่กระนั้น รูเบนได้ทำให้อนาคตของตนสูญสลายไปผ่านวัวทองคำ 

 พระเจ้ามีลิขิตชีวิตที่เยี่ยมยอดให้กับเรา เช่นเดียวกัน


เยเรมีย์  29:11 พระเจ้าตรัสว่า เพราะเรารู้แผนงานที่เรามีไว้สำหรับเจ้า เป็นแผนงานเพื่อสวัสดิภาพ ไม่ใช่เพื่อทุกขภาพ เพื่อจะให้อนาคตและความหวังใจแก่เจ้า

ในเดือนทัมมุสนี้  อย่าให้เราถูกยั่วยวนใจ ด้วยสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกดี ณ ตอนนี้ เพียงแค่นั้น อย่ายอมรับเอาวัวทองคำเข้ามา  แต่จงจดจ่อสายตาอยู่ที่รางวัลที่จะได้รับจากพระเจ้า 
อัครทูตเปาโลได้เขียนจดหมายเตือนใจผู้เชื่อให้รู้จักควบคุมตนเอง(self controlและฝึกระเบียบวินัย (discipline bodyเหมือนนักกีฬาเพื่อจะได้รับชัยชนะไปสู่เส้นชัย
1 โครินธ์ 9 :24-25  
24ท่านไม่รู้หรือว่าคนเหล่านั้นที่วิ่งแข่งกันก็วิ่งด้วยกันทุกคน แต่คนที่ได้รับรางวัลมีคนเดียว
25“ฝ่ายนักกีฬาทุกคนก็เคร่งครัดในระเบียบ  ทุกอย่าง แต่ข้าพเจ้าก็ทุบตีร่างกายให้มันแข็งจนอยู่มือ เพราะเกรงว่าตัวข้าพเจ้าเองจะเป็นคนที่ใช้การไม่ได้

เดือนนี้ จงร้องขอต่อพระเจ้า ที่เราจะโน้มตัว บากบั่นต่อไปเพื่อจะชิงรางวัลให้ได้  จงเสาะแสวงหาพระเจ้า และหลีกเสียจากหลุมพราง กับดักวัวทองคำ จงจดจ่อสายตาอยู่ที่รางวัลและมีชัยชนะ
อย่าเป็นอย่างรูเบน บุตรชายสายน้ำเชี่ยว ที่สุดท้ายคว้าน้ำเหลว ไม่ประสบความสำเร็จ

ขอพระเจ้าอวยพระพรครับ พบกับใหม่เดือนหน้าเดือนอับ(Av) เดือนแห่งเผ่าสิเมโอน

25 กรกฎาคม 2559

วิธีการเชื่อมต่อกับอิสราเอล( ตอนที่ 3 )

วิธีการเชื่อมต่อกับอิสราเอล (ตอนที่3)How to Connect with Israel? (Part 3) 
โดย แอเรียล บลูเมนเธล(Ariel Blumenthal)

ในวิธีการเชื่อมต่อกับอิสราเอล ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 เราได้ดูที่คำจำกัดความตามพระคัมภีร์ถึงอิสราเอล (ประชาชน ประเทศชาติ ผู้ที่เหลืออยู่) (People, Nation, Remnant) และวิธีที่คริสเตียนเชื่อมต่อกับอิสราเอลในยุคของเรา

เราพบว่าตามพระธรรมโรมบทที่11 และเอเฟซัส บทที่ 2 และ 3 ความสัมพันธ์นี้ระหว่างยิวและชาวต่างชาติ อิสราเอลและประชาชาติ มีพระสัญญาที่นำความบริบูรณ์มาสู่แผนการของพระเจ้าสำหรับการฟื้นฟู การฟื้นคืนสภาพ และการเสด็จกลับมาครั้งที่ 2 ของพระเยซู

ในตอนที่ 2 เราได้ดูวิธีการเชื่อมต่อที่ดีแต่พลาดไปจากความบริบูรณ์ แล้วเราจะไปถึงความบริบูรณ์นี้ได้อย่างไร โฉมหน้าของความบริบูรณ์สามารถเป็นเช่นไรในยุคของเรา
ก่อนอื่นหากเรากำลังมองหาความบริบูรณ์ในการเชื่อมต่อหรือการ “ต่อกิ่ง(grafting in)” สมบูรณ์ แน่นอนว่าสิ่งนี้ควรจะเกิดจากการเชื่อมต่อกับ “อิสราเอล” ซึ่งตรงต่อลักษณทั้ง 3 ประการตามพระวจนะ แต่ดีที่ว่าในช่วงยุคของเราสามารถพบกับชาวยิวกลุ่มนี้ –  ก็คือผู้ที่เหลืออยู่ซึ่งเป็นยิวผู้เชื่อในพระคริสต์(Messianic Jewish) ชาวอิสราเอล พวกเขาก็คือชาวยิว (ประชาชน) ชาวอิสราเอล (ประเทศชาติ) และผู้บังเกิดใหม่ซึ่งได้รับตราประทับโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นผู้ที่เหลืออยู่ในอิสราเอล 

ตามที่อัครทูตเปาโลกล่าวไว้ในพระธรรมโรม บทที่11 นี่คือยิวกลุ่มที่ถือมัดจำเต็มจำนวนตามพันธสัญญาและพระสัญญาพระเจ้าต่ออิสราเอลทั้งในฝ่ายร่างกายและฝ่ายวิญญาณ (11:1-15)
เชือกสามเกลียว (Three Strand Cord)
ในพระธรรมเอเฟซัส อัครทูตเปาโลอธิบายถึงความล้ำลึกแห่งการคืนดีและความเป็นหนึ่งเดียวของยิวและชาวต่างชาติร่วมกันในพระกายของพระเมสสิยาห์เป็น “คนใหม่คนเดียว(One New Man) โดยกล่าวว่า “ความล้ำลึกของพระคริสต์(mystery of Christ)

ในเรื่องนี้ไม่ได้ถูกทำให้กระจ่างแก่บรรดาผู้เผยพระวจนะในชั่วอายุก่อนเพราะสิ่งนี้กำลังถูกเปิดเผยสำแดงในยุคของอัครทูตเปาโลเอง (2:14-16; 3:1-6)  เราก็สามารถกล่าวถึงยุคของเราเช่นนั้นได้เหมือนกัน จาก 3 สิ่งที่เราเห็นว่าได้ทำให้ความล้ำลึกนี้ไปสู่ความชัดเจนที่กระจ่างแจ้งกว่าในศตวรรษแรก
          1) กลุ่มคริสเตียนผู้เชื่อที่เหลืออยู่ ท่ามกลางเกือบทุกเผ่า ภาษาและชนชาติบนโลก
          2) ประเทศชาติของชาวยิวที่ฟื้นสภาพและมีเอกราช (มีกรุงเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวง) หลังจากการที่เค้าพลัดถิ่นไปเป็นเชลยมาเกือบ 2000 ปี
          3) การฟื้นคืนของผู้ที่เหลืออยู่ ผู้เชื่อในพระเยซูภายในประเทศอิสราเอล
พระคัมภีร์มีพระสัญญาไว้ว่าเมื่อคริสตจักรจากบรรดาประชาชาติมองเห็นตนเองว่า “ถูกต่อกิ่ง” ในตำแหน่งที่ถูกต้องเข้ากับผู้ที่เหลืออยู่ชาวอิสราเอล และเมื่อผู้ที่เหลืออยู่ชาวอิสราเอลก็เห็นว่าเค้า พร้อมกับผู้ที่เหลืออยู่จากทุกชนชาติรวมกันนั้นเป็น “ทายาทร่วม เป็นพระกายเดียว และผู้ร่วมรับพันธสัญญา/พระสัญญาเดียวกัน” (co-heirs, one Body, and partakers of the same covenants/promises) เมื่อนั้น เราทั้งหมดถึงจะถูกจัดวางร่วมกันสำหรับความบริบูรณ์ในยุคสุดท้าย - การฟื้นฟู การฟื้นคืนสภาพ และการเสด็จกลับมาครั้งที่ 2 (รม.11:11-15 ,อฟ.3:6) 
คุณพร้อมหรือไม่ สิ่งนี้กำลังเกิดขึ้นแล้วด้วยวิธีการต่างๆนี้
          1) คำสอน(Teaching) : เราจำเป็นต้องมีการเปิดเผยสำแดงในเรื่องเหล่านี้ ซึ่งมาทางพระวจนะและพระวิญญาณ เราต้องให้ความสำคัญต่อคำเตือนของเปาโลและไม่ “เพิกเฉย” ต่อความล้ำลึกนี้ (รม11:25)
          2) ความสัมพันธ์ (Relationshipเราได้แห็นการสามัคคีธรรมที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างผู้นำของกลุ่มเมสสิยานิคยิวกับผู้นำคริสตจักรจากทั่วโลก “คนใหม่คนเดียว”ไม่ได้หมายถึงว่าผู้เชื่อชาวยิวและผู้เชื่อทุกคนจะมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นต่อกัน - ผู้เชื่อชาวยิวมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับคริสเตียนจำนวนมากทั่วโลกจึงไม่สามารถทำให้สิ่งนี้เป็นไปได้ บทบาทของผู้นำในพระกายพระคริสต์จึงเป็นหัวใจสำคัญ เมื่อผู้นำทั้งหลายซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้เชื่อมาร่วมกันในการอธิษฐาน สร้างความไว้วางใจ และความสัมพันธ์ คริสตจักรที่เป็นคนใหม่คนเดียวระดับนานาชาติจึงจะเกิดขึ้นจริงได้
          3) การให้ความร่วมมือ(Cooperation) เมื่อความสัมพันธ์พัฒนา เราเริ่มเห็นการร่วมมือกันในการประชุมอธิษฐานและนมัสการ การประกาศข่าวประเสริฐ สื่อต่างๆ ฯลฯ
          4) ภาครัฐ (Government) หัวข้อสุดท้ายนี้จำเป็นต้องมีบทความแยกเป็นอีกหัวข้อหลักได้เลย แต่เราเชื่อว่าในทุกวันนี้พระเจ้ากำลังรื้อฟื้นความบริบูรณ์ในการขับเคลื่อนแบบอัครทูต ผู้เผยพระวจนะ และนำการปกครองฝ่ายวิญญาณกลับมาสู่ประชากรของพระองค์ แต่ความบริบูรณ์ของการรื้อฟื้นนี้ขึ้นอยู่กับการเชิ่มต่อร่วมกับความบริบูรณ์ของการฟื้นสภาพคนใหม่คนเดียวในความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและประชาชาติในพระคริสต์
ข้อมูลจาก http://reviveisrael.org 

19 กรกฎาคม 2559

บทเรียนจากต้นมะกอก(Olive tree)

บทเรียนจากต้นมะกอก โดย อาเชอร์ อินเทรเตอร์(Asher Intrater)

เรือโนอาห์ น้ำมันแห่งการเจิม สวนเกทเสมนี การเสด็จมาครั้งที่2 และการคืนดีของอิสราเอลและคริสตจักร ทั้งหมดนี้ มีอะไรที่เหมือนกัน ? คำตอบ คือมันถูกอธิบายโดยภาพของ ต้นมะกอก
หลังจากน้ำท่วม โนอาห์ส่งนกพิราบลงไปโฉบหาแผ่นดินที่จะเข้าอยู่อาศัย เมื่อนกพิราบคาบกิ่งมะกอกบินกลับมา โนอาห์และครอบครัวก็รู้ว่าทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว   
เมื่อ​เวลา​เย็น​นก‍พิราบ​ก็​กลับ‍มา‍หา​โน‌อาห์ และ​คาบ​ใบ​มะกอก​เขียว‍สด​มา​ด้วย โน‌อาห์​จึง​รู้​ว่า​น้ำ​ลด​จาก​ แผ่น‍ดิน​แล้ว(ปฐมกาล 8:11)
จากเหตุการณ์นั้น ภาพของนกพิราบและกิ่งมะกอกได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของความหวังในสันติภาพ ตลอดทั้งพระคัมภีร์ พูดถึงความหวังในอาณาจักรของพระเมสสิยาห์ที่จะมาในอนาคต ด้วยสันติสุขท่ามกลางบรรดาประชาชาติ 
พระ‍องค์​จะ​ทรง​วินิจ‌ฉัย​ระหว่าง​ประ‌ชา‍ชาติ​ทั้ง‍หลาย และ​จะ​ทรง​ตัด‍สิน​ความ​ให้​ชน‍ชาติ​จำ‌นวน​มาก และ​พวก‍เขา​จะ​ตี​ดาบ​ของ​เขา​ให้​เป็น​ผาล​ไถ‍นา และ​หอก​ของ​เขา‍ทั้ง‍หลาย​ให้​เป็น​ขอ‍ลิด​แขนง ประ‌ชา‍ชาติ​จะ​ไม่​ยก​ดาบ​ขึ้น​ต่อ‍สู้​กัน และ​เขา​จะ​ไม่​ศึกษา​ยุทธ‌ศาสตร์​อีก‍ต่อ‍ไป การ​พิพาก‌ษา​คน‍เย่อ‍หยิ่ง (อิสยาห์ 2:4) 
เราก็ยึดถือนิมิตคำพยากรณ์นั้นเช่นเดียวกับที่นกพิราบคาบกิ่งมะกอกไว้
ในพลับพลา มีน้ำมันอยู่ 2 ชนิด หนึ่งคือเพื่อให้แสงสว่าง อีกหนึ่งคือเพื่อการเจิม (อพยพ 25:6) 
น้ำมันเล็งถึงการทรงสถิตของพระวิญญาณบริสุทธิ์ เพื่อการเปิดเผยสำแดง และสติปัญญา (แสงสว่าง) เพื่อการเยียวยารักษาและฤทธิ์เดช (การเจิม) ชนิดของน้ำมันที่นำมาใช้ในการให้แสงสว่างและการเจิมในพระคัมภีร์นั้นคือน้ำมันมะกอก มันถูกใช้ในการจุดคันประทีป(ภาษาฮีบรูคือเมโนราห์)ในพลับพลา และเพื่อเจิมตั้งกษัตริย์ในการปกครอง, การเยี่ยวยาผู้เจ็บป่วยและเพื่อชำระปุโรหิตให้บริสุทธิ์
หนึ่งในคำอธิษฐานที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาลคือ การทูลอ้อนวอนของเยชูวาห์ (พระเยซูคริสต์ในภาษาฮีบรูในสวนเกทเสมนี มาจากคำในภาษาฮีบรู gat -  גת  หมายถึง การบีบ อัด เค้น  shemen –   שמן หมายถึง น้ำมัน เกทเสมนีก็คือสถานที่ที่ลูกมะกอกถูกบีบคั้นจนออกมาเป็นน้ำมัน และสวนเกทเสมนีตั้งอยู่ที่ใด บนภูเขามะกอกเทศ เยชูวาห์อธิษฐานในสวนต้นมะกอก 
อย่าให้เป็นตามใจของข้าพระองค์ แต่ขอให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์มัทธิว 26:39 
นี่คือคำอธิษฐานที่แสดงให้เห็นถึงการอุทิศตัวและการเชื่อฟังอย่างหมดใจ  การเจิมโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่แท้จริงมาจากการยอมอุทิศชีวิตและการเชื่อฟังเช่นนั้นล่ะ
คือภูเขามะกอกเทศลูกนี้แหละ ทางตะวันออกของเยรูซาเล็ม ที่เยชูวาห์จะเสด็จกลับมา พระบาทของพระองค์จะประทับที่ภูเขามะกอกเทศ เมื่อพระองค์นำทัพเหล่าทูตสวรรค์ต่อสู้กับกองทัพของโลกที่จะมาโจมตีกรุงเยรูซาเล็ม
ใน​วัน‍นั้น พระ‍บาท​ของ​พระ‍องค์​จะ​ทรง​ยืน​อยู่​ที่​ภูเขา​มะกอก‍เทศ ซึ่ง​อยู่​หน้า​กรุง‍เย‌รู‌ซา‌เล็ม​ด้าน‍ตะ‌วัน‍ออก และ​ภูเขา​มะกอก‍เทศ​นั้น​จะ​แยก​ออก​เป็น 2 ส่วน จาก​ทิศ​ตะ‌วัน‍ออก​ไป​ทิศ​ตะ‌วัน‍ตก โดย​มี​หุบ‍เขา​กว้าง​มาก​คั่น​อยู่ ภูเขา​กึ่ง‍หนึ่ง​จึง​จะ​ถอย​ไป​ทาง​เหนือ และ​อีก​กึ่ง‍หนึ่ง​จะ​ถอย​ไป​ทาง​ใต้(เศคาริยาห์ 14:2-4) 
นั่นคือเหตุผลที่ทำไมเยชูวาห์จึงสั่งสอนเกี่ยวกับเรื่องยุคสุดท้าย พยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆในอนาคตในขณะที่นั่งอยู่บนภูเขามะกอกเทศ 
ระหว่าง​ที่​พระ‍เยซู​ประ‌ทับ​บน​ภูเขา​มะกอก‍เทศ สาวก​ทั้ง‍หลาย​มา​เฝ้า​เป็น​ส่วน‍ตัว​กราบ‍ทูล​ว่า “ขอ​โปรด​ให้​พวก‍ข้า‍พระ‍องค์​ทราบ​ว่า​เหตุ‍การณ์​เหล่า‍นี้​เกิด‍ขึ้น​เมื่อ‍ไหร่? และ​อะไร​เป็น​หมาย‍สำคัญ​ว่า​พระ‍องค์​จะ​เสด็จ​มา​และ​ยุค​เก่า​จะ​สิ้น‍สุด​ลง?” (มัทธิว 24:3) 
เยชูวาห์จะเสด็จกลับมาอีกครั้งเพื่อสถาปนาแผ่นดินแห่งสันติสุข ตามที่โนอาห์และครอบครัวของเขาได้มีความหวังใจไว้แต่ต้น
ในโรม บทที่ 11 เปาโลอธิบายภาพความบริบูรณ์ของอิสราเอลและคริสตจักร ความสำคัญของผู้เชื่อในพระเมสสิยาห์ที่เหลืออยู่ที่ได้รับการฟื้นฟูในยุคสุดท้าย ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนยิวและคนต่างชาติโดยทางความเชื่อ เราถูกเปรียบกับภาพกิ่งที่ถูกทาบเข้ากับต้นมะกอกแห่งความเชื่อในพันธสัญญาของพระเจ้า 
17แต่​ถ้า​บาง‍กิ่ง​ถูก​หัก​ออก​เสีย​แล้ว และ​พระ‍เจ้า​ทรง​นำ​ท่าน​ผู้​เป็น​กิ่ง‍มะกอก‍ป่า​มา​ต่อ‍กิ่ง​ไว้​แทน​กิ่ง​เหล่า‍นั้น เพื่อ​ให้​เข้า​เป็น​ส่วน​ได้​รับ​น้ำ‍เลี้ยง​จาก​ราก​ต้น‍มะกอก 
18ก็​อย่า​อวด‍ดี​ต่อ​กิ่ง​เหล่า‍นั้น ถ้า​ท่าน​อวด‍ดี ก็​อย่า​ลืม​ว่า​ท่าน​ไม่‍ได้​เลี้ยง​ราก​นั้น แต่​ราก​ต่าง‍หาก​เลี้ยง​ท่าน
19ท่าน​อาจ​จะ​แย้ง​ว่า “กิ่ง​เหล่า‍นั้น​ถูก​หัก​ออก​เสีย​แล้ว​ก็​เพื่อ​ข้า​จะ​ถูก​ต่อ​เข้า​แทน​ที่” 
20ถูก​แล้ว พวก‍เขา​ถูก​หัก​ออก ก็​เพราะ​เขา​ไม่​เชื่อ แต่​ที่​ท่าน​อยู่​ได้​ก็​เพราะ​ความ​เชื่อ​เท่า‍นั้น อย่า​เย่อ‍หยิ่ง​ไป​เลย​แต่​จง​เกรง‍กลัว 
21เพราะ‍ว่า​เมื่อ​พระ‍องค์​ไม่‍ได้​ทรง​หวง​กิ่ง​เหล่า‍นั้น​ที่​เป็น​กิ่ง​เดิม พระ‍องค์​ก็​จะ​ไม่​ทรง​หวง​ท่าน​เหมือน‍กัน 
22เพราะ‍ฉะนั้น​จง​พิจาร‌ณา‍ดู​ทั้ง​พระ‍กรุณา​และ​ความ​เข้ม‍งวด​ของ​พระ‍เจ้า คือ​พระ‍องค์​ทรง​เข้ม‍งวด​กับ​คน​เหล่า‍นั้น​ที่​หลง‍ผิด​ไป แต่​พระ‍องค์​ทรง​พระ‍กรุณา​ท่าน ถ้า​ว่า​ท่าน​จะ​ดำรง​อยู่​ใน​พระ‍กรุณา​นั้น​ต่อ‍ไป มิ‍ฉะนั้น​ก็​จะ​ทรง​ตัด​ท่าน​ออก​เสีย​ด้วย 
23ส่วน​พวก​อิสรา‌เอล ถ้า​เขา​ไม่​ดึง‍ดัน​อยู่​ใน​ความ​ไม่​เชื่อ เขา​ก็​จะ​ถูก​ต่อ​เข้า​ไป​ใหม่ เพราะ‍ว่า​พระ‍เจ้า​ทรง​สามารถ​ที่​จะ​ต่อ​เข้า​อีก​ได้ 
24เพราะ‍ว่า​ถ้า​พระ‍เจ้า​ทรง​ตัด​ท่าน​ออก​จาก​ต้น‍มะกอก‍ป่า ซึ่ง​เป็น​ต้น‍ไม้‍ป่า​ตาม​ธรรม‍ชาติ และ​ทรง​นำ​มา​ต่อ​กับ​ต้น‍มะกอก​พันธุ์​ดี ซึ่ง​ผิด​ธรรม‍ชาติ​ของ​มัน​แล้ว การ​ที่​จะ​เอา​กิ่ง​เหล่า‍นั้น ซึ่ง​เป็น​กิ่ง​เดิม​มา​ต่อ​เข้า​กับ​ต้น​ของ​มัน​เอง ก็​จะ​ง่าย​ยิ่ง‍กว่า‍นั้น​สัก‍เท่า‍ไร  
25พี่‍น้อง​ทั้ง‍หลาย ข้าพ‌เจ้า​เกรง‍ว่า​ท่าน​จะ​อวด‍รู้ จึง​อยาก​ให้​ท่าน​เข้า‍ใจ​ข้อ‍ความ​อัน​ล้ำ‍ลึก​นี้ คือ​ส่วน‍หนึ่ง​ของ​ชน‍ชาติ​อิสรา‌เอล​มี​ใจ‍แข็ง‍กระ‌ด้าง​ไป จน‍กระ‌ทั่ง​พวก​ต่าง‍ชาติ​ได้​เข้า‍มา​ครบ​จำ‌นวน 
26และ​เมื่อ​เป็น​ดัง‍นั้น อิสรา‌เอล​ทั้ง‍ชาติ​ก็​จะ​ได้​รับ​ความ​รอด ตาม​ที่​มี​คำ‍เขียน​ไว้​ใน​พระ‍คัมภีร์​ว่า “พระ‍ผู้‍ช่วย‍กู้‍ชีวิต​จะ​เสด็จ​มา​จาก​ศิ‌โยน และ​จะ​ทรง​กำ‍จัด​อธรรม​ให้​สูญ‍สิ้น‍ไป​จาก​ยา‌โคบ  
(โรม 11:17-26) 
คุณและผมต่างได้รับสิทธิพิเศษและโอกาสสำคัญที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการเติมเต็มภาพนิมิตพยากรณ์นี้


ขอบคุณข้อมูลจาก http://reviveisrael.org

(สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมในเรื่อง "บทเรียนจากต้นมะเดื่อสอนใจ")

14 กรกฎาคม 2559

วิธีการเชื่อมต่อกับอิสราเอล (ตอนที่ 2)

วิธีการเชื่อมต่อกับอิสราเอล (ตอนที่ 2)How to Connect with Israel? (Part 2)
 โดย แอเรียล บลูเมนทัล (Ariel Blumenthal)



ในตอนที่ เราเรียนรู้จากพระคัมภีร์ว่า "อิสราเอล" สามารถหมายถึง: 
ก) ผู้สืบเชื้อสายทางกายภาพของอับราฮัม อิสอัค และยาโคบ--คือชนชาติยิว 
ข) ประเทศยิวในพื้นแผ่นดินนั้น 
ค) ผู้เชื่อในเยชูวาห์(พระเยซูคริสต์ในภาษาฮีบรู)ที่เหลืออยู่-- ทั้งยิวและคนต่างชาติด้วยกัน

คำ อุปมาเรื่องต้นมะกอกเทศในโรม11 ต้องการให้คริสเตียนทั้งหลายได้เห็นภาพของพวกเขาเองที่ได้ ถูกต่อกิ่ง”  (พันธสัญญาที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน) กับอิสราเอลซึ่งมีผลกับความบริบูรณ์เต็มขนาดของทั้งสามมิติของอิสราเอลตามพระคัมภีร์  นี่คือสูตรสำเร็จของพระเจ้าเพื่อนำมาซึ่ง "ความบริบูรณ์เต็มขนาดของคนต่างชาติ/ประชาชาติ"  "อิสราเอลทั้งหมดได้รับความรอด" และการเสด็จมาครั้งที่2 ของเยชูวาห์ (โรม 11:25-26)
ก่อนที่พวกเรา เรียนรู้ว่า "การต่อกิ่ง" อย่างสมบูรณ์จะเป็นเช่นไรในยุคของเรา   ผมอยากให้ดูว่า คริสเตียนที่เชื่อมต่อกับอิสราเอลในหลายๆทางนั่นเป็นสิ่งที่ดี  แต่กลับหยุดชะงักก่อนสู่ความบริบูรณ์เต็มขนาดที่เรากำลังแสวงหา

1)  ก + ข โดยไม่มี ค  -- เป็นการเชื่อมต่อกับอิสราเอลหรือชาวยิว  นอกความเชื่อตามพระคัมภีร์

หลายๆ ยุคสมัยล่าสุดที่ผ่านมา  คริสเตียนมากมายได้มองเห็นอิสราเอลเป็นส่วนเติมเต็มของคำเผยพระวจนะมากมายในพระ คัมภีร์เกี่ยวกับการรวบรวมคนยิวและการรื้อฟื้นประเทศของ  หลังจากการข่มเหงชาวยิวตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา คริสเตียนได้ยอมรับคำสั่งตามพระคัมภีร์ที่จะ ยั่วยุ ชาวยิวผู้ไม่เชื่อด้วยความรัก ให้อิจฉา” (โรม11:12)  มีคนมากมายนำทัวร์ไปอิสราเอล เยี่ยมชม IDF(Israel Defense Force คือหน่วยป้องกันประเทศอิสราเอล) พบกับนักการเมือง รับบี(อาจาร์ยสอนศาสนายิว) และอื่น ๆ  คนอื่นๆ ก็บริจาคเงิน หรือ ปลูกต้นไม้เพื่อช่วยประเทศ และคนมากมายยืนหยัดเคียงข้างการเมืองอิสราเอลอย่างเข็มแข็ง  สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดีทั้งสิ้น แต่อาจพลาดเป้าความหมายในข้อ ค อย่างสิ้นเชิงอิสราเอลที่เป็นอิสราเอลที่เป็นผู้เชื่อ  ผู้เชื่อฝ่ายวิญญาณที่เป็นชาวอิสราเอลผู้เชื่อในพระเยซูคริสต์ที่เหลืออยู่
โรม 9:6 และ 11:17-18 บอกเราว่า ไม่ใช่อิสราเอลทุกคนเป็นอิสราเอลที่แท้จริง  ถ้าการเชื่อมต่อในเบื้องต้นของเรา  คือการต่อเข้ากับกิ่งของต้นมะกอกเทศ  เป็นการต่อกับชาวยิวส่วนใหญ่ที่ยังไม่ได้รับความรอด นั่นหมายถึงเรากำลังต่อเข้ากับกิ่งส่วนใหญ่ที่ถูกตัดออกจากต้น(อย่างน้อยในสถานการณ์ขณะนี้)!  นั่นไม่ใช่สูตรที่ดีสำหรับ การมีส่วนกับรากที่สมบูรณ์ของต้นมะกอกเทศ!!”  มันเป็นไปไม่ได้ที่จะได้รับพระพรและรับการหล่อเลี้ยงจากรากถ้าคุณกำลังต่อเข้ากับกิ่งซึ่งไม่ได้แม้เชื่อมต่อกับต้นเลย! ความผิดพลาดนี้สามารถให้อภัยในยุคสมัยที่ผ่านมา เมื่อผู้เชื่อที่เหลืออยู่ในอิสราเอลเป็นกลุ่มเล็กมากจนเรียกได้ว่าสาบสูญไปเลย  แต่ทุกวันนี้ ประเทศอิสราเอล มีประสบการณ์การฟื้นฟูฝ่ายวิญญาณและกลุ่มผู้สัตย์ซื่อต่อเยชูวาห์ที่ยังคงเหลืออยู่ ผู้ซึ่งกำลังเติบโต และก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ นี่จึงเป็นเวลาสำหรับความเต็มบริบูรณ์ของต้นมะกอกเทศจะต่อเข้ากันในความสัมพันธ์ของกันและกัน

2) โทราห์(พระคัมภีร์เดิม 5 เล่มแรก) สอนความหมายของคำว่า ราก ในภาษายิวหรือฮีบรู

ทุกวันนี้  มีการสอนที่นิยมกันมากเกี่ยวกับคำว่า  “รากจากชาวยิว ในเรื่องความเชื่อ  มีการเรียนเกี่ยวกับเบื้องหลังของพระวจนะในบริบทฮีบรู วัฒนธรรมยิว เทศกาลต่างๆ และอื่นๆ  ซึ่งก็เป็นประโยชน์ได้เช่นกัน--ตราบเท่าที่มันจะ ไม่ทำให้เข้าใจว่าเราต้องปฏิบัติเพื่อให้ได้รับประโยชน์ฝ่ายวิญญาณ เพราะเราได้รับแล้วในพระเมสสิยาห์ การเชื่อมต่อกับธรรมบัญญัติและวัฒนธรรมของบุคคลคนหนึ่ง มันแตกต่างจากการเชื่อมต่อในความสัมพันธ์กับคนเหล่านั้นอย่างแท้จริง   ลองคิดแบบนี้ดู เช่น การออกไปกินที่ร้านอาหารซูชิเป็นประจำอาจช่วยคุณให้ชื่นชมอาหารญี่ปุ่น  แต่มันไม่ช่วยให้คุณเชื่อมต่อกับความจริงของการเป็นญี่ปุ่น  แน่นอน การชื่นชมในอาหารประจำชาติ หรือการเรียนรู้ภาษา และประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น สามารถช่วยให้เรามีความสัมพันธ์ที่ลึกขึ้นกับคนญี่ปุ่น --แต่เราไม่ควรเข้าใจผิดว่าเป็นความสัมพันธ์ที่แท้จริง
ต้นมะกอกเทศในโรม11 คือ ต้นไม้มนุษย์ ไม่ใช่ ต้นไม้แบบ คำสอนหรือหลักการของโทราห์(พันธสัญญาเดิม 5 เล่มแรก)  ตามที่เปาโลได้กล่าวไว้ รากของต้นไม้(บุคคลแห่งพันธสัญญาของพระเจ้า) จำต้องถูกระบุลักษณะด้วยความเชื่อและพระสัญญาตามอย่างอับราฮัม มากกว่าด้วยการอิงหลักปฎิบัติทางศาสนาตามโทราห์ที่นำมาตีกรอบเอกลักษณ์ของชาวยิว(กท4-5; รม10:4) ในบริบท เป้าหมายทั้งหมดของเปาโลเป็นเรื่องความสัมพันธ์ที่ถูกต้องกับผู้อื่นในต้นไม้  ไม่ใช่การรักษาวันสะบาโตหรือเทศกาลต่างๆ

ต้นไม้ ของประชากรของพระเจ้านี้ ก็เหมือนรุ้งกินน้ำตัวหนึ่ง  แสดงถึงความหลากหลายอย่างไม่น่าเชื่อของความโดดเด่นของวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของบรรดาประชาชาติ  ซึ่งยอห์นสามารถเห็นและรับรู้ได้ในนิมิตของท่าน (วว7:9)   “การเชื่อมต่อ หรือ การต่อเข้ากับ อิสราเอลด้วยวิธีผิดๆ ผ่านการสอนเรื่อง รากจากชาวยิว  แท้จริงสามารถถือว่าเป็นการหลอกลวงที่มโหฬารได้:  บางท่านอาจพบว่าเขาดำเนินชีวิตหรือปฏิบัติตัวแบบ ยิว หรือแบบพระคัมภีร์”  แต่ถ้าไม่มีการเชื่อมต่อตามพระคัมภีร์กับอิสราเอล ไม่ว่าจะตามข้อ ก, ข หรือ ค ในที่สุด เขาจะถูกนำไปสู่ความมุ่งมั่นที่ไม่ดีอย่างยิ่งในรายละเอียดของการปฏิบัติศาสนาและเอกลักษณ์ที่ตนคิดเอง และแม้กระทั่งถูกหลอกในความคิดว่าตนเองมีสายเลือดของยิวหรือชาวอิสราเอล (วว3:9)


12 กรกฎาคม 2559

วิธีการเชื่อมต่อกับอิสราเอล (ตอนที่1)

วิธีการเชื่อมต่อกับอิสราเอล (ตอนที่1)  How to Connect with Israel? (Part 1)
โดย แอเรียล บลูเมนเธล (Ariel Blumenthal)


ในฐานะคริสเตียน เราจะเกี่ยวข้องกับอิสราเอลได้อย่างไร? เราจะเชื่อมต่อกับเธออย่างไร? ในโรม 11:17-24 เปาโลเปรียบเทียบเป็นภาพให้เห็นชัดเจนถึงการทาบกิ่งเข้ากับต้นมะกอกแห่งครอบครัวพันธสัญญาของพระเจ้า เพื่อให้เข้าใจคำสอนนี้อย่างสมบูรณ์ เราต้องเข้าใจก่อนว่าในทางหลักพระคัมภีร์ "อิสราเอล" มีความหมายอยู่ ใน 3 ระดับ



ก. ประชาชนชาวยิว:

"อิสราเอล"(เจ้าชายของพระเจ้า) ได้ปรากฎขึ้นครั้งแรก โดยเป็นชื่อที่พระเจ้าได้มอบให้แก่ยาโคบ หลังจากการปล้ำสู้กับทูตของพระเจ้าที่โด่งดังในปฐมกาล 22 ในขั้นพื้นฐานนี้ "อิสราเอล" มีความหมายคือเป็นชื่อที่มอบให้กับต้นตระกูลที่ยิ่งใหญ่ของเผ่าทั้ง 12 ของอิสราเอล และบรรดาลูกหลานของเขา โดยพันธสัญญา พระเจ้าสำแดงพระองค์ในฐานะ "พระเจ้าของอับราฮัม อิสอัค และยาโคบ พระเจ้าของอิสราเอล" ดังนั้น"อิสราเอล"จึงเป็นทายาทของต้นตระกูลเหล่านี้ ผู้ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนามประชาชนชาวยิวนั้นเอง


ข. ชาติอิสราเอล และแผ่นดินอิสราเอล

ประมาณ 400ปีต่อมา ประชากรเผ่าอิสราเอลนั้นเพิ่มทวีคูณอย่างมาก และเขาพร้อมที่จะร่วมกันตั้งชนชาติ ณ ภูเขาซีนาย ประชาชนได้รับโทราห์ กฎหมายที่บรรจุข้อมูลพื้นฐานต่างๆที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรม กฎหมาย และสังคมของเขา หลังจากเข้าดินแดงพันธสัญญา มีพันธสัญญาอีกอันซึ่งสถาปนาประเทศชาติให้เป็นอยู่เป็นนิตย์ คืออาณาจักรเมซซานิค* ภายใต้ดาวิดและบรรพบุรุษของเรา (2ซมอ 7) อาณาจักร/ประเทศชาตินี้มีเยรูซาเล็ม(นครของดาวิด) เป็นเมืองหลวงเป็นนิจนิรันดร์ "อิสราเอล"จึงกลายเป็นประเทศชาติ ที่มีแผ่นดิน เมืองหลวง เศรษฐกิจ ฯลฯ ที่มีลักษณะเฉพาะ และด้วยพระสัญญาในการฟื้นฟูราชอาณาจักรเมสสานิคในฐานะการเป็นศูนย์กลางของนานาชาติ (กิจการ1:6) 

ค. อิสราเอล ส่วนที่ได้รับการช่วยกู้

ส่วนนี้เป็นส่วนที่พลิกแพลง... เจ้าในพันธสัญญาใหม่ และโดยเฉพาะในศาสนศาสตร์ของเปาโล เราเรียนรู้ว่าคนในทุกยุคสมัยมีซับเซตฝ่ายวิญญาณของกลุ่มอิสราเอล คือกลุ่มที่ได้รับความรอดซึ่งเป็นความสมบูรณ์ในพระสัญญาของพระเจ้าซึ่งทำให้ถูกตระหนักถึง จากภายนอกนั้นกลุ่มชาวยิวนี้ดูเหมือนกับคนยิวทั่วไปพูดภาษาเดียวกัน แต่จากภายในนั้นหัวใจของพวกเขาบังเกิดใหม่อีกครั้ง "ถูกเข้าสุหนัต" และถูกประทับโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ ชาวยิวส่วนมากยังไม่ตอบสนองต่อความรอดแห่งพระคุณของพระเจ้าในแต่ละยุคสมัย พระสัญญาของพระเจ้าที่มีต่อชนชาตินี้ยังเป็นจริงเสมอเพราะว่าพวกเขาเป็นกลุ่มคนบริสุทธิ์ (โรม 11:16) นี่คือความจริงในวันของเอลิยาห์, วันของเปาโล หรือในช่วงเวลาของพวกเรา เพราะไม่ใช่อิสราเอลทั้งหมดคืออิสราเอล (โรม 9:6, 11:1-7) นอกเหนือจากนี้ บัดนี้ภายใต้พันธสัญญาใหม่แม้ผู้เชื่อต่างชาติสามารถ " ทาบกิ่ง" กับต้นมะกอกแห่งความเชื่อในพระคุณแห่งความรอดของพระเจ้าแห่งอิสราเอล (โรม 9:24, 11:17) ดังนั้นอิสราเอลคือกลุ่มคนแห่งความเชื่อในพระเยซู ตอนแรกต่อชาวยิวและยังต่อชนต่างชาติ ร่วมกันเป็น "คนใหม่คนเดียวกันในกระคริสต์" (one new man) (อฟ. 2:15)

Ariel Blumenthal
สรุป ความหมายแบบ ก. และข. อ้างถึงอิสราเอลในสภาพความเป็นจริงทางกายภาพ ในขณะที่ความหมายแบบค. มีความลึกลับมากกว่า และเล็งถึงสภาพฝ่ายวิญญาณ ทั้งหมดทั้ง3อย่างนี้เป็นการบรรยายตามหลักพระคัมภีร์ว่าถึงความหมายที่ไบเบิ้ลกล่าวถึงอิสราเอล บางครั้งเราจะพบว่าเราเชื่อมต่อกับอันหนึ่งอันใดในแต่ละครั้งที่แตกต่างกันออกไป แต่ในโรมัน(โดยเฉพาะ 11:11-26) และเอเฟซัส (2:11-3:6) สอนว่า "การเติมเต็ม" การสำแดงของพระเจ้าสำหรับชาวยิว และชาวต่างชาติ (อิสราเอล และนานาชาติ) ขึ้นอยู่กับความเข้าใจที่แท้จริงถึงการลำดับความสำคัญของพระองค์ถึงเรื่อง "การทาบกิ่ง" ต้นมะกอก


จดหมายของเปาโลสอนเราในภายใต้พันธสัญญาใหม่ ว่าการเติมเต็มความลึกลับของความมุ่งหมายของพระเจ้าที่มีต่อ "อิสราเอล" อยู่ในพระคริสต์ (เมซซิฮา)  และโดยความสัมพันธ์คู่ขนานระหว่างยิว และชาวต่างชาติตามพระสัญญาทั้งหมดของพระองค์ต่ออิสราเอล ประชาชน ชนชาติ และส่วนอื่นๆ (ในตอนที่2 เราจะมาดูกันว่าความสัมพันธ์นี้จะเป็นอย่างไรในทางปฏิบัติ