20 กรกฎาคม 2554

“นี่เป็นเวลาแห่งการเลือก”

“นี่เป็นเวลาแห่งการเลือก” จงอย่าได้หยุดยั้งจนกว่าพวกเจ้าจะได้ผ่านประตูที่เปิดเอาไว้นั้นแล้ว!

คำเผยพระวจนะจาก ชัค ดี. เพียซ

นี่เป็นเวลาแห่งการเลือก!

ในช่วงระหว่างวันที่ 18 กรกฏาคม ถึงวันที่ 9 สิงหาคม พวกเราจำต้องรับรู้ว่าพวกเรานั้นอยู่ในช่วงเวลาวิกฤตที่สุด ขออย่าได้ให้เรื่องสุขภาพ การไหลลื่นของเสบียงสนับสนุน หรือ ความเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องใด ๆ มาหันเหความสนใจของพวกคุณไป จงอธิษฐานเพื่อสิทธิอำนาจทั้งหลายของพวกคุณแบบวันต่อวันในช่วงเวลาเหล่านี้ มันเป็นช่วงเวลาที่วิกฤตที่พวกเราจำต้องฝันฝ่าบุกไปข้างหน้าต่อไปอย่างที่ พวกเราไม่เคยบุกไปข้างหน้าเช่นนี้มาก่อน ช่วงวันเหล่านั้นที่จะมาถึงมันก็วิกฤตพอ ๆ กับการที่พวกเราจะฝังเท้าของพวกเราเอาไว้เพื่อเป็นการยืนยันว่าพวกเราจะยืน หยัดต่อสู้เหล่ายักษ์ใหญ่ทั้งหลายที่กำลังยึดครองอนาคตของพวกเราอยู่เวลานี้ ไม่มีถอย

กุญแจสำคัญสำหรับคำเผยพระวจนะนี้ก็คือ “จงเลือกคันประทีป ในเดือนนี้เถิด”

"พวกเจ้าจะมีสถานที่ใหม่เพื่อที่จะยืน อย่างไรก็ตาม อย่าได้เร่งร้อนที่จะฝังเท้าของพวกเจ้าเอาไว้ เพราะว่าในสถานที่ใหม่นี้ จะมีหลายสิ่งหลายอย่างจำต้องเกิดขึ้น ดังนั้น จงเต็มใจที่จะฝังราก แล้วก็ถูกถอนรากออกอีกครั้งด้วย เรากำลังเริ่มต้นที่จะจุดจิตวิญญาณของพวกเจ้าให้สว่างขึ้นภายในตัวของพวก เจ้าด้วยวิธีการใหม่ พระวิญญาณทั้งเจ็ด (เจ็ดเท่า) ผู้อยู่ในพวกเจ้า เวลานี้กำลังคุกรุ่นขึ้นแล้ว และถูกทำให้มีชีวิตขึ้นมา เพื่อที่ทั้งพวกเจ้าและเราจะกลายมาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับคันประทีปของ เรา ทั้งพวกเจ้าและเราจะกลายมาเป็นหนึ่งเดียวกันในการเห็นด้วยกับพันธสัญญาในฤดู กาลนี้ พวกเราก็จะเริ่มที่จะลุกโชติช่วงส่องสว่างขึ้นเมื่อพวกเราเคลื่อนต่อไปข้าง หน้า

"โลกนี้จะเห็นพระวิญญาณทั้งเจ็ด (เจ็ดเท่า) ที่เรามีไว้บนแผ่นดินโลก พระวิญญาณกำลังเริ่มต้นที่จะลุกโชติช่วงขึ้นอีกครั้ง นรกจะไม่สามารถที่จะดับไฟนี้ได้ คนมากมายผู้ที่กำลังยืนอยู่เวลานี้ก็จะกลับมีชีวิตขึ้นมาและลุกโชติช่วงอีก ครา แม้ว่าพวกเจ้าได้หยุดและชะงักไว้ในฤดูกาลที่แล้ว พวกเจ้าก็จะรุดก้าวไปข้างหน้าในฤดูกาลนี้ด้วยวิธีการอย่างที่พวกเจ้าไม่เคย ใช้เพื่อรุดก้าวไปข้างหน้าแบบนี้มาก่อน

"เรามีผู้หนึ่งผู้ที่สร้างขึ้น และเรามีผู้หนึ่งผู้ที่สถาปนาเอาไว้ แล้วเราก็มีผู้หนึ่งที่เฝ้าระวัง และรักษาไว้ จงยอมให้เราช่วยพวกเจ้าหาสถานที่ของพวกเจ้าในชั่วโมงนี้เถิด จงยอมให้เราช่วยพวกเจ้าได้รับการสถาปนาเอาไว้เถิด ด้วยว่าเรากำลังย้ายคนเป็นจำนวนมากมายจากสวนแห่งหนึ่งไปสู่สวนอีกแห่งหนึ่ง ดั่งชาวไร่ย้ายต้นไม้นั้น เรากำลังเป็นเหตุให้เมล็ดพันธุ์ที่มิได้เติบโตขึ้นในฤดูกาลที่แล้วนั้นเติบ โตขึ้นในฤดูกาลนี้ เรากำลังไถพรวนร่องดินใหม่ ๆ ทำให้ดินเก่ามันแตกออก แต่ก็เพื่อที่จะเนรมิตผืนนาใหม่ ๆ ขึ้นมามากมาย เรากำลังปลูกทหาร กองร้อยหนึ่งขึ้นมาในฤดูกาลนี้ นี่แหละคือกองร้อยที่เริ่มต้นที่จะเคลื่อนและรุดก้าวไปข้างหน้าด้วยวิธีการ ใหม่

"จงเลือกคันประทีป ในเดือนนี้เถิด จงเป็นคันประทีปนั้นเถิด จงเลือกเถิดเวลานี้ แล้วพวกเจ้าก็จะส่องแสงสุกสดใสสว่างไปตลอดทั่วทั้งอนาคตของพวกเจ้า จากมุมมองทั้งเจ็ดของการลุกโชติช่วงนี้ พวกเจ้าได้ถูกจุดให้สว่างขึ้นเพียงแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น จงยอมให้เราจุดพวกเจ้าให้สว่างขึ้นและสุกสดใสขึ้นอย่างเต็มที่เถิด เราจำเป็นที่จะต้องมีเปลวไฟ และเรามองเห็นพวกเจ้าแล้ว! จงอย่าได้โกรธ ในยามที่เราเอาสนิมและเศษซากต่าง ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ความสว่างของพวกเจ้าริบหรี่ลงนั้นออกไปเสีย เรารักพวกเจ้า และ เราจุดพวกเจ้าให้ส่องสว่างขึ้น!”

Chuck Pierce

Glory of Zion International Ministries

Email: chuckp@glory-of-zion.org

ที่มา:http://www.elijahlist.com/words/display_word.html?ID=10068

missionkorat

เอ็ม สุรชัย แปล

15 กรกฏาคม 2011

A Time of Choice: Don't Stop Until You Are Through the Open Door!

Chuck D. Pierce:

This is a Time of Choice!

Between July 18 and August 9 we must be aware that we are in a most critical time. Don't let health issues, supply flow, or relational changes distract you. Pray for your authorities daily during that time. It is a critical time for us to press in like we've never pressed in before. These days are critical as we establish our feet against the giants that are occupying our future.

Come to the Open Door Meeting at the end of the month and occupy the New Global Spheres Center with us (see my itinerary below for more info). We just spent the week praying over every gift that has been given from Passover and Pentecost. We have only two weeks left to press through. Thank you so much for helping get us this far into the new. I want to thank all of you who tuned into the Firstfruit Gatherings. We love and appreciate each of you. Here is some key revelation to encourage you:

A Key Prophecy: Choose the Lampstand This Month

"You will have a new place to stand. However, do not rush to establish your footing. In this new place, many changes will take place, so be willing to root and then be re-rooted. I am beginning to light your spirit within you in a new way. The seven-fold Spirit within you is now being rekindled and brought to life so that we will become one with My Lamp Stand. You and I will become one in covenant alignment this season. We will begin to burn brightly as we move forward.

"The world will see the seven-fold Spirit that I have in the earth. This Spirit is beginning to burn again. Hell will not be able to put that fire out. Many who are standing now will come alive and burn again. Though you stopped and stalled in the last season, you will advance in a way this season that you have not advanced before.

"I have one that builds and one that establishes. Then I have one that watches and keeps. Let Me help you find your place this hour. Let Me help you get established, for I am transplanting many from one garden to another garden. I am causing some seed to grow that did not grow last season. I am plowing new furrows, breaking old soil, but creating new fields. I will grow a troop for this season. This is the troop that begins to move and advance in a new way.

"Choose the lamp stand this month. Be the lampstand. Choose now and you will shine brightly throughout your entire future. Of the seven-fold aspects of burning, you have to only be half lit. Let Me light you and make you bright. I need a flame. I see you! Do not get upset, when I clear away some of the rust and debris that has caused portions of your light to grow dim. I love you and I light you!"

Chuck Pierce

Glory of Zion International Ministries

Email: chuckp@glory-of-zion.org

18 กรกฎาคม 2554

กลิ่นหอมแห่งพระคุณ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน บทความในครั้งนี้ ผมได้นำคำเทศนาที่ผมเทศนาที่คริสตจักรแห่งพระบัญชามาแบ่งปัน การเทศนาครั้งนี้ ผมได้รับแรงบันดาลใจจากคำหนุนใจของ อ.Marilyn Hickey ที่มาถึงคริสตจักรแห่งพระบัญชา ท่านได้กล่าวจากข้อพระคัมภีร์ในพระธรรมสดุดี บทที่ 5 ข้อ 11-12และพระธรรม 2 โครินธ์ บทที่ 2 ข้อที่ 14-15 กล่าวไว้ดังนี้

สดด.5:11-12


11 แต่ให้คนทั้งปวงที่ลี้ภัยอยู่ในพระองค์นั้นเปรมปรีดิ์ ให้เขาร้องเพลงด้วยความชื่นชมยินดีอยู่เสมอ และขอทรงป้องกันเขาไว้เพื่อคนที่รักพระนามของพระองค์จะปรีดาปราโมทย์อยู่ในพระองค์


12 ข้าแต่พระเจ้า เพราะพระองค์ทรงอำนวยพระพรแก่คนชอบธรรมพระองค์ทรงคุ้มครองเขาไว้ด้วยความโปรดปรานประดุจเป็นโล่ป้องกันเขา


พระเจ้าจะทรงเป็นโล่ปกป้องและคุ้มครองคริสตจักรนี้ด้วยความโปรดปรานของพระองค์ เราจึงชื่นชมยินดีที่ได้ลี้ภัยในพระองค์


และในพระธรรม 2โครินธ์ 2:14-17 คริสตจักรนี้จะเป็นกลิ่นหอมของพระคริสต์ที่แพร่กระจายออกไป


ผมจึงได้นำคำหนุนใจจากพระธรรม 2โครินธ์นี้มาเทศนาในเรื่อง "กลิ่นหอมแห่งพระคุณ" และขอนำมาแบ่งปันตามนี้





2 คร.2:14-17


14 แต่ขอบพระคุณพระเจ้า ผู้ทรงนำเราเสมอมาโดยพระคริสต์ด้วยความมีชัย และทรงโปรดประทานกลิ่นหอมแห่งความรู้ของพระองค์ ให้ปรากฏด้วยตัวเราทุกแห่ง


15 เพราะว่าเราเป็นกลิ่นอันหอมหวาน ที่พระคริสต์ถวายพระเจ้าในหมู่คนที่กำลังจะรอด และคนที่กำลังประสบความพินาศ


16 ฝ่ายหนึ่งเป็นกลิ่นแห่งความตายซึ่งนำไปสู่ความตาย และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นกลิ่นหอมแห่งชีวิตซึ่งนำไปสู่ชีวิต ใครเล่าจะมีความสามารถเหมาะสมกับพันธกิจเหล่านี้


17 เพราะว่าเราไม่เหมือนคนเป็นอันมาก ที่เอาพระกิตติคุณของพระเจ้าไปขายกิน แต่ว่าเราประกาศด้วยอาศัยพระคริสต์อย่างคนสัตย์ซื่อ อย่างคนที่มาจากพระเจ้า และอย่างคนที่อยู่จำเพาะพระพักตร์พระเจ้า


ผมประทับใจคำกล่าวของ ชาร์ลส์ เอช. สเปอร์เจียน นักเทศน์ผู้มีชื่อเสียงชาวอังกฤษ ที่ว่า
"
จงให้ความคิดของคุณเป็นเพลงสดุดี คำอธิษฐานเป็นเครื่องหอม และลมหายใจเป็นคำสรรเสริญ"



เราจึงต้องให้ความคิด การพูดและการกระทำของเราเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้า เป็นการดังเครื่องหอมบูชาที่พระเจ้าทรงพอพระทัย


พระธรรมตอนนี้อัครทูตเปาโลกล่าวขอบพระคุณพระเจ้าที่พระองค์ทรงนำในการทำพันธกิจ แม้ว่าท่านต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ มากมาย แต่พระเจ้าทรงสำแดงพระคุณ กระทำให้คนกลับใจและต้อนรับพระกิตติคุณอย่างมากมาย สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เปาโลถือว่าเป็นชัยชนะที่มาจากพระเจ้า เป็นดังกลิ่นหอมที่นำความชื่นใจมาถึงชีวิต และเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้า


14 แต่ขอบพระคุณพระเจ้า ผู้ทรงนำเราเสมอมาโดยพระคริสต์ด้วยความมีชัย


คำว่า นำด้วยความมีชัย ในภาษาเดิม ให้ความหมายว่า เดินขบวนแห่งความมีชัย


สิ่งที่อัครทูตเปาโลกล่าวในที่นี้เป็นภาพของกองทหารโรมันที่เดินขบวนเข้ามาในกรุงโรม เมื่อกลับจากการสู้รบที่มีชัยชนะ ขบวนประกอบด้วยเชลยที่จับมาได้ ข้าวของที่ยึดมาได้ แม่ทัพและทหารที่ร่วมรบ และจะมีคนมากมายยืนต้อนรับขบวนด้วยความยินดีเป็นการให้เกียรติแม่ทัพที่นำชัยชนะมา


เป็นภาพแสดงความยิ่งใหญ่ของชัยชนะ คำว่า มีชัย นี้ยังเป็นคำ ๆ เดียวกับที่ถูกใช้ใน


คส.2:15 พระองค์ทรงปลดเทพผู้ครองและศักดิเทพเสียพระองค์ได้ทรงประจานเขา และชนะเขาโดยกางเขนนั้น


ในพระธรรมโคโลสีเป็นภาพของเทพผู้ครอง ศักดิเทพที่ถูกจับมาเป็นเชลยร่วมเดินมาด้วยในขบวน เป็นการถูกประจานให้คนเห็น


อัครทูตเปาโลใช้คำนี้ในพระธรรมตอนนี้เพื่อเป็นภาพของการฉลองชัยชนะ


ปกติขบวนนี้จะเดินเข้ามายังกรุงโรมและเดินไปสิ้นสุดที่ Capitoline Hill (คาปิโตลิเน ฮิลล์)เนินเขาแห่งการเฉลิมฉลองชัยชนะ


การที่อัครทูตเปาโลใช้ภาพการเดินขบวนเช่นนี้ ก็เพื่อเปรียบเทียบให้เราเห็นว่าชีวิตการเป็นอัครทูต หรือการเป็นผู้รับใช้ เป็นเหมือนกับการเป็นทหารที่ออกรบ การรับใช้พระเจ้าประกาศข่าวประเสริฐเป็นดังการออกศึกสงครามเป็นการต่อสู้ที่จริงแท้ เพราะเรามีศัตรูที่คอยต่อสู้เราเสมอ ศัตรูของเราคือมาร ที่คอยจ้องสู้เราตลอดเวลา การประกาศข่าวประเสริฐเป็นการเข้าไปแย่งเชลยกับมาร เป็นสงครามการแย่งชิงคนโดยตรง


ตามวัฒนธรรมของโรมันในเวลานั้นคือ เมื่อพวกเขาประสบกับชัยชนะในการรบ พวกเขาจะเผาเครื่องหอมอันเป็นการสักการบูชาแด่เทพที่ประทานชัยชนะให้แก่เขา บรรยากาศในเมืองจะเต็มไปด้วยการเฉลิมฉลอง เมื่อประชาชนที่อยู่ข้างทางโปรยดอกไม้ วิหารของเทพเจ้าจะเต็มไปด้วยกลิ่นหอมของเครื่องเผาบูชาอบอวลไปทั่ว ซึ่งภาพการเฉลิมฉลองเช่นนี้เป็นภาพที่คุ้นตาของคนในเมืองโครินธ์


เมื่ออัครทูตเปาโลได้บรรยายถึงชัยชนะที่ท่านได้รับโดยการทรงนำของ พระเจ้า โดยใช้ภาพกลิ่นหอม ผู้เชื่อชาวเมืองโครินธ์ก็จะเข้าใจภาพแห่งชัยชนะที่ยิ่งใหญ่และเปี่ยมไปด้วยความชื่นชมยินดีได้โดยง่าย


เมื่อชาวโครินธ์มีชัยชนะในการรบฝ่ายกายภาพ กลิ่นหอมจะอบอวลไปทั่วเมืองโครินธ์ฉันใด


เมื่อผู้รับใช้พระเจ้ามีชัยชนะในการรบฝ่ายวิญญาณ กลิ่นหอมของพระคริสต์ก็จะอบอวลเหนือชีวิตของผู้เชื่อและขจรขจายไปทั่วทุกถิ่น ฉันนั้น


ไม่ว่าคนของพระเจ้าไปที่ใด กลิ่นหอมแห่งชัยชนะก็จะติดตามเขาไปที่นั่น


กลิ่นหอมนั้นเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นแต่ก็ส่งอิทธิผลมาถึงชีวิตของเรา


คำว่า กลิ่นหอม ในพระธรรมตอนนี้ มาจากรากศัพท์ภาษากรีกว่า ออส-เมย์ (osme) ซึ่งแปลว่า กลิ่น หรือ กลิ่นหอม และบางครั้งอาจแปลว่า น้ำมันหอม ซึ่งคำว่า ออส-เมย์ มักนำมาใช้ในความหมายของ กลิ่นหอม ที่มาพร้อมกับการถวายบูชา


ฉะนั้นพระคุณของพระเจ้าจึงเป็นกลิ่นที่หอมแพร่กระจายไป กลิ่นของดอกไม้หรือกลิ่นหอมจากเครื่องเผาบูชาจะมีการจางไป แต่กลิ่นหอมแห่งพระคุณของพระเจ้าจะคงอยู่นิรันดร์ เป็นกลิ่นหอมที่สำแดงดังนี้




1.กลิ่นหอมแห่งความจริง(ข้อ 14-15) ...ทรงโปรดประทานกลิ่นหอมแห่งความรู้ของพระองค์


พระวจนะกล่าวว่า พระเจ้าประทาน กลิ่นหอมแห่งความรู้ของพระองค์ ซึ่งคำนี้หมายถึง ความ


จริงเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ หรือ พระกิตติคุณของพระองค์ พระเจ้าได้ทรงเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ เพื่อให้ผู้เชื่อเกิดความประจักษ์และกลับใจบังเกิดใหม่ ไม่ใช่ความรู้แบบปรัชญาหรือศาสนา ที่เป็นความรู้ของชาวกรีก โรมันในสมัยนั้นที่รักในการแสวงหาความรู้ ทำให้เกิดความหยิ่งและทำให้ห่างไกลจากสัจธรรมความจริงของพระเจ้า แต่ความรักของพระเจ้าเป็นของขวัญอันล้ำค่าที่ประทานให้กับเราโดยพระคุณบนกางเขนทำให้เรากลับใจใหม่(ยน.3:16)


"ความรู้ทำให้หยิ่ง ความจริงทำให้ตระหนัก ความรักทำให้กลับใจ"


1.1 แพร่ไปทุกแห่งหน (ข้อ 14) ...ให้ปรากฏด้วยตัวเราทุกแห่ง


อัครทูตเปาโลกล่าวว่า กลิ่นหอมแห่งความจริงเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์นั้น พระเจ้าทรงสำแดงให้ปรากฏแล้วผ่านผู้เชื่อที่จะนำข่าวประเสริฐนี้ไปถึงผู้คนในทุกที่ทุกแห่ง ความจริงเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ไม่ควรจำกัดวงอยู่เพียงแค่กลุ่มผู้ที่เชื่อแล้วเท่านั้น แต่ควรขยายวงกว้างออกไปถึงคนทุกเพศ ทุกวัย และทุกชนชั้นในสังคม เพื่อคนเหล่านั้นจะมีชีวิตใหม่ที่เต็มล้นด้วยพระคุณพระเจ้า


ไม่มีที่ใดในโลกที่พระคุณของพระเจ้าไปไม่ถึง เมื่อเราอธิษฐานเผื่อญาติสนิทมิตรสหายของเรา คำอธิษฐานจะเป็นกลิ่นหอมแห่งพระคุณที่ไปถึงเขาเหล่านั้น และเมื่อเราประกาศข่าวประเสริฐออกไป กลิ่นหอมแห่งความจริงของพระเจ้าที่แพร่ไปทุกหนแห่ง จะนำคนทั้งหลาย กลับใจและกลับมาหาพระเจ้า



1.2 เพื่อทุกคนได้รับ (ข้อ 15) ...คนที่กำลังจะรอด…และคนที่กำลังประสบความพินาศ


การประกาศความจริงเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ เป็นการนำพระคุณความรักของพระเจ้าออกไป เพื่อให้คนที่ยังไม่รู้จักพระองค์ได้รับพระคุณความรอด และมีชีวิตใหม่ที่ก้าวออกจากความมืดสู่ความสว่าง พระเจ้าได้ทรงจัดเตรียมความรอดไว้สำหรับทุกคน และพระองค์มิได้ประสงค์ให้ผู้หนึ่งผู้ใดพินาศไป (2 ปต.3:9)



2.กลิ่นหอมแห่งชีวิต (ข้อ 16-17) ...ฝ่ายหนึ่งเป็นกลิ่นแห่งความตายซึ่งนำไปสู่ความตาย และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นกลิ่นหอมแห่งชีวิตซึ่งนำไปสู่ชีวิต ใครเล่าจะมีความสามารถเหมาะสมกับพันธกิจเหล่านี้



อัครทูตเปาโลเปรียบให้เห็นกลิ่น 2 แบบ คือ กลิ่นแห่งความตาย และกลิ่นหอมแห่งชีวิต กลิ่นแห่งความตาย เป็นภาพเปรียบเทียบให้เห็นชีวิตของผู้ที่ดำเนินในบาป ที่ในวาระสุดท้ายชีวิตจบลงในบึงไฟนรกและพบกับความทุกข์ทรมาน แต่สำหรับผู้ที่เชื่อและยอมรับว่าพระเยซูคริสต์เป็นพระเจ้า เขาเป็นดังกลิ่นหอมแห่งชีวิตที่ได้รับพระคุณความรอดของพระเจ้า มีชีวิตนิรันดร์ และอยู่ร่วมกับพระเยซูคริสต์ในเมืองบรมสุขเกษมในวันสุดท้าย ผู้เชื่อควรมีส่วนร่วมกันในการนำพระคุณของพระเจ้าออกไปสู่คนในสังคม


ในการดำเนินชีวิตอยู่ในโลกนี้ เพราะว่าทุกคนทำบาปจึงเสื่อมจากพระสิริของพระเจ้า โลกจึงเต็มไปด้วยบาปและส่งอิทธิพลต่อเรา เราเป็นเหมือนอยู่ท่ามกลางกองขยะจึงต้องมีการรับการชำระชีวิตเสมอ เหมือนการอาบน้ำเพื่อชำระกลิ่นกายให้สะอาด แม้ว่าเราได้รับการชำระโดยพระโลหิตบนกางเขนของพระเยซูคริสต์แล้วที่ไม้กางเขนโดยสมบูรณ์แล้ว แต่พระเจ้ามีแผนการที่ชำระเราใหบริสุทธิ์ดูจดังทองคำที่ปราศจากตำหนิ ที่ช่างทำทองคำจะนำทองคำไปทดสอบด้วยไฟ ตักสิ่งที่เป็นขี้แร่ออกไป และทองคำที่บริสุทธิ์จะสะท้อนหน้าของช่างทำทองคำ ฉันใดฉันนั้น เมื่อชีวิตของเราได้รับการชำระที่บริสุทธิ์เราจะสะท้อนพระฉายของพระเจ้าผ่านชีวิตของเรา


อ.Chris Hayward ผู้เป็นประธานพันธกิจ Cleansing Stream กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า


“การปลดปล่อยไม่ควรถูกมองว่าเป็​นเหตุการณ์เพียงครั้งเดียวในชีวิต หากแต่ควรจะเป็นส่วนหนึ่งของขบว​นการชำระชีวิตให้บริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง คนหนึ่งคนใดสามารถรับการปลดปล่อ​ยให้มีเสรีภาพทันทีจากพันธนาการ​ที่เจาะจงในชีวิตโดยฤทธิ์อำนาจข​องพระเจ้า อย่างไรก็ตามทุกคนซึ่งยังอยู่ใน​ร่างกายนี้จักต้องรุกหน้าต่อไปสู่การมีชีวิตเหมือนพระคริสต์


ดังนั้นเราต้องรับการขำระชีวิตเพื่อไปสู่ความไพบูลย์ในพระเจ้า


พระเจ้าได้บัญชาให้คนของพระองค์ในยุคพระคัมภีร์เดิมถวายเครื่องบูชาประเภทต่าง ๆ แด่พระองค์ ได้แก่ การถวายสัตวบูชา (ลนต.1:13-17) การถวายธัญญบูชา (ลนต.2) การถวายศานติบูชา (ลนต.3) การถวายเครื่องบูชาไถ่บาป (ลนต.4) และการถวายเครื่องบูชาไถ่กรรมบาป (ลนต.4:14-6:17) ซึ่งเป็นการแสดงออกภายนอกถึงจิตใจภายในที่เชื่อฟังพระเจ้า และยินดีเข้าร่วมในพันธสัญญากับพระองค์ เป็นการคืนดีในความสัมพันธ์กับพระเจ้าอีกครั้งหนึ่ง


การถวายสัตว์เป็นเครื่องบูชาในพระคัมภีร์เดิมเป็นการเล็งถึงการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ที่กางเขน พระองค์เปรียบเหมือนแกะที่ถูกเลือกสรร เป็นเครื่องบูชาเพื่อไถ่บาป การหลั่งพระโลหิตของพระองค์บนไม้กางเขน จึงเป็นการทำพันธสัญญาใหม่กับเรา (1 คร.11:25)


ในปัจจุบันเราไม่ต้องถวายเครื่องเผาบูชาแล้ว เพียงแต่เราเข้ามาสรรเสริญด้วยใจโมทนาพระคุณก็เป็นการถวายเครื่องเผาบูชาที่มีกลิ่นเป็นที่พอพระทัยพระเจ้าแล้ว เพราะพระองค์ทรงทอดพระเนตรท่าทีในใจของเรามากกว่าการกระทำเพียงรูปแบบพิธีกรรมภายนอก


ในคัวอย่างเหตุการณ์ในพระคัมภีร์มีเครื่องเผาบุชาที่พระเจ้าไม่ทรงพอพระทัย เช่นกรณีของคาอิน เหตุผลที่พระเจ้าไม่ทรงพอพระทัยเครื่องบูชาของคาอิน ไม่ใช่ว่าพระเจ้าไม่ได้ไม่ชอบพืชผักที่เขานำมาถวาย แต่เบื้องหลังการถวายของคาอินนั้นคือท่าทีที่ไม่ถูกต้อง คาอินไม่ได้อุทิศทั้งหมดให้กับพระเจ้าเห็นได้จากความจริงที่ว่าเขาไม่ได้ ดำเนินชีวิตในทางของพระองค์


ปฐมกาล 4:5-7


5 แต่คาอินกับเครื่องบูชาของเขานั้น พระองค์ไม่พอพระทัย คาอินก็โกรธแค้นนัก หน้าบูดบึ้งอยู่


6 พระเจ้าจึงตรัสถามคาอินว่า "เจ้าโกรธเคืองหน้าบูดบึ้งอยู่ทำไม


7 ถ้าเจ้าทำดี เราก็จะพอใจรับเจ้ามิใช่หรือ ถ้าเจ้าทำไม่ดี บาปก็หมอบอยู่ที่ประตู อยากตะครุบเจ้า เจ้าจะต้องเอาชนะบาปนั้นให้ได้"


ยูดาเขียนถึงคนที่นับถือศาสนาแต่เปลือกนอก ซึ่งใช้กิจกรรมทางศาสนาอำพรางชีวิตที่เต็มไปด้วยความบาปว่า “วิบัติจงมีแก่เขา เพราะเขาได้ประพฤติตามอย่างคาอิน” (ยด.11) เราสามารถปรนนิบัติพระเจ้าอย่างสัตย์ซื่อ ร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า และถวายทรัพย์ให้กับงานของพระองค์ด้วยความเสียสละ แต่พระเจ้าไม่ประสงค์สิ่งเหล่านั้นหากไม่ได้ทำออกมาจากใจ


คาอินถวายเครื่องบูชาแด่พระเจ้าซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับได้ คาอินเข้ามานมัสการอย่างถูกต้อง เขาสร้างแท่นบูชา ใช้ไฟในการถวายบูชา เข้าก้าวเข้ามาหาพระเจ้า ประสงค์ให้พระองค์พอพระทัย แต่เขาใช้พืชผักเป็นเครื่องบูชาแทนที่จะใช้เลือด เครื่องบูชาของเขาไม่ถูกต้อง คาอินนมัสการ...แต่เป็นการนมัสการที่พระเจ้าไม่ยอมรับ


ความบาปนี้เองที่คาอินไม่กลับใจจึงส่งผลไปสู่ความตาย เขาได้ฆ่าน้องชายของเขาคืออาเบล เพราะอิจฉา และการแช่งสาปก็มาสู่ชีวิตของคาอิน


หากเราเก็บงำความบาปไว้ไม่กลับใจ จะเป็นเหมือนเก็บของเน่าเสียไว้ในชีวิต กลิ่นแห่งความาบาปที่จะไปสู่ความตายจะแพร่ออกไป เราจึงต้องเข้ามาสารภาพบาปเพื่อรับการชำระชีวิตจากพระเจ้า(1ยน.1:9)


ตัวอย่างของบุตรทั้งสองของอาโรน คือ อาบีฮู กับ นาดับเขาได้ถวายเครื่องหอมแด่พระเจ้า ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของพระองค์ ดูเหมือนภายนอกไม่น่าที่จะไม่เป็นที่ยอมรับได้ แต่พระเจ้าทรงเป็นผู้ตัดสินว่า เครื่องบูชาใดเป็นที่ยอมรับได้หรือไม่ เขาทั้งสองตายต่อหน้าพระพักตร์ของพระเจ้า เนื่องจากได้ถวายบูชาแด่พระเจ้าด้วยไฟต้องห้าม


ลนต.10:1-2


1 ฝ่ายนาดับกับอาบีฮูบุตรของอาโรน ต่างนำกระถางไฟของเขามา และเอาไฟใส่ในนั้น แล้วใส่เครื่องหอมลง เอาไฟที่ต้องห้ามมาเผาถวายบูชาแด่พระเจ้า ซึ่งพระองค์มิได้ทรงบัญชาให้เขากระทำเช่นนั้น


2 ไฟก็พุ่งขึ้นมาจากที่พระเจ้าประทับไหม้เขาทั้งสอง และเขาก็ตายต่อพระพักตร์พระเจ้า


อาบีฮูและนาดับ ใช้ไฟต้องห้าม ซึ่งพระเจ้าไม่ได้สั่งให้เขาทำ เป็นสิ่งผิดฉันใด เราต้องระวังอย่างมากเช่นกัน เมื่อเราเข้ามาสรรเสริญและนมัสการ ไฟที่นำมาเผาเครื่องหอมบูชา ต้องนำเอามาจากแท่นเผาบูชา (เล็งถึงการกลับใจใหม่) การสรรเสริญและนมัสการของเรา ต้องแน่ใจว่ามาจากจิตใจที่สำนึกผิด และกลับใจใหม่ด้วยความถ่อมใจต่อพระเจ้า จงสรรเสริญพระเจ้าเถิด


ตัวอย่างของกษัตริย์ชาอูลก็ถวายด้วยท่าทีไม่ถูกต้อง ทำให้พระเจ้าไม่พอพระทัยเพราะเขาไม่เชื่อฟังพระเจ้า


1ซามูเอล 15:22-23


22 และซามูเอลกล่าวว่า "พระเจ้าทรงพอพระทัยในเครื่องเผาบูชาและเครื่องสัตวบูชามาก เท่ากับการที่จะเชื่อฟังพระสุรเสียงของพระองค์หรือดูเถิด ที่จะเชื่อฟังก็ดีกว่าเครื่องสัตวบูชา และซึ่งจะสดับฟังก็ดีกว่าไขมันของบรรดาแกะผู้


23 เพราะการกบฏก็เป็นเหมือนบาปแห่งการถือฤกษ์ถือยาม และความดื้อดึงก็เป็นเหมือนบาปชั่วและการไหว้รูปเคารพเพราะเหตุที่ท่านทอดทิ้งพระวจนะของพระเจ้า พระองค์จึงทรงถอดท่านออกจากตำแหน่งกษัตริย์"


พระเจ้าทรงทอดพระเนตรการกระทำของเรา ทั้งจากท่าทีภายในและการกระทำภายนอก


ความบาปนำไปสู่ความตายฉันใด พระคริสต์ก็ทรงเป็นกลิ่นหอมในชีวิตของผู้เชื่อที่นำไปสู่ชีวิตฉันนั้น


เมื่อเราอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยความบาป เราย่อมได้รับผลกระทบจากความบาปนั้น แต่หากเราได้เชื่อวางใจในพระคริสต์ พระองค์ทรงสัญญาว่าเราจะได้รับชีวิตนิรันดร์ ซึ่งมีผลทันทีที่เราเชื่อ คือ เราจะมีชีวิตใหม่ ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงลักษณะนิสัย ท่าที แรงจูงใจ เหมือนดังพระคริสต์




เมื่อเราเป็นของพระคริสต์


ชีวิตเป็นอย่างสุคนธ์
กลิ่นหอมไปทุกแห่งหน
ถวายพระเกียรติเกรียงไกร

ขอให้ชีวิตแห่งการรับใช้พระเจ้าของเรา เป็นกลิ่นหอมอันชื่นใจ เป็นที่พอพระทัยแด่พระเจ้า
(ลงในบทความของ web.CBNSiam)

04 กรกฎาคม 2554

Tammuz ทัมมุสเดือนแห่งการเตือนใจ

เดือนกรกฎาคมนี้ หรือเรียกตามปฎิทินยิวคือ ทัมมุส (Tammuz) ประเทศอิสราเอลจะมีการจัดเทศกาลเพื่อฉลองในช่วงต้นเดือน คือ Firstfruits Celebration for Tammuz เป็นเทศกาลถวายผลแรกในเดือนทัมมุส (ประมาณปลายเดือนมิ.ย.-กรกฎาคม)
ชื่อทัมมุส (Tammuz) เป็นชื่อเดือนที่10 ตามแบบปฎิทินราชการแต่เป็นเดือนที่ 4 ตามปฎิทินศาสนา ตั้งตามชื่อเทพเจ้าของบาบิโลน ซึ่งประยุกต์มาจากพวกบาบิโลน
ยิวได้ตั้งชื่อเดือนที่ 4 ว่า เดือนทัมมุส เนื่องจากเพื่อระลึกว่า รูปเคารพเป็นเหตุให้บ้านเมืองของตนต้องพินาศย่อยยับ ชือเดือนทัมมุส เป็นชื่อของรูปเคารพจริง ๆ แต่ตั้งเพื่อเตือนใจเขาให้หันกลับมาหาพระเจ้า ดังนั้นในเดือนนี้ คนยิวจะอดอาหาร และบรรยากาศของเดือนจะเต็มไปด้วยความเศร้าโศกใจ เพื่อเตือนใจเขาเรื่องพระวิหารถูกทำลายเพราะรูปเคารพ ดังที่กล่าวชื่อรูปเคารพไว้ใน
เอเสเคียล 8:14-15
14
แล้วพระองค์ทรงนำข้าพเจ้ามาถึงทางเข้าประตูพระนิเวศของพระเจ้าด้านเหนือ และดูเถิด ที่นั่นมีผู้หญิงหลายคนนั่งร้องไห้อาลัยเจ้าพ่อทัมมุสแล้วพระองค์ตรัสกับ ข้าพเจ้าว่า
15 "
บุตรแห่งมนุษย์เอ๋ย เจ้าเห็นแล้วหรือ เจ้ายังจะเห็นการลามกยิ่งกว่าสิ่งเหล่านี้อีก"
ในวันที่ 17 เดือนทัมมุส เป็นเทศกาลไว้ทุกข์ ถือการอดอหาร เพื่อระลึกถึงการที่บาบิโลนมาทำลายพระวิหารของยิวในช่วง ปี 606-587 กคศ. และเป็นการระลึกถึงความเศร้าโศกของโมเสสที่หักแผ่นพระบัญญัติด้วยความโกรธเนื่องจากคนอิสราเอลไปกราบไหว้รูปเคารพ
ทำไมต้องเฉลิมฉลองทั้งที่เดือนที่สี่นี้ เป็นเดือนแห่งการไว้ทุกข์ เศร้าโศกใจ
ในช่วงเริ่มต้นเดือนของทุกเดือนจะมีการเฉลิมฉลองเล็กๆ ก่อนในช่วงเริ่มต้นของเดือนหรือที่เรียกว่า Rosh Chodesh (โรช โคเดช)นี้จะมีการกินเลี้ยงเล็กๆน้อย และเป่าโชฟา(เขาสัตว์)
สำหรับการไว้ทุกข์ในเดือนทัมมุสนี้ เขาจะเริ่มในวันลำดับที่ 17 ของเดือน และกินเวลาแห่งการอดอาหารเพื่อกลับใจมาหาพระเจ้า หันหนีจากรูปเคารพ โดยกินเวลา สามสัปดาห์ หรือ 21 วันหลังจากนั้น
การตั้งชื่อเดือนตามปฎิทินยิวนั้นได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมต่างชาติทั้งบาบิโลน กรีกและโรมัน ปฎิทินยิวมี 12-13 เดือน อาจจะคาดเคลื่อนตามแต่ละปี คือมีเดือน Adar 2 ครั้ง ตามนี้
The Hebrew calendar has 12 or 13 months.
1. Nisan, 30 days ניסן
2. Iyyar, 29 days אייר
3. Sivan, 30 days סיון
4. Tammuz, 29 days תמוז
5. Av, 30 days אב
6. Elul, 29 days אלול
7. Tishri, 30 days תשרי
8. Heshvan, 29/30 days חשון
9. Kislev, 29/30 days כסלו
10. Tevet, 29 days טבת
11. Shevat, 30 days שבט
12. Adar 1, 30 days, intercalary month אדר א
13. Adar 2, 29 days אדר ב
Adar 1 is only added 7 times in 19 years. In ordinary years, Adar 2 is simply called Adar.
เราจะเห็นได้ว่าการตั้งชื่อเดือนตามปฎิทินสากล ก็ได้นำเอามาจากชื่อของเทพเจ้าของโรมันมาตั้งชื่อ เช่น เดือนมกราคม หรือ January ตั้งตามชื่อเทพเจ้า แจนนัส หมายถึงการเริ่มต้น การเปิดประตู
การนับเดือนของพวกเขาก็นับแบบจันทรคติ จะเห็นได้ว่ามีวันต้นเดือน หรือ New Moon จะมีการเฉลิมฉลอง ที่เรียกว่า Rosh Chodesh (โรช โคเดช)
กันดารวิถี 10:10 ในวันที่เจ้าทั้งหลายมีความยินดี และในงานเทศกาลและในวันต้นเดือนของเจ้า เจ้าจงเป่าแตรเหนือเครื่องเผาบูชาและเหนือสัตวบูชาอันเป็นเครื่องศานติบูชา เป็นที่ให้พระเจ้าของเจ้าระลึกถึงเจ้า เราเป็นพระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้า"
การเฉลิมฉลองนี้ได้มีการนำของมาถวายแด่พระเจ้าเป็นการถวายผลแรก เพื่อขอบคุณพระเจ้า
เราจะต้องทำความเข้าใจความหมายของชื่อเดือน และนำหลักการมาประยุกต์ใช้
สำหรับเรื่องการฉลองเทศกาลเป็นคำสั่งของพระเจ้าให้ฉลองในเทศกาลหลักๆ ปีละ 3 ครั้ง คือ เทศกาลปัสกา,หรือกินขนมปังไร้เชื้ เทศกาลเพ็นเทคอสต์ หรือสัปดาห์และเทศกาลอยู่เพิง
เฉลยธรรมบัญญัติ 16:16 "บรรดาผู้ชายทั้งสิ้นจะต้องเข้ามาเฝ้าพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านปีละสามครั้ง ณสถานที่ซึ่งพระองค์ทรงเลือกไว้ คือณ เทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อ เทศกาลสัปดาห์ และเทศกาลอยู่เพิง อย่าให้เขาไปเฝ้าพระเจ้ามือเปล่าๆ
การฉลองเทศกาลของพวกยิวนั้น พวกเขานำไปย่อยเป็นเทศกาลย่อยอีกมากมาย
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจว่าคนยิวในพระคัมภีร์เดิมกับยิว(อิสราเอล)ในปัจจุบันมีความแตกต่างกันอย่างมาก เพราะในปัจจุบันมีการผสมผสานวัฒนธรรมหลากหลายของคนต่างชาติไม่ว่าจะเป็นกรีก บาบิโลน หรือ โรมัน
มีจำแนกพวกยิวแบบต่างๆ เช่น พวกยิวนิยมกรีก เรียกว่า Hellenistic Judaism ซึ่งมีความเคร่งครัดตามพิธีกรรมศาสนา เช่นพวกฟาริสี สะดูสี หรือพวกธรรมาจารย์ ที่มีวิญญาณศาสนาคอยตัดสินความผิดผู้อื่นตามกฎเณฑ์ศาสนา
ชื่อเดือนต่างๆ พวกเขาก็รับเอามาจากต่างชาติเช่น เดือนแรกของปี คือ เดือน นิสาน รับเอามาจากบาบิโลน เปลี่ยนจากเดิมคือ เดือนอาบีบ
(อาบีบ หมายถึงพืชผลแรกที่ได้จากธัญพืชเช่น ต้นบารลี)
อพยพ 9:31 ต้นป่านต้นบารลีถูกลูกเห็บทำลายเสีย เพราะในเวลานั้นต้นบารลีก็กำลังออกรวง และต้นป่านก็ออกดอกแล้ว
อพยพ 23:15 จงถือเทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อตามเวลาที่กำหนดไว้ในเดือนอาบีบ อันเป็นเดือนซึ่งเราบัญชาไว้ เจ้าจงกินขนมปังไร้เชื้อเจ็ดวันตามที่เราสั่งเจ้าไว้แล้ว เพราะในเดือนนั้นเจ้าออกจากอียิปต์ อย่าให้ผู้ใดมาเฝ้าเรามือเปล่าเลย
จะ เห็นได้ว่าเมื่อการรับเอาวัฒนธรรมต่างๆ เข้ามาโดยขาดความเข้าใจและบางครั้งประนีประนอมกับความบาป จนไปรับเอาเทพเจ้าซึ่งเป็นพระของคนต่างชาติ ทำให้เกิดผลเสียมาสู่ประเทศ นำเอาความหายนะมาสู่แผ่นดิน นี่เป็นข้อเตือนใจของเหตุการณ์นี้ เดือนทัมมุสเดือนแห่งการเตือนใจ เพื่อให้กลับใจ กลับมาแสวงหาพระเจ้า
แต่ชาวยิวก็ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งคือมีพวกที่รักษาหลักการของพระเจ้าไว้ คือ พวกยิวแบบดั้งเดิม หรือ Messianic Judaism พวกเขามีความเข้าใจในวาระเวลาของพระเจ้า รักษาพระบัญญัติของพระเจ้าอย่างเข้าใจ และดำเนินชีวิตตามหลักการของพระองค์

ข้อคิด คือ เราจึงต้องกลับสู่ความคิดแบบรากฐานของยิว ไม่ใช่ความคิดแบบกรีก โรมัน คือเราต้องทำความเข้าใจในวาระเวลาของพระเจ้า แต่ไม่ใช่กลับไปถือปฎิบัติตัวตามพิธีกรรมของยิว เพราะเป็นการถือปฎิบัติแต่พิธีกรรมเปลือกนอก


ฉะนั้นแต่และเดือนมีความหมายในเชิงการเผยพระวจนะ เราต้องทำการศึกษาให้เข้าใจเพื่อจะเข้าใจวาระเวลาของพระเจ้าแบบเผ่าอิสสาคาร์

เป็นโอกาสดีเลย ที่เราจะได้เรียนในหัวข้อ
เข้าใจความหมายของเดือนในเชิงการเผยพระวจนะ (Understanding the Months Prophetically)

นการสัมมนา Issachar School ครั้งที่ 2 ในวันที่ 9 – 10 กันยายน 2011 นี้ เชื่อว่าหลังจากสัมมนาครั้งนี้เราจะได้รับพระพรอย่างมาก