31 มีนาคม 2555

Acts 4:14-23_ตอบสนองการขัดขวางข่าวประเสริฐ

ศึกษาพระธรรมกิจการของอัครทูต
คริสตจักร “ต้นแบบ” ตามพระบัญชา

กิจการของอัครทูต 4:14-23
14 เมื่อเขาเห็นคนนั้นที่หายโรคยืนอยู่กับเปโตรและยอห์น เขาก็ไม่มีข้อคัดค้านที่จะพูดขึ้นได้
15 แต่เมื่อสั่งให้เปโตรกับยอห์นออกไปจากที่ประชุมแล้ว เขาจึงปรึกษากัน
16ว่า"เราจะทำอย่างไรกับคนทั้งสองนี้เพราะการที่เขาได้กระทำหมายสำคัญอันเด่น คนทั้งปวงที่อยู่ในกรุงเยรูซาเล็มก็รู้กันแล้วและเราปฏิเสธไม่ได้
17แต่ให้เราขู่เข็ญห้ามไม่ให้พูดอ้างชื่อนั้นกับผู้หนึ่งผู้ใดเลย เพื่อเรื่องนี้จะไม่ได้เลื่องลือแพร่หลายไปในหมู่คนทั้งปวง"
18เขาจึงเรียกเปโตรและยอห์นมาแล้วห้ามปรามเด็ดขาดไม่ให้พูด หรือสอนออกพระนามของพระเยซูอีกเลย
19 ฝ่ายเปโตรกับยอห์นตอบเขาว่า "จำเพาะพระพักตร์พระเจ้าข้าพเจ้าควรจะเชื่อฟังท่าน หรือควรจะเชื่อฟังพระเจ้าขอท่านทั้งหลายพิจารณาดู
20 ซึ่งข้าพเจ้าจะไม่พูดตามที่เห็นและได้ยินนั้นก็ไม่ได้"
21 เมื่อเขาขู่สำทับท่านทั้งสองนั้นอีก แล้วก็ปล่อยไป ไม่เห็นมีเหตุที่จะทำโทษท่านอย่างไรได้เพราะกลัวคน เหตุว่าคนทั้งหลายได้สรรเสริญพระเจ้า เนื่องด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น
22 ด้วยว่าคนที่หายโรคโดยหมายสำคัญนั้นมีอายุกว่าสี่สิบปีแล้ว
23 เมื่อเขาปล่อยท่านทั้งสองแล้วท่านจึงไปหาพวกของท่าน เล่าเรื่องทั้งสิ้นที่พวกมหาปุโรหิต และพวกผู้ใหญ่ได้ว่าแก่ท่าน
อารัมภบท
เราได้พิจารณาหนังสือกิจการฯ กันมาต่อเนื่อง ในครั้งก่อน บทที่ 4:1-13 บอกถึงการเผชิญกับการขัดขวางข่าวประเสริฐ ซึ่งหากเราอ่านดูในข้อ14-18 เป็นสถานการณ์อันคับขันที่อัครทูตเปโตรและอัครทูตยอห์นต้องเผชิญ คือ การขัดขวางในการประกาศข่าวประเสริฐ โดยไม่มีเหตุอันควร โดยขู่และห้ามไม่ให้ประกาศข่าวประเสริฐ แต่เราเห็นถึงความ "นิ่ง" ไม่ได้ตื่นตระหนก หวาดกลัวแต่มีการตอบสนองการขัดขวางการประกาศข่าวประเสริฐ ที่เราสามารถที่จะเรียนรู้ได้ ท่านได้ตอบบรรดาสภาชิกสภาแซนเฮดดรินซึ่งขัดขวางไม่ให้ท่านทั้งสองประกาศไปว่า(19)"...จำเพาะพระพักตร์พระเจ้าข้าพเจ้า ควรจะเชื่อฟังท่าน หรือควรจะเชื่อฟังพระเจ้าขอท่านทั้งหลายพิจารณาดู..." แสดงให้เห็นความกล้าหาญของท่าน ที่ท่านมีท่าทีในการตอบสนองการขัดขวางข่าวประเสริฐ โดย "ยำเกรงพระเจ้า มากกว่าเกรงใจมนุษย์" ในครั้งนี้เราจะมาพิจารณากันถึงการตอบสนองการขัดขวางข่าวประเสริฐ ว่าจะตอบสนองอย่างไร
1.ข้อสังเกตเพื่อใคร่ครวญ
หากเราศึกษาพระธรรมิกจาฯในบทต่อๆไปจะเห็นได้ว่าหลังจากเหตุการณ์นี้ อัครทูตเปโตรและยอห์น ท่านก็ยังสัตย์ซื่อในการประกาศข่าวประเสริฐต่อไปโดยไม่ได้เกรงอกเกรงใจ บรรดาสมาชิกสภาแซนเฮดดริน สมาชิกสภาฯพวกนี้จึงทนไม่ได้ จึงให้คนไปพาพวกสาวกมา และต่อว่าทำไมยังออกพระนามพระคริสต์อีก ทั้ง ๆ ที่สั่งไม่ให้กทำอีกต่อไป
กจ.5:29 ฝ่ายเปโตรกับอัครทูตอื่นๆตอบว่า "ข้าพเจ้าจำต้องเชื่อฟังพระเจ้า ยิ่งกว่าเชื่อฟังมนุษย์ นี่คือ คำกล่าวที่สะท้อนให้เห็นจุดยืนที่มั่นคงในสถานการณ์ที่ถูกขัดขวางว่า สิทธิอำนาจสูงสุดที่สมควรได้รับการนบนอบเชื่อฟัง คือ พระเจ้า

นี่เป็นการตอบสนองต่อการขัดขวางเพราะข่าวประเสริฐ ที่รักษาจุดยืนในการเชื่อฟังพระเจ้า
สถานการณ์นี้เป็นตัวอย่างซึ่งน่าจับตามอง ที่สะท้อนหลักการของ คริสเตียนที่จำเป็นต้องรักษาจุดยืน และ นบนอบต่อสิทธิอำนาจสูงสุด
เป็นการตระหนักถึงสิทธิอำนาจสูงสุดของพระเจ้า ที่ต้องเชื่อฟัง พระมหาบัญชาของพระเยซูคริสต์ ที่ให้ประกาศพระนามของพระองค์ไป จนสุดปลายแผ่นดินโลก โดยเริ่มต้นที่กรุงเยรูซาเล็มก่อน (มธ.28:19-20,กจ.1:8)
เราจำเป็นต้องเชื่อฟังพระเจ้า เราไม่อาจปิดซ่อนความปิติยินดีอันเกิดจากพระพรแห่งข่าวประเสริฐได้ ข่าวประเสริฐเรื่องพระคริสต์จำเป็นต้องถูกประกาศออกไป ผ่านชีวิตของเรา ผ่านคำพูดของเรา
อัครทูตเปาโลก็เป็นตัวอย่างของผู้มีจุดยืนในการเชื่อฟังพระมหาบัญชาของ พระเยซูคริสต์
ท่านประกาศจุดยืนนี้ในขณะที่แก้คดีต่อกษัตริย์อากริปปาอย่างน่าอัศจรรย์และ อย่างน่าประทับใจเป็นที่สุด (กจ.26:19 "ข้าแต่กษัตริย์อากริปปา เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ข้าพระบาทจึงเชื่อฟัง นิมิต ซึ่งมาจากสวรรค์นั้น และมิได้ขัดขืน และในการแก้คดีอย่างมีจุดยืนที่ตั้งใจเชื่อฟังพระเจ้า)เรายังได้เห็นตัวอย่างของบุคคลในพระคัมภีร์ที่เลือกเชื่อฟังพระเจ้าด้วยความยำเกรง เช่น ดาเนียล และเพื่อนๆ เมื่อท่านเหล่านี้มีจุดยืนที่ยืนหยัดเชื่อฟังพระเจ้า ในขณะที่เผชิญกับการต่อต้านขัดขวาง ผลที่ได้รับเมื่อยืนหยัดเชื่อฟังพระเจ้านั้น ล้วนแต่เป็นพระพรและการช่วยกู้ทั้งสิ้น
นี่คือตัวอย่างที่ทำให้เรามั่นใจได้ว่า เพียงขอให้เรายืนหยัดเชื่อฟังพระเจ้า จะไม่มีอันตรายใด ๆ มาทำร้ายเราได้ หากพระเจ้าไม่ทรงอนุญาต ดังนั้นสิ่งที่เป็นการตอบสนองคือ การเชื่อฟังพระเจ้าและสัตย์ซื่อในการประกาศข่าวประเสริฐต่อไป

เพราะเมื่อเชื่อฟังพระเจ้าและสัตย์ซื่อในการประกาศข่าวประเสริฐต่อไป ในข้อ 20-22 เราจะเห็นได้ว่าทั้งอัครทูตเปโตรและอัครทูตยอห์น ที่สัตย์ซื่อในการประกาศข่าวประเสริฐ ท่านพูดตามทุกสิ่งที่ท่านได้ยินและได้เห็นที่พระเยซูคริสต์กระทำ เป็นความมั่นใจในความจริงแห่งข่าวประเสริฐ โดยท่านไม่ต้องเกรงกลัวสิ่งใด และสิ่งที่เกิดขึ้นกับท่านคือ "ไม่มีใครที่สามารถเอาผิดจากท่านได้ และชีวิตท่านทั้งสองยังเป็นเหตุให้คนสรรเสริญพระเจ้า"(21-22)

ข้อ 21 ตอนต้นบันทึกต่อไปว่า เมื่อเขาขู่สำทับท่านทั้งสองนั้นอีก แล้วก็ปล่อยไป ไม่เห็นมีเหตุที่จะ ทำโทษท่านอย่างไรได้ ...
ปลายข้อ 21-22 บันทึกต่อไปอีกว่า ...เหตุว่าคนทั้งหลายได้สรรเสริญพระเจ้าเนื่องด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ...ด้วยว่าคนที่หายโรคโดยหมายสำคัญนั้นมีอายุกว่าสี่สิบปีแล้ว
2.ข้อคิดสะกิดใจ

เหตุการณ์จากพระธรรมตอนนี้ทำให้ผมได้รับข้อคิดว่า ในทุกสถานการณ์ที่ร้ายจะมีสิ่งที่ดีที่พระเจ้าทรงซ่อนไว้เสมอ เมื่อตอบสนองอย่างถูกต้องคือ "การเชื่อฟังและสัตย์ซื่อ" ผลจากการตอบสนองคือ ชีวิตของเราจะเป็นคำพยานที่ทำให้คนสรรเสริญพระเจ้า แม้จะมีคนที่คิดร้ายพยายามที่จะใส่ข้อหา แต่ก็ไม่สามารถเอาผิดได้

ข้อคิดอีกสิ่งหนึ่งนั่นคือ การตอบสนองการขัดขวางข่าวประเสริฐ ต้องมีการร่วมใจกันต่อเผชิญการขัดขวางข่าวประเสริฐ
ข้อ 23 บันทึกต่อไปว่า...เมื่อเขาปล่อยท่านทั้งสองแล้วท่านจึงไปหาพวกของท่านเล่าเรื่องทั้งสิ้นที่พวกมหาปุโรหิต และพวกผู้ใหญ่ได้ว่าแก่ท่าน
ทันทีที่อัครทููตเปโตรและอัครทูตยอห์นถูกปล่อยตัว บุคคลกลุ่มแรกที่ท่านนึกถึง คือพี่น้องในความเชื่อทั้งมหาปุโรหิตและพวกผู้ใหญ่
การต่อสู้ต้องต่อสู้ร่วมกันเป็นชุมชนไม่ใช่เผชิญการต่อต้านอย่างลำพัง เป็นภาพของการผูกพันตัวกันภายในชุมชนอย่างเหนียวแน่น คริสตจักรในสมัยแรกมีความใกล้ชิดผูกพันกัน
กจ.2:46 เขาได้ร่วมใจกันไปในพระวิหาร และหักขนมปังตามบ้านของเขา ร่วมรับประทานอาหารด้วยความชื่นชมยินดีและใจกว้างขวางทุกวันเรื่อยไป
เป็นภาพของการร่วมทุกข์ร่วมสุขภายในชุมชนอย่างลึกซึ้ง ไม่เพียงเฉพาะในยามภาวะปกติเท่านั้น แม้ในยามวิกฤตการณ์ก็ยังผูกพันกันไม่ทอดทิ้งกัน ดังเช่น อีกเหตุการณ์หนึ่งเมื่ออัครทูตเปโตรถูกจับจองจำในคุก พระคัมภีร์บอกว่าคริตจักรได้อธิษฐานเผื่อท่านด้วยใจร้อนรน
กจ.12:5 เพราะฉะนั้นเปโตรจึงถูกจำไว้ในคุก แต่ว่าคริสตจักรได้อธิษฐาน
พระเจ้าเพื่อเปโตรด้วยใจร้อนรน และทันทีที่เปโตรได้รับการช่วยจากพระเจ้าโดยส่งทูตสวรรค์ไปช่วยออกจากคุก
บุ
คคลกลุ่มแรกที่อัครทูตเปโตรไปหาทันที ก็คือ พี่น้องในชุมชนผู้เชื่อ
กจ.12:11-12
11 ครั้นเปโตรรู้สึกตัวแล้วจึงว่า "เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้ารู้แน่ว่า องค์พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงใช้ทูตของพระองค์มาช่วยข้าพเจ้า ให้พ้นจากอำนาจของเฮโรดและพ้นจากการมุ่งร้ายของพวกยิว"
12 เมื่อเปโตรคิดอย่างนั้นแล้ว ก็มาถึงตึกของมารีย์ มารดาของยอห์นผู้มีชื่ออีกว่ามาระโก ที่นั่นมีหลายคนได้ประชุมอธิษฐานกันอยู่
อัครทูตเปาโลและสิลาส ก็เช่นกัน ทันทีที่เป็นอิสระจากการถูกจองจำที่คุกในเมืองฟิลิปปี บุคคลกลุ่มแยกที่ท่านทั้งสองไปหา คือ พี่น้องในชุมชน
กจ.16:40 ท่านทั้งสองจึงออกจากคุก แล้วได้ไปเยี่ยมนางลิเดียเมื่อพบพวก
พี่น้อง ก็พูดจาหนุนใจเขาแล้วก็ลาไป

นี่คือ ตัวอย่างของคริสตจักรต้นแบบเมื่อต้องเผชิญกับการต่อสู้ขัดขวางเพราะข่าวประเสริฐ ไม่มีใครทอดทิ้งใคร ยิ่งมีความทุกข์ยาก ยิ่งผูกพันกันอย่างเหนียวแน่น
อัครทูตเปาโลเขียนจดหมายถึงพี่น้องคริสเตียนที่เมืองฟิลิปปีถึงความรู้สึกซาบซึ้งใจ ที่พี่น้องร่วมทุกข์กับท่าน ในยามที่ต้องเผชิญกับการข่มเหง และ ต้องทำงานอย่างหนักหน่วง
ฟิลิปปี 4:14-19
14 ถึงกระนั้นก็เป็นความกรุณาของท่าน ที่ได้ร่วมทุกข์กับข้าพเจ้า
15 และพวกท่านชาวฟีลิปปีก็ทราบอยู่แล้วว่า การประกาศข่าวประเสริฐในเวลาเริ่มแรกนั้น มาตอนเมื่อข้าพเจ้าออกไปจากแคว้นมาซิโดเนีย ไม่มีคริสตจักรใดมีส่วนร่วมกับข้าพเจ้าในรายรับรายจ่ายเลย นอกจากพวกท่านพวกเดียวเท่านั้น
16 ถึงแม้เมื่อข้าพเจ้าอยู่ที่เมืองเธสะโลนิกา พวกท่านก็ได้ฝากของมาช่วยหลายครั้งหลายหน นั่นคือ การร่วมทุกข์สุของพี่น้องที่ฟิลิปปีที่ดูแลเปาโลอย่างสม่ำเสมอไม่ว่าท่านจะเดินทางไปทำพระราชกิจ ณ ที่ใด
และอัครทูตเปาโลกล่าวต่อใน ข้อ 17-19 ว่า พระพรของพระเจ้าย่อมมาถึงชีวิตของพี่น้องที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับท่านเช่นกัน
17 มิใช่ว่าข้าพเจ้าปรารถนาจะได้รับของให้ แต่ว่าข้าพเจ้าอยากให้ท่านได้ผลกำไรในบัญชีของท่านมากขึ้น
18 ข้าพเจ้าได้รับครบ และมากกว่านั้นอีก ข้าพเจ้าก็อิ่มอยู่เพราะได้รับของจากเอปาโฟรดิทัสซึ่งพวกท่านส่งไปให้ เป็นกลิ่นหอมเป็นเครื่องบูชาที่ทรงโปรดและพอพระทัยของพระเจ้า
19 และพระเจ้าของข้าพเจ้าจะประทานสิ่งสารพัดที่พวกท่าน ขาดอยู่นั้นจากทรัพย์อันรุ่งเรืองของพระองค์ในพระเยซูคริสต์

เราควรมีความรักความผูกพันกันในชุมชนอย่างเหนียวแน่น ทั้งยามภาวะปกติ และ ภาวะที่ไม่ปกติ ไม่ใช่ยามสุขเราอยู่ แต่พอยามยากก็ตีจาก
รม 12:15 จงชื่นชมยินดีกับผู้ที่มีความชื่นชมยินดี จงร้องไห้กับผู้ที่ร้องไห้
หมายความว่า ไม่เฉพาะยามสุขที่เราผูกพันกัน แต่ในยามทุกข์เราจะยิ่ง รักผูกพันและไม่ทอดทิ้งกัน
เมื่ออัครทูตเปโตรและอัครทูตยอห์นต้องเผชิญกับการขัดขวาง ท่านไม่ได้รู้สึกโดดเดี่ยวหรือถูกทอดทิ้งให้เผชิญตามลำพัง ท่านรู้ว่าพี่น้องในชุมชนมีความห่วงใย
ในขณะที่ทั้งสองถูกจับ 1 คืน ก่อนจะถูกนำตัวออกมาสอบสวน เชื่อแน่ว่า พี่น้องในชุมชนอธิษฐานและรอฟังข่าวด้วยใจจดจ่อทันทีที่ได้รับอิสรภาพ ท่านทั้งสองเดินทางไปหาพี่น้องทันที ในวันนี้เราต้องเห็นความสำคัญของคริสตจักร ที่แม้ว่าอยู่ในประเทศไทย เราไม่ถูกการข่มเหงหรือต่อต้านการประกาศข่าวประเสริฐ เราควรจะอธิษฐานเผื่อและปกป้องกันและกันไว้ เพราะในอนาคตข้างหน้า หากมีการข่มเหงหรือต่อต้าน เราจะสามารถมีกำลังต่อสู้ได้ และเราควรจะอธิษฐานเผื่อคริสตชนในประเทศต่างๆ ที่มีการข่มเหงให้พระเจ้าทรงปกป้องคนเหล่านี้ไว้


3.ข้อสรุปเพื่อการประยุกต์ใช้

ผมขอสรุปหลักการไว้ดังนี้ คือ เมื่อถูกต่อต้านขัดขวางการประกาศข่าวประเสริฐ ให้เรายำเกรงพระเจ้ามากกว่าเกรงใจมนุษย์ ให้เราเชื่อฟังและสัตย์ซื่อทำหน้าที่ของเราต่อไป และอย่าคิดว่าเผชิญการต่อต้านเพียงลำพัง แต่เราควรจะมารวมพลัง ร่วมใจกันอธิษฐานเผื่อกันและกัน

เชื่อว่าเราจะสามารถเผชิญสถานการณ์ทุกสิ่งด้วยชัยชนะจากพระเจ้า

ขอพระเจ้าอวยพระพร พบกันใหม่สัปดาห์หน้านะครับ

26 มีนาคม 2555

Nissan—First Month of the Hebrew Year

Nissan—First Month of the Hebrew Year
by

Nissan—First Month of the Hebrew Year
March 24–April 22, 2012
Nissan is the first Hebrew month. It is sometimes known as Abib (or Aviv).

1. The tribe of Judah is associated with this
month. Judah goes first into warfare. (See Judges 1:2; 20:18.) Judah was also the first tribe in the order of procession when Israel moved in the wilderness (Num. 10:14). Judah means “praise,” and is also the way we can keep our hand on the neck of the enemy (Gen. 49:8). Let everything we do start with an attitude of thanksgiving and praise.
2.The month in which spring starts; the beginning of the month of direct light. Declare that your light is getting brighter. (See Isaiah 60; Luke 2:32; Isaiah 49:6; and Acts 26:18.) Light also signifies “revelation.” Expect God to show you the paths and strategies you need.
3.The month of Passover. (Passover occurs on the 14th of Nissan: April 6, 2012). Passove
r is designed to help us enter into a fuller experience of our great salvation in Jesus. We do this by examining the first Passover. Note the following things:
A. Deliverance. Remember where we came from. Say, “Lord, Thank You for this year; thank You for how you delivered me in the past, and for the many ways You will deliver me this year.”
B. Every Passover expect new a level of deliverance. Peter was set free from prison in Acts 12. Is anything (e.g., a bad habit) holding you back? Believe for deliverance.
C. Passover is a time of crossing over (e.g., the Red Sea, the Jordan River in Joshua 4–5). Realize that you are crossing into something new. Here in Japan, we definitely are crossing into a brand new season.
D. Reproach is being rolled away (Josh. 5:9). Any old sense of failure that is still a part of our identities that is allowed to remain will hinder us. Jesus wants to roll that off of us.
E. New provision (Josh. 5:10–12). Each Passover is a time when the Lord wants to bless us with new provision. Be sure to ask Him for it.

F. New intimacy with the Lord, and new strategy.
4.The month of redemption. (A price has been paid for you to be set free from each one of your “prisons.”) Read Ruth, and see how Boaz bought back the property that had been lost for Ruth and Naomi, and how this brought Ruth into her destiny. Declare all is being unlocked and that you are moving into your destiny. Jesus has bought back your destiny.
5.The month of the beginning of miracles. (See Nehemiah 2:1; Esther 3:7.)
6.The month that sets the course for your future. Again, this is why it is so important to keep moving in praise.
7.The annual renewal of Gods “HEI” plan. Every year, the spirit of God needs to blow on you during this month. Ask the Holy Spirit to blow upon you for refreshing, for new revelation, and for a quickened understanding of what God is doing.
8.Linked to the constellation “Aries” (the ram, or the lamb). Jesus is the lamb of God who takes away the sin of the world (John 1:29). God provided a ram for Abraham instead of Isaac. He is Jehovah Jireh, and God will provide (Gen. 22:14). Expect unusual sources of provision.
9.The month kings go to war; the new year for kings. God wants to “expand” you. Declare that plans and new beginnings shall begin to take place. Do warfare over those declarations (2 Sam. 11:1).
10.The month of speech. If you speak negatively during this month, it will adversely affect you 3–4 months later. The seeds of negativity take root and will pull you backward. Conversely, your positive confessions should “grab the wind” and change the atmosphere. (See 1 Peter 3:9; 1 Samuel 1:17; 2:20–21.)
11.The “controller month.” You need to assess both where you are at and where you are going.
12.The month where you need to “learn to fish.” If you can’t pay your taxes, pull a coin out of a fish’s mouth. Let the Lord give you new and unusual means of supply. (See Matthew 17:27.)
13.“Step forward with your better foot.” Don’t wait and hold back. Move ahead confidently in God. Numbers 33:3 (AMP) says, “The Israelites went out [of Egypt] with a high hand and triumphantly.”

http://arise5.com/#/hebrew-months

21 มีนาคม 2555

Acts 4:1-13_เผชิญการต่อต้านข่าวประเสริฐ

ศึกษาพระธรรมกิจการของอัครทูต
คริสตจักร “ต้นแบบ” ตามพระบัญชา
กิจการของอัครทูต 4:1-13
1 ขณะที่เปโตรกับยอห์นยังกล่าวแก่คนทั้งปวงอยู่ ปุโรหิตทั้งหลายกับนายทหารรักษาพระวิหาร และพวกสะดูสีมาหา
2 ด้วยเขางุ่นง่านใจเพราะท่านทั้งสองได้สั่งสอนและประกาศแก่คนทั้งหลาย ถึงเรื่องการเป็นขึ้นมาจากความตาย โดยอ้างการคืนพระชนม์ของพระเยซู
3 เขาจึงจับท่านทั้งสองจำไว้ในคุกจนวันรุ่งขึ้น เพราะว่าเย็นแล้ว
4 แต่คนเป็นอันมากที่ได้ฟังคำสอนนั้นก็เชื่อ จำนวนผู้ชายจึงเพิ่มขึ้นจนนับได้ประมาณห้าพันคน
5 ครั้นรุ่งขึ้นพวกผู้ครอบครองกับพวกผู้ใหญ่ และพวกธรรมาจารย์ได้ประชุมกันในกรุงเยรูซาเล็ม
6 ทั้งอันนาสมหาปุโรหิตและคายาฟาส ยอห์นอเล็กซานเดอร์ กับคนอื่นๆที่เป็นญาติของมหาปุโรหิตนั้นด้วย
7 เมื่อเขาให้เปโตรและยอห์นยืนอยู่ท่ามกลางพวกเขาแล้ว จึงถามว่า "ท่านทั้งสองได้ทำการนี้โดยฤทธิ์หรือในนามของผู้ใด"
8 ขณะนั้นเปโตรประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์กล่าวแก่เขาว่า "ดูก่อน ท่านผู้ครอบครองพลเมืองและพวกผู้ใหญ่ทั้งหลาย
9 ถ้าท่านทั้งหลายจะถามข้าพเจ้าในวันนี้ ถึงการกุศลซึ่งได้ทำแก่คนป่วยนี้ว่า เขาหายเป็นปกติโดยเหตุอันใดแล้ว
10 ก็ให้ท่านทั้งหลายกับบรรดาชนอิสราเอลทราบเถิดว่า โดยพระนามของพระเยซูคริสต์ชาวนาซาเร็ธ ซึ่งท่านทั้งหลายได้ตรึงไว้ที่กางเขน และซึ่งพระเจ้าได้ทรงโปรดให้คืนพระชนม์ โดยพระองค์นั้นแหละชายคนนี้ที่ยืนอยู่ต่อหน้าท่าน จึงได้หายโรคเป็นปกติ
11 พระองค์เป็น ศิลา ที่ท่านทั้งหลายผู้เป็น ช่างก่อได้ทอดทิ้ง ซึ่งได้เป็นศิลามุมเอกแล้ว
12 ในผู้อื่นความรอดไม่มีเลย ด้วยว่านามอื่นซึ่งให้เราทั้งหลายรอดได้ ไม่ทรงโปรดให้มีในท่ามกลางมนุษย์ทั่วใต้ฟ้า"
13 เมื่อเขาเห็นความกล้าหาญของเปโตรกับยอห์น และรู้ว่าท่านทั้งสองขาดการศึกษาและเป็นคนสามัญ ก็ประหลาดใจ แล้วสำนึกว่าคนทั้งสองเคยอยู่กับพระเยซู

อารัมภบท
สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน เราได้ศึกษาพระธรรมกิจการฯด้วยกันอย่างต่อเนื่อง ในครั้งนี้เป็นตอนที่ 10แล้ว โดยในครั้งนี้มีสาระที่สำคัญของเหตุการณ์ นั่นคือ การเผชิญการต่อต้านข่าวประเสริฐ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของช่วงเวลาที่มีการข่มเหงผู้เชื่อในเวลาต่อมา ในครั้งนี้เราจะมาพิจารณาด้วยกันถึงสาเหตุของการต่อต้านและการเผชิญการต่อต้านข่าวประเสริฐว่าจะตอบสนองอย่างไร
1.ข้อสังเกตเพื่อใคร่ครวญ
ในขณะที่เปโตรประกาศข่าวประเสริฐเรื่องพระคริสต์ให้แก่คนยิวที่มายืนห้อมล้อมด้วยความสนอกสนใจว่า เกิดอะไรขึ้นกับชายที่เป็นง่อยแต่กำเนิด ข่าวนี้ได้แพร่สะพัดออกไปทั่ว และสถานที่ที่พระเจ้าทรงทำการอัศจรรย์รักษาชายที่เป็นง่อยแต่กำเนิดผ่านมือของเปโตรกับยอห์นั้น ก็เป็นบริเวณพระวิหาร ซึ่งเป็นช่วงเวลาอธิษฐานที่มีผู้คนเดินทางมายังพระวิหาร
ท่ามกลางผู้คนที่สนใจในเหตุการณ์นั้นนั่นเอง ได้มีบรรยากาศของการต่อต้านขัดขวางเกิดขึ้นข้อ 1,2,5 และ 6 ได้บรรยายให้เราเห็น สาเหตุของการขัดขวางอย่างชัดเจน นั่นคือ "การต่อต้านความจริงเรื่องพระคริสต์" เราจะเห็นได้ว่าพวกที่เป็นปุโรหิต ฟาริสี ธรรมาจารย์ผู้ที่เคร่งครัดในธรรมบัญญัติ แต่มีวิญญาณศาสนาที่ครอบงำ มีความรู้สึกโกรธจนระงับความโกรธไม่ได้ พระธรรมตอนนี้ในข้อ 2 ใช้คำว่า “งุ่นง่านใจ” ความหมายในภาษาเดิมให้ความรู้สึกที่ปนกันระหว่างความขุ่นเคืองใจ กับ ความโกรธความรู้สึกขุ่นเคืองใจระคนกับโกรธนี้ ไม่ได้มาจากสาเหตุเพราะอัครทูตปโตรกับอัครทูตยอห์นสร้างความวุ่นวายในที่สาธารณะอย่างเปิดเผย ทหารรักษาพระวิหารไม่ได้งุ่นง่านใจเพราะทั้งสองทำลายความเป็นระเบียบเรียบร้อยของพระวิหารแต่เหตุใหญ่ที่สุด ก็เพราะคำสั่งสอนของอัครทูตเปโตรที่กล่าวอยู่ในขณะนั้น
พวกเขารู้สึกคำสั่งสอนของเปโตรว่า กำลังก่อกวนและคัดค้านอำนาจของพวกเขากับสิ่งที่พวกเขาเชื่อ โดยเฉพาะเรื่องการเป็นขึ้นมาจากความตายที่อ้างถึงการฟื้นคืนพระชนม์ของพระคริสต์พวกเขารู้สึกเจ็บปวดและทนไม่ได้ ที่เห็นฝูงชนสนอกสนใจฟังข่าวประเสริฐที่ประกาศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเขาทนไม่ได้ที่เห็นคนพากันกลับใจมาหาพระเจ้าผ่านการประกาศข่าวประเสริฐของอัครทูตเปโตรถึง 3 พันคน(กจ.2:41) เรื่องหลักเป็นเรื่องที่พระคริสต์ทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย !นี่คือ ประเด็นหลักที่ทำให้กลุ่มคนเหล่านั้น รู้สึกงุ่นง่านใจ ขุ่นเคืองใจระคนโกรธ ไม่เพียงเพราะพวกเขาไม่เชื่อเรื่องการเป็นขึ้นมาจากความตาย แต่พวกเขายังต่อต้านความจริงที่พระคริสต์ทรงฟื้นคืนพระชนม์ เขาไม่อาจรับฟังความจริงเรื่องนี้ที่ว่า พระคริสต์ทรงเป็นขึ้นมาจากความตายแล้ว! คนกลุ่มนี้งุ่นง่านใจ และ คงรู้สึกเหนื่อยใจจริง ๆ เพราะคงคิดว่าสามารถจัดการหัวหน้าใหญ่สุดได้แล้ว คือ พระคริสต์ ในวันที่จับพระองค์ตรึง เพราะเมื่อพระคริสต์ยังทรงดำเนินอยู่ในโลกนี้ พวกเขาก็ตั้งป้อต่อสู้ ขัดขวางพระองค์เสมอมา พวกมหาปุโรหิตและฟาริสีเรียกประชุมสมาชิกสภาเพื่อหาทางกำจัดพระองค์ เมื่อจับพระเยวูคริสต์ตรึงไปแล้วนึกว่าจะสงบเงียบ ปิดปากพวกคริสเตียนไม่ให้เราเรื่องข่าวประเสริฐได้ แต่มันไม่ได้ผล เพราะข่าวประเสริฐยิ่งแพร่กระจายออกไป จึงหาเรื่องจับกุมตัว

ข้อ 3 บรรยายต่อไปว่า เขาจึงจับท่านทั้งสองจำไว้ในคุกจนวันรุ่งขึ้น เพราะว่าเย็นแล้ว
ในที่สุดพวกเขาก็ตัดสินใจจับเปโตรกับยอห์นไว้ในคุก โดยคิดว่า เป็นวิธีการควบคุมไม่ให้ข่าวประเสริฐถูกประกาศแพร่หลายต่อไปและเหตุผลที่พวกเขาจับคือ "การประกาศข่าวประเสริฐเกินเวลา" เนื่องจากตามธรรมเนียมสมัยนั้น ประตูพระวิหารจะปิดเวลาประมาณ 4 โมงเย็น
ซึ่งเมื่อประตูพระวิหารปิดพวกเจ้าหน้าที่ยิวถือว่าหมดเวลาการทำงาน และจะไม่มีการทำกิจกรรมใด ๆ อีก ดังนั้นพวกเขาจึงต้องจับเปโตรและยอห์นขังไว้ก่อนเพื่อจะพิจารณาความในวันรุ่งขึ้น
เกิดอะไรขึ้นเมื่อเปโตรและยอห์นถูกจับกุมขังไว้ในคุก เพื่อรอการพิจารณาในวันรุ่งขึ้น

ข้อ 4 แต่คนเป็นอันมากที่ได้ฟังคำสอนนั้นก็เชื่อ จำนวนผู้ชายจึงเพิ่มขึ้นจนนับได้ประมาณห้าพันคน
เราเห็นชัดเจนว่า แม้มีความพยายามกีดกัน กักกัน เพื่อให้เปโตรกับยอห์นประกาศข่าวประเสริฐ ก็กีดกันได้เพียงแต่ตัวของท่านทั้งสองได้เท่านั้น ไม่อาจกีดกั้นฤทธานุภาพแห่งข่าวประเสริฐได้ ข้อ 4 บอกว่า ขณะที่ทั้งสองถูกจำกัดเสรีภาพ ข่าวประเสริฐของพระเจ้าได้มีชัย
เพราะคนที่ได้ฟังการประกาศข่าวประเสริฐของเปโตรนั้นได้เชื่อ นับจำนวนผู้ชายเพิ่มขึ้นจนนับได้ห้าพันคน นี่คือ ผลที่เกิดขึ้นตามมา ไม่มีใครอาจสามารถปิดประตูข่าวประเสริฐได้ ถ้าพระเจ้าเป็นผู้เปิด แม้ดูเหมือนว่า คนของพระเจ้าถูกจำกัดเสรีภาพเสียแล้ว แต่พระเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ข่าวประเสริฐของพระองค์เต็มด้วยฤทธานุภาพทำงานในใจของคนให้ตอบสนองข่าวประเสริฐนั้นได้ ข้อคิดที่เราได้รับคือ การต่อต้านเรื่องข่าวประเสริฐ เกิดขึ้นในทุกยุคสมัย เราจะต้องทำความเข้าใจ และการเผชิญหน้าความจริงนี้ เราจะมาดูว่าเราจะเผชิญหน้ากับการต่อต้านข่าวประเสริฐได้อย่างไร

2.ข้อคิดสะกิดใจ
7 เมื่อเขาให้เปโตรและยอห์นยืนอยู่ท่ามกลางพวกเขาแล้ว จึงถามว่า "ท่านทั้งสองได้ทำการนี้โดยฤทธิ์หรือในนามของผู้ใด"
8 ขณะนั้นเปโตรประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์กล่าวแก่เขาว่า "ดูก่อน ท่านผู้ครอบครองพลเมืองและพวกผู้ใหญ่ทั้งหลาย
9 ถ้าท่านทั้งหลายจะถามข้าพเจ้าในวันนี้ ถึงการกุศลซึ่งได้ทำแก่คนป่วยนี้ว่า เขาหายเป็นปกติโดยเหตุอันใดแล้ว
10 ก็ให้ท่านทั้งหลายกับบรรดาชนอิสราเอลทราบเถิดว่า โดยพระนามของพระเยซูคริสต์ชาวนาซาเร็ธ ซึ่งท่านทั้งหลายได้ตรึงไว้ที่กางเขน และซึ่งพระเจ้าได้ทรงโปรดให้คืนพระชนม์ โดยพระองค์นั้นแหละชายคนนี้ที่ยืนอยู่ต่อหน้าท่าน จึงได้หายโรคเป็นปกติ
11 พระองค์เป็น ศิลา ที่ท่านทั้งหลายผู้เป็น ช่างก่อได้ทอดทิ้ง ซึ่งได้เป็นศิลามุมเอกแล้ว
12 ในผู้อื่นความรอดไม่มีเลย ด้วยว่านามอื่นซึ่งให้เราทั้งหลายรอดได้ ไม่ทรงโปรดให้มีในท่ามกลางมนุษย์ทั่วใต้ฟ้า"
13 เมื่อเขาเห็นความกล้าหาญของเปโตรกับยอห์น และรู้ว่าท่านทั้งสองขาดการศึกษาและเป็นคนสามัญ ก็ประหลาดใจ แล้วสำนึกว่าคนทั้งสองเคยอยู่กับพระเยซู

ท่ามกลางสภาที่ไตร่สวนเอาความผิดอัครทูตเปโตรและอัครทูตยอห์น คำถามแรกที่ถูกซักฟอก คือ “ท่านทั้งสองได้การนี้โดยฤทธิ์หรือในนามของผู้ใด”
คำถามนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ถามประจักษ์แก่สายตาของตนเองว่า ชายผู้เป็นง่อยแต่กำเนิดเดินได้แล้ว ! เป็นคำถามที่บ่งบอกให้รู้ว่า ผู้ถามไม่ปฏิเสธว่าการอัศจรรย์นั้นเกิดขึ้นจริง !แต่ใครเป็น
ผู้ทำ!
(กจ.4:15-16)...แต่เมื่อสั่งให้เปโตรกับยอห์นออกไปจากที่ประชุมแล้วเขาจึงปรึกษากันว่า "เราจะทำอย่างไรกับคนทั้งสองนี้ เพราะการที่เขาได้กระทำหมายสำคัญอันเด่นคนทั้งปวงที่อยู่ในกรุงเยรูซาเล็มก็รู้กันแล้วและเราปฏิเสธไม่ได้
และการที่ถามว่า “ได้ทำการนี้โดยฤทธิ์หรือในนามของผู้ใด” นั้นเป็นคำถามที่ต้องการบอกว่า ใครให้สิทธิอำนาจมาให้ทำเช่นนี้
พระเยซูก็เคยถูกตั้งคำถามแบบเดียวกันนี้เช่นกัน ใน
มธ.21:23 เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปในบริเวณพระวิหาร ในเวลาที่ทรงสั่งสอนอยู่พวกมหาปุโรหิตและพวกผู้ใหญ่ของประชาชนมาหาพระองค์ ทูลถามว่า "ท่านมีสิทธิอันใดจึงได้ทำเช่นนี้ ใครให้สิทธิแก่ท่าน"
ไม่ว่าคำถามที่เปโตรและยอห์นได้หรือที่พระเยซูได้รับ ต่างเป็นคำถามที่ส่อถึงความตั้งใจขัดขวางและต่อต้านสิทธิอำนาจที่มาจากสวรรค์
ในขณะนั้นเอง เมื่อเปโตรเผชิญกับคำถามที่ปราศจากความจริงใจและต้องต่อสู้ขัดขวางนั้นเอง
ข้อ 8 ...ขณะนั้นเปโตรประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์กล่าวแก่เขาว่า "ดูก่อนท่านผู้ครอบครองพลเมืองและพวกผู้ใหญ่ทั้งหลาย
พระสัญญาของพระเยซูใน มธ.10:19-20 นั้น ได้เป็นจริงในเหตุการณ์
19 แต่เมื่อเขาอายัดท่านไว้นั้นอย่าเป็นกังวลว่าจะพูดอย่างไร เพราะเมื่อถึงเวลาคำที่ท่านจะพูดนั้น พระเจ้าจะทรงประทานแก่ท่านในเวลานั้น
20 เพราะว่าผู้ที่พูดมิใช่ตัวท่านเอง แต่เป็นพระวิญญาณแห่งพระบิดาของท่านผู้ตรัสทางท่าน

นี่เป็นวิธีการเผชิญการต่อต้านเพราะ “เปโตรประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์”
พระวิญญาณบริสุทธิ์นี่เอง ที่ทรงเป็นผู้นำท่านให้เข้าใจความจริงทั้งมวล และเป็นผู้ช่วยให้ท่านพ้นจากความกลัว
ก่อนหน้านี้ เปโตรไม่ได้มีความกล้าหาญอย่างนี้
ลก.22:54-62 ได้บันทึกเหตุการณ์ก่อนหน้าที่เปโตรจะได้รับบัพติศมาด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ว่า ท่านหวาดกลัวเกินกว่าที่จะสามารถยอมรับว่าเคยอยู่กับพระเยซูมาก่อน ในขณะที่พระเยซูถูกไตร่สวนเพื่อนำไปสู่การประหาร นั่นคือประสบการณ์ที่ล้มเหลวของเปโตร ก่อนที่ท่านจะได้รับพระวิญญาณแต่ในเหตุการณ์ กิจการ 4 ในตอนนี้ เปโตรได้เป็นคนใหม่แล้ว
ประสบการณ์ที่ห้องชั้นบนในวันเพ็นเทคอสต์ได้ทำให้ท่านมีความกล้าหาญ
ขณะที่เปโตรยืนอยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ในบ้านเมืองขณะนั้น ท่านมีความพร้อม ไม่เพียงแต่พร้อมด้วยชีวิตที่เดินกับพระเจ้า เห็นได้จากการที่พระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จมาสวมทับให้เต็มล้น
นั่นคือ ไม่เพียงแต่พร้อมด้วยข้อมูลที่ไม่ใช่เพียงสาระที่อยู่ในสมอง แต่พร้อมมาจากชีวิตที่เดินกับพระเจ้า ชีวิตที่เต็มล้นด้วยพระวิญญาณ(อฟ.6:18) บอกด้วยไวยากรณ์ที่แสดงถึงความต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุดว่า “จงประกอบด้วยพระวิญญาณ” หมายความว่า เต็มล้นแล้วเต็มล้นอีก การโต้เถียงไม่ได้เป็นคำตอบ การโต้เถียงไม่ได้เป็นสิ่งที่ช่วยคนให้เปิดใจรับฟัง ดังนั้น เราควรอธิบายเมื่อมีคนถามเราถึงเหตุที่มาที่ไปของการมา ยอมรับพระเยซูว่าเป็นพระเจ้า ด้วยใจที่สุภาพ ด้วยความถ่อมใจ นั่นคือ สิ่งที่พระวจนะพระเจ้าได้บอกไว้ นั่นคือส่วนของเรา
แต่ในส่วนของพระเจ้านั้น พระเยซูได้ตรัสสัญญาไว้ใน ลก. 21:15ด้วยว่าเราจะให้ปากและปัญญาแก่ท่าน ซึ่งศัตรูทั้งหลายของท่านจะต่อต้านและคัดค้านไม่ได้
นี่คือ พระสัญญาที่ทำให้เราอุ่นใจ ทำให้เราไม่ต้องกังวลใจหากสถานการณ์ที่คับขันเช่นนั้นมาถึงพระวิญญาณ เป็นผู้ทำให้เรามีถ้อยคำที่กอปรด้วยปัญญาและฤทธิ์เดชนั่นคือ การเผชิญการขัดขวางประเสริฐ

นอกจากการเต็มล้นด้วยพระวิญญาณฯในการเผชิญการต่อต้านแล้ว เราต้องกล่าวความจริงอย่างครอบถ้วนด้วยใจที่กล้าหาญ
ในข้อ 9-12 คือ เนื้อหาสาระที่เป็นถ้อยคำของอัครทูตเปโตรที่ได้ตอบคำถามของ คนเหล่านั้น ที่ตั้งป้อมต่อสู้ขัดขวาง
ท่านไม่ได้พยายามหลบหลีกคำถามที่ถูกซักฟอกนี้ หรือ พยายามหาอุบายตอบโต้ แต่พูดความจริง แม้ว่าการพูดความจริงนี้หมายถึงการนำอันตรายมาสู่ชีวิตของท่านก็ตาม แม้เป็นการพูดความจริงต่อหน้ากลุ่มคนที่มีอำนาจจัดการเอาเรื่องท่านได้ แต่ท่านเลือกที่จะพูดความจริงอย่างเปิดเผย อย่างชัดเจน ถือว่า นี่คือโอกาสที่คนเหล่านั้นเปิดโอกาสให้พูด ท่านฉวยโอกาสนี้ทันที เปโตรประกาศข่าวประเสริฐเกี่ยวกับพระคริสต์อย่างชัดเจนอย่างตรงไปตรงมา อย่างเปิดเผย ดังนี้
10 ก็ให้ท่านทั้งหลายกับบรรดาชนอิสราเอลทราบเถิดว่า โดยพระนามของพระเยซูคริสต์ชาวนาซาเร็ธ ซึ่งท่านทั้งหลายได้ตรึงไว้ที่กางเขน และซึ่งพระเจ้าได้ทรงโปรดให้คืนพระชนม์ โดยพระองค์นั้นแหละชายคนนี้ที่ยืนอยู่ต่อหน้าท่าน จึงได้หายโรคเป็นปกติ
11 พระองค์เป็น ศิลา ที่ท่านทั้งหลายผู้เป็น ช่างก่อได้ทอดทิ้ง ซึ่งได้เป็นศิลามุมเอกแล้ว
12 ในผู้อื่นความรอดไม่มีเลย ด้วยว่านามอื่นซึ่งให้เราทั้งหลายรอดได้ ไม่ทรงโปรด
ให้มีในท่ามกลางมนุษย์ทั่วใต้ฟ้า"
ความจริงเกี่ยวกับพระคริสต์ว่า “พระคริสต์ทรงฤทธานุภาพ” อัครทูตเปโตรไม่ได้อวดว่า เพราะท่านมีฤทธิ์เกินมนุษย์ทั่วไป ชายคนนี้จึงหายโรค แต่กล่าวชัดเจนว่า พระคริสต์ทำให้ชายผู้นี้ที่ยืนต่อหน้าท่านหายโรค อัครทูต
เปโตรยกข้อความนี้มาจาก สดด. 118:22 ซึ่งในสมัยพระคัมภีร์เดิมกล่าวถึงพระเจ้าว่า พระองค์เป็นพระศิลา หมายถึงเป็นที่ปกป้องให้พ้นอันตราย
ส่วน “ศิลามุมเอก” นั้น วิธีสร้างตึกโบราณนั้น จะนำหินก้อนหนึ่งแกะสลักให้ได้รูปแล้วว่าไว้เป็นศิลาหัวมุมในรากฐานของตึก เป็นหลักของตึกนั้น ศิลามุมเอกนั้น หมายถึงพระคริสต์(อฟ.2:20) (รม. 9:30-32 อธิบายความจริงนี้อย่างชัดเจนโดยอัครทูตเปาโลว่า พระคริสต์ทรงเป็นศิลามุมเอก ที่คนยิวปฏิเสธไม่ยอมรับว่า ได้กลายเป็นเหตุให้พวกเขาต้องสะดุด
พระเจ้ามีพระประสงค์อันดีเลิศต่อคนยิว ซึ่งเป็น ชนชาติที่พระองค์ทรงเลือกสรร
ข้อนี้บอกว่า พวกเขาใฝ่หาความชอบธรรมตามบัญญัติ แต่ไม่ได้บรรลุตามบัญญัตินั้น เพราะไม่ได้แสวงหาด้วยความเชื่อ แต่เพราะแสวงหาด้วย การประพฤติ ซึ่งไม่มีใครสามารถเป็นคนชอบธรรมด้วยการประพฤติได้เลย โดยความเชื่อในพระคริสต์เท่านั้น ที่ทำให้เราถูกนับว่าเป็น
ดังนั้น เมื่อพวกยิวปฏิเสธพระคริสต์ผู้เป็นศิลามุมเอก แทนที่จะยอมรับพระองค์ให้เป็นพระผู้ช่วยให้รอด เป็นผู้ประทานความชอบธรรมให้
พระคริสต์ผู้เป็นศิลามุมเอกนั้น แทนที่จะทำให้ได้รับการช่วยเหลือไม่ต้องได้รับความอับอาย เขากลับสะดุดศิลานั้น และรับความอับอาย
รม. 9:33 ดังที่มีคำเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่าจงดูเถิดเราได้วางศิลาก้อนหนึ่งไว้ในศิโยน ซึ่งจะทำให้สะดุดและหินก้อนหนึ่งซึ่งจะทำให้ล้ม แต่ผู้ที่เชื่อในพระองค์จะไม่ได้รับความอับอาย
นี่คือ ความหมายที่เปโตรได้กล่าวกับบรรดาพวกผู้ใหญ่ของคนยิว และ นักการศาสนาที่ไตร่สวนท่านอยู่ ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว พวกเขาก็ได้ยินข้อความนี้มาก่อนแล้วจากพระโอษฐ์ของพระเยซู ซึ่งในครั้งนั้น ทำให้พวกเขาไม่พอใจพระองค์อย่างยิ่ง(มธ. 21:42-46)
42 พระเยซูตรัสกับเขาว่า "ท่านทั้งหลายยังไม่ได้อ่านในพระคัมภีร์หรือ ซึ่งว่า ศิลาซึ่งช่างก่อได้ทอดทิ้งเสีย ยังได้เป็นศิลามุมเอกแล้ว การนี้เป็นมาจากพระเจ้า เป็นการมหัศจรรย์ประจักษ์ตาเรา
43 เหตุฉะนั้นเราบอกท่านว่า แผ่นดินของพระเจ้าจะต้องเอาไปจากท่าน ยกให้แก่ชนชาติหนึ่งซึ่งจะกระทำให้ผลเจริญสมกับแผ่นดินนั้น"
44 "ผู้ใดล้มทับศิลานี้ ผู้นั้นจะต้องแตกหักไป แต่ศิลานั้นจะตกทับผู้ใด ผู้นั้นจะแหลกละเอียดไป"
45 ครั้นพวกมหาปุโรหิตกับพวกฟาริสีได้ยินคำเปรียบเหล่านั้น ก็หยั่งรู้ว่าพระองค์ตรัสเล็งถึงพวกเขา
46 เขาอยากจะจับพระองค์ แต่กลัวประชาชน เพราะประชาชนนับถือพระองค์ว่า เป็นผู้เผยพระวจนะ
ดังนั้น ความจริงนี้ที่อัครทูตเปโตรกล่าวจึงเป็นดั่งหนามที่ยอกใจพวกเขายิ่งนัก เพราะเคยฟังมาแล้ว และเจ็บปวดมาแล้ว แต่ไม่กลับใจ วันนี้เลยต้องมาฟังอีกรอบ
เปโตรกล้าหาญมากที่กล่าวข้อความนี้ซ้ำอีกครั้ง แม้รู้ว่าครั้งหนึ่งพระเยซูเคยตรัสกับคนกลุ่มนี้ และทำให้พวกเขาเดือดดาลมาก อัครทูตเปโตรเผชิญการต่อต้านในการประกาศข่าวประเสริฐโดยพูดความจริงอย่างครบถ้วน แม้ว่าความจริงนั้นอาจหมายถึงอันตรายถึงชีวิต
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อจะให้เขาเข้าใจถึงความรอด ว่ามีทางเดียวคือทางพระเยซูคริสต์(กจ.4:12)

ในวันนี้เราจึงต้องตั้งคำถามในชีวิตของเราว่า หากเราเผชิญสถานการที่ถูกต่อต้าน การประกาศข่าวประเสริฐ เราจะตอบสนองอย่างไร และมีสิ่งใดที่เป็นความจริงของข่าวประเสริฐที่เราจะต้องยึดมั่นไว้ และกล่าวออกไปอย่างมั่นใจ?
3.ข้อสรุปเพื่อการประยุกต์ใช้
ผมขอสรุปหลักการไว้ดังนี้ คือ
เรื่องการต่อต้านเป็นสิ่งที่เกิดกับผู้เชื่อทุกยุคทุกสมัย เราสามารถเผชิญได้โดยการเต็มล้นด้วยพระวิญญาณ และเราประกาศข่าวประเสริฐในเรื่องความจริงของพระคริสต์ ที่พระองค์ฟื้นขึ้นจากความตาย มีฤทธานุภาพ ทรงเป็นศิลามุมเอกในชีวิตและเป็นความรอดของเรา
ผมขอปิดท้ายด้วยตัวอย่างชีวิตของยูเซเบียส (eusebius)
ครั้งหนึ่งเมื่อจักรพรรดิวาเลนได้ส่งทูตไปเจรจา เพื่อเกลี้ยกล่อมนักประวัติศาสตร์คริสเตียนชื่อ “ยูเซเบียส” ให้เปลี่ยนศาสนามาเข้ากับพวกเขา โดยได้มีสาส์นอันสุภาพไปถึงเขาพร้อมกับให้สัญญาแก่ยูเบียสที่จะให้ประโยชน์มากมายมหาศาล หากท่านปฎิเสธพระคริสต์ แต่ยูเซเบียสผู้ซึ่งเชื่อให้พระเจ้าตอบปฎิเสธข้อเสนอของจักรพรรดิ์
เมื่อได้ยินดังนั้นจักรพรรดิจึงขู่ว่า จะใช้กำลังยึดทรัพย์สินทั้งหมดของยูเบียส จะทรมานเขา จะเนรเทศท่านออกจากประเทศ และจะฆ่าท่านเสีย
แต่คริสเตียนผู้กล้าหาญผู้นี้ได้ตอบว่า
...ข้าพระองค์ไม่จำเป็นต้องกลัวถูกริบทรัพย์ เพราะข้าพระองค์ไม่มี สิ่งใดต้องสูญเสีย
...ข้าพระองค์ไม่กลัวถูกเนรเทศ เพราะสวรรค์นั้นเป็นประเทศของ ข้าพระองค์
...ข้าพระองค์ไม่กลัวถูกทรมาน เพราะร่างกายข้าพระองค์ถูกทำลาย ได้แค่ครั้งเดียว
...และข้าพระองค์ไม่กลัวความตาย เพราะความตายเป็นหนทางเดียวที่จะนำข้าพระองค์ออกจากความบาป และความเศร้าเสียใจไปสู่เสรีภาพ



สรรเสริญพระเจ้า เมื่อเราดำเนินในความจริงของพระเจ้า เราจะได้พบกับเสรีภาพในพระองค์ !

พบกันใหม่ สัปดาห์หน้า...

15 มีนาคม 2555

Acts 3:17-26_ตอบสนองต่อความจริงเรื่องพระคริสต์

ศึกษาพระธรรมกิจการของอัครทูต
คริสตจักร “ต้นแบบ” ตามพระบัญชา
กิจการของอัครทูต 3:17-26
17 "พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าทราบว่าท่านทั้งหลายได้ทำการนั้น เพราะไม่รู้เรื่องราวอะไร ทั้งคณะผู้ครอบครองของท่านก็ทำเหมือนกันด้วย
18 แต่ว่าเหตุการณ์เหล่านั้น ซึ่งพระเจ้าได้ทรงประกาศไว้ล่วงหน้าโดยปากของผู้เผยพระวจนะทั้งหลาย ว่าพระคริสต์ของพระองค์ต้องทนทุกข์ทรมาน พระองค์จึงทรงให้สำเร็จตามนั้น
19 เหตุฉะนั้นท่านทั้งหลายจงหันกลับและตั้งใจใหม่ เพื่อพระเจ้าจะทรงลบล้างความผิดบาปของท่านเสีย เพื่อวาระพักผ่อนหย่อนใจจะได้มาจากพระพักตร์พระเจ้า
20 และเพื่อพระองค์จะได้ทรงใช้พระคริสต์ซึ่งกำหนดไว้แล้วนั้นมาเพื่อท่านทั้งหลายคือพระเยซู
21 พระองค์นั้นสวรรค์จะต้องรับไว้จนถึงวาระ เมื่อสิ่งสารพัดจะตั้งขึ้นใหม่ ตามซึ่งพระเจ้าได้ตรัสไว้ โดยปากบรรดาผู้เผยพระวจนะบริสุทธิ์ของพระองค์ ตั้งแต่กาลโบราณมา
22 โมเสสได้กล่าวไว้ว่า "พระเจ้าของท่านทั้งหลาย จะทรงโปรดประทานผู้เผยพระวจนะคนหนึ่ง เหมือนอย่างเราให้แก่ท่านจากจำพวกพี่น้องของท่าน ท่านทั้งหลายจงเชื่อฟังผู้นั้นในสิ่งสารพัดซึ่งพระองค์จะได้ตรัสแก่ท่าน
23 ถ้าผู้หนึ่งผู้ใดไม่เชื่อฟังผู้เผยพระวจนะผู้นั้น เขาจะต้องถูกตัดขาดให้พินาศไปจากชนชาติของพระเจ้า
24 และบรรดาผู้เผยพระวจนะ ตั้งแต่ซามูเอลเป็นลำดับมาก็กล่าวเป็นเสียงเดียวกัน พยากรณ์ถึงกาลครั้งนั้น
25 ท่านทั้งหลายเป็นลูกหลานของผู้เผยพระวจนะนั้น และของพันธสัญญาซึ่งพระเจ้าได้ทรงกระทำไว้กับบรรพบุรุษของท่าน คือได้ตรัสกับอับราฮัมว่า "บรรดาพงศ์พันธุ์ของแผ่นดินโลกจะได้พรเพราะเชื้อสายของเจ้า
26 ครั้นพระเจ้าทรงโปรดให้องค์ผู้รับใช้ของพระองค์เป็นขึ้นแล้ว จึงทรงใช้พระองค์มายังท่านทั้งหลายก่อน เพื่ออวยพระพรแก่ท่านทั้งหลาย โดยให้ทุกคนกลับจากบาปของตน"

อารัมภบท
สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน เราได้ทำการศึกษาพระธรรมกิจการฯอย่างต่อเนื่องกันมาหลายสัปดาห์แล้ว ครั้งที่แล้วเป็นเรื่อง "ประกาศความจริงเรื่องพระคริสต์" ในครั้งนี้เป็นตอนที่ 9 แล้วขอตั้งชื่อว่า "ตอบสนองต่อความจริงเรื่องพระคริสต์" เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องจากครั้งก่อนอัครทูตเปโตรได้ชี้ให้เห็นว่า เมื่อรู้ว่า พระคริสต์ทรงเป็นผู้ใดแล้ว เราควรตอบสนองอย่างไรบ้างและ จะได้รับผลอย่างไรตามมา เมื่อท่านได้กล่าวจบลงว่า พระคริสต์ คือ ผู้ใด คือ ทรงเป็นผู้รับใช้ เป็นองค์บริสุทธิ์ชอบธรรมและเป็นเจ้าชีวิต เมื่อรู้ความจริงเช่นนี้แล้ว เราทุกคนจำเป็นต้องตอบสนอง เพื่อจะเกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตทันที การตอบสนองคือการกลับใจใหม่หันกลับจากวิถีชีวิตแบบเดิมที่อยู่ในความบาป แล้วมาพึ่งพาพระเยซูคริสต์ ในข้อ 19 กล่าวว่า "เหตุฉะนั้นท่านทั้งหลายจงหันกลับและตั้งใจใหม่ เพื่อพระเจ้าจะทรงล้าง..."คำว่า “จงหันกลับ” ความหมายในภาษาเดิมแสดงถึงความรู้สึกที่เสียใจในความผิดพลาดในอดีต โดยมีความตั้งใจอย่างจริงใจที่จะหันจากการละเมิดและ มีชีวิตที่บริสุทธิ์ ซึ่งบริบทในที่นี้พูดถึงคนยิวที่ได้ตัดสินใจผิดพลาดมอบพระเยซูคริสต์ไว้แก่ความตายโดยนำไปตรึงที่ไม้กางเขน คำว่า “จงหันกลับ” จึงหมายถึง เมื่อได้รู้ความจริงว่า พระเยซูคริสต์ คือ พระมาซีฮา จิตใจที่คิดผิด การตัดสินใจที่ผิดนั้นต้องรับการเปลี่ยนแปลง “จงหันกลับ” จึงหมายถึง จิตใจภายในต้องรู้สึกเสียใจต่อความผิดบาปที่ได้ทำลงไปนั้น คำว่า “จงหันกลับ” ในบทที่ 3:19 เป็นคำเดียวกันที่อัครทูตเปโตรได้ใช้ก่อนหน้านี้ใน บทที่ 2:38 คือ คำว่า “จงกลับใจใหม่”
ฝ่ายเปโตรจึงกล่าวแก่เขาว่า"จงกลับใจใหม่และรับบัพติศมาในพระนามแห่งพระเยซูคริสต์สิ้นทุกคนเพื่อพระเจ้าจะทรงยกความผิดบาปของท่านเสีย..."
ส่วนคำว่า “ตั้งใจใหม่” ความหมายในภาษาเดิมหมายถึง การหันกลับจากทางที่ได้ผิดพลาดไป เช่น การหันกลับจากวิถีทางแห่งความผิดบาป หรือ ละทิ้งบาป คำนี้มักใช้ใน
กรณีการหันกลับมาหาพระเจ้า เช่น (1ธส1:9)ดังนั้น ความหมายของคำนี้คือเสียใจและหันกลับจากบาปแต่เป็นการหันกลับมาหาพระเจ้า สิ่งที่เป็นการตอบสนองต่อความจริงเรื่องพระคริสต์มีผลเป็นอย่างไร เราจะมาพิจารณาร่วมกันดังนี้
1.ข้อสังเกตเพื่อใคร่ครวญ
19 เหตุฉะนั้นท่านทั้งหลายจงหันกลับและตั้งใจใหม่ เพื่อพระเจ้าจะทรงลบล้างความผิดบาปของท่านเสีย เพื่อวาระพักผ่อนหย่อนใจจะได้มาจากพระพักตร์พระเจ้า
ผลประการแรกคือการ“ได้รับการลบล้างความผิดบาป” นี่คือ พระสัญญาของพระเจ้า ความผิดบาปจะได้รับการลบล้างจนหมดสิ้น พระเจ้าจะทรงอภัยโทษบาปของเรา พระองค์สัญญาไว้มากมาย เช่น …อสย.43:25 บอกว่า "ไม่จดจำบาปนั้นเลย" อสย.44:22 บอกว่า "ลบล้างบาปเหมือนเมฆหมอกที่จางหายไป" อสย.1:8 พระเจ้าได้ท้าทายว่า ไม่มีบาปใดที่พระเจ้าลบไม่ได้ นี่คือ ฤทธิ์อำนาจแห่งการอภัยโทษบาปผ่านทางพระคริสต์ที่ทรงสิ้นพระชนม์ที่บนไม้กางเขนเพื่อเรา จงเชื่อในฤทธิ์อำนาจนี้ที่มีในพระโลหิตของพระคริสต์
ไม่มีบาปใดที่ใหญ่เกินกว่าที่พระเจ้าจะอภัยโทษให้ไม่ได้ ไม่มีใครปรักปรำได้อีกต่อไป ถ้าเราพาชีวิตเข้ามาซ่อนอยู่ภายใต้พระคุณที่กางเขนของพระคริสต์ พระองค์ทรงมีสิทธิอำนาจโดยสมบูรณ์ที่จะประทานชีวิตใหม่ให้แก่เราได้ ไม่จำเป็นที่เราจะต้องจมปลักอยู่ในบาปอีกต่อไป ลุกขึ้นรับชัยชนะแห่งไม้กางเขนของพระคริสต์เถิด เมื่อเรากลับใจจากความผิดบาป หันกลับมาหาพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่ เราจะได้รับการลบล้างบาปผิดจนหมดสิ้น ถ้าเชื่อจงสารภาพการอธรรมทั้งสิ้นในชีวิต
1ยน.1:9 บอกว่า "พระเจ้าทรงเที่ยงธรรม พระองค์จะทรงยกโทษความบาปจนหมดสิ้น"
2.ข้อคิดสะกิดใจ
19 หตุฉะนั้นท่านทั้งหลายจงหันกลับและตั้งใจใหม่ เพื่อพระเจ้าจะทรงลบล้างความผิดบาปของท่านเสีย เพื่อวาระพักผ่อนหย่อนใจจะได้มาจากพระพักตร์พระเจ้า
20 และเพื่อพระองค์จะได้ทรงใช้พระคริสต์ซึ่งกำหนดไว้แล้วนั้นมาเพื่อท่านทั้งหลายคือพระเยซู
21 พระองค์นั้นสวรรค์จะต้องรับไว้จนถึงวาระ เมื่อสิ่งสารพัดจะตั้งขึ้นใหม่ ตามซึ่งพระเจ้าได้ตรัสไว้ โดยปากบรรดาผู้เผยพระวจนะบริสุทธิ์ของพระองค์ ตั้งแต่กาลโบราณมา
22โมเสสได้กล่าวไว้ว่า "พระเจ้าของท่านทั้งหลาย จะทรงโปรดประทานผู้เผยพระวจนะคนหนึ่ง เหมือนอย่างเราให้แก่ท่านจากจำพวกพี่น้องของท่าน ท่านทั้งหลายจงเชื่อฟังผู้นั้นในสิ่งสารพัดซึ่งพระองค์จะได้ตรัสแก่ท่าน

คำว่า “วาระพักผ่อนหย่อนใจ” หมายถึงสภาวะที่เกิดจากการมีพระเจ้าเป็นผู้นำ เป็นสภาวะที่อยู่ในการปกครองดูแลของพระเจ้า อยู่ในอาณาจักรแห่งพระคุณของพระเจ้า เป็นสภาวะที่อยู่ในแวดวงแห่งพระพรซึ่งพระเจ้าประทานให้แก่ผู้เชื่อ ไม่ว่าจะเป็นสันติสุข ความรัก ความชื่นชมยินดี และเป็นสภาวะที่ได้มีความสัมพันธ์กับพระเจ้า
วาระพักผ่อนหย่อนใจนี้ เป็นคำที่ถูกใช้อธิบายในยุคสมัยพระกิตติคุณ หรือ พันธสัญญาใหม่ เป็นเวลาของพระมาซีฮาที่นำการพักสงบ อิสรภาพ ความเจริญรุ่งเรือง
และ วาระพักผ่อนหย่อนใจนี้ ผู้คนมากมาย ณ ที่แห่งนี้ได้รับแล้ว เราจึงได้เห็นใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใสได้ แม้อยู่ท่ามกลางปัญหามากมายเป็นสันติสุขที่เกินความเข้าใจ เป็นสันติสุขที่โลกไม่อาจให้ได้
ยน.14:27 เรามอบสันติสุขไว้ให้แก่ท่านทั้งหลาย สันติสุขของเราที่ให้แก่ท่านนั้น เราให้ท่านไม่เหมือนโลกให้ อย่าให้ใจของท่านวิตก และอย่ากลัวเลย
คริสเตียนไม่ใช่คนผิดปกติ แต่เป็นคนปกติที่เกินธรรมดา คือ สามารถสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก
อสย.28:12 คือแก่บรรดาผู้ที่พระองค์ตรัสว่า "นี่คือการหยุดพัก จงให้การหยุดพัก
แก่คนเหน็ดเหนื่อย และนี่คือการพักผ่อน"
นั่นคือ สภาพของคนในสมัยนั้นได้รับสภาวะพักสงบก่อนยุคพระกิตติคุณ เป็นการพักสงบจากศัตรู พักสงบจากสิ่งเลวร้าย พักสงบจากศึกสงครามที่ทำให้หนักใจ ได้มาเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่และมีสันติ ด้วยภายใต้ความคิดที่ว่า เป็นเวลาแห่งความสุขเมื่อพระมาซีฮาเสด็จมา อัครทูตเปโตรได้หยิบยกขึ้นมากล่าวกับคนยิวในเวลานั้น ยืนยันว่า พวกเขาจะได้รับการอภัยโทษและสันติสุข
วาระพักผ่อนหย่อนใจจะได้มา…จึงไม่ได้หมายความว่าเป็นเรื่องของอนาคตที่คนยิวรอคอยวันที่พระมาซีฮาจะเสด็จมา แต่บัดนี้พระองค์ได้เสด็จมาแล้ว และพวกเขาก็ได้ตัดสินลงโทษไปเรียบร้อยแล้วด้วย
พระคริสต์ทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย และเสด็จขึ้นสวรรค์ ประทานสันติสุข และ วาระพักผ่อนหย่อนใจมาให้แก่ทุกคนที่เชื่อ ส่วนที่บอกว่า
วาระพักผ่อนหย่อนใจจะได้มานั้นจากพระพักตร์พระเจ้า …แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าเป็นผู้ประทานให้ด้วยพระองค์เอง
ข้อ 20 และเพื่อพระองค์จะได้ทรงใช้พระคริสต์ซึ่งกำหนดไว้แล้วนั้น มาเพื่อท่านทั้งหลายคือพระเยซู นั่นคือ คำกล่าวที่แสดงพระประสงค์พระเจ้าที่ต้องการชักนำคนอิสราเอล ให้กลับคืนมาหาพระมาซีฮา เป็นพระประสงค์ของพระเจ้าที่ต้องการนำความรอดมาสู่อิสราเอล
รม.11:26 และเมื่อเป็นดังนั้นพวกอิสราเอลทั้งปวงก็จะได้รับความรอด ตามที่มี คำเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า พระผู้ช่วยให้รอดจะเสด็จมาจากเมืองศิโยน และจะทรงกำจัดอธรรมให้สูญสิ้นไปจากยาโคบ
พระคุณของพระเจ้านั้น ไม่ได้หยุดอยู่เพียงที่อิสราเอล พระเจ้ามีแผนการแห่งความรอดสำหรับมนุษย์ทุกชาติทุกภาษา พระองค์ทรงเลือกอิสราเอลออกมาเป็นชนชาติเฉพาะเพื่อประกาศพระบารมีของพระองค์ เพื่อเป็นตัวแทนที่สำแดงสง่าราศีขอพระเจ้า
สิ่งที่อัครทูตเปโตรพยายามขอคนยิวในเวลานั้นให้ยอมรับการช่วยให้รอดจากพระคริสต์ ซึ่งพระองค์มาในแผนการของพระเจ้า พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระมาซีฮา พระองค์เสด็จมาเพื่อสั่งสอนประชากรของพระองค์ เพื่อไถ่พวกเขา เพื่อช่วยพวกเขาให้รอด เพื่อพิพากษาโลกนี้ เพื่อรวบรวมประชากรของพระองค์ และ เพื่อพิพากษาสิ่งที่เลวร้าย
นี่คือ เหตุผลที่ว่า
พวกเขาต้องกลับใจจากความผิดบาป และหันกลับมาหาพระเจ้าเสีย เพื่อจะรอดพ้นจากการพิพากษา
21 พระองค์นั้นสวรรค์จะต้องรับไว้จนถึงวาระเมื่อสิ่งสารพัดจะตั้งขึ้นใหม่ ตามซึ่งพระเจ้าได้ตรัสไว้ โดยปากบรรดาผู้เผยพระวจนะบริสุทธิ์ของพระองค์ ตั้งแต่กาลโบราณมา
บทบาทของพระคริสต์ที่ทรงเป็นมหาปุโรหิตที่เป็นผู้กลางนำ เราเข้าเฝ้าพระเจ้าได้สงบนิรันดร์
ฮบ.9:24 เพราะว่าพระคริสต์ไม่ได้เสด็จเข้าในสถานศักดิ์สิทธิ์ซึ่งสร้างขึ้นด้วยมือ
มนุษย์ อันเป็นแบบจำลองจากของจริง แต่พระองค์ได้เสด็จไปสวรรค์นั้น เพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าเพื่อเราทั้งหลาย
นี่คือสิ่งที่น่าสังเกตจากกจ.3:21 คือ คำว่า "สวรรค์ต้องรับไว้" อัครทูตเปโตรไม่ได้อ้างเนื้อหาจากพระคัมภีร์เดิม แต่คำนี้ให้ความคิดเกี่ยวกับการถูกยกขึ้น และ สิทธิอำนาจ
1 ปต.3:22 พระองค์เสด็จสู่สวรรค์และทรงสถิตอยู่เบื้องขวาพระหัตถ์ของพระเจ้า
แล้วมีพวกทูตสวรรค์และศักดิเทพ และอิทธิเทพ ทั้งหลายอยู่ใต้ อำนาจของพระองค์ทั้งสิ้น
คำว่า “จนถึงวาระเมื่อสิ่งสารพัดจะตั้งขึ้นใหม่” เป็นคำที่มาจากคำที่ให้ความหมายว่า รื้อฟื้นให้มีสภาพที่สภาพที่ดี สร้างขึ้นใหม่ให้คืนสภาพดี หรือ รักษาให้หายดี
สิ่งอัครทูตที่เปโตรปรารถนาที่จะสำแดงให้พวกยิวที่ยืนฟังท่านอยู่นั้นได้รู้ และ ยึดมั่นคำพยากรณ์นี้ไว้อย่างแท้จริง เพื่อจะได้รับการลบล้างความผิดและได้พักสงบทั้งในปัจจุบันกาล และ นิรันดรกาลด้วย

คำถามที่เราจะใคร่ครวญร่วมกันดังนี้
การพักสงบในพระเจ้าหมายถึงสิ่งใด และเราเรียนรู้สิ่งใดจากการพักสงบในพระองค์?
3.ข้อสรุปเพื่อการประยุกต์ใช้

จากการศึกษามาตั้งแต่ข้างต้นเราจะเห็นได้ว่า เมื่อเรากลับใจใหม่ หันกลับมาหาพระเจ้า เราจะได้เข้ามาพักสงบในพระองค์ และสิ่งที่สำคัญต่อไปคือ หากตอบสนองอย่างถูกต้อง คือการ “ได้รับพระพร” พบใน ข้อ 25 –26
25 ท่านทั้งหลายเป็นลูกหลานของผู้เผยพระวจนะนั้น และของพันธสัญญาซึ่งพระเจ้าได้ทรงกระทำไว้กับบรรพบุรุษของท่าน คือได้ตรัสกับอับราฮัมว่า "บรรดาพงศ์พันธุ์ของแผ่นดินโลกจะได้พรเพราะเชื้อสายของเจ้า

26 ครั้นพระเจ้าทรงโปรดให้องค์ผู้รับใช้ของพระองค์เป็นขึ้นแล้ว จึงทรงใช้พระองค์มายังท่านทั้งหลายก่อน เพื่ออวยพระพรแก่ท่านทั้งหลาย โดยให้ทุกคนกลับจากบาปของตน"
อัครทูตเปโตรพูดอย่างเจาะจงกับคนยิวที่ยืนฟังท่านอยู่นั้นว่า พวกเขาเป็นลูกหลานของผู้เผยพระวจนะ และ ของพันธสัญญาพระเจ้าที่พระเจ้ากระทำกับอับราฮัม
พระเจ้าได้กำหนดคนยิวให้รับพระพรผ่านทางอับราฮัมซึ่งคนยิว ถือว่าเป็นบิดาแห่งชนชาติของพวกเขา
"บรรดาพงศ์พันธุ์ของแผ่นดินโลกจะได้พรเพราะเชื้อสายของเจ้า” นี่คือ พันธสัญญาที่พระเจ้าได้ให้ไว้กับอับราฮัม ซึ่งพระพรแห่งพันธสัญญานี้ได้สำเร็จผ่านทาง “พระเยซูคริสต์” ซึ่งทรงรับสภาพเป็นมนุษย์ผ่านทางเชื้อสายของอับราฮัม คือ คนอิสราเอล นั่นเอง
กท.3:16 บรรดาพระสัญญาที่ได้ประทานไว้แก่อับราฮัมและพงศ์พันธุ์ของท่านนั้น
มิได้ตรัสว่า และแก่พงศ์พันธุ์ทั้งหลาย เหมือนอย่างกับว่าแก่คนมากคนแต่เหมือนกับว่าแก่คนผู้เดียวคือ แก่พงศ์พันธุ์ของท่านซึ่งเป็นพระคริสต์
ในข้อ 26 เปโตรสรุปคำเทศนาลงท้ายว่า ครั้นพระเจ้าทรงโปรดให้องค์ผู้รับใช้ของพระองค์เป็นขึ้นแล้ว จึงทรงใช้พระองค์มายังท่านทั้งหลายก่อน เพื่ออวยพระพรแก่ท่านทั้งหลายโดยให้ทุกคนกลับจากบาปของตน"
ดังนั้นการตอบสนองคือ เมื่อรู้ความจริงเกี่ยวกับพระคริสต์ที่นำมาซึ่งพระพร พระเจ้าทรงให้พระคริสต์มายังคนยิวก่อนเมื่อทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย พระประสงค์ของพระเจ้าที่ต้องการประทานพระพรให้แก่คนยิวแต่คนยิวมักเข้าใจผิดคิดว่า ตนเป็นลูกหลานของอับราฮัม พระสัญญาที่พระเจ้าสัญญากับอับราฮัมจึงมาถึงตนเองด้วย พระเยซูได้กล่าวแก้ความเข้าใจผิดนั้นอย่างชัดเจนใน
ลก 3:8ว่า...เหตุฉะนั้นจงพิสูจน์การกลับใจของเจ้าด้วยผลที่เกิดขึ้น อย่านึกเหมาเอาในใจว่าตัวมีอับราฮัมเป็นบิดา...
เงื่อนไขที่แท้จริงของการได้รับพระพรที่พระเจ้าสัญญาไว้กับอับราฮัม คือ การเป็นลูกหลานของอับราฮัม คือ ต้องพิสูจน์ชีวิตการกลับใจด้วยผลที่เกิดขึ้น
ฉะนั้น หากเรากลับใจจากความผิดบาป หันกลับมาหาพระเจ้า และ เชื่อฟังพระคริสต์
เราทั้งหลายเป็นลูกหลานของอับราฮัมทางความเชื่อ ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขเราจึงเป็นทายาทที่มีสิทธิรับพระพรนี้โดยชอบธรรม เราจึงต้องดำเนินชีวิตโดยการสำแดงออกเป็นการกระทำ ขอบคุณพระเจ้าสำหรับความรอดที่พระเจ้าประทานให้กับชนชาติยิวผ่านทางเชื้อสายของอับราฮัม พระพรจึงส่งผ่านมาถึงเราทั้งหลายที่มีความเชื่อในพระเยซูคริสต์จึงเป็นดั่งการต่อเชื่อมกันโดยยิวเป็นรากของพระพร(รม.9-11)และเราทั้งหลายเป็นกิ่งที่ได้รับพระพรจากรากด้วยเช่นกัน เราจึงมีสันติสุขและพักสงบได้ในความเชื่อในพระคริสต์ร่วมกัน

สรรเสริญพระเจ้า! พบกันใหม่ในสัปดาห์หน้า

10 มีนาคม 2555

คำอวยพรสำหรับเดือนอาดาร์

อาดาร์ เดือนที่ 12 ของฮีบรู
24 กุมภาพันธ์ - 23 มีนาคม 2012 ปีฮีบรู 5772


นี่คือบทพรรณาพรแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้าสำหรับเดือนอาดาร์ เดือนที่สิบสองของฮีบรู ในวาระเวลาของฮีบรู พรเหล่านี้จะถูกปลดปล่อยโดยบรรดาปุโรหิตระหว่าง "เทศกาลศรีษะของเดือน" ซึ่งเรียกว่า "รอช โชเดช" ซึ่งเป็นเวลาของการถวายผลแรก จักรพรรดิคอนสแตนตินได้ฉีกกฎการเฉลิมฉลองเหล่านี้พร้อมกันกับ 3 เทศกาลหลัก (ปัสกา,เพ็นเทคอส และ อยู่เพิง) อันเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะหย่าขาดคริสตจักรออกจากรากของยิว การกระทำของพระองค์อาจจะเป็นปัจจัยหลักที่ยิ่งใหญ่เพียงปัจจัยเดียวที่มีผลต่อการถดถอยอย่างรวดเร็วของคริสตจักรสมัยแรก ขณะที่องค์เจ้านายกำลังรื้อฟื้นคริสตจักรในปัจจุบัน เราก็พบว่าพระองค์กำลังเชื่อมต่อเราเข้ากับรากของฮีบรูด้วย
(เนื้อหามีที่มาจากบันทึกคำสอนของข้าพเจ้าในปี 2006 [CD] โดย อ.ชัค เพียซ [กลอรี่ออฟไซออน] ข้าพเจ้าขอแนะนำให้ท่านเยี่ยมชมเว็บไซต์ของอาจารย์เพื่อได้รับเนื้อหาที่มากขึ้นและลึกยิ่งขึ้น - รอน ซอว์คา)
1.เดือนแห่งเผ่านาฟทาลี ซึ่งหมายถึง "ความหวานต่อฉัน" นี่เป็นเวลาแห่งการเฉลิมฉลองเพื่อว่าคำแช่งสาปจะถูกล้างและสิ่งต่างๆกลับกลายเป็นหวานสำหรับคุณ ในฉธบ.33:23 เราเห็นได้ว่า เผ่านัฟทาลี "เต็มด้วยพระพรที่มาจากองค์พระผู้เป็นเจ้า"2.เดือนแห่งการสื่อสารที่คล่องแคล่วและการแสดงออกซึ่งความยินดีและเสียงหัวเราะ ปฐก.49:21 "นัฟทาลีเป็นกวางตัวเมียที่ถูกปล่อย ผู้ให้กำเนิดลูกกวางงดงาม" (บางเล่มใช้คำว่า ถ้อยคำที่สวยงาม) เราต้องอยู่ใน "อารมณ์เฉลิมฉลอง" เราต้องฉลองการจบรอบ ประกาศว่าพระเจ้าได้นำเราออกจากวงจรเก่าและเข้าไปสู่ยุคแห่งความโปรดปรานมาก
3.เดือนประจำราศีมีน - คือปลา การพบสิ่งจำเป็นในโลกที่ซ่อนอยู่ (เช่น เหรียญทองในปากปลา) มีอัตลักษณ์ของคุณในโลกที่มองไม่เห็น อย่าเอาแต่ภาคปฏิบัติ (คืออยากที่จะทำตามคนอื่นเพื่อให้ถูกยอมรับ) เราต้องหาอัตลักษณ์ฝ่ายวิญญาณของเราให้เจอ
4.อัตลักษณ์ที่แท้จริงของคุณควรจะต้องเริ่มสะท้อนออกมาให้เห็นแล้วในเดือนนี้ ทั้งฝ่ายวิญญาณและกายภาพ พระเจ้าได้กำหนดวงจรขึ้นมาแล้วเพื่อช่วยให้เรามาถึงอัตลักษณ์ของเรา - ฝ่ายวิญญาณสะท้อนให้เห็นทางกายภาพ
5.เดือนของตัวอักษร "คาฟ" (ตัวอักษรฮีบรูนี้ดูคล้ายกับหน้ากาก) นี่คือเวลาที่จะถอดหน้ากากทั้งหมดและเข้าไปสู่เสียงหัวเราะ คุณต้องถอดหน้ากากออกและเข้าไปสู่ความยินดีที่แท้จริงที่คุณรู้ว่าคุณคือใคร
6.เดือนที่จะกำจัดความกังวลและวุ่นวายใจ ซึ่งรวมถึงความกังวลเกี่ยวกับปัจจัยดำรงชีพ ถ้าคุณกำจัดความกังวลไปได้ คุณจะได้เห็นปัจจัยเหล่านั้น ถ้าคุณถูกความกังวลครอบครอง คุณจะไม่สามารถเห็นการจัดสรรที่พระเจ้ามีไว้สำหรับคุณ (ฟป 4:6-7)
7.เดือนแห่งเสียงหัวเราะ ความยินดีอันอุดม การเป็นพยานว่าชีวิตเข้ามาในความมืด แสงสว่างที่โดดเด่นขึ้นเหนือความมืด อำนาจของความแห้งแล้งถูกทำลาย ไม่ว่าความมืดนั้นจะเป็นอะไร จงหัวเราะและคอยดูพระเจ้าทรงทะลวงมัน แสงสว่างจะทะลวงความมืดเมื่อเราเข้าใจสิ่งนี้ และความแห้งแล้งจะถูกทำลาย จงเริ่มหัวเราะใส่ความกลัว (สดด.34:4-6)
8.เดือนแห่งม้าม จงดึงรากของความตกต่ำและสิ้นหวัง เพื่อว่าความเชื่อจะทะลุผ่านกระบวนความคิดของเราออกมาได้
9.เดือนที่โมเสสถือกำเนิด มันหมายความว่าการปลดปล่อยกำลังเริ่มขึ้นแล้ว จงดู การปลดปล่อยกำลังเริ่มขึ้นแล้วสำหรับคุณ จงจ้องสิ่งที่ล่ามคุณไว้แล้วประกาศสัจจะแห่งพระเจ้าออกมา จงประกาศว่าพระองค์ได้เริ่มต้นการปลดปล่อยและอิสรภาพสำหรับคุณแล้ว และมันกำลังจะมาถึง! (อพย 2:10)
10.เดือนที่จะพัฒนายุทธศาสตร์สงครามของคุณเพื่อต่อสู้กับวิญญาณแห่งปฏิปักษ์พระคริสต์ อย่าปล่อยให้ยักษ์ทำให้คุณกลัว จงตั้งมั่นต่อสู้การไหว้รูปเคารพ อามาเลขพยายามที่จะเข้ามา อย่าอยู่ในความกลัวจนสิ้นปี ข้าพเจ้าชอบพระธรรม อพย 17:8-16 เมื่อมือของโมเสสชูขึ้น อิสราเอลก็ได้รับชัยชนะ เมื่อมือของเขาลดต่ำลง ชาวอิสราเอลก็เริ่มถูกโจมตี สำหรับเราแล้ว นี่หมายความว่า เราสามารถให้มือของเราถูกยกขึ้นอยู่ตลอดโดยการอยู่ในความเชื่อและความยินดี ซึ่งจะทำให้เรารักษาชัยชนะไว้ได้ในองค์พระผู้เป็นเจ้า
11.เป็นเวลาที่คำสบประมาทคุณจะถูกถอดถอน (ถ้าคุณใส่ใจในคำเหล่านั้น มันก็จะล้อมคุณไว้แล้วทำให้คนอื่นพูดสิ่งแง่ลบเกี่ยวกับตัวคุณ) คุณจำเป็นต้องทุบคำสบประมาทแง่ลบเกี่ยวกับตัวคุณทิ้งซะ ข้าพเจ้าแนะนำให้อธิษฐานและขอพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่จะเปิดเผยคำสบประมาทเหล่านั้น ทั้งที่ตัวคุณสร้างเอง และที่คนอื่นกล่าวถึง จงยกโทษให้กับคนที่กล่าวมันออกมา วางพระโลหิตพระเยซูบนคำเหล่านั้นและหักมันลงด้วยพระนามของพระเยซู
12.เป็นเวลาที่ผู้นำต้องตื่นขึ้นแล้ว - เดือนหน้าเขาจะต้องก้าวสู่สงคราม
(ข้อมูลจาก :http://arise5.com/#/hebrew-months )
ขอขอบคุณผู้แปลโดย เอกจิต จรุงพรสวัสดิ์

(เกร็ดความรู้เพิ่มเติม ในช่วงวันที่ 8-9 มี.ค.12 ที่ประเทศอิสราเอลมีการเฉลิมฉลองเทศกาล "ปูริม" ต้นกำเนิดของเทศกาลปุริมอยู่ในหนังสือ เอสเธอร์ เป็นการฉลองที่น่าตื่นเต้นระลึกถึงสมัยพระราชาอาหสุเอรัสแห่งเปอร์เชียร์ที่ เอสเธอร์กับโมรเดคัยลูกพี่ลุกน้องของเธอช่วยชาวยิวให้รอดพ้นจากการถูกฆ่า ล้างเผ่าพันธุ์ (ปุริม มาจากภาษาฮีบรู แปลว่า สลาก) เป็นการอ้างอิงถึงการทอดสลากของฮามาน เพื่อหาวันที่จะฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวผู้ใหญ่และเด็ก มักจะแต่งตัวสวยงาม และมีการละเล่นพื้นเมืองต่างๆที่เรียกกันว่า "ปุริมสปีล" และมีคุกกี้ชนิดพิเศษที่เรียกกันว่า "ฮามานตาชิน" (อสธ.3;7;9:24,26)

06 มีนาคม 2555

Acts 3:13-16_ประกาศความจริงเรื่องพระคริสต์

ศึกษาพระธรรมกิจการของอัครทูต
คริสตจักร “ต้นแบบ” ตามพระบัญชา

กิจการของอัครทูต 3:13-16
13 พระเจ้าของอับราฮัม อิสอัค และยาโคบ คือพระเจ้าแห่งบรรพบุรุษของเรา ได้ทรงโปรดประทานพระเกียรติแด่พระเยซูผู้รับใช้ของพระองค์ พระเยซูผู้ซึ่งท่านทั้งหลายได้มอบไว้แล้ว และได้ปฏิเสธต่อหน้าปีลาต เมื่อปีลาตตั้งใจจะปล่อยพระองค์ไป
14 แต่ท่านทั้งหลายได้ปฏิเสธพระองค์ ซึ่งเป็นองค์บริสุทธิ์และชอบธรรม และได้ขอให้เขาปล่อยผู้ฆ่าคนให้ท่านทั้งหลาย
15 จึงฆ่าพระองค์ผู้ทรงเป็นเจ้าชีวิตเสีย แต่พระเจ้าได้ทรงโปรดให้พระองค์เป็นขึ้นมาอีก เราเป็นพยานในเรื่องนี้
16 โดยความเชื่อในพระนามของพระองค์ พระนามนั้นจึงได้กระทำให้คนนี้ซึ่งท่านทั้งหลายเห็นและรู้จักมีกำลังขึ้นคือความเชื่อซึ่งเป็นไปโดยพระองค์ ได้กระทำให้คนนี้หายเป็นปกติต่อหน้าท่านทั้งหลาย
อารัมภบท
สวัสดีครับ เพื่อนๆผู้อ่านทุกท่าน เรามีโอกาสได้ร่วมกันศึกษาพระธรรมกิจการฯ มาแล้วอย่างต่อเนื่อง ในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 8แล้ว ในครั้งก่อนเป็นเรื่อง"ประกาศข่าวประเสริฐตามการทรงนำ"เป็นการประกาศโดยให้พระวิญญาณฯนำในการรับใช้ เห็นถึงการอัศจรรย์ที่ยิ่งใญ่และในครั้งนี้เป็นความต่อเนื่องจากครั้งที่แล้ว นั่นคืออัครทูตเปโตรได้ประกาศความจริงในสาระที่สำคัญอย่างแท้จริง(True essence)เป็นการ"ประกาศความจริงเรื่องพระคริสต์" เหตุการณ์ครั้งก่อนหน้านี้เป็นดุจการเป่าแตรที่เป็นการจุดประกายให้ ผู้คนพากันสนใจว่า การอัศจรรย์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะผู้คนต่างก็รู้ดีว่า ชายคนนี้ไม่เคยเดินได้มาก่อนเลยในชีวิต แล้วจู่ ๆ เกิดอะไรขึ้นกับเขา ผลของการตอบสนองต่อการทรงนำในครั้งนั้น มีผลทำให้ข่าวประเสริฐเรื่องพระคริสต์ได้รับการเปิดเผยสำแดงโดยอัครทูตเปโตร ในเรื่องความจริงเกี่ยวกับพระคริสต์ให้ผู้คนที่พากันมาห้อมล้อมสนใจการอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นกับชายคนนั้น
ดังที่ปรากฏใน ข้อ 12 บอกว่า...พอเปโตรแลเห็นก็กล่าวแก่คนเหล่านั้นว่า "ท่านชนชาติอิสราเอลทั้งหลาย ไฉนท่านพากันประหลาดใจด้วยเรื่องของคนนี้ เขม้นดูเราทำไมเล่า อย่างกับว่าเราทำให้คนนี้เดินได้โดยฤทธิ์หรือความชอบธรรมของเราเอง
นั่นคือ ในขณะที่ผู้คนกำลังสนใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับชายที่เป็นง่อยแต่กำเนิด ที่ไม่เคยเดินได้ บัดนี้ลุกขึ้นเต้นโลดสรรเสริญพระเจ้าถึงมหกิจที่พระเจ้าทำผ่านมือของอัครทูตเปโตรและอัครทูตยอห์น ท่านได้ฉวยโอกาสประกาศข่าวประเสริฐเรื่องพระคริสต์ ท่านไม่ได้บอกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น มาจากตัวของท่านมีฤทธิ์อำนาจแต่เป็นพระคริสต์ที่สำแดงฤทธานุภาพอันใหญ่ยิ่งของพระองค์ นี่คือสาระสำคัญทที่เราทุกคนที่เป็นผู้เชื่อต้องออกไปประกาศถึงความจริงนี้!


1.ข้อสังเกตเพื่อใคร่ครวญ
ความจริงประการแรกเกี่ยวกับพระคริสต์ พบใน ข้อ 13 เปโตร กล่าวว่า ..
พระเจ้าของอับราฮัม อิสอัค และยาโคบ คือพระเจ้าแห่งบรรพบุรุษของเรา ได้ทรงโปรดประทานพระเกียรติแด่พระเยซู ผู้รับใช้ของพระองค์ พระเยซูผู้ซึ่งท่านทั้งหลายได้มอบไว้แล้ว และได้ปฏิเสธต่อหน้าปีลาต เมื่อปีลาตตั้งใจจะปล่อยพระองค์ไป
เป็นการกล่าวที่ชัดเจนว่า พระเยซูคริสต์ทรงเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง การอัศจรรย์ที่พวกเขาเห็นต่อหน้าต่อตานี้ เป็นการอัศจรรย์ที่ชายซึ่งไม่เคยเดินได้มาก่อนเลยในชีวิต บัดนี้ เดินได้แล้วนั้น พระเยซูพระองค์นี้ที่อยู่เบื้องหลังการอัศจรรย์ต่อหน้าต่อตาพวกเขาไม่ใช่ใครไกลอื่น พระเจ้าที่พวกเขาและบรรพบุรุษของพวกเขา นับถืออยู่นั้น เป็นผู้ประทานพระเกียรติให้พระองค์ พวกเขาได้ทำสิ่งที่ผิดพลาดใหญ่หลวงที่ได้มอบพระเยซูคริสต์ไว้ในมือของปีลาต ซึ่งตั้งใจจะปล่อยพระองค์ไป ท่านกล่าวกับคนที่ฟังอยู่ว่า “พระเยซูซึ่ง ‘ท่านทั้งหลาย’ ได้มอบไว้แล้ว” นั่นคือ ท่านกำลังพูดถึงเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานนี้ คนส่วนใหญ่ที่ได้ยินคำกล่าวนี้รู้เรื่องนี้อยู่แล้ว และ บางคนก็อาจมีส่วนร่วมอยู่ด้วยในขณะนั้น
จากคำกล่าวของอัครทูตเปโตรนี้ ท่านได้แสดงให้เห็นถึงสถานะประการแรกของพระคริสต์ คือ ทรงเป็น
“ผู้รับใช้”
คำว่า “ผู้รับใช้” เป็นคำเดียวกันที่พบในหนังสือ (อิสยาห์ 52:13)ดูเถิด ผู้รับใช้ของเราจะทำอย่างมีสติปัญญาท่านจะสูงเด่นและเป็นที่เทิดทูน และท่านจะสูงนัก
การที่ท่านใช้คำนี้แสดงให้เห็นว่า คำพยากรณ์ที่ปรากฏในหนังสืออิสยาห์นั้นหมายถึงพระเยซูคริสต์ และ คำว่า “ผู้รับใช้” นี้ ไม่ได้หมายถึงการเป็นทาส แต่อิสยาห์ หมายถึง
ผู้ที่จะมาทำให้เกิดการรื้อฟื้นสภาพให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมา
นั่นคือ พระเยซูคริสต์ทรงเป็นผู้รับใช้ที่มาช่วยให้มนุษย์เราให้รอดด้วยการยอมรับการทนทุกข์อันเกิดจากบาปเสียเอง
ซึ่งพระเยซูได้กล่าวเองว่า พระองค์คือผู้ที่ทำให้คำพยากรณ์ในอิสยาห์นี้สำเร็จ
อิสยาห์ 53:12 ฉะนี้เราจะแบ่งส่วนหนึ่งให้ท่านกับผู้ยิ่งใหญ่และท่านจะแบ่งรางวัลกับคนแข็งแรง เพราะท่านเทวิญญาณจิตของท่านถึงความมรณะ และถูกนับเข้ากับคนทรยศ ถึงกระนั้นท่านก็แบกบาปของคนเป็นอันมาก และทำการอ้อนวอนเพื่อผู้ทรยศ
ลูกา 22:37ด้วยเราบอกท่านทั้งหลายว่า พระวจนะซึ่งเขียนไว้แล้วนั้นต้องสำเร็จในเรา คือที่ว่า ท่านถูกนับเข้ากับคนอธรรม เพราะว่าคำพยากรณ์ที่เล็งถึงเรานั้นจะสำเร็จ"
ความจริงที่เราต้องไปประกาศคือ พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระเจ้าที่รับสภาพมาเป็นมนุษย์เพื่อปรนนิบัติรับใช้มนุษย์ พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างของ ผู้รับใช้ที่สมบูรณ์แบบ
พระเยซูได้ตรัสถึงตัวของพระองค์เองใน มาระโก 10:45...เพราะว่าบุตรมนุษย์มิได้มาเพื่อรับการปรนนิบัติ แต่ท่านมาเพื่อจะปรนนิบัติเขา และประทานชีวิตของท่านให้เป็นค่าไถ่คนเป็นอันมาก"
พระเยซูทรงเป็นแบบอย่างแห่งการเป็นผู้รับใช้ที่สมบูรณ์แบบ พระเยซูทรงเป็นต้นแบบของผู้รับใช้ที่ถ่อมพระทัย ไม่ทรงถือว่าสภาพที่ทรงเป็นพระเจ้าเป็นอุปสรรค หรือ ต้องยึดถือ แต่ได้ทรงยินดีเสียสละมารับสภาพเป็นมนุษย์ที่ต่ำต้อยไม่เพียงเท่านั้น ยังถ่อมพระทัยถึงขั้นมรณาที่ไม้กางเขน
(ฟิลิปปี 2:6-8)
6ผู้ทรงสภาพของพระเจ้า แต่มิได้ทรงถือว่าการเท่าเทียมกับพระเจ้านั้นเป็นสิ่งที่จะต้องยึดถือ
7แต่ได้กลับทรงสละ และทรงรับสภาพทาส ทรงถือกำเนิดเป็นมนุษย์
8และเมื่อทรงปรากฏพระองค์ในสภาพมนุษย์แล้ว พระองค์ก็ทรงถ่อมพระองค์ลงยอมเชื่อฟังจนถึงความมรณา กระทั่งความมรณาที่กางเขน


พระเจ้าต้องการให้เรามีชีวิตเป็นเหมือนพระองค์ คือ ยินดีรับใช้ผู้อื่นด้วยความถ่อมใจ คนที่จะยินดีปรนนิบัติรับใช้ผู้อื่นได้นั้น จำเป็นต้องตายต่อตนเอง จำเป็นต้องไม่มีตัวเองเหลืออยู่ หัวใจนั้นยินดีเห็นแก่ผู้อื่นก่อนเสมอ
เราเห็นแบบอย่างนี้จากอัครทูตเปาโล ก่อนนั้นชื่อว่า "เซาโล(Saul)" ซึ่งแปลว่า "ผู้ยิ่งใหญ่" ชื่อเดียวกับกษัตริย์องค์แรกของอิสราเอลคือซาอูล พระเจ้าได้ให้ชื่อใหม่ท่านว่า "เปาโล"(Paul) ซึ่งแปลว่า "ผู้เล็กน้อย" และ ชีวิตของท่านก็เป็นเช่นชื่อที่พระเจ้าให้ใหม่จริง ๆ ท่านมีชีวิตที่ถ่อมใจและยินดีปรนนิบัติรับใช้ผู้อื่น
1โครินธ์ 9:19 เพราะถึงแม้ว่าข้าพเจ้ามิได้อยู่ในบังคับของผู้ใด ข้าพเจ้าก็ยังยอมตัวเป็นทาสรับใช้คนทั้งปวง เพื่อจะได้ชนะใจคนมากยิ่งขึ้น
นั่นคือ ความตั้งใจจริงของอัครทูตเปาโลที่แม้ว่า ท่านไม่จำเป็นต้องอยู่ใต้บังคับของผู้ใด แต่ท่านยินดีที่จะเป็นทาสรับใช้คนทั้งปวง เพื่อชนะใจคน เพื่อนำพระคุณความรักพระเจ้าไปถึงคนทั้งปวง
ในการปรนนิบัติรับใช้ผู้อื่นนั้น เราต้องตระหนักว่า เป็นการปรนนิบัติรับใช้พระเจ้า
พระเยซูบอกว่า สิ่งที่เราทำต่อพี่น้องแม้เป็นสิ่งเล็กน้อย แต่นั่นมีคุณค่าในสายพระเนตรพระเจ้า มีค่าเท่ากับเราทำให้พระองค์เลยทีเดียว
โคโลสี 3:23 ไม่ว่าท่านจะทำสิ่งใด ก็จงทำด้วยความเต็มใจเหมือนกระทำถวายองค์พระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่เหมือนกระทำแก่มนุษย์


ข้อคิดคือ "การที่จะเป็นผู้รับใช้ที่ยิ่งใหญ่ ต้องมีความรับผิดชอบที่ใหญ่ยิ่ง" นั่นคือการถ่อมใจ ปรนนิบัติหน้าที่ดูแลฝูงแกะของพระเจ้าด้วยความรัก เป็นภาระรับผิดชอบตามที่พระเยซูคริสต์ได้กำชับกับท่านเปโตรไว้ว่า"ถ้ารักเราก็จงเลี้ยงแกะของเรา"(ยน.21:17) ความรักนี้จึงเป็นความรักแบบไม่มีเงื่อนไข(Agape)ฉะนั้นหากมีความรักแบบนี้ หน้าที่ที่จ้องรับผิดชอบในการเลี้ยงดูฝูงแกะของพระเจ้า จึงไม่เป็นภาระหนักแต่เป็นภาระใจที่มาจากความรักที่ยินดีทำการปรนนิบัติรับใช้
ผู้เลี่ยงแกะที่ดีจึงเป็นแบบพระเยซูคริสต์ ที่มี "ใจเป็นผู้รับใช้ ไม่ใช่ผู้รับจ้าง" ไม่ทอดทิ้งแกะ
ยอห์น 10:12 ผู้ที่รับจ้างมิได้เป็นผู้เลี้ยงแกะ และฝูงแกะไม่เป็นของเขา เมื่อเห็นสุนัขป่ามาเขาจึงละทิ้งฝูงแกะหนีไป สุนัขป่าก็ชิงเอาแกะไปเสีย และทำให้ฝูงแกะกระจัดกระจายไป


2.ข้อคิดสะกิดใจ
ข้อ 14 อัครทูตเปโตรกล่าวต่อไปว่า…แต่ท่านทั้งหลายได้ปฏิเสธพระองค์ ซึ่งเป็นองค์บริสุทธิ์และชอบธรรม และได้ขอให้เขาปล่อยผู้ฆ่าคนให้ท่านทั้งหลาย
สถานะของพระคริสต์ ประการที่ 2 ที่อัครทูตเปโตรได้สำแดงให้เราได้รู้ คือ “องค์บริสุทธิ์และชอบธรรม” คำว่า “องค์บริสุทธิ์และชอบธรรม” เป็นคำที่ใช้เพื่ออธิบายถึงพระมาซีฮาที่คนยิวรอคอยตามที่พระเจ้าสัญญาไว้ว่าจะเสด็จมา เป็นผู้ช่วยกู้พวกเขาให้รอดพ้น
ท่านใช้คำว่า “องค์บริสุทธิ์” ก่อนหน้านี้แล้วในบทที่ 2:27 ส่วนคำว่า “ชอบธรรม” ในที่นี้ให้ความหมายในลักษณะของ
การไม่มีความผิด หรือ บุคคลที่เป็นอิสระจากโทษทัณฑ์
คำนี้ใช้สำหรับอ้างถึงกฎบัญญัติ ที่แสดงถึงบุคคลที่มีความเที่ยงตรงในด้านบทบัญญัติ หรือ ผู้ซึ่งไม่สามารถเอาผิดได้
ความหมายในที่นี้ คือ พระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าไม่ได้เป็นเพียงเฉพาะบุคคลที่ปราศจากความผิด แต่พระองค์ทรงรับเอาโทษทัณฑ์แห่งความผิดมาไว้ที่พระองค์
เป็นสิ่งที่เกินกว่าจะเข้าใจได้ที่คนยิวเรียกร้องให้พระมาซีฮาที่พระเจ้าสัญญาไว้ว่าจะเสด็จมาเพื่อช่วยกู้พวกเขา ต้องถูกปลงพระชนม์
มาระโก 15:6-15 ได้บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์อย่างชัดเจนว่า พระคริสต์ทรงเป็นองค์บริสุทธิ์และชอบธรรม พระองค์ไม่มีตำหนิ ไม่มีความผิดและทรงบริสุทธิ์ แต่พวกยิวก็ตรึงพระคริสต์โดยใช้ประชามติของคนส่วนใหญ่ที่ไม่ชอบพระองค์
เราเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ในการรับโทษทัณฑ์แห่งความผิดนี้ พระคริสต์ทรงถูกตัดสินประหารชีวิตโดยปราศจากข้อพิสูจน์(มธ.26:59)
สาระสำคัญคือ พระคริสต์ผู้ทรงบริสุทธิ์และชอบธรรม พระองค์ยอมตายเพื่อชำระบาปแก่เรา
1เปโตร 3:18 ด้วยว่าพระคริสต์ก็ได้สิ้นพระชนม์ครั้งเดียวเท่านั้นเพราะความผิดบาป คือพระองค์ผู้ชอบธรรมเพื่อผู้ไม่ชอบธรรม เพื่อจะได้ทรงนำเราทั้งหลายไปถึงพระเจ้า ฝ่ายกายพระองค์จึงสิ้นพระชนม์ แต่ฝ่ายวิญญาณทรงคืนพระชนม์


ขอให้เรานำชีวิตเข้ามาพึ่งพาพระคุณของพระเจ้า พระองค์พร้อมเสมอที่จะช่วยผู้ที่สำนึกผิดและต้องการเริ่มต้นใหม่ แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่า ต่อแต่นี้ไป เราจะดำเนินชีวิตอย่างไรก็ได้ จะทำบาปต่อไปได้อย่างสบายใจเพราะอย่างไรเดี๋ยวก็มาแสวงหาขอการยกโทษบาปจากพระเจ้าได้ อัครทูตเปาโลบอกใน โรม 6:1-2 ถ้าเช่นนั้นแล้วเราจะว่าอย่างไร ควรเราจะอยู่ในบาปต่อไป เพื่อให้พระคุณมีมากยิ่งขึ้นหรือ อย่าให้เป็นอย่างนั้นเลย …
เพราะพระคริสต์ผู้ทรงบริสุทธิ์และชอบธรรมทรงยอมรับโทษทัณฑ์แห่งบาปเพื่อเรา
เราจึงสมควรดำเนินชีวิตที่ตอบสนองพระคุณของพระเจ้า โดยดำเนินชีวิตอยู่ในความบริสุทธิ์ และ ชอบธรรม นั่นคือ สภาวะชีวิตคริสเตียนที่รู้จักพระเจ้าอย่างแท้จริง คือ การตายต่อบาป
ให้วันนี้เราตั้งใจที่จะดำเนินชีวิตอยู่ในความบริสุทธิ์และชอบธรรม
คริสเตียนจำนวนมากมายที่ยังไม่ได้ดำเนินชีวิตอยู่ในความบริสุทธิ์ เพราะขาดการตระหนักถึงพระเจ้าอย่างครบถ้วน ดังนั้น "ความรู้จึงทำให้หยิ่ง ความจริงจึงทำให้ตระหนัก และความรักของพระเจ้าทำให้เรากลับใจใหม่" ขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับความจริงที่พระองค์สำแดงแก่เราทำให้เราได้ตื่นตระหนัก และดำเนินชีวิตอย่างระมัดระวังในทางชอบธรรมของพระองค์


ความจริงอีกสิ่งหนึ่งที่เราต้องประกาศนั่นคือ "พระคริสต์ทรงเป็นเจ้าชีวิต"
อัครทูตเปโตรได้กล่าวต่อไปใน ข้อ 15-16 ว่า
จึงฆ่าพระองค์ผู้ทรงเป็นเจ้าชีวิตเสีย แต่พระเจ้าได้ทรงโปรดให้พระองค์เป็นขึ้นมาอีก เราเป็นพยานในเรื่องนี้
โดยความเชื่อในพระนามของพระองค์ พระนามนั้นจึงได้กระทำให้คนนี้ซึ่งท่านทั้งหลายเห็นและรู้จักมีกำลังขึ้น

คำว่า “เจ้าชีวิต” เป็นคำที่ใช้เกี่ยวกับผู้นำในทางทหาร หรือ ผู้บังคับการเรือ
เช่น ใน ฮีบรู 2:10 แปลว่า “กัปตัน” หรือ “ผู้บุกเบิกทาง”พระคริสต์ทรงเป็นผู้นำทางแห่งความรอด หรือ ให้ความหมายในลักษณะทรงเป็นผู้นำ ผู้บุกเบิก ผู้นำทาง ซึ่งความหมายนี้พบใน
ฮีบรู 12:2 หมายเอาพระเยซูเป็นผู้บุกเบิกความเชื่อ และผู้ทรงทำให้ความเชื่อของเราสมบูรณ์ พระองค์ได้ทรงอดทนต่อกางเขน เพื่อความรื่นเริงยินดีที่ได้เตรียมไว้สำหรับพระองค์ ทรงถือว่าความละอายนั้นไม่เป็นสิ่งสำคัญ และพระองค์ได้ประทับ ณ เบื้องขวาพระที่นั่งของพระเจ้า
ดังนั้น คำว่า “เจ้าชีวิต” จึงให้ความหมายที่ลึกซึ้งมาก พระคริสต์ทรงเป็นทั้งแหล่งแห่งชีวิต เป็นผู้นำในชีวิต เป็นผู้บุกเบิกทางที่นำไปสู่ชัยชนะในชีวิต
ยน.1:4 บอกชัดเจนว่า ..พระองค์ทรงเป็นแหล่งชีวิต…
1คร.15:45 กล่าวไว้ในทำนองเดียวกันโดยเปรียบเทียบ
พระคริสต์ว่าเป็นอาดัมที่มาภายหลังว่า…มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า มนุษย์คนเดิมคืออาดัม จึงเป็นผู้ที่มีชีวิตอยู่แต่อาดัมผู้ซึ่งมาภายหลังนั้นเป็นวิญญาณผู้ประสาทชีวิต
พระคริสต์เป็นผู้บุกเบิกทางแห่งชีวิต พระองค์เป็นกัปตันที่นำชีวิตของเราไปสู่ชัยชนะ
ชีวิตที่พระคริสต์มีให้เราเป็นชีวิตที่ครบถ้วน เป็นชีวิตที่ครบบริบูรณ์


ยน.10:28 พระเยซูบอกว่า พระองค์เป็นผู้ให้ชีวิตนิรันดร์แก่ เราทั้งหลาย โดยให้ภาพของผู้เลี้ยงที่ปกป้องแกะไว้ให้รอดพ้นจากภัยอันตราย
ยน.14:6"เราเป็นทางนั้น เป็นความจริงและเป็นชีวิต ไม่มีผู้ใดมาถึงพระบิดาได้นอกจากจะมาทางเรา"
ไม่มีใครในโลกนี้ที่กล้ากล่าวยืนยันแบบนี้ เราจึงต้องติดตามพระคริสต์ผู้เป็นเจ้าชีวิตของเราอย่าง เข้มแข็ง พระองค์เป็นทางเดียว ทางอื่นไม่มีพระองค์เป็นคำตอบเดียว และ เป็นคำตอบสุดท้ายที่มนุษย์มากมายไขว่คว้า บ้างก็พบแล้ว บ้างก็ยังไม่พบ บ้างก็ปฏิเสธพระองค์ไปอย่างน่าเสียดาย
อัครทูตเปโตรบอกว่า
คนยิวทำในสิ่งที่ผิดพลาดอันใหญ่หลวง โดย…ฆ่าพระองค์ผู้ทรงเป็นเจ้าชีวิตเสีย แต่พระเจ้าได้ทรงโปรดให้ พระองค์เป็นขึ้นมาอีก เราเป็นพยานในเรื่องนี้ ท่านยืนยันอย่างหนักแน่นว่า พระคริสต์ยังทรงพระชนม์อยู่ความตายหาได้ชนะพระองค์ไม่ !
ในหนังสือกิจการฯ ที่ผู้เขียน คือ นายแพทย์ลูกาได้บันทึกไว้ว่า การเป็นขึ้นมาจากความตายของพระคริสต์นั้นมีพยานบุคคลมากมายที่ยังมีชีวิตในขณะนั้น
กจ.1:22 …คือตั้งแต่บัพติศมาของยอห์นจนถึงวันที่พระเจ้าทรงรับพระองค์
ขึ้นไปจากเรา คนหนึ่งในพวกนี้จะต้องเป็นพยานกับเราว่า "พระองค์ได้ทรงคืนพระชนม์แล้ว"

กจ.2:32พระเยซูนี้พระเจ้าได้ทรงบันดาลให้คืนพระชนม์แล้ว ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นพยานในข้อนี้ (กจ.10:40-41,13:30-31)
ฮาเลลูยา สรรเสริญพระเจ้า ! นี่คือ ชัยชนะของพระคริสต์ผู้เป็นเจ้าชีวิต ผู้ทรงเป็นผู้นำ ผู้เบิกทาง ผู้บุกเบิก ผู้นำหน้าชีวิต พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าที่ทรงพระชนม์อยู่ พระองค์มีชัยชนะเหนือความตาย แม้ว่าพวกยิวพยายามจะทำลายพระคริสต์ด้วยการมอบพระองค์ไว้กับความตาย แต่พระเจ้าได้ทำให้การตัดสินพิพากษาจัดการอันผิดพลาดของมนุษย์ที่ทำต่อพระองค์ต้องถูกทำลายไป ด้วยการเป็นขึ้นมาจากความตาย นี่คือ ชัยชนะของพระคริสต์ผู้เป็นเจ้าชีวิต


คำถามที่เราควรจะมาใคร่ครวญในวันนี้คือ (สามารถประยุกต์คำถามตามความเหมาะสมได้)

1.ในวันนี้ เราเป็นผู้รับใช้แบบพระเจ้าที่พอพระทัยหรือไม่ หากคิดว่า "ไม่" มีสิ่งใดที่เราจะปรับปรุงตัวอขงเราเอง?
2.ในพระนามของพระคริสต์ มีสิ่งใดบ้างที่เราต้องการได้รับการอวยพรจากพระองค์ ให้เราอธิษฐานขอการอวยพรจากพระองค์?

3.ข้อสรุปเพื่อการประยุกต์ใช้
อัครทูตเปโตรสรุปลงท้ายใน ข้อ 16 เชื่อมต่อกับเหตุการณ์อันอัศจรรย์ที่คนยิวที่ห้อมล้อมฟังคำกล่าวของท่านว่า …โดยความเชื่อในพระนามของพระองค์ พระนามนั้นจึงได้กระทำให้คนนี้ซึ่งท่านทั้งหลายเห็นและรู้จักมีกำลังขึ้นคือความเชื่อซึ่งเป็นไปโดยพระองค์ ได้กระทำให้คนนี้หายเป็นปกติต่อหน้าท่านทั้งหลาย
คำกล่าวที่ว่า “ในพระนาม” เป็นวิธีที่ถูกใช้ในภาษาฮีบรู โดยเฉพาะเมื่ออ้างถึงพระเจ้า เช่น
กจ.4:12ในผู้อื่นความรอดไม่มีเลย ด้วยว่านามอื่นซึ่งให้เราทั้งหลายรอดได้ ไม่ทรงโปรดให้มีในท่ามกลางมนุษย์ทั่วใต้ฟ้า"
พระนามของพระเยซูพระคริสต์ แสดงให้เห็นถึงสิทธิอำนาจแห่งพระนามนั้นที่ได้ทำให้ชายที่เป็นง่อยแต่กำเนิดนั้นเดินได้อย่างอัศจรรย์ !
โดยความเชื่อที่เปโตรและยอห์นตอบสนองต่อการทรงนำของ พระเจ้าอย่างไม่สงสัยนี่เอง ที่ทำให้ชายคนนี้ได้รับการช่วยเหลือจากพระเจ้า
คำว่า “หายเป็นปกติ” นี้ ไม่ปรากฏในที่อื่น ๆ ในพันธสัญาใหม่ ซึ่งในภาษาเดิมให้ความหมายว่า เป็นความสมบูรณ์ ปราศจากข้อบกพร่อง
ซึ่งในที่นี้หมายถึงว่าชายที่ป่วยเป็นง่อยแต่กำเนิดนั้นได้หายเป็นปกติอย่างสมบูรณ์ อย่างแท้จริง ขาของเขาซึ่งเป็นง่อย ไม่มีกำลัง ไม่เคยเดินได้มาก่อนเลยในชีวิต บัดนี้ได้รับการรักษาให้หายอย่างสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
นั่นคือ ผลที่ตามมาของการตอบสนองของเปโตรและยอห์นที่ทำตามการทรงนำของพระเจ้าให้ทำการอัศจรรย์
ซึ่งเป็นเหตุให้ข่าวประเสริฐของพระคริสต์ถูกประกาศออกไปได้ เพราะใจของคนเปิดเมื่อเห็นสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ข้อสรุปสำหรับการประกาศความจริงเรื่องพระคริสต์คือโดยสำแดงให้เห็นสถานะของพระคริสต์ 3 ประการ คือ
1.พระคริสต์เป็นผู้รับใช้
2.พระคริสต์เป็นองค์บริสุทธิ์และชอบธรรม
3.พระคริสต์เป็นเจ้าชีวิต



ในวันนี้เราจึงต้องออกไปสำแดงถึงความจริงในเรื่องนี้ ให้โลกได้รับรู้!
ขอพระเจ้าอวยพระพรครับ พบกันใหม่ในสัปดาห์หน้า

01 มีนาคม 2555

Blessings for the Hebrew month of Adar

Adar, the 12th Hebrew Month

(February 24–March 23, 2012,Hebrew Year 5772)

This is a description of the Lord’s blessings for Adar, the twelfth Hebrew month. In Hebrew times, these blessings were released by the priests during the “head-of-the-month celebrations,” which were called “Rosh Chodesh.” This was also time to bring first fruit offerings. Emperor Constantine outlawed these monthly celebrations, along with the three major feats (Passover, Pentecost, and Tabernacles), as part of an attempt to divorce the church from its Jewish roots. His doing so may have been the single greatest factor in the rapid decline of the Early Church. As the Lord is restoring the Church today, we find that He is reconnecting us to these Hebrew roots.
(The material comes from my 2006 notes taken from a series of lectures [on CD] given by Chuck Pierce [Glory of Zion]. I highly recommend his website for more materials and more in-depth explanations. —Ron Sawka)


1.The month of the tribe of Naphtali, which means “sweetness to me.” It is a time of celebration so that your curse is overturned and things become sweet to you. In Deuteronomy 33:23, we see that Naphtali is “full of the blessing of the Lord.”



2.The month of eloquent communication and expressions of joy and laughter. See Genesis 49:21, “Naphtali is a deer let loose; he uses beautiful words.” We need to be in “celebration mode.” We need to celebrate the end of cycles. Declare that God has brought you out of the old and into a time of great favor.


3.The month of Pisces, the fishes. Finding your supply in the “hidden” world (e.g., the gold coin in fish’s mouth). There is an identity for you in the invisible world. Don’t always be practical (having a desire to conform and be accepted). No, we must find our spiritual identity.


4.Your true identity should begin to be reflected this month, spiritually as well as physically. God has established cycles to help us come into our identity—the spiritual will be reflected in the physical.

5.The month of the letter “Kaf” (this Hebrew letter looks like a mask). This is a time of removing any “masks” and entering into laughter. You need to remove any “masks” to enter into the true joy of who you are.
6.A month to overturn worry and anxiety, including worry about your supply. If you get rid of anxiety, then you can see your supply. If you are ruled by worry, you will not be able to see the provision God has for you (See Phil. 4:6–7).

7. The month of laughter, abounding joy, the witnessing of life entering into darkness, the advantage of light over darkness, the power of barrenness being broken. No matter what the darkness is, LAUGH and watch God permeate it. Light permeates darkness when we see this, and barrenness will break. Begin to laugh at fear (Ps. 34:4–6).

8.The month of the spleen. Pull out any roots of depression and despair so faith can break through into our thought processes.

9. The month that Moses was born. Thus, it means that your deliverance is forming. See deliverance is already forming for you. Take a look at whatever is holding you captive and declare God’s truth. Declare that He is already forming deliverance and freedom for you and that it is on the way! (Exod. 2:10).

10. A month to develop your war strategy against the anti-Christ spirit. Don’t let the giants produce fear in you; guard against idolatry. Amalek will try to come. Don’t end the year in fear. I like Exodus 17:8–16. When Moses’ hands were raised, Israel had victory; when his hands were lowered, the Israelites began to be defeated. For us this means we can keep our “hands raised” by staying in faith and joy. This will keep us in the victory of the Lord.
11. A time for wrong decrees to be broken off of you. (If wrong decrees are heeded to, they will encircle you and will cause others to say the same negative thing about you.) You need to break off the negative things decreed about you. I suggest praying and asking the Holy Spirit to reveal some wrong decrees, both self-made, and “others-made.” Forgive those who uttered them, put the blood of Jesus on those wrong decrees, and then break them in Jesus’ name.

12.It’s a time for leadership to awaken—Next month they go to war.