จากถ้อยคำในพระธรรม สดุดี 121:5-7
5 พระเจ้าทรงเป็นผู้อารักขาท่าน พระเจ้าทรงเป็นที่กำบังที่ข้างขวามือของท่าน
6 ดวงอาทิตย์จะไม่โจมตีท่านในเวลากลางวัน หรือดวงจันทร์ในเวลากลางคืน
7 พระเจ้าจะทรงอารักขาท่านให้พ้นภยันตรายทั้งสิ้นพระองค์จะทรงอารักขาชีวิตของท่าน
บทพรรณณานี้ได้บรรยายถึงการปกปักษ์รักษาของพระเจ้ามาสู่ประชากรของพระองค์ นับตั้งแต่พระเจ้าได้นำคนอิสราเอลออกจากการเป็นทาสในอียิปต์ ระหว่างการเดินทางในถิ่นทุรกันดาร พระองค์ทรงให้เสาเมฆเป็นร่มเงาปกป้องจากแสงแดดที่แผดเผา และทรงให้มีเสาเพลิงนำความสว่างในยามค่ำคืน เพื่อเขาจะเดินทางอย่างปลอดภัย(อพย.13)
นี่คือพระคุณของพระเจ้าที่มีให้กับคนของพระเจ้าตั้งแต่อพยพมาจากอียิปต์ ต้องเผชิญความยากลำบากในกันดารวิถี เป็นเสมือนบททดสอบการเชื่อฟัง คนอิสราเอลต้องทำข้อสอบในกันดารวิถี แต่พระเจ้าก็ทรงมีพระกรุณาโดยให้คำเฉลยไว้ นั่นคือ "เฉลยธรรมบัญญัติ" พระองค์ทรงมอบพระบัญญัติ(Torah)ไว้ให้กับคนของพระองค์
ในพระบัญญัตินี้พระเจ้าได้กำหนดให้คนอิสราเอลถือเทศกาล 3 เทศกาลคือเทศกาลปัสกา(เพสะห์) ,เพ็นเทคอสต์(ชาวูโอต) และอยู่เพิง(สุคคท) (ลนต. 23:33-44)
เทศกาลอยู่เพิงเป็นเทศกาลสุดท้ายในเทศกาลเลี้ยงขององค์พระผู้เป็นเจ้าที่ปรากฏในพระคัมภีร์ และเป็นเทศกาลสำคัญที่สุด เพราะเป็นการปิดท้าย วัฏจักรการเก็บเกี่ยว โดยที่เป็นเทศกาลสุดท้ายของฤดูใบไม้ร่วง นอกจากนี้ยังเป็นเทศกาลจารึก 3 เทศกาลที่ฉลองกันในเยรูซาเล็ม ถัดจากเทศกาลปัสกา(เพสะห์)และเพ็นเทคอสต์(ชาวูโอต)
คำว่า “พลับพลา” (อยู่เพิง) ในภาษาฮีบรู คือ สุคคท “Sukkot”(เอกพจน์คือ : sukah อ่านว่า สุคาห์) ซึ่งหมายถึงเพิงพักหรือที่พักอาศัยชั่วคราว
พระคัมภีร์ไบเบิลภาษาละตินใช้คำว่า “ tabernāculum” ซึ่งภาษาอังกฤษยืมมาใช้ว่า “tabernacles” เทศกาลนี้บางครั้งรู้จักกันว่าเป็น “ฤดูกาลแห่งความชื่นชมยินดีของเรา” ภาษาฮีบรูว่า “Z’man Simchateinu” เนื่องจากเทศกาลนี้เป็นเครื่องหมายถึงการเก็บเกี่ยวผลไม้ในเดือนกันยายน/ตุลาคม ของแต่ละปี จึงมักรู้จักกันในนามของ “เทศกาลการรวบรวมผลิตผล” ด้วย
เทศกาลนี้จะเริ่มขึ้น 5 วันหลังจาก Yom Kippur (วันลบมลทินบาป) ในวันที่ 15 เดือนทิชรี และมีการฉลองกัน 8 วัน จนถึงวันที่ 22 เดือนทิชรี (ปี 2012 ตรงกับวันที่ 1-7ต.ค.โดยจะเริ่มตอนเย็นวันที่ 30 ก.ย.รวมเป็น 8วัน)
เทศกาลนี้เป็นการเฉลิมฉลองในพระวิหารของเยรูซาเล็มนี้จะมีประชาชนชาวยิวทั่วอิสราเอลและที่อยู่นอกดินแดนอิสราเอลเข้ามาร่วมด้วย ผู้เดินทางหลายพันคนจะเนืองแน่นเต็มท้องถนนต่าง ๆ ในเยรูซาเล็ม
เทศกาลที่สำคัญนี้มีลักษณะพิเศษ 3 ประการ
1.มีการถวายสัตวบูชาจำนวนมากตลอดเทศกาล วัว 70 ตัว แกะผู้ 14 ตัว ลูกแกะ 98 ตัว แพะ 7 ตัว และเครื่องบูชาที่เป็นเครื่องดื่มและธัญพืชรวมทั้งเครื่องถวายบูชาประจำวัน !
2.มีคันประทีบ(Menorah)ใหญ่ 4 อัน ในลานสตรีที่พระวิหารจะถูกจุดสว่างตลอดเทศกาล
3.มีพิธีกรรมอันเรียกกันว่าพิธีหลั่งน้ำเพื่อครัวเรือน (House of Water Pouring Ceremony) ภาษาฮีบรู : Beit She’ubah ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญสำหรับผู้เชื่อในพระเยซู
คนยิวในปัจจุบันฉลองเทศกาลอยู่เพิงนี้อย่างไร
ครอบครัวจะสร้างเพิง (Sukkah) ในสวนหรือบริเวณบ้าน พวกเขาจะกินอาหารที่เสิร์ฟอยู่ภายใต้ Sukkah พ่อจะอ่านโทราห์และ ชี้ให้ดูดวงดาวในท้องฟ้ายามค่ำคืน และยกเรื่องพันธสัญญาของอับราฮัมมาเล่าให้ลูกๆ ฟัง ครอบครัวจะร้องเพลงและเต้นรำเพราะเป็นฤดูกาลแห่งความร่าเริงยินดี ! ครอบครัวส่วนมากตกแต่งด้วยกิ่งไม้เช่น กิ่งใบปาล์ม (lulav) ไม้หอม และกิ่งต้นน้ำมันเขียว และผลส้ม เป็นการขอบพระคุณพระเจ้า
ข้อสังเกตคือการให้ความสำคัญกับครอบครัว เป็นช่วงเวลาพักสงบ ใช้เวลาสังสรรค์กับครอบครัว
เทศกาลนี้เป็นการเตือนใจชาวยิวถึงการปกป้องของพระเจ้า ในช่วงที่บรรพบุรุษของเขาต้องเร่ร่อนในถิ่นทุรกันดารในช่วงอพยพออกจากอียิปต์ เทศกาลนี้จึงเล็งถึงพระสิริของพระเจ้าที่อยู่กับพวกเขาทุกหนทุกแห่ง
ในวันที่ 8 (7ต.ค.12) เรียกว่า “ชิมหัตโทราห์” (Simehat Torah) หมายถึง “ชื่นชมยินดีในโทราห์” คนยิวจำนวนมากเต้นรำด้วยถือหนังสือม้วนโทราห์ อ่านตั้งแต่ปฐมกาลข้อแรก และข้อสุดท้ายของเฉลยธรรมบัญญัติ เพื่อแสดงว่าพระวจนะของพระเจ้าไม่มีวันสิ้นสุด
มีการนมัสการอย่างชื่นชมยินดีในธรรมศาลา(synagogue)หรือที่กำแพงตะวันตก(western wall)
สิ่งสำคัญของเทศกาลอยู่เพิงคือ เป็นเทศกาลแห่งการประสูติของพระเยซูคริสต์!
จากคำสอนใน Issachar school 1 โดย Dr.Robert Heidler ทำให้เราเข้าใจว่า "เทศกาลอยู่เพิงเปิดเผยถึงพระลักษณะและพระราชกิจของพระเยซู ที่เป็นเพิงแห่งพระสิริท่ามกลางเรา!" เพราะว่า เป็นช่วงเวลาแห่งการประสูติของพระเยซูคริสต์! ไม่ใช่ 25 ธันวาคม แน่นอน! ดังเหตุผลต่อไปนี้ (ดูจากรูปภาพประกอบเพื่อเข้าใจง่ายขึ้น)
คนเลี้ยงแกะไม่ได้เลี้ยงแกะในเดือนธันวาคม ลูกา 1:5 เศคาริยาห์ พ่อของยอห์นบัพติศโต เป็นปุโรหิตในเดือนอาวียาห์(Avivah) หรือเดือนสิวาน(Sivan) อลิซาเบธตั้งครรภ์ยอห์น อยู่ในเดือน มิถุนายน ดังนั้นนางมารีย์ตั้งครรภ์พระเยซูหลังจากนั้น 6 เดือน อยู่ในประมาณเดือน ธันวาคม
ดังนั้น พระเยซูเกิดในเดือนนี้ คือ กันยายน-ตุลาคม แน่นอน!(คือวันที่ 15 เดือนทิชชี)
- ทูตสวรรค์ปรากฎในช่วง 12-18 สิวาน (มิถุนายน)
- อลิซาเบธตั้งครรภ์ช่วงนี้ 25 สิวาน (285 วัน)
กำหนดเวลาตั้งครรภ์โดยประมาณ
- ยอห์นบัพติศโต เกิด15 นิสาน (ช่วงปัสกาเม.ย.-พ.ค.)
ลูกา 1:26 อลิซาเบธท้องได้ 6 เดือน มารีย์ตั้งครรภ์
ในวันที่ 25 ของเดือน คิสเลฟ (ธันวาคม) เทศกาลฮานุกกาห์(เทศกาลแสงสว่าง)โดยปกติจะตั้งครรภ์ 9 เดือน (ประมาณ285 วัน) พระเยซูน่าจะประสูติ ในช่วงวันที่15ของเดือนทิชรี (ตรงกับเทศกาลอยู่เพิง)ในพระคัมภีร์ ยอห์น 1:14 กล่าวว่า พระวาทะได้ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์และทรงอยู่ท่ามกลางเรา บริบูรณ์ด้วยพระคุณและความจริง เราทั้งหลายได้เห็นพระสิริของพระองค์ คือพระสิริอันสมกับพระบุตรองค์เดียวของพระบิดา
ตอนที่มารีมาถึงเบธเลเฮ็ม ช่วงนั้นเป็นเทศกาลอยู่เพิง ยอห์นอธิบายการประสูติของพระเยซูอย่างนี้...
ยอห์น 1:14 กล่าวว่า พระวาทะได้ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์และทรงอยู่(σκῆνος)ท่ามกลางเรา บริบูรณ์ด้วยพระคุณและความจริง เราทั้งหลายได้เห็นพระสิริของพระองค์ คือพระสิริอันสมกับพระบุตรองค์เดียวของพระบิดา
(σκῆνος = skēnos หมายถึง เพิง หรือ เต้นท์ a tabernacle, a tent)
ตอนที่มารีมาถึงเบธเลเฮ็ม ช่วงนั้นเป็นเทศกาลอยู่เพิง ยอห์นอธิบายการประสูติของพระเยซูอย่างนี้..
ยอห์น 1:14 “พระวาทะได้ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์และทรงอยู่ท่ามกลางเราและเราทั้งหลายได้เห็นพระสิริของพระองค์”
ลูกา 2 – มารีย์มีบุตรชายและวางบุตรชายนั้นในรางหญ้า
ลูกา 2:16 เขาก็รีบไปแล้วพบนางมารีย์กับโยเซฟ และพบพระกุมารนั้นนอนอยู่ในรางหญ้า (φάτνη -phatne)
คำภาษากรีกคือ phatne แปลว่า รางหญ้า, โรงเก็บสัตว์ คอกสัตว์แบบชั่วคราว คำฮีบรูที่เหมือนกับ phatne : SUKKAH (พลับพลา/เพิง)
ในเทศกาลอยู่เพิงนั้นเองที่พระสิริของพระเจ้ามาปรากฏในเพิง และพระเยซูพระเมสสิยาห์ทรงบังเกิด !
สำหรับในวันที่ 25 ธ.ค.นั้นเป็นเทศกาลคริสต์มาสที่โรมันได้ตั้งขึ้นมาเพื่อเฉลิมฉลอง คำว่า "คริสต์มาส" เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" ซึ่งพบครั้งแรกในเอกสารโบราณที่เป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1038 และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas
(ข้อมูลเรื่อง เทศกาล Christmas จาก สารานุกรม Wikipedia บันทึกไว้ว่า เทศกาล Christmas หรือ X’Mas ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ตามหลักฐานในพระคัมภีร์ได้บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซาร์ ออกุสตุส แห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร)
นักประวัติศาสตร์ได้วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยะเทพ ตั้งแต่ปี ค.ศ.274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูซึ่งเปรียบเสมือนความสว่างของโลก และเหมือนดวงจันทร์เป็นความสว่างในตอนกลางคืนแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปี ค.ศ.330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย)
ในครั้งนี้เราพอจะเข้าใจแล้วว่า พระเยซูคริสต์ ทรงเป็นอิมมานูเอล คือเพิงแห่งพระสิริที่อยู่ท่ามกลางเรา!
สิ่งนี้ช่วยให้เราเข้าใจ ยน.7:37-39
ในวันสุดท้ายของงานเทศกาลซึ่งเป็นวันใหญ่นั้นปุโรหิตจะนำเอาน้ำจากสระสิโลอัม มาเทบนแท่นบูชา ปุโรหิตจะยกน้ำขึ้นแล้วเท ฝูงชนจะอยู่ในความเงียบสงบ พระเยซูทรงยืนและประกาศว่า “ถ้าผู้ใดกระหายผู้นั้นจงมาหาเราและดื่ม ผู้ที่วางใจในเรา แม่น้ำที่มีน้ำธำรงชีวิต จะไหลออกมาจากภายในผู้นั้น" นั่นคือเป้าหมายของพระเยซูชีวิตที่ไหลล้น
นี่คือสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้กับเราในทุก ๆ ปี พระเจ้าต้องการให้ประสบการณ์อันสดใหม่ของชีวิตที่ไหลล้นของพระองค์กับเรา พระองค์ต้องการจะเติมเราด้วยพระสิริของพระองค์ น้ำองุ่นใหม่แห่งพระวิญญาณ พระเยซูมาในโลกนี้เพื่ออยู่กับเรา เวลานี้พระองค์เชื้อเชิญให้เราอยู่กับพระองค์
พระเยซูปรารถนาจะเลี้ยงฉลองกับเรา เชื้อเชิญพระองค์มาที่พลับพลาของคุณในปี
ยน.7:37-38 “ในวันสุดท้ายของเทศกาล พระเยซูตรัสเสียงดังว่า “ถ้าผู้ใดกระหาย ให้เขาเข้ามาและดื่มเถิด! ผู้ใดก็ตามที่เชื่อในเรา สายธารซึ่งมีน้ำที่ให้ชีวิตจะไหลออกมาจากภายในผู้นั้น!”
เราเฉลิมฉลองเทศกาลอยู่เพิงอย่างไร ?
ลนต.23:24-43 “...วันที่ 15 ของเดือนที่ 7 เป็นวันเริ่มเฉลิมฉลอง เทศกาลอยู่เพิงขององค์พระผู้เป็นเจ้า และให้ฉลองไปจนครบ 7 วัน...เป็นการประชุมศักดิ์สิทธิ์ และนำเครื่องบูชาด้วยไฟมาถวายแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า
สร้าง “เพิงชั่วคราว” (Sukkah-ที่พักชั่วคราว) พักอยู่ในเพิงเจ็ดวัน...เพื่อลูกหลานของเจ้าจะรู้ว่าได้ให้ชนอิสราเอล
พระเจ้าตรัสกับว่า “สร้างเพิง สำหรับเราด้วย ! พระเกียติสิริของพระเจ้าลงมาและอยู่ท่ามกลางพวกเขา
ในเทศกาลอยู่เพิงในปีนี้ เราจึงต้องจัดเตรียมบ้านของเราให้เป็นที่ประทับแห่งเพิงพระสิริพระเจ้า และฉลองเทศกาลนั้น โดยตั้งเวลานัดพบกับพระองค์ เพื่อเราจะพักสงบในร่มเงาแห่งพระสิริ!
You'll never walk alone. I am your friend who always listens to, and walks along with you.
27 กันยายน 2555
25 กันยายน 2555
บันทึกการเดินทางอิสราเอล(1)
อธิษฐานที่กำแพงร้องไห้ |
สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน ในครั้งนี้ผมขอแบ่งปันเรื่องการเดินทางไปประเทศอิสราเอล โดยเป็นการแบ่งปันจากสมุดบันทึกการเดินทางของผม ที่จดไว้ในการเดินทางไปที่นั่นในช่วงวันที่ 28 ส.ค.- 5 ก.ย.12 ผมขอแบ่งปันในตอนแรกก่อน และตอนต่อๆไปจะมาแบ่งปันในโอกาสหน้าครับ
ในวันที่ 28 ส.ค. คณะผู้รับใช้เต็มเวลา นำโดยท่านอาจารย์นิมิต พานิช ออกเดินทางจากสนามบินสุวรรรณภูมิ ในเวลาประมาณ 00.10 น.โดยสายการบินเอลอัล (EL-AL)สายการบินแห่งชาติของอิสราเอล ก่อนที่จะออกเดินทาง ทางเจ้าหน้าที่สนามบินประกาศให้อ.นิมิตและอ.ระเบียบ ได้ย้ายที่นั่งไปนั่งในที่นั่งพิเศษของชั้น Business ขอบคุณพระเจ้าที่พระเจ้า Upclass ยกระดับให้อาจารย์ทั้ง2 ท่าน เพราะการเดินทางต้องใช้เวลานานกว่า 11ชม. ในช่วงเวลาที่อยู่บนเครื่องบิน ผมมีโอกาสได้รับประทานอาหารอิสราเอลครั้งแรกบนเครื่อง รสชาติแปลกดีพอที่จะรับประทานได้ ทั้งนี้เพราะภรรยาของผมมีประสบการณ์กับอาหารที่นั่นมาแล้ว ครั้งนี้เราจึงเตรียมตัวนำเครื่องปรุงประเภทซอสปรุงรสต่างๆ รวมถึงเสบียงอาหารไทยไปด้วย เรียกว่าครั้งนี้ "จัดเต็ม" กลัวจะผอมกลับมาก็ว่าได้เราเดินทางไปถึงสนามบินเบนกูเรียล (Ben Gurion -ชื่อของนายกรัฐมนตรีคนแรกของอิสราเอล) ที่กรุงเทลาวีฟโดยสวัสดิภาพ
พอเดินทางมาถึงเราได้รับการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่ของบริษัทซาร์เอลทัวร์ พาเราขึ้นรถบัสเพื่อที่จะเดินทางไปยังเมืองชิโลห์(Shiloh)
เมื่อกล่าวถึงเมืองชิโลห์ ชิโลห์เป็นเมืองเก่าแก่ เมืองชิโลห์เป็นสถานที่ที่หีบพันธสัญญาตั้งอยู่กว่า 400ปี ในสมัยผู้เผยพระวจนะเอลี ประชาชนขึ้นไปถวายเครื่องบูชาที่ชิโลห์ปีละ
ครั้ง ในเมืองนี้นางฮันนาห์ได้มาอธิษฐานขอให้มีบุตร และต่อมานางก็มีบุตรชายจึงตั้งชื่อว่า "ซามูเอล"(แปลว่าพระเจ้าทรงฟัง เพราะนางได้ทูลขอจากพระเจ้า 1ซมอ.1:20
)นางจึงได้ถวายซามูเอลให้ปรนนิบัติพระเจ้าอยู่ในพระนิเวศของพระเจ้าที่ชิโลห์
คริสตจักรโบราณที่เมืองชิโลห์ |
ครั้งนี้อ.นิมิต หนุนใจให้ครอบครัวผู้ที่ยังไม่มีบุตร ได้อธิษฐานต่อพระเจ้าเช่นเดียวกับนางฮันนาห์ ในครั้งนี้ผมและภรรยาได้อธิษฐานร่วมกันเพื่อเราจะมีบุตร
สิ่งที่เป็นข้อเตือนใจของเรานั่นคือ ณ สถานที่ที่ชิโลห์นี้ คนอิสราเอล เขาไม่ได้เชื่อฟังผู้รับใช้ของพระเจ้า คือ เอลี เขาคิดว่าหีบพันธสัญญาอยู่กับพวกเขา เขาจึงจะได้รับชัยชนะ แต่หีบพันธสัญญาต้องอยู่ในพลับพลาของพระเจ้า แต่เขาไม่เชื่อฟังนำหีบออกไป สุดท้ายพวกเขาพ่ายแพ้สงครามต่อพวกฟิลิสเตีย แม้แต่ลูกของเอลีทั้ง 2 คนคือ โฮฟนีและฟีเนหัส ต้องตายในสงครามและหีบพันธสัญญาถูกยึดไปได้ เมื่อข่าวมาถึงเอลี เอลีเสียใจมาก ท่านล้มลงคอหักตาย ความเศร้าเสียใจจึงเกิดทั่วเมืองชิโลห์ แม้แต่ภรรยาของฟิเนหัส คลอดบุตรจึงตั้งชื่อลูกว่า "อีคาโบด" หมายถึงพระสิริที่พรากจากไป (1ซมอ.4:1-22)
ข้อคิดเตือนใจคือ การทรงสถิตของพระเจ้าเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่เราต้องรักษาไว้ แม้คนอิสราเอลจะมีหีบพันธสัญญาแต่เมื่อพวกเขาไม่เชื่อผู้นำของพระเจ้า คือเอลี ผลคือการทรงสถิตและพระสิริได้พรากจากพวกเขาไป
ที่ชิโลห์นี้ เราได้ชมวีดีโอและพิพิธภัณฑ์เล็ก ๆ ซึ่งปัจจุบันมีธรรมศาลา(Synagogue)ของชาวยิวสร้างจำลองขนาดเท่าแท่นบูชาอยู่กลางที่ประชุม สิ่งที่เป็นข้อเตือนใจของเรานั่นคือ ณ สถานที่ที่ชิโลห์นี้ คนอิสราเอล เขาไม่ได้เชื่อฟังผู้รับใช้ของพระเจ้า คือ เอลี เขาคิดว่าหีบพันธสัญญาอยู่กับพวกเขา เขาจึงจะได้รับชัยชนะ แต่หีบพันธสัญญาต้องอยู่ในพลับพลาของพระเจ้า แต่เขาไม่เชื่อฟังนำหีบออกไป สุดท้ายพวกเขาพ่ายแพ้สงครามต่อพวกฟิลิสเตีย แม้แต่ลูกของเอลีทั้ง 2 คนคือ โฮฟนีและฟีเนหัส ต้องตายในสงครามและหีบพันธสัญญาถูกยึดไปได้ เมื่อข่าวมาถึงเอลี เอลีเสียใจมาก ท่านล้มลงคอหักตาย ความเศร้าเสียใจจึงเกิดทั่วเมืองชิโลห์ แม้แต่ภรรยาของฟิเนหัส คลอดบุตรจึงตั้งชื่อลูกว่า "อีคาโบด" หมายถึงพระสิริที่พรากจากไป (1ซมอ.4:1-22)
ข้อคิดเตือนใจคือ การทรงสถิตของพระเจ้าเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่เราต้องรักษาไว้ แม้คนอิสราเอลจะมีหีบพันธสัญญาแต่เมื่อพวกเขาไม่เชื่อผู้นำของพระเจ้า คือเอลี ผลคือการทรงสถิตและพระสิริได้พรากจากพวกเขาไป
เดินทางสู่เบธเอล
เมื่อเสร็จจากเมืองชิโลห์ เราก็นั่งรถต่อไปที่เบธเอล(ชื่อหมายถึงบ้านของพระเจ้า ปฐก.28:19) เมืองเบธเอล เป็นสถานที่ที่ยาโคบฝันเห็นบันไดทอดจากโลกขึ้นสวรรค์และมีเหล่าทูตสวรรค์ของพระเจ้ากำลังขึ้นลงบันไดนั้น เป็นที่ที่ยาโคบได้พบและสนทนากับพระเจ้า (ปฐก.28) สถานที่แห่งนี้ทำให้ท่านได้พบอัตตลักษณ์ของตนเอง ท่านไม่ได้เป็นยาโคบซึ่งชื่อแปลว่าเขาหลอก(ปฐก.25:26)อีกต่อไป แต่เขาถูกเปลี่ยนชื่อเป็นอิสราเอล ท่านจึงได้บรรพบุรุษของชนชาติอิสราเอล 12 เผ่า
ปฐก. 32:28 บุรุษนั้นจึงว่า "เขาจะไม่เรียกเจ้าว่ายาโคบต่อไป แต่จะเรียกว่า อิสราเอล {แปลว่า เขาผู้ปล้ำสู้กับพระเจ้า หรือพระเจ้าทรงปล้ำสู้} เพราะเจ้าสู้กับพระเจ้าและมนุษย์ และได้ชัยชนะ"
ข้อคิดที่ได้จากสถานที่นี้คือ เราต้องพบอัตลักษณ์ของเราในแผนการของพระเจ้า เพื่อเราจะไปสู่เป้าประสงค์ของพระองค์
ในครั้งนี้ ผมได้นำก้อนหินมาหนุนศีรษะและนอนลงบนสถานที่นี้(ทำแบบยาโคบ) และอธิษฐานให้พระเจ้าทำให้ผมได้ค้นพบอัตลักษณ์ในชีวิตเพื่อส่งผลต่อการรับใช้พระองค์ต่อไป
ณ สถานที่เบธเอลนี้ อ.นิมิตและเราทุกคนที่ไปได้ร่วมใจกันอธิษฐานเผื่อพี่น้องชาวอิสราเอลที่ทำทัวร์ในนามของซาร์เอลทัวร์และอธิษฐานเผื่อคุณนวลละออ ในนามของเบธเอลทัวร์ ขอพระเจ้าทรงอวยพระพรให้กับบริษัททัวร์ทั้ง 2 แห่งนี้ได้เป็นพระพรกับคนไทยและอิสราเอลต่อไป
ที่เบธเอลนี้เอง ในสมัยของกษัตริย์เรโหโบอัม พระโอรสของกษัตริย์โซโลมอน อิสราเอลแตกเป็น 2 ส่วนคือ 10เผ่าทางเหนือนำโดยเยโรโบอัม มีสะมาเรียเป็นเมืองหลวง เยโรโบอัมได้สร้างวัวทองคำและสถานบูชาไว้ที่เบธเอลเพื่อให้อิสราเอล 10 เผ่าจะได้ไม่ต้องขึ้นไปนมัสการพระเจ้าที่กรุงเยรูซาเล็ม ส่วนอีก 2เผ่าคือยูดาห์และเบนยามิน มีกรุงเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวง นี่คือสิ่งที่เมื่อผู้นำทำผิดพลาด ผลเสียก็ตกมาสู่คนภายใต้
หลังจากที่เบธเอล เราได้เดินทางเข้าสู่กรุงเยรูซาเล็ม ผมสัมผัสได้ถึงการทรงสถิตของพระเจ้า ณ ที่นั่น ตลอดทั้งวันเรากำลังเดินตามการทรงสถิตของพระเจ้า (Divine presence) จากชิโลห์ ไปเบธเอล และไปสู่กรุงเยรูซาเล็ม นี่เป็นเพียงแค่วันแรกในแผ่นดินพันธสัญญาของพระเจ้า ยังมีความน่าตื่นเต้นมากขนาดนี้ เรากำลังจะเดินทางไปที่เยรูซาเล็ม นครแห่งสันติสุข เรามาเพื่อจะยืนเคียงข้างในพันธสัญญาร่วมกับอิสราเอล ชนชาติแห่งพระพร
ในครั้งนี้ ขอจบไว้เท่านี้ก่อนนะครับ ติดตามตอนต่อไปเมื่อเข้าสู่กรุงเยรูซาเล็ม ขอพระเจ้าอวยพระพรครับ
15 กันยายน 2555
คำอธิษฐานอวยพรประจำเดือนทิชรี(Tishrei)
เดือนทิชรี :เดือนที่ 7 ของฮีบรู
แต่ละเดือนของฮีบรูนั้นมีพระพรที่เฉพาะเจาะจงสำหรับเราที่จะเข้าไปรับ เราจำเป็นต้องรู้ว่าพรเหล่านั้นคืออะไรและป่าวประกาศออกมา และอธิษฐาน นี่เป็นวิธีที่เราจะทำงานร่วมกับพระเจ้า (2คร.6.1) เมื่อเราเดินอยู่ในวาระเวลาของพระเจ้า เราก็เข้าสู่วงจรของพระองค์ที่จะดึงเราให้สูงขึ้น เข้าไปสู่ความอุดมสมบูรณ์
เดือนทิชรี : 30 วัน ปี 2012 ตรงกับช่วงวันที่ 17ก.ย.-16 ต.ค.12
ทิชรีเป็นเดือนแรกของปีถ้านับในทางราชการ และเป็นเดือนที่ 7 ถ้านับในทางศาสนา มี 3 เทศกาลในเดือนนี้คือ
1)เทศกาลเป่าแตรเขาสัตว์-"รอช ฮาชชะนาห์"(Rosh Hashanah) (เริ่มเย็นวันที่ 16 ก.ย.12 จนถึงเย็นที่ 18 ก.ย.12) เพื่อปลุกให้ตื่นขึ้นสู่ความดีของพระเจ้า
2)วันแห่งการลบมลทินบาป(ยม คิปปูร์-Yom Kippur)(ช่วง 10วันแห่งความยำเกรงพระเจ้า วันที่ 1-10 Tishrei หรือวันที่ 16-26 ก.ย.12 วันที่ 26 ก.ย.เป็นวันลบมลทินบาป(Yom Kippur) เพื่อเตือนเราว่าพระเยซูทรงชดใช้บาปทั้งสิ้นแทนเรา
3)เทศกาลอยู่เพิง (สุคต-Sukkot)(ช่วงวันที่ 15-21Tishrei - วันที่1-7ต.ค.12)
เพื่อเราจะได้สามัคคีธรรม ชื่นชม และดำเนินอยู่ต่อการทรงสถิตของพระเจ้าและรับความอุดมสมบูรณ์ของพระองค์
1)เดือนแห่งเผ่าเอฟราอิม บุตรคนที่สองของโยเซฟ จงเกิดผลและทวีคูณ! (ปฐก 49.22 โยเซฟเป็นกิ่งที่เกิดผล มีกิ่งเลื้อยไปบนกำแพง ปฐก 49.26 พรของบิดาเจ้ายิ่งใหญ่กว่าพรของภูเขา)
2)เดือนที่เจ็ด เดือนอันเป็น "ที่รักยิ่ง" เพราะว่าบรรดาเลข 7 เป็นที่รัก และสร้างเดือนที่ "พอใจ" หรือ "เต็มอิ่ม" (เราได้ทำงานผ่านเลขสาม 2 ครั้ง และตอนนี้กำลังเป็นการเริ่มต้นใหม่) คิดใน "ความบริบูรณ์ของพระเจ้า" คิดถึงความอุดมสมบูรณ์และความดีของพระองค์ที่กำลังไหลท่วมท้น
3)เดือนที่การจัดเตรียมจากเบื้องบนนั้นสร้าง "การเริ่มต้น" (สังเกตว่าเป็นเดือนแรกตามปีปฏิทินฮีบรู) จงคาดหวังว่าสิ่งใหม่ๆกำลัง "เริ่มต้นขึ้น" สำหรับคุณ ณ ตอนนี้ ที่ผ่านมาคุณอยู่ในเวลาแห่งการตระเตรียม แต่ตอนนี้สิ่งเหล่านั้นกำลังเริ่มต้นแล้ว
4)การเริ่มต้นของหกเดือนแห่ง "แสงสะท้อน" นี่จะเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมของเรา วิธีที่เราใช้เวลา วิธีที่เราทำงาน วิธีที่พืชผลเจริญขึ้น วิธีที่เราเก็บเกี่ยว
- จงคิดถึงตัวคุณเองในฐานะเป็นผู้สะท้อนพระสิริของพระเจ้าไปรอบตัวคุณ (อสย.60.1-9,ยน 8.12; 9.5)
- จงคิดถึงพระเจ้าที่สะท้อนพระสิริของพระองค์บนชีวิตคุณ
6)เดือนแห่งการหวนคืน เราต้องป่าวประกาศสิ่งที่เคยกระจัดกระจายไปให้กลับคืนมา (จำไว้ว่า วิญญาณชั่วต้องการกวาดให้กระจายและทำให้เราหมดไฟ พระเจ้าต้องการรวบรวมและทำให้เราเข้มแข็ง)
7)เดือนแห่งราศีตุลย์ (ตาชั่ง) การกระทำของมนุษย์จะถูกชั่ง และการพิพากษาจะถูกปลดปล่อย สังเกตว่า "วันแห่งการลบมลทินบาป" ซึ่งเป็นวันที่ 10 เดือนทิชรีนั้น ถูกมองว่าเป็นวันแห่งการพิพากษา ในเดือนนี้เราจดจ่อกับระบบกระบวนการยุติธรรมมากกว่าในเดือนอื่นๆ
8)เดือนแห่งการ "แตะต้อง" ให้คิดถึงผู้หญิงที่ฝ่าเข้ามาและแตะเสื้อผ้าของพระเยซู นี่เป็นเวลาที่จะรู้สึกถึงการทรงสถิตของพระเจ้า แตะพระองค์และให้พระองค์ปลดปล่อยฤทธิ์ของพระองค์ให้คุณ (ลก.8.40-49) สังเกตด้วยว่าเทศกาลอยู่เพิงเกิดขึ้นในเดือนนี้ ก็เพื่อให้เราได้ดำเนินอยู่ในพระสิริของพระเจ้า - คือดำเนินอยู่ในการทรงสถิตของพระองค์
9)เดือนแห่งถุงน้ำดี สิ่งนี้บ่อยครั้งเชื่อมโยงกับอาการสะดุ้งตื่น ดังนั้นจงคิดถึงการตื่นตัวฝ่ายวิญญาณ แล้วต้องมั่นใจว่าคุณได้กำจัดสิ่งที่ขัดขวางคุณไม่ให้กลับสู่หรือเข้าสู่ความไพบูลย์ของพระเจ้าที่มีไว้สำหรับคุณ
10)เฝ้าระวังความขมขื่น ณ ต้นปีนี้ คุณต้องล้างตัวคุณเองจากความขมขื่น ที่จุดเริ่มต้นของปี (เดือนแรก) คุณต้องระวังความขมขื่น และตอนนี้ในเดือนที่ 7 ให้ไปไกลขึ้นอีกก้าวและต้องมั่นใจได้ว่าคุณถูกล้างแล้วจากความขมขื่นทั้งหมด ทั้งต่อคนอื่น ต่อตัวคุณเอง และต่อพระเจ้า (ฮบ.12.15)
11)เดือนแห่งการควบคุมสภาพสมดุลอย่างดี บางสิ่งกำลังเข้าสู่การเสร็จสมบูรณ์ ในขณะที่สิ่งอื่นๆเพิ่งจะเริ่มต้น
12)เดือนนี้เชื่อมโยงกับโยเซฟ ซึ่งอ้างอิงถึงสัดส่วน 2 เท่า (ปฐก 49.22-26 จากโยเซฟคนเดียว มาเป็น ลูกชาย 2 คน คือ เอฟราอิม กับ มนัสเสห์ ผู้ซึ่งกลายมาเป็น 2 ใน 12 เผ่าของอิสราเอล)
(ข้อมูลจาก http://www.arise5.com/#/hebrew-months)
(ขอขอบคุณ คุณเอกจิต จรุงพรสวัสดิ์ ผู้แปล)
แต่ละเดือนของฮีบรูนั้นมีพระพรที่เฉพาะเจาะจงสำหรับเราที่จะเข้าไปรับ เราจำเป็นต้องรู้ว่าพรเหล่านั้นคืออะไรและป่าวประกาศออกมา และอธิษฐาน นี่เป็นวิธีที่เราจะทำงานร่วมกับพระเจ้า (2คร.6.1) เมื่อเราเดินอยู่ในวาระเวลาของพระเจ้า เราก็เข้าสู่วงจรของพระองค์ที่จะดึงเราให้สูงขึ้น เข้าไปสู่ความอุดมสมบูรณ์
เดือนทิชรี : 30 วัน ปี 2012 ตรงกับช่วงวันที่ 17ก.ย.-16 ต.ค.12
ทิชรีเป็นเดือนแรกของปีถ้านับในทางราชการ และเป็นเดือนที่ 7 ถ้านับในทางศาสนา มี 3 เทศกาลในเดือนนี้คือ
1)เทศกาลเป่าแตรเขาสัตว์-"รอช ฮาชชะนาห์"(Rosh Hashanah) (เริ่มเย็นวันที่ 16 ก.ย.12 จนถึงเย็นที่ 18 ก.ย.12) เพื่อปลุกให้ตื่นขึ้นสู่ความดีของพระเจ้า
2)วันแห่งการลบมลทินบาป(ยม คิปปูร์-Yom Kippur)(ช่วง 10วันแห่งความยำเกรงพระเจ้า วันที่ 1-10 Tishrei หรือวันที่ 16-26 ก.ย.12 วันที่ 26 ก.ย.เป็นวันลบมลทินบาป(Yom Kippur) เพื่อเตือนเราว่าพระเยซูทรงชดใช้บาปทั้งสิ้นแทนเรา
3)เทศกาลอยู่เพิง (สุคต-Sukkot)(ช่วงวันที่ 15-21Tishrei - วันที่1-7ต.ค.12)
เพื่อเราจะได้สามัคคีธรรม ชื่นชม และดำเนินอยู่ต่อการทรงสถิตของพระเจ้าและรับความอุดมสมบูรณ์ของพระองค์
1)เดือนแห่งเผ่าเอฟราอิม บุตรคนที่สองของโยเซฟ จงเกิดผลและทวีคูณ! (ปฐก 49.22 โยเซฟเป็นกิ่งที่เกิดผล มีกิ่งเลื้อยไปบนกำแพง ปฐก 49.26 พรของบิดาเจ้ายิ่งใหญ่กว่าพรของภูเขา)
2)เดือนที่เจ็ด เดือนอันเป็น "ที่รักยิ่ง" เพราะว่าบรรดาเลข 7 เป็นที่รัก และสร้างเดือนที่ "พอใจ" หรือ "เต็มอิ่ม" (เราได้ทำงานผ่านเลขสาม 2 ครั้ง และตอนนี้กำลังเป็นการเริ่มต้นใหม่) คิดใน "ความบริบูรณ์ของพระเจ้า" คิดถึงความอุดมสมบูรณ์และความดีของพระองค์ที่กำลังไหลท่วมท้น
3)เดือนที่การจัดเตรียมจากเบื้องบนนั้นสร้าง "การเริ่มต้น" (สังเกตว่าเป็นเดือนแรกตามปีปฏิทินฮีบรู) จงคาดหวังว่าสิ่งใหม่ๆกำลัง "เริ่มต้นขึ้น" สำหรับคุณ ณ ตอนนี้ ที่ผ่านมาคุณอยู่ในเวลาแห่งการตระเตรียม แต่ตอนนี้สิ่งเหล่านั้นกำลังเริ่มต้นแล้ว
4)การเริ่มต้นของหกเดือนแห่ง "แสงสะท้อน" นี่จะเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมของเรา วิธีที่เราใช้เวลา วิธีที่เราทำงาน วิธีที่พืชผลเจริญขึ้น วิธีที่เราเก็บเกี่ยว
- จงคิดถึงตัวคุณเองในฐานะเป็นผู้สะท้อนพระสิริของพระเจ้าไปรอบตัวคุณ (อสย.60.1-9,ยน 8.12; 9.5)
- จงคิดถึงพระเจ้าที่สะท้อนพระสิริของพระองค์บนชีวิตคุณ
5)เดือนของตัวอักษรฮีบรู LAMED ל ที่เล็งถึงความปรารถนายิ่งที่จะหวนกลับสู่แหล่งที่สมบูรณ์ของคุณ พระเจ้าทรงเป็นแหล่งของเรา เราต้องอธิษฐานว่า "ข้าแต่พระเจ้า ทำอย่างไรเราจึงจะกลับมามั่นใจได้ว่าเราไหลไปตามสิ่งที่พระองค์กำลังทำ?"
6)เดือนแห่งการหวนคืน เราต้องป่าวประกาศสิ่งที่เคยกระจัดกระจายไปให้กลับคืนมา (จำไว้ว่า วิญญาณชั่วต้องการกวาดให้กระจายและทำให้เราหมดไฟ พระเจ้าต้องการรวบรวมและทำให้เราเข้มแข็ง)
7)เดือนแห่งราศีตุลย์ (ตาชั่ง) การกระทำของมนุษย์จะถูกชั่ง และการพิพากษาจะถูกปลดปล่อย สังเกตว่า "วันแห่งการลบมลทินบาป" ซึ่งเป็นวันที่ 10 เดือนทิชรีนั้น ถูกมองว่าเป็นวันแห่งการพิพากษา ในเดือนนี้เราจดจ่อกับระบบกระบวนการยุติธรรมมากกว่าในเดือนอื่นๆ
8)เดือนแห่งการ "แตะต้อง" ให้คิดถึงผู้หญิงที่ฝ่าเข้ามาและแตะเสื้อผ้าของพระเยซู นี่เป็นเวลาที่จะรู้สึกถึงการทรงสถิตของพระเจ้า แตะพระองค์และให้พระองค์ปลดปล่อยฤทธิ์ของพระองค์ให้คุณ (ลก.8.40-49) สังเกตด้วยว่าเทศกาลอยู่เพิงเกิดขึ้นในเดือนนี้ ก็เพื่อให้เราได้ดำเนินอยู่ในพระสิริของพระเจ้า - คือดำเนินอยู่ในการทรงสถิตของพระองค์
9)เดือนแห่งถุงน้ำดี สิ่งนี้บ่อยครั้งเชื่อมโยงกับอาการสะดุ้งตื่น ดังนั้นจงคิดถึงการตื่นตัวฝ่ายวิญญาณ แล้วต้องมั่นใจว่าคุณได้กำจัดสิ่งที่ขัดขวางคุณไม่ให้กลับสู่หรือเข้าสู่ความไพบูลย์ของพระเจ้าที่มีไว้สำหรับคุณ
10)เฝ้าระวังความขมขื่น ณ ต้นปีนี้ คุณต้องล้างตัวคุณเองจากความขมขื่น ที่จุดเริ่มต้นของปี (เดือนแรก) คุณต้องระวังความขมขื่น และตอนนี้ในเดือนที่ 7 ให้ไปไกลขึ้นอีกก้าวและต้องมั่นใจได้ว่าคุณถูกล้างแล้วจากความขมขื่นทั้งหมด ทั้งต่อคนอื่น ต่อตัวคุณเอง และต่อพระเจ้า (ฮบ.12.15)
11)เดือนแห่งการควบคุมสภาพสมดุลอย่างดี บางสิ่งกำลังเข้าสู่การเสร็จสมบูรณ์ ในขณะที่สิ่งอื่นๆเพิ่งจะเริ่มต้น
12)เดือนนี้เชื่อมโยงกับโยเซฟ ซึ่งอ้างอิงถึงสัดส่วน 2 เท่า (ปฐก 49.22-26 จากโยเซฟคนเดียว มาเป็น ลูกชาย 2 คน คือ เอฟราอิม กับ มนัสเสห์ ผู้ซึ่งกลายมาเป็น 2 ใน 12 เผ่าของอิสราเอล)
(ข้อมูลจาก http://www.arise5.com/#/hebrew-months)
(ขอขอบคุณ คุณเอกจิต จรุงพรสวัสดิ์ ผู้แปล)
11 กันยายน 2555
Rosh Hashanah ปี 5773 ปีแห่งพระพรความมั่งคั่ง
สวัสดีครับเพื่อนผู้อ่านทุกท่าน ในครั้งนี้ผมได้กลับมาเขียนบทความลงใน Blog อีกครั้งหลังจากไม่ได้เขียนมานานเกือบเดือน เนื่องจากติดภารกิจหลายประการและเพิ่งเดินทางกลับมาจากการไปประเทศอิสราเอล เมื่อวันที่ 28 ส.ค.-6 ก.ย.12 ที่ผ่านมา ผมได้จดบันทึกการเดินครั้งนี้ไว้ ในโอกาสต่อไปคงจะได้มาเขียนเพื่อเล่าสู่กันฟัง
ในช่วงเดินทางไปอิสราเอลได้ทำความเข้าใจหลายประการเกี่ยวกับวัฒนธรรม การดำเนินชีวิตและความหมายของคำในภาษาฮีบรูของชาวอิสราเอลเพิ่มขึ้น ทำให้เข้าใจสิ่งที่เป็นความสำคัญของพระวจนะของพระเจ้าที่บันทึกในพระคัมภีร์มากยิ่งขึ้น เป็นการท่องโลกในพระคัมภีร์ ดังนั้นประเทศอิสราเอลจึงเป็นประเทศที่น่าหลงไหล การทรงสถิตของพระเจ้าในประเทศนี้ทำให้ผมหลงรักประเทศเทศนี้ ผมเชื่อว่าเมื่อผู้ใดไปแล้วคงต้องอยากจะกลับไปอีกครั้ง
สำหรับบทความในครั้งนี้ ผมขอแบ่งปันในเรื่องเทศกาลเสียงแตรเขาสัตว์ หรือที่เรียกว่า "รอช ฮาชชะนาห์"(Rosh Hashanah)เทศกาลนี้มีความสำคัญอย่างไร นั่นก็คือ เป็นการเริ่มต้นปี (Head of the year)หรือเรียกง่ายว่า เทศกาลปีใหม่ของชาวอิสราเอล การเป่าแตรเขาสัตว์(Shofar)เป็นการปลุกให้ตื่นขึ้นเพื่อจะกลับมาแสวงหาพระเจ้า ในวัฒธรรมของชาวอิสราเอลหรือชาวยิว เขาจะมีการเป่าแตรเขาสัตว์ในทุกต้นเดือนที่เราเรียกว่า "รอช โคเดช" (Rosh Chodesh) คำว่า "รอช" (Rosh)หมายถึง ต้น หรือ หัว(head) ส่วนคำว่า "โคเดช" (Chodesh) ให้ความหมายว่า การชำระชีวิต(sanctify)เป็นการ "ตั้งสติก่อนสตาร์ท"เพื่อให้พระเจ้าอวยพระพรชีวิตก่อนเริ่มต้นในแต่ละเดือนโดยนับจากวันขึ้นค่ำดวงจันทร์วันใหม่(new moon)ของการเริ่มต้นเดือนใหม่ตามปฏิทินแบบจันทรคติของยิว
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติ่มได้จาก บทความ :ความเข้าใจเกี่ยวกับผลแรกในวันต้นเดือน(Rosh Chodesh))
ฉะนั้น "รอช ฮาชชะนาห์"(Rosh Hashanah)จึงให้ความหมายถึง เป็นการเริ่มต้นปี (Head of the year)ตรงกับวันที่ 1ของเดือนทิชรี(Tishrei)เป็นเดือนแรกตามปฎิทินฮีบรูแบบราชการ(government calendar)แต่เป็นเดือนที่ 7 ตามปฎิทินฮีบรูแบบศาสนา(Ecclesiastical calendar)ในสมัยก่อนเรียกว่า เดือน "เอธานิม" (Ethanim)หากเราจำเหตุการณ์สำคัญในเดือนนี้ได้เดือนนี้เป็นเดือนที่กษัตริย์ซาโลมอนมอบถวายพระวิหารแด่พระเจ้าและพระสิริของพระเจ้าเทลงมาอย่างเต็มขนาด(2 พศด 6:12-42)เดือนทิชรี(Tishrei)(ปี 2012 ตรงกับช่วงวันที่ 17ก.ย.-16 ต.ค.12)จึงเป็นเดือนที่สำคัญและมีเทศกาลสำคัญถึง 3 เทศกาลด้วยกันคือ
2.เทศกาลวันลบมลทินบาป(ยม คิปปูร์-Yom Kippur)(ช่วง 10วันแห่งความยำเกรงพระเจ้า วันที่ 1-10 Tishrei หรือวันที่ 16-26 ก.ย.12 วันที่ 26 ก.ย.เป็นวันลบมลทินบาป(Yom Kippur)
3.เทศกาลอยู่เพิง(สุคต-Sukkot)(ช่วงวันที่ 15-21Tishrei - วันที่1-7ต.ค.12)
สำหรับในเทศกาล"รอช ฮาชชะนาห์"(Rosh Hashanah)ปี 2012 นี้ เป็นการเริ่มต้นปี 5773 ปีแห่งพระพรความมั่งคั่ง ปี 5773 เป็นปีการรื้อฟื้นสู่การไถ่กลับมาทั้งหมด ปีที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างช่องว่างของอดีตไปสู่อนาคต (From recovery to wholeness : A year to bride the gap between past and future)
หากพิจารณาตามความหมายเชิงสัญลักษณ์ของอักษรฮีบรู คือ ปี "Ayin-Gimel"ג ע ผมขอนุญาตสรุปความหมายโดยสังเขปดังนี้ (ในช่วงสัมมนา Issacar camp วันที่ 26-28ต.ค.นี้ Dr.Robert Heidler จาก Glory of Zion จะมาอธิบายให้เราเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากขึ้น)
ตัวอักษรเอยิน ע (Ayin) คือ ตัวอักษรที่เป็นภาพของดวงตาที่มองเห็น เป็นปีแห่งการเปลี่ยน หมายถึงเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแล้วไม่ใช่เป็นปีของสิ่งเดิมๆ เปลี่ยนในที่นี้หมายถึงเป็นปีแห่งการจบสิ้นสิ่งเก่าและเริ่มต้นสิ่งใหม่ ไม่ใช่คิดว่าเริ่มต้นสิ่งใหม่แต่ยังวังวนในสิ่งเก่านี่ไม่ใช่การเริ่มต้นสิ่งใหม่ สิ่งใหม่ก็คือสิ่งใหม่ พระเจ้ากำลังทำสิ่งใหม่
ตัวอักษรกิเมล ג (Gimel) คือ ตัวอักษรภาพที่เป็นภาพของตัวอูฐ หมายถึง ความมั่งคั่ง พระเยซูตรัสกับเหล่าสาวกของพระองค์ว่า "เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า คนมั่งมีจะเข้าในอาณาจักรแห่งสวรรค์ก็ยาก เราบอกท่านทั้งหลายอีกว่า ตัวอูฐจะลอดรูเข็มก็ง่ายกว่าคนมั่งมีจะเข้าในอาณาจักรของพระเจ้า"
พระเยซูตรัสกับเหล่าสาวกของพระองค์ว่า เมื่อพวกสาวกของพระองค์ได้ยินก็ประหลาดใจมาก จึงทูลว่า "ถ้าอย่างนั้นใครจะรอดได้" พระเยซูทอดพระเนตรดูพวกสาวกและตรัสกับเขาว่า "ฝ่ายมนุษย์ย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่พระเจ้าทรงกระทำให้เป็นไปได้ทุกสิ่ง"(มธ 19:24-26)
แนวคิดของพระคัมภีร์โยงอูฐกับความมั่งคั่งนั้น พระเยซูคริสต์ทรงตระหนักและยืนยันสิ่งนี้เมื่อพระองค์ทรงเลือกอูฐเพื่อเปรียบเทียบกับคนรวยในหนึ่งในคำสอนที่มีชื่อเสียงของพระองค์ ซึ่งได้แสดงไว้ในตอนต้นของบทนี้ด้วย กล่าวว่า "ตัวอูฐจะลอดรูเข็มก็ง่ายกว่าคนมั่งมีจะเข้าในอาณาจักรของพระเจ้า"
รูเข็มให้ความหมาย 2 แบบคือโพลงที่ให้สัตว์รอดช่องที่กำแพง หรืออาจจะเป็นรูเข็มจริงๆที่ใช้เย็บผ้าก็ได้ แต่ในฝ่ายวิญญาณหมายถึงทางแคบแห่งกางเขนซึ่งผู้ที่ติดตามพระคริสต์ต้องปรารถนาจะวางทุกสิ่งลงโดยสมบูรณ์เพื่อที่จะเข้าไปในแผ่นดินของพระเจ้าได้ ดังที่มีพระคัมภีร์เขียนไว้ว่า "ถ้าผู้ใดใคร่ตามเรามา ให้ผู้นั้นเอาชนะตัวเอง และรับกางเขนของตนแบกและตามเรามา เพราะว่าผู้ใดใคร่จะเอาชีวิตของตนรอด ผู้นั้นจะเสียชีวิต แต่ผู้ใดจะเสียชีวิตของตนเพราะเห็นแก่เรา ผู้นั้นจะได้ชีวิตรอด เพราะถ้าผู้ใดจะได้สิ่งของสิ้นทั้งโลก แต่ต้องสูญเสียจิตวิญญาณของตน ผู้นั้นจะได้ประโยชน์อะไร หรือผู้นั้นจะนำอะไรไปแลกเอาจิตวิญญาณของตนกลับคืนมา"(มธ.16:25-27)
แม้พระเจ้าทรงประสงค์จะเป็นที่หนึ่งในหัวใจคนของพระองค์ พระองค์ก็ทรงรับประกันว่าทุกคนที่เชื่อฟังพระองค์ และปฏิเสธตนเองจะได้รับรางวัล ดังที่พระเยซูคริสต์เจ้าเองก็ทรงสัญญาเช่นนั้นว่าจะได้รับตอบแทนร้อยเท่า คือบ้าน พี่น้องชายหญิง มารดา บุตรและที่ดิน ทั้งจะถูกการข่มเหงด้วย และในโลกหน้าจะได้ชีวิตนิรันดร์(มก. 10:29)
ผมนึกถึงตอนที่ผมอยู่ที่ประเทศอิสราเอล จะมีช่องอุโมงค์ที่กษัตริย์ดาวิดให้ทหารขุดไปเพื่อไปยึดและเอาชนะคนเยบุสได้ จึงสถาปนาเป็นเมืองของดาวิด(City of David)ได้
ทีมที่เราไปอิสราเอลได้เดินผ่านอุโมงค์นั้น และอธิษฐานเป็นการทะลุทะลวงฝ่ายวิญญาณ(breakthrough)วันนี้เราต้องเอาชนะปัญหาของเราให้ได้เพื่อรับพระพรจากพระเจ้า
รากศัพท์ของคำว่า "gomel" ใช้ในความหมายของ ผู้อุปการะ หรือ ผู้ที่ปฏิบัติอย่างใจกรุณา ความหมายนี้มีฐานมาจากข้อกิเมลในท้ายบทที่31ของพระธรรมสุภาษิต (สภษ 31:12) “เธอจะทำความดีให้เขา ไม่ทำความร้าย ตลอดชีวิตของเธอ” เช่นกัน พระคัมภีร์ก็ใช้รากฐานอันนี้แหละเพื่อบรรยายความรักที่ท่วมท้นที่พระเจ้าประทานแก่เรา
5 ความอุดมสมบูรณ์ของทะเลจะหันมาหาเจ้า ความมั่งคั่งของบรรดาประชาชาติจะมายังเจ้า
6 มวลอูฐจะมาห้อมล้อมเจ้า อูฐหนุ่มจากมีเดียนและเอฟาห์ บรรดาเหล่านั้นจากเชบาจะมา เขาจะนำทองคำและกำยาน และจะบอกข่าวดีถึงกิจการอันน่าสรรเสริญของพระเยโฮวาห์
(มวลอูฐ ไม่ใช่ มูลอูฐ มวลอูฐจึงเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งที่จะมา)
ตัวอักษรกิเมล เครื่องหมายแสดงพระกรุณานิรันดร์ของพระเจ้า พระเจ้าทรงประทานสิ่งเหล่านี้แก่เรา กิเมลเป็นเครื่องหมายแสดงพระกรุณานิรันดร์ของพระเจ้า นี่เป็นของความหมายที่เราต้องทำความเข้าใจเพื่อเราจะได้คาดหวังในการได้รับมรดกแห่งพระพรความมั่งคั่งเมื่อเราเชื่อมต่อกับชนชาติของพระเจ้าคืออิสราเอล (ปฐก.12) เราจะได้รับพระพร
หากเปรียบเทียบอูฐเป็นยานพาหนะในปัจจุบัน จะเป็นเสมือนรถยนต์โก้หรู ยี่ห้อประมาณ Benz ,Volvo หรือบางคนอาจจะใช้รถยี่ห้อ Jaguar เป็นการเสริมสร้างบารมีเรียกว่า "รถโชว์" ไม่ใช่ "รถใช้" เพราะรถใช้งานจะเป็นพวกรถยี่ห้อ Toyota หรือ Honda หรือรถกระบะ ทนทานสมบุกสมบัน
ในประเทศอิสราเอลในสมัยก่อนจะใช้ลาหรือล่อในการเดินทาง หากผู้ใดมีอูฐถือว่ามีความมั่งคั่ง เมื่อผมเดินทางไปภูเขามะกอกเทศที่อิสราเอล จะมีลาเช่าให้ขี่รอบเมือง เพื่อระลึกถึงตอนที่พระเยซูคริสต์เสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มโดยทรงลูกลา(มธ.21)คนที่นั่นจะเรียกว่า "Jesus's taxi"
ความมั่งคั่งที่พระเจ้าจะอวยพรให้เราผ้ที่เชื่อในปีนี้นั้น ไม่ได้ให้เราเก็บไว้แต่ตนเองฝ่ายเดียว เพราะนั่นเป็นวิญญาณความยากจนที่จะครอบงำชีวิตเรา เพราะบางครั้งคนที่มีเงินเป็นเศรษฐีแต่กลับยากจนฝ่ายวิญญาณเพราะ "มีใจงก" ไม่ยอมแจกจ่ายออกไป แต่ต้องเป็นเศรษฐี "มีใจงาม"ที่แจกจ่ายออกไป แบบคริสตจักรชาวแคว้นมาซิโดเนีย ที่อัครทูตเปาโลชมเชย 2คร.8:1-3 ยิ่งกว่านี้ พี่น้องทั้งหลาย เราใคร่ให้ท่านทราบถึงพระคุณของพระเจ้า โดยที่พระองค์ได้ทรงโปรดประทานแก่คริสตจักรต่างๆในแคว้นมาซิโดเนีย เพราะว่าเมื่อคราวที่พวกเขาถูกทดลองอย่างหนักได้รับความทุกข์ยาก ความยินดีล้นพ้นของเขาและความยากจนแสนเข็ญของเขานั้น ก็ล้นออกมาเป็นใจโอบอ้อมอารีของเขา เพราะข้าพเจ้าเป็นพยานได้ว่า เขาถวายโดยสุดความสามารถของเขา ที่จริงก็เกินความสามารถของเขาเสียอีก และเขายังได้วิงวอนเรามากมายขอให้เรายอมรับของถวายนั้น และให้เขามีส่วนในการช่วยวิสุทธิชนด้วย ไม่เหมือนที่เราได้คาดหมายไว้ แต่ได้ถวายตัวเขาเองแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าก่อน แล้วได้มอบตัวให้เราตามพระประสงค์ของพระเจ้า
ดังนั้นเราคงเข้าใจแล้วว่าทำไมพระธรรม 2 คร. จึงทำให้อัครทูตเปาโลผู้ซึ่งทนทุกข์หนักหนาในพันธกิจแห่งข่าวประเสริฐของเขาได้พรรณนาตัวเขาไว้ว่า “เหมือนคนยากจน แต่ยังทำให้คนเป็นอันมากมั่งมี เหมือนคนไม่มีอะไรเลย แต่ยังมีสิ่งสารพัดบริบูรณ์” และทำไมท่านจึงใช้ถ้อยคำแบบเดิมในเวลาต่อมาในพระธรรมนี้เพื่อบรรยายข่าวประเสริฐในรูปของความยากจนและความมั่งคั่ง เพราะท่านทั้งหลายรู้จักพระคุณของพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราว่า แม้พระองค์มั่งคั่ง พระองค์ก็ยังทรงยอมเป็นคนยากจน เพราะเห็นแก่ท่านทั้งหลายเพื่อท่านทั้งหลายจะได้เป็นคนมั่งมี เนื่องจากความยากจนของพระองค์(2คร.8:9)
พระเยซูคริสต์ พระองค์ผู้ทรงอยู่ในสภาพพระเจ้ามิได้ทรงเห็นว่าการเท่าเทียมกับพระเจ้านั้นเป็นการแย่งชิงเอาไปเสีย แต่ได้ทรงกระทำพระองค์เองให้ไม่มีชื่อเสียงใดๆ และทรงรับสภาพอย่างผู้รับใช้ ทรงถือกำเนิดในลักษณะของมนุษย์ และเมื่อทรงปรากฏพระองค์ในสภาพมนุษย์แล้ว พระองค์ก็ทรงถ่อมพระองค์ลง ยอมเชื่อฟังจนถึงความมรณา กระทั่งความมรณาที่กางเขน
(ฟป. 2:6-7)
พระองค์ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์จากสวรรค์ของเรา พระองค์ทรงส่งทูตของพระองค์ขี่อูฐ(camel)มาเป็นผู้เปิดประตูสวรรค์ด้วยกุญแจที่มาจากพระโลหิตของพระองค์เพื่อช่วยจิตวิญญาณของเราจากขุมนรกและนำเราเข้าไปในอาณาจักรแห่งพระสิริของพระองค์ เป็นไถ่สิ่งที่เราสูญเสียไปในอดีตโดยมารซาตาน ถึงแล้วที่เราในฐานะคริสตจักรของพระองค์จะต้องใช้กุญแจแห่งความเชื่อนี้ เปิดประตูความตาย "เพื่อปล้นนรก ปลูกอาณาจักรของพระเจ้า" ตามที่พระเยซูคริสต์มอบไว้(มธ.16:18)
ในปีนี้คริสตจักรแห่งพระบัญชา(UCC)เรามีการเฉลิมฉลองในวันอาทิตย์ที่ 16 ก.ย.เรามีการอธิษฐานและนมัสการจนถึงเวลาหกโมงเย็น เพื่อเป็นการนับถอยจากปี 5772 ปีแห่งพันธสัญญา ไปสู่ปี 5773 เป็นปีพระพรแห่งความมั่งคั่ง
ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองเทศกาลในภาพรวม เราสามารถเตรียมชีวิตของเราและฉลองเทศกาลต่างๆในเดือนนี้ในภาพส่วนบุคคลได้ ผมขอเสนอแนวทางการปฏิบัติในเทศกาลในกลุ่มย่อยๆ ดังนี้ครับ
การฉลองในเทศกาล Rosh Hashanah มีการรับประทานอาหารร่วมกัน ที่นิยมคือ การรับประทานแอปเปิ้ลจิ้มน้ำผึ้งในช่วงวันขึ้นปีใหม่ จะอวยพรกันว่า
ขอพระเจ้าอวยพระพรในเทศกาลแห่งปีใหม่นี้ครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)