29 พฤศจิกายน 2554

ความหมายของเดือนเชิงการเผยพระวจนะ ประจำเดือน Kislev

เดือนคิสเลฟ (Kislev): 27 พ.ย. - 26 ธ.ค. 2011

นี่คือบันทึกสำหรับเดือนที่ 9 แห่งปฏิทินฮีบรู ที่จะเป็นเหมือนคู่มือแห่งคำอธิษฐาน ซึ่งมาจากบันทึกคำสอนโดยอ.ชัค เพียซ ในปี 2007 ข้าพเจ้ารู้สึกขอบคุณพระเจ้าที่พระองค์ให้เราได้เข้าใจในเรื่อง รอช โคเดช (ศีรษะแห่งเดือน(วันต้นเดือน) / ฉลองผลแรก) ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญของการนมัสการแบบฮีบรู ข้าพเจ้าพบว่าในขณะที่ข้าพเจ้าตระหนักถึงการทำงานของพระเจ้าในแนวทางเหล่านี้ที่ทรงต้องการจะอวยพรเราในแต่ละเดือน ระดับความเชื่อของข้าพเจ้าก็ได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ ชัค เพียซ ได้บอกว่าสิ่งนี้จะพาเราเข้าไปสู่ "ความท่วมท้น" ในชีวิตของเรา และมันอาจใช้เวลาประมาณ 3 ปีครึ่ง ซึ่งข้าพเจ้ากำลังอยู่ในปีที่ 5 ของการดำเนินตามคู่มืออธิษฐาน "ผลแรก" นี้ และพบตัวเองใน "ความท่วมท้น" อย่างแท้จริง

รอน ซอว์คะ (Ron Sawka)

เดือนคิสเลฟ (Kislev) (ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. - 26 ธ.ค. 2011)


1. เดือนแห่งเผ่าเบนยามิน เบนยามินเป็นเพียงหนึ่งเดียวใน 12 คนที่เกิดในดินแดนอิสราเอล ดังนั้นจงเฝ้าดูอิสราเอล สิ่งต่างๆจะเกิดขึ้นเพื่อเปลี่ยนวิถีทางของเขา

2. เดือนที่จะพัฒนายุทธศาสตร์สงครามของคุณ เดือนที่จะรับการสำแดงเชิงเผยพระวจนะสำหรับสงคราม คุณจะได้รับการสำแดงเชิงเผยพระวจนะสำหรับยุทธศาสตร์ต่างๆ เบนยามินนั้นตะลันต์ในเรื่องศิลปะการยิงธนูมากที่สุด (ซึ่งเล็งถึงยุทธศาสตร์ด้านการเผยพระวจนะ) ดูในปฐก 49.27 "ฝ่าย​เบน​ยา​มิน​เป็น​สุนัข​ป่า​ที่​ล่า​เหยื่อ เวลา​เช้า​ก็​กิน​เหยื่อ​เสีย เวลา​เย็น​ก็​แบ่งปัน​ของ​ที่​แย่ง​ชิง​ไว้" พระเจ้าทรงประสงค์จะให้ยุทธศาสตร์กับเราเพื่อโจมตีศัตรูและทำให้เรามั่งคั่ง

3. เดือนที่จะเข้าสู่ระดับใหม่แห่งการวางใจและพักสงบ ถ้าเราเชื่อมต่อกับพระเจ้าและสิ่งที่พระองค์บัญชา (เช่น มีใจขอบพระคุณในทุกสิ่ง) แล้วเราจำเป็นต้องเชื่อว่าเราสามารถจัดทัพและยุทธศาสตร์ใหม่และมีชัยชนะต่ออุปสรรคทั้งหลายได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกำลังรู้สึกในความกดดันด้านการเงิน จงอย่ากังวลใจ แต่เลือกที่จะขอบพระคุณแทน ให้แน่ใจว่าคุณมีใจขอบพระคุณในทุกสถานการณ์ยากลำบากที่คุณเผชิญ ดู 1ธส 5.18, คส 3.17

4. เดือนแห่งตัวอักษร Samekh (ס)ซึ่งดูคล้ายกับวงกลม เล็งถึงความวางใจ ความมั่นใจ การสนับสนุน และการบรรจบ เราอยู่ในฤดูกาลแห่งการพัฒนาความวางใจและความเชื่อมั่น ถ้าสิ่งเหล่านี้ไม่ถูกพัฒนา คุณจะพบว่าตัวคุณเองวนอยู่ในวงจรเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า และจะไม่ทะลวงเข้าสู่สิ่งใหม่เลย ลองสำรวจชีวิตของยาโคบและโยเซฟ สิ่งต่างๆก็บรรจบลงสำหรับยาโคบเมื่อเขากลับไปที่คานาอันหลังจากทำงานให้กับลาบัน 20 ปี โยเซฟก็ถูกเชื่อมกลับเข้าสู่ครอบครัวของเขาอีกครั้ง

5. เดือนที่จะทบทวนระบบการสนับสนุนของคุณ คุณสนับสนุนใคร ใครสนับสนุนคุณ ใครบ้างเป็นเพื่อนของคุณ

6. เดือนแห่งสายรุ้ง เราต้อง "ทำสงคราม" เพื่อสันติภาพ หลักพระคัมภีร์อันนี้สำคัญมากที่เราจะต้องตระหนักรู้ สันติสุขไม่ใช่ว่าจะเกิดก็เกิดขึ้นมาเอง เราต้องเลือกที่จะยืนมั่นในความเชื่อ ความชื่นชม และการขอบพระคุณ

7. เดือนแห่งความรู้สึกสงบและมีสันติสุข คุณได้ผ่านอุทกภัยมา พระเจ้าไม่ประสงค์ให้คุณเผชิญมันอีกครั้ง สงครามไม่ใช่แค่การปะทะกับความยุ่งเหยิงสับสนรอบตัวเรา เราต้องเป็นฝ่ายรุก มองให้เห็นว่าปัญหาอยู่ตรงไหน และมีสันติสุขได้ท่างกลางปัญหานั้น

8. เดือนแห่งความฝัน พระเจ้าได้รวบรวมสิ่งต่างๆไว้ตลอดปี และเดี๋ยวนี้พระองค์กำลังปลดปล่อยสิ่งเหล่านั้นออกมาทางนิมิตในเวลากลางคืน

9. คุณอาจจะต้องให้พระเจ้าเยียวยาบาดแผลของคุณเพื่อคุณจะได้หลับได้ดีขึ้น (ความฝันบางอย่างนั้นเพียงแค่พระเจ้าทรงฉายซ้ำความทรงจำในบางสิ่ง ถ้าคุณเคยประสบสิ่งนี้ ก็จงทูลต่อพระองค์ให้เยียวยาคุณจากบาดแผลนั้น แล้วพระองค์จะทรงกระทำ) "พระ​องค์​ประทาน​แก่​ผู้​ที่​รัก​ของ​พระ​องค์ ให้​หลับ​สบาย​" (สดด 127.2)

10. เดือนแห่งช่องท้อง/ครรภ์/ท้องน้อย/แม่น้ำแห่งพระเจ้า มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องระหว่างความเงียบสงบและความสมบูรณ์ กับความสามารถที่จะเข้าใจระดับมาตรฐานใหม่ของคุณ ฝนชุกปลายฤดูนั้นเริ่มเมื่อเดือนกันยายน (เทศกาลอยู่เพิง) และตอนนี้มันกำลังเป็นแม่น้ำที่หลั่งไหล จงคิดถึงแม่น้ำของพระเจ้าใน อสค. 47 การเปิดเผยสำแดงกำลังดำเนินต่อเนื่อง จากลึกระดับข้อเท้า ระดับเข่า จนสู่การแหวกว่ายไปได้ พระเจ้าต้องการนำเราอยู่ในแม่น้ำนี้ ดังนั้นเราก็ไม่จำเป็นต้องเดินเลย

11. เดือนที่จะพุ่งตรงไปและเคลื่อนไปอย่างรวดเร็ว อย่าเถลไถลไปรอบๆ หยุดความสุญเสียของคุณไว้ตรงนี้แล้วเคลื่อนผ่านไปข้างหน้า


12. เดือนแห่งราศีธันว์ (นักธนู) นี่เป็นเวลาต่อสู้กับราชอาณาจักรและวัฒนธรรม จงเฝ้าดูอิสราเอล อเมริกา และประเทศที่ทำสนธิสัญญา ระหว่างประเทศร่วมกัน(covenant nation) จงเฝ้าดูประเทศจีน โดยปกติบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่จะเกิดขึ้นระหว่างเดือนนี้ จงเฝ้าดูชาติต่างๆที่ลุกขึ้นต่อต้านประเทศที่ทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศร่วมกัน(covenant nations)

(ข้อมูลจาก
http://www.arise5.com/#/hebrew-months)

(ขอขอบคุณผู้แปลโดย เอกจิต จรุงพรสวัสดิ์)

Hebrew Month of Kislev: Nov. 27-Dec. 26, 2011




Hebrew Month of Kislev: Nov. 27-Dec. 26, 2011
Here are notes for the 9th Hebrew month that will serve as a prayer guide. This guide comes from notes on teachings given by Chuck Pierce in 2007. I am so thankful that the Lord has given us understanding of Rosh Chodesh (the head of the month/First Fruits celebration), which was a vital part of Hebrew worship. I have found that as I am aware of these “ways that God is working and wants to bless us each month,” my faith level just seems to keep increasing. Elsewhere, Chuck Pierce said this will bring us into “overflow” in our lives, and it might take about 3.5 years. I am in my fifth year of following this First Fruits prayer guide, and have definitely found myself in “overflow.”

Ron Sawka

Kislev: Nov 27, 2011-Dec 26, 2011
1.The month of the tribe of Benjamin. He was the only one of the 12 born in the land of Israel, so watch Israel. Things will happen that change its course.
2.A month to develop your warfare strategies; a month to have prophetic revelation for war. You can get prophetic revelation for strategies. Benjamin was the most gifted with the art of the bow (which can represent prophetic strategy). See Genesis 49:27. “Benjamin is a ravenous wolf; in the morning he shall devour the prey, and at night he shall divide the spoil.” God wants to give us strategies to defeat the enemy and allow us to prosper.
3.A month to enter into a new level of trust and rest. We need to believe if we tap into God and what He commands (e.g., being thankful in all things), that we can really regroup and overcome many obstacles. For example, if you are feeling financial pressure, make a point of not worrying, but deliberately choose to be thankful instead. Be sure to “be thankful” for all the difficult situations you find yourself in. See 1 Thess. 5:18; Col. 3:17.
4.The month of Hebrew letter “Samekh,”( ס )which looks like a circle. This signifies trust, confidence, support, and coming full circle. We are in season of developing trust and confidence. If these are not developed, you will find yourself going around the “same old cycle” again and again, and will not break into the new. Examine the lives of Jacob and Joseph. Things came full circle for Jacob when he returned to Canaan after working 20 years for Laban; Joseph was reconnected with his family.
5.A month to review your support system. Whom do you support? Who supports you? Who are your friends?
6.The month of the rainbow. You must “war” to have peace. This Biblical concept is very important to recognize. Peace will not just happen; we have to choose to stand in faith, joy, and thanksgiving.
7.The month of a sense of peace and tranquility. You have come through a flood; God doesn’t want you to have go through it again. Warfare is not just battling the chaos around us: we must be on the offensive, seeing the conflict and having peace in the midst of it.
8.The month of dreams. The Lord has been piling up things through the year; now He releases that revelation during the night.
9.You may have to let God heal you of some trauma so you can sleep better. (Some dreams are just God replaying a memory of something. If you experience this, then ask the Lord to heal you of that trauma, and He will). “He gives His beloved sleep” (Psalm 127:2).
10.The month of the belly/womb/abdomen/river of God. There is a correlation between tranquility and fullness, and the ability to understand your next “measure.” The latter rain starts in September (the Feast of Tabernacles); by now it should be a ‘“running river.” Think about the river of God in Ezekiel 47. Revelation is progressive: ankle-deep, knee-deep, then swim deep. God wants to carry us in the river so we don’t just have to be walking.
11.A month to shoot straight and move quickly. Don’t ramble around. Cut your losses and move on through.
12.The month of Sagittarius (the archer). It’s a time to fight against empires and cultures. Watch Israel, America, and any covenant nation. Watch China. Usually something big happens during this month. Watch nations that rise against covenant nations.

(http://www.arise5.com/#/hebrew-months)

27 พฤศจิกายน 2554

พันธสัญญาแห่งการรื้อฟื้นชนชาติ

ในช่วง2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา คริสตจักรแห่งพระบัญชาได้ส่งทีมนักอธิษฐานวิงวอน (Intercessor)การเดินทางไปที่ประเทศอิสราเอล เพื่อนำคำอธิษฐานของเราทั้งหลายไปสู่เมืองของพระเจ้า และเป็นการทำพันธสัญญาทางใจในการเชื่อมใจกับประเทศอิสราเอล เพราะเราเป็นพี่น้องในความเชื่อในองค์พระผู้เป็นเจ้า ในความเข้าใจเรื่องการไปอิสราเอลคือ
เราไม่ได้เดินทางไปอิสราเอลเพื่อไปจารึกแสวงบุญแบบที่ชาวมุสลิมเดินทางไปที่นครเมกกะห์
เราไม่ได้พยายามเลียนแบบยิวโดยรูปพิธีกรรมแบบภายนอก เพราะเราเป็นยิวแท้ในฝ่ายวิญญาณ (ฟป.3:3)ไม่ได้เข้าสุหนัตในฝ่ายธรรมชาติแต่เรา ได้เข้าสนิทในพระคริสต์ สำหรับผมแล้ว การ"เข้าสนิท"สำคัญมากกว่าการ"เข้าสุหนัต" เราจึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องอิสราเอลกับยุคสุดท้าย มีดังนี้
1. อิสราเอลเป็นดังผลแรก รากแห่งความเชื่อ (โรม 11:15-16)
2. อิสราเอลกับคริสเตียนเป็นดังครอบครัวฝ่ายวิญญาณเดียวกัน(
กาลาเทีย 3:26-29,เอเฟซัส 2:15)
3.อิสราเอลกับคริสเตียนกำลังต่อสู้กับศัตรูในฝ่ายวิญญาณเดียวกั(เอเฟซัส 6:12,ยากอบ 4:7)

4.พระเจ้าทรงมีประสงค์ในวาระสุดท้ายแก่อิสราเอลให้กลับมารับความรอด(โ
รม 11:25-27)
การไปเยือนประเทศอิสราเอล สถานที่ที่มักจะต้องไปคือต้องไปที่กำแพงเยรูซาเล็ม หรือที่เรียกว่ากำแพงตะวันตกหรือกำแพงร้องไห้(Western Wall, Wailing Wall) เป็นสถานที่เพื่อระลึกถึงพระวิหารที่ถูกทำลายในปี คศ.70 และจะมีการเดินทางไปเพื่ออธิษฐานวิงวอนที่นั่น
ในครั้งนี้นักอธิษฐานวิงวอนคือผู้ซึ่งนำคำอธิษฐานไปร้องทูลต่อพระเจ้า โดยการ
ก.ย้ำเตือนพระเจ้าถึงพระสัญญาและนัดหมายของพระองค์ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดและบรรลุผล (อิสยาห์ 62:6-7)
ข.ทูลถวายคดีความแห่งความยุติธรรมต่อพระเจ้าในนามของผู้อื่น (อิสยาห์ 59:15-16)
ค.สร้างเครื่องกีดขวางและก่อกำแพงเพื่อพิทักษ์รักษาในเวลาแห่งการต่อสู้ (เอเสเคียล 13:4-5)
ง.ยืนอยู่ที่ช่องโหว่ระหว่างการพิพากษาอันชอบธรรมของพระเจ้า ซึ่งจะต้องเป็นไปตามนั้น กับความต้องการพระเมตตาในนามของผู้คน (เอเสเคียล 22:30-31)
เพื่อพระเจ้าได้ประทานพระสัญญาให้กับชนชาติของพระองค์
ผมได้ระลึก ความหมายของปี 5772 ตามปฏิทินฮีบรู เป็นปีของอักษร בע"Ayin-Bet" คือพระเจ้าเฝ้าดูเหนือบ้านของพระองค์ ผลแรกคือสรรเสริญและที่สำคัญสุดคือพันธสัญญา (covenant) เป็นปีของการเข้าใจเรื่องพันธสัญญา สิ่งสำคัญสุดที่คุณสามารถทำเพื่อดำเนินขีวิตในพระพรของพระเจ้า พระเจ้าไม่เพียงแต่ต้องการให้เราเดินในพันธสัญญา แต่พระองค์ถักทอเชื่อมเราไว้ในพันธสัญญาของพระองค์ (by Dr.Robert Heidler)
ในการเดินทางไปอิสราเอลครั้งนี้ คริสตจักรแห่งพระบัญชาได้แสดงจุดยืน ยืนเคียงข้างอิสราเอล เป็นคนใหม่คนเดียวกันในพระคริสต์ (One New Man)สำหรับคำว่า "คนใหม่คนเดียวกันในพระคริสต์"(One New Man)
ผมขอให้นิยามเป็นการสรุปความเข้าใจดังนี้
One - Oneness หนึ่งเดียวกันในความเชื่อ
เอเฟซัส 4:5 มีองค์พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ความเชื่อเดียว บัพติศมาเดียว
New -New wineskin - หนึ่งเดียวกันในความคิด แม้เราไม่สามารถคิดเหมือนกันได้ แต่เรามีเป้าหมายที่จะเคลื่อนไปกับพระเจ้าในวิถีทางใหม่ไม่ใช่รูปแบบเดิม แต่การสำแดงใหม่แบบถุงหนังน้ำองุ่นใหม่
มัทธิว 9:17 ...แต่เขาย่อมเอาน้ำองุ่นหมักใหม่ใส่ในถุงหนังใหม่ แล้วทั้งสองอย่างก็อยู่ดีด้วยกันได้"
Man - Manifesto prayer - หนึ่งใจเดียวกันในถ้อยแถลงการณ์อธิษฐาน
อิสยาห์ 62:1 เพื่อเห็นแก่ศิโยน ข้าพเจ้าจะไม่ระงับเสียง และเพื่อเห็นแก่เยรูซาเล็มข้าพเจ้าจะไม่นิ่งเฉยอยู่จนกว่าการช่วยกู้กรุงนี้จะออกไปอย่างความสุกใส และความรอดของกรุงนี้อย่างคบเพลิงที่ลุกอยู่
ในครั้งนี้ผม ขอนำถ้อยคำแถลงการณ์อธิษฐาน จากพระธรรมอิสยาห์ บทที่ 62:1-5 มาแบ่งปันเพื่อเราทั้งหลายจะได้เห็นถึง
"พันธสัญญาแห่งการรื้อฟื้นชนชาติ"
อิสยาห์ 62
1 เพื่อเห็นแก่ศิโยน ข้าพเจ้าจะไม่ระงับเสียง และเพื่อเห็นแก่เยรูซาเล็มข้าพเจ้าจะไม่นิ่งเฉยอยู่จนกว่าการช่วยกู้กรุงนี้จะออกไปอย่างความสุกใส และความรอดของกรุงนี้อย่างคบเพลิงที่ลุกอยู่
2 บรรดาประชาชาติจะเห็นการช่วยกู้เจ้า และพระราชาทั้งหลายเห็นศักดิ์ศรีของเจ้า และเขาจะเรียกเจ้าด้วยชื่อใหม่ ซึ่งพระโอษฐ์ของพระเจ้าจะประทาน
3 เจ้าจะเป็นมงกุฎงามในพระหัตถ์ของพระเจ้า และเป็นราชมงกุฎในพระหัตถ์แห่งพระเจ้าของเจ้า
4 เขาจะไม่ขนานนามเจ้าอีกว่า ถูกทอดทิ้ง และเขาจะไม่เรียกแผ่นดินของเจ้าอีกว่า ซึ่งร้างเปล่าแต่เขาจะเรียกเจ้าว่า ความปีติยินดีของเราอยู่ในเธอ และเรียกแผ่นดินของเจ้าว่า สมรสแล้ว เพราะพระเจ้าทรงปีติยินดีในเจ้า และแผ่นดินของเจ้าจะแต่งงาน
5 เพราะชายหนุ่มแต่งงานกับหญิงพรหมจารีฉันใด บุตรชายทั้งหลายของเจ้าจะแต่งกับเจ้าฉันนั้น และเจ้าบ่าวเปรมปรีดิ์เพราะเจ้าสาวฉันใด พระเจ้าของเจ้าจะเปรมปรีดิ์เพราะเจ้าฉันนั้น

แม้เราจะเผชิญปัญหาน้ำท่วมหรือวิกฤตกาลในชีวิต โลกนี้ยังมีหวัง และพระองค์ได้ให้สัญญาว่าคริสตจักรของพระองค์จะเป็นความหวังของโลกนี้
คริสตจักรจึงต้องทำหน้าที่ของตน และต้องทำการของพระเจ้าให้สำเร็จ หน้าที่ของคริสตจักรก็คือ การสำแดงพระเจ้าและแผนการความรอดของพระองค์ ให้คนบาปได้กลับใจใหม่ และกลับมาคืนดีกับพระเจ้า รื้อฟื้นความจริงและความชอบธรรมของพระเจ้าให้กลับคืนมา
เอเฟซัส 3:9-10 9 และทำให้คนทั้งปวงเห็นแผนงานแห่งความล้ำลึก ซึ่งตั้งแต่แรกสร้างโลกทรงปิดบังไว้ที่พระเจ้าผู้ทรงสร้างสารพัดทั้งปวง 10 ประสงค์จะให้เทพผู้ปกครองและศักดิเทพในสวรรคสถานรู้จักปัญญาอันซับซ้อนของพระเจ้าทางคริสตจักร ณ บัดนี้
เหตุการณ์ในพระธรรมอิสยาห์ที่ตอนนี้เป็นเหตุการณ์ที่อิสราเอลได้ตกไปเป็นเชลยของบาบิโลน ต้องทนทุกข์อย่างแสนสาหัส ส่วนคนที่ยังเหลืออยู่นั้น ก็มีสภาพจิตวิญญาณที่เสื่อมถอย เกิดความผิดบาปเต็มไปทั่ว อิสยาห์ซึ่งเป็นผู้เผยพระวจนะในเวลานั้น ได้เตือนให้พวกเขากลับใจ ละทิ้งความบาป หันกลับมาหาพระเจ้า รวมทั้งให้อธิษฐานอ้อนวอนต่อพระเจ้าอย่างไม่หยุดหย่อน เพื่อขอพระเจ้านำการฟื้นฟู นำสง่าราศีของประชากรของ พระจากนั้นอิสยาห์ได้พยากรณ์ถึงการทรงช่วยกู้ของพระเจ้า และการกลับคืนสู่สภาพดีของศิโยน และเมื่อถึงเวลานั้น ทุกคนที่ได้เห็นการช่วยกู้ของพระเจ้าก็จะเห็นความยิ่งใหญ่ของพระองค์
พระวจนะในตอนนี้ได้พูดถึงพระสัญญาของพระเจ้าว่าจะให้ศิโยน ซึ่งเล็งถึงคริสตจักรของพระเจ้าหรือชุมชนของพระเจ้ากลับคืนสู่สภาพดี
เมื่อเปรียบเทียบเหตุการณ์วิกฤตน้ำท่วมในประเทศไทยกับเหตุการณ์ในพระธรรมตอนนี้ ผมเชื่อว่าเราจะได้รับพันธสัญญาแห่งการรื้อฟื้นใน 3 ระดับ
ทั้งระดับชนชาติ ระดับชุมชนของพระเจ้า และระดับชีวิตปัจเจกบุคคลของเราแต่ละคน
พันธสัญญาของพระเจ้าในการรื้อฟื้นนั่นคือ
1.รื้อฟื้นความชอบธรรม (ข้อ 1-2)
คำว่าการ “ช่วยกู้” เมื่อเราได้ดูในภาษาเดิมนั้นมาจากคำว่า Tsedheq ซึ่ง แปลว่า ความชอบธรรม เราเห็นคำนี้ในพระธรรมปฐมกาลนั่นคือ ปฐมกาล 14:18 เมลคีเซเดคผู้เป็นทั้งกษัตริย์(ที่ชอบธรรม)เมืองซาเลม และปุโรหิตของพระเจ้าผู้สูงสุด
ความชอบธรรม หมายถึง ความถูกต้อง ความจริง ความสัตย์จริงเที่ยงตรง ยุติธรรม ความบริสุทธิ์ มาตรฐานของพระเจ้า ความตรงไปตรงมา
ซึ่งใช้ในพระวจนะหลายตอนเช่น (สดด.4:5,สดด.23:3,โยบ.8:3)พระเจ้าทรงสัญญาที่จะนำความชอบธรรมมาสู่ศิโยนและเยรูซาเล็ม
อิสยาห์กำลังบอกว่า เพื่อเห็นแก่ศิโยน เขาจะไม่ระงับเสียง จนกว่าความชอบธรรมจะเกิดขึ้นในเยรูซาเล็มตามพระสัญญาที่พระเจ้าเคยสัญญาไว้
จนกว่าความถูกต้องจะเกิดขึ้น ความยุติธรรม ความจริง ความซื่อตรงจะเกิดขึ้น ฯลฯ
ความชอบธรรมของพระเจ้าจึงจำเป็นต้องเกิดขึ้นกับคนและชุมชนของพระองค์ตามพระสัญญาที่พระองค์ทรงให้ไว้
อิสยาห์ไม่ได้หยุดพักในการร้องทูลต่อพระเจ้า ไม่ได้นิ่งเฉยเมื่อ พระสัญญาของพระเจ้ายังไม่เป็นจริง
ขาร้องทูลอธิษฐาน เขาทำในส่วนของเขาอย่างเต็มที่ด้วยความเชื่อและมั่นใจว่า “ความชอบธรรมของพระเจ้าจะต้องถูกสถาปนา”
ผู้ที่ตกเป็นเชลยในบาบิโลนจะต้องถูกปลดปล่อย
ภาพของคนที่ถูกปลดจากเชลยให้เข้าสู่ความชอบธรรมของพระเจ้า เป็นเหมือนภาพของความสว่างที่ค่อยๆ ลุกโชติช่วงมากขึ้น สว่างมากขึ้นตามลำดับ(สภษ.4:18,2ซมอ.23:4) เปรียบว่าความชอบธรรมของพระเจ้าจะส่องแสงมากขึ้น ความถูกต้อง ความบริสุทธิ์จะถูกส่งออกไปมากขึ้น ความสว่างถูกส่งออกไปไกลจนคนอื่นเห็นได้
เมื่อมนุษย์คู่แรกกบฏต่อพระเจ้า เขาได้นำความบาปเข้ามาในโลก แต่เราได้รับการปลดปล่อยจากการเป็นทาสแห่งความบาปเข้าสู่ความชอบธรรมของพระเจ้าแล้วผ่านทางการไถ่ของพระคริสต์บนไม้กางเขน เราจึงเป็นคนชอบธรรมในสายพระเนตรของพระเจ้า
คริสตจักรของพระเยซูจึงเป็นที่แห่งความชอบธรรม และจะต้องเป็นตัวแทนของพระเจ้าในการสำแดงความชอบธรรมไปสู่สังคม และพลังแห่งความชอบธรรมจะแรงกล้ามากขึ้นเรื่อยๆ
ความชอบธรรมต้องเริ่มต้นที่คนของพระเจ้าก่อน คนที่มาเชื่อพระเจ้า ชีวิตต้องดีขึ้น สิ่งสารพัดเก่าต้องล่วงไป ชีวิตจะเปลี่ยนแปลงอย่างอัตโนมัติ
2 คร.5:17 เหตุฉะนั้นถ้าผู้ใดอยู่ในพระคริสต์ ผู้นั้นก็เป็นคนที่ถูกสร้างใหม่แล้ว สิ่งสารพัดที่เก่าๆ ก็ล่วงไป นี่แน่ะกลายเป็นสิ่งใหม่ทั้งนั้น
2 Cor 5:17 ...the old has gone, the new has come!
เราใกล้ใครก็จะเป็นเหมือนคนนั้น ถ้าเราอยู่ใกล้คนดีเราก็มีโอกาสได้รับสิ่งดีจากเขา และถ้าเราใกล้ชิดพระเจ้าผู้ทรงเป็นความชอบธรรม เราก็จะมีชีวิตที่ชอบธรรมเหมือนพระเจ้า
มนุษย์ค้นพบทุกอย่าง แม้เป็นสิ่งที่ยากและลึกลับที่สุด แต่หลายครั้งเขาไม่สามารถค้นหาให้พบตนเองได้ นั่นคืออัตลักษณ์ที่มนุษย์สูญเสียไปเมื่อได้ทำบาปต่อพระเจ้า
ในพระธรรมปฐมกาล เมื่อมนุษย์รู้ว่า ตัวเปลือยเปล่าอยู่ พวกเขาจึงเอาใบมะเดื่อมาสำหรับปกปิดร่างกาย จึงนับว่ามะเดื่อเป็นต้นไม้ที่มีประโยชน์มากเป็นครั้งแรก “ตาของเขาทั้งสองคนก็สว่างขึ้น จึงสำนึกว่าตนเปลือยกายอยู่ก็เอาใบมะเดื่อมาเย็บเป็นเครื่องปกปิดร่างไว้(ปฐมกาล 3:7) แต่นั่นเป็นพระเจ้าอัตลักษณ์ความเป็นตัวตนที่เขาได้รู้จักพระเจ้าว่าเขาเป็นใครในพระองค์ได้สูญเสียไปแล้ว โดยความบาปที่เขาไม่เชื่อฟังพระเจ้า ความบาปนำมาซึ่งมาตายและนำมาซึ่งความน่าอับอายที่ต้องปกปิดไว้ไม่ให้ใครรู้ เมื่ออาดัมและเอวาได้รับประทานผลไม้จากต้น ต้นไม้แห่งความสำนึกในความดี และความชั่ว
ปฐมกาล 3:5-7 เพราะพระเจ้าทรงทราบอยู่ว่า เจ้ากินผลไม้นั้นวันใด ตาของเจ้าจะสว่างขึ้นในวันนั้น แล้วเจ้าจะเป็นเหมือนพระเจ้า คือสำนึกในความดีและความชั่ว"...ตาของเขาทั้งสองคนก็สว่างขึ้น จึงสำนึกว่าตนเปลือยกายอยู่ ก็เอาใบมะเดื่อมาเย็บเป็นเครื่องปกปิดร่างไว้
แท้จริงแล้วพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ตามพระฉายของพระองค์ แต่ละคนที่ถูกสร้างมีอัตลักษณ์(Identity) เราทุกคนเป็นที่โปรดปรานในสายพระเนตรพระเจ้า ไม่ว่าเราจะเป็นเช่นไร แต่เนื่องด้วยความบาปนี้เองทำให้มนุษย์ได้สร้างอัตลักษณ์ใหม่ในความคิดของเขา เมื่อเขามองรูปร่างตนเอง เห็นสิ่งที่เป็นอัตลักษณ์ ดูแลชั่งอัปลักษณ์จึงอับอายเอาใบมะเดื่อมาปกปิด ใบมะเดื่อในที่นี้เป็นลักษณ์ของอัตลักษณ์ (identity) เป็นความรู้สึกนึกคิดที่บุคคลมีต่อตนเองว่า “ฉันคือใคร”
ในสายตาคนอื่น มนุษย์เริ่มห่างไกลในความสัมพันธ์กับพระเจ้า เพราะการสูญเสียความเป็นตัวตนของเราที่เป็นผู้ถูกสร้างแต่ห่างไกลจากพระเจ้าพระผู้สร้าง จึงทำให้เขาเอาความเป็นตัวตนของเขามากำหนดเอาเองจากสังคม บางใช้ความรู้การศึกษามาเป็นตัวกำหนดสังคม บ้างเอาเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดความเป็นตัวตนทางสังคม "มีเงินนับเป็นพี่ มีทองนับว่าเป็นน้อง"
แต่ท้ายสุดมนุษย์จะต้องมาถึงจัดตระหนักของเขาเองว่า ใบมะเดื่อที่หุ้มกายนั้นเป็นสิ่งที่ชั่วคราว ไม่ได้เป็นสิ่งถาวร อัตลักษณ์ที่เขาสร้างขึ้นในความคิดของเขาเป็นเพียงสิ่งชั่วคราว ไม่ยั่งยืน เป็นสิ่งที่เรียกว่าอนิจจัง
ปัญญาจารย์ 5:10 คนรักเงินย่อมไม่อิ่มเงิน และคนรักสมบัติไม่รู้จักอิ่มกำไร นี่ก็อนิจจังด้วย
ความรู้ทำให้เขาหยิ่ง ความจริงของพระเจ้าทำให้เขาได้ตระหนัก และความรักของพระองค์ทำให้เขากลับใจ และกลับมาหาพระเจ้า เพราะพระองค์ประทานแผนการไถ่ของพระองค์ ผ่านทางพระเยซูคริสต์ เสื้อหนังสัตว์จึงเล็งถึงการไถ่และอัตลักษณ์ใหม่ที่พระเจ้าจะสวมให้เมือกลับมาหาพระองค์
ปฐมกาล 3:21-22
21 พระเจ้าทรงทำเสื้อด้วยหนังสัตว์ให้อาดัมกับเอวาสวมปกปิดกาย
22 แล้วพระเจ้าตรัสว่า "ดูเถิดมนุษย์มาเป็นเหมือนผู้หนึ่งในพวกเราแล้ว โดยที่รู้สำนึกในความดีและความชั่ว บัดนี้ อย่าปล่อยให้เขายื่นมือไปหยิบผลต้นไม้แห่งชีวิตมากิน แล้วมีอายุยืนชั่วนิรันดร์"

คำว่า "ความรอด (salvation)" คือคำว่า "Yeshua " ในภาษาเดิมให้ความหมายหลายความหมาย เช่น การถูกช่วยกู้ การถูกปลดปล่อยจากความยากลำบาก ได้รับความปลอดภัย ชัยชนะ ความสุข ความรอดจากบาป และโทษของบาป ได้รับการยกโทษ การคืนดีกับพระเจ้า (สดด.68:19 ,อสย.12:2)
ในคำว่า "Yeshua"คือคำว่า "เยซู" พระนามแห่งความรอด พระองค์ทรงเป็น Yeshua Ha Mashiach ผู้ที่ถูกเจิม เพื่อนำการปลดปล่อยเชลยให้เป็นไท (อสย.60 ความรอดของผู้เชื่อจึงมาทางความชอบธรรมของพระเยซูคริสต์ที่พระองค์สิ้นพระชมน์ที่กางเขนเพื่อไถ่บาปเรา
ชอบธรรมจึงมาด้วยความเชื่อไม่ใช่โดยการกระทำ (Justify by faith) การทำดีไม่ใช่ให้ได้รับความรอดแต่เมื่อรอดแล้วเราจะประกอบการดี
เมื่อก่อนอาจจะเป็นผู้ก่อการร้าย แต่ตอนนี้กลายเป็นผู้ก่อการดี
เอเฟซัส 2:8-10
8 ด้วยว่าซึ่งเราทั้งหลายรอดนั้นก็รอดโดยพระคุณเพราะความเชื่อ และมิใช่โดยตัวเราทั้งหลายกระทำเอง แต่พระเจ้าทรงประทานให้
9 ความรอดนั้นจะเนื่องด้วยการกระทำก็หามิได้ เพื่อมิให้คนหนึ่งคนใดอวดได้
10 เพราะว่าเราเป็นฝีพระหัตถ์ของพระองค์ ที่ทรงสร้างขึ้นในพระเยซูคริสต์เพื่อให้ประกอบการดี ซึ่งพระเจ้าได้ทรงดำริไว้ล่วงหน้าเพื่อให้เรากระทำ
พระเจ้ากำลังเข้ามาประกอบกิจในชีวิตของเรา พระองค์ไม่เคยประกอบผิด

เมื่อเรามาดูในบริบทอิสราเอลในตอนนี้ เราเห็นว่าพระเจ้าสัญญาว่าจะช่วยให้เขารอดในทุกมิติ ทั้งฝ่ายกายภาพได้รับการปลดปล่อยจากการเป็นเชลย ด้านฝ่ายจิตใจคือได้กลับไปยังบ้านเมืองของตนคือเยรูซาเล็ม ฝ่ายจิตวิญญาณได้รับการคืนดีกับพระเจ้า พ้นจากการถูกพิพากษา กลายเป็นผู้ชอบธรรม
และภาพการเล็งที่สำคัญที่สุดนั่นคือ การถูกปลดปล่อยจากการเป็นเชลย คือการถูกไถ่ออกจากบาป ออกจากพันธนาการ ไม่ต้องรับโทษของบาปอีกต่อไป
คำว่า ชาโลม ในภาษาฮีบรู มีความหมายถึง สันติภาพ
ความรอดอย่างนี้แหละที่จะบังเกิดขึ้นท่ามกลางเราทั้งหลายและท่ามกลางสังคมและชุมชนที่เราอยู่ โดยเริ่มที่คริสตจักรของพระองค์
คนที่ต้อนรับพระเยซูมาเป็นพระผู้ช่วยให้รอด และคืนดีกับพระองค์ เขาจะรับความรอด
2.รื้อฟื้นสง่าราศี (ข้อ 2-3)
ในข้อที่ 2 ตอนปลายได้พูดถึงศักดิ์ศรี ซึ่งในภาษาเดิมหมายถึง สง่าราศรี (glory) แปลว่า ความสมบูรณ์ มั่งคั่ง มั่งมี มีค่า มีเกียรติ
และในพระคัมภีร์ข้อที่ 3 ได้พูดถึง พระเจ้าเปรียบเราเป็นเหมือนมงกุฎ ที่อยู่ในพระหัตถ์พระเจ้า
คนที่เป็นเชลยหรือเป็นทาสในเวลานั้นไม่มีเกียรติ ไม่มีอิสรภาพ ไม่มีสิทธิใดๆ แม้แต่ชีวิตของตน เป็นภาพที่ตกต่ำมากๆ แต่เมื่อถึงเวลาพระองค์จะรื้อฟื้นคนของพระองค์ ให้มีศักดิ์ศรีและสง่าราศี
เมื่อเรากลับมาหาพระเจ้า พระองค์จะทรงรื้อฟื้นเรา เพราะทรงเห็นคุณค่าเราอย่างมาก จากทาสที่ไร้ค่าจึงสามารถกลายเป็นมงกุฎงามในพระหัตถ์พระเจ้า
มงกุฎเล็งถึงการชื่นชม ยกย่อง ยกชู และเล็งถึงการปกป้องของ พระเจ้า เพราะมงกุฎนั้นอยู่ในพระหัตถ์ของพระเจ้า
เพลงคร่ำครวญ 3:17-25
17 จิตวิญญาณของข้าพเจ้าขาดความสงบสุข จนข้าพเจ้าลืมความสำราญว่าเป็นอะไร
18 ข้าพเจ้าจึงว่า "ศักดิ์ศรีของข้าพเจ้าสูญไปแล้วและความหวังในพระเจ้าก็ดับหมด"
19 ขอทรงจำความทุกข์ใจและความถูกบีบคั้นของข้าพเจ้าอันเป็นบอระเพ็ดและดีหมี
20 จิตวิญญาณของข้าพเจ้ายังนึกถึงเนืองๆ และต้องค้อมลงภายในตัวข้าพเจ้า
21 ข้าพเจ้าหวนคิดขึ้นมาได้ ข้าพเจ้ามีความหวังขึ้นเมื่อคิดได้ว่า
22 ความรักมั่นคงของพระเจ้าไม่เคยหยุดยั้ง และพระเมตตาของพระเจ้าไม่มีสิ้นสุด
23 เป็นของใหม่อยู่ทุกเวลาเช้า ความเที่ยงตรงของพระองค์ใหญ่ยิ่งนัก
24 จิตใจของข้าพเจ้าว่า 'พระเจ้าทรงเป็นส่วนของข้าพเจ้า เหตุฉะนี้ข้าพเจ้าจะหวังในพระองค์'
25 พระเจ้าทรงดีต่อคนทั้งปวงที่คอยท่าพระองค์อยู่และทรงดีต่อคนที่แสวงพระองค์

ผู้เผยพระวจนะเจ้าน้ำตาอย่างเยเรมีห์ ได้เข้าใจถึงความหวังใจและศักดิ์ศรีที่ได้รับกลับคืนมาได้โดยพระเจ้า เมื่อเรารับการรื้อฟื้นชีวืตในพระเจ้า ชีวิตของเราจึงเปลี่ยนไปจากทาสกลับถูกยกเป็นบุตรของพระเจ้า (ยน.1:12) จากทาสกลายเป็นปุโรหิตของพระเจ้า เป็นคนที่ประกาศพระบารมีของพระเจ้า(1ปต.2:8-9) เราได้รับพระกรุณาของพระเจ้า เรามีคุณค่าในสายพระเนตรพระเจ้า

พระเยซูคริสต์พระองค์ต้องผ่านความทุกข์ยาก พระองค์ต้องผ่านมงกฎหนามก่อนจะได้สวมมงกุฎงาม (ฟป.2:8-10)
ความสัตย์ซื่อเป็นข้อกำหนดของพระเจ้า ส่วนการเกิดผลเป็นรางวัลจากพระองค์
เมื่อเราสัตย์ซื่ออดทนทำส่วนของเราอย่างเต็มที่ พระองค์จะมีรางวัลให้กับเราที่เป็นมงกุฏที่ไม่มีวันร่วงโรย และเป็นเกียรติสง่าราศีในชีวิต
ให้เรารับพระสัญญาพระเจ้าด้วยกัน และเชื่อร่วมกันว่าพระเจ้าจะประทานสง่าราศีให้เราและคริสตจักรของเรา
และสิ่งที่พระเจ้าจะรื้อฟื้นประการสุดท้ายคือ
3. รื้อฟื้นความสัมพันธ์กับพระเจ้า(ข้อ 4-5)
พระเจ้าเปรียบเราเป็นเหมือนเจ้าสาวของพระองค์ การเป็นเชลยในบาบิโลนของอิสราเอลจึงเปรียบเหมือนการหย่าร้างอันเนื่องมาจากความไม่สัตย์ซื่อของอิสราเอล ในระหว่างที่เป็นเชลยนั้นเขาจึงไม่ได้จำเริญและทวีคูณขึ้น เพราะเขาถูกตัดจากสามี
อิสราเอลเป็นเหมือนหญิงที่ถูกทิ้งร้างไว้ให้อยู่ตามลำพังเนื่องจากบาป และพระเจ้าไม่พอพระทัย
แต่เมื่อเขากลับมาคืนดีกับพระเจ้า สำนึกในบาป กลับใจใหม่และหันหลังให้บาป พระเจ้าทรงกระทำให้เขาจำเริญงอกงามขึ้นจนต้องขยายเต็นท์ออกไปอีก

อสย.54:1-5
1 "จงร้องเพลงเถิด โอ หญิงหมันเอ๋ย ผู้ไม่คลอดบุตร จงเปล่งเสียงร้องเพลงและร้องให้ดัง เจ้าผู้ไม่ได้เจ็บครรภ์ ด้วยว่าบุตรของแม่ร้างก็ยังจะมีมากกว่าบุตรของนางที่แต่งงาน พระเจ้าตรัสดังนี้ 2 จงขยายสถานที่แห่งเต็นท์ของเจ้า และให้ม่านของที่อาศัยของเจ้าขึงออก อย่าหน่วงไว้ ต่อเชือกของเจ้าให้ยาว และเสริมกำลังหลักหมุดของเจ้า 3เพราะเจ้าจะกระจายออกไปทางขวาและทางซ้าย และเชื้อสายของเจ้าจะได้บรรดาประชาชาติเป็นกรรมสิทธิ์และจะให้มีคนอยู่ในหัวเมืองร้าง 4 "อย่ากลัวเลย เพราะเจ้าจะไม่ต้องอับอาย อย่าอดสูเลย เพราะเจ้าจะไม่ต้องละอาย เพราะเจ้าจะลืมความอายในวัยสาวของเจ้า และเจ้าจะไม่จำที่เขาติความเป็นม่ายของเจ้าอีก 5เพราะผู้สร้างเจ้าเป็นสามีของเจ้า พระนามของพระองค์คือพระเยโฮวาห์จอมโยธา และองค์บริสุทธิ์ของอิสราเอลเป็นผู้ไถ่ของเจ้า เขาเรียกพระองค์ว่าพระเจ้าของสากลโลก

พระเจ้าทรงมีพระสัญญาต่อคนของพระองค์ที่จะรื้อฟื้นความสัมพันธ์ พระเจ้าจ่ายราคาพระบุตรองค์เดียวของพระองค์เพื่อเราจะกลับไปมีความสัมพันธ์กับพระองค์
แม้ในโลกนี้เราอาจจะถูกปฎิเสธในความสัมพันธ์ เราอาจจะไม่หล่อหรือสวยเลือกได้ มีใครมาปิดไฟไล่เรา เหมือนรายการเกมโชว์ "Take me out" แต่พระองค์จะมา "Take me up" รับเราไปแผ่นดินของพระองค์บนสวรรค์
พระเจ้าไม่เคยปฎิเสธชนชาติของพระองค์ เราเป็นที่รักของพระเจ้า คริสตจักรจึงเป็นเจ้าสาวของพระคริสต์ที่องค์เจ้าบ่าวจะมารับเราไปในงานสมรสพระเมษโปดก

งานแต่งงานในโลกนี้ที่คงอยู่เพียงชั่วชีวิตของเรา เจ้าสาวทุกคนยังพยายามสุดความสามารถที่จะให้งานแต่งงานของตนสมบูรณ์แบบ เราในฐานะเจ้าสาวของพระคริสต์ ยิ่งต้องเตรียมตัวเราให้มากกว่า เพื่อพร้อมสำหรับการแต่งงานที่จะคงอยู่ตลอดนิรันดร์กาล


เจ้าสาวของพระคริสต์คือคริสตจักร
ต่างพร้อมพรักงามผ่องแผ้ววิสุทธา
กระทำความชอบธรรมต่อโลกหล้า
เมื่อพระคริสต์เสด็จมาทรงชื่นชม

21 พฤศจิกายน 2554

บทเรียนจากต้นมะเดื่อสอนใจ

อะไรเอ่ย ข้างนอกสุกใสข้างในเป็นโพรง?
คำตอบคือ ผลมะเดื่อ
เพราะผลภายนอกดูสวยงามแต่ภายในเต็มไปด้วยแมลงหวี่หรือหนอนที่อยู่ในผลนั้นนั่นเป็นสำนวนสุภาษิตไทย ที่เปรียบเทียบได้ 2ทาง ทางหนึ่งหมายถึงสิ่งที่ แลดูภายนอกเป็นของดีหรือของแท้ แต่แท้จริงแล้วกลับไม่ใช่ของดีหรือของแท้นัก

อีกทางหนึ่ง เปรียบได้กับสตรีที่งามแต่รูป แต่กิริยาและความประพฤติไม่ดีหรืองามเหมือนรูป ซึ่งตรงกันข้ามกับอีกสำนวนหนึ่งที่ว่า ”ข้างนอกขรุขระ ข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง ” คือ
ดูแต่ภายนอกไม่งาม แต่แท้จริงกลับเป็นของแท้ของงาม สตรีที่มีรูปร่างขี้ริ้วไม่งดงาม แต่กิริยามารยาทเรียบร้อย จิตใจก็ดีงาม ตรงข้ามกับรูปร่าง
ผมได้นึกถึงสำนวนสุภาษิตนี้เมื่อภรรยาของผมได้กลับมาจากประเทศอิสราเอลและได้ซื้อของหลายอย่างมาฝากเพื่อนๆ

มะเดื่อเ
ป็นของฝากอย่างหนึ่งที่ผู้ที่ไปมักจะซื้อมาฝากเพราะต้นมะเดื่อเป็นแหล่งอาหารที่คนนิยมและมีราคาไม่แพง ในอิสราเอลใช้เวลาปลูก 3 ปีก็ให้ผล ต้นๆ หนึ่งให้ผลได้มากมายซึ่งเก็บเกี่ยวได้ปีละ 2 ครั้งคือ ตอนปลายฤดูใบไม้ผลิและต้นฤดูใบไม้ร่วง แต่มะเดื่อสายพันธุ์ของอิสราเอลกับมะเดื่อบ้านเราเป็นคนละสายพันธุ์กัน เท่าไปดูจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี มะเดื่อของอิสราเอลจะเป็นมะเดื่อ(Ficus carica) เป็นไม้ยืนต้นที่แยกดอกแยกต้นเจริญได้ดีในที่สูงถึง 6 เมตร หรือ 19 ฟุต อยู่ในสกุล Ficus วงศ์ Moraceae เป็นพืชพื้นเมืองในแถบตะวันออกกลาง เป็นพืชคนละสายพันธุ์กับมะเดื่อไทยคือพันธุ์อุทุมพรหรือมะเดื่อชุมพร (Ficus racemosa) ที่เป็นไม้พื้นเมืองในอินเดียและศรีลังกา เมื่อผมได้ไปศึกษาในพระคัมภีร์ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจ จึงขอนำมาแบ่งปันเป็นบทเรียนจากต้นมะเดื่อสอนใจของเราดังนี้ครับ

ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ต้นมะเดื่อปรากฏครั้งแรกในปฐมกาล เมื่อมนุษย์รู้ว่า ตัวเปลือยเปล่าอยู่ พวกเขาจึงเอาใบมะเดื่อมาสำหรับปกปิดร่างกาย จึงนับว่ามะเดื่อเป็นต้นไม้ที่มีประโยชน์มากเป็นครั้งแรก
“ตาของเขาทั้งสองคนก็สว่างขึ้น จึงสำนึกว่าตนเปลือยกายอยู่ก็เอาใบมะเดื่อมาเย็บเป็นเครื่องปกปิดร่างไว้” (ปฐมกาล 3:7)
พระธรรมปฐมกาลกล่าวถึงต้นไม้ 2 ต้นว่า ต้นไม้แห่งชีวิต ต้นไม้แห่งความสำนึกในความดี และความชั่ว โดยไม่ได้ระบุว่าชื่ออะไร ดังนั้น มะเดื่อจึงเป็นชื่อของต้นไม้ครั้งแรกและพระธรรมวิวรณ์ ซึ่งเป็นพระคัมภีร์เล่มสุดท้ายก็ได้กล่าวถึงเรื่องต้นมะเดื่อไว้ด้วย 
วิวรณ์ 6:13 และดวงดาวทั้งหลายในท้องฟ้าก็ตกลงบนแผ่นดิน เหมือนกับต้นมะเดื่ออันถูกลมกล้าพัดจนทำให้ผลที่ยังไม่ทันสุกหล่นลงหมด
ในพระคัมภีร์มีการบันทึกถึงเรื่องของต้นมะเดื่อ ซึ่งมีความหมายต่างๆกัน และล้วนมีความลึกซึ้งมากมายที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ความเป็นไป และอนาคตของประเทศ ชาติ อีกทั้งยังมีความหมายที่เล็งถึงสันติภาพอีกด้วยดังเช่น 

มีคาห์ 4:3-4 “ พระองค์จะทรงวินิจฉัยระหว่างชนชาติทั้งหลายเป็นอันมาก และจะทรงตัดสินเพื่อบรรดาประชาชาติอันแข็งแรงที่อยู่ไกลออกไป และเขาทั้งหลายจะตีดาบของเขาให้เป็นผาลไถนา และหอกของเขาให้เป็นขอลิด ประชาชาติจะไม่ยกดาบต่อสู้กันอีก เขาจะไม่ศึกษายุทธศาสตร์อีกต่อไป แต่ต่างก็นั่งอยู่ใต้ซุ้มองุ่นและใต้ต้นมะเดื่อของตน และจะไม่มีใครมากระทำให้เขาสะดุ้งกลัว เพราะพระโอษฐ์ของพระเจ้าจอมโยธาได้ตรัสอย่างนี้แล้ว”

มะเดื่อยังมีความสำคัญทางเศรษฐกิจด้วยดังที่มักมีปรากฏอยู่ในรายการผลผลิตทางเกษตร ที่นำมาเป็นสินค้าแลกเปลี่ยนกัน และส่งออก (เอเสเคียล 27.17) ต้นมะเดื่อขึ้นอยู่แพร่หลายทั่วๆ ในแผ่นดินอิสราเอล สูง 10-20 ฟุต กิ่งก้านสาขาไม่เป็นระเบียบมีใบใหญ่ขนาดใบปาล์ม ที่ปลายใบหยัก เป็นต้นไม้ผลัดใบ ออกผลปีละ 2 ครั้ง

1.อัตลักษณ์ของเราในพระเจ้าถูกปกปิดด้วยความคิดแบบมนุษย์
ในพระธรรมปฐมกาล เมื่อมนุษย์รู้ว่า ตัวเปลือยเปล่าอยู่ พวกเขาจึงเอาใบมะเดื่อมาสำหรับปกปิดร่างกาย จึงนับว่ามะเดื่อเป็นต้นไม้ที่มีประโยชน์มากเป็นครั้งแรก “ตาของเขาทั้งสองคนก็สว่างขึ้น จึงสำนึกว่าตนเปลือยกายอยู่ก็เอาใบมะเดื่อมาเย็บเป็นเครื่องปกปิดร่างไว้” (ปฐมกาล 3:7) แต่นั่นเป็นเพราะอัตลักษณ์ความเป็นตัวตนที่เขาได้รู้จักพระเจ้าว่าเขาเป็นใครในพระองค์ได้สูญเสียไปแล้ว โดยความบาปที่เขาไม่เชื่อฟังพระเจ้า ความบาปนำมาซึ่งมาตายและนำมาซึ่งความน่าอับอายที่ต้องปกปิดไว้ไม่ให้ใครรู้ เมื่ออาดัมและเอวาได้รับประทานผลไม้จากต้น ต้นไม้แห่งความสำนึกในความดี และความชั่ว

ปฐมกาล 3:5-7 เพราะพระเจ้าทรงทราบอยู่ว่า เจ้ากินผลไม้นั้นวันใด ตาของเจ้าจะสว่างขึ้นในวันนั้น แล้วเจ้าจะเป็นเหมือนพระเจ้า คือสำนึกในความดีและความชั่ว"...ตาของเขาทั้งสองคนก็สว่างขึ้น จึงสำนึกว่าตนเปลือยกายอยู่ ก็เอาใบมะเดื่อมาเย็บเป็นเครื่องปกปิดร่างไว้

แท้จริงแล้วพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ตามพระฉายของพระองค์ แต่ละคนที่ถูกสร้างมีอัตลักษณ์(Identity) เราทุกคนเป็นที่โปรดปรานในสายพระเนตรพระเจ้า ไม่ว่าเราจะเป็นเช่นไร แต่เนื่องด้วยความบาปนี้เองทำให้มนุษย์ได้สร้างอัตลักษณ์ใหม่ในความคิดของเขา เมื่อเขามองรูปร่างตนเอง เห็นสิ่งที่เป็นอัตลักษณ์ ดูแลชั่งอัปลักษณ์จึงอับอายเอาใบมะเดื่อมาปกปิด
ใบมะเดื่อในที่นี้เป็นสัญลักษณ์ของอัตลักษณ์ (Identity) เป็นความรู้สึกนึกคิดที่บุคคลมีต่อตนเองว่า “ฉันคือใคร” ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการปฏิสังสรรค์ระหว่างตัวเรากับคนอื่น โดยผ่านการมองตนเองและการที่คนอื่นมองเรา อัตลักษณ์ต้องการความตระหนัก (Awareness) ในตัวเราและพื้นฐานของการเลือกบางอย่าง นั่นคือเราจะต้องแสดงตนหรือยอมรับอย่างตั้งใจกับอัตลักษณ์ที่เราเลือก ความสำคัญของการแสดงตนก็คือ การระบุได้ว่าเรามีอัตลักษณ์เหมือนกลุ่มหนึ่งและมีความแตกต่างจากกลุ่มอื่นอย่างไร และ “ฉันเป็นใคร” ในสายตาคนอื่น มนุษย์เริ่มห่างไกลในความสัมพันธ์กับพระเจ้า เพราะการสูญเสียความเป็นตัวตนของเราที่เป็นผู้ถูกสร้างแต่ห่างไกลจากพระเจ้าพระผู้สร้าง จึงทำให้เขาเอาความเป็นตัวตนของเขามากำหนดเอาเองจากสังคม บางใช้ความรู้การศึกษามาเป็นตัวกำหนดสังคม บ้างเอาเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดความเป็นตัวตนทางสังคม "มีเงินนับเป็นพี่ มีทองนับว่าเป็น้อง"
แต่ท้ายสุดมนุษย์จะต้องมาถึงจัดตระหนักของเขาเองว่า ใบมะเดื่อที่หุ้มกายนั้นเป็นสิ่งที่ชั่วคราว ไม่ได้เป็นสิ่งถาวร อัตลักษณ์ที่เขาสร้างขึ้นในความคิดของเขาเป็นเพียงสิ่งชั่วคราว ไม่ยั่งยืน เป็นสิ่งที่เรียกว่าอนิจจัง

ปัญญาจารย์ 5:10 คนรักเงินย่อมไม่อิ่มเงิน และคนรักสมบัติไม่รู้จักอิ่มกำไร นี่ก็อนิจจังด้วย
ความรู้ทำให้เขาหยิ่ง ความจริงของพระเจ้าทำให้เขาได้ตระหนัก และความรักของพระองค์ทำให้เขากลับใจ และกลับมาหาพระเจ้า เพราะพระองค์ประทานแผนการไถ่ของพระองค์ ผ่านทางพระเยซูคริสต์ เสื้อหนังสัตว์จึงเล็งถึงการไถ่และอัตลักษณ์ใหม่ที่พระเจ้าจะสวมให้เมือกลับมาหาพระองค์

ปฐมกาล 3:21-22
21 พระเจ้าทรงทำเสื้อด้วยหนังสัตว์ให้อาดัมกับเอวาสวมปกปิดกาย
22 แล้วพระเจ้าตรัสว่า "ดูเถิดมนุษย์มาเป็นเหมือนผู้หนึ่งในพวกเราแล้ว โดยที่รู้สำนึกในความดีและความชั่ว บัดนี้ อย่าปล่อยให้เขายื่นมือไปหยิบผลต้นไม้แห่งชีวิตมากิน แล้วมีอายุยืนชั่วนิรันดร์"



2.การงานที่ทำ ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง
มะเดื่อเป็นตัวอย่างหนึ่งที่พระเจ้ามักจะใช้เป็นอุปกรณ์สอนใจ ในพระคัมภีร์พระเจ้าทรงเปรียบเทียบเป็นคำอุปมาเรื่องมะเดื่อดีและมะเดื่อเลว(เยเรมีย์ 24)
พระคัมภีร์มักจะเปรียบเทียบประเทศอิสราเอล เปรียบเสมือนต้นมะเดื่อ เช่น
พระธรรมโฮเซยา 9:10 บันทึกว่า “เราพบอิสราเอลเหมือนพบผลองุ่นอยู่ในถิ่นทุรกันดาล เราพบบรรพบุรุษของเจ้าทั้งหลาย เหมือนพบผลมะเดื่อรุ่นแรกที่ต้นมะเดื่อเมื่อออกในฤดูแรก“

“ดังนั้นต้นมะเดื่อซึ่งมีผล คือ ประเทศอิสราเอล ซึ่งสร้างผู้รับใช้ของพระเจ้า ได้แก่ เยเรมีย์ เอลียาห์ หรือ ดาเนียล แต่บ่อยครั้งประเทศอิสราเอลก็ละทิ้งพระเจ้า ชาวอิสราเอลทำบาปไม่เชื่อฟังพระเจ้า ทำให้พระเจ้าเสียพระทัย

มัทธิวได้ทันทึกเกี่ยวกับพระเยซู และต้นมะเดื่อในเหตุการณ์เดียวกัน เมื่อพระเยซูเห็นต้นมะเดื่อไม่มีผลมีแต่ใบเท่านั้น จึงตรัสกับต้นมะเดื่อนั้นว่า ‘เจ้าจงอย่าผลิผลอีกต่อไป’ ทันใดนั้นต้นมะเดื่อก็เหี่ยวแห้งไป” (มัทธิว 21:18-19)
พระเยซูมีพระประสงค์ที่จะเห็นชนชาติอิสราเอลได้รับความรอด เช่นเดียวกับที่พระเยซูต้องการเห็นพวกเราได้รับความรอด พระองค์จึงยอมสละชีวิตของพระองค์เองตายแทนความผิดบาปของเรา เพียงแต่เขาให้เราเชื่อและวางใจใน
พระองค์ แล้วเราจะได้รับผลแห่งความเชื่อนั้น คือพระพร เปรียบเสมือนผลของต้นมะเดื่อนั่นเอง สำหรับผู้ซึ่งปฎิเสธพระเยซูนั้น ถึงเขาจะมีชีวิตอยู่ วันหนึ่งชีวิตของเขาต้องสิ้นสุดลงโดยไม่มีโอกาสพบกับชีวิตนิรันดร์ซึ่งพระเยซูจะมอบให้แก่เขา เปรียบเสมือนต้นมะเดื่อซึ่งเหี่ยวแห้งไปในที่สุด
ต้นมะเดื่อมีผลถูกพิจารณาว่าเป็นสัญลักษณ์ของความสุขและความเจริญรุ่งเรืองสำหรับชนชาติอิสราเอล ในทำนองเดียวกันถ้ามะเดื่อไม่เกิดผล ก็จะถูกสาปให้ตายไป

ต้นมะเดื่อเป็นตัวแทนของจิตวิญญาณของความเป็นหมันอิสราเอล (ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง) พวกเขาเคร่งพิธีกรรมทางศาสนาภายนอก แต่จิตวิญญาณเป็นหมันเพราะบาปของพวกเขาที่ปราศจากความเชื่อในพระเยซูคริสต์
(ยากอบ 2:26 เพราะกายที่ปราศจากจิตวิญญาณนั้นไร้ชีพแล้วฉันใด ความเชื่อที่ปราศจากการประพฤติตามก็ไร้ผลฉันนั้น)

บทเรียนจากต้นมะเดื่อนั้นคือเราควรจะตระหนักถึงผลพระวิญญญาณมากกว่าผลของการกระทำภายนอก(กาลาเทีย 5:22-23) พระเจ้าปรารถนาให้เราเป็นต้นไม้ที่ดีสำแดงผลดีออกมา เมื่อเราเข้าสนิทในพระเจ้าเราจะสะท้อนผลของพระองค์ออกมาเป็นการเกิดผลมาก (ยอห์น 15:5-8)
ในวันนี้แม้ตัวเก่าของเราจะเป็นเช่นใด คนที่ทำความบาปผิดชั่วร้าย อย่างคนเก็บภาษีเช่นศักเคียส เขาใช้มะเดื่อเป็นอุปกรณ์ข้ามผ่านอุปสรรคเพื่อไปแสวงหาพระเยซูคริสต์ และความรอดจึงมาถึงครอบครัวของเขา เมื่อเขากลับใจจากบาปกลับมาหาพระองค์

ลูกา 19:1-10
3 ศักเคียสพยายามจะดูให้เห็นพระเยซูว่า พระองค์เป็นผู้ใดแต่ดูไม่เห็นเพราะคนแน่น ด้วยเขาเป็นคนเตี้ย
4 เขาจึงวิ่งไปข้างหน้าขึ้นต้นมะเดื่อ เพื่อจะได้เห็นพระองค์เพราะว่าพระองค์จะเสด็จไปทางนั้น
6 แล้วเขาก็รีบลงมาต้อนรับพระองค์ด้วยความปรีดี
8 ฝ่ายศักเคียสยืนทูลองค์พระผู้เป็นเจ้าว่า "ดูเถิด พระเจ้าข้า ทรัพย์สิ่งของของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ยอมให้คนอนาถากึ่งหนึ่ง และถ้าข้าพระองค์ได้ฉ้อโกงของของผู้ใด ข้าพระองค์ยอมคืนให้เขาสี่เท่า"
9 พระเยซูตรัสกับเขาว่า "วันนี้ความรอดมาถึงครอบครัวนี้แล้ว เพราะคนนี้เป็นลูกของอับราฮัมด้วย
10 เพราะว่าบุตรมนุษย์ได้มาเพื่อจะเที่ยวหาและช่วยผู้ที่หลงหายไปนั้นให้

รอด"

3.ต้นมะเดื่อเตือนใจให้เฝ้าระวัง 

ลูกา 21:29-36
29 พระองค์ตรัสคำอุปมาแก่เขาว่า "จงดูต้นมะเดื่อและต้นไม้ทั้งปวงเถิด
30 เมื่อผลิใบออกแล้ว ท่านทั้งหลายก็เห็นและรู้อยู่เองว่า ฤดูฝนจวนจะถึงแล้ว
31 เช่นนั้นแหละ เมื่อท่านทั้งหลายเห็นเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้น ก็ให้รู้ว่าแผ่นดินของพระเจ้าใกล้จะถึงแล้ว
32 เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า คนในชั่วอายุนี้จะไม่ล่วงลับไปก่อนสิ่งทั้งปวงนั้นบังเกิดขึ้น
33 ฟ้าและดินจะล่วงไป แต่ถ้อยคำของเราจะสูญหายไปหามิได้เลย
34 "แต่จงระวังตัวให้ดี เกลือกว่าใจของท่านจะล้นไปด้วยอาการดื่มเหล้าองุ่นมาก และด้วยการเมา และด้วยคิดกังวลถึงชีวิตนี้ แล้วเวลานั้นจะมาถึงท่านดุจบ่วงแร้วอย่างกระทันหัน
35 เพราะว่าวันนั้นจะมาถึงคนทั้งปวงที่อยู่ทั่วพื้นแผ่นดินโลก
36 เหตุฉะนั้นจงเฝ้าอยู่ทุกเวลา จงอธิษฐานเพื่อท่านทั้งหลายจะมีกำลังที่จะพ้นเหตุการณ์ทั้งปวงซึ่งจะบังเกิดมานั้น และจะยืนอยู่ต่อหน้าบุตรมนุษย์ได้

พระเยซูคริสต์ตรัสคำอุปมาแก่เราว่า "จงดูต้นมะเดื่อและต้นไม้ทั้งปวงเถิด เมื่อผลิใบออกแล้ว
ท่านทั้งหลายก็เห็นและรู้อยู่เองว่าฤดูร้อนจวนจะถึงแล้ว เช่นนั้นแหละ
เมื่อท่านทั้งหลายเห็นเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้น ก็ให้รู้ว่าอาณาจักรของพระเจ้าใกล้จะถึงแล้ว"


ในบทนี้ พระเจ้าทรงแสดงตัวอย่างของคนหลายๆคนที่มีพฤติกรรมเหล่านั้น (ลก. 21:31)
แล้วให้เราสำนึกว่าเวลาของพระองค์กำลังใกล้เข้า เรามีตัวแสดงเวลาที่ชัดเจนอยู่แล้ว ยิ่งใกล้ถึงวันนั้นเมื่อไหร่ พฤติกรรมจิตใจขอบงคนยิ่งตกต่ำมากขึ้นเท่านั้น จงใช้ชีวิตคริสเตียนให้ดีเถิด จงเตรียมพร้อมเพื่อวันที่พระองค์จะเสด็จมา โดยระมัดระวังในการดำเนินชีวิตเสมอ(ลก. 21:34)
เพราะพระเจ้าจะไม่มีคำเตือน พระองค์จะมา ก็คือมา อย่าให้เราหลงมัวเมาไปกับกะระแสของโลกเลย ให้เราอธิษฐานเผื่อซึ่งกันและกัน
ต้นมะเดื่อเป็นสัญลักษณ์ที่เปรียบดังนาฬิกาของโลกที่นับถ้อยหลังสู่วันสิ้นยุคของโลกพระเยซูทรงทำให้เราทราบการล่มสลาย และการได้รับเอกราชของอิสราเอล และเวลาที่พระองค์จะเสด็จมาครั้งที่สอง โดยผ่านคำเปรียบเรื่องต้นมะเดื่อ (มัทธิว 24:32-33)

ดังนั้นแล้ว ต้นมะเดื่อใช้เปรียบเทียบถึงอะไร? ต้นมะเดื่อใช้อ้างอิงถึงอิสราเอล สถานที่ซึ่งพระเยซูได้เสด็จมาหาผลอยู่ถึงสามปี ตามคำพยากรณ์ที่ว่า "จงโค่นต้นมะเดื่อ"
ลูกา 13:7 เขาจึงว่าแก่คนที่รักษาเถาองุ่นว่า "นี่แน่ะ เรามาหาผลที่ต้นมะเดื่อนี้ได้สามปีแล้ว แต่ไม่พบ จงโค่นมันเสีย จะให้ดินจืดไปเปล่าๆทำไม"

อิสราเอลจึงถูกทำลายในปี ค.ศ. 70 และตามคำพยากรณ์ที่ว่าต้นมะเดื่อนั้น จะมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง อิสราเอลจึงได้เอกราชกลับมา หลังจากที่ล่มสลายไปแล้ว 1900 ปี เหตุใดพระเจ้าจึงทรงสำแดง ความอัศจรรย์นี้แก่พวกเรา? ก็เพื่อที่จะให้โลกรับรู้ว่า พระคริสต์ที่เสด็จมาครั้งที่สองนั้น ทรงเริ่มพระราชกิจข่าวประเสริฐในปี 1948 เป็นปีแห่งการรวมชาติของประเทศอิสราเอล หมายถึง เมื่อเริ่มประเทศอิสราเอลแล้ว ไม่เกินหนึ่งชั่วอายุของคน พระเยซูคริสต์จะเสด็จกลับมา
ราได้เรียนรู้จากคำเปรียบเรื่องต้นมะเดื่อ (มธ.24:32-34) และใน1ชั่วอายุคนคือเวลาเท่าใด มีหลายแนวความคิด บ้างก็ว่า ตามที่โมเสสบอกคือ 70-80 ปี
สดุดี 90:10 กำหนดปีของข้าพระองค์คือเจ็ดสิบ หรือสุดแต่เรื่องกำลัง ก็ถึงแปดสิบ แต่ช่วงชีวิตนั้นมีแต่งานและความลำบาก ไม่ช้าก็สูญไปและข้าพระองค์ก็จากไป
ถ้าเอา 1948+80=2028 แสดงว่าเวลาของโลกยุคเก่านี้จะไม่เกิน ปี คศ.2028 หรือเปล่า ต้องติดตามดูกันต่อไปนะครับไม่มีใครรู้ (ขอย้ำว่าไม่ได้ฟันธงและไม่ได้พยากรณ์ เพียงแต่คำนวนวันการกลับมาของพระคริสต์ เป็นการตั้งข้อสังเกตไว้)
เราไม่ทราบว่าพระเยซูจะมาเมื่อใด แต่เราทราบดีว่าพระองค์จะกลับมารับเราแน่ เราจึงตั้งหน้าตั้งตอรอคอบ แม้ว่าจะนานเท่าใด หรือสถานการณ์จะเป็นเช่นใด ฤดูกาลที่ผ่านไปเราต้องเผชิญสถานการณ์อย่างไร เราสามารถชื่นชมยินดีได้กับพระองค์ดังบทเพลงเรื่องต้นมะเดื่อ


าบากุก 3:17-18
17 แม้ต้นมะเดื่อไม่มีดอกบาน หรือเถาองุ่นไม่มีผล ผลมะกอกเทศก็ขาดไป ทุ่งนามิได้เกิดอาหาร ฝูงสัตว์ขาดไปจากคอก และไม่มีฝูงวัวที่ในโรง
18 ถึงกระนั้นข้าพเจ้าจะร่าเริงในพระเจ้า ข้าพเจ้าจะเปรมปรีดิ์ในพระเจ้าแห่งความรอดของข้าพเจ้า


เมื่อเราระมัดระวังชีวิตของเราดังเช่น เมื่ออาดัมและเอวาอยู่ในสวนเอเดน หากเขารักษาชีวิตที่ดี ผลที่เขาจะได้รับรางวัลคือผลไม้แห่งชีวิตที่พระเจ้าจะประทานให้เขากินและมีชีวิตนิรันดร์

วิวรณ์ 22:14 คนทั้งหลายที่ชำระเสื้อผ้าของตนก็เป็นสุข เพื่อว่าเขาจะได้มีสิทธิ์ในต้นไม้แห่งชีวิต และเพื่อเขาจะได้เข้าไปในนครนั้นโดยทางประตู

ในวันนี้เราขอเป็นคนงานที่สัตย์ซื่อ ทำงานอย่างสัตย์ซื่อเพื่อเสนอรายงานเมื่อเจ้านายนั้นกลับมา และเชื่อว่าพระเจ้าผู้เป็นเจ้านายที่ยิ่งใหญ่จะกลับมาพร้อมกับรางวัลที่พระองค์จะมอบให้กับเรา

สภษ.27:18 บุคคลที่ดูแลต้นมะเดื่อจะได้กินผลของมัน และบุคคลที่ระแวดระวังนายของตนจะได้รับเกียรติ

สรรเสริญพระเจ้า!

VDO ความลับของต้นมะเดื่อ

(ลงใน Ok Natiion blog 21/11/11) (ลงใน CBN Siam)

12 พฤศจิกายน 2554

ผจญภัยในลำธารวิถี

สถานการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิต ทำให้เรามีมุมมองใหม่ จากความเข้าใจที่ได้เรียนรู้จักพระเจ้าผ่านในทุกสถานการณ์ และเกิดคำนิยามที่เป็นแบบฉบับของเราเอง
สำหรับผมแล้ว วิกฤตกาลน้ำท่วมครั้งนี้ ขอให้นิยามใหม่ เปลี่ยนจากผู้"ประสบ"ภัยน้ำท่วม เป็นผู้"ผจญภัย" น้ำท่วม เพราะคำว่า "ผจญภัย" เป็นสิ่งที่ตื่นเต้นและท้าทาย ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ การผจญภัยจะมีเส้นทางความสำเร็จที่ปลายทาง เชื่อว่าจะผ่านไปได้ เพราะข้าพเจ้าผจญทุกสิ่งได้ โดยพระองค์ผู้ทรงเสริมกำลังข้าพเจ้า (ฟิลิปปี 4:13) คงต้องหนุนใจให้ผู้ที่ผจญวิกฤตกาลน้ำท่วมในครั้งนี้ให้สู้ต่อไปผู้ผจญภัยน้ำท่วมทั้งหลาย
ในวิกฤตกาลน้ำท่วมในครั้งนี้ ขอเปรียบเปรยเหตุการณ์ต่างๆในพระคริสตธรรมคัมภีร์ จะเห็นได้ว่ามีหลายสิ่งที่น่าท้าทายทำให้เราได้ผจญภัย เรียนรู้สิ่งใหม่จากพระเจ้า โดยเริ่มต้นจากเหตุการณ์น้ำท่วมโลกสมัยโนอาห์ ใน"ปฐมกาล" จำเป็นต้อง"อพยพ"ผ่าน"ลำธารวิถี"ไม่ใช่"กันดารวิถี" แต่ก็ประสบปัญหาการกันดารอาหาร ไปซื้อของที่ไหน ของใช้ของกินก็หมด แถมราคาแพงกว่าปกติหลายเท่าตัว สถานการณ์ทุกอย่างเป็นบททดสอบที่เราต้องผ่านบททดสอบ จากพระเจ้า แต่เชื่อว่าเราทุกคนจะสอบผ่านได้ เพราะมีการเฉลยข้อสอบไว้แล้ว เมื่อเราได้ไปอ่านในพระธรรม"เฉลยธรรมบัญญัติ" พระเจ้ามีวิถีทางที่ดีกลับเราเสมอ และท้ายสุดเราจะได้ร้องบทเพลง"สดุดี" เนื่องจากพระเจ้าเป็นผู้พลิกฟื้นนำไปสู่สภาพที่ดี
สดุดี 126:1-3
1 เมื่อพระเจ้าทรงให้ศิโยนกลับสู่สภาพดี เราก็เป็นเหมือนคนที่ฝันไป
2 ปากของเราได้หัวเราะเต็มที่ และลิ้นของเราได้เปล่งเสียงโห่ร้องอย่างชื่นบาน แล้วเขาได้พูดกันท่ามกลางประชาชาติว่า "พระเจ้าทรงกระทำการมโหฬารให้เขา"
3 พระเจ้าทรงกระทำการมโหฬารให้เรา เรามีความยินดี


ในวันนี้ขอหนุนใจสำหรับผู้ผจญภัยในลำธารวิถี เราต้องต้องผจญกับสิ่งต่างๆ ฉะนั้นต้องเรียนรู้เรียนรู้เพื่อจะฟันฝ่าอุปสรรคไปสู่เส้นชัยได้ พร้อมผจญภัยร่วมกันแล้วใช่ไหมครับ

รู้จักเส้นทางการผจยภัย
ในการผจญภัยในลำธารวิถี สิ่งที่จะต้องเรียนรู้คือ การทำความเข้าใจ รู้จักน้ำท่วมให้มากขึ้น
ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไรและเรามีวิธีการจัดการน้ำกันอย่างไรเพื่อสร้างความเข้าใจให้มากขึ้นและลดภาวะตื่นตระหนักอันมาจากมูลที่มากล้นจนเกินไป

ผมประทับใจในข้อมูลต่างๆ ที่ทางหน่วยงานต่างจัดทำขึ้น และส่งข้อมูลให้แก่กันและกันในสังคม Online จนเกิดสุภาษิตใหม่ คือ "น้ำขึ้นให้รีบบอก"เป็นการบอกกล่าวเล่าสู่กันฟังถึงสิ่งต่างๆเพื่อให้เราได้เตรียมตัวในการผจญภัยกับวิกฤตกาลน้ำท่วมในครั้งนี้
สาเหตุหลักที่น้ำท่วมในครั้งนี้คือ เมื่อก่อนมนุษย์เราเรียนรู้จักธรรมชาติ จึงพยายามปรับตัวเข้ากับสถาพแวดล้อมทางธรรมชาติ แต่เมื่อความเจริญทางเทคโนโลยี่มากขึ้น ทำให้มนุษย์เราเริ่มปรับธรรมชาติเข้ากับวิถีชีวิตของตน ตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำเป็นที่อยู่อาศัย มีการพยายามควบคุมธรรมชาติโดยวิธีการสร้างเขื่อน สร้างแนวป้องกันต่างๆเพื่อป้องภัยทางธรรมชาติ ฉะนั้นมนุษย์จึงดำเนินชีวิตอยู่บนการควบคุมธรรมชาติแทนที่จะปรับตัวเข้ากับธรรมชาติ และวิกฤตน้ำท่วมในครั้งนี้ ทำให้มนุษย์ตระหนักได้ว่า มนุษย์ไม่สามารถควบคุมธรรมชาติ อย่าคิดว่า "เอาอยู่"
ผู้ที่สามารถควบคุมธรรมชาติได้คือพระเจ้า ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งนั่นเอง
สดุดี 33:6-8
6 โดยพระวจนะของพระเจ้า ฟ้าสวรรค์ก็ถูกสร้างขึ้นมา กับบริวารทั้งปวง ก็ด้วยลมพระโอษฐ์ของพระองค์
7 พระองค์ทรงรวบรวมน้ำทะเลเหมือนอย่างทำนบ และทรงเก็บที่ลึกไว้ในคลัง
8 ให้แผ่นดินโลกทั้งสิ้นยำเกรงพระเจ้า ให้บรรดาชาวพิภพทั้งปวงยืนตะลึงพรึงเพริดต่อพระองค์


ดังนั้นเราต้องทำความรู้จักน้ำ และเรียนรู้ในการเผชิญจะช่วยให้เราสามารถประเมินสถานการณ์ได้ด้วยตนเองเพื่อวางแผน เตรียมความพร้อม เพื่อให้เราจะไม่ต้องเป็นผู้ประสบภัยแม้ในยามน้ำท่วม เตรียมตัวดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

เตรียมตัวให้พร้อมแม้ต้องอพยพ
เราต้องรวบรวมวิธีการ และข้อควรทำต่างๆ ในการอพยพ เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมตัวออกจากบ้าน การเดินทางไปจนถึงการเข้า ‘Check-in’ ที่ศูนย์อพยพอย่างปลอดภัย หรือไปพักตามบ้านของญาติพี่น้องของเรา การเตรียมการเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆอย่างมีประสิทธิภาพ เราต้องเตรียมตุนเสบียงให้พร้อม เตรียมสิ่งของอย่างมีสติ โดยการพิจารณาว่าในการใช้ชีวิตโดยปกติของเรานั้น มีความต้องการกิน ต้องการใช้มากหรือน้อยแค่ไหน เพื่อให้ใน สถานการณ์น้ำท่วม แบบนี้ เราจะได้ซื้อของเพื่อ “ตุน” ได้อย่างเหมาะสมและพอดีกับความต้องการ


พึ่งพากันและกัน อย่าเดินอย่างเดียวดาย
น้ำท่วมครั้งใหญ่ครั้งนี้ เห็นได้ชัดว่า คนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนในเมืองใหญ่ ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ในเรื่องที่เป็นความจำเป็นพื้นฐาน ชีวิตที่ต้องพึ่งพา ความสะดวกสบาย หิว หรือกระหายน้ำขึ้นมาเมื่อไร ก็เดินเข้าร้านสะดวกซื้อ ซื้ออาหารสำเร็จรูป ซื้อน้ำดื่มบริโภค
เมื่อระบบการผลิต และกระจายสินค้า ซึ่งกระจุกตัวอยู่ในแหล่งเดียวกัน พังทะลายลงเพราะกระแสน้ำ บะหมี่สำเร็จรูป น้ำดื่ม ไข่ไก่ ข้าวสาร ก็หายไปจากชั้นในห้างสรรสินค้า หรือแม้แต่ร้านสะดวกซื้อ ที่เมื่อก่อนคนในกรุงเทพฯ พูดได้ว่า"หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา" เพราะร้านค้าแบบนี้มีกระจายอยู่ทุกซอกซอย เพราะผู้คนแตกตื่น แห่กันไปซิ้อตุนไว้ ของเก่าหมดไป ในขณะที่ของใหม่ไม่มีเข้ามาเติม เนื่องจากโรงงานและศูนย์กระจายสินค้าถูกน้ำท่วม
แต่วิกฤตกาลน้ำท่วมครั้งนี้ สะท้อนว่า พฤติกรรมของคนในเมืองหลวงต้องเปลี่ยนแปลงไปต้องรู้จักที่จะวางแผนการเก็บอาหารแห้งหรือเครื่องอุปโภคไว้ในยามฉุกเฉิน

ความเสี่ยงที่เป็นเรื่องใกล้ตัวอีกอย่างหนึ่ง คือ ตู้ ATM ที่มีอยู่เต็มไปหมด ไม่แพ้ร้านสะดวกซื้อ กดเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมง ตราบใดที่มีเงินสดในบัญชี แต่ในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมหนักจนต้องตัดกระแสไฟฟ้า หรือ รถเขนเงินเข้าไม่ถึง ตู้ ATM กลายเป็นเศษเหล็กที่ไร้ประโยชน์ นายธนาคารต้องประกาศให้ ประชาชนสำรองเงินสดเอาไว้ใช้ เพราะพึ่งตู้ ATM ไมได้แล้ว

น้ำท่วมครั้งนี้ ยังทำให้คนจำนวนไม่น้อย รู้ตัวว่า ตนนั้น เป็นที่พึ่งแห่งตนไม่ได้เลย เราต้องมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามยากลำบาก ตามพระธรรมสุภาษิตที่ว่า
สุภาษิต 17:17 มิตรสหายก็มีความรักอยู่ทุกเวลา และพี่น้องก็เกิดมาเพื่อช่วยกันยามทุกข์ยาก
ดังนั้น การพึ่งพาอาศัยกันจึงเป็นการร่วมฝ่าพันวิกฤตไปด้วยกัน หากเรามีความสุขแบ่งปันความสุขให้กับผู้อื่น ความสุขที่เรามีก็จะเป็นสองเท่า เพราะการให้เป็นเหตุให้ได้รับความสุขยิ่งกว่าการรับ (กจ.20:35)แต่หากเรามีความทุกข์ เราแบ่งปันความทุกข์ให้แก่กัน ความทุกข์ที่มีก็จะแบ่งเบาเหลือเพียงครึ่งเดียว
ความทุกข์ที่เกิดขึ้นอยู่ที่มุมมองที่เราจะต้องเผชิญกับมันให้ได้ มีคำกล่าวที่ว่า "ทุกข์" มีไว้เพื่อ "เห็น" ไม่ใช่เพื่อให้"เป็น"
ศบ.ริค วอร์เรน กล่าวว่า "ไม่ว่าเหตุการณ์จะเป็นวิกฤตหรือเป็นโอกาสจะถูกกำหนดโดยสิ่งที่คุณทำอะไรกับมัน"
(Whether an event is a crisis or an opportunity is determined by what you do with it.- Rick Warren)
เราสามารถมองปัญหาได้ด้วยความเข้าใจ เห็นถึงปัญหา และใช้วิกฤตเปลี่ยนเป็นโอกาสที่เราจะเข้ามาพึ่งพาพระเจ้า เป็นโอกาสทองของผู้อ่อนแอเข้าหาพระเจ้า
2โครินธ์ 12:9-10
9 แต่พระองค์ตรัสกับข้าพเจ้าว่า "การที่มีคุณของเราก็พอแก่เจ้าแล้ว เพราะความอ่อนแอมีที่ไหน เดชของเราก็มีฤทธิ์ขึ้นเต็มขนาดที่นั่น" เหตุฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงภูมิใจในบรรดาความอ่อนแอของข้าพเจ้า เพื่อฤทธิ์เดชของพระคริสต์จะได้อยู่ในข้าพเจ้า
10 เหตุฉะนั้นเพราะเห็นแก่พระคริสต์ ข้าพเจ้าจึงชื่นใจในบรรดาความอ่อนแอของข้าพเจ้า ในการประทุษร้ายต่างๆในความยากลำบาก ในการถูกข่มเหง ในความอับจน เพราะว่าข้าพเจ้าอ่อนแอเมื่อใด ข้าพเจ้าก็จะแข็งแรงมากเมื่อนั้น

ร่วมฟันฝ่าสู่จุดหมายปลายทาง
การผจญภัยในลำธารวิถีในครั้งนี้ เป็นโอกาสดีที่เราในฐานะคริสตชนที่ดี ที่จะไปสำแดงความรักของพระเจ้าให้คนทั่วไปได้เห็น
ฮีบรู 13:15-16
15 เหตุฉะนั้น ให้เราถวายคำสรรเสริญเป็นเครื่องบูชาแด่พระเจ้าตลอดไป โดยทางพระองค์นั้น คือคำกล่าวยอมรับเชื่อพระนามของพระองค์
16 จงอย่าละเลยที่จะกระทำการดี และจงแบ่งปันข้าวของซึ่งกันและกัน เพราะเครื่องบูชาอย่างนั้นเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า
คริสเตียนที่เข้าใจเรื่องพระคุณพระเจ้าอย่างแท้จริง จะอดไม่ได้ที่จะสรรเสริญพระเจ้า ในทุกสถานการณ์ เป็นสิ่งไม่แปลกที่เรามักพบว่า คนของพระเจ้าอยู่ในที่ใด มักมีเสียงเพลงนมัสการและคำยกย่องสรรเสริญพระเจ้าอยู่ที่ริมฝีปากของเขาเสมอ เช่น ฮาเลลูยา ขอบคุณพระเจ้า ทั้งนี้ เพราะพระเจ้าทรงดีต่อชีวิตของคนของพระองค์เสมอ การยกย่องสรรเสริญพระคริสต์ด้วยการกระทำดี ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เราสามารถกระทำได้
เราควรมีน้ำใจแบ่งปันสิ่งต่าง ๆ ให้แก่คนที่ด้อยโอกาสหรือพี่น้องของเราที่ยากลำบากหรือมีน้อยกว่าเรา เพราะสิ่งนี้แหละจะเป็นเครื่องบูชาอันเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า

แท้จริง แนวความคิดเกี่ยวกับการกระทำดี เกี่ยวข้องกับการถวายตัวของเรา คือ การอุทิศชีวิตของเราในการกระทำสิ่งที่ดี
รม.12:1-2

1 พี่น้องทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้โดยเห็นแก่ความเมตตากรุณาของพระเจ้า ข้าพเจ้าจึงวิงวอนท่านทั้งหลายให้ถวายตัวของท่านแด่พระองค์ เพื่อเป็นเครื่องบูชาที่มีชีวิตอันบริสุทธิ์และเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า ซึ่งเป็นการนมัสการโดยวิญญาณจิตของท่านทั้งหลาย


2 อย่าประพฤติตามอย่างคนในยุคนี้ แต่จงรับการเปลี่ยนแปลงจิตใจ แล้วอุปนิสัยของท่านจึงจะเปลี่ยนใหม่ เพื่อท่านจะได้ทราบน้ำพระทัยของพระเจ้า จะได้รู้ว่าอะไรดี อะไรเป็นที่ชอบพระทัยและอะไรดียอดเยี่ยม
เหตุผลที่เราควรกระทำดีต่อคนทั้งปวง เพราะจะเป็นเหตุให้คนมากมายสรรเสริญพระเจ้าจากชีวิตของเรา และเปิดใจต้อนรับพระคุณความรักของพระองค์ในที่สุด
มธ.5:16 ท่านทั้งหลายก็เหมือนกับตะเกียง จงส่องสว่างแก่คนทั้งปวง เพื่อว่าเมื่อเขาได้เห็นความดีที่ท่านทำ เขาจะได้สรรเสริญพระบิดาของท่าน ผู้ทรงอยู่ในสวรรค์
สิ่งนี้เป็นการตอบสนองน้ำพระทัยที่ปรารถนาให้คนทั้งปวงได้รับความรอด อันเป็นการถวายเกียรติพระเจ้า ในเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ให้เราเป็นผู้ผจญภัยและร่วมฝ่าฝันไปสู่หลักชัยได้ และที่สำคัญคือเราจะต้องช่วยกันและกันให้ผ่านวิกฤตกาลในครั้งนี้ให้ผ่านไปได้

(ลงข่าวคริสตชน 14/11/11)