28 มิถุนายน 2554

คริสเตียนกับการมีส่วนในการเมืองการปกครอง

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน เนื่องจากรัฐบาลกำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 3 ก.ค. 2011 เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส..)

ขณะที่ผมเขียนบทความนี้ ก็เป็นช่วงสัปดาห์สุดท้าย เรียกว่า

"โค้งสุดท้ายของการหาเสียง" แต่ละพรรคก็ได้งัดไม้เด็ด นโยบายต่างๆมาแถลงกัน เราจะต้องพิจารณาวิเคราะห์กันให้ดีก่อนตัดสินใจในการไปใช้สิทธิ์ในการเลือก 2 แบบ คือ การเลือกสส.เขตและเลือกพรรคในการบริหารประเทศ(Party list) นั่นคือ

การเลือกคนที่ "ใช่" และเลือกพรรคที่ "ชอบ"นั่นเอง

เราในฐานะที่เป็นคริสตชนและเป็นคนไทยที่มีสิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้งตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เราจึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนในการเมืองการปกครองทั้งนี้เพราะพระคริสตธรรมคัมภีร์กล่าวไว้ใน โรม 13:1 ว่า “ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอำนาจปกครอง เพราะว่าไม่มีอำนาจใดเลยที่มิได้มาจากพระเจ้า และผู้ที่ทรงอำนาจนั้น พระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น”

ดังนั้นการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยเรา ใช้วิธีการเลือกตั้งโดยประชาชนเลือกผู้แทนฯ เข้าไปในรัฐสภาเพื่อบริหารประเทศและออกกฏหมายเพื่อการปกครองประเทศ

หลายคนที่เป็นคริสเตียน เมื่อพูดถึงเรื่อง "การเมือง" ก็เริ่มเบื่อหน่าย และไม่อยากจะยุ่งเกี่ยว

หนุนใจว่าอย่าเพิ่งเบื่อ เพราะการเมืองเป็นเรื่องของทุกคน ไม่ใช่ของคนใด คนหนึ่ง หรือของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แม้เราไม่อยากจะยุ่งกับการเมือง แต่เรื่องการเมืองก็เกี่ยวข้องกับเรา เพราะเราไม่ได้อยู่ในป่าเขา แต่เรายังอยู่ในเมือง

พระเยซูคริสต์ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่กระทำพระราชกิจในเมือง และไม่ได้ปลีกวิเวกบำเพ็ญพรตอยู่ในป่าเขา นอกจากบางเวลาที่พระองค์ทรงปลีกพระองค์เข้าเฝ้าพระบิดา

เราต้องเข้าใจนะครับว่า... คำว่า "เมือง" มาจากคำภาษากรีกว่า "Polis" คำว่า "การเมือง" มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Politics"

ตราบใดที่เรายังอาศัยอยู่ในเมือง ตราบนั้นเราหนีไม่พ้น "การเมือง" (politics) เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้น ภายในเมืองที่เราอยู่ ไม่ว่าดีหรือเลว ล้วนกระทบต่อวิถีชีวิตคริสเตียนของเรา! เราอยู่ในเมืองเราก็ต้องมีส่วนร่วมกับการเมืองการปกครอง

การเมืองการปกครองจึงเป็นที่สำคัญที่คริสเตียนควรจะมีส่วนร่วมในระดับต่างๆ ดังนี้

1.ระดับการอธิษฐานเผื่อ

การอธิษฐานเผื่อเป็นการมีส่วนร่วมที่เราทุกคนสามารถทำได้ จึงขอหนุนใจให้เรามีส่วนในการอธิษฐานเผื่อการเลือกตั้งในครั้งนี้ (2พศด.7:14,1ทธ.2:1-2)

2พงศาวดาร 7:14 ถ้าประชากรของเราผู้ซึ่งเขาเรียกกันโดยชื่อของเรานั้นจะถ่อมตัวลง และอธิษฐานและแสวงหาหน้าของเรา และหันเสียจากทางชั่วของเขา เราก็จะฟังจากสวรรค์ และจะให้อภัยแก่บาปของเขาและจะรักษาแผ่นดินของเขาให้หาย

ผมเชื่อว่าในปีนี้จะเป็นเวลาของประเทศไทยที่พระเจ้าจะอวยพระพรนำแผ่นดินของพระเจ้ามาสู่ประเทศไทย

เราจะเห็นการอวยพระพรครั้งใหญ่ หลังจากการเลือกตั้งครั้งนี้

คำอธิษฐานของเราจะมีผลในการเปลี่ยนแปลงประเทศนี้!

2.ระดับการการมีส่วนร่วม

พระเยซูกล่าวถึงผู้เชื่อว่า พระองค์ได้ตั้งให้เป็นดังเกลือและแสงสว่างของสังคม เพื่อให้เรามีส่วนยับยั้งความชั่วร้ายในสังคม และนำความสว่างไปยังที่ซึ่งมีความมืด (มธ.5:13-16) บางครั้งมาตรฐานทางศีลธรรมของสังคมตกต่ำลง เป็นเพราะคริสเตียนไม่ได้เอาใจใส่หรือท้วงติงมากพอ จึงเป็นความรับผิดชอบของคริสเตียนที่ควรมีส่วนส่งเสริมหรือสนับสนุนให้สถาบันต่างๆ ที่พระเจ้า ตั้งไว้ให้ทำหน้าที่ในการปกครองดูแลสมาชิกในสังคม ได้ทำหน้าที่ด้วยความสัตย์ซื่ออย่างที่ควรจะเป็น

การมีส่วนร่วมตามระบบประชาธิปไตย ที่รัฐธรรมนูธกำหนดไว้ ฉบับแก้ไขล่าสุด ปี 2011 มีบทบัญญัติที่รับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมือง ไว้หลายประการด้วยกัน เช่น (1) สิทธิการออกเสียงประชามติ /การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง(มาตรา 105)
(2) สิทธิการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น (มาตรา 287)
(3) สิทธิการเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (มาตรา 304)
(4) สิทธิการเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น (มาตรา 286)
(5) สิทธิการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (มาตรา 170)
(6) สิทธิการมีส่วนร่วมในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (มาตรา 59)


เนื่องจากการมีส่วนร่วมทางการเมืองทั้ง 6 ประการนี้ เป็นการออกแบบใหม่ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการปฏิรูปการเมืองให้เป็นการเมืองแบบ มีส่วนร่วม (participative politics) โดยนำหลักการถอดถอน(recall) หลักการริเริ่มเสนอแนะ (initiatives) หลักการประชาพิจารณ์ (public hearings) และหลักการแสดงประชามติ (referendum) มากำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ


ในวันที่ 3 ..นี้ เราสามารถมีส่วนในการเลือกตั้งเลือกผู้ที่มีคุณธรรม ปกครองบ้านเมือง


3.ระดับการการเข้าไปมีอิทธิพล


ในระดับนี้คือการเข้าไปมีส่วนเข้าไปพัฒนาสังคมที่เราอาศัยอยู่พระเจ้าปรารถนาให้คริสเตียนมีส่วนพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น พระเยซูคริสต์ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีเลิศ นอกจาก

พระองค์จะนำข่าวประเสริฐมายังมนุษย์แล้ว พระองค์ยังได้นำหลักการดำเนินชีวิตที่ทำให้คนได้พบสันติสุขที่แท้ และค่านิยมที่ทำให้คนประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนในการดำเนินชีวิต


พระองค์มิได้เพิกเฉยต่อปัญหาสังคมในท้องถิ่นที่พระองค์เติบโตมาและในพื้นที่ซึ่งพระองค์เสด็จไปทำพันธกิจ ตรงกันข้ามพระองค์ได้มุ่งแก้ไขปัญหาซึ่งเป็นเหมือนรากแก้วของปัญหาในชีวิตมนุษย์ นั่นคือ ความบาป (มก.2:5-6) นอกจากนั้น พระองค์ยังได้ช่วยเหลือในปัญหาหลายอย่างด้วย เช่น ความเจ็บป่วย (มก.5:22-29) ช่วยคนให้หลุดพ้นจากพันธนาการของผีร้าย (ลก.9:38-42) การนับถือศาสนาแต่เปลือกนอก (มธ.23:27-28) ขจัดการแบ่งชั้นวรรณะในสังคม (ยน.4:5-9) เป็นต้น

สังคมในปัจจุบันเต็มไปด้วยปัญหามากมายและมีความซับซ้อน คริสเตียนแต่ละคนควรมีส่วนเข้า

ไปช่วยเหลือพัฒนาสังคมให้อยู่ในสภาพที่ดีตามน้ำพระทัยพระเจ้า

ตัวอย่างเช่น โยเซฟเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสังคมในยุคสมัยของท่าน งานของท่านคือการ

ดูแลเรื่องปากท้องของประชาชน ท่านได้ทำงานนี้อย่างต่อเนื่อง งานที่ท่านทำยังช่วยชีวิตคนทั้งในและ

ต่างประเทศจำนวนมหาศาลให้รอดตายจากการกันดารอาหาร(ปฐก.41:48-49,54-57

การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนมิได้เกิดจากการทำแบบฉาบฉวย แต่เกิดจากการให้เวลาและทำด้วยความอุตสาหะพากเพียร การทำดีอาจจะได้ผลช้าแต่ยั่งยืน แม้เวลาผ่านไปคุณความดีก็ยังปรากฎอยู่

การที่คริสเตียนจะเป็นเกลือและแสงสว่างที่ช่วยพัฒนาสังคมได้อย่างมีประสิทธิผลนั้นจำเป็นต้องทำอย่าง

จริงจังและต่อเนื่อง เราต้องช่วยกันออกไปทำการดีของพระเจ้า การพัฒนาสังคมเป็นเรื่องส่วนรวมที่เราต้องเสียสละเวลาส่วนตัวเข้าไปมีส่วนร่วม ร่วมด้วยช่วยกันพัฒนา สิ่งที่ดีจะเกิดขึ้นได้

ในวันนี้เราที่เป็นเกลือของโลก อย่าเอาแต่เก็บตัวอยู่ในขวด แต่ต้องเขย่าเกลือออกจากขวดได้แล้ว!

มัทธิว 5:13-16
13 "ท่านทั้งหลายเป็นเกลือแห่งโลก ถ้าเกลือนั้นหมดรสเค็มไปแล้ว จะทำให้กลับเค็มอีกอย่างไรได้ แต่นั้นไปก็ไม่เป็นประโยชน์อะไร มีแต่จะทิ้งเสียสำหรับคนเหยียบย่ำ
14 "ท่านทั้งหลายเป็นความสว่างของโลก นครซึ่งอยู่บนภูเขาจะปิดบังไว้ไม่ได้
15 เมื่อจุดตะเกียงแล้วไม่มีผู้ใดเอาถังครอบไว้ ย่อมตั้งไว้บนเชิงตะเกียง จะได้ส่องสว่างแก่ทุกคนที่อยู่ในเรือนนั้น
16 ท่านทั้งหลายก็เหมือนกับตะเกียง จงส่องสว่างแก่คนทั้งปวง เพื่อว่าเมื่อเขาได้เห็นความดีที่ท่านทำ เขาจะได้สรรเสริญพระบิดาของท่าน ผู้ทรงอยู่ในสวรรค์

(ลงข่าวคริสตชน วันที่ 28 มิ.ย.2011),(ลงในweb.คริสตจักรวังธรรม จ.เชียงราย)

02 มิถุนายน 2554

การเคลื่อนคริสตจักรไปสู่ยุคต้นแบบ

ขอบคุณพระเจ้าสำหรับคริสตจักรแห่งพระบัญชา ในขวบ 1 ปีที่ผ่านมา เราเหมือนเป็นบ้านที่กำลังถูกสร้างให้สวยงามตามแบบแปลนของพระเจ้า ที่พระเจ้าได้ทรงบัญชาให้มีคริสตจักรนี้และพระเจ้าก็ทรงขับเคลื่อนไปตามพระ บัญชาของพระองค์ การทำตามพระบัญชาของพระเจ้าจึงเป็นเป้าประสงค์และทิศทางของคริสตจักรของเรา

แม้ว่าบ้านนี้จะมีสิ่งที่ยังไม่สวยงามเพราะมีสิ่งที่ระเกะระกะ ที่ต้องเก็บกวาดและขณะเดียวกันก็ต้องก่อร่างสร้างบ้าน บ้านที่ยังไม่เสร็จ คงมีหลายเรื่องที่ต้องติ เพราะบ้านยังสร้างไม่เสร็จ

ผมเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในบ้านหลังนี้ และเฝ้ามองดูสิ่งที่พระเจ้าทำ และพระองค์ตรัสให้มีส่วนร่วมในการสร้างบ้านนี้ เราสามารถช่วยกันสร้างบ้านได้จะทำให้บ้านเสร็จเร็วขึ้น พระเจ้ากำลังก่อร่างสร้างบ้านนี้ตามแบบของพระองค์

เราจึงต้องเคลื่อนไปตามรูปแบบวิธีการของพระเจ้า ดังที่พระเจ้าออกแบบพลับพลาและพระวิหารในสมัยพระคัมภีร์เดิม สิ่งเหล่านั้นเป็นต้นแบบของการสร้างคริสตจักรในปัจจุบัน

หากจะแบ่งช่วงการก่อร่างสร้างชีวิตในฝ่ายวิญญาณของคริสตจักรของเรา ผมขอแบ่งเป็น 3 ยุค ดงนี้คือ

1.ยุคเลียนแบบ เป็นช่วงยุคเริ่มต้นที่เราลองผิดลองถูก อ.นิมิต ศบ.ของเราได้มีส่วนไปเชื่อมพระกายและเชิญผู้ที่มีความชำนาญในด้านต่างๆ มาช่วยในการวางรากฐานคริสตจักรในช่วงแรก โดยเราได้เริ่มเลียนแบบจากคริสตจักรต่างๆ ที่เราได้เรียนรู้ การเลียนแบบไม่ใช่สิ่งที่ผิดในตัวเอง

สิ่งที่สำคัญคือเราเลียนแบบใคร สิ่งที่เลียนแบบนั้นผิดหรือไม่

อัครทูตเปาโลยังหนุนใจคริสตจักรต่างๆให้เลียนแบบชีวิตของท่านเหมือนที่ท่าน เลียนแบบพระคริสต์(1คร.11:1) เด็กๆมักจะเลียนแบบพ่อแม่หรือผู้ที่เป็นต้นแบบของเขาเสมอ คริสตจักรของเราก็เช่นเดียวกัน เราเริ่มซึมซับคำสอนการวางรากฐานและเลียนแบบรูปแบบคริสตจักรต่างๆเช่น การทำนิเวศอธิษฐาน การปลดปล่อยเยียวยาภายใน(Inner Healing) การเคลื่อนตามการฟังเสียงพระเจ้าและการเปิดเผยสำแดง(Revelation)หรือการ เคลื่อนในการรับใช้แบบถุงน้ำองุ่นใหม่ เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้เป็นการเปิดมุมมองใหม่จากเดิม ที่จะเลือก Model ที่จะเลียนแบบ

สิ่งที่สำคัญมากกว่านั้นคือ การเลียนแบบอาจจะส่งผลต่ออัตลักษณ์(Identity) เราไม่เป็นเหมือนใคร เพราะเราเป็นผู้ที่พระเจ้าทรงเป็นผู้กำหดไว้ตามเป้าประสงค์ลิขิต(Destiny)ใน ชีวิตของเรา เราจึงได้เริ่มเข้าสู่ยุคต่อไปคือ

2.ยุคออกแบบ พระเจ้าทรงกำหนดอัตลักษณ์ให้กับเรา ตามเป้าประสงค์ของพระองค์ ผมเชื่อว่าเราอยู่ในยุคนี้ในปัจจุบัน ที่พระเจ้ากำลังเริ่มวางเราในตำแหน่างที่เหมาะสม(Alignment)กับกองกำลังของ พระเจ้า ที่เราจะต้องจัดทัพขับเคลื่อนไปตามเสียงของพระองค์ เราจึงต้องมีค่านิยมหลัก(Core value)

ในการขับเคลื่อนคริสตจักร ต้องมีโครงสร้างในฝ่ายวิญญาณ เราจึงเริ่มก่อตั้งโรงเรียนอิสสาคาร์เพื่อรู้กาลเวลาของพระเจ้าเพื่อเคลื่อน ตามการทรงนำในพระสิริของพระเจ้าดุจเสา เมฆและเสาเพลิงที่นำชนชาติอิสราเอล

ในช่วงนี้เราจึงต้องค้นหาและอธิษฐานต่อพระเจ้าว่าเราเป็นใครในพระองค์ เราปรารถนาที่เราจะเคลื่อนไปตามการทรงนำของพระองค์และพระเจ้าจะทรงออกแบบคริ สตจักรของเราตามพระบัญชาของพระองค์ เพื่อสำแดงอาณาจักรของพระองค์ นำแผ่นดินสวรค์มาตั้งอยู่บนโลกนี้(มธ.6:10)

พระเยซูคริสต์จึงต้นแบบในการรับใช้ของคริสตจักรของเราและเป็นศิลามุมเอกในการสร้างคริสตจักรของพระเจ้า(อฟ.2:20-21) ดังนั้นเป้าหมายของคริสตจักรของเราคือการสร้างคริสตจักรตามอาณาจักรของพระ เจ้า เราไม่ต้องการสร้างคริสตจักรเล็กในคริสตจักรใหญ่ สร้างอาณาจักรของเราในอาณาจักรของพระเจ้า แต่พระเจ้าจะให้เราเคลื่อนไปสู่ยุคที่ 3 คือ

3.ยุคต้นแบบ การเป็นต้นแบบ(Prototype)ของอาณาจักร ของพระเจ้าในโลกนี้ เพื่อให้คริสตจักรต่างๆได้รับพระพรเพื่อเสริมสร้างพระกายให้ไปสู่ความ ไพบูลย์(อฟ.4:11-13)คือการรับใช้ตามของประทานพระคริสต์(Fivefold ministry) นั่นเป็นสิ่งที่เราต้องเคลื่อนไปด้วยกัน

ผมจึงขอหนุนใจในฐานะที่เราเป็นคริสตสมาชิกคริสตจักรแห่งนี้ ช่วงเวลาในยุคนี้เป็นยุคแห่งประวัติศาสตร์สำคัญของประเทศไทย

ผมไม่อยากเห็นบทเรียนจากประวัติศาสตร์คริสตจักรในประเทศไทยที่ผ่านมาในอดีต กว่า 200 ปีที่ข่าวประเสริฐเข้ามาในประเทศ แต่มีคริสเตียนเพียงแค่ไม่ถึง 1% ของจำนวนประชากร 67 ล้านคน และคริสตจักรต่างๆไม่ค่อยเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการร่วมกันรับใช้ แต่ในปี 2011 นี้ผมได้มองเห็นหมายสำคัญที่เกิดขึ้นว่าพระเจ้าจะทรงฟื้นฟูประเทศไทย และคริสตจักรต่างๆเกิดการร่วมมือกันในการรับใช้มากขึ้น

ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า "เราเป็นอย่างไร?" ปัจจุบันเราต้องเรียนรู้ว่า "เราเป็นใครในพระคริสต์?" และอนาคตทำให้เราได้เรียนรู้ว่า "เราจะไปไหนและทำสิ่งใดเพื่อพระองค์?"

เราจะมาร่วมกันเขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ และร่วมรับใช้ตามพระมหาบัญชาของพระองค์(มธ.28:18-20) จนกว่าจะสิ้นยุค...

หลัก 4ป.ข้อคิดก่อนไปร่วมสัมมนา

ในช่วงที่ผ่านมานั้น เป็นเดือนแห่งการฟื้นฟูในประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะมีผู้รับใช้พระเจ้าระดับโลกได้เดินทางมาเยี่ยมคริสตจักรต่างๆและเป็น วิทยากรในงานสัมมนาต่างๆ

ผมได้ไปร่วมงานสัมมนาหลายงานด้วยกัน สำหรับผมมีหลักการในการพิจารณาในการไปเรียนพระคัมภีร์หรือการเข้าร่วมประชุม สัมมนาต่างๆ คือ หลักการ 4ป. นั่นคือต้องพิจารณาถึง

1.เป้าหมาย -เป้าหมายเป็นสิ่งแรกที่เราต้องมาพิจารณาว่า เรามีเป้าหมายการไปสัมมนาเพื่ออะไร เราต้องตอบตัวของเราเองให้ได้ว่า "ไปเพื่ออะไร?" และหลังจากการไปร่วมสัมมนา "เรามีเป้าหมายจะทำอะไรต่อไป?" การไปเรียนพระคัมภีร์หรือการไปร่วมสัมมนา

เป้าหมายคงไม่ได้มุ่งหวังเพียงแค่กระดาษใบประกาศเกียรติคุณ (Certificate)แต่ต้องมีเป้าหมายมากกว่าการเรียนไปเพื่ออัตตาแค่ประโยชน์ส่วนตัว แต่ต้องมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ส่วนรวมต่ออาณาจักรพระเจ้า นี่คือเป้าหมายที่เราต้องวางไว้ก่อนที่เราตัดสินใจไปร่วมสัมมนา

2.ปฏิสัมพันธ์ -การปฏิสัมพันธ์เป็นสิ่งที่สำคัญ เราไม่ได้จะไปสัมมนาแล้วไม่สนใจใคร แต่สำหรับผมแล้วถือว่าเป็นโอกาสที่ดีจะได้ไปเจอเพื่อนๆต่างคริสตจักร เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและได้สอบถามสาระทุกข์สุกดิบต่างๆ สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆพี่น้องคริสตจักรต่างจะเป็นเครือข่ายฝ่าย วิญญาณที่เชื่อมโยงกัน หากมีสิ่งใดที่ดีสามารถแบ่งปันกันและกัน ทำให้ไม่ต้องทำอะไรเริ่มต้นจากศูนย์แต่สามารถเรียนรู้และต่อยอดกันได้

3.ประยุกต์ใช้
- การประยุกต์ใช้เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งเพราะบางครั้งวิทยากรเป็นคนต่างประเทศ หลักการที่ท่านสอนบางอย่าง มีความแตกต่างในเรื่องบริบทท้องถิ่นและวัฒนธรรม เราต้องนำมาปรับประยุกต์ให้เหมาะสม ไม่ได้รับมาทั้งหมดแต่ต้องประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม หรือบางครั้งเรานำรูปแบบวิธีการของวิทยากรท่านนั้นมาใช้ในคริสตจักรของเรา แต่ไม่เข้าใจหลักการ โดยเลียนแบบแต่วิธีการ อาจจะส่งผลกระทบต่อคริสตจักรได้หากไม่ได้มีการกลั่นกรองและนำมาประยุกต์อย่างเหมาะสม
เราควรนำข้อคิดจากการสัมมนาต่างๆ มาพูดคุยกันต่อหรือนำมาปรึกษาผู้นำของเราก็จะทำให้เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ ได้ หลายหัวคิดดีกว่าคิดคนเดียว


4.เปลี่ยนแปลงชีวิต
- การเปลี่ยนแปลงชีวิตเป็นสิ่งที่สำคัญของผมเช่นกัน เพราะผมไม่ต้องการเป็นพวกฟาริสีหรือธรรมาจารย์ที่มีความรู้จากการศึกษา เข้าสัมมนาต่างๆ แล้วมีวิญญาณศาสนา ชอบตัดสินผู้อื่น เพราะความรู้ทำให้ลำพอง แต่ความรักทำให้ถ่อมใจ เราต้องกลับมาย้อนมาดูที่ตนเองว่ามีสิ่งใดที่พระเจ้าทรงตรัสผ่านและมีสิ่งใด บ้างที่พระเจ้าต้องการเปลี่ยนแปลงชีวิตของเรา

ขอพระเจ้าอวยพระพรครับ

ปัทมโรจน์

(ลงข่าวคริสตชน วันที่ 2 มิ.ย.2011),(ลง web.cbnsiam.com)