(ผู้อ่านทุกท่านสามารถกลับไปอ่านบทความได้ตามที่ link ไว้ให้ในนะครับ
ตอนที่ 1 อยู่ในโลกแต่ไม่ได้เป็นของโลก และ ตอนที่ 2 อยู่ในโลกเพื่อเป็นพรต่อโลกครับ)
บทความเรื่อง ชีวิตที่ส่งอิทธิพลดีไปสู่สังคม ในครั้งนี้ขอนำเรื่องราวจากพระธรรมเอสเธอร์ โดยเราจะเรียนรู้ที่จะ “อยู่ในโลกเพื่อมีชัยต่อโลก” จากชีวิตของรราชินีเอสเธอร์
"เอสเธอร์" หรือชื่อเดิมคือ "ฮาดาชาห์" เป็นลูกหลานชาวยิวที่ถูกจับไปเป็นเชลยตั้งแต่รุ่นสมัยบาบิโลน จนกระทั่งมาถึงยุคกษัตริย์อาหสุเอรัสซึ่งเป็นกษัตริย์ของเปอร์เซีย เอสเธอร์เป็นผู้หญิงชาวยิวที่ไม่มีใครรู้จัก เป็นลูกกำพร้าเพราะพ่อแม่เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก ดังนั้นโมรเดคัยจึงรับอุปการะเอสเธอร์
จากสตรีชาวยิวที่ตกเป็นเชลย แต่พระเจ้าได้เลือกเอสเธอร์มาเป็นราชินีของกษัตริย์เปอร์เซียที่เรืองอำนาจ เพื่อจะช่วยเหลือชนชาติยิวที่ถูกปองร้ายจากศัตรู คือ ฮามาน พระนางเอสเธอร์ยืนหยัดและดำเนินชีวิตอยู่บนหลักการที่ถูกต้อง ดังต่อไปนี้
1.ยึดมั่นในหลักสิทธิอำนาจที่แท้จริง (อสธ. 2:5-7)
5 ยังมียิวคนหนึ่งในสุสาเมืองป้อมชื่อ โมรเดคัย บุตรยาอีร์ ผู้เป็นบุตรชิเมอี ผู้เป็นบุตรคีช คนเบนยามิน
6 ผู้ถูกกวาดต้อนจากเยรูซาเล็มในหมู่เชลยที่ถูกกวาดต้อนไปพร้อมกับเยโคนิยาห์พระราชาของยูดาห์ ผู้ซึ่งเนบูคัดเนสซาร์พระราชาของบาบิโลนได้กวาดต้อนไปนั้น
7 ท่านได้เลี้ยงดู ฮาดาชาห์คือ เอสเธอร์ บุตรสาวลุงของท่าน เพราะเธอไม่มีพ่อแม่ สาวคนนี้รูปงามและน่าดู เมื่อบิดามารดาของเธอสิ้นชีวิตแล้ว โมรเดคัยก็รับเธอมาเลี้ยงเป็นบุตรี
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อทรราชตัวร้ายที่ชื่อว่า "ฮามาน" ต้องการอยากให้คนกราบหรือเคารพเพราะเห็นว่าเขาเป็นบุคคลที่สำคัญมาก แต่โมรเดคัย ซึ่งเป็นคนที่เคร่งครัดในหลักของพระเจ้า ยึดมั่นในความจริงและความชอบธรรม ฉะนั้นกฎหมายที่กำหนดไม่สามารถมาล้มล้างกฎเกณฑ์ของพระเจ้าได้ เขาจึงไม่แสดงความเคารพ และบอกเหตุผลที่ชัดเจนมากคือ เขาเป็นยิว ทำให้ฮามานโกรธและต้องการจะกำจัดคนยิวให้ตาย ฉะนั้นเป็นไปได้ว่าท่าทีแบบนี้จะถ่ายทอดไปสู่พระนางเอสเธอร์ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าเอสเธอร์มียึดมั่นในหลักการพระเจ้า (2:20) พระนางเอสเธอร์เข้าใจเรื่องนี้ดี และเชื่อฟังสิทธิอำนาจ สิ่งนี้จึงเป็นลักษณะชีวิตที่ทำให้พระนางเอสเธอร์สามารถขึ้นสูง ไม่สามารถต่ำลงได้เลย(ฮบ.13:17)
โมรเดคัยทำหน้าที่เป็น "ป๋าดัน" ดันเอสเธอร์เข้าสู่วงการนางงาม ให้หญิงในวังแต่งตัวและเสริมความงาม จนเป็นที่พอพระทัยต่อกษัตริย์อาหสุเอรัส และพระองค์ทรงยกให้เป็นราชินี
ในกรณีนี้ผมไม่ได้ส่งเสริมว่าหากเราจะต้องการเป็นใหญ่มีตำแหน่งสูง เราต้องเอาตัวเข้าแลก โดยเฉพาะหญิงสาว แต่ในกรณีนี้เอสเธอร์ยินดีเสียสละทำเพื่อประเทศชาติของตน
8 เมื่อรับสั่งของพระราชา และกฤษฎีกาของพระองค์ประกาศออกไป และเมื่อเขารวบรวมหญิงสาวทั้งหลายเข้ามาในสุสาเมืองป้อม เอสเธอร์ก็ถูกนำเข้ามาไว้ในราชสำนัก อยู่ในอารักขาของเฮกัยผู้ดูแลสตรี
9 หญิงนั้นเป็นที่พอใจเขาและเธอก็เป็นที่โปรดปรานแก่เขา เขาจึงรีบจัดหาเครื่องประเทืองผิว และส่วนอาหารของเธอให้เธอ พร้อมกับสาวใช้ที่คัดเลือกแล้วเจ็ดคนจากราชสำนัก แล้วก็เลื่อนเธอและสาวใช้ของเธอขึ้นไปยังสถานที่ที่ดีที่สุดในฮาเร็ม
10 เอสเธอร์มิได้บอกให้ทราบถึงชาติและญาติของเธอ เพราะโมรเดคัยกำชับเธอไม่ให้ใครรู้...
15 เมื่อถึงเวรของเอสเธอร์ บุตรสาวของอาบีฮาอิล ลุงของโมรเดคัยผู้ซึ่งรับเธอไว้เป็นบุตรีจะเข้าเฝ้าพระราชา เธอมิได้ขอสิ่งใด นอกจากสิ่งที่เฮกัยขันทีของพระราชาผู้ดูแลผู้หญิงแนะนำ ฝ่ายเอสเธอร์เป็นที่ถูกตาทุกคนที่เห็นเธอ
พระนางเอสเธอร์เป็นที่ถูกตาทุกคน แต่เธอไม่อาจหลงในค่านิยมเหล่านี้ คือ โหยหาความสนใจ โหยหาความรัก โหยหาคำชม ขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มองจุดด้อยของคนอื่น รู้สึกว่าตัวเองนั้นมีค่ามากเกิดกว่าที่ใครจะมาคู่ควร แต่พระนางเอสเธอร์ไม่มีอาการที่แสดงให้เห็นถึงการหลงรักรูปลักษณ์ตัวเองเลย เราต้องเข้าใจวิธีคิดแบบพระเจ้า คือไม่ได้มองที่รูปลักษณ์ภายนอกแต่พิจารณาที่ท่าทีภายในจิตใจมากกว่าสิ่งอื่น (1 ซมอ.16:7)
3.ไม่ยึดติดกับตำแหน่งที่ได้รับจากโลก
ในช่วงเริ่มแรกพระนางเอสเธอร์ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข แต่ต่อมาฮามานต้องการให้คนแสดงความเคารพโดยการกราบ (เหมือนการกราบไหว้รูปเคารพ) แต่โมรเดคัยไม่ได้แสดงความเคารพทำให้ฮามานเดือดดาลโมรเดคัยมาก ต้องการกำจัดคนยิวทั้งหมด เมื่อโมรเดคัยรู้ข่าวที่จะกำจัดชนชาติยิวทั้งหมด สิ่งที่โมรเดคัยทำก็คือฉีกเสื้อของตนออก และสวมเสื้อกระสอบแทน และเอาขี้เถ้าโรยที่ศีรษะ และไปนั่งอยู่ที่ทางเข้าประตูของพระราชา เรียกว่าเป็น "การอดอาหารแบบอารยะขัดขืน (Civil Disobedience )" ซึ่งใครก็ตามที่สวมเสื้อกระสอบจะไม่สามารถไปนั่งอยู่ที่ทางเข้าพระราชาได้ จนกระทั่งขันทีเห็นจึงนำเรื่องราวไปบอกพระนางเอสเธอร์
(อสธ.4:13-14)
13 โมรเดคัยจึงบอกเขาให้กลับไปทูลตอบพระนางเอสเธอร์ว่า "อย่าคิดว่าเธออยู่ในราชสำนักจะรอดพ้นได้ดีกว่าพวกยิวอื่นๆ
14 เพราะถ้าเธอเงียบอยู่ในเวลานี้ ความช่วยเหลือและการช่วยกู้จะมาถึงพวกยิวจากที่อื่น แต่เธอและครัวเรือนบิดาของเธอจะพินาศ ที่จริงเธอมารับตำแหน่งราชินีก็เพื่อยามวิกฤตเช่นนี้ก็เป็นได้นะ ใครจะรู้"
15 แล้วเอสเธอร์ตรัสบอกเขาให้ไปบอกโมรเดคัยว่า
16 "ไปเถิด ให้รวบรวมพวกยิวทั้งสิ้นที่หาพบในสุสา และถืออดอาหารเพื่อฉัน อย่ารับประทาน อย่าดื่มสามวันกลางคืนหรือกลางวัน ฉันและสาวใช้ของฉันจะอดอาหารอย่างท่านด้วย แล้วฉันจะเข้าเฝ้าพระราชาแม้ว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ถ้าฉันพินาศ ฉันก็พินาศ"
พระนางเอสเธอร์จึงให้คนไปตอบโมรเดคัย
(4:16-17) พระนางเอสเธอร์ตอบสนองทันที
ไม่ได้ต่อรอง และรับไว้ด้วยใจนอบน้อม ยอมให้ตำแหน่งที่มีเป็นผลในการช่วยกู้คนยิว
ข้อคิดจากชีวิตของเอสเธอร์ นั้นคือ หลายครั้งตำแหน่งของเราจะมีโอกาสเป็นพรโดยไม่รู้ตัว ให้เราไวในการฟังเสียงพระเจ้า
ตำแหน่งของเราอาจจะเป็นพรยิ่งใหญ่ต่อคนมากมาย ตำแหน่งที่เราอยู่ในวันนี้พรุ่งนี้อาจจะมีคนมาทำแทนเราก็ได้
แต่ตำแหน่งที่แท้จริงของเราคือ
เราเป็นลูกพระเจ้า และบทบาทนี้ไม่มีใครทำแทนเราได้
เราเป็นคนสำคัญต่อพระพักตร์พระเจ้า วันหนึ่งเราก็จากโลกนี้ไป
ให้เรารู้ว่าอะไรคือบทบาทแท้จริงที่เราควรให้ความสำคัญ
4.พึ่งพาพระเจ้าเพื่อประทานชัยชนะ (อสธ.4:16-17)
พระนางไม่ได้ขอให้คนอื่นอธิษฐานเผื่อพระนางเท่านั้น
แต่ยินดีร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาด้วย
เพราะพระนางมีความเชื่อว่าการพึ่งพาพระเจ้าคือคำตอบ
พระนางไม่ได้คิดแบบมนุษย์ทั่วไปที่จะใช้วิธีการแบบมนุษย์ในการแก้ปัญหา และเมื่อพระนางให้เกียรติพระเจ้า
พระเจ้าทรงให้เกียรติเธอ
ข้อคิดที่ได้รับคือ เมื่อชีวิตของเราให้เกียรติพระเจ้า พระเจ้าจะให้เกียรติเรา เมื่อเราพึ่งพาพระเจ้าพระเจ้าจะอวยพรเรา สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เราเห็นถึงท่าทีพึ่งพาพระเจ้าอย่างแท้จริง เมื่อพระนางเอสเธอร์เข้าไปหาพระราชาจึงบอกและเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ที่ฮามานใส่ร้ายคนยิวให้พระองค์ฟัง เมื่อพระองค์ทรงทราบว่าฮามานทรงใส่ร้ายคนยิว พระราชาทรงเดือดดาลฮามานเป็นอย่างมาก เหตุการณ์จึงพลิกกลับทันทีจากที่คนยิวจะต้องตายกลายเป็นฮามานต้องตายแทน เมื่อเขาทำตะแลงแกรงไว้ เพราะกะว่าตะแลงแกรงนี้จะใส่โมรเดคัยที่เขาไม่ชอบหน้า กลายเป็นตัวเขาเองจะต้องถูกแขวนแทน (อสธ.10:3)
นี่คือตัวอย่างจากชีวิตจริงของผู้ที่อยู่ในโลกและมีชัยต่อโลกเหนือคนอธรรม
ตามธรรมเนียมของยิวจะมีการเฉลิมฉลองเทศกาล "ปูริม"(Purim) ในเดือนอาดาร์ เดือนอาดาร์ (Adar - אֲדָר) เป็นเดือนที่ 12
ตามปฎิทินยิวแบบราชการ เดือนที่ตามปฏิทินยิวแบบศาสนา(Ecclesiastical Calendar)
เดือนที่ 6 ตามปฎิทินยิวแบบราชการ(Civil Calendar) ในปี 2014 เป็นปีพิเศษ
ปีอธิกสุรทิน (leap year) จะมีเดือนอาดาร์ 2 เดือน
(เดือนอาดาร์ที่
1 หรือ อาดาร์ อาเลฟ (Adar א) มี 30 วัน ช่วง วันที่ 1 ก.พ.- 2
มี.ค.2014)
(เดือนอาดาร์ที่
2 หรือ อาดาร์ เบท (Adar ב) มี 29 วัน ช่วง วันที่ 3 มี.ค.-
31มี.ค.2014)
สาเหตุที่มีเดือนอาดาร์
2 หนในปีที่เป็นปีอธิกสุรทิน
(leap year)
ทั้งนี้เพราะปฏิทินฮีบรูเป็นการนับปฏิทินสุริยจันทรคติ จะมีการนับเดือนจันทรคติที่
13 โดยการเพิ่ม 7ครั้ง ในทุก19ปีเข้าไปในเดือนจันทรคติ 12 เดือนในปีปกติสุรทินเพื่อให้ปีปฏิทินไม่คาดเคลื่อนจากฤดูกาลเร็วเกินไป
ใน ปี 2014 ช่วงวันที่ 15-16 มี.ค. ประเทศอิสราเอลมีการเฉลิมฉลองเทศกาล "ปูริม"(Purim) ต้นกำเนิดของเทศกาลปูริมอยู่ในหนังสือ เอสเธอร์ เป็นการฉลองที่น่าตื่นเต้นระลึกถึงสมัยพระราชาอาหสุเอรัสแห่งเปอร์เชียร์ที่ เอสเธอร์กับโมรเดคัยลูกพี่ลูกน้องของเธอช่วยชาวยิวให้รอดพ้นจากการถูกฆ่า ล้างเผ่าพันธุ์
(คำว่า "ปุริม" มาจากภาษาฮีบรู แปลว่า "สลาก") เป็นการอ้างอิงถึงการทอดสลากของฮามาน เพื่อหาวันที่จะฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวผู้ใหญ่และเด็ก มักจะแต่งตัวสวยงาม และมีการละเล่นพื้นเมืองต่างๆที่เรียกกันว่า "ปูริมสปีล"และมีคุกกี้ชนิดพิเศษที่เรียกกันว่า "ฮามานตาชิน" (อสธ.3:7;9:24-26)
เอสเธอร์ 3:7 ในเดือนแรกซึ่งเป็นเดือนนิสานปีที่สิบสองแห่งรัชกาลกษัตริย์อาหสุเอรัส เขาพากันทอดเปอร์ คือสลาก ต่อหน้าฮามานเพื่อหาวัน และเขาทอดเปอร์เพื่อหาเดือน ได้วันที่สิบสามและเดือนที่สิบสอง คือเป็นเดือนอาดาร์
"ปูริมสปีล"และ "ฮามานตาชิน" |
เอสเธอร์ 9:24-26 24 เพราะฮามานบุตรฮัมเมดาธาคนอากัก ศัตรูของพวกยิวทั้งปวง ได้ปองร้ายต่อพวกยิวเพื่อทำลายเขาได้ทอดเปอร์ คือสลาก เพื่อล้างผลาญและทำลายเขา...
26 เพราะฉะนั้นเขาจึงเรียกวันเหล่านี้ว่า ปูริม ตามคำเปอร์ ดังนั้น เพราะทุกอย่างที่เขียนไว้ในจดหมายนี้ และเพราะสิ่งที่พวกยิวต้องเผชิญในเรื่องนี้และสิ่งที่อุบัติแก่เขา
ทุกครั้งที่มีการเฉลิมฉลองเทศกาล "ปูริม"(Purim)คนยิวจะได้ระลึกถึงชีวิตของโมรเดคัยและราชินีเอสเธอร์ที่เป็นผู้ที่มีชีวิตที่ส่งอิทธิพลดีไปสู่สังคม โดย“อยู่ในโลกเพื่อมีชัยต่อโลก”
ขอพระเจ้าอวยพระพรครับ