29 กันยายน 2560

ทำความรู้จัก ของประทานการต้อนรับแขก

บทความเรื่อง "ทำความรู้จัก ของประทานการต้อนรับแขก" โดย Philip Kavilar

ใน (1 เปโตร 4:9-10) ได้บอกเป็นนัยว่า การต้อนรับแขก นับเป็นของประทานอย่างหนึ่ง ในหนังสือ Your Spiritual Gifts Can Help Your Church Grow (ของประทานของคุณช่วยให้คริสตจักรของคุณเพิ่มพูนได้) ของ ปีเตอร์ แวกเนอร์ ได้นิยามของประทานการต้อนรับแขกไว้ว่า

“ของประทานการต้อนรับแขกเป็นความสามารถพิเศษที่พระเจ้าประทานให้กับบางคนในพระกายของพระคริสต์ ที่จะเปิดบ้านและต้อนรับผู้คนอย่างอบอุ่น ทั้งยังตอบสนองแขกในเรื่องของอาหารและที่พักด้วย”

การต้อนรับแขกเป็นของประทาน

            โดยทั่วไปแล้ว คนเรามักจะรู้สึกตะขิดตะขวงใจและไม่ค่อยสบายใจนักเมื่อมีแขกมาอยู่ที่บ้าน คนทั่วไป เมื่อมีแขกมาอยู่ที่บ้าน ก็มักจะรู้สึกอึดอัดใจและไม่เป็นตัวของตัวเอง ทว่า บนโลกนี้ มีคนจำพวกหนึ่ง ที่ว่า แม้มีแขกมาอยู่ที่บ้าน เขาก็สามารถเป็นตัวของตัวเองได้ และไม่รู้สึกอึดอัดใจเมื่อมีแขกอยู่ที่บ้าน นอกจากนี้เขายังรู้สึกปิติเมื่อมีแขกมาอยู่ที่บ้านด้วยซ้ำ แถมเขายังชื่นชอบที่จะปรนนิบัติและตอบสนองแขกในเรื่องที่พักและอาหารอีกด้วย คนประเภทนี้แหละ คือคนที่มีของประทานการต้อนรับแขก

            โดยปกติ ถ้ามีมิชชันนารีจากต่างประเทศมาทำพันธกิจ คนที่มีของประทานการต้อนรับแขกมักจะยินดีในการจัดเตรียมที่พักและปรนนิบัติมิชชันนารี คนที่มีของประทานการต้อนรับแขก จะมีความสุขและเป็นธรรมชาติในการปรนนิบัติแขก

(โรม 12:13) จง​เห็น​อก​เห็น​ใจ​ช่วย​ธรร​มิก​ชน​เมื่อ​เขา​ขัด​สน จง​อุต​ส่าห์​ต้อน​รับ​แขก​แปลก​หน้า
(ฮีบรู 13:2) อย่า​ละ​เลย​ที่​จะ​ต้อน​รับ​แขก​แปลก​หน้า เพราะ​ว่า​โดย​การ​ทำ​เช่น​นั้น บาง​คน​ก็​ได้​ต้อน​รับ​ทูต​สวรรค์​โดย​ไม่​รู้​ตัว
(3 ยอห์น 1:5) ท่าน​ที่​รัก เมื่อ​ท่าน​ทำ​สิ่ง​ใด​ให้​พี่​น้อง โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​ให้​แก่​แขก​แปลก​หน้า ก็​เป็น​การ​แสดง​ความ​ซื่อ​สัตย์​ของ​ท่าน

            การต้อนรับแขกนับเป็นคำสอนอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญในพระคัมภีร์ ตาม (1 ทิโมธี) และ (ทิตัส) เปาโลก็ได้เสนอว่า ผู้ที่จะมาเป็นผู้ปกครองควรมีอัธยาศัยต้อนรับแขก

โบสถ์บางโบสถ์ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ด้านหนึ่งก็เป็นเพราะการต้อนรับแขกที่ดี แม้ว่าโบสถ์จะมีคำสอนที่ยอดเยี่ยม แม้ว่าโบสถ์จะมีการสำแดงฤทธิ์เดชที่อัศจรรย์ยิ่ง แต่ถ้าโบสถ์รับรองแขกไม่ดี การเติบโตของโบสถ์ก็อาจขัดข้อง ในทางตรงกันข้าม แม้คำสอนของโบสถ์อาจจะไม่ดีนัก แม้ว่าโบสถ์อาจไม่สำแดงฤทธิ์เดชที่อัศจรรย์ แต่ถ้าโบสถ์ต้อนรับแขกดี การเติบโตของโบสถ์ก็เป็นไปได้ การต้อนรับแขกที่ดี เป็นเหตุให้ผู้ที่มาโบสถ์ครั้งแรกรู้สึกประทับใจ และอยากจะมาอีก หากโบสถ์สามารถสร้างความรู้สึกที่อยากจะมาอีกให้กับแขก การเติบโตของโบสถ์ก็อยู่ไม่ไกล

การเติบโตของลัทธิเทียมเท็จ

        ลัทธิเทียมเท็จบางลัทธิ แม้ว่าจะถูกตราหน้าจากคริสเตียนทั่วไปว่าสอนผิด แต่โบสถ์ของลัทธิเทียมเท็จบางลัทธิก็เติบโตอย่างรวดเร็ว บางลัทธิก็เติบโตเร็วกว่าคริสเตียนทั่วๆไปเสียอีก เหตุหนึ่งที่ลัทธิเทียมเท็จเหล่านั้นเติบโตอย่างรวดเร็ว ก็เป็นเพราะการต้อนรับแขกที่ดี การสร้างความประทับใจให้กับแขกจนเขารู้สึกอยากจะมาอีก นับเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้โบสถ์เติบโตอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นในศาสนาไหน นิกายไหน หรือคณะไหน

         บางที หากเราต้องการให้โบสถ์เติบโต เราอาจต้องหยุดจากความผยองที่คิดว่า “โบสถ์ฉันเทศน์ดี โบสถ์ฉันมีฤทธิ์เดชเข้มข้น ดังนั้น คนมากมายต้องเข้ามาที่โบสถ์ฉันแน่นอน” 

จากสถิติของลัทธิเทียมเท็จ ด้านหนึ่งก็ชี้ให้เห็นว่า ถ้าต้อนรับแขกดี การเติบโตของโบสถ์ก็สามารถเกิดขึ้นได้ แม้ว่าโบสถ์จะไม่มีฤทธิ์เดชที่เข้มข้นหรือสอนผิดก็ตาม

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
หนังสือ Your Spiritual Gifts Can Help Your Church Grow ของ C. Peter Wagner

28 กันยายน 2560

4 สัญลักษณ์แห่งสัญญารักในเทศกาลของพระยาห์เวห์ ปี 5778

เมื่อเราเข้าสู่เดือนทิชรี (Tishri) ปี 5778 (ปี 2017 ช่วงวันที่ 21 ..-20 ..) ถือเป็นการเข้าสู่ช่วงเทศกาลการนัดหมายของพระยาห์เวห์ เนื่องจากเดือนนี้มีเทศกาลสำคัญถึง 3 เทศกาลด้วยกัน (ลนต.23:24-40) นั่นคือ

1. เทศกาลเป่าแตรเขาสัตว์ (Rosh Hashanah-โรช ฮาชชะนาห์) เริ่มช่วงเย็นวันที่ 20 กันยายน 2017 เพื่อปลุกเราให้ตื่นขึ้นสู่ความดีของพระเจ้า

2. เทศกาลลบมลทินบาป (Yom Kippur-ยม คิปปูร์) วันที่ 30 กันยายน 2017 (วันที่ 10 เดือนทิชรี) ในช่วงระหว่างวันที่ 21-30 กันยายน 2017
ช่วงเวลา 10 วันแห่งความยำเกรงพระเจ้า(Days of Awe) เป็นเวลาที่จะหันชีวิตออกจากวิถีแห่งความบาป และหันกลับมาหาพระเจ้าโดยการอดอาหารอธิษฐานเป็นการเตรียมชีวิตกลับใจจากความบาป

3. เทศกาลอยู่เพิง (Sukkot-สุคคท) วันที่ 5 – 11 ตุลาคม 2017 (วันที่ 15-21 เดือนทิชรี)เพื่อเราจะได้สามัคคีธรรม ชื่นชม และดำเนินอยู่ต่อการทรงสถิตของพระเจ้าและรับความอุดมสมบูรณ์ของพระองค์

เทศกาลงานเลี้ยงของพระยาห์เวห์เป็นความบริบูรณ์ของเวลากำหนดทั้งสิ้นของพระองค์ เป็นการเรียกชุมนุมอันบริสุทธิ์
เทศกาลคือสิ่งที่เป็นมาในอดีต สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและเป็นสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในสวรรค์เพื่อพระเยซูคริสต์กลับมา!
ฉะนั้นเทศกาลต่างๆเหล่านี้จึงเป็นภาพเงาหรือสัญลักษณ์เตือนใจที่เล็งถึงพระเยซูคริสต์

โคโลสี 2:16-17
16 เหตุฉะนั้นอย่าให้ผู้ใดพิพากษาปรักปรำท่านในเรื่องการกิน การดื่ม ในเรื่องเทศกาล วันต้นเดือน หรือวันสะบาโต
17สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเงาของเหตุการณ์ที่จะมีมาในภายหลัง แต่กายนั้นเป็นของพระคริสต์

เทศกาลต่าง ๆ จึงเป็นสัญลักษณ์ เตือนใจเพื่อกระตุ้นเราให้มีความเชื่อเข้มแข็งขึ้นในสัญญารัก ของพระเยซู(เยชูวาห์) ว่าทรงเป็นพระผู้ช่วยซึ่งทรงรักเรา พระเจ้าทรงกำหนดเวลานัดหมาย(Divine Appointment) ในเทศกาลต่างๆและแน่นอนว่าพระองค์จะมารับผู้ที่รักษาความเชื่อที่พร้อมไปกลับพระองค์ในวาระสุดท้าย

การเริ่มต้นปีใหม่ (Rosh Hashanah) ปี 5778 ปีแห่งตัวอักษรฮีบรูคือ อายิน เฆ็ท (Ayin Chet) ปีแห่งประตูแห่งหนทางสู่อนาคต

แม้แต่ตัวอักษรภาษาฮีบรูยังเป็นภาษาสัญลักษณ์ซึ่งเล็งถึงคุณลักษณ์(Attributes) ทั้ง 22 ประการที่พระเมสสิยาห์ทรงสำแดงแก่ประชากรของพระองค์ตั้งแต่ตัวแรกคือ א Aleph "อาเล็ฟ" จนถึงตัวสุดท้าย คือ ת Tav"ทาว" พระองค์ทรงเป็นปฐมและอวสาน
(หากเป็นภาษาไทย พระองค์คงจะเป็นตั้งแต่ .เอ๋ย .ไก่ไป จนถึง .นกฮูก ตาโต)
Aleph-א เป็นตัวอักษรตัวแรกและเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นหนึ่งเดียวและยิ่งใหญ่ เปรียบดั่งกษัตริย์ของตัวอักษรตัวอื่น

คำว่า אֱלֹהִים เอโลฮิม(พระเจ้า ผู้ทรงเป็นพระผู้ทรงสร้าง) ขึ้นต้นด้วยตัวนี้

Tav-ת เป็นสัญลักษณ์หมายถึง ความจริง (Emet) และความสมบูรณ์แบบ ת Tav หมายถึงต้นไม้หรือกางเขน ที่เป็นการเชื่อมไปสู่ทาง ความจริงและชีวิต ผ่านทางพระเยซูเพื่อไปถึงพระบิดา หรือ เอโลฮิม

ยอห์น 14:6 พระเยซูตรัสกับเขาว่า "เราเป็นทางนั้น เป็นความจริงและเป็นชีวิต ไม่มีผู้ใดมาถึงพระบิดาได้นอกจากจะมาทางเรา"

1 เปโตร 2:24พระองค์เองได้ทรงรับแบกบาปทั้งหลายของเราไว้ในพระกายของพระองค์ ที่ต้นไม้​( ת Tav)นั้น เพื่อว่าเราจะตายต่อบาปได้ และดำเนินชีวิตเพื่อความชอบธรรม ด้วยบาดแผลของพระองค์ พวกท่านจึงได้รับการรักษาให้หาย

เมื่อคนอิสราเอลอยู่ในถิ่นทุรกันดาร พระยาห์เวห์ทรงทำพันธสัญญากับคนของพระองค์ คือ มอบพระบัญญัติให้ที่ภูเขาซีนาย รวมถึงกำหนดเทศกาลต่างๆ เพื่อให้คนของพระองค์ได้ฉลองตลอดจนนิรันดร์ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งสัญญารักนิรันดร์ของพระยาห์เวห์กับคนของพระองค์ ตามหนังสือเลวีนิติบทที่ 23

ดังนั้นช่วงเวลาแห่งเทศกาลจึงเป็น สัญลักษณ์ ที่สำแดงถึง สัญญารัก ของพระยาห์เวห์ที่พระองค์ทรงมีต่อคนของพระองค์ เพื่อนัดหมายและเล็งถึงอนาคตให้รอคอยพระองค์กลับมารับเราด้วยใจจดจ่อ

4 สัญลักษณ์แห่งสัญญารักในเทศกาลของพระยาห์เวห์ มีดังต่อไปนี้

1. เขาสัตว์(Shofar-โชฟาร์) เป็นสัญลักษณ์ของการปลุกให้ตื่น (revive)  

การเป่าแตรเขาสัตว์เป็นการปลุกให้ตื่นจากการหลับใหลในฝ่ายวิญญาณ เพื่อนำจิตวิญญาณให้หันกลับ(return) เพื่อมารับฟังเสียงเรียกให้กลับใจโดยพระยาห์เวห์

ผู้เผยพระวจนะโยเอล เป่าแตรหรือโชฟาร์ ในศิโยนเพื่อเรียกให้คนกลับใจใหม่

โยเอล 2:15 จงเป่าเขาสัตว์ที่ในศิโยน จงเตรียมทำพิธีอดอาหาร จงเรียกประชุมตามพิธี
ในระหว่างการปฏิรูปศาสนาของกษัตริย์อาสา ให้คนเป่าโชฟาร์เพื่อให้คนอิสราเอลแสวงหาพระเจ้า

เสียงโชฟาร์เป็นเสียงแห่งการต่อต้านความบาป

อิสยาห์ 58:1 จงร้องดังๆอย่าออมไว้ จงเปล่งเสียงของเจ้าเหมือนเป่าเขาสัตว์ จงแจ้งแก่ชนชาติของเราให้ทราบถึงเรื่องการทรยศของเขา แก่เชื้อสายของยาโคบเรื่องบาปของเขา

เสียงของโชฟาร์เป็นเสียงเรียกให้ตอบสนอง เพื่อใคร่ครวญดูการกระทำของตน และดำเนินชีวิตใหม่ให้ถูกต้อง ก่อนวันแห่งการพิพากษา เป็นการหวนระลึกถึงการทำตน

ดังนั้นก่อนจะถึงวันนั้นผู้เชื่อจึงควรสำรวจใจ และกลับใจ(ฮีบรู 9:27) พระเจ้ามักสื่อสารและเตือนประชากรของพระองค์ล่วงหน้าเสมอ ก่อนที่พระองค์จะทาการพิพากษา เทศกาลแห่งเสียงแตรสะท้อนถึง พระประสงค์ของพระเจ้าที่จะรวบรวมประชากรของพระองค์ให้กลับใจใหม่ เพื่อว่าพระองค์จะสามารถกู้พวกเขาในวันแห่งการพิพากษา


2. คันประทีป (Menorah-เมโนราห์) เป็นสัญลักษณ์แห่งรื้อฟื้น(restore)

การจุดไฟที่คันประทีปเป็นการรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับระหว่างระหว่างพระยาห์เวห์กับคนของพระองค์

ในช่วงเวลา 10 วันแห่งความยำเกรงพระเจ้า (Days of Awe)
หลังจากเทศกาลเสียงแตรเขาสัตว์จะมีช่วงเวลา 10 วันแห่งความยำเกรงพระเจ้า (Days of Awe) เป็นเวลาที่จะหันชีวิตออกจากวิถีแห่งความบาป และหันกลับมาหาพระเจ้าโดยการอดอาหารอธิษฐานเป็นการเตรียมชีวิตกลับใจ(repent)จากความบาป

การจุดไฟที่คันประทีป เล็งถึง ความสัมพันธ์ที่ต้องรักษาไว้เสมอ การตั้งคันประทีปในพระวิหารเป็นการกำหนดทิศทางได้เพื่อให้หันกลับมาในทิศทางที่ถูกต้อง หากอยู่ต่างประเทศคนยิวจะตั้งคันประทีปหันไปทางทิศที่ตั้งของประเทศอิสราเอล หากอยู่ในประเทศอิสราเอลจะตั้งคันประทีปหันไปทางทิศที่ตั้งของกรุงเยรูซาเล็ม และหากอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็มจะตั้งคันประทีปหันไปทางทิศที่ตั้งของภูเขาพระวิหาร

ดังนั้นเราจึงต้องหันทิศทางชีวิตของเราให้ถูกต้องในช่วง10 วันแห่งความยำเกรงพระเจ้า (Days of Awe)และรับการการรื้อฟื้น(restore) ความสัมพันธ์กับพระเจ้าเสมอเหมือนดั่งการจุดรักษาไฟที่คันประทีปในเทศกาลที่จะไม่มอดดับตลอดไป

3.พระที่นั่งกรุณา (คัปโปเร็ท- Kapporet ) เป็นสัญลักษณ์แห่งการกลับใจใหม่ (Repent)

วันลบมลทินบาป(Yom Kippur-ยม คิปปูร์ -Day of Atonement) เป็นวันเดียวในรอบ 1 ปีที่มหาปุโรหิตจะเข้าไปในห้องอภิสุทธิสถานเพื่อทำการลบมลทินบาปให้กับชุมชน ซึ่งพิธีกรรมนี้เป็นภาพเงาที่เล็งถึงพระเยซูคริสต์ที่พระองค์มาสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเป็นการลบมลทินบาปให้กับเราชั่วนิรันดร์(ฮีบรู 9:12, 24-27)
เราจึงไม่ต้องทำพิธีนี้แล้ว แต่เราไม่ควรที่จะตกอยู่ในความกลัวต่อการปรักปรำในบาปอีกต่อไปแต่เราควรจะมีความกล้าเข้าไปพระที่นั่งกรุณาโดยพระคุณที่โปรดปรานผ่านทางพระคริสต์
ฮีบรู 4:15-16
15เพราะว่า เราไม่ได้มีมหาปุโรหิตที่ไม่สามารถจะเห็นใจในความอ่อนแอของเรา แต่ทรงเคยถูกทดลองใจเหมือนเราทุกอย่าง ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังปราศจากบาป
16ฉะนั้นขอให้เราเข้ามาถึงพระที่นั่งแห่งพระคุณด้วยความกล้า เพื่อเราจะได้รับพระเมตตา และจะพบพระคุณที่ช่วยเราในยามต้องการ

4. เพิงที่พำนัก หรือเต็นท์นัดพบ (Sukkot-สุคคท) เป็นสัญลักษณ์แห่งชื่นชมยินดี(Rejoice)

การพักสงบในเต็นท์นัดพบในเทศกาลอยู่เพิงเป็นช่วงเวลาที่เราจะชื่นชมยินดี(Rejoice)จะได้สามัคคีธรรมอยู่ต่อการทรงสถิตภายใต้ร่มเงาในเพิงแห่งพระสิริของพระเจ้า

เทศกาลนี้ชาวยิวจะไปตั้งค่ายพักแรมสร้างเพิงที่พำนัก เป็นครอบครัว เป็นช่วงเวลาแห่งการนัดพบกับพระยาห์เวห์ด้วยความชื่นชมยินดีในการอ่านพระบัญญัติ(โทราห์)

เมื่อเราศึกษาจากพระธรรมเนหะมีย์ บทที่ 8 เราจะเห็นถึงความสำคัญของเทศกาลอยู่เพิงทั้งนี้เพราะช่วงเวลานั้นคนอิสราเอลได้รับการปลดแอกจากการป็นเชลยที่บาบิโลนและได้เดินทางกลับมาที่กรุงเยรซาเล็ม เพื่อสร้างกำแพงและรื้อฟื้นการเฉลิมฉลองเทศกาลของพระยาห์เวห์

เนหะมีย์หนุนใจประชาชนอิสราเอลให้ชื่นชมยินดีเพราะความยินดีในพระเจ้าเป็นกำลัง(8:10) พวกเขามีความยินดีเพราะเขาจะได้ร่วมฉลองเทศกาลอยู่เพิง!

เทศกาลอยู่เพิงนี้ คนยิวจะอยู่ในเพิง 7 วันและวันที่ 8 มีการประชุมกัน(Shemini Atzeret ) และพวกเขาจะออกมาเต้นรำและถือหนังสือม้วนโทราห์(Torah) อ่านข้อความตั้งแต่พระธรรมปฐมกาลข้อแรก จนถึงข้อสุดท้ายของพระธรรมเฉลยธรรมบัญญัติ เพื่อแสดงว่าพระวจนะของพระเจ้าไม่มีวันสิ้นสุด

เนหะมีย์ 8:18 และทุกวันท่านอ่านธรรมบัญญัติ(Torah)​ของพระเจ้า ตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้าย เขาถือเทศกาลเลี้ยง​(Sukkot) อยู่7 วัน และในวันที่8 (Shemini Atzeret )มีการชุมนุมตามพิธีตามกฎหมาย

สำหรับในปี 5778 ปีนี้เป็นปีแห่งตัวอักษรฮีบรูคือ อายิน เฆ็ท(Ayin Chet) ตัวอักษรเฆ็ท ประตูที่เป็นช่องทางผ่านไปสู่หนทางข้างหน้า
ในปี 5774 เป็นปีแห่งประตูเช่นเดียวกัน แต่ตัวอักษรปีนั้นคือ ד Dalet  หมายถึงประตู(door) ที่เป็นประตูที่พักอาศัย เช่นเต็นท์หรือบ้าน

แต่ในปี 5778 เป็นภาพของประตูที่เป็นช่องทาง (Doorway) ตัวอักษรเฆ็ท เป็นตัวอักษรผสมกันระหว่างตัวอักษรที่ 6 คือ ו Vav

ภาพของมนุษย์ และอักษรตัวที่ 7 คือ อักษร ז Zayin คือ ดาบ ดังนั้นปี 5778 จึงเป็นภาพของคนทีถือดาบกำลังเดินเข้าสู่ประตู เป็นการต่อสู่เพื่อไปสู่ประตูแห่งอนาคตซึ่งเป็นหนทางสู่เป้าประสงค์(destiny)ของพระยาห์เวห์ในชีวิต

 4 “สัญลักษณ์แห่งสัญญารักในช่วงเวลาแห่งเทศกาลของพระยาห์เวห์ เราไม่ได้ถือเทศกาลต่างๆตามกฏบัญญัติว่า "เราจำเป็นต้องทำ" แต่เราถือเทศกาลต่างๆ เพราะหัวใจของเรา บอกว่า "เราอยากทำ" เราไม่ได้เรียนรู้เรื่องเทศกาลเป็นเพียงความรู้ที่เพิ่มรอยหยักที่หัวสมอง แต่เราเรียนรู้ด้วยความเข้าใจในความรักของพระยาห์เวห์ที่กำหนดไว้ที่เป็นรอยสลักแห่งพันธสัญญา

เพลงโซโลมอน 8:6 จงแนบดิฉันไว้ให้เป็นเนื้อเดียวดุจดวงตราแขวนอยู่ที่ใจของเธอ ประดุจดวงตราบนแขนของเธอ เพราะความรักนั้นเข้มแข็งอย่างความตาย ความรักรุนแรงก็ดุเดือดเหมือนแดนคนตาย และประกายแห่งความรักรุนแรงนั้นก็คือประกายเพลิงคือประกายเพลิงที่แสนรุนแรง

เทศกาลแห่งการเริ่มต้นปีใหม่ 5778 นี้จึงเป็นการปลุก(Revive)จิตวิญญาณของเราให้กลับใจ(Repent) หันกลับมา(Return)เพื่อรื้อฟื้น(Restore)คืนความสัมพันธ์กับพระยาห์เวห์ในช่วงเทศกาลแห่งการนัดพบพักสงบ และชื่นชม(Rejoice)

ในเทศกาลงานเลี้ยงของพระยาห์เวห์ เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นหมายสำคัญที่เราจะฉลองใหญ่อีกครั้งในแผ่นดินสวรรค์! วันนี้เป็นการฉลองงานเลี้ยงเทศกาลเป็นเพียงสิ่งชั่วคราว แต่ที่นั่นบนสวรรค์เรามีงานเลี้ยงฉลองเทศกาลชั่วนิรันดร์ตลอดไป วันนี้เราอยู่ในเพิงพักชั่วคราว แต่ในวันนั้นบนสวรรค์เราจะอยู่ในบ้านถาวรชั่วนิรันดร์ อาเมน

เศคาริยาห์ 14:16 และอยู่มาบรรดาคนที่เหลืออยู่ในประชาชาติทั้งปวงซึ่งยกขึ้นมาสู้รบกับเยรูซาเล็ม จะขึ้นไปนมัสการกษัตริย์ปีแล้วปีเล่า คือพระเจ้าจอมโยธา และจะถือเทศกาลอยู่เพิง

วิวรณ์ 21:3 ข้าพเจ้าได้ยินเสียงดังมาจากพระที่นั่งว่าดูเถิด พลับพลาของพระเจ้าอยู่กับมนุษย์แล้วพระองค์จะทรงสถิตกับเขา เขาจะเป็นชนชาติของพระองค์ และพระเจ้าเองจะประทับอยู่กับเขาและจะทรงเป็นพระเจ้า

26 กันยายน 2560

งานสมรสของพระเมษโปดกในสวรรค์

เมื่อคู่รักหนุ่มสาวคนยิวประสงค์จะแต่งงานกัน เขาและเธอจะต้องมีการลงนามคำสัญญาการแต่งงาน หรือ เคทุบาห์ (כְּתוּבָּה - Ketubah) 
 พิธีแต่งงานของคนยิว รับบี(Rabbi)จะเป็นผู้ประกอบพิธี โดยจะให้คู่บ่าวสาวทำกล่าวคำพันธสัญญาต่อกันที่ซุ้มประตูแห่งพันธสัญญา หรือ ฆุปปะห์ (חוּפָּה -chuppah) ความหมายว่า บัดนี้ทั้ง 2 คนอยู่ในท้องฟ้าเดียวกันแล้วและท้ายสุดของพิธีการ จะให้เจ้าบ่าว "เหยียบแก้วให้แตก" ซึ่งพิธีนี้มีความหมายในหลายนัยยะ คือ 
เพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์กรุงเยรูซาเล็มแตก พระวิหารถูกทำลายในประวัติศาสตร์ 
ความหมายในชีวิตแต่งงานหมายถึง ชีวิตครอบครัวนั้นเปราะบาง ต้องทะนุถนอม ดังนั้นจงทำให้ชีวิตแต่งงานมีความสุขภาพนี้เป็นภาพเงาที่สะท้อนความรักของพระยาห์เวห์ที่มีต่อประชากรของพระองค์คือ คนอิสราเอล 
ภูเขาซีนาย พระองค์ประทานพระบัญญัติให้กับพวกเขาผ่านโมเสส เป็นภาพเหมือนการแต่งงาน โดยมีข้อพระบัญญัติเปรียบเสมือนคำสัญญาการแต่งงาน หรือ เคทุบาห์  หลังจากที่โมเสสขึ้นไปบนภูเขาซีนาย พวกคนยิวไปกราบไหว้รูปวัวทองคำ เมื่อโมเสสกลับมา จึงขว้างแผ่นศิลาพระบัญญัติแตกด้วยความโกรธ(อพยพ 32:19)  การไปกราบไหว้รูปเคารพ หมายถึง การมีชู้ ผิดคำสัญญาในการแต่งงาน
ถึงกระนั้นพระยาห์เวห์ทรงรื้อฟื้นคำสัญญานี้ใหม่ โดยให้โมเสสเขียนขึ้นมาใหม่ แต่กระนั้นคนอิสราเอลก็ทำผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า 
พระยาห์เวห์ทรงรักและให้อภัยพวกเขาเสมอ แม้ว่าคนอิสราเอล พวกเขามีความสัมพันธ์กับพระองค์แต่พวกเขาไม่ต้องการ พวกเขาต้องการกฏบัญญัติทั้งที่พวกเขาไม่สามารถจะรักษาไว้ได้ พระยาห์เวห์ได้ทำพันธสัญญาแห่งรักให้กับคนของพระองค์ใหม่ ไม่ใช่กฏแต่เป็นพระวิญญาณแห่งความรัก ที่อยู่ในใจของพวกเขา 
2 โครินธ์ 3:3 ...แต่​ด้วย​พระ​วิญ​ญาณ​ของ​พระเจ้า​ผู้​ทรง​พระ​ชนม์ ไม่​ได้​เขียน​บน​แผ่น​ศิลา แต่​เขียน​บน​แผ่น​ดวง​ใจ​มนุษย์ 
พระองค์จัดเตรียมซุ้มประตูแห่งพันธสัญญาในงานแต่งงาน หรือ ฆุปปะห์ (חוּפָּה -chuppah) เพื่องานสมรสของพระองค์กับเจ้าสาว คือ คริสตจักร 
ยอห์น 14:2 ใน​พระ​นิ​เวศ​ของ​พระ​บิดา​เรา​มี​ที่​อยู่​มาก​มาย ถ้า​ไม่​มี​เรา​คง​บอก​ท่าน​แล้ว เพราะ​เรา​ไป​จัด​เตรียม​ที่​ไว้​สำ​หรับ​พวก​ท่าน 
สิ่งที่ผู้เชื่อจะต้องทำคือ การเตรียมชีวิตให้บริสุทธิ์ เป็นเจ้าสาวที่ปราศจากมลทิน และเตรียมชีวิตเหมือนดังคำอุปมาหญิงพรมจารย์ที่มีสติปัญญา(มัทธิว 25) 
ภาพของเทศกาลอยู่เพิง( סוכות - Sukkot) เป็นหมายสำคัญที่เราจะฉลองใหญ่อีกครั้งในแผ่นดินสวรรค์! ในงานสมรสของพระเมษโปดก 
วิวรณ์ 19:9 ...“จง​เขียน​ลง​ไป​ว่า ความ​สุข​มี​แก่​คน​ทั้ง​หลาย​ที่​ได้​รับ​เชิญ​มา​ใน​งาน​เลี้ยง​อภิ​เษก​สม​รส​ของ​พระ​เมษ​โป​ดก”  
การฉลองงานเลี้ยงเทศกาลเป็นเพียงสิ่งชั่วคราว แต่บนสวรรค์เมีงานเลี้ยงฉลองเทศกาลชั่วนิรันดร์ตลอดไป
วิวรณ์ 21:3 ...“ดู​เถิด พลับพลา​ของ​พระ​เจ้า​อยู่​กับ​มนุษย์​แล้ว ​พระ​องค์​จะ​ทรง​สถิต​กับ​เขา เขา​จะ​เป็น​ชน​ชาติ​ของ​พระ​องค์ และ​พระ​เจ้า​เอง​จะ​ประทับ​อยู่​กับ​เขา​ และ​จะ​ทรง​เป็น​พระ​เจ้า”
ปี 5778 ปี Ayin Chet นี้เป็นปีแห่งประตูพันธสัญญา เราควรมีความสัมพันธ์กับพระยาห์เวห์อย่างใกล้ชิด รักษาถ้อยคำพันธสัญญา เตรียมชีวิตให้พร้อมเพื่อเป็นดั่งเจ้าสาวของพระเมษโปดกในวาระสุดท้าย

22 กันยายน 2560

เคลื่อนตามพระวิญญาณ ไม่ได้หมายความว่า ไม่ต้องเตรียมตัว

บทความเรื่อง  "เคลื่อนตามพระวิญญาณ ไม่ได้หมายความว่า ไม่ต้องเตรียมตัว"

โดย Philip Kavilar

เมื่อกล่าวถึงวลี เทศน์ตามพระวิญญาณ หรือ นมัสการตามพระวิญญาณ บางคนจะนึกถึง การเทศน์หรือการนมัสการที่ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวมาก่อน แต่เป็นการเทศน์สดหรือนมัสการสด โดยมีการขับเคลื่อนตามการดลใจของพระวิญญาณ การเคลื่อนตามพระวิญญาณในความหมายของบางคน ก็คือ การทำพันธกิจ (เช่น สอน, นมัสการ, อธิษฐาน) โดยไม่ต้องตระเตรียมอย่างละเอียด แต่ให้ตระเตรียมอย่างคร่าวๆ และเมื่อถึงคราวทำพันธกิจ ก็ค่อยจับจังหวะอีกทีว่า พระวิญญาณทรงดลใจไปในทิศทางไหน

            ประโยคที่ว่า เคลื่อนตามพระวิญญาณ ดูเหมือนจะเป็นประโยคที่ดูบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ แต่พระคัมภีร์ได้อธิบายวลีเคลื่อนตามพระวิญญาณไว้อย่างไร? ใช่การทำพันธกิจโดยไม่ต้องตระเตรียมอย่างละเอียดหรือไม่? ในสมัยก่อน ผมก็เคยมีความคิดว่า การเคลื่อนโดยพระวิญญาณ ก็คือการทำพันธกิจโดยไม่ต้องตระเตรียมอย่างละเอียด แต่ก่อนเมื่อผมเห็นการเทศน์ที่เคลื่อนไปตามบทเรียนอย่างละเอียด ผมก็รู้สึกว่า การเทศน์แบบบนี้ ไม่ใช่การเคลื่อนตามพระวิญญาณ

ปีเตอร์ แวกเนอร์
            และแล้วจุดเปลี่ยนของผมก็มาถึง อัครทูตคนหนึ่งที่ทำให้ผมประหลาดใจก็คือ ปีเตอร์ แวกเนอร์ เมื่อปี 2011 อัครทูตท่านนี้ได้มาทำพันธกิจการสอนในประเทศไทยเป็นระยะเวลาสั้นๆ ส่วนตัวผมก็ได้รับรู้ชีวประวัติของแวกเนอร์มาก่อนว่า ท่านเป็นพี่เลี้ยงของผู้เผยพระวจนะ ซินดี้ เจคอปส์ และท่านยังเป็นพี่เลี้ยงให้กับอัครทูต ซัค เพียสต์ อีกด้วย ตามการสืบค้นของผม ในแวดวงคริสเตียนสายคาริสมาติก(สายฤทธิ์เดช) แวกเนอร์ เป็นผู้หนึ่งที่อยู่ในจุดสูงสุดของคริสเตียนสายนี้ ก่อนที่ผมจะฟังสัมมนาของท่าน ผมคาดหวังไว้ว่า การสอนของแวกเนอร์นี้แหละ น่าจะเป็นต้นแบบที่ดีของการเทศน์ตามพระวิญญาณ

            และแล้ว เมื่อผมได้ฟังสัมมนาของแวกเนอร์ ผมก็งงเป็นไก่ตาแตก สองวันแรก ท่านได้สัมมนาที่เชียงใหม่ อีกสองวันต่อมา ท่านก็ไปสัมมนาที่กรุงเทพ เนื่องด้วยการที่ผมสนใจในตัวแวกเนอร์มาก ผมจึงตามไปฟังท่านทั้งที่เชียงใหม่และกรุงเทพ ปรากฏว่าไม่ว่าจะเป็นที่เชียงใหม่หรือที่กรุงเทพ ท่านได้เทศน์โดยใช้ถ้อยคำเหมือนกันแทบทุกประโยค! ไม่มีความแตกต่างกันเลย 
              ตอนนั้นผมก็งงมากว่า เฮ้ ท่านแวกเนอร์ผู้อยู่ในจุดสูงสุดของแวดวงคาริสมาติก ผู้เป็นทั้งพี่เลี้ยงของ ซินดี้ เจคอปส์ และ ชัค เพียสต์ กลับเทศน์ตามบทที่เตรียมไว้อย่างละเอียด โดยไม่แสดงอาการหวือหวาหรือพูดออกนอกบทเลย นี่ใช่การเทศน์ตามการเคลื่อนของพระวิญญาณจริงหรือ?”


            วันเวลาผ่านไป จุดสำคัญอย่างหนึ่งก็ได้เข้ามาในชีวิตของผม ผ่านหนังสือ ฉันคือนักอธิษฐาน? ในหนังสือเล่มนี้ ได้อธิบายถึงลักษณะของนักอธิษฐานวิงวอนที่แตกต่างกัน นักอธิษฐานบางคนเป็นนักอธิษฐานเชิงสงคราม ที่มักจะชอบอธิษฐานแบบดุเดือด นักอธิษฐานบางคนเป็นนักอธิษฐานเชิงนมัสการ ที่มักจะนมัสการนานๆในเวลาที่เขาเฝ้าเดียว นักอธิษฐานบางคนเป็นนักอธิษฐานตามหัวข้อ ซึ่งมักจะตระเตรียมหัวข้ออธิษฐานอย่างชัดเจนและเป็นระบบ 

ในหนังสือเล่มนี้อธิบายว่า ของประทานและธรรมชาติของแต่ละคนแตกต่างกัน และการอธิษฐานของแต่ละคนจะเกิดผลก็ต่อเมื่อเขาอธิษฐานตามลักษณะแห่งของประทานของเขา คนที่มีของประทานด้านสงคราม ก็จะมีการเจิมเมื่อเขาอธิษฐานเชิงสงคราม คนที่มีของประทานด้านนมัสการ ก็จะมีการเจิมเมื่อเขาอธิษฐานแบบนมัสการ คนที่มีของประทานในการจัดระบบระเบียบ ก็จะมีการเจิมเมื่อเขาอธิษฐานตามหัวข้อ กล่าวโดยสรุป เมื่อเราอธิษฐานให้สอดคล้องกับธรรมชาติหรือของประทานที่เรามี การเจิมก็จะมาถึง แต่ถ้าเราอธิษฐานโดยเลียนแบบคนอื่นหรืออธิษฐานในลักษณะที่ขัดกับธรรมชาติของเรา แม้ว่าภายนอกจะดูสวยหรู แต่ภายในลึกๆจะไม่รู้สึกถึงการเติมเต็ม

ในเรื่องของการสอนหรือการนมัสการก็เช่นกัน บางคนมีของประทานและธรรมชาติที่เหมาะกับการจัดระบบระเบียบ คนประเภทนี้ เขาจะมีการเจิมก็ต่อเมื่อเขาดำเนินตามหัวข้อและระบบของเขา แต่บางคนมีของประทานและธรรมชาติที่คล้ายศิลปิน(ทำงานโดยไม่ต้องเตรียมเนื้อหา แต่ต้องเตรียมอารมณ์) คนประเภทนี้ ก็จะมีการเจิมเมื่อเขาดำเนินแบบไม่ต้องเตรียมการมาก การทำพันธกิจของคนประเภทนี้ มักจะเน้นโดยการเคลื่อนตามจังหวะของการดลใจ

ธรรมชาติของนักวิชาการกับธรรมชาติของศิลปิน ก็มีความแตกต่างกัน เมื่อนักวิชาการทำงาน เขาก็จะวางระบบระเบียบเป็นขั้นเป็นตอนอย่างดี เขาจะทำงานโดยให้ความสำคัญกับการตระเตรียมเนื้อหา ในทางตรงกันข้าม เมื่อศิลปินทำงาน เขาจะไม่สนใจการวางระบบระเบียบที่ชัดเจน แต่เขาจะให้ความสำคัญกับการตระเตรียมทางอารมณ์ เมื่อศิลปินทำงาน เขาจะเคลื่อนไปตามจังหวะของอารมณ์โดยไม่ได้ตระเตรียมไว้ล่วงหน้า แต่ไม่ว่าจะเป็น นักวิชาการ หรือ ศิลปิน ทั้งหมดนี้ก็เป็นธรรมชาติและของประทานที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกัน บางคนมีธรรมชาติแบบนักวิชาการมากหน่อย แต่บางคนก็มีธรรมชาติแบบศิลปินที่มาก แต่ไม่ว่าเพื่อนๆจะเป็นอะไร เมื่อเพื่อนๆทำพันธกิจให้ตรงกับธรรมชาติหรือของประทานของเพื่อนๆ การเจิมก็จะมาถึง

สิ่งสำคัญก็คือ ฤทธิ์เดชและการเจิมจะมาถึงเมื่อเพื่อนๆขับเคลื่อนให้ตรงกับธรรมชาติและของประทานของตน ดังนั้นการเคลื่อนตามพระวิญญาณ จึงไม่ได้หมายถึงการเคลื่อนแบบไม่ต้องตระเตรียม แต่การเคลื่อนตามพระวิญญาณหมายถึง การเคลื่อนให้ตรงกับของประทานและธรรมชาติของเรา

ถ้าเพื่อนๆมีของประทานแนวศิลปิน เพื่อนๆก็ไม่จำเป็นต้องตระเตรียมงานอย่างละเอียด แต่เพื่อนๆก็ควรจะฝึกฝนการจับจังหวะรับการดลใจ แต่ถ้าเพื่อนๆมีของประทานแนวนักวิชาการ เพื่อนๆก็จะต้องตระเตรียมอย่างละเอียดหน่อย แต่ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการหรือศิลปิน ถ้าเพื่อนๆทำตามธรรมชาติและของประทานของตน การเจิมก็มาถึง

ถ้าคนที่มีธรรมชาติแบบนักวิชาการ กลับไปดำเนินแบบศิลปิน การเจิมก็อาจขัดข้อง ในทำนองเดียวกัน ถ้าคนที่มีธรรมชาติแบบศิลปิน กลับไปดำเนินแบบนักวิชาการ การเจิมก็อาจขัดข้องเช่นกัน สิ่งสำคัญในการทำพันธกิจที่เกิดผลก็คือ การขับเคลื่อนให้ตรงกับธรรมชาติและของประทานของเรา นี่แหละคือการเคลื่อนตามพระวิญญาณ นี่แหละ คือการขับเคลื่อนที่นำการเจิมมา

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม


หนังสือ ฉันคือนักอธิษฐาน? (สำนักพิมพ์แม่น้ำ)