บทความเรื่อง "ของขวัญอัศจรรย์วันคริสต์มาส"(Amazing Christmas Gift) ลงในหนังสือ MANGA MANGER
You'll never walk alone. I am your friend who always listens to, and walks along with you.
26 ธันวาคม 2561
19 ธันวาคม 2561
รวมบทความเทศกาลคริสต์มาส
รวมบทความเทศกาลคริสต์มาสที่น่าสนใจ สามารถ Click เข้าไปอ่านได้ตาม Link นะครับ
คริสต์มาส อัศจรรย์แห่งรัก
Faith makes all things possible,
Hope makes all things work,
Love makes all things beautiful,
May you have all the three for this Christmas.
ความเชื่อทำให้ทุกสิ่งเป็นไปได้
ความหวังทำให้ทุกสิ่งเป็นรูปเป็นร่าง
ความรักทำให้ทุกสิ่งเป็นความงดงาม
ขอให้ทุกท่านมีทั้ง3 สิ่งนี้ในเทศกาลคริสต์มาสนี้นะครับ
12 ธันวาคม 2561
งูกับความมืดไม่ได้มีความหมายแย่เสมอไป
มีพี่น้องท่านหนึ่งได้ใช้ของประทานการเผยพระวจนะให้กับนักธุรกิจคริสเตียนคนหนึ่ง
เมื่อพี่น้องท่านนี้กำลังเผยพระวจจนะ
เขาก็เรียกร้องให้นักธุรกิจคริสเตียนผู้นี้กลับใจจากความบาปลับๆที่แอบทำอยู่
แต่นักธุรกิจคริสเตียนก็เอ่ยกับพี่น้องที่กำลังเผยพระวจนะว่า เขาไม่ได้มีด้านมืดในชีวิตและไม่ได้มีบาปที่แอบทำอย่างลับๆ
แต่พี่น้องที่เผยพระวจนะก็ยังยืนกรานให้นักธุรกิจสะสางด้านมืดในชีวิต
ทั้งนี้พี่น้องที่กำลังเผยพระวจนะนั้น
ได้เล่าว่าขณะที่เขากำลังใช้ของประทานการเผยพระวจนะ
เขาได้มองเห็นเมฆดำๆสีเทาๆที่อยู่บนศีรษะของนักธุรกิจ เขาจึงตีความนิมิตที่เห็นว่า
นักธุรกิจผู้นี้คงมีด้านมืดบางอย่างในชีวิตที่ไม่ได้กลับใจ
แต่นักธุรกิจก็มั่นใจว่าตัวเขาไม่ได้มีด้านมืดในชีวิตแบบนั้น
วันเวลาผ่านไประยะหนึ่ง
ผลปรากฏว่ามีพนักงานคนหนึ่งในบริษัทของนักธุรกิจที่ได้ยักยอกเงินบริษัท
โดยที่นักธุรกิจที่เป็นเจ้าของบริษัทกลับไม่รู้ถึงการยักยอกนี้
แต่สุดท้ายพนักงานคนนี้ก็ถูกจับได้และถูกดำเนินการตามระเบียบของบริษัท
ทันใดนั้นเอง นักธุรกิจก็เข้าใจว่า
นิมิตที่พี่น้องเห็นเป็นเมฆดำๆนั้นไม่ได้หมายถึงชีวิตส่วนตัวของเขา
แต่หมายถึงมีความอธรรมที่ซ่อนเร้นอยู่ในบริษัทต่างหาก
เห็นนิมิต แต่ตีความผิด
เรื่องเล่านี้ให้ข้อคิดว่า
บางครั้งนิมิตที่เราเห็นก็เป็นนิมิตที่มาจากพระวิญญาณบริสุทธิ์
แต่เราอาจจะตีความนิมิตผิดพลาดไป จึงเผยพระวจนะออกไปอย่างไม่แม่นยำ
ดังนั้นเมื่อคนเราใช้ของประทานการเผยพระวจนะ สิ่งหนึ่งที่ต้องระมัดระวังก็คือการตีความนิมิตที่มองเห็น
บางครั้งเมื่อเราเห็นนิมิต พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงต้องการสื่อสารเรื่องหนึ่ง
แต่เรากลับตีความและเข้าใจไปเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่คนเราสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้
โดยการคุยกับพระวิญญาณบริสุทธิ์ให้เรียบร้อยก่อนว่า นิมิตที่มองเห็นนั้น พระองค์ต้องการสื่อสารอะไร?
บางครั้งเมื่อเราเห็นนิมิตก็ไม่จำเป็นต้องรีบด่วนในการพูดออกไป
แต่ให้ลงลึกกับพระวิญญาณบริสุทธิ์ก่อน แล้วค่อยพูดการสำแดงออกไป
งูกับความมืด
บางครั้งเมื่อคนเราเห็นนิมิตเกี่ยวกับ
งูหรือความมืด โดยพื้นเพแล้ว คนเราก็มักจะตีความเรื่องความมืดกับงูในแง่ลบ
แต่บางครั้งเมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ประทานนิมิตเกี่ยวกับงูหรือความมืดนั้น
พระองค์ก็ไม่ได้สื่อสารในความหมายด้านลบทุกครั้ง
มีบางครั้งที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงสื่อสารนัยยะด้านบวกผ่านความมืดและงูด้วย
จากพระคัมภีร์
งูก็ไม่ได้มีความหมายเป็นลบเสมอไป ในด้านบวก งูเป็นสัญลักษณ์ที่เล็งถึงปัญญา
ส่วนความมืดก็ไม่ได้มีความหมายในด้านลบเสมอไป ในพระคัมภีร์ก็ได้อธิบายว่า
บางครั้งพระเจ้าก็เสด็จมาในความมืด (ดู สดุดี 18:9-11; 97:2) จึงกล่าวได้ว่า
ความมืดก็มีความหมายที่สื่อถึงการทรงสถิตของพระเจ้า
ดังนั้นเมื่อเพื่อนๆเห็นนิมิตเป็นงูหรือความมืด
เพื่อนๆก็อย่าเพิ่งรีบตีความในด้านลบ แต่ให้สอบถามพระวิญญาณบริสุทธิ์ก่อนว่า
พระองค์ต้องการสื่อสารอะไรผ่านนิมิตนี้
เพราะบางทีพระองค์อาจสื่อสารในแง่ของปัญญาหรือในแง่ของการทรงสถิตก็ได้
ความสว่างก็ไม่ใช่ด้านบวกเสมอไป
และบางครั้งเมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ประทานนิมิตเกี่ยวกับความสว่างหรือสิงโต
ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นความหมายแง่บวกเสมอไป
บางเวลาพระองค์ประทานนิมิตที่เป็นแสงสว่างเพื่อต้องการสื่อสารว่า
ตอนนี้มีซาตานกำลังปลอมตัวเป็นทูตสวรรค์ของความสว่างอยู่ ส่วนสิงโตนั้น
บางทีก็มีความหมายที่สื่อถึงสิงห์แห่งเผ่ายูดาห์ที่สรรเสริญพระเจ้า
แต่บางทีก็หมายถึงมารที่วนเวียนดุจสิงคำราม
คุยกับพระวิญญาณบริสุทธิ์เกี่ยวกับนิมิตก่อน
ดังนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ว่า
เมื่อคนเราเห็นนิมิตแล้ว
ก็อย่าเพิ่งรีบตีความแต่ควรสอบถามพระวิญญาณบริสุทธิ์ก่อนว่า
นิมิตที่เรามองเห็นนั้นมีความหมายสื่อถึงอะไร?
บางครั้งนิมิตที่ดูเหมือนจะมีความหมายลบสุดๆ
ก็อาจเป็นนิมิตที่มีความหมายบวกสุดๆก็ได้
Philip Kavilar
Philip Kavilar นักวิชาการด้านฟิสิกส์
ผู้ศึกษาพระคัมภีร์เป็นงานอดิเรก
เป็นผู้ที่มีของประทานด้านวิชาการและการเผยพระวจนะผสมผสานกัน
ท่านมีความปรารถนาที่จะเห็นการร่วมประสานกันระหว่างพี่น้องในสายวิชาการกับพี่น้องในสายฤทธิ์เดช
และหนุนใจให้คริสตจักรขับเคลื่อนในการเผยพระวจนะและการแปลภาษาแปลกๆ
05 ธันวาคม 2561
รวบรวมบทความ "วันพ่อ"
ความเป็นมาของวันพ่อแห่งชาติ
http://pattamarot.blogspot.com/2010/12/blog-post.html
ทำเนียบพ่อต้นแบบ
http://pattamarot.blogspot.com/2010/12/blog-post_03.html
บทความเรื่อง ศรัทธา http:// pattamarot.blogspot.com/2010/ 12/blog-post_21.html
สายธารแห่งน้ำพระทัยของพ่อหลวง
http://pattamarot.blogspot.com/2011/12/blog-post_09.html
เรียกพระบิดาว่า พ่อจ๋าhttp:// pattamarot.blogspot.com/2012/ 11/blog-post.html
http://pattamarot.blogspot.com/2010/12/blog-post.html
ทำเนียบพ่อต้นแบบ
http://pattamarot.blogspot.com/2010/12/blog-post_03.html
บทความเรื่อง ศรัทธา http://
สายธารแห่งน้ำพระทัยของพ่อหลวง
http://pattamarot.blogspot.com/2011/12/blog-post_09.html
เรียกพระบิดาว่า พ่อจ๋าhttp://
ได้รับพระสัญญาแล้ว ต้องอธิษฐานต่อหรือไม่?
เมื่อคริสตจักรเริ่มขับเคลื่อนในการเผยพระวจนะ
สิ่งหนึ่งที่ตามติดมาก็คือพระสัญญา บางคนอาจได้รับคำเผยพระวจนะว่า
“พระเจ้าจะยกระดับคุณในบริษัทที่คุณทำงาน” หรือ
“จะมีสายสัมพันธ์สำคัญเกิดขึ้นในธุรกิจของคุณ” ถ้อยคำเผยพระวจนะแบบนี้
ด้านหนึ่งก็อาจเรียกเป็น “พระสัญญา” ก็ได้
คำถามมีอยู่ว่า เมื่อคนเราได้รับพระสัญญาจากพระเจ้าในเรื่องหนึ่ง
ยังจำเป็นอีกหรือไม่ที่จะต้องอธิษฐานในเรื่องนั้น ทั้งนี้มีผู้สอนบางท่านอธิบายว่า
เมื่อได้รับพระสัญญา ก็ไม่ต้องอธิษฐานแล้ว
เพราะการอธิษฐานทั้งๆที่ได้รับพระสัญญาแล้วนับเป็นสัญญาณที่แสดงถึงความไม่ไว้วางใจหรือความสงสัย
บางคนก็สอนว่าเมื่อได้รับพระสัญญาแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องอธิษฐาน
ขอแค่มีความเชื่อเพื่อรับเอาพระสัญญานั้นก็พอแล้ว บางคนก็สอนว่า
เมื่อได้รับพระสัญญาก็ไม่ต้องอธิษฐานทูลขออีก แต่ให้อธิษฐานแบบป่าวประกาศแทน
ในพระคัมภีร์มีตัวอย่างสำคัญที่ตอบคำถามนี้ได้ดี
ดาเนียลเป็นผู้หนึ่งที่รับรู้ถึงพระสัญญาของพระเจ้าว่า
พระองค์จะทรงนำพาคนยิวกลับคืนสู่เยรูซาเล็มอีกครั้งหนึ่ง
แม้ดาเนียลจะเชื่อในพระสัญญาและมั่นใจว่าพระเจ้าจะสำเร็จพระสัญญาของพระองค์
แต่ดาเนียลก็มิได้อยู่เฉยๆ และเอาแต่รอคอยพระเจ้าเท่านั้น
ทว่าดาเนียลกลับอธิษฐานทูลขอต่อพระเจ้า
และยังได้อธิษฐานสะสางอุปสรรคต่างๆที่ขัดขวางการสำเร็จพระสัญญา
ด้วยเหตุนี้จากตัวอย่างในพระคัมภีร์
เมื่อผู้ใดได้รับพระสัญญาจากพระเจ้า
นอกจากที่ผู้นั้นจะต้องมีความเชื่อในพระสัญญาแล้ว
ผู้นั้นก็ควรอธิษฐานทั้งทูลขอและป่าวประกาศให้พระเจ้าทรงสำเร็จพระสัญญานั้น
หรือบางทีก็อาจต้องอธิษฐานขจัดอุปสรรคต่างๆที่ขัดขวางการสำเร็จพระสัญญา
บางคนอาจสงสัยว่า
ทำไมต้องอธิษฐานต่อด้วยทั้งๆที่พระเจ้าทรงสัญญาแล้ว? เหตุสำคัญที่คนเราต้องอธิษฐานต่อ
ก็เพราะว่าการขับเคลื่อนของพระเจ้าบนแผ่นดินโลก พระองค์ไม่ทรงขับเคลื่อนโดยพละการ
พระองค์ไม่ทรงขับเคลื่อนด้วยตัวของพระองค์เองเพียงคนเดียว
การขับเคลื่อนของพระเจ้าบนแผ่นดินโลก ล้วนมาจากการอธิษฐานของมนุษย์แทบทั้งนั้น
หากมนุษย์อยู่เฉยๆโดยไม่ได้อธิษฐานต่อพระเจ้า
พระองค์ก็ไม่สามารถขับเคลื่อนสิ่งใดๆบนแผ่นดินโลกได้ ทั้งนี้ใน (ปฐมกาล 1) พระเจ้าได้ทรงมอบสิทธิอำนาจบนแผ่นดินโลกให้กับมนุษย์
แผ่นดินโลกนับเป็นขอบเขตที่เป็นของมนุษย์
ซึ่งพระเจ้าไม่มีสิทธิแทรกแซงใดๆหากมนุษย์ไม่อธิษฐาน
ฉะนั้น
เมื่อพระเจ้าประทานพระสัญญาแล้ว พระองค์ก็ต้องขับเคลื่อนให้พระสัญญาสำเร็จ
แต่พระองค์ไม่อาจขับเคลื่อนได้เลยหากมนุษย์ไม่ยอมอธิษฐาน การที่มนุษย์อธิษฐาน
ด้านหนึ่งก็เป็นการอนุญาตให้พระเจ้าเข้ามาขับเคลื่อนสิ่งต่างๆบนแผ่นดินโลกเพื่อให้สิ่งต่างๆที่พระองค์สัญญาไว้สำเร็จ
คำอธิษฐานของมนุษย์เป็นดั่งใบอนุญาตและเป็นดั่งเครื่องมือของพระเจ้า ที่พระองค์จะทรงทำสิ่งที่พระองค์ต่างๆตามพระประสงค์ของพระองค์
บางครั้งพระสัญญาก็สำเร็จอย่างล่าช้าหรือสำเร็จอย่างไม่บริบูรณ์
ด้านหนึ่งอาจเป็นเพราะการอธิษฐานที่ขาดไป
จึงทำให้การขับเคลื่อนของพระเจ้าเกิดการสะดุด อนึ่ง ถ้ามนุษย์อธิษฐานทูลขอ
และอธิษฐานสะสางอุปสรรคต่างๆที่ขัดขวางการสำเร็จพระสัญญา
ทั้งทูตสวรรค์และพระวิญญาณบริสุทธิ์ก็สามารถกระทำการได้คล่องขึ้น
การขับเคลื่อนของพระเจ้าก็ไหลลื่น พระสัญญาก็สำเร็จอย่างบริบูรณ์และรวดเร็ว
(ตามพระคัมภีร์ มนุษย์สามารถทูลขอให้พระเจ้าทรงเร่งวันเวลา
และเร่งการสำเร็จพระสัญญาได้)
บางที
อาจเป็นการเหมาะสมที่เพื่อนๆจะทบทวนว่า
พระเจ้าประทานพระสัญญาใดให้กับเพื่อนๆผ่านคำเผยพระวจนะ
และเมื่อเพื่อนๆได้ตระหนักรู้ถึงพระสัญญาแล้ว
นี่อาจเป็นวาระที่พวกเราต้องอธิษฐานเพื่อให้พระสัญญาสำเร็จอย่างบริบูรณ์และรวดเร็ว
ชาโลม
Philip Kavilar
Philip Kavilar นักวิชาการด้านฟิสิกส์ ผู้ศึกษาพระคัมภีร์เป็นงานอดิเรก
เป็นผู้ที่มีของประทานด้านวิชาการและการเผยพระวจนะผสมผสานกัน
ท่านมีความปรารถนาที่จะเห็นการร่วมประสานกันระหว่างพี่น้องในสายวิชาการกับพี่น้องในสายฤทธิ์เดช
และหนุนใจให้คริสตจักรขับเคลื่อนในการเผยพระวจนะและการแปลภาษาแปลกๆ
03 ธันวาคม 2561
8 วันของเทศกาล Hanukkah
8 วันของเทศกาล Hanukkah(3-10 ธ.ค.2018)มีความสำคัญมาก ผมขอหนุนใจให้คุณไม่เพียงแค่ฟังคำสอนของ Dr.Robert Heidler ในเรื่อง "Hanukkah: The Feast of Light 5779!" เท่านั้น แต่จงใคร่ครวญ ประเด็นที่สำคัญดังนี้
1. พระเจ้าทรงห่วงใยประชากรของพระองค์! ขอบคุณพระองค์ที่คุณอยู่ภายใต้การปกป้องจากพระองค์!
2. พระเจ้าต้องการรื้อฟื้นพระวิหารของพระองค์! ขอบคุณพระองค์ที่เราทั้งหลายเป็นพระวิหารของพระองค์! ขอบพระคุณพระองค์ที่พระองค์ทรงรื้อฟื้นคริสตจักรของพระองค์
3. พระเจ้าทรงเป็นพระเจ้าแห่งการอัศจรรย์! ขอบคุณพระองค์ที่พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์ผู้ทรงฤทธิ์ นี่เป็นเวลาที่เราจะคาดหวังการอัศจรรย์ในช่วงเทศกาลนี้
4. พระเยซูทรงเป็นความสว่างของโลก! เทศกาล Hanukkah เป็นเวลาที่ให้พระสิริของพระองค์ฉายส่องในชีวิตของเรา
จงใคร่ครวญประเด็นเหล่านี้ในแต่ละวันจนกว่าชีวิตของคุณจะสำแดงสิ่งที่เกิดขึ้นในฤดูกาลนี่ จงเข้ามาร่วมฉลองแสงสว่างของโลกนี้!
คำหนุนใจจาก Dr.Chuck Pierce
These 8 days of Hanukkah are very important. I encourage you to not only watch (and re-watch) Robert Heidler’s teaching on “Hanukkah: The Feast of Light 5779!”, but to rehearse these points daily:
1. God Cares for His People! Thank Him that you are under His protection!
2. God Wants His Temple Restored! Thank Him that we are His temple! Thank Him that He is restoring His Church!
3. God is a God of Miracles! Thank Him that He is a living God who works in power! This is a time to expect MIRACLES!
4. Jesus is the Light of the World! Hanukkah is a time to let His light SHINE!
2. God Wants His Temple Restored! Thank Him that we are His temple! Thank Him that He is restoring His Church!
3. God is a God of Miracles! Thank Him that He is a living God who works in power! This is a time to expect MIRACLES!
4. Jesus is the Light of the World! Hanukkah is a time to let His light SHINE!
Meditate on these points each day until you reflect what this season is about. Enter into celebrating the Light of the World!
27 พฤศจิกายน 2561
ก้าวเดินตามคำเผยพระวจนะอย่างมีปัญญา
ในวาระที่ผ่านมา
คริสตจักรหลายท้องถิ่นก็เริ่มสอนและฝึกฝนให้ผู้คนใช้ของประทานแห่งการเผยพระวจนะ
ในระยะๆแรก ผู้นำก็มักจะฝึกฝนให้สมาชิกเผยพระวจนะให้กัน แต่ในระยะต่อมา
สิ่งสำคัญที่จะต้องว่ากันต่อก็คือ ถ้าได้รับคำเผยพระวจนะแล้ว ควรจะทำอะไรต่อไป?
บางคำเผยพระวจนะก็เป็นถ้อยคำแห่งการหนุนใจ
แต่บางถ้อยคำก็เป็นเหมือนป้ายบอกทางที่ชี้เส้นทางให้กับเรา
ถ้าเป็นถ้อยคำแห่งการหนุนใจ เมื่อรับฟังแล้วก็อบอุ่นหัวใจ
แต่ถ้าเป็นถ้อยคำที่ชี้เส้นทางบางอย่าง แล้วคนเราจะต้องทำประการใด?
มีข้อพระคัมภีร์ข้อหนึ่งที่ได้แนะนำเส้นทางสู่ความสำเร็จผ่านการเผยพระวจนะ
(2 พงศาวดาร 20:20) “ยูดาห์และชาวเยรูซาเล็มเอ๋ย
จงฟังข้าพเจ้า จงวางใจในพระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านทั้งหลาย
แล้วท่านจะได้รับความมั่นคง จงเชื่อบรรดาผู้เผยพระวจนะของพระองค์
แล้วท่านจะได้รับความสำเร็จ”
ก้าวแรกสู่ความสำเร็จตามข้อพระคัมภีร์นี้ก็คือการเชื่อในเหล่าผู้เผยพระวจนะ
บางครั้งบางคราวเมื่อชีวิตคนเรามาถึงทางแยกว่าจะต้องอาศัยอยู่ในที่ไหนหรือควรจะประกอบการงานอาชีพใด
ถ้อยคำของการเผยพระวจนะก็เป็นแสงสว่างสำคัญที่คนเราควรจะเชื่อฟัง จริงอยู่ว่าถ้อยคำจากพระคัมภีร์ก็เป็นแสงสว่างที่เรียกร้องให้คนเราประพฤติตาม
แต่ถ้อยคำจากเหล่าผู้พระวจนะก็เป็นอีกแสงสว่างหนึ่งที่คนเราต้องประพฤติตามด้วย
บางคนเมื่อได้รับถ้อยคำเผยพระวจนะก็อาจจะลังเลที่ต้องประพฤติตาม
เพราะบางครั้งถ้อยคำเผยพระวจนะดูเหมือนจะชี้ทางให้ทำงานหรือธุรกิจบางอย่างที่น่าจะมีรายได้น้อย
บางครั้งก่อนที่จะได้รับคำเผยพระวจนะ ก็มีทางเลือกมากมาย
บางทางเลือกก็เป็นงานที่ให้ค่าตอบแทนสูง บางทางเลือกก็เป็นงานที่ให้ค่าตอบแทนน้อย
แต่เมื่อถ้อยคำเผยพระวจนะมาถึง
ถ้อยคำดังกล่าวกลับชี้ทางให้เลือกงานที่น่าจะให้ผลตอบแทนน้อย
สมมติถ้าถ้อยคำเผยพระวจนะชี้ให้เลือกงานที่ค่าตอบแทนสูง
คนเราก็อาจเลือกงานนั้นอย่างไม่ลังเล
แต่พอถ้อยคำเผยพระวจนะชี้ให้เลือกงานที่ค่าตอบแทนน้อย คนเราก็อาจจะลังเลใจ
หลายครั้งสิ่งที่คนเราคาดการหรือประเมินไว้ในตอนแรกก็อาจะผิดพลาดได้เมื่อเวลาผ่านไป
ดังนั้นการเชื่อฟังและก้าวเดินตามถ้อยคำเผยพระวจนะจึงเป็นทางเลือกที่ประเสริฐยิ่ง
ที่จริงคนเราควรเชื่อฟังถ้อยคำเผยพระวจนะมากกว่าการคาดการหรือการประเมินโดยความคิดของเราเอง
(1 โครินธ์ 2:9) ดังที่มีเขียนไว้ว่า “สิ่งที่ตาไม่เห็น
หูไม่ได้ยิน และสิ่งที่ใจมนุษย์คิดไม่ถึง คือสิ่งที่พระเจ้าทรงจัดเตรียมไว้สำหรับคนทั้งหลายที่รักพระองค์”
พระคุณจงทวีคูณแด่เพื่อนๆ
PhiliP Kavilar
24 พฤศจิกายน 2561
สุขสันต์วันศุกร์รับพร(Blessed Friday)
ที่มาของวันศุกร์มืดมน(Black Friday)
Black Friday จะตรงกับวันศุกร์ในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี หลังจากวันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day) ของประเทศสหรัฐอเมริกา
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในเมืองฟิลาเดลเฟีย ช่วงเวลาหลังจากวันขอบคุณพระเจ้าของทุกปีจะมีประชาชนออกมาจับจ่ายซื้อของเพื่อมอบให้แก่กันในช่วงเทศกาลคริสต์มาสอย่างคับคั่งถึงขั้นเกิดปัญหาจราจล ทำให้ตำรวจหลายนายเรียกวันนี้ว่า"Black Friday" เพราะต้องทำงานอย่างหนักเพื่อระงับเหตุต่างๆ ในเมือง ต่อมามีการพูดถึงเหตุการณ์ และคำพูดของตำรวจจนเป็นที่นิยมสุดท้ายกลายเป็นชื่อเทศกาล Black Friday
ต่อมาจึงใช้เทศกาล Black Friday เพื่อเป็นการลด แลก แจก แถม เพื่อส่งเสริมการขายของโดยห้างร้านต่างๆ เรียกว่า Black Friday Sale
ผมชอบชื่อเมืองฟิลาเดลเฟีย เพราะมาจากคำในภาษากรีก ให้ความหมายว่า รักกันฉันท์พี่น้อง เช่นเดียวกับชื่อคริสตจักรเมืองฟิลาเดลเฟียในพระธรรมวิวรณ์ บทที่ 3
สำหรับวันศุกร์นี้จึงไม่ขอรับคำว่า วันศุกร์มืดมน เพราะความสว่างนั้นมาโดยพระเยซูคริสต์ ทรงเป็นความหวังแห่งพระสิริ ที่ฉายส่องให้ความมืดมน สับสนในชีวิตของเราหมดไป พระองค์ทรงประสงค์ให้เราเดินติดตามเพื่อเราจะได้รับพร
“อีกครั้งหนึ่งพระเยซูตรัสกับเขาทั้งหลายว่า “เราเป็นความสว่างของโลก ผู้ที่ตามเรามาจะไม่เดินในความมืด แต่จะมีความสว่างแห่งชีวิต”” (ยอห์น 8:12 )
อีกทั้งพระเยซูทรงมาเพื่อ SALE ลด แลก แจก แถม ให้กับทุกคนดังนี้
S: Salvation ความรอดแบบลดราคาแต่ไม่ลดคุณค่า
A: Attitude ทัศนคติที่แลกเปลี่ยนใหม่
L: Love ความรักที่ได้รับแจกแบบไม่มีเงื่อนไข
E : Everlasting life ชีวิตนิรันดร์แถมให้ทันทีที่เชื่อ
A: Attitude ทัศนคติที่แลกเปลี่ยนใหม่
L: Love ความรักที่ได้รับแจกแบบไม่มีเงื่อนไข
E : Everlasting life ชีวิตนิรันดร์แถมให้ทันทีที่เชื่อ
ลูกา 2:14 “ พระ สิริ จง มี แด่ พระ เจ้า ใน ที่ สูงสุด ส่วนบน แผ่นดิน โลก สันติ สุข จง มี ท่ามกลาง มนุษย์ ทั้ง ปวง ซึ่ง พระ องค์ ทรง โปรด ปราน นั้น”
จากบทความเรื่อง Christmas SALE- ลด แลก แจก แถม
14 พฤศจิกายน 2561
พื้นฐานภาษาฮีบรู (อ่านแปปเดียวจบ)
ภาษาฮีบรูเป็นภาษาดั้งเดิมของพระคัมภีร์
และด้วยเหตุที่ภาษาฮีบรูมีพยัญชนะอยู่ 22 ตัว ก็มีบางท่านเสนอว่า
ภาษาฮีบรูเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้ ยิ่งถ้าเทียบกับภาษาไทยแล้ว
ภาษาฮีบรูก็อาจจะเรียนรู้ง่ายกว่าภาษาไทยมาก นอกจากนี้ภาษาฮีบรูแบบดั้งเดิมก็ไม่มีสระด้วย
(ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่)
ภาษาฮีบรูไม่มีสระ
ภาษาฮีบรูแบบดั้งเดิมจะเขียนเป็นพยัญชนะติดกันโดยไม่มีสระ
ทั้งนี้วิธีการออกเสียงของคำแต่ละคำในภาษาฮีบรูจะขึ้นอยู่กับว่าคนรุ่นก่อนๆออกเสียงกันยังไง
เช่นคำว่า Shalom ถ้าดูจากภาษาฮีบรูดั้งเดิมจะเขียนเป็น Sh-l-m (ไม่มีสระ)
แต่เนื่องด้วยคนรุ่นก่อนออกเสียง Sh-l-m เป็น Shalom ด้วยเหตุนี้ Sh-l-m จึงออกเสียงว่า Shalom
ภาษาฮีบรูมีการแยกแยะเพศ
คำศัพท์แต่ละคำในภาษาไทยจะไม่มีการแยกเพศ
ทว่า ในแผ่นดินโลกนี้ก็มีบางภาษาที่มีการแยกแยะเพศ (เช่น ภาษาฝรั่งเศส)
ในภาษาฝรั่งเศส ศัพท์บางคำจะเป็นเพศชาย แต่ศัพท์บางคำก็เป็นเพศหญิง
ภาษาฮีบรูก็เป็นภาษาหนึ่งที่มีการแยกแยะเพศในแต่ละคำ
การผันรูปเป็นพหูพจน์
ในภาษาอังกฤษ
การผันรูปเป็นพหูพจน์จะทำง่ายๆโดยการเติม s เข้าไป
ส่วนภาษาฮีบรูการผันรูปเป็นพหูพจน์จะทำโดยการเติมเสียง –im
(อิม) หรือ –oth (โอ้ด) เข้าไป เช่นคำว่า Mitvah ที่แปลว่า “พระบัญญัติ” หากต้องการจะผันคำนี้เป็นรูปพหูพจน์ก็จะผันเป็น Mitvoth
ที่แปลว่า “พระบัญญัติหลายๆข้อ”
ภาษาฮีบรูเป็นภาษาภาพ
พยัญชนะฮีบรูแต่ละพยัญชนะจะเป็นภาพสะท้อนของสิ่งต่างๆ
เช่น พยัญชนะ Alef ให้ภาพของ “เขาสัตว์” อันเป็นสัญลักษณ์ของพละกำลัง ส่วนพยัญชนะ Beth จะให้ภาพของ “บ้าน” เมื่อนำอักษร Alef กับ Beth มารวมกันก็จะได้คำว่า Av ที่แปลว่า “คุณพ่อ”
ซึ่งถ้าดูจากตัวอักษรแล้ว คำว่า “คุณพ่อ” หมายถึงผู้มีพละกำลังในบ้าน
ในภาษาฮีบรูนี้ศัพท์หลายคำจะมีความหมายตามภาพของพยัญชนะที่มาประกอบกัน
คำศัพท์ฮีบรูเบื้องต้น
Elohim แปลว่า “พระเจ้า”
ศัพท์คำนี้ตามความหมายจะสื่อถึง
“ผู้ที่มีสภาพเทวะหรือผู้ที่มีสภาพเหนือมนุษย์”
นอกจากนี้ศัพท์คำนี้ยังเป็นรูปพหูพจน์อีกด้วย (รูปพหูพจน์ในภาษาฮีบรูจะลงท้ายด้วย –im (อิม)
หรือ –oth (โอท) )
ในประเด็นนี้
บางท่านจึงเสนอว่า คำศัพท์ “พระเจ้า” ในภาษาฮีบรูมีนัยยะที่สะท้อนถึง ตรีเอกานุภาพ
Adonai แปลว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า” หรือ “เจ้านาย”
ศัพท์คำนี้หมายถึง “เจ้านาย”
ซึ่งในภาษาฮีบรูแล้วศัพท์คำนี้จะใช้กับมนุษย์หรือใช้กับพระเจ้าก็ได้
ในกรณีที่เราเป็นลูกน้องของมนุษย์ มนุษย์ที่เป็นนายของเรา เราก็สามารถเรียกเป็น “Adonai” ได้ ทั้งนี้พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่มักจะเขียนให้พระเยซูมีฐานะเป็น Adonai(เจ้านาย) ของผู้เชื่อ และเขียนให้พระเจ้ามีฐานะเป็น Av(คุณพ่อ) ของผู้เชื่อ
YHWH
เป็นพระนามของพระเจ้า
ซึ่งมีการถกเถียงกันอยู่ว่าต้องออกเสียงอย่างไร
ภาษาฮีบรูแบบดั้งเดิมเป็นภาษาที่ไม่มีสระ
และพระนามของพระเจ้าก็ประกอบไปด้วย พยัญชนะ 4 ตัวเขียนติดกันคือ พยัญชนะ Yod +
Hey + Vav + Hey เนื่องด้วยการไม่มีสระ
จึงไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่าคำนี้ต้องออกเสียงอย่างไร สำหรับคนฮีบรูรุ่นก่อน
ก็ไม่ได้ออกเสียงคำนี้ตรงๆ แต่จะออกเสียงเป็น Adonai แทน
เพราะคนยิวมีความยำเกรงต่อคำนี้มาก จึงไม่กล้าออกเสียง YHWH
เลย กระนั้นบางคนก็เสนอว่า คำนี้ควรออกเสียงเป็น “เยโฮวาห์”
แต่นักวิชาการบางคนกลับเห็นว่า ออกเสียง “ยาห์เวห์” อาจจะถูกต้องกว่า อนึ่ง
แม้ว่าหลายครั้งคนยิวจะออกเสียง YHWH เป็น Adonai แต่บางทีคนยิวก็ออกเสียง YHWH เป็น Yah (ยาห์) โดยที่ไม่เติม Weh (เวห์)
Shalom แปลว่า “สันติสุข” หรือ “ครบบริบูรณ์”
ศัพท์คำนี้ในภาษาฮีบรูให้ภาพของความครบบริบูรณ์ที่ไม่มีรูรั่ว
รากของศัพท์คำนี้สื่อถึงการชดเชยหรือการซ่อมแซม ด้วยเหตุนี้คำว่า Shalom จึงหมายถึงความครบบริบูรณ์ที่มีพื้นฐานมาจากการชดเชยหรือการซ่อมแซม
ความครบบริบูรณ์นี้จะใช้กับความสัมพันธ์ของมนุษย์หรือใช้กับความกินดีอยู่ดีก็ได้
นอกจากนี้คำว่า Shalom
ยังเป็นคำศัพท์ที่คนยิวใช้ทักทายกันด้วย ในการทักทายนี้จึงเป็นการอวยพรที่ว่า
ขอให้รูรั่วต่างๆในชีวิตได้รับการซ่อมแซมจนครบบริบูรณ์
ชาโลม
Philip Kavilar
01 พฤศจิกายน 2561
อวยพรแบบคนยิว (รวยแบบยิว)
จากสถิติที่ผ่านมามีความชัดเจนว่า คนยิวเป็นชนชาติที่ประสบความสำเร็จในด้านการเงินมากเป็นอันดับต้นๆของโลก มีการประมาณการไว้ว่า 35% ของเศรษฐีในอเมริกาก็มีเชื้อชาติยิว ซึ่งนับว่าเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงมาก เหตุที่คนยิวสามารถก้าวหน้าในด้านการเงินได้ก็มีอยู่หลายปัจจัย แต่ปัจจัยที่ผมขอเสนอในที่นี้คือปัจจัยที่เกี่ยวกับการอวยพร
ในขนบของศาสนาคริสต์ เมื่อผู้คนเจอกันหรือลาจากกันก็จะอวยพรด้วยประโยค “พระเจ้าอวยพร” หรือ “God Bless You” ทว่าในธรรมเนียมยิวซึ่งมีรากส่วนหนึ่งมาจากพระคัมภีร์ ผู้คนจะไม่ได้อวยพรด้วยคำว่า “พระเจ้าอวยพร” แต่จะอวยพรหรือลาจากกันด้วยคำว่า “Shalom” ซึ่งแปลว่า “ครบบริบูรณ์”
หมายเหตุ คำว่า Shalom มีคำแปลหลายคำ ซึ่งหลายครั้งจะแปลเป็นคำว่า “สันติสุข” แต่ด้านหนึ่งก็แปลว่า “ครบบริบูรณ์” ก็ได้ ทั้งนี้ในภาษาเดิมคำว่า Shalom ให้ภาพของ “ความครบถ้วนบริบูรณ์” เหมือนกับกำแพงที่ไร้รูรั่ว ซึ่งในทัศนะของผมแล้ว คำว่า “ครบบริบูรณ์” จะให้ภาพของคำว่า Shalom ได้ดีกว่าคำว่า “สันติสุข”
คำว่า Shalom นี้ตามความหมายแล้วสามารถใช้ได้ทั้งในเรื่องของหัวใจและเรื่องของความเป็นอยู่ก็ได้ เมื่อคำว่า Shalom ใช้ในบริบทของหัวใจจะมีความหมายถึง หัวใจที่ครบบริบูรณ์และไร้รูรั่ว (หมายถึง ไร้ความวิตก ไร้ความหวาดผวา ไร้ความสิ้นหวัง ฯลฯ) หัวใจที่มี Shalom เป็นหัวใจที่สะท้อนถึงความเปรมปรีดิ์ มีทั้งความเชื่อ ความหวัง และความรัก อยู่เต็มเปี่ยม
คำว่า Shalom ถ้าใช้กับบริบทของความเป็นอยู่ จะหมายถึงความเป็นอยู่ที่ครบบริบูรณ์และไร้รูรั่ว ซึ่งไม่ขัดสน ไม่เจ็บป่วย แต่มีความมั่งคั่ง มีสุขภาพแข็งแรง และมีชื่อเสียงดี
กรอบความคิดของคนยิวเป็นกรอบความคิดที่ไม่ได้แบ่งแยกโลกฝ่ายวิญญาณกับโลกฝ่ายกายภาพ ดังนั้นเมื่อคนยิวอวยพรด้วยคำว่า Shalom การอวยพรนี้เป็นการอวยพรให้เกิดความครบบริบูรณ์ทั้งในฝ่ายวิญญาณและฝ่ายกายภาพ การอวยพรนี้ไม่ได้เป็นการขอให้มีแต่ความสุขในฝ่ายวิญญาณเท่านั้น แต่เป็นการอวยพรที่ขอให้ความเป็นอยู่ในฝ่ายกายภาพมีความครบสมบูรณ์ด้วย
ในกรอบความคิดของคนต่างชาติ บางครั้งก็มีแนวคิดที่ว่า “พระเจ้าประทานสันติสุขในวิญญาณเท่านั้น” แนวคิดนี้สอนว่า คนเราสามารถมีความสุขในวิญญาณได้แม้ว่าความเป็นอยู่ภายนอกอาจจะย่ำแย่ แนวคิดนี้อาจฟังดูดี แต่ด้านหนึ่งก็เป็นกรอบความคิดแบบคนต่างชาติที่เน้นแต่ฝ่ายวิญญาณ ในกรอบความคิดของคนต่างชาติ คำว่า Shalom จะให้ความหมายถึง “ความครบบริบูรณ์ในหัวใจเท่านั้น” ทว่าในภาษาเดิมและในกรอบความคิดของคนยิวแล้ว คำว่า Shalom จะให้ความหมายถึง ความครบบริบูรณ์ทั้งในหัวใจและความเป็นอยู่
คำว่า Shalom ยังมีรากศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับคำว่า Shalam ซึ่งหมายถึง “การชดเชยหรือการซ่อมแซม” ดังนั้นคำว่า Shalom จึงหมายถึง ความครบบริบูรณ์ที่มีนัยยะของการชดเชยหรือการซ่อมแซม
ในธรรมบัญญัติ เมื่อผู้หนึ่งไปขโมยทรัพย์สินของผู้หนึ่ง เมื่อถูกจับได้แล้ว ผู้ที่ขโมยจะต้องชดเชยให้กับเจ้าของ โดยผู้ที่ขโมยจะต้องชดเชยให้มากยิ่งกว่าทรัพย์สินที่ขโมยไป คำว่า ชดเชย นี้เองคือรากศัพท์ของคำว่า Shalom ทั้งนี้ การชดเชยตามธรรมบัญญัติเป็นการชดเชยที่ล้ำเลิศกว่าสภาพเดิม เช่น ก่อนหน้านี้หากเรามีโคอยู่ 1 ตัว แล้วถ้าโคของเราถูกขโมยไปขาย หากคนที่ขโมยถูกจับ คนที่ขโมยจะต้องชดเชยให้เราคืนด้วยโค 5 ตัว เห็นได้ว่าภายหลังการชดเชย สภาพที่เป็นหลังการชดเชย (โค 5 ตัว) ก็ล้ำเลิศกว่าสภาพก่อนชดเชยเสียอีก (โค 1 ตัว)
ด้วยเหตุนี้ คำว่า Shalom จึงหมายถึงความครบบริบูรณ์ที่มีพื้นเพจากการซ่อมแซมให้ดีกว่าสภาพเดิม คนเราเมื่อดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือการทำธุรกิจ บางครั้งบางคราวก็เกิดรูรั่วขึ้น ซึ่งรูรั่วที่เกิดขึ้นนี้บางทีก็เกิดขึ้นโดยไม่ได้เจตนาให้เกิด แต่เมื่อ Shalom มาถึง รูรั่วเหล่านี้ก็ได้รับการชดเชยหรือซ่อมแซมจนเกิดเป็นความครบบริบูรณ์ เมื่อคนยิวอวยพรผู้หนึ่งว่า Shalom การอวยพรนี้มีนัยยะที่ว่า ขอให้รูรั่วต่างๆ (รูรั่วนี้อาจหมายถึง ปัญหาการเงิน ปัญหาสุขภาพ ปัญหาทางอารมณ์ ฯลฯ) ได้รับการชดเชยและซ่อมแซมจนดียิ่งกว่าเดิม
ในขนบของศาสนาคริสต์แบบต่างชาติ ถ้อยคำของอวยพรคือ “ขอพระเจ้าอวยพร” ซึ่งเป็นถ้อยคำที่เน้นในมิติของพระพร แต่ในธรรมเนียมยิว ถ้อยคำของการอวยพรคือ Shalom อันเป็นถ้อยคำที่เน้นในมิติของการซ่อมแซมจนครบบริบูรณ์
การอวยพรด้วยคำว่า Shalom เป็นวัฒนธรรมที่ฝังแน่นกับชาวยิวมาช้านาน ด้วยเหตุนี้เมื่อประชากรของพระเจ้าเกิดรูรั่วขึ้น พวกเขาจะไม่วิตกกับรูรั่วมากจนเกินไป แต่พวกเขาจะมีความหวังอยู่เสมอว่า รูรั่วต่างๆนั้นจะได้รับการซ่อมแซม เมื่อประชากรของพระเจ้าเกิดทำสิ่งใดพลาด แม้ว่าความพลาดจะก่อให้เกิดรูรั่ว แต่ประชากรของพระเจ้าก็จะมีความหวังอยู่เสมอว่าพระเจ้าจะเข้ามาซ่อมแซมรูรั่วนั้น และถ้ารูรั่วเหล่านั้นได้รับการซ่อมแซมแล้ว สภาพภายหลังการซ่อมแซมก็จะดียิ่งกว่าสภาพเดิมเสียอีก เพราะพระเจ้าทรงเป็นความครบบริบูรณ์ของพวกเรา (Adonai Shalom)
ในขนบของศาสนาคริสต์ เมื่อผู้คนเจอกันหรือลาจากกันก็จะอวยพรด้วยประโยค “พระเจ้าอวยพร” หรือ “God Bless You” ทว่าในธรรมเนียมยิวซึ่งมีรากส่วนหนึ่งมาจากพระคัมภีร์ ผู้คนจะไม่ได้อวยพรด้วยคำว่า “พระเจ้าอวยพร” แต่จะอวยพรหรือลาจากกันด้วยคำว่า “Shalom” ซึ่งแปลว่า “ครบบริบูรณ์”
หมายเหตุ คำว่า Shalom มีคำแปลหลายคำ ซึ่งหลายครั้งจะแปลเป็นคำว่า “สันติสุข” แต่ด้านหนึ่งก็แปลว่า “ครบบริบูรณ์” ก็ได้ ทั้งนี้ในภาษาเดิมคำว่า Shalom ให้ภาพของ “ความครบถ้วนบริบูรณ์” เหมือนกับกำแพงที่ไร้รูรั่ว ซึ่งในทัศนะของผมแล้ว คำว่า “ครบบริบูรณ์” จะให้ภาพของคำว่า Shalom ได้ดีกว่าคำว่า “สันติสุข”
คำว่า Shalom นี้ตามความหมายแล้วสามารถใช้ได้ทั้งในเรื่องของหัวใจและเรื่องของความเป็นอยู่ก็ได้ เมื่อคำว่า Shalom ใช้ในบริบทของหัวใจจะมีความหมายถึง หัวใจที่ครบบริบูรณ์และไร้รูรั่ว (หมายถึง ไร้ความวิตก ไร้ความหวาดผวา ไร้ความสิ้นหวัง ฯลฯ) หัวใจที่มี Shalom เป็นหัวใจที่สะท้อนถึงความเปรมปรีดิ์ มีทั้งความเชื่อ ความหวัง และความรัก อยู่เต็มเปี่ยม
คำว่า Shalom ถ้าใช้กับบริบทของความเป็นอยู่ จะหมายถึงความเป็นอยู่ที่ครบบริบูรณ์และไร้รูรั่ว ซึ่งไม่ขัดสน ไม่เจ็บป่วย แต่มีความมั่งคั่ง มีสุขภาพแข็งแรง และมีชื่อเสียงดี
กรอบความคิดของคนยิวเป็นกรอบความคิดที่ไม่ได้แบ่งแยกโลกฝ่ายวิญญาณกับโลกฝ่ายกายภาพ ดังนั้นเมื่อคนยิวอวยพรด้วยคำว่า Shalom การอวยพรนี้เป็นการอวยพรให้เกิดความครบบริบูรณ์ทั้งในฝ่ายวิญญาณและฝ่ายกายภาพ การอวยพรนี้ไม่ได้เป็นการขอให้มีแต่ความสุขในฝ่ายวิญญาณเท่านั้น แต่เป็นการอวยพรที่ขอให้ความเป็นอยู่ในฝ่ายกายภาพมีความครบสมบูรณ์ด้วย
ในกรอบความคิดของคนต่างชาติ บางครั้งก็มีแนวคิดที่ว่า “พระเจ้าประทานสันติสุขในวิญญาณเท่านั้น” แนวคิดนี้สอนว่า คนเราสามารถมีความสุขในวิญญาณได้แม้ว่าความเป็นอยู่ภายนอกอาจจะย่ำแย่ แนวคิดนี้อาจฟังดูดี แต่ด้านหนึ่งก็เป็นกรอบความคิดแบบคนต่างชาติที่เน้นแต่ฝ่ายวิญญาณ ในกรอบความคิดของคนต่างชาติ คำว่า Shalom จะให้ความหมายถึง “ความครบบริบูรณ์ในหัวใจเท่านั้น” ทว่าในภาษาเดิมและในกรอบความคิดของคนยิวแล้ว คำว่า Shalom จะให้ความหมายถึง ความครบบริบูรณ์ทั้งในหัวใจและความเป็นอยู่
คำว่า Shalom ยังมีรากศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับคำว่า Shalam ซึ่งหมายถึง “การชดเชยหรือการซ่อมแซม” ดังนั้นคำว่า Shalom จึงหมายถึง ความครบบริบูรณ์ที่มีนัยยะของการชดเชยหรือการซ่อมแซม
ในธรรมบัญญัติ เมื่อผู้หนึ่งไปขโมยทรัพย์สินของผู้หนึ่ง เมื่อถูกจับได้แล้ว ผู้ที่ขโมยจะต้องชดเชยให้กับเจ้าของ โดยผู้ที่ขโมยจะต้องชดเชยให้มากยิ่งกว่าทรัพย์สินที่ขโมยไป คำว่า ชดเชย นี้เองคือรากศัพท์ของคำว่า Shalom ทั้งนี้ การชดเชยตามธรรมบัญญัติเป็นการชดเชยที่ล้ำเลิศกว่าสภาพเดิม เช่น ก่อนหน้านี้หากเรามีโคอยู่ 1 ตัว แล้วถ้าโคของเราถูกขโมยไปขาย หากคนที่ขโมยถูกจับ คนที่ขโมยจะต้องชดเชยให้เราคืนด้วยโค 5 ตัว เห็นได้ว่าภายหลังการชดเชย สภาพที่เป็นหลังการชดเชย (โค 5 ตัว) ก็ล้ำเลิศกว่าสภาพก่อนชดเชยเสียอีก (โค 1 ตัว)
ด้วยเหตุนี้ คำว่า Shalom จึงหมายถึงความครบบริบูรณ์ที่มีพื้นเพจากการซ่อมแซมให้ดีกว่าสภาพเดิม คนเราเมื่อดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือการทำธุรกิจ บางครั้งบางคราวก็เกิดรูรั่วขึ้น ซึ่งรูรั่วที่เกิดขึ้นนี้บางทีก็เกิดขึ้นโดยไม่ได้เจตนาให้เกิด แต่เมื่อ Shalom มาถึง รูรั่วเหล่านี้ก็ได้รับการชดเชยหรือซ่อมแซมจนเกิดเป็นความครบบริบูรณ์ เมื่อคนยิวอวยพรผู้หนึ่งว่า Shalom การอวยพรนี้มีนัยยะที่ว่า ขอให้รูรั่วต่างๆ (รูรั่วนี้อาจหมายถึง ปัญหาการเงิน ปัญหาสุขภาพ ปัญหาทางอารมณ์ ฯลฯ) ได้รับการชดเชยและซ่อมแซมจนดียิ่งกว่าเดิม
ในขนบของศาสนาคริสต์แบบต่างชาติ ถ้อยคำของอวยพรคือ “ขอพระเจ้าอวยพร” ซึ่งเป็นถ้อยคำที่เน้นในมิติของพระพร แต่ในธรรมเนียมยิว ถ้อยคำของการอวยพรคือ Shalom อันเป็นถ้อยคำที่เน้นในมิติของการซ่อมแซมจนครบบริบูรณ์
การอวยพรด้วยคำว่า Shalom เป็นวัฒนธรรมที่ฝังแน่นกับชาวยิวมาช้านาน ด้วยเหตุนี้เมื่อประชากรของพระเจ้าเกิดรูรั่วขึ้น พวกเขาจะไม่วิตกกับรูรั่วมากจนเกินไป แต่พวกเขาจะมีความหวังอยู่เสมอว่า รูรั่วต่างๆนั้นจะได้รับการซ่อมแซม เมื่อประชากรของพระเจ้าเกิดทำสิ่งใดพลาด แม้ว่าความพลาดจะก่อให้เกิดรูรั่ว แต่ประชากรของพระเจ้าก็จะมีความหวังอยู่เสมอว่าพระเจ้าจะเข้ามาซ่อมแซมรูรั่วนั้น และถ้ารูรั่วเหล่านั้นได้รับการซ่อมแซมแล้ว สภาพภายหลังการซ่อมแซมก็จะดียิ่งกว่าสภาพเดิมเสียอีก เพราะพระเจ้าทรงเป็นความครบบริบูรณ์ของพวกเรา (Adonai Shalom)
ชาโลม
Philip Kavilar
05 ตุลาคม 2561
ทำไมต้องแปล Apostolic Center เป็น “ศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูต” หรือ “ศูนย์บัญชาการ”
กระบวนการเคลื่อนไหวด้านอัครทูตได้ต่อยอดมาจนเกิดศัพท์ใหม่คือคำว่า “Apostolic
Center”
โดยศัพท์คำนี้มีความหมายที่สื่อถึงคริสตจักรที่ขับเคลื่อนในมิติแบบอัครทูต
ซึ่งต่างกับคริสตจักรที่ขับเคลื่อนในมิติของศิษยาภิบาล
แล้วการขับเคลื่อนแบบศิษยาภิบาลกับการขับเคลื่อนแบบอัครทูตมีความแตกต่างกันอย่างไร
?
คริสตจักรที่ขับเคลื่อนแบบอัครทูต
เรียกว่า
Apostolic Center (ศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูต)
คริสตจักรที่ขับเคลื่อนแบบศิษยาภิบาล
เรียกว่า Pastoral
Church (โบสถ์แบบศิษยาภิบาล)
คำว่า “ศิษยาภิบาล” ในภาษาเดิมแล้วมีความหมายที่สื่อถึง “ผู้เลี้ยงแกะ” ลักษณะของโบสถ์แบบศิษยาภิบาลจึงให้ภาพของ “ฟาร์ม”
ที่มีศิษยาภิบาลเป็นผู้ดูแล
การขับเคลื่อนแบบศิษยาภิบาลจึงเน้นพันธกิจของการป้องกันสมาชิกหรือฝูงแกะไม่ให้หลงหายและเน้นให้ผู้คนในโบสถ์มีความรักต่อกัน
ส่วนพันธกิจที่มีต่อสังคมก็จะเน้นการประกาศและการเก็บเกี่ยว
เพื่อให้คนภายนอกได้รับความรอดและเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของฝูงแกะในฟาร์ม
(มาเป็นสมาชิกของคริสตจักร)
ในทางตรงกันข้าม “อัครทูต” เป็นคำศัพท์ที่มีความหมายที่ต่างกับ “ศิษยาภิบาล” ทั้งนี้ตามประวัติศาสตร์แล้ว พระเยซูไม่ใช่บุคคลแรกที่ใช้คำว่า “อัครทูต” แต่พระเยซูทรงยืมศัพท์คำนี้จากวัฒนธรรมของโรมอีกทีหนึ่ง
ในสมัยของอาณาจักรโรมเมื่อจักรพรรดิได้ทำสงครามและยึดครองประเทศหนึ่งได้แล้ว
จักรพรรดิจะไม่เพียงแค่ส่งนายพลไปปกครองประเทศที่เพิ่งยึดมาได้เท่านั้น
แต่จักรพรรดิจะส่งคนกลุ่มหนึ่งไปเพิ่มเติมด้วย
โดยคนกลุ่มนี้จะมีตำแหน่งที่เรียกว่า “อัครทูต” ทั้งนี้อัครทูตจะมีหน้าที่ในการปฏิรูปวัฒนธรรมของประเทศที่เพิ่งยึดมาได้
อัครทูตบางคนจะมีหน้าที่ในการปฏิรูปด้านภาษา
โดยมุ่งเน้นให้ผู้คนในประเทศใช้ภาษาราชการของอาณาจักรโรม
อัครทูตบางคนจะมีหน้าที่ในการปฏิรูปการค้าขาย โดยให้ผู้คนในประเทศใช้เงินสกุลเดียวกันกับที่อาณาจักรโรมใช้
อัครทูตบางคนจะมีหน้าที่ในการปฏิรูปด้านอาหาร โดยการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมอาหารการกินของประเทศให้เหมือนกับอาณาจักรโรม
เหตุสำคัญของการส่งอัครทูตเข้าไป เนื่องจากจักรพรรดิโรมมีความเข้าใจว่า
หากยึดครองประเทศโดยการใช้กำลังทางทหารเพียงอย่างเดียว การยึดครองก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน
แต่ถ้าประเทศที่ถูกยึดนั้นได้รับการปฏิรูปทางวัฒนธรรมให้เหมือนกับอาณาจักรโรมแล้ว
จักรพรรดิก็สามารถปกครองประเทศนั้นๆได้อย่างยั่งยืน
ตามบริบททางประวัติศาสตร์แล้ว
“อัครทูต” ไม่ได้เป็นศัพท์ที่หมายถึงการเลี้ยงแกะ
แต่เป็นศัพท์ที่สื่อถึง
“การปกครองกับการปฏิรูป”
คริสตจักรที่ขับเคลื่อนในมิติอัครทูตเป็นคริสตจักรที่ไม่ได้มุ่งเน้นอยู่กับการอภิบาลหรือดูแลสมาชิกในลักษณะของศิษยาภิบาลเท่านั้น
แต่เป็นคริสตจักรที่มุ่งเน้นการตระเตรียมสมาชิกให้มีความพรักพร้อมต่อการปฏิรูปสังคม
เหมือนกับจักรพรรดิโรมที่ส่งทีมงานเข้าไปปฏิรูปวัฒนธรรม ผู้นำของคริสตจักรแบบอัครทูตจะมีเป้าประสงค์ในการส่งผู้คนเข้าไปปฏิรูปวัฒนธรรมต่างๆของประเทศ
ด้วยเหตุนี้ลักษณะของคริสตจักรที่ขับเคลื่อนแบบอัครทูตจึงเปรียบดั่งศูนย์บัญชาการ
โดยศูนย์บัญชาการจะมีหน้าที่ตระเตรียมสมาชิกให้มีความพรักพร้อมและส่งผู้คนออกไปทำพันธกิจแห่งการปฏิรูป
คริสตจักรแบบศิษยาภิบาล
เปรียบดั่ง ฟาร์มเลี้ยงแกะ
คริสตจักรแบบอัครทูต
เปรียบดั่ง ศูนย์บัญชาการ
Apostolic Center เป็นลักษณะของคริสตจักรที่ขับเคลื่อนแบบอัครทูตโดยการส่งผู้คนออกไปยึดครอง
การแปลศัพท์คำนี้เป็น “ศูนย์อัครทูต”
จึงเป็นการแปลที่ดูไม่ชัดเจนและงงๆ แต่ถ้าแปลศัพท์คำนี้เป็น “ศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูต” ก็จะให้ภาพของ Apostolic
Center ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ Apostolic Center สามารถแปลสั้นๆเป็น “ศูนย์บัญชาการ” ก็ได้
พระคุณจงทวีคูณแด่เพื่อนๆ
Philip Kavilar
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
หนังสือ
Apostolic
Centers เขียนโดย Alain Caron
หนังสือ
The Apostolic Church Arising เขียนโดย Chuck D.
Pierce and Robert Heidler
26 กันยายน 2561
มาร VS พระเจ้า
มารพูดสิ่งที่ “เทียมเท็จ” พระเจ้าตรัสสิ่งที่”เที่ยงแท้”
มารทำให้เราเป็น”ทาส” พระเจ้าทำให้เราเป็น”ไท”
มารชอบ”ปรักปรำ”เรา พระเจ้าชอบ”โปรดปราน” เรา
มารให้ร้าย “พยาบาท” พระเจ้าให้รัก”พยาบาล”
มารเน้นการ”ชอบทำ” พระเจ้าให้เรา “ชอบธรรม”
มารทำให้ชีวิตเรา”พัง” พระเจ้าทำให้เราได้”พัก”
มารทดลองให้เรา”ท้อแท้” พระเจ้าทดสอบให้เรา”ทนทาน”
อะไรคือ ศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูต?
ตั้งแต่ทศวรรษ
1990 ก็เกิดมีกระบวนการเคลื่อนไหวหนึ่งทีเรียกว่า
การปฏิรูปแห่งอัครทูตครั้งใหม่ (New Apostolic Reformation -
NAR)
กระบวนการเคลื่อนไหวนี้เป็นการกระบวนการที่มีจุดเริ่มต้นที่ว่า อัครทูตเป็นตำแหน่งที่ไม่ได้มีเฉพาะผู้คนในสมัยของพระคัมภีร์เท่านั้น
แต่ผู้คนในปัจจุบันนี้สามารถดำรงตำแหน่งอัครทูตได้ และตำแหน่งผู้นำสูงสุดของคริสตจักรไม่ใช่ศิษยาภิบาลแต่เป็นอัครทูต
จากจุดเริ่มต้นของตำแหน่งอัครทูตในยุคปัจจุบันก็ผลักดันให้เกิดการต่อยอดนานาประการ
และการต่อยอดประการหนึ่งของขบวนการเคลื่อนไหวนี้ก็คือ ศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูต
(Apostolic Center)
ในฤดูกาลที่แล้ว
ลักษณะของคริสตจักรมักจะเป็นการนำโดยศิษยาภิบาล
โดยรูปแบบของคริสตจักรที่เกิดขึ้นสามารถเรียกได้เป็น โบสถ์แบบศิษยาภิบาล (Pastoral Church) แต่ในฤดูกาลใหม่
ลักษณะของคริสตจักรนี้จะเป็นการนำโดยอัครทูต และรูปแบบของคริสตจักรในลักษณะนี้มีชื่อเรียกว่า
ศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูต
ลักษณะและธรรมชาติขององค์กรระหว่าง
โบสถ์แบบศิษยาภิบาลกับศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูต จะมีจุดต่างตรงที่ว่า ธรรมชาติของโบสถ์แบบศิษยาภิบาลจะเป็นมิติแบบฝูงลูกแกะ
แต่ธรรมชาติของศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูตจะเป็นมิติแบบฝูงราชสีห์
ลูกแกะกับราชสีห์มีลักษณะที่ต่างกันฉันใด ลักษณะของโบสถ์แบบศิษยาภิบาลกับศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูตก็มีความแตกต่างกันฉันนั้น
โดยรายละเอียดคร่าวๆอาจเป็นดังนี้
1. ลักษณะของการนมัสการ
การนมัสการในมิติแบบฝูงลูกแกะ
จะเน้นในด้านการใกล้ชิดสนิทสนมกับพระเจ้าและแช่อิ่มอยู่ในความรักของพระองค์
ลักษณะของการนมัสการแบบนี้จะเป็นการร้องเพลงประกอบกับการอธิษฐานเบาๆ
แต่การมนัสการในมิติแบบฝูงราชสีห์ จะเน้นในความเป็นองค์จอมโยธาของพระเจ้าและเน้นการแผ่ขยายอาณาจักรของพระเจ้าในระหว่างการนมัสการ
ลักษณะของการนมัสการแบบฝูงราชสีห์มักจะเป็นการร้องเพลงสลับกับการอธิษฐานและป่าวประกาศอย่างดุเดือด
2. ลักษณะของการอธิษฐาน
ลูกแกะเป็นสัตว์ที่มีลักษณะของความถ่อมใจและนุ่มนวล
ดังนั้นการอธิษฐานแบบลูกแกะจะเป็นการอธิษฐานอ้อนวอนในวิญญาณของความถ่อมใจ
ซึ่งมักจะเป็นการคุกเข่าและอธิษฐานอย่างนุ่มนวล ทว่าการอธิษฐานในแบบราชสีห์จะเป็นการอธิษฐานที่กล้าหาญและดุเดือด
การอธิษฐานในแบบราชสีห์นอกจากจะอธิษฐานต่อองค์จอมโยธาแล้ว ยังมีการอธิษฐานป่าวประกาศเข้าไปยังสวรรคสถานอีกด้วย
บางครั้งก็จะมีการทำสงครามต่อป้อมปราการของมาร ประกอบกับการทำกิจพยากรณ์
3. เป้าหมายต่อสังคม
ในการขับเคลื่อนของโบสถ์แบบศิษยาภิบาล
เป้าหมายที่มีต่อสังคมก็คือ การนำความรอดไปยังคนไม่เชื่อ
โดยจะเน้นการเก็บเกี่ยวผู้คนเข้าสู่คริสตจักร
แต่ในการขับเคลื่อนของศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูต
เป้าหมายที่มีต่อสังคมจะเป็นการปฏิรูป โดยมุ่งเน้นการยึดครององค์ประกอบต่างๆของสังคม
และเปลี่ยนแปลงสังคมนอกโบสถ์ให้สะท้อนถึงลักษณะแห่งอาณาจักรของพระเจ้า
4. การบริหารองค์กร
การบริหารองค์กรของโบสถ์แบบศิษยาภิบาล
จะนำด้วยศิษยาภิบาลโดยมีคณะผู้ปกครองคอยกำกับดูแล
ดังนั้นการตัดสินใจเรื่องสำคัญๆหรือการกำหนดนโยบายต่างๆจะกระทำกันเป็นกลุ่มซึ่งประกอบด้วยศิษยาภิบาลกับคณะผู้ปกครอง
แต่การบริหารองค์กรของศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูต จะจัดแจงโดยผู้นำสูงสุดที่ดำรงตำแหน่งอัครทูต
ส่วนคณะผู้ปกครองจะมีหน้าที่สนับสนุนอัครทูต(ไม่ใช่กำกับดูแลอัครทูต)
และการตัดสินใจเรื่องสำคัญๆหรือการกำหนดนโยบายต่างๆจะกระทำโดยอัครทูตเพียงคนเดียว
5. การเปลี่ยนแปลงองค์กร
ในลักษณะของโบสถ์แบบศิษยาภิบาล
จะไม่ชื่นชอบต่อการเปลี่ยนแปลง แต่จะสบายใจต่อการคงอยู่ในสภาพเดิม
แต่ในลักษณะของศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูต จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ
เพื่อให้ลักษณะของคริสตจักรมีความพรักพร้อมต่อการแผ่ขยายของอาณาจักร
6. วิสัยทัศน์ขององค์กร
ในระบบของโบสถ์แบบศิษยาภิบาล
วิสัยทัศน์ขององค์กรจะได้รับมาจากคณะที่โบสถ์สังกัดอยู่
การขับเคลื่อนขององค์กรจึงเป็นไปตามคณะที่สังกัด
แต่ในวิถีของศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูต
วิสัยทัศน์ขององค์กรจะได้รับมาจากการสำแดงของทีมผู้เผยพระวจนะที่ทำงานกับอัครทูต
การขับเคลื่อนของศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูตจึงก้าวเดินตามการสำแดงที่ได้รับผ่านทีมผู้เผยพระวจนะ
จึงกล่าวได้ว่า
การขับเคลื่อนในศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูตจะไม่อิงอยู่กับถ้อยคำของพระคัมภีร์เท่านั้น
แต่จะอิงกับถ้อยคำแห่งการเผยพระวจนะด้วย ด้วยลักษณะเช่นนี้
ผู้คนในศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูตจึงมีความจริงจังมากต่อถ้อยคำเผยพระวจนะ
7. พันธกิจของสมาชิกองค์กร
ตามขนบแล้ว
โบสถ์แบบศิษยาภิบาลจะประกอบไปด้วยทีมผู้รับใช้และฆราวาส โดยฆราวาสที่เป็นสมาชิกของโบสถ์จะมาร่วมนมัสการและถวายทรัพย์ให้กับคริสตจักร
ทั้งนี้ฆราวาสบางคนอาจมีส่วนช่วยงานของโบสถ์บ้างเล็กน้อย ส่วนทีมผู้รับใช้ก็จะทำพันธกิจต่างๆของโบสถ์
ทั้งนี้ในภาพรวม พันธกิจศูนย์กลางของโบสถ์แบบศิษยาภิบาล
คือการรวมตัวกันนมัสการในวันที่กำหนดไว้
ทว่า ลักษณะของศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูตจะมีความแตกต่างจากขนบเหล่านี้
เพราะเป้าหมายหลักของศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูตจะไม่ใช่การรวบรวมผู้คนมานมัสการ
แต่มีเป้าหมายหลักในการส่งผู้คนไปยึดครอง
ศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูตจึงมีหน้าที่ติดอาวุธให้กับเหล่าสมาชิก
โดยทีมผู้นำในศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูตซึ่งประกอบไปด้วยพันธกรทั้ง 5 (เอเฟซัส 4:11)
จะทำหน้าที่ติดอาวุธให้กับเหล่าสมาชิก
ส่วนสมาชิกแต่ละคนก็จะมีพันธกิจส่วนตัวในการเข้าไปปฏิรูปสังคมหรือนำอาณาจักรของพระเจ้าเข้าไปยังที่ทำงานของพวกเขา
พระคุณจงทวีคูณแด่เพื่อนๆ
Philip Kavilar
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
รายละเอียดเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง
โบสถ์แบบศิษยาภิบาล กับ ศูนย์บัญชาการเชิงอัครทูต
สามารถดูได้ที่
https://www.gloryofzion.org/docs/Apostolic%20Centers_sm.pdf
หนังสือ
ปฏิรูปประชาชาติ เขียนโดย ซินดี้ เจคอปส์
หนังสือ
Apostolic
Centers เขียนโดย Alain Caron
24 กันยายน 2561
11 กันยายน 2561
4 สัญลักษณ์แห่งสัญญารักในเทศกาลของพระยาห์เวห์
Shanah Tovah U Metuka! สุขสวัสดีด้วยความหวานชื่นใจในปีใหม่ 5779 นี้สำหรับผู้อ่านทุกท่านนะครับ
เมื่อเราเข้าสู่เดือนทิชรี (Tishri) ปี 5779 (ช่วงเย็นวันที่ 9 ก.ย.-9 ต.ค.2018) ถือเป็นการเข้าสู่ช่วงเทศกาลการนัดหมายของพระยาห์เวห์ เนื่องจากเดือนนี้มีเทศกาลสำคัญถึง 3 เทศกาลด้วยกัน (ลนต.23:24-40) นั่นคือ
1. เทศกาลเป่าแตรเขาสัตว์ หรือ การเริ่มต้นปีใหม่ (Rosh Hashanah -โรช ฮาชชะนาห์) - Head of the year ตรงกับช่วงเย็นวันที่ 9-10 กันยายน 2018
2. เทศกาลลบมลทินบาป (Yom Kippur-ยม คิปปูร์) - Day of Atonement ตรงกับวันที่ วันที่ 20 กันยายน 2018
3.เทศกาลอยู่เพิง(Sukkot-สุคคท)-Feast of Tabernacles ตรงกับช่วงวันที่ 24-30 กันยายน 2018
ในช่วงระหว่างวันที่ 10-20 กันยายน 2018 ช่วงเวลา 10 วันแห่งความยำเกรงพระเจ้า (Days of Awe) เป็นเวลาที่จะหันชีวิตออกจากวิถีแห่งความบาป และหันกลับมาหาพระยาห์เวห์โดยการอดอาหารอธิษฐานเป็นการเตรียมชีวิตกลับใจจากความบาป
ในช่วงระหว่างวันที่ 10-20 กันยายน 2018 ช่วงเวลา 10 วันแห่งความยำเกรงพระเจ้า (Days of Awe) เป็นเวลาที่จะหันชีวิตออกจากวิถีแห่งความบาป และหันกลับมาหาพระยาห์เวห์โดยการอดอาหารอธิษฐานเป็นการเตรียมชีวิตกลับใจจากความบาป
ปี 5779 ตัวอักษรประจำปีนี้คือตัวอักษร Teth -ט เป็นภาพของวงจร(wheel) ครรภ์(womb) หมายถึงวรจรเวลาใหม่กำลังเคลื่อนมาถึงแล้ว และสิ่งใหม่ๆกำลังคลอดออกมา ดั่วทารกที่ถูกฟูมฟักอยู่ในครรภ์ถึง 9 เดือน เป็นเวลาแห่งการยินดีที่จะฉลองในปีแห่งผลองุ่นที่สดใหม่
เทศกาลงานเลี้ยงของพระยาห์เวห์เป็นความบริบูรณ์ของเวลากำหนดทั้งสิ้นของพระองค์ (ภาษาฮีบรู : Mo’ed) เป็นการเรียกชุมนุมอันบริสุทธิ์
เทศกาลคือสิ่งที่เป็นมาในอดีต สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและเป็นสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในสวรรค์เพื่อพระเยซูคริสต์กลับมา! ฉะนั้นเทศกาลต่างๆเหล่านี้จึงเป็นภาพเงาหรือสัญลักษณ์เตือนใจที่เล็งถึงพระเยซูคริสต์
โคโลสี 2:16-17
16 เหตุฉะนั้นอย่าให้ผู้ใดพิพากษาปรักปรำท่านในเรื่องการกิน การดื่ม ในเรื่องเทศกาล วันต้นเดือน หรือวันสะบาโต
17สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเงาของเหตุการณ์ที่จะมีมาในภายหลัง แต่กายนั้นเป็นของพระคริสต์
16 เหตุฉะนั้นอย่าให้ผู้ใดพิพากษาปรักปรำท่านในเรื่องการกิน การดื่ม ในเรื่องเทศกาล วันต้นเดือน หรือวันสะบาโต
17สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเงาของเหตุการณ์ที่จะมีมาในภายหลัง แต่กายนั้นเป็นของพระคริสต์
เทศกาลต่างๆจึงเป็น“สัญลักษณ์” เตือนใจเพื่อกระตุ้นเราให้มีความเชื่อเข้มแข็งขึ้นใน“สัญญารัก” ของพระเยซู(เยชูวาห์) ว่าทรงเป็นพระผู้ช่วยซึ่งทรงรักเรา
พระเจ้าทรงกำหนดเวลานัดหมาย(Divine Appointment) ในเทศกาลต่างๆและแน่นอนว่าพระองค์จะมารับผู้ที่รักษาความเชื่อที่พร้อมไปกลับพระองค์ในวาระสุดท้าย
การเริ่มต้นปีใหม่ (Rosh Hashanah) ปี 5779 ปีแห่งตัวอักษรฮีบรูคือ อายิน เท็ธ (Ayin Teth)
แม้แต่ตัวอักษรภาษาฮีบรูยังเป็นภาษาสัญลักษณ์ซึ่งเล็งถึงคุณลักษณ์(Attributes) ทั้ง 22 ประการที่พระเมสสิยาห์ทรงสำแดงแก่ประชากรของพระองค์ ตั้งแต่ตัวแรกคือ א Aleph "อาเล็ฟ" จนถึงตัวสุดท้าย คือ ת Tav"ทาว" พระองค์ทรงเป็นปฐมและอวสาน
(หากเป็นภาษาไทย พระองค์คงจะเป็นตั้งแต่ ก.เอ๋ย ก.ไก่ไปจนถึง ฮ.นกฮูก ตาโต)
Aleph א เป็นตัวอักษรตัวแรกและเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นหนึ่งเดียวและยิ่งใหญ่ เปรียบดั่งกษัตริย์ของตัวอักษรตัวอื่น
คำว่า אֱלֹהִים เอโลฮิม(พระเจ้า ผู้ทรงเป็นพระผู้ทรงสร้าง) ก็ขึ้นต้นด้วยตัวนี้
Tav ת เป็นสัญลักษณ์หมายถึง ความจริง (Emet) และความสมบูรณ์แบบ
Tav ת หมายถึงต้นไม้หรือกางเขน ที่เป็นการเชื่อมไปสู่ทาง ความจริงและชีวิต ผ่านทางพระเยซูเพื่อไปถึงพระบิดาหรือเอโลฮิม
ยอห์น 14:6 พระเยซูตรัสกับเขาว่า "เราเป็นทางนั้น เป็นความจริงและเป็นชีวิต ไม่มีผู้ใดมาถึงพระบิดาได้นอกจากจะมาทางเรา"
1 เปโตร 2:24 พระองค์เองได้ทรงรับแบกบาปทั้งหลายของเราไว้ในพระกายของพระองค์ ที่ต้นไม้( ת Tav)นั้น เพื่อว่าเราจะตายต่อบาปได้ และดำเนินชีวิตเพื่อความชอบธรรม ด้วยบาดแผลของพระองค์ พวกท่านจึงได้รับการรักษาให้หาย
เมื่อคนอิสราเอลอยู่ในถิ่นทุรกันดาร พระยาห์เวห์ทรงทำพันธสัญญากับคนของพระองค์ คือ มอบพระบัญญัติให้ที่ภูเขาซีนาย รวมถึงกำหนดเทศกาลต่างๆ เพื่อให้คนของพระองค์ได้ฉลองตลอดจนนิรันดร์ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งสัญญารักนิรันดร์ของพระยาห์เวห์กับคนของพระองค์ ตามหนังสือเลวีนิติบทที่ 23
ดังนั้นช่วงเวลาแห่งเทศกาลต่างๆจึงเป็น “สัญลักษณ์” ที่สำแดงถึง “สัญญารัก” ของพระยาห์เวห์” ที่พระองค์ทรงมีต่อคนของพระองค์ เพื่อนัดหมายและเล็งถึงอนาคตให้รอคอยพระองค์กลับมารับด้วยใจจดจ่อ
4 สัญลักษณ์แห่งสัญญารักในเทศกาลของพระยาห์เวห์ มีดังต่อไปนี้
1. เขาสัตว์(Shofar-โชฟาร์) เป็น“สัญลักษณ์” ในเทศกาลเสียงแตรเขาสัตว์ (Rosh Hashanah)
การเป่าโชฟาร์เป็นสัญญาณที่ดังขึ้นเพื่อปลุก(revive) จิตวิญญาณให้หันกลับ(return)มาฟังเสียงเรียกให้กลับใจ
ผู้เผยพระวจนะโยเอล เป่าแตรหรือโชฟาร์ ในศิโยนเพื่อเรียกให้คนกลับใจใหม่
โยเอล 2:15 จงเป่าเขาสัตว์ที่ในศิโยน จงเตรียมทำพิธีอดอาหาร จงเรียกประชุมตามพิธี
ในระหว่างการปฏิรูปศาสนาของกษัตริย์อาสา ให้คนเป่าโชฟาร์เพื่อให้คนอิสราเอลแสวงหาพระเจ้า
2 พงศาวดาร 15:12 และเขาก็เข้าทำพันธสัญญาที่จะแสวงหาพระยาห์เวห์ พระเจ้าแห่งบรรพบุรุษของเขา ด้วยสุดจิตสุดใจของเขา และเขาได้ประทับคำสัญญาของพวกเขาด้วยเสียงแตร
2 พงศาวดาร 15:14 เขาทั้งหลายได้กระทำสัตย์สาบานต่อพระเจ้าด้วยเสียงอันดัง และด้วยเสียงโห่ร้อง และด้วยเสียงแตรและเขาสัตว์
เสียงโชฟาร์เป็นเสียงแห่งการต่อต้านความบาป
อิสยาห์ 58:1 จงร้องดังๆอย่าออมไว้ จงเปล่งเสียงของเจ้าเหมือนเป่าเขาสัตว์ จงแจ้งแก่ชนชาติของเราให้ทราบถึงเรื่องการทรยศของเขา แก่เชื้อสายของยาโคบเรื่องบาปของเขา
เสียงของโชฟาร์เป็นเสียงเรียกให้ตอบสนอง เพื่อใคร่ครวญดูการกระทำของตน และดำเนินชีวิตใหม่ให้ถูกต้อง ก่อนวันแห่งการพิพากษา เป็นการหวนระลึกถึงการทำตน
ดังนั้นก่อนจะถึงวันนั้นผู้เชื่อจึงควรสำรวจใจ และกลับใจ(ฮีบรู 9:27) พระเจ้ามักสื่อสารและเตือนประชากรของพระองค์ล่วงหน้าเสมอ ก่อนที่พระองค์จะทาการพิพากษา เทศกาลแห่งเสียงแตรสะท้อนถึง พระประสงค์ของพระเจ้าที่จะรวบรวมประชากรของพระองค์ให้กลับใจใหม่ เพื่อว่าพระองค์จะสามารถกู้พวกเขาในวันแห่งการพิพากษา
การจุดไฟที่คันประทีปเป็นการรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับระหว่างระหว่างพระยาห์เวห์กับคนของพระองค์
ในช่วงเวลา 10 วันแห่งความยำเกรงพระเจ้า (Days of Awe) หลังจากเทศกาลเสียงแตรเขาสัตว์จะมีช่วงเวลา 10 วันแห่งความยำเกรงพระเจ้า (Days of Awe) เป็นเวลาที่จะหันชีวิตออกจากวิถีแห่งความบาป และหันกลับมาหาพระเจ้าโดยการอดอาหารอธิษฐานเป็นการเตรียมชีวิตกลับใจ(repent)จากความบาป
การจุดไฟที่คันประทีป เล็งถึงความสัมพันธ์ที่ต้องรักษาไว้เสมอ
การตั้งคันประทีปในพระวิหารเป็นการกำหนดทิศทางได้เพื่อให้หันกลับมาในทิศทางที่ถูกต้อง หากอยู่ต่างประเทศคนยิวจะตั้งคันประทีปหันไปทางทิศที่ตั้งของประเทศอิสราเอล หากอยู่ในประเทศอิสราเอลจะตั้งคันประทีปหันไปทางทิศที่ตั้งของกรุงเยรูซาเล็ม และหากอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็มจะตั้งคันประทีปหันไปทางทิศที่ตั้งของภูเขาพระวิหาร
ดังนั้นเราจึงต้องหันทิศทางชีวิตของเราให้ถูกต้องในช่วง10 วันแห่งความยำเกรงพระเจ้า (Days of Awe)และรับการการรื้อฟื้น(restore) ความสัมพันธ์กับพระเจ้าเสมอเหมือนดั่งการจุดรักษาไฟที่คันประทีปในเทศกาลที่จะไม่มอดดับตลอดไป
3.พระที่นั่งกรุณา (คัปโปเร็ท- Kapporet (Mercy Seat)) เป็นสัญลักษณ์แห่งการกลับใจใหม่(Repent) ในเทศกาลลบมลทินบาป(Yom Kippur-ยม คิปปูร์)
วันลบมลทินบาป(Day of Atonement) เป็นวันเดียวในรอบ 1 ปีที่มหาปุโรหิตจะเข้าไปในห้องอภิสุทธิสถานเพื่อทำการลบมลทินบาปให้กับชุมชน ซึ่งพิธีกรรมนี้เป็นภาพเงาที่เล็งถึงพระเยซูคริสต์ที่พระองค์มาสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเป็นการลบมลทินบาปให้กับเราชั่วนิรันดร์(ฮีบรู 9:12, 24-27) เราจึงไม่ต้องทำพิธีนี้แล้ว แต่เราไม่ควรที่จะตกอยู่ใน “ความกลัว”ต่อการปรักปรำในบาปอีกต่อไปแต่เราควรจะมี “ความกล้า”เข้าไปพระที่นั่งกรุณาโดยพระคุณที่โปรดปรานผ่านทางพระคริสต์
ฮีบรู 4:15-16
15 เพราะว่า เราไม่ได้มีมหาปุโรหิตที่ไม่สามารถจะเห็นใจในความอ่อนแอของเรา แต่ทรงเคยถูกทดลองใจเหมือนเราทุกอย่าง ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังปราศจากบาป
16 ฉะนั้นขอให้เราเข้ามาถึงพระที่นั่งแห่งพระคุณด้วยความกล้า เพื่อเราจะได้รับพระเมตตา และจะพบพระคุณที่ช่วยเราในยามต้องการ
4.เพิงที่พำนัก หรือเต็นท์นัดพบ (Sukkot-สุคคท) เป็นสัญลักษณ์แห่งเทศกาลอยู่เพิง
การพักสงบในเต็นท์นัดพบในเทศกาลอยู่เพิงเป็นช่วงเวลาที่เราจะชื่นชมยินดี(Rejoice)จะได้สามัคคีธรรมอยู่ต่อการทรงสถิตภายใต้ร่มเงาในเพิงแห่งพระสิริของพระเจ้า
เทศกาลนี้ชาวยิวจะไปตั้งค่ายพักแรมสร้างเพิงที่พำนัก เป็นครอบครัว เป็นช่วงเวลาแห่งการนัดพบกับพระยาห์เวห์ด้วยความชื่นชมยินดีในการอ่านพระบัญญัติ(โทราห์)
เมื่อเราศึกษาจากพระธรรมเนหะมีย์ บทที่ 8 เราจะเห็นถึงความสำคัญของเทศกาลอยู่เพิง ทั้งนี้เพราะช่วงเวลานั้นคนอิสราเอลได้รับการปลดแอกจากการป็นเชลยที่บาบิโลนและได้เดินทางกลับมาที่กรุงเยรซาเล็มเพื่อสร้างกำแพงและรื้อฟื้นการเฉลิมฉลองเทศกาลของพระยาห์เวห์
เนหะมีย์หนุนใจประชาชนอิสราเอลให้ชื่นชมยินดีเพราะความยินดีในพระเจ้าเป็นกำลัง(8:10) พวกเขามีความยินดีเพราะเขาจะได้ร่วมฉลองเทศกาลอยู่เพิง!
เทศกาลอยู่เพิงนี้ คนยิวจะอยู่ในเพิง 7 วันและวันที่ 8 มีการประชุมกัน(Shemini Atzeret ) และพวกเขาจะออกมาเต้นรำและถือหนังสือม้วนโทราห์(Torah) อ่านข้อความตั้งแต่พระธรรมปฐมกาลข้อแรก จนถึงข้อสุดท้ายของพระธรรมเฉลยธรรมบัญญัติ เพื่อแสดงว่า “พระวจนะของพระเจ้าไม่มีวันสิ้นสุด”
เนหะมีย์ 8:18 และทุกวันท่านอ่านธรรมบัญญัติ(Torah)ของพระเจ้า ตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้าย เขาถือเทศกาลเลี้ยง(Sukkot) อยู่ 7 วัน และในวันที่8 (Shemini Atzeret )มีการชุมนุมตามพิธีตามกฎหมาย
สดุดี149:4-6 เพราะพระยาห์เวห์ทรงปรีดีในประชากรของพระองค์ พระองค์ประทานชัยชนะเป็นมงกุฎแก่คนที่ถ่อมใจ ให้ผู้จงรักภักดียินดีในเกียรตินี้ ให้พวกเขาร้องเพลงด้วยความยินดีบนที่นอน ให้การสดุดีเทิดทูนพระองค์อยู่ในลำคอของพวกเขา และให้ดาบสองคมอยู่ในมือของพวกเขา
นี่คือ 4 “สัญลักษณ์” แห่ง “สัญญารัก” ในช่วงเวลาแห่งเทศกาลของพระยาห์เวห์
เราไม่ได้ถือเทศกาลต่างๆตามกฏบัญญัติว่า "เราจำเป็นต้องทำ" แต่เราถือเทศกาลต่างๆ เพราะหัวใจของเรา บอกว่า "เราอยากทำ" เราไม่ได้เรียนรู้เรื่องเทศกาลเป็นเพียง “ความรู้” ที่เพิ่มรอยหยักที่หัวสมอง แต่เราเรียนรู้ด้วยความเข้าใจใน “ความรัก” ของพระยาห์เวห์ที่กำหนดไว้ที่เป็น “รอยสลัก” แห่งพันธสัญญา
เพลงโซโลมอน 8:6 จงแนบดิฉันไว้ให้เป็นเนื้อเดียวดุจดวงตราแขวนอยู่ที่ใจของเธอ ประดุจดวงตราบนแขนของเธอ เพราะความรักนั้นเข้มแข็งอย่างความตาย ความรักรุนแรงก็ดุเดือดเหมือนแดนคนตาย และประกายแห่งความรักรุนแรงนั้นก็คือประกายเพลิงคือประกายเพลิงที่แสนรุนแรง
เทศกาลแห่งการเริ่มต้นปีใหม่ 5779 นี้จึงเป็นการปลุก(Revive)จิตวิญญาณของเราให้กลับใจ(Repent) หันกลับมา(Return)เพื่อรื้อฟื้น(Restore)คืนความสัมพันธ์กับพระยาห์เวห์ในช่วงเทศกาลแห่งการนัดพบพักสงบ และชื่นชม(Rejoice)
ในเทศกาลงานเลี้ยงของพระยาห์เวห์ เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นหมายสำคัญที่เราจะฉลองใหญ่อีกครั้งในแผ่นดินสวรรค์! วันนี้เป็นการฉลองงานเลี้ยงเทศกาลเป็นเพียงสิ่งชั่วคราว แต่ที่นั่นบนสวรรค์เรามีงานเลี้ยงฉลองเทศกาลชั่วนิรันดร์ตลอดไป วันนี้เราอยู่ในเพิงพักชั่วคราว แต่ในวันนั้นบนสวรรค์เราจะอยู่ในบ้านถาวรชั่วนิรันดร์ อาเมน
เศคาริยาห์ 14:16 และอยู่มาบรรดาคนที่เหลืออยู่ในประชาชาติทั้งปวงซึ่งยกขึ้นมาสู้รบกับเยรูซาเล็ม จะขึ้นไปนมัสการกษัตริย์ปีแล้วปีเล่า คือพระเจ้าจอมโยธา และจะถือเทศกาลอยู่เพิง
วิวรณ์ 21:3 ข้าพเจ้าได้ยินเสียงดังมาจากพระที่นั่งว่า “ดูเถิด พลับพลาของพระเจ้าอยู่กับมนุษย์แล้ว พระองค์จะทรงสถิตกับเขา เขาจะเป็นชนชาติของพระองค์ และพระเจ้าเองจะประทับอยู่กับเขา และจะทรงเป็นพระเจ้า”
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)