20 เมษายน 2559

ความหมาย 3 มิติเกี่ยวกับเทศกาลปัสกา(Three Dimensional Meaning of Passover)

สุขสันต์ในเทศกาลปัสกา(Passover : Pesach) เทศกาลที่ระลึกถึงการไถ่จากการเป็นทาสในอียิปต์ของคนอิสราเอล ซึ่งมีความหมายสำหรับคริสตชนอย่างเราเช่นเดียวกับ เพราะทุกเทศกาลเป็นการนัดหมายของพระเจ้า(Divine Appointment)เพื่อจะพบปะและนำการอวยพรมาสู่คนของพระองค์

ทศกาลปัสกา เล็งถึง พระเยซูคริสต์ หรือ พระเยชูวาห์ ทรงเป็นพระเมสิยาห์ที่ลงมาช่วยไถ่คนของพระองค์  ทรงเป็นแกะปัสกาที่ถูกฆ่าบนกางเขน และทรงชำระบาปของเราโดยพันธสัญญาแห่งพระโลหิตเปรียบเสมือนเลือดของแกะปัสกาที่ถูกฆ่าและคนอิสราเอลได้นำมาทาที่วงกบประตู เพื่อให้ทูตแห่งความตายผ่านเขาไป  คนอิสราเอลจึงได้ออกจากความเป็นทาสในอียิปต์ และเช่นเดียวกัน เราทุกคนที่เชื่อในพันธสัญญาแห่งพระโลหิตของพระองค์ก็ได้รับความรอดจากความบาปและความตายเช่นกัน
Asher Intrater

บทความครั้งนี้ ผมขออธิบายความหมาย 3 มิติเกี่ยวกับเทศกาลปัสกาโดยเรียบเรียงจากบทความเรื่อง Three Dimensional Meaning of Passover ของ อาเชอร์ อินเทรเตอร์(Asher Intrater) มีหัวเรื่องดังต่อไปนี้







1. การอพยพออกจากอียิปต์ (Exodus from Egypt)
เรื่องราวของเทศกาลปัสกาและการอพยพจากอียิปต์  เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญซึ่งได้บันทึกไว้ในธรรมบัญญัติ(Law)และหนังสือผู้เผยพระวจนะ(Prophets)  เป็นเหตุการณ์ที่พระเจ้าผู้ทรงสร้างกัลปจักรวาลได้เข้ามาแทรกแซงประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติเพื่อที่จะช่วยเหลือคนของพระองค์ที่ถูกกดขี่ข่มเหง  และนำความยุติธรรมเข้าสู่ทางสังคม  พระองค์ทรงสถาปนากฎหมายศีลธรรมสากล และคนอิสราเอลได้รับการเลือกสรรจากประชาชาติของโลก (จากผู้ที่พระองค์ทรงสร้าง ทั้งชาวยิวและชาวต่างชาติ) พวกเขาเป็นประชากรที่พระองค์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็น "ประชากรของพระองค์"(chosen people)   

พระเจ้าทรงสำแดงพระองค์เอง(อพย.3:15) ในพระนามว่า  “เรา​เป็น​ผู้​ซึ่ง​เรา​เป็น” หรือ พระยาห์เวห์ มาจากตัวอักษรฮีบรู 4 ตัวคือ คือ  יהוה (Yod Hei Vav Hei) หรือ YHVH  พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าที่ความบริสุทธ์ มีความเมตตาและทรงมีพันธสัญญานิรันดร์กับคนของพระองค์   พระองค์ทรงกำหนดระบบปุโรหิต(priesthood)ในเรื่องการถวายเครื่องบูชาเพื่อชำระมลทินบาปโดยโลหิต (atonement by blood sacrifice)  การอพยพได้สำเร็จหลังจากประวัติศาสตร์ 400 ปีแห่งการเป็นทาสในอียิปต์หลังจากยุคสมัยของอัครปิตา(patriarchs) 
พันธสัญญาของพระยาห์เวห์ได้เริ่มต้นจากครอบครัวอับราฮัม ครอบครัวเดียวจนเกิดการเจริญเติบโตมากกว่า 2 ล้านคนในช่วงเวลาของโมเสส
พระเจ้าทรงเลือกฤดูกาลแห่งการไถ่ของเทศกาลปัสกา โดยเลือกวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงครั้งแรกในช่วงต้นของฤดูใบไม้ผลิ(Spring)   (เริ่มต้นในเย็นวันที่ 14 เดือนนิสาน) - เพื่อการเปิดเผยเวลาแห่งการไถ่โดยพระองค์ (อพย.12:1-13)
2.พระราชกิจแห่งการไถ่ของพระเยชูวาห์ (Gospel of Yeshua)
ชาวอิสราเอลได้รับผ่านเว้น(Pass over)ให้พ้นจากทูตแห่งความตายในอียิปต์โดยความเชื่อที่พวกเขาได้นำเลือดของลูกแกะไปทาไว้ที่วงกบของประตู  ด้วยเลือดของลูกแกะนี่เองทำให้พวกเขาได้รับการไถ่  หากปราศจากโลหิตพวกเขาก็จะไม่ได้รับการไถ่ ชีวิตและความตายขึ้นอยู่กับเลือดของลูกแกะ 
เมื่อพวกเขาได้รับพระบัญญัติ(Torah)ที่ภูเขาซีนาย  พระยาห์เวห์ทรงสถาปนาระเบียบเรื่องการการถวายเครื่องบูชาเพื่อชำระมลทินบาปโดยโลหิตที่มีการถวายทุกวัน  ในแง่มุมของความเชื่อโบราณของคนอิสราเอล  ทุกคนเชื่อในเรื่องการประทับตราด้วยพันธสัญญาแห่งโลหิต (covenant sealed by blood)
เช่นเดียวกับคนอิสราเอลโบราณ เลือดของลูกแกะเป็นสัญลักษณ์แห่งการไถ่ (symbolically redeemed) และเพื่อมวลมนุษยชาติจะได้รับการไถ่จากบาปชั่วนิรันดร์จึงต้องการการไถ่ด้วยพระโลหิตของพระเมษโปดก(blood of The Lamb) 
Dan Juste
ใจความสำคัญของการไถ่ด้วยเลือดไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง แต่มันก็ได้สำเร็จเสร็จสิ้นแล้วผ่านทางพระราชกิจแห่งการไถ่ของพระเยชูวาห์ (พระเยซูในภาษาฮีบรูโดยพระโลหิตของพระองค์ทำให้เราได้รับการลบมลทินบาป  และการฟื้นคืนพระชนม์ของพระองค์ทำให้เรามีชีวิตนิรันดร์  สำหรับเราทุกคนไม่ว่าเราจะเป็นใคร เราสามารถได้รับการลบมลทินบาปและได้รับชีวิตนิรันดร์โดยพระองค์
3.มุมมองในเรื่องยุคสุดท้าย (End Times Paradigm)
ความหมายของเทศกาลปัสกาอีกมิติหนึ่ง คือ  "การไถ่บาปครั้งสุดท้ายจะเป็นเช่นเดียวกับไถ่บาปครั้งแรก" (The last redemption will be like the first redemption)  รับบีได้กล่าวไว้  
ซึ่งหมายความว่าการเสด็จมาอย่างเต็มล้นด้วยพระสิริของพระคริสต์ เพื่อจะสถาปนาการปกครองแห่งอาณาจักรบนแผ่นดินโลกจะคล้ายกับเหตุการณ์การอพยพออกจากอียิปต์
แดน จัสเตอร์ (Dan Juster)ได้เขียนเชิงเปรียบเทียบ  (parallel)ไว้ในหนังสือของเขา คือ "วิวรณ์ : กุญแจสำคัญของปัสกา" (Revelation : the Passover Key)
ภาพของกษัตริย์ฟาโรห์แห่งอียิปต์เป็นภาพเงาของปฏิปักษ์ของพระคริสต์(Antichrist) ที่ยังไม่มาถึง
การกดขี่ข่มเหงจะมีความคล้ายคลึงกัน  ภัยพิบัติ (plagues) ที่จะเกิดขึ้นในโลกจะเป็นเหมือนเช่นการพิพากษาของพระยาห์เวห์ต่อความชั่วร้าย  เพื่อกระตุ้นให้คนของพระองค์กลับใจจากความชั่วร้าย
ในช่วงเวลายากลำบาก ผู้เชื่อที่แท้จริงจะได้รับการปกป้องดั่งเช่นอิสราเอลได้รับที่โกเชน(Goshen) และผู้ที่จะเป็นพยานของพระยาห์เวห์ด้วยฤทธิ์อำนาจและพระคุณ ที่จะถูกส่งมาในช่วงเวลาดั่งกล่าวจะเป็นเช่นโมเสสและอาโรน ที่ออกไปพูดกับกษัตริย์ฟาโรห์แห่งอียิปต์ให้ปลดปล่อยประชากรของพระยาห์เวห์  และในตอนท้ายสุดจะมีการปลดปล่อยอย่างฉับพลันดั่งเช่นคนอิสราเอลได้รับชัยชนะที่ทะเลแดง
ในช่วงเทศกาลปัสกานี้ขอหนุนใจให้เรารับการชำระชีวิตจากพระยาห์เวห์และเตรียมหัวใจของเรา  สำหรับทุกเป้าประสงค์ลิขิตของพระองค์ ตามคำเผยพระวจนะที่จะเกิดขึ้นเป็นจริงในช่วงเวลานี้

ขอบคุณข้อมูลจาก http://reviveisrael.org 

เทศกาลปัสกา การชำระสู่การเพิ่มพูน

חג פסח שמח Chag Pesach Sameach !  สุขสันต์ในเทศกาลปัสกาสำหรับทุกท่านนะครับ เทศกาลปัสกา (Passover -Pesach)เป็นเทศกาลที่คนอิสราเอลระลึกถึงการไถ่จากการเป็นทาสในประเทศอียิปต์(อพย.12)  โดยพระยาห์เวห์ทรงเป็นผู้ช่วยไถ่พวกเขาและทรงบัญชาให้ถือรักษาเทศกาลนี้ตลอดไป จะอยู่ในช่วงวันที่ 15-22 เดือนนิสาน(Nisan) แต่จะเริ่มฉลองตั้งแต่เย็นวันที่ 14 (ลนต.23:5-11)
สำหรับในปีนี้เทศกาลปัสกาจะอยู่ในช่วงวันที่ 22-30 เม.ย.2016 

ในเทศกาลปัสกาจะมีเทศกาลย่อยๆ 3 เทศกาลด้วยกันคือ


1. เทศกาลปัสกา (Pesach) 
ลนต.23: 5 ในเวลาเย็นวันที่ 14 เดือนที่ 1 (นิสาน-Nisan)เป็นวันเทศกาลปัสกาของพระยาห์เวห์
ปัสกา (Pesach) หมายถึง การผ่านเว้น (pass over) ในสมัยที่คนอิสราเอลเป็นทาสในอียิปต์ พระยาห์เวห์ทรงนำการปลดปล่อยจากการเป็นทาส ทรงสั่งให้คนยิวนำเลือดแกะมาทาที่วงกบประตูบ้านเพื่อให้ทูตแห่งความรณาของพระเจ้าได้ผ่านเลยไป ไม่ประหารบุตรหัวปี (อพย. 12:4-13) สิ่งนี้เป็นเงา(Type)เล็งถึง พระเยซูคริสต์ที่ทรงเป็นพระเมษโปดก หรือแกะปัสกาที่ถูกนำไปฆ่าและพระโลหิตที่หลั่งออกเพื่อทำให้เราได้รับการผ่านเว้นจากการพิพากษา(ฮบ.9:22 )

2. เทศกาลกินประทานขนมปังไร้เชื้อ (Chag Matzah) 
ลนต. 23:6 และในวันที่15 เดือนเดียวกัน เป็นเทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อถวายแด่พระยาห์เวห์ ให้พวกเจ้ารับประทานขนมปังไร้เชื้อ7วัน (วันที่ 15-22 นิสาน)
ขนมปังไร้เชื้อ(Matzah)  
Matzah มาทซะห์ คือ ขนมปังไร้เชื้อ (unleavened bread)
โดยปกติคนยิวจะรับประทานขนมปังแผ่นกลมๆที่มีเชื้อ เรียกว่า พิต้า (Pita) แต่ในเทศกาลนี้คนยิวจะกินขนมปังปิ้งไร้เชื้อ (Matzah)และกินผักรสขม เพื่อระลึกถึงความขมขื่นใจที่เป็นทาสในอียิปต์ นอกจากนี้จะมีการกำจัดเชื้อเก่าๆที่ได้รับอิทธิพลจากอียิปต์ พวกเขาจะชำระเชื้อในบ้านให้ปราศจากเชื้อ  
ในพระธรรม 1 โครินธ์ 5:7-8 อัครทูตเปาโลได้อธิบายภาพนี้ให้คริสตจักรที่เมืองโครินธ์โดยยกตัวอย่างจากเทศกาลปัสกาของชาวยิวและการรับประทานขนมปังไร้เชื้อ(อพย.12:1-28,13:6-8) เพื่อให้ตระหนักว่าผู้เชื่อต้องชำระเชื้อเก่าด้วยความเชื่อใหม่ที่ได้รับการไถ่แล้วจากพระเยซูคริสต์
(อธิบายไว้ในบทความเรื่อง ชำระบ้านเตรียมชีวิตในเทศกาลปัสกา)
ในพระธรรมมัทธิว บทที่ 26:17-29 พระเยซูคริสต์ทรงร่วมฉลองเทศกาลปัสกาและรับประทานขนมปังไร้เชื้อ และทรงได้ตั้งพิธีมหาสนิท เพื่อระลึกว่าพระองค์ทรงสละพระชนม์เพื่อไถ่บาปให้กับเรา ดังนั้นขนมปังที่ใช้ทำพิธีมหาสนิทจึงควรเป็นขนมปังไร้เชื้อ เล็งถึงพระกายของพระเยซูคริสต์ที่ปราศจากความบาป
ขนมปังพิต้า (Pita)
 17 เมื่อ​วัน​ต้น​เทศกาล​กิน​ขนม​ปัง​ไร้​เชื้อ พวก​สาวก​มา​ทูล​ถาม​พระ​องค์​ว่า “จะ​ให้​ข้า​พระ​องค์​จัดเตรียมปัสกา​ให้​พระ​องค์​เสวย​ที่​ไหน
26 ระหว่าง​อาหาร​มื้อ​นั้น ​พระ​เยซู​ทรง​หยิบ​ขนม​ปัง​มา และ​เมื่อ​ถวาย​สาธุการ​แล้ว ทรง​หัก​ส่ง​ให้แก่​เหล่า​สาวก​ตรัส​ว่า “จง​รับ​กิน​เถิด นี่​เป็น​กาย​ของ​เรา” 
27แล้ว​พระ​องค์​จึง​ทรง​หยิบ​ถ้วย​โมทนา​พระ​คุณ​และ​ส่ง​ให้​เขา ตรัส​ว่า “จง​รับ​ไป​ดื่ม​ทุก​คน​เถิด​
28 ด้วย​ว่า​นี่​เป็น​โลหิตของ​เรา อัน​เป็น​โลหิต​แห่ง​พันธสัญญา ซึ่ง​ต้อง​หลั่ง​ออก​เพื่อ​ยก​บาป​โทษ​คน​เป็น​อัน​มาก​
29 เรา​บอก​ท่าน​ทั้ง​หลาย​ว่า เรา​จะ​ไม่​ดื่ม​น้ำ​ผล​แห่ง​เถา​องุ่น​ต่อไป​อีก​จน​วัน​นั้น​มาถึง คือ​วันที่​เรา​จะ​ดื่ม​กัน​ใหม่​กับ​พวก​ท่าน​ใน​แผ่นดิน​แห่ง​พระ​บิดา​ของ​เรา”
3. เทศกาลถวายผลแรก (ha'Bikkurim)  
ลนต. 23:10-11 
10“จงกล่าวแก่คนอิสราเอลว่า เมื่อพวกเจ้ามาถึงแผ่นดินซึ่งเราให้เจ้า และเกี่ยวพืชผลของแผ่นดินนั้น พวกเจ้าจงเอาพืชผลส่วนหนึ่งที่เก็บเกี่ยวในรุ่นแรกนำไปให้ปุโรหิต
11 และปุโรหิตจะนำฟ่อนข้าวนั้น ทำพิธียื่นถวายแด่พระยาห์เวห์เพื่อเจ้าจะเป็นที่โปรดปราน รุ่งขึ้นหลังวันสะบาโตปุโรหิตจะทำพิธียื่นถวาย​  
เทศกาลถวายผลแรกเป็นภาพเงาที่เล็งถึงพระเยซูคริสต์ พระเยซูคริสต์ทรงเป็นแกะปัสกาที่ถูกฆ่าเพื่อชำระบาปผิดของเราและทรงเป็นขึ้นมาจากความตายเพื่อเป็นผลแรกเพื่อเราจะเป็นเช่นเดียวกับพระองค์ (คร.15:20-22)
การถวายผลแรก (first fruits) เป็นการแสดงออกถึงการขอบพระคุณสำหรับการจัดสรรของพระยาห์เวห์เพราะเมื่อพวกคนอิสราเอลอยู่ในอียิป พวกเขาเป็นทาส แต่เมื่อพวกเขาเป็นไทแล้วพวกเขาได้ทำการเพาะปลูกและเมื่อมีผลแรกพวกเขาได้นำผลแรกมาถวายแด่พระยาห์เวห์ 
นอกจากนี้จะเห็นถึงการเพิ่มพูนขึ้นจากการถวายผลแรกในเทศกาลปัสกา นับไปอีก 50 วันเป็นเทศกาลสัปดาห์(Shavuot) หรือเทศกาลเพ็นเทคอสต์(Pentecost แปลว่า 50)   
ลนต. 23:15-16 
15 “ตั้งแต่​วันรุ่งขึ้น​จน​วันสะบาโต เจ้า​จง​นับ​ให้​ได้​ครบ​ 7​สัปดาห์​เต็มๆ (7X7=49วัน) คือ​นับ​จาก​วันที่​เจ้า​นำ​ฟ่อน​ข้าว​เข้า​มา​ทำ​พิธี​ยื่น​ถวาย​เป็น​ต้น​ไป​ 
16  นับไปให้ได้ 50 วัน  จนถึงวันถัดวันสะบาโตที่ 7 แล้วเจ้าจงนำข้าวใหม่มาถวายแด่พระเจ้าเป็นธัญญบูชา 
17 ​จง​นำ​ขนม​ปัง​ 2ก้อน​ทำ​ด้วย​แป้ง​ 2 กิโลกรัม​จาก​ที่​อาศัย​ของ​พวก​เจ้า​มา​ทำ​พิธี​โบก​ถวายห้​ทำ​ด้วย​แป้ง​อย่าง​ดี​ใส่​เชื้อ​ปิ้ง​เป็น​ผล​รุ่น​แรก​ถวาย​แด่​พระ​ยาห์เวห์ 
ขนมปัง Challah
สิ่งที่คนอิสราเอลได้นำมาถวายคือ ขนมปังคาลาห์(Challah) 2 ก้อนที่ทำจากแป้งข้าวสาลีที่พวกเขาได้ถวายให้กับพระยา์เวห์เมื่อการถวายผลแรกในเทศกาลปัสกา  แต่ครั้งนี้เป็นขนมปังใส่เชื้อเข้าไป 
ในเทศกาลปัสกาพวกเขากินขนมปังไร้เชื้อมาทซะห์ (Matzah) ให้ความหมายถึงเชื้อเก่าของอิยิปต์(วิถีความเป็นทาส) ได้ถูกชำระไปแล้ว และเชื้อแห่งความเป็นไทที่ใส่เข้าไปได้ทำให้เกิดการเกิดผลทวีคูณมากขึ้น
ดังนั้นการถวายผลแรกในเดือนนิสานจึงเป็นความสำคัญเพราะเป็นการถวายผลแรกของปี เนื่องจากเดือนนิสานเป็นเดือนแรกที่พวกเขาออกจากการเป็นทาสเป็นการเริ่มต้นใหม่ที่พระยาห์เวห์ทรงเปลี่ยนชื่อเดือนใหม่จากเดือนอาบีบ(Aviv) เป็นเดือนนิสาน(Nisan) หมายถึงวงจรแห่งพระพรของพระองค์ได้ถูกสถาปนาใหม่ให้กับคนของพระองค์ เพื่อพระองค์จะทรงอวยพระพรให้เกิดการทวีคูณมากขึ้น 
ขอพระยาห์เวห์ทรงอวยพระพร

18 เมษายน 2559

สิงห์แห่งเผ่ายูดาห์ (Lion of Judah)

บทความเรื่อง สิงห์แห่งเผ่ายูดาห์ โดย อาเชอร์ อินเทรเตอร์ (Asher Intrater)

เยชูวาห์ (พระเยซูในภาษาฮิบรู) ได้ถูกอธิบายไว้ว่าเป็นสิงห์แห่งเผ่ายูดาห์ ภาพของสิงห์คือพละกำลังและชัยชนะ ซึ่งคือภาพของพระเมสสิยาห์ กษัตริย์ผู้ทรงมีชัย
วิวรณ์ 5:5 นี่แน่ะ สิงห์แห่งเผ่ายูดาห์ เชื้อสายของดาวิด พระองค์ทรงมีชัยแล้ว พระองค์จึงทรงสามารถแกะตราทั้งเจ็ดดวงและคลี่หนังสือม้วนนั้นออกได้
ภาพของสิงห์ยังเชื่อมต่อเยชูวาห์กับเชื้อสายจากเผ่ายูดาห์และดาวิด ดาวิดเองก็เป็นต้นแบบของกษัตริย์ผู้มีชัย เยชูวาห์เป็นพงศ์พันธุ์ของดาวิด และในทางกลับกันดาวิดเองก็เป็นพงศ์พันธุ์ของยูดาห์ เยชูวาห์ได้ถือครองสิทธิอำนาจแห่งกษัตริย์ของโลกผ่านทางพระสัญญาที่ทรงมีต่อยูดาห์และดาวิด
คำอธิบายถึงพระเมสสิยาห์ในฐานะสิงห์แห่งยูดาห์ในพระธรรมวิวรณ์ คือ การกล่าวอ้างถึงคำอวยพรของยูดาห์จากพระธรรมปฐมกาล
ปฐมกาล 49:9-10 
9 ยูดาห์เป็นลูกสิงโต....10 ธาร​พระ​กร​จะ​ไม่​ขาด​ไป​จาก​ยูดาห์ ทั้ง​ไม้​ถือ​ของ​ผู้ปกครอง​จะ​ไม่​ขาด​ไป​จาก​หว่าง​เท้า​ของ​เขา จนกว่า​ชีโลห์​จะ​มา และ​ชน​ชาติ​ทั้ง​หลาย​จะ​เชื่อ​ฟัง​ผู้​นั้น
ภาพพระเมสสิยาห์ที่จะมาจากเผ่ายูดาห์ในฐานะกษัตริย์ผู้ทรงมีชัยชนะถูกพยากรณ์ไว้ทั้งในหนังสือเล่มแรกและเล่มสุดท้ายของพระคัมภีร์ เป็นแก่นเรื่องที่ดำเนินไปตั้งแต่ต้นจนจบ เนื้อหาสาระเรื่อง “กษัตริย์สิงห์” ชาวยิวทำให้เนื้อเรื่องทั้งหมดในพระคัมภีร์มีความสอดคล้องกัน
คำว่า “เชื่อฟัง”(ตามต้นฉบับภาษาอังกฤษปรากฏคำว่า obedience ในข้อ10 แต่ภาษาไทยใช้ รวบรวมเข้ากับ) ในข้อ 10 ใช้ภาษาฮีบรูว่า โคฮาท (קהת) เป็นรากศัพท์คำเดียวกันกับชื่อโคฮาท ลูกของเลวีและปู่ของโมเสส แม้แต่ชื่อสกุลของปุโรหิตยังย้ำเตือนถึงกษัตริย์องค์เมสสิยาห์ที่ปกครองผู้คนบนโลกใบนี้
“ความเชื่อฟังของประชาชน” เป็นคำเปรยเชิงพยากรณ์ถึงการแพร่ไปของข่าวประเสริฐเพื่อนำ “ทุกชนชาติมายังความเชื่อฟังแห่งความเชื่อ” (โรม1:5 15:18) ประเด็นที่ว่าการอวยพรเผ่ายูดาห์ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยปฐมกาลนั้นมีการกล่าวอ้างถึง “บรรดาผู้คน”ที่เชื่อฟังพระเจ้าและองค์จอมกษัตริย์ของเขา ถือเป็นคำพยานอันน่าอัศจรรย์ถึงแผนการของพระเจ้าที่ได้ทรงกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว
ในเวลาเดียวกันเยชูวาห์ก็ถูกบรรยายไว้ไม่เพียงเป็นแต่สิงห์คำรามทั้งยังเป็นลูกแกะที่ถูกนำไปฆ่าด้วย (วิวรณ์5:6) ภาพที่แตกต่างกันทั้งสองของพระเมสสิยาห์ ทั้งผู้รับใช้ที่ทนทุกข์และมีชัยชนะ ถูกกล่าวย้ำตลอดพระวจนะ เยชูวาห์เป็นทั้งบุตรของพระเจ้าและพงศ์พันธุ์ของดาวิด (โรม 1:3-4) พระองค์เป็นกษัตริย์แห่งอิสราเอลและศีรษะของคริสตจักร (ยอห์น12:13 เอเฟซัส1:23)

ขอบคุณข้อมูลจาก http://reviveisrael.org/lion-of-judah/

ชำระบ้านเตรียมชีวิตในเทศกาลปัสกา

ช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์  ผมได้มีโอกาสทำความสะอาดบ้าน ชำระสิ่งที่สกปรกในบ้านออก และในด้านฝ่ายวิญญาณ ก็ได้อธิษฐานชำระบ้าน เป็นเหมือนการปัดรังควานในฝ่ายวิญญาณ เพื่อเตรียมชีวิตเข้าสู่เทศกาลปัสกา(Passover) ในช่วงวันที่ 22-30 เม.ย.นี้
ดังนั้นเทศกาลปัสกาที่จะถึงนี้เราควรจะได้ใช้เวลาสำรวจชีวิตของเราชำระสิ่งเก่า ที่เป็นดั่งเชื้อที่ไม่ดี ดั่งเช่นเทศกาลนี้ คนยิวจะมีการชำระเชื้อในบ้าน และรับประทานขนมปังไร้เชื้อ กินผักรสขม เพื่อระลึกถึงความขมขื่นใจที่เป็นทาสในอียิปต์
และพระยาห์เวห์ได้นำพวกเขาก้าวออก(passover)มาจากการเป็นทาสเข้ามาสู่ความเป็นไท
สำหรับคริสเตียนก็เช่นกัน เทศกาลนี้มีความสำคัญกับเรา เพราะพระเยซูคริสต์ทรงเป็นแกะปัสกาที่ถูกฆ่าเพื่อชำระบาปผิดของเราและทรงเป็นขึ้นมาจากความตายเพื่อเป็นผลแรกเพื่อเราจะเป็นเช่นเดียวกับพระองค์

1 โครินธ์ 5:7-8
7 จง​ชำระ​เชื้อ​เก่า​เสีย เพื่อ​ท่าน​จะ​ได้​เป็น​แป้ง​ดิบ​ก้อน​ใหม่ เหมือน​ขนม​ปัง​ไร้​เชื้อ เพราะ​พระ​คริสต์​ผู้​ทรง​เป็นปัสกา​ของ​เราได้​ถูก​ฆ่า​บูชา​เสีย​แล้ว​

8 เหตุ​ฉะนั้น​ให้​เรา​ถือปัสกา​นั้น มิใช่​ด้วย​เชื้อ​เก่า ซึ่ง​เป็น​เชื้อ​ของ​ความ​ชั่ว​ช้า​เลว​ทราม แต่​ด้วย​ขนม​ปัง​ที่​ไม่​มี​เชื้อ คือ​ความ​จริงใจ​และ​สัจจะ 
ในพระธรรม 1 โครินธ์ 5:7-8 อัครทูตเปาโลได้อธิบายให้คริสตจักรที่เมืองโครินธ์โดยยกตัวอย่างจากเทศกาลปัสกาของชาวยิวและการรับประทานขนมปังไร้เชื้อ(อพย.12:1-28,13:6-8) เพื่อให้เราได้ตระหนักดังนี้

ชำระเชื้อเก่าด้วยความเชื่อใหม่ (7) จงชำระเชื้อเก่าเสีย เพื่อท่านจะได้เป็นแป้งดิบก้อนใหม่
คำว่า "เชื้อ" หรือ “ยีสต์” ในพระคัมภีร์เดิม โดยทั่วไปเป็นสัญลักษณ์ของการมีอยู่ของความชั่วร้ายหรือความไม่บริสุทธิ์(มลทิน) เชื้อนั้นสามารถทำให้แป้งขนมปังที่หมักและฟู ทำให้เกิดการเน่าเปื่อยหรือเสื่อมสภาพได้ อัครทูตเปาโลได้หนุนใจให้ดำเนินชีวิตคริสเตียนอย่างระมัดระวังไม่มีเชื้อ สำรวจจิตใจของตัวเองและกำจัดเชื้อแห่งการล่วงประเวณี ความมุ่งร้าย และความอธรรมทุกรูปแบบออกจากชีวิตและจากที่ชุมนุม (1 คร.5:9-13) ด้วยความสำนึกในพระคุณของพระเยซูที่ทรงเสียสละและชำระความบาป
ในพระคัมภีร์ใหม่ พระเยซูคริสต์ตักเตือนสาวกให้ระวังเชื้อ เชื้อ คือความคิดเก่าๆ แบบวิญญาณศาสนา เชื้อ หมายถึง หลักคำสอนที่ชั่วร้ายของฟาริสี(Pharisees) สะดูสี(Sadducees) และพวกเฮโรด(Herodias) (มธ.8:15,16:12)
รับชีวิตใหม่ด้วยการไถ่ของพระคริสต์(7) เหมือนขนมปังไร้เชื้อ เพราะพระคริสต์ผู้ทรงเป็นปัสกาของเราได้ถูกฆ่าบูชาเสียแล้ว
ในสมัยที่ชาวอิสราเอลเป็นทาสในอียิปต์ พระเจ้าทรงนำการปลดปล่อยจากการเป็นทาส พระเจ้าสั่งให้คนยิวนำเลือดแกะมาทาที่วงกบประตูบ้านเพื่อให้ทูตแห่งความรณาของพระเจ้าได้ผ่านเลยไป ไม่ประหารบุตรหัวปี (อพย. 12:4-13) สิ่งนี้เป็นเงา(Type)เล็งถึงพระเยซูเป็นแกะในเทศกาลปัสกา พระโลหิตที่หลั่งออกเพื่อทำให้เราได้รับการผ่านเว้นจากการพิพากษา(ฮบ.9:22 )
ก้าวสู่เสรีภาพใหม่ในความจริง (8) เหตุฉะนั้นให้เราถือปัสกานั้น มิใช่ด้วยเชื้อเก่าซึ่งเป็นเชื้อของความชั่วช้าเลวทราม แต่ด้วยขนมปังที่ไม่มีเชื้อ คือความจริงใจและสัจจะ
เทศกาลปัสกา เราจึงต้องมีเตรียมชีวิตโดยการชำระเชื้อเก่าของเราและก้าวข้าม(Passover) สู่ความเป็นไทในความเชื่อใหม่ซึ่งเกิดจากสัจจะในความจริงแห่งพระวจนะ(ยน.8:31-32)
ขอหนุนใจให้เราก้าวสู่เสรีภาพใหม่ในความจริง ดังนี้
1. เริ่มต้นสิ่งใหม่ กลับใจใหม่จากสิ่งเดิม (อพย.12:1-2)
ในระหว่างการอพยพออกจากอียิปต์ มีการเปลี่ยนมาใช้ชื่อเดือนใหม่ว่า นิสาน แทน ซึ่งให้ความหมายว่า "การเริ่มต้น การเปิด"
“ปัสกา” เป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้เราเข้าใจว่า เมื่อใดที่เป็นเวลา “ปัสกา” พระเจ้าจะกระทำสิ่งใหม่ สิ่งที่ยิ่งใหญ่ สิ่งที่เป็นพรแก่ชีวิตของเราอยู่ทุกครั้งไป (อสย.48:7)
2. เตรียมพร้อมก้าวไปไม่เหมือนเดิม (อพย.12:3,11)
เราเห็นการเตรียมพร้อมของคนอิสราเอลที่จะออกจากอียิปต์ ถ้าไม่เตรียมพร้อมจะพลาดการนำ ในพระธรรมอพยพ 12:15-20 พระเจ้าทรงให้อิสราเอล กินขนมปังไร้เชื้อเป็นเวลา 7 วัน โดยเริ่มจากเย็นวันที่ 14 ของเดือนแรก ไปจนกระทั่งเย็นวันที่ 21 ของเดือนดังกล่าว จะต้องปัดกวาดบ้าน ให้ปราศจากเชื้อ ดังนั้น การจะเข้าร่วมเทศกาลปัสกา เราจะต้องมีการเตรียมตัว เตรียมชีวิตของเราให้พร้อม เพื่อรับการชำระให้บริสุทธิ์ (1 คร.11:27-32)
3. เชื่อฟังการทรงนำก้าวไปไกลกว่าเดิม (อพย.12:7)
ขอพระยาห์เวห์ทรงอวยพรครับ

15 เมษายน 2559

โศกนาฏกรรม Hillsborough : ความทรงจำที่ไม่ถูกลืมเลือน (Never Forgotten!)


Never Forgotten! วันที่ 15 เม.ย. ของทุกปี เป็นวันแห่งการรำลึกถึงเหตุการณ์แฟนบอล Liverpool เสียชีวิต 96 ศพที่สนาม Hillsborough เมื่อ 27 ปีที่แล้ว และเป็นตราบาปมาตลอดถึง 23 ปีว่าแฟนบอล The Kop พังประตูสนามเข้ามาจนอัฒจรรย์ถล่ม คนเหยียบกันตาย แต่ในที่สุดความจริงก็เปิดเผยในปี 2014 ว่าความผิดเป็นของเจ้าหน้าที่สนาม ทำให้ชาวหงส์แดงได้รับความเป็นธรรมกลับคืนมา จากการถูกล้อเลียน ถากถางจากแฟนบอลต่างๆที่นำเรื่องความตายมาล้อเล่น


และในปี 2016 นี้จะเป็นปีสุดท้ายของการจัดงานรำลึกเนื่องจากเราได้รับความเป็นธรรมในคดีนี้ หลังจากต่อสู้มานานกว่า 23 ปี

แม้เหตุการณ์จะผ่านไปนานแต่ในจิตวิญญาณของกองเชียร์เครื่องจักรสีแดงไม่เคยลืมเลือน
เสียงเพลง You'll never walk alone.ยังคงดังกะหื่มเสมอเมื่อยามเล่นในถิ่น Anfield และเป็นพลังพิเศษที่ผลักดันในการสร้างปาฏิหารย์ในเกมสำคัญเสมอ ล่าสุดเกม Europa cup นัดวันที่ 14 เม.ย. หงส์แดงตามหลังเสือเหลือง Dortmund 1-3 แต่สามารถพลิกกลับมาชนะ 4-3 ในช่วงทดเวลาพิเศษ
จากเหตุการณ์ Hillsborough ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบรักษาความปลอดภัยในสนามฟุตบอลทั่วโลก
เราเรียนรู้จากอดีต แต่เราไม่ได้จมปลักอยู่ในอดีต เพราะเรากำลังเดินหน้าเพื่อเขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่อีกครั้ง สู้เขาต่อไปนะ เครื่องจักรสีแดง 
Come on Reds! You'll never walk alone.

12 เมษายน 2559

ต้อนรับเข้าสู่เดือนนิสาน(Nisan) เดือนแห่งเผ่ายูดาห์(Judah)

ขอต้อนรับเข้าสู่เดือนนิสาน(Nisan) (ช่วงวันที่ 9 เม.ย.- 8 พ.ค.2016) เดือนแห่งเผ่ายูดาห์(Judah)
เดือนนี้เป็นเดือนแห่งสิงห์เผ่ายูดาห์ปรากฏตัวออกมา(A Time to Emerge) เวลาแห่งกษัตริย์จะออกไปรบในสงครามเพื่อทำให้เกิดสันติภาพ
พระวจนะบอกว่า มีวาระสำหรับสงคราม และวาระสันติ มีวาระสำหรับความสงบสุข แต่พระเจ้าไม่เคยบอกว่าให้คนของพระเจ้าพักสงบตลอดไป มีเวลาที่พระเจ้าบอกว่าคนของพระเจ้าต้องลุกขึ้น ในพระธรรม 2 ซามูเอล 11:1 บอกว่า “ครั้นถึงฤดูแล้ง (Spring)… บรรดากษัตริย์ยกกองทัพออกไปรบ” พระคัมภีร์บอกเราว่า มีวาระที่กษัตริย์หยุดพัก และมีวาระที่กษัตริย์ออกสงคราม
เดือนนี้จะเป็นเดือนแห่งสิงห์ยูดาห์ทรงมีชัยและเทศกาลปัสกาเป็นการระลึกถึงพระเยซูคริสต์ทรงมีชัยชนะเหนือความบาปและความตาย
จงต้อนรับเดือนนิสาน หรือ อาบีบ ให้เป็นเดือนที่จะป่าวประกาศ ถึง “ฤดูใบไม้ผลิที่ได้มาถึงแล้ว” เป็นเดือนแห่งการเก็บเกี่ยว เป็นเดือนแห่งการอัศจรรย์ เป็นเวลาที่จะเข้าสู่การเฉลิมฉลองในเทศกาลปัสกา เป็นเดือนที่จะพาตัวเราเข้าไปในเส้นทางสู่อนาคต จงเข้ามาต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้าด้วยการสรรเสริญ ให้ลมของพระเจ้าเปิดประตูแห่งการอวย พระพรมาเหนือชีวิตของเรา
เดือนนี้เป็นการเริ่มต้นใหม่ตามปฏิทินยิวแบบศาสนา(Ecclesiastical Calendar) เทศกาลสำคัญคือเทศกาลปัสกา(Passover) ช่วงวันที่ 14-21 นิสาน (ปี 2016 ตรงกับวันที่ 22-30 เม.ย.)
การประยุกต์ในภาคปฏิบัติ
1.ระลึกถึงและขอบคุณพระยาห์เวห์สำหรับการไถ่ออกมาจากการเป็นทาสในอดีต เข้าสู่ความเป็นไท ดำเนินมุ่งเข้าไปสู่ประตูแห่งอนาคตที่พระองค์จัดเตรียมทาง
2.ใช้เวลาเทศกาลปัสกา เทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อ ด้วยการอธิษฐานชำระชีวิต ทำความสะอาดบ้าน นมัสการอธิษฐานเป็นครอบครัวหรือกลุ่มสามัคคีธรรม
3.ระลึกถึงและขอบคุณพระเยซูคริสต์ผู้ทรงสิ้นพระชนม์และฟื้นขึ้นจากความตายเป็นการถวายผลแรกในเทศกาลปัสกา (1 โครินธ์ 15:20-25)
4.ดำเนินชีวิตดั่งเช่น เผ่ายูดาห์ที่มีการเจิมอย่างกษัตริย์ เป็นเผ่าของพระเมสิยาห์ มีสิทธิอำนาจการครอบครอง ดำเนินชีวิตด้วยความกล้าหาญ
5.ถวายผลแรกของปีเพื่อเป็นการขอบพระคุณและดำเนินชีวิตในพระพรตามพระสัญญา(สุภาษิต 3:9-10)

ข้อมูลจากหนังสือวงจรเวลาแห่งพระพร เขียนโดย อ.นิมิต พานิช หน้า 130,139- 140