จากถ้อยคำในพระธรรม สดุดี 121:5-7
5 พระเจ้าทรงเป็นผู้อารักขาท่าน พระเจ้าทรงเป็นที่กำบังที่ข้างขวามือของท่าน
6 ดวงอาทิตย์จะไม่โจมตีท่านในเวลากลางวัน หรือดวงจันทร์ในเวลากลางคืน
7 พระเจ้าจะทรงอารักขาท่านให้พ้นภยันตรายทั้งสิ้นพระองค์จะทรงอารักขาชีวิตของท่าน
บทพรรณณานี้ได้บรรยายถึงการปกปักษ์รักษาของพระเจ้ามาสู่ประชากรของพระองค์ นับตั้งแต่พระเจ้าได้นำคนอิสราเอลออกจากการเป็นทาสในอียิปต์ ระหว่างการเดินทางในถิ่นทุรกันดาร พระองค์ทรงให้เสาเมฆเป็นร่มเงาปกป้องจากแสงแดดที่แผดเผา และทรงให้มีเสาเพลิงนำความสว่างในยามค่ำคืน เพื่อเขาจะเดินทางอย่างปลอดภัย(อพย.13)
นี่คือพระคุณของพระเจ้าที่มีให้กับคนของพระเจ้าตั้งแต่อพยพมาจากอียิปต์ ต้องเผชิญความยากลำบากในกันดารวิถี เป็นเสมือนบททดสอบการเชื่อฟัง คนอิสราเอลต้องทำข้อสอบในกันดารวิถี แต่พระเจ้าก็ทรงมีพระกรุณาโดยให้คำเฉลยไว้ นั่นคือ "เฉลยธรรมบัญญัติ" พระองค์ทรงมอบพระบัญญัติ(Torah)ไว้ให้กับคนของพระองค์
ในพระบัญญัตินี้พระเจ้าได้กำหนดให้คนอิสราเอลถือเทศกาล 3 เทศกาลคือเทศกาลปัสกา(เพสะห์) ,เพ็นเทคอสต์(ชาวูโอต) และอยู่เพิง(สุคคท) (ลนต. 23:33-44)
เทศกาลอยู่เพิงเป็นเทศกาลสุดท้ายในเทศกาลเลี้ยงขององค์พระผู้เป็นเจ้าที่ปรากฏในพระคัมภีร์ และเป็นเทศกาลสำคัญที่สุด เพราะเป็นการปิดท้าย วัฏจักรการเก็บเกี่ยว โดยที่เป็นเทศกาลสุดท้ายของฤดูใบไม้ร่วง นอกจากนี้ยังเป็นเทศกาลจารึก 3 เทศกาลที่ฉลองกันในเยรูซาเล็ม ถัดจากเทศกาลปัสกา(เพสะห์)และเพ็นเทคอสต์(ชาวูโอต)
คำว่า “พลับพลา” (อยู่เพิง) ในภาษาฮีบรู คือ สุคคท “Sukkot”(เอกพจน์คือ : sukah อ่านว่า สุคาห์) ซึ่งหมายถึงเพิงพักหรือที่พักอาศัยชั่วคราว
พระคัมภีร์ไบเบิลภาษาละตินใช้คำว่า “ tabernāculum” ซึ่งภาษาอังกฤษยืมมาใช้ว่า “tabernacles” เทศกาลนี้บางครั้งรู้จักกันว่าเป็น “ฤดูกาลแห่งความชื่นชมยินดีของเรา” ภาษาฮีบรูว่า “Z’man Simchateinu” เนื่องจากเทศกาลนี้เป็นเครื่องหมายถึงการเก็บเกี่ยวผลไม้ในเดือนกันยายน/ตุลาคม ของแต่ละปี จึงมักรู้จักกันในนามของ “เทศกาลการรวบรวมผลิตผล” ด้วย
เทศกาลนี้จะเริ่มขึ้น 5 วันหลังจาก Yom Kippur (วันลบมลทินบาป) ในวันที่ 15 เดือนทิชรี และมีการฉลองกัน 8 วัน จนถึงวันที่ 22 เดือนทิชรี (ปี 2012 ตรงกับวันที่ 1-7ต.ค.โดยจะเริ่มตอนเย็นวันที่ 30 ก.ย.รวมเป็น 8วัน)
เทศกาลนี้เป็นการเฉลิมฉลองในพระวิหารของเยรูซาเล็มนี้จะมีประชาชนชาวยิวทั่วอิสราเอลและที่อยู่นอกดินแดนอิสราเอลเข้ามาร่วมด้วย ผู้เดินทางหลายพันคนจะเนืองแน่นเต็มท้องถนนต่าง ๆ ในเยรูซาเล็ม
เทศกาลที่สำคัญนี้มีลักษณะพิเศษ 3 ประการ
1.มีการถวายสัตวบูชาจำนวนมากตลอดเทศกาล วัว 70 ตัว แกะผู้ 14 ตัว ลูกแกะ 98 ตัว แพะ 7 ตัว และเครื่องบูชาที่เป็นเครื่องดื่มและธัญพืชรวมทั้งเครื่องถวายบูชาประจำวัน !
2.มีคันประทีบ(Menorah)ใหญ่ 4 อัน ในลานสตรีที่พระวิหารจะถูกจุดสว่างตลอดเทศกาล
3.มีพิธีกรรมอันเรียกกันว่าพิธีหลั่งน้ำเพื่อครัวเรือน (House of Water Pouring Ceremony) ภาษาฮีบรู : Beit She’ubah ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญสำหรับผู้เชื่อในพระเยซู
คนยิวในปัจจุบันฉลองเทศกาลอยู่เพิงนี้อย่างไร
ครอบครัวจะสร้างเพิง (Sukkah) ในสวนหรือบริเวณบ้าน พวกเขาจะกินอาหารที่เสิร์ฟอยู่ภายใต้ Sukkah พ่อจะอ่านโทราห์และ ชี้ให้ดูดวงดาวในท้องฟ้ายามค่ำคืน และยกเรื่องพันธสัญญาของอับราฮัมมาเล่าให้ลูกๆ ฟัง ครอบครัวจะร้องเพลงและเต้นรำเพราะเป็นฤดูกาลแห่งความร่าเริงยินดี ! ครอบครัวส่วนมากตกแต่งด้วยกิ่งไม้เช่น กิ่งใบปาล์ม (lulav) ไม้หอม และกิ่งต้นน้ำมันเขียว และผลส้ม เป็นการขอบพระคุณพระเจ้า
ข้อสังเกตคือการให้ความสำคัญกับครอบครัว เป็นช่วงเวลาพักสงบ ใช้เวลาสังสรรค์กับครอบครัว
เทศกาลนี้เป็นการเตือนใจชาวยิวถึงการปกป้องของพระเจ้า ในช่วงที่บรรพบุรุษของเขาต้องเร่ร่อนในถิ่นทุรกันดารในช่วงอพยพออกจากอียิปต์ เทศกาลนี้จึงเล็งถึงพระสิริของพระเจ้าที่อยู่กับพวกเขาทุกหนทุกแห่ง
ในวันที่ 8 (7ต.ค.12) เรียกว่า “ชิมหัตโทราห์” (Simehat Torah) หมายถึง “ชื่นชมยินดีในโทราห์” คนยิวจำนวนมากเต้นรำด้วยถือหนังสือม้วนโทราห์ อ่านตั้งแต่ปฐมกาลข้อแรก และข้อสุดท้ายของเฉลยธรรมบัญญัติ เพื่อแสดงว่าพระวจนะของพระเจ้าไม่มีวันสิ้นสุด
มีการนมัสการอย่างชื่นชมยินดีในธรรมศาลา(synagogue)หรือที่กำแพงตะวันตก(western wall)
สิ่งสำคัญของเทศกาลอยู่เพิงคือ เป็นเทศกาลแห่งการประสูติของพระเยซูคริสต์!
จากคำสอนใน Issachar school 1 โดย Dr.Robert Heidler ทำให้เราเข้าใจว่า "เทศกาลอยู่เพิงเปิดเผยถึงพระลักษณะและพระราชกิจของพระเยซู ที่เป็นเพิงแห่งพระสิริท่ามกลางเรา!" เพราะว่า เป็นช่วงเวลาแห่งการประสูติของพระเยซูคริสต์! ไม่ใช่ 25 ธันวาคม แน่นอน! ดังเหตุผลต่อไปนี้ (ดูจากรูปภาพประกอบเพื่อเข้าใจง่ายขึ้น)
คนเลี้ยงแกะไม่ได้เลี้ยงแกะในเดือนธันวาคม ลูกา 1:5 เศคาริยาห์ พ่อของยอห์นบัพติศโต เป็นปุโรหิตในเดือนอาวียาห์(Avivah) หรือเดือนสิวาน(Sivan) อลิซาเบธตั้งครรภ์ยอห์น อยู่ในเดือน มิถุนายน ดังนั้นนางมารีย์ตั้งครรภ์พระเยซูหลังจากนั้น 6 เดือน อยู่ในประมาณเดือน ธันวาคม
ดังนั้น พระเยซูเกิดในเดือนนี้ คือ กันยายน-ตุลาคม แน่นอน!(คือวันที่ 15 เดือนทิชชี)
- ทูตสวรรค์ปรากฎในช่วง 12-18 สิวาน (มิถุนายน)
- อลิซาเบธตั้งครรภ์ช่วงนี้ 25 สิวาน (285 วัน)
กำหนดเวลาตั้งครรภ์โดยประมาณ
- ยอห์นบัพติศโต เกิด15 นิสาน (ช่วงปัสกาเม.ย.-พ.ค.)
ลูกา 1:26 อลิซาเบธท้องได้ 6 เดือน มารีย์ตั้งครรภ์
ในวันที่ 25 ของเดือน คิสเลฟ (ธันวาคม) เทศกาลฮานุกกาห์(เทศกาลแสงสว่าง)โดยปกติจะตั้งครรภ์ 9 เดือน (ประมาณ285 วัน) พระเยซูน่าจะประสูติ ในช่วงวันที่15ของเดือนทิชรี (ตรงกับเทศกาลอยู่เพิง)ในพระคัมภีร์ ยอห์น 1:14 กล่าวว่า พระวาทะได้ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์และทรงอยู่ท่ามกลางเรา บริบูรณ์ด้วยพระคุณและความจริง เราทั้งหลายได้เห็นพระสิริของพระองค์ คือพระสิริอันสมกับพระบุตรองค์เดียวของพระบิดา
ตอนที่มารีมาถึงเบธเลเฮ็ม ช่วงนั้นเป็นเทศกาลอยู่เพิง ยอห์นอธิบายการประสูติของพระเยซูอย่างนี้...
ยอห์น 1:14 กล่าวว่า พระวาทะได้ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์และทรงอยู่(σκῆνος)ท่ามกลางเรา บริบูรณ์ด้วยพระคุณและความจริง เราทั้งหลายได้เห็นพระสิริของพระองค์ คือพระสิริอันสมกับพระบุตรองค์เดียวของพระบิดา
(σκῆνος = skēnos หมายถึง เพิง หรือ เต้นท์ a tabernacle, a tent)
ตอนที่มารีมาถึงเบธเลเฮ็ม ช่วงนั้นเป็นเทศกาลอยู่เพิง ยอห์นอธิบายการประสูติของพระเยซูอย่างนี้..
ยอห์น 1:14 “พระวาทะได้ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์และทรงอยู่ท่ามกลางเราและเราทั้งหลายได้เห็นพระสิริของพระองค์”
ลูกา 2 – มารีย์มีบุตรชายและวางบุตรชายนั้นในรางหญ้า
ลูกา 2:16 เขาก็รีบไปแล้วพบนางมารีย์กับโยเซฟ และพบพระกุมารนั้นนอนอยู่ในรางหญ้า (φάτνη -phatne)
คำภาษากรีกคือ phatne แปลว่า รางหญ้า, โรงเก็บสัตว์ คอกสัตว์แบบชั่วคราว คำฮีบรูที่เหมือนกับ phatne : SUKKAH (พลับพลา/เพิง)
ในเทศกาลอยู่เพิงนั้นเองที่พระสิริของพระเจ้ามาปรากฏในเพิง และพระเยซูพระเมสสิยาห์ทรงบังเกิด !
สำหรับในวันที่ 25 ธ.ค.นั้นเป็นเทศกาลคริสต์มาสที่โรมันได้ตั้งขึ้นมาเพื่อเฉลิมฉลอง คำว่า "คริสต์มาส" เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" ซึ่งพบครั้งแรกในเอกสารโบราณที่เป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1038 และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas
(ข้อมูลเรื่อง เทศกาล Christmas จาก สารานุกรม Wikipedia บันทึกไว้ว่า เทศกาล Christmas หรือ X’Mas ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ตามหลักฐานในพระคัมภีร์ได้บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซาร์ ออกุสตุส แห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร)
นักประวัติศาสตร์ได้วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยะเทพ ตั้งแต่ปี ค.ศ.274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูซึ่งเปรียบเสมือนความสว่างของโลก และเหมือนดวงจันทร์เป็นความสว่างในตอนกลางคืนแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปี ค.ศ.330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย)
ในครั้งนี้เราพอจะเข้าใจแล้วว่า พระเยซูคริสต์ ทรงเป็นอิมมานูเอล คือเพิงแห่งพระสิริที่อยู่ท่ามกลางเรา!
สิ่งนี้ช่วยให้เราเข้าใจ ยน.7:37-39
ในวันสุดท้ายของงานเทศกาลซึ่งเป็นวันใหญ่นั้นปุโรหิตจะนำเอาน้ำจากสระสิโลอัม มาเทบนแท่นบูชา ปุโรหิตจะยกน้ำขึ้นแล้วเท ฝูงชนจะอยู่ในความเงียบสงบ พระเยซูทรงยืนและประกาศว่า “ถ้าผู้ใดกระหายผู้นั้นจงมาหาเราและดื่ม ผู้ที่วางใจในเรา แม่น้ำที่มีน้ำธำรงชีวิต จะไหลออกมาจากภายในผู้นั้น" นั่นคือเป้าหมายของพระเยซูชีวิตที่ไหลล้น
นี่คือสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้กับเราในทุก ๆ ปี พระเจ้าต้องการให้ประสบการณ์อันสดใหม่ของชีวิตที่ไหลล้นของพระองค์กับเรา พระองค์ต้องการจะเติมเราด้วยพระสิริของพระองค์ น้ำองุ่นใหม่แห่งพระวิญญาณ พระเยซูมาในโลกนี้เพื่ออยู่กับเรา เวลานี้พระองค์เชื้อเชิญให้เราอยู่กับพระองค์
พระเยซูปรารถนาจะเลี้ยงฉลองกับเรา เชื้อเชิญพระองค์มาที่พลับพลาของคุณในปี
ยน.7:37-38 “ในวันสุดท้ายของเทศกาล พระเยซูตรัสเสียงดังว่า “ถ้าผู้ใดกระหาย ให้เขาเข้ามาและดื่มเถิด! ผู้ใดก็ตามที่เชื่อในเรา สายธารซึ่งมีน้ำที่ให้ชีวิตจะไหลออกมาจากภายในผู้นั้น!”
เราเฉลิมฉลองเทศกาลอยู่เพิงอย่างไร ?
ลนต.23:24-43 “...วันที่ 15 ของเดือนที่ 7 เป็นวันเริ่มเฉลิมฉลอง เทศกาลอยู่เพิงขององค์พระผู้เป็นเจ้า และให้ฉลองไปจนครบ 7 วัน...เป็นการประชุมศักดิ์สิทธิ์ และนำเครื่องบูชาด้วยไฟมาถวายแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า
สร้าง “เพิงชั่วคราว” (Sukkah-ที่พักชั่วคราว) พักอยู่ในเพิงเจ็ดวัน...เพื่อลูกหลานของเจ้าจะรู้ว่าได้ให้ชนอิสราเอล
พระเจ้าตรัสกับว่า “สร้างเพิง สำหรับเราด้วย ! พระเกียติสิริของพระเจ้าลงมาและอยู่ท่ามกลางพวกเขา
ในเทศกาลอยู่เพิงในปีนี้ เราจึงต้องจัดเตรียมบ้านของเราให้เป็นที่ประทับแห่งเพิงพระสิริพระเจ้า และฉลองเทศกาลนั้น โดยตั้งเวลานัดพบกับพระองค์ เพื่อเราจะพักสงบในร่มเงาแห่งพระสิริ!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น