18 สิงหาคม 2560

แนวทางการตีความพันธสัญญาเดิม

แนวทางการตีความพันธสัญญาเดิม โดย  Philip Kavilar (Haiyong)


   เวลาเพื่อนๆอ่านพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ เพื่อนๆก็มีแนวโน้มที่จะรู้สึกว่าพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่เป็นหนังสือที่อ่านได้ไม่ยากนัก แต่ในทางตรงกันข้าม เมื่อเพื่อนๆอ่านพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม เพื่อนๆก็มีแนวโน้มที่จะรู้สึกว่า พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมดูเหมือนจะอ่านยาก บางครั้งบางคราว พฤติกรรมของพระเจ้าในภาคพันธสัญญาเดิมก็ดูแปลกๆ 

     อย่างไรก็ตาม สำหรับคริสตจักรยุคแรก พระคัมภีร์ที่พวกเขามีอยู่ ก็มีเพียงภาคพันธสัญญาเดิม ผมเคยคุยกับนักวิชาการพระคัมภีร์ท่านหนึ่ง นักวิชาการท่านนั้นถามผมว่า พระคัมภีร์กับคริสตจักร อันไหนเกิดก่อนกัน?” เนื่องจากผมต้องการคำถามที่ชัดเจนขึ้น ผมจึงถามนักวิชาการท่านนั้นว่า พระคัมภีร์ในที่นี้หมายถึง ภาคพันธสัญญาเดิมอย่างเดียวหรือภาคพันธสัญญาใหม่ด้วย?” นักวิชาการท่านนั้นตอบว่า พระคัมภีร์ทั้งเล่ม เมื่อทราบคำถามอย่างชัดเจนแล้ว ผมจึงตอบว่า คริสตจักร เกิดก่อน พระคัมภีร์ เหตุที่ผมตอบเช่นนี้ เนื่องจากผมมีความรู้ทางประวัติศาสตร์ว่า ในคริสตจักรยุคแรก พระคัมภีร์ที่พวกเขาใช้ ก็มีแต่ภาคพันธสัญญาเดิม อาจจะมีบ้างที่พวกเขาใช้จดหมายฝากของอัครทูตในภาคพันธสัญญาใหม่ แต่ในช่วง 300 ปีแรกของคริสตจักร ก็ยังไม่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่า จดหมายฝากอันไหนที่ควรนับว่าเป็นพระคัมภีร์ จนกระทั่งปลายศตวรรษที่4 หลังจากที่กษัตริย์คอนสแตนตินได้ปฏิรูปศาสนา จึงได้มีการกำหนดชัดเจนว่า งานเขียนอันไหนของอัครทูตที่ควรอยู่ในสารบบพระคัมภีร์ กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ภายหลังจากที่คริสตจักรถือกำเนิดขึ้นมา 400 ปี ภาคพันธสัญญาใหม่จึงค่อยถูกผนวกเข้ากับพระคัมภีร์

            แม้พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมจะยากในการตีความ แต่คริสตจักรในช่วงยุคแรก ก็ใช้พระคัมภีร์แต่ภาคพันธสัญญาเดิม จากการค้นคว้าของผม ผมได้พบว่า แนวทางการตีความภาคพันธสัญญาเดิมสามารถแบ่งได้ 3 รูปแบบ หวังว่าเมื่อเพื่อนๆได้อ่านบทความนี้ เพื่อนๆจะเข้าใจแนวทางการตีความภาคพันธสัญญาเดิมได้มากขึ้น

รูปแบบที่1: การตีความเพื่อดึงเอาข้อคิด

          พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมมีเรื่องราวของประวัติศาสตร์มากมาย แนวทางแรกในการตีความภาคพันธสัญญาเดิมก็คือ การอ่านประวัติศาสตร์ในนั้นเพื่อดึงเอาข้อคิด การตีความเพื่อหาข้อคิด เป็นการตีความแบบพื้นฐาน เป็นวิธีการตีความที่ไม่ยากนัก ซึ่งในจดหมาย (1 โครินธ์) อัครทูตเปาโลก็ใช้การตีความแบบนี้ เพื่อให้ข้อคิดและข้อเตือนใจแก่ผู้อ่าน

(1 โครินธ์ 10:5-7) แต่​ถึง​กระ​นั้น​ก็​ดี​มี​คน​ส่วน​มาก​ใน​พวก​นั้น​ที่​พระ​เจ้า​ไม่​พอ​พระ​ทัย เรา​ทราบ​ได้​จาก​ที่​เขา​ล้ม​ตาย​กัน​เกลื่อน​กลาด​ใน​ถิ่น​ทุร​กัน​ดาร เหตุ​การณ์​เหล่า​นี้​เป็น​เครื่อง​เตือน​ใจ​เรา​ไม่​ให้​ปรารถ​นา​สิ่ง​ชั่ว​เหมือน​เขา​ทั้ง​หลาย พวก​ท่าน​อย่า​นับ​ถือ​รูป​เคารพ​เหมือน​บาง​คน​ใน​พวก​เขา​ได้​ทำ ดัง​ที่​มี​เขียน​ไว้​ว่า “ประ​ชา​ชน​ก็​นั่ง​ลง​กิน​และ​ดื่ม แล้ว​ก็​ลุก​ขึ้น​เล่น​สนุก​สนาน”

            จากจดหมาย (1 โครินธ์) เปาโลได้ยกเอาประวัติศาสตร์ของอิสราเอลช่วงถิ่นทุรกันดาร แล้วดึงเอาข้อคิดจากประวัติศาสตร์นั้นมาเตือนสติผู้เชื่อในโครินธ์ การตีความเพื่อดึงเอาข้อคิด เป็นการตีความแบบพื้นฐาน ซึ่งอัครทูตบางคนที่เขียนพันธสัญญาใหม่ ก็ใช้วิธีแบบนี้ตีความพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม

รูปแบบที่2: การตีความเชิงแบบเล็ง (Typology)

            เนื่องจากพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม นอกจากจะมีเรื่องราวของประวัติศาสตร์แล้ว ภาคพันธสัญญาเดิมยังประกอบไปด้วยเหตุการณ์ที่มีแบบเล็งถึงพระคริสต์หลายประการ การตีความเชิงแบบเล็ง ก็คือการตีความว่า บุคคล หรือ สิ่งของ ต่างๆที่ปรากฏในภาคพันธสัญญาเดิมนั้น เป็นเงาที่เล็งถึงพระคริสต์อย่างไร ในจดหมายฝากฮีบรู ก็มีบางส่วนที่ตีความภาคพันธสัญญาเดิมโดยใช้การตีความเชิงแบบเล็ง

(ฮีบรู 7:1-3) เมล​คี​เซ​เดค ผู้​นี้​คือกษัตริย์​เมือง​ซาเลม  เป็นปุโร​หิต​ของ​พระ​เจ้า​ผู้​สูง​สุด มา​พบ​อับ​รา​ฮัม​ขณะ​ที่​อับ​รา​ฮัม​กำ​ลัง​กลับ​มา​จาก​การ​รบ​ชนะ​กษัตริย์​ทั้ง​หลาย ท่าน​ได้​อวย​พร​อับ​รา​ฮัม อับ​รา​ฮัม ก็​ถวายท​ศางค์ ​จาก​สิ่ง​สาร​พัด แก่​เมล​คี​เซ​เดค ประ​การ​แรก นาม​ของ​ท่าน​แปล​ว่า กษัตริย์​แห่ง​ความ​ชอบ​ธรรม และ​ประ​การ​ต่อ​มา ท่าน​เป็นกษัตริย์​เมือง​ซา​เลม ด้วย​ซึ่ง​หมาย​ถึง​กษัตริย์​แห่ง​สันติ​สุข บิดา​มาร​ดา​และ​ตระ​กูล​ของ​ท่าน​ไม่​มี​กล่าว​ไว้ วัน​เกิด​วัน​ตาย​ก็​เช่น​กัน แต่​เป็น​เหมือน​พระ​บุตร​ของ​พระ​เจ้า เมล​คี​เซ​เดค​นั้น​ดำ​รง​อยู่​เป็น​ปุโร​หิต​ตลอด​ไป

            ผู้เขียนฮีบรูได้อธิบายว่า ปุโรหิตเมล​คี​เซ​เดคที่ปรากฏในภาคพันธสัญญาเดิมนั้น เป็นแบบเล็งของพระคริสต์ นอกจากจดหมายฮีบรูแล้ว ในจดหมาย (1 โครินธ์) เปาโลก็ใช้การตีความเชิงแบบเล็งด้วย

(1 โครินธ์ 10:1-4) พี่​น้อง​ทั้ง​หลาย เพราะ​ว่า​ข้าพ​เจ้า​ต้อง​การ​ให้​ท่าน​ทั้ง​หลาย​เข้า​ใจ​ว่า บรรพ​บุรุษ​ของ​เรา​ทั้ง​หมด​ได้​อยู่​ใต้​เมฆ และ​ได้​ผ่าน​ทะเลไป​ทุก​คน ได้​รับ​บัพ​ติศ​มา​ใน​เมฆ​และ​ใน​ทะเล​เข้า​สนิท​กับ​โม​เสส​ทุก​คน ได้​รับ​ประ​ทาน​อา​หาร​ฝ่าย​จิต​วิญ​ญาณ​เดียว​กัน​ทุก​คน และ​ได้​ดื่ม​น้ำ​ฝ่าย​จิต​วิญ​ญาณ​เดียว​กัน​ทุก​คน เพราะ​ว่า​พวก​เขา​ได้​ดื่ม​จาก​พระ​ศิลา​ฝ่าย​จิต​วิญ​ญาณ​ที่​ติด​ตาม​เขา​ไป พระ​ศิลา​นั้น​คือ​พระ​คริสต์

            ในจดหมาย (1 โครินธ์) เปาโลได้อธิบายว่า ศิลาที่โมเสสตี เพื่อให้น้ำไหลออกมานั้น เป็นศิลาที่เล็งถึงพระคริสต์ การตีความเชิงแบบเล็งเป็นการตีความสิ่งต่างๆในภาคพันธสัญญาเดิมว่า สิ่งต่างๆเหล่านั้นเป็นแบบเล็งถึงพระคริสต์อย่างไร ในแง่วิชาการ การตีความแบบนี้ อาจจะไม่เป็นที่ยอมรับนัก แต่ด้านหนึ่งอัครทูตในพันธสัญญาใหม่ ก็ได้ใช้การตีความแบบนี้



แบบจำลองของอาคาร เล็งถึงอาคารจริงฉันใด
หลายสิ่งในภาคพันธสัญญาเดิม ก็เล็งถึงพระคริสต์ฉันนั้น


รูปแบบที่3: การตีความเชิงอุปมา (Allegorical)

            การตีความเชิงอุปมาคือการตีความว่า สิ่งต่างๆในภาคพันธสัญญาเดิมเป็นภาพสัญลักษณ์ที่สะท้อนถึงสิ่งใด ตัวอย่างหนึ่งของการตีความแบบนี้ เห็นได้จากจดหมายกาลาเทีย

(กาลาเทีย 4:22-24) เพราะ​มี​เขียน​ไว้​ใน​พระ​คัม​ภีร์​ว่า​อับ​รา​ฮัม​มี​บุตร​สอง​คน คน​หนึ่ง​เกิด​จาก​หญิง​ทาส อีก​คน​หนึ่ง​เกิด​จาก​หญิง​ที่​เป็น​ไท บุตร​ที่​เกิด​จาก​หญิง​ทาส​นั้น​ก็​เกิด​ตาม​ปกติ แต่​บุตร​ที่​เกิด​จาก​หญิง​ที่​เป็น​ไท​นั้น​เกิด​ตาม​พระ​สัญ​ญา ข้อ​ความ​นี้​เป็น​อุป​ไมย ผู้​หญิง​สอง​คน​นั้น​ได้​แก่​พันธ​สัญ​ญา​สอง​อย่าง คน​หนึ่ง​มา​จาก​ภูเขา​ซี​นาย คลอด​ลูก​เป็น​ทาส คือ​นาง​ฮา​การ์

            อัครทูตเปาโลใช้การตีความเชิงอุปมาเพื่ออธิบายว่า นางฮาการ์สะท้อนถึงพันธสัญญาเดิมที่สื่อถึงการเป็นทาส แต่นางซาราห์สะท้อนถึงพันธสัญญาใหม่ที่สื่อถึงการเป็นไท การตีความเชิงอุปมามีลักษณะที่ใกล้เคียงกับการตีความเชิงแบบเล็ง การตีความเชิงแบบเล็งคือการตีความว่า สิ่งไหนในภาคพันธสัญญาเดิมที่เล็งถึงพระคริสต์ แต่การตีความเชิงอุปมาจะไม่ได้จำกัดอยู่แค่การเล็งถึงพระคริสต์ แต่จะเป็นการตีความที่สามารถสะท้อนถึงสิ่งอื่นได้ด้วย ในจดหมาย (1 โครินธ์) อัครทูตเปาโลได้ยกข้อความในธรรมบัญญัติของพันธสัญญาเดิมว่า

(1 โครินธ์ 9:9-11) เพราะ​ว่า​ใน​ธรรม​บัญ​ญัติ​ของ​โมเสส​มี​เขียน​ไว้​ว่า “อย่า​เอา​ตะกร้อ​ครอบ​ปาก​วัว​เมื่อ​มัน​กำ​ลัง​นวด​ข้าว​อยู่”  พระ​เจ้า​ทรง​เป็น​ห่วง​วัว​หรือ? พระ​องค์​ตรัส​เพื่อ​เรา​โดย​เฉพาะ​ไม่​ใช่​หรือ? ข้อ​ความ​นั้น​เขียน​ไว้​เพื่อ​เรา แสดง​ว่า​คน​ที่​ไถ​นา​สม​ควร​จะ​ไถ​ด้วย​ความ​หวัง และ​คน​ที่​นวด​ข้าว​ก็​สม​ควร​จะ​นวด​ด้วย​ความ​หวัง​ว่า​จะ​ได้​รับ​ประ​โยชน์ ถ้า​เรา​หว่าน​ปัจ​จัย​ฝ่าย​จิต​วิญ​ญาณ​ให้​แก่​พวก​ท่าน แล้ว​จะ​มาก​ไป​หรือ​ที่​เรา​จะ​เกี่ยว​ปัจ​จัย​ฝ่าย​กาย​จาก​ท่าน

            จากธรรมบัญญัติที่ว่า “อย่า​เอา​ตะกร้อ​ครอบ​ปาก​วัว​เมื่อ​มัน​กำ​ลัง​นวด​ข้าว​อยู่” เปาโลได้ใช้การตีความเชิงอุปมาเพื่ออธิบายว่า วัวในธรรมบัญญัติ สะท้อนถึงผู้รับใช้ของพระเจ้า ที่สามารถหวังการเก็บเกี่ยวปัจจัยฝ่ายกายของผู้รับการปรนนิบัติได้

สรุป
         ในแวดวงวิชาการ การตีความเชิงแบบเล็งกับการตีความเชิงอุปมา ยังไม่เป็นที่ยอมรับนัก เนื่องจากการตีความลักษณะนี้ อาจเป็นการบิดเบือนจุดประสงค์ของผู้เขียนพระคัมภีร์ คนที่เขียนพระคัมภีร์อาจมีจุดประสงค์อย่างหนึ่ง แต่คนอ่านที่ตีความแบบนี้อาจจะเข้าใจพระคัมภีร์ผิดไปจากที่ผู้เขียนต้องการสื่อสาร อย่างไรก็ตาม อัครทูตในพันธสัญญาใหม่ ก็ได้ใช้การตีความเชิงแบบเล็งกับการตีความเชิงอุปมา ในการอธิบายพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม

          ในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา มีปรากฏการณ์หนึ่งเกิดขึ้นในคริสตจักร ก่อนหน้านี้ ในคริสตจักรแทบจะหาคริสเตียนที่เป็นชาวยิวไม่ได้เลย แต่ช่วง 60 ปีที่ผ่านมา มีปรากฏการณ์ที่ว่า ชาวยิวหลายคนได้กลับใจมาเป็นคริสเตียนมากขึ้นกว่าแต่ก่อน เมื่อชาวยิวได้มาเป็นคริสเตียน พวกเขาได้นำกรอบความคิดและวัฒนธรรมแบบฮีบรูเข้ามาในคริสตจักร ในกรอบความคิดแบบฮีบรู การอุปมานับเป็นภาษาหนึ่งของวัฒนธรรมฮีบรู ในพิธีทางศาสนาของชาวยิวหรือแม้แต่ในพิธีแต่งงาน ชาวยิวมักจะมีสิ่งต่างๆที่เป็นภาพสัญลักษณ์หรือภาพอุปมา ประกอบพิธีอยู่เสมอ กล่าวได้ว่า การอุปมา เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวยิว

            ผมคาดการณ์ว่า ในปัจจุบัน พระวิญญาณบริสุทธิ์กำลังเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของคริสตจักร จากกรอบความคิดแบบกรีก มาสู่กรอบความคิดแบบฮีบรู เนื่องด้วยการเปลี่ยนกระบวนทัศน์แบบนี้ คริสตจักรในอนาคตจะเปิดรับต่อวัฒนธรรมแห่งการอุปมามากขึ้น วัฒนธรรมแห่งการอุปมานี้จะส่งผลต่อคริสตจักรในหลายๆทาง ทั้งในแง่ของการตีความพระคัมภีร์ด้วย เป็นไปได้ว่า ในอนาคตพวกเราจะก้าวเข้าสู่มิติใหม่ของการตีความพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมด้วยการตีความแบบอุปมา

ด้านหนึ่งที่ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมา เพื่อที่จะสื่อสารให้เพื่อนๆ อย่าเพิ่งปิดใจต่อการตีความเชิงแบบเล็งหรือการตีความเชิงอุปมา แม้ว่าการตีความเชิงอุปมา อาจจะดูเป็นการตีความที่เพื่อนๆไม่คุ้นเคย แต่อัครทูตบางคนที่เขียนภาคพันธสัญญาใหม่ก็ใช้วิธีการตีความแบบนี้ ขอพระวิญญาณบริสุทธิ์ประทานปัญญาในการแยกแยะแก่พวกเราเถิด

หนังสือแนะนำเพิ่มเติม

พระคริสต์ผู้ครอบคลุมสรรพสิ่ง เขียนโดย วิทเนส ลี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น