ในเดือนอาดาร์(Adar) มีเทศกาลสำคัญของคนอิสราเอล นั่นคือ "เทศกาลปูริม"(Purim) ช่วงวันที่ 14-15 เดือนอาดาร์ สำหรับปี 2017 จะตรงกับวันที่ 12-13 มี.ค.
ต้นกำเนิดของเทศกาลปูริมถูกบันทึกไว้ในพระธรรมเอสเธอร์ เทศกาลนี้ เป็นการระลึกเหตุการณ์สมัยพระราชาอาหสุเอรัสแห่งเปอร์เชียร์ เมื่อพระราชินีเอสเธอร์และโมรเดคัยลูกพี่ลูกน้องของเธอช่วยคนยิวให้รอดพ้นจากการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จากศัตรูตัวร้าย คือ ฮามาน
คำว่า “ปุริม” มาจากภาษาฮีบรู פּוּרִים แปลว่า “สลาก”(lot) เป็นการอ้างอิงถึงการทอดสลากของฮามาน เพื่อหาวันที่จะฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวทั้งผู้ใหญ่และเด็ก
เอสเธอร์ 3:7 ในเดือนแรกซึ่งเป็นเดือนนิสานปีที่สิบสองแห่งรัชกาลกษัตริย์อาหสุเอรัส เขาพากันทอดเปอร์ คือ สลาก ต่อหน้าฮามานเพื่อหาวัน และเขาทอดเปอร์เพื่อหาเดือน ได้วันที่สิบสามและเดือนที่สิบสอง คือเป็นเดือนอาดาร์
เอสเธอร์ 9:24-26
24 เพราะฮามานบุตรฮัมเมดาธาคนอากัก ศัตรูของพวกยิวทั้งปวง ได้ปองร้ายต่อพวกยิวเพื่อทำลายเขาได้ทอดเปอร์ คือสลาก เพื่อล้างผลาญและทำลายเขา...
26 เพราะฉะนั้นเขาจึงเรียกวันเหล่านี้ว่า “ปูริม” ตามคำเปอร์ ดังนั้น เพราะทุกอย่างที่เขียนไว้ในจดหมายนี้ และเพราะสิ่งที่พวกยิวต้องเผชิญในเรื่องนี้และสิ่งที่อุบัติแก่เขา
26 เพราะฉะนั้นเขาจึงเรียกวันเหล่านี้ว่า “ปูริม” ตามคำเปอร์ ดังนั้น เพราะทุกอย่างที่เขียนไว้ในจดหมายนี้ และเพราะสิ่งที่พวกยิวต้องเผชิญในเรื่องนี้และสิ่งที่อุบัติแก่เขา
หลังจากที่พระราชินีเอสเธอร์และโมรเดคัยช่วยคนยิวให้รอดพ้นจากการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โมรเดคัยจึงบันทึกเหตุการณ์นี้และประกาศให้คนยิวจัดเทศกาลปูริมในวันที่ 14-15 อาดาร์ ขึ้นทุกๆปี เพื่อระลึกถึงการช่วยกู้จากพระเจ้าให้รอดจากความตาย
เอสเธอร์ 9:20-22
20 และโมรเดคัยบันทึกเรื่องนี้และส่งจดหมายไปยังพวกยิวทั้งปวง ผู้อยู่ในมณฑลทั้งปวงของกษัตริย์อาหสุเอรัส ทั้งใกล้และไกล
21 ชักชวนเขาให้ถือวันที่ 14 ดือนอาดาร์ และวันที่ 15 เดือนเดียวกันทุกๆ ปี
22 เป็นวันที่พวกยิวพ้นจากศัตรูของเขา และเป็นเดือนที่เปลี่ยนความโศกเศร้าเป็นความยินดี และการคร่ำครวญเป็นวันรื่นเริงให้แก่เขา และให้เขาถือเป็นวันกินเลี้ยงและวันยินดี เป็นวันที่ส่งของขวัญแก่กันและกัน และให้ของขวัญแก่คนจน
เทศกาลปูริมเป็นเทศกาลที่ชื่นชมยินดีในความรอดโดยพระคุณจากพระยาห์เวห์
คนยิวจะจัดเตรียมตะกร้าใส่ของขวัญไว้ เรียกว่า
“ตะกร้าปูริม” นำไปมอบกับคนในครอบครัว รวมถึงคนยากจนและด้อยโอกาสต่างๆ การมอบของขวัญให้กับผู้อื่น มาจากความรู้สึกสำนึกในพระคุณของพระยาห์เวห์ที่พระองค์ทรงประทานของขวัญล้ำค่าซึ่งก็คือ
ชีวิตที่ได้รับความรอด
เช่นเดียวกัน
พระเยซูคริสต์ทรงเป็นของขวัญล้ำค่า คือ ความรอดที่ทรงประทานให้กับเรา (ยอห์น 3:16) และเพื่อให้เรามอบให้ผู้อื่นด้วยใจยินดี
พระเยซูคริสต์ทรงเป็นของขวัญล้ำค่า คือ ความรอดที่ทรงประทานให้กับเรา (ยอห์น 3:16) และเพื่อให้เรามอบให้ผู้อื่นด้วยใจยินดี
ตัวอักษรฮีบรูสำหรับเดือนอาดาร์ คือ ק ตัวอักษรโคฟ (kuf) หรือ (Qoph) ออกเสียงเหมือนตัวอักษร Q ในภาษาอังกฤษ
ความหมาย คือ “การหัวเราะ” (laughter) และอีกความหมายหนึ่งคือ “การสวมหน้ากาก”(masquerade)
ความหมาย คือ “การหัวเราะ” (laughter) และอีกความหมายหนึ่งคือ “การสวมหน้ากาก”(masquerade)
หากเป็นช่วงเวลานี้ รายการสุดฮิตทางช่อง Work point (ช่อง 23) คือ รายการหน้ากากนักร้อง(The Mask Singer) เป็นการแข่งขันร้องเพลงที่ผู้เข้าแข่งขันต้องสวมหน้ากากมาร้องเพลง ผู้ใดแพ้จะตกรอบและต้องถอดหน้ากาก เผยโฉมตัวตนออกมาให้ผู้ชมได้รู้ว่า นักร้องคนนี้เป็นใคร
เทศกาลปูริม ฮามาน(Haman) ที่เสแสร้งแกล้งทำเป็นคนดีต่อพระราชาก็ได้เปิดเผยตัวว่า เป็น "หน้ากากนักฆ่า"(The Mask Killer) หมายที่จะฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คนยิว แต่ราชินีเอสเธอร์ก็ได้เผยโฉมเปิดเผยตัวตนของเธอว่าเธอยืนเคียงข้างอิสราเอล ชนชาติของเธอ เพื่อช่วยคนยิวให้รอด
สำหรับความหมายเชิงการเผยพระวจนะของเดือนอาดาร์ เป็นเดือนที่เราจะถอดหน้ากากออก เพื่อว่าเราจะสามารถหัวเราะได้
เมื่อเราได้ถอดหน้ากากแห่งตัวเก่าของเรา เราจะสามารถชื่นชมยินดีได้อย่างแท้จริงในความเป็นตัวของเรา หน้ากากนั้นมักจะหยุดยั้งความชื่นชมยินดีเอาไว้เสมอ
อาดาร์เป็นเดือนที่อัตลักษณ์ที่แท้จริงของเราจะถูกเปิดเผยออกมา พระเจ้าทรงมีเป้าประสงค์ลิขิตสำหรับเรา จงค้นให้พบอัตลักษณ์ที่แท้จริงของเราในมิติฝ่ายวิญญาณ จงเรียนรู้ว่าเราเป็นใครในองค์พระผู้เป็นเจ้า เราจำเป็นจะต้องรู้ของประทานฝ่ายวิญญาณของเรา
ให้เราได้ทบทวนดูถ้อยคำการเผยพระวจนะที่มาถึงชีวิตของเรา เราไม่ต้องพยายามที่จะเป็นในบางสิ่งบางอย่างที่เราไม่ได้เป็น และจงเริ่มต้นเคลื่อนรุดหน้าไปสู่เป้าประสงค์ลิขิตของเราในพระเจ้า !
เหตุการณ์ที่สำคัญมากที่สุดในเดือนอาดาร์ คือ "เทศกาลปูริม" เป็นช่วงเวลาเฉลิมฉลองที่คำแช่งสาปได้ถูกล้มล้างไป(The curse is overturned)ในเทศกาลปูริม คนยิวได้เผชิญหน้ากับความตายการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุโดยฮามาน แต่โดยความกล้าหาญของเอสเธอร์ เหตุการณ์ต่างๆ กลับพลิกผันไปอย่างน่าอัศจรรย์ การคุกคามหมดไปและคนยิวรอดตาย จึงเป็นช่วงเวลาที่ท่วมท้นไปด้วยความสุขความยินดี
ในเชิงเผยพระวจนะแล้ว เทศกาลปูริม ในปีนี้ คือ ปี 5777 ตัวอักษรฮีบรูสำหรับปีนี้ คือ ז อักษรซายิน (Zayin) เป็นภาพของดาบ (Sword) นี่เป็นปีแห่งดาบ นอกจากนี้ยังให้ความหมายถึง พิธีราชาภิเษก(Coronation), การสวมมงกุฏ(Crowning) และสิทธิอำนาจใหม่(New authority)
ซายินยังเป็นภาพของคทาของกษัตริย์(Royal Scepter) อีกด้วย
ปี 5777 จึง เป็นปีแห่งความโปรดปราน ที่ได้เข้ามาต่อพระพักตร์องค์กษัตริย์! คือ พระยาห์เวห์ นั่นหมายความว่า นี่เป็นปีที่จะอธิษฐานด้วยความมั่นใจและความกล้าหาญ!
ราชินีเอสเธอร์ |
ตามพระคัมภีร์แล้ว ชนชาติหนึ่งที่เชื่อมโยงกับตัวอักษรซายิน คือ ชนชาติเปอร์เซีย(Persia) ปีนี้เป็นปีแห่งการสวมมงกุฎ หรือ พิธีราชาภิเษก ปีนี้ยังเป็นปีแห่งคทาขององค์กษัตริย์อีกด้วย
สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับเทศกาลปูริม
เทศกาลปูริมเป็นเรื่องราวของหญิงสาวผู้งดงามชาวยิว ผู้มีชื่อว่า "ฮาดาชาห์" (Hadassah) ที่กลายเป็น "ราชินีเอสเธอร์"(Esther)
เธอถอดหน้ากากที่พลางอยู่ เปิดเผยความเป็นยิว และเข้าไปร้องทูลต่อพระราชาด้วยความกล้าหาญ เพื่อปกป้องชนชาติยิวให้รอดพ้นจากความตาย!
พระราชาอาหสุเอรัส( Ahasuerus)ได้ทรงยื่นคทาออกรับพระราชินีเอสเธอร์ ทรงสำแดงความโปรดปรานต่อเธอ และทรงช่วยกู้ชีวิตผู้คนของเธออีกด้วย
|
ตะแลงแกงที่ฮามานตั้งใจจะแขวนคอโมรเดคัย(Mordecai)คนยิว กลับกลายเป็นที่แขวนคอตัวเขาเอง!
เอสเธอร์ 8:4-7
4 กษัตริย์จึงยื่นพระคทาสุวรรณแก่พระนางเอสเธอร์ พระนางเอสเธอร์ก็ทรงลุกขึ้นยืนเฝ้ากษัตริย์
5 พระนางทูลว่า “ถ้าเป็นที่พอพระทัยกษัตริย์ และถ้าหม่อมฉันเป็นที่โปรดปรานต่อพระพักตร์ของพระองค์ท่าน ถ้าสิ่งนั้นถูกต้องเหมาะสมต่อพระพักตร์กษัตริย์ และหม่อมฉันเป็นที่โปรดปรานในสายพระเนตรของพระองค์ท่าน ขอทรงให้มีพระอักษรรับสั่งให้กลับความในจดหมายซึ่งฮามานบุตรฮัมเมดาธา คนอากัก ได้คิดและเขียนขึ้นเพื่อทำลายพวกยิวที่อยู่ในมณฑลทั้งสิ้นของกษัตริย์
6 เพราะหม่อมฉันจะทนดูเหตุร้ายมาถึงชนชาติของหม่อมฉันได้อย่างไร? หม่อมฉันจะทนดูการทำลายญาติพี่น้องของหม่อมฉันได้อย่างไร?”
7 กษัตริย์อาหสุเอรัสจึงตรัสกับพระราชินีเอสเธอร์และกับโมรเดคัยคนยิวว่า “ดูสิ เรามอบบ้านของฮามานแก่พระนางเอสเธอร์แล้ว และพวกเขาก็แขวนคอมันบนตะแลงแกง เพราะมันยื่นมือออกทำร้ายพวกยิว
เรื่องราวของเอสเธอร์เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับตัวเรา เพราะว่าตัวเราเองก็มีการทรงเรียกจากพระเจ้าในชีวิตเฉกเช่นเดียวกัน !
นี่เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์อิสราเอล! อนาคตทั้งหมดตามแผนการแห่งพันธสัญญาของพระเจ้า ได้วางอยู่บนชีวิตของหญิงสาวเพียงแค่คนๆ เดียว!
มีวาระเวลาที่เอสเธอร์ได้เข้าไปต่อพระพักตร์พระราชา และได้วิงวอนขอชีวิตให้กับประชาชนของเธอ
ซึ่งนั่นก็คือ การทรงเรียก หรือ เป้าประสงค์สูงสุดที่พระเจ้ามีในชีวิตของเธอในแผ่นดินโลกนี้ “เจ้าเข้ามาอยู่ในอาณาจักรนี้ก็เพื่อวาระเวลาเช่นนี้แหละ” (“You have come into the kingdom for such a time as this.!” )
เอสเธอร์ได้เอาชนะกฤษฏีกาอันชั่วร้ายของฮามาน โดยวางชีวิตของเธอให้เข้ามาสอดคล้องไปกับกฤษฏีกาที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงไปของพระเจ้า
สำหรับเอสเธอร์แล้ว มันเป็นช่วงเวลาที่น่าหวาดกลัว แต่เมื่อเธอกล้าหาญที่จะเข้ามาร้องขอต่อพระราชา เธอก็ได้วางชีวิตให้สอดคล้องไปกับฤทธิ์อำนาจทั้งสิ้นในฟ้าสวรรค์
ซาตานมักจะมีแผนการที่จะคอยขัดขวาง มันมักจะมีกฤษฏีกาเพื่อทำลายล้างแต่พระเจ้าทรงมีวาระฤดูกาลที่ดูเหมือนว่าศัตรูกำลังมีชัย แต่ถ้อยคำของพระเจ้าทรงมีกฤษฏีกาที่สร้างสรรค์สร้างอนาคต
อิสยาห์ 46:9-10 "เราเป็นพระเจ้า และไม่มีอื่นใดเหมือนเรา…. ‘แผนงานของเราจะยั่งยืนและเราจะกระทำให้ความประสงค์ของเราสำเร็จทั้งสิ้น’
เยเรมีย์ 29:11 พระเจ้าตรัสว่า “เพราะเรารู้แผนงานที่เรามีไว้สำหรับเจ้า เป็นแผนงานเพื่อสวัสดิภาพ ไม่ใช่เพื่อทุกขภาพ เพื่อจะให้อนาคตและความหวังใจแก่เจ้า”
นั่นก็คือ กฤษฏีกาของพระเจ้าที่มีต่อชีวิตของของเรา ในเทศกาลปูริมปีนี้
ในช่วงเวลาแห่งความเป็นความตาย เอสเธอร์ได้อดอาหารและอธิษฐานเพื่อชนชาติของเธอ เธอไม่ได้ก้มหัวยอมแพ้หรือแช่งด่าในโชคชะตาฟ้าลิขิต
ในเวลาที่มืดมิดไร้ความหวัง คริสเตียนควรที่จะอธิษฐานเผื่อประเทศและลุกขึ้นมาส่องสว่างพระสิริของพระเจ้าในชีวิตของเรา ดั่งคำกล่าวที่ว่า "จุดเทียนให้สว่างดีกว่าที่จะสาปแช่งความมืด” (Better to light a candle than to curse the darkness.)
"เทศกาลปูริม" ช่วงวันที่ 12-13 มี.ค. เป็นเวลาที่เราควรจะทำสิ่งต่างๆดังนี้
1.เฝ้าดูจับตามองดูอิสราเอล และอธิษฐานเผื่อ
สดุดี122:6-7
สดุดี122:6-7
6 จงอธิษฐานขอสันติภาพให้เยรูซาเล็มว่า “ขอบรรดาผู้ที่รักเธอจงจำเริญ
7 ขอสันติภาพจงมีอยู่ภายในกำแพงของเธอ และขอให้ความปลอดภัยอยู่ภายในป้อมของเธอ”
อธิษฐานป่าวประกาศการรื้อฟื้นคืนชีวิตขึ้นในอิสราเอลให้พวกเขากลับมาหาพระเจ้า
บทเพลงคร่ำครวญ 5:21 โอ ข้าแต่พระยาห์เวห์ ขอทรงช่วยข้าพระองค์ให้กลับสู่พระองค์เถิด แล้วพวกข้าพระองค์จะกลับสู่พระองค์ ขอทรงฟื้นเดือนปีของข้าพระองค์ให้เหมือนดังก่อน
2. ค้นหาอัตลักษณ์ที่แท้จริงของเราในมิติฝ่ายวิญญาณ พัฒนาของประทานฝ่ายวิญญาณ ทบทวนถ้อยคำการเผยพระวจนะที่มาเหนือชีวิตของเรา
3.เรียนรู้ในการเผชิญความยากลำบากโดยไม่ขมขื่นใจ ขอบคุณพระเจ้าในทุกกรณี (1เธสะโลนิกา 5:18)
อธิษฐานป่าวประกาศกฤษฏีกาของพระเจ้าที่มีต่อชีวิตของของเรา
4.ขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับพระพร จดบันทึกและแบ่งปันประสบการณ์แห่งพระพรออกไป
สุขสันต์ในเทศกาลปูริม "Chag Purim Sameach!”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น