26 ธันวาคม 2559

Christmas SALE- ลด แลก แจก แถม

ในช่วงท้ายปลายปีของแต่ละปีจะมีสีสันที่สดใสของแสงไฟและการประดับประดาด้วยต้นคริสต์มาส,ของขวัญ,หลอดไฟสีและอื่นๆ ตามสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะห้างสรรพสินค้า
ช่วงเวลานี้ หลายๆคนชอบไปถ่ายรูปและจับจ่ายซื้อสินค้าต่างๆเพื่อเป็นของขวัญมอบให้แก่กันในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่
ห้างสรรพสินค้าต่างๆจะมีจัดรายการเพื่อส่งเสริมการขาย(Promotion) มีการลดราคาสินค้าต่างๆ จะเราจะเห็นว่าสินค้าต่างๆในห้างฯ จะติดป้าย "SALE" นั่นเป็นการ "ประกาศขายของ" เพื่อจะทำการระบายสินค้า(Clearance)ออกไปขาย ไม่ให้เหลือค้างเก็บไว้ในสต๊อกเก็บของ
แต่วันนี้ผมขอใช้เวลานี้สำหรับการ"ประกาศขายข่าว" แต่เป็น "ข่าวประเสริฐ"(Gospel) ข่าวดีสำหรับทุกๆคนเพราะช่วงเวลาคริสต์มาส เป็นเทศกาลที่ระลึกองค์พระเยซูคริสต์ พระองค์ทรงเป็นดั่งของขวัญอันล้ำค่าที่พระเจ้าทรงประทานให้กับโลกนี้ เพื่อทุกคนที่เชื่อในพระคริสต์จะได้ชีวิตนิรันดร์
ยอห์น 3:16 เพราะ​ว่า​พระ​เจ้า​ทรง​รัก​โลก จน​ได้​ทรง​ประทาน​พระ​บุตร​องค์​เดียว​ของ​พระ​องค์ เพื่อ​ทุก​คน​ที่​วางใจ​ใน​พระ​บุตร​นั้น​จะ​ไม่​พินาศ แต่​มี​ชีวิต​นิรันดร์​
ของขวัญนี้มีคุณค่าสูงแต่ให้เราทุกคนโดยไม่ต้องจ่ายราคา คือ "ของฟรีที่ดีกว่าของราคาถูก" สิ่งที่ให้ฟรีไม่ใช่ว่าไม่ดี แต่ที่ได้ฟรีเพราะผู้ที่ให้เขาไม่คิดราคา ของแพงอาจจะดีแต่บางครั้งราคาสูงเกินคุณภาพความเป็นจริง เราจะเรียกว่า "แพง" ของดีที่ราคาคุณภาพสูงก็มี บางทีของดีแต่ราคาไม่สูง เราเรียกว่า "ถูก" เพราะมันถูกใจเรา ใครๆก็ชอบของดีราคาถูกทั้งนั้น จะดียิ่งกว่านั้นคือ "ของฟรี" ที่เราได้รับเราจะถูกอกถูกใจมาก
ของขวัญก็เช่นเดียวกันครับ มันคือ "ของฟรีที่ระบุการให้อย่างเจาะจงสำหรับผู้รับ"
วันนี้ช่วงเทศกาลคริสต์มาสนี้ เป็นช่วงเวลแห่งการส่งเสริมการขายข่าวประเสริฐ เป็น Christmas SALE ที่มีทั้ง ลด แลก แจก แถม ! ผมขอใช้คำว่า "S-A-L-E" ในภาษาอังกฤษ เพื่ออธิบายความหมายดังนี้ึีครับ

S: Salvation ความรอดแบบลดการจ่ายราคา
เราจะได้รับความรอด แบบไม่ต้องจ่ายราคาด้วยการกระทำ เราไม่จำเป็นต้องทำดีถึงได้รับความรอด แต่ได้รับความรอดโดยพระคุณ

โรม 3:24 แต่​พระ​เจ้า​ทรง​มี​พระ​คุณ​ให้​เขา​เป็น​ผู้​ชอบ​ธรรม​โดย​ไม่​คิด​มูล​ค่า โดย​ที่​พระ​เยซู​คริสต์​ทรง​ไถ่​เขา​ให้​พ้น​บาป​แล้ว

การทำดีไม่ใช่ว่าไม่ดี แต่ความดีที่เราทำมันไม่เพียงพอและเราไม่สามารถทำได้ถึงมาตรฐานตามกฏเกณฑ์ทางศาสนา จึงเป็นเหตุให้พระเยซูคริสต์ต้องตายไถ่บาปเพื่อช่วยเราได้รับความรอด เรารอดได้โดยพระคุณ
เอเฟซัส 2:8-9
8 ด้วย​ว่า​ซึ่ง​ท่าน​ทั้ง​หลาย​รอด​นั้น​ก็​รอด​โดย​พระ​คุณ​เพราะ​ความ​เชื่อ และ​มิใช่​โดย​ตัว​ท่าน​ทั้ง​หลาย​กระทำ​เอง แต่​พระ​เจ้า​ทรง​ประทาน​ให้​ 9 ความ​รอด​นั้น​จะ​เนื่อง​ด้วย​การ​กระทำ​ก็​หา​มิได้ เพื่อ​มิ​ให้​คน​หนึ่ง​คน​ใด​อวด​ได้​
เมื่อเราได้รับความรอดแล้วพระเยซูคริสต์จะเปลี่ยนเราจะจากภายใน ถ้าภายในดี เราจะทำความดีออกมาจากท่าทีภายในไม่ใช่เพียงการกรทำภายนอก
เอเฟซัส 2: 10 เพราะ​ว่า​เรา​เป็น​ฝี​พระ​หัตถ์​ของ​พระ​องค์ ที่​ทรง​สร้าง​ขึ้น​ใน​พระ​เยซู​คริสต์​เพื่อให้​ประกอบการ​ดี ซึ่ง​พระ​เจ้า​ได้​ทรง​ดำริ​ไว้​ล่วงหน้า​เพื่อให้​เรา​กระทำ​
พระคุณ(grace) คือ เราไม่สมควรจะได้รับแต่เราได้รับ เราไม่ดีพอที่จะได้แต่พระคุณมีพอดีทำให้เราได้รับ เพีียงเพราะความเชื่อที่เราเชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์ ว่าพระองค์จ่ายราคาด้วยชีวิตของพระองค์

A: Attitude ทัศนคติที่แลกเปลี่ยนใหม่
สิ่งที่เราจะได้รับคือ "การแลกเปลี่ยนทัศคติเก่าและรับทัศนคติใหม่" คือ เราจะได้ชื่อว่า ผู้เป็นสุข (The Beatitudes)
คำเทศนาของพระเยซูคริสต์ครั้งแรก คือ การเทศนาทำให้เราเปลี่ยนแปลงความคิดและทัศนคติใหม่ คือ คิดดีเราจะมีสุข
มัทธิว 5:3-10
3 “คน​ที่​ยาก​จน​ด้าน​จิต​วิญ​ญาณ​ก็​เป็น​สุข เพราะ​ว่า​แผ่น​ดิน​สวรรค์​เป็น​ของ​เขา​ทั้ง​หลาย 4 “คน​ที่​โศก​เศร้าก็​เป็น​สุข เพราะ​ว่า​เขา​ทั้ง​หลาย​จะ​ได้​รับ​การ​หนุน​ใจ 5 “คน​ที่​สุภาพ​อ่อน​โยน ก็​เป็น​สุข เพราะ​ว่า​เขา​ทั้ง​หลาย​จะ​ได้​รับ​แผ่น​ดิน​โลก​เป็น​มร​ดก 6 “คน​ที่​หิว​และ​กระ​หาย​ความ​ชอบ​ธรรมก็​เป็น​สุข เพราะ​ว่า​พระเจ้า​จะ​ทรง​ให้​อิ่ม 7 “คน​ที่​มี​ใจ​เมต​ตา ก็​เป็น​สุข เพราะ​ว่า​เขา​ทั้ง​หลาย​จะ​ได้​รับ​พระ​เมต​ตา​ตอบ 8 “คน​ที่​มี​ใจ​บริ​สุทธิ์ ก็​เป็น​สุข เพราะ​ว่า​เขา​ทั้ง​หลาย​จะ​ได้​เห็น​พระ​เจ้า 9 “คน​ที่​สร้าง​สันติ​ก็​เป็น​สุข เพราะ​ว่า​พระ​เจ้า​จะ​ทรง​เรียก​เขา​ทั้ง​หลาย​ว่า​เป็น​ลูก 10 “คน​ที่​ถูก​ข่ม​เหง​เพราะ​เหตุ​ความ​ชอบ​ธรรม ก็​เป็น​สุข เพราะ​ว่า​แผ่น​ดิน​สวรรค์​เป็น​ของ​เขา​ทั้ง​หลาย
การจะได้รับสิ่งนี้ คือ เราต้องเอาของเก่ามาแลกเหมือนในห้างสรรพสินค้าจะมีการให้ผู้ซื้อนำของเก่ามาแลกของใหม่ เช่นเดียวกัน เราจะต้องเอาความคิดและการดำเนินชีวิตเพื่อรับการเปลี่ยนใหม่ในพระเยซูคริสต์
2 โครินธ์ 5:17 ฉะนั้น​ถ้า​ใคร​อยู่​ใน​พระ​คริสต์ เขา​ก็​เป็น​คน​ที่​ถูก​สร้าง​ใหม่​แล้ว สิ่ง​สาร​พัด​ที่​เก่าๆ ก็​ล่วง​ไป นี่​แน่ะ​กลาย​เป็น​สิ่ง​ใหม่​ทั้ง​นั้น

L: Love ความรักที่ได้รับแจกแบบไม่มีเงื่อนไข
โดยทั่วไปแล้วของแจกมักจะเป็นของที่เหลือ หรือไม่มีคุณค่ามากนัก นำมาแจกหรือเป็นสินค้าตัวใหม่นำมาแจกให้เราลองใช้ โดยมีเงืื่อนไขต่างๆ เพื่อจะทำให้เราต้องมาซื้อสินค้าต่อไป
แต่เทศกาลคริสต์มาสนี้ เราจะได้รับความรักแบบไม่มีเงื่อนไข ไม่มีเงื่อนงำ อุบายเก็บซ่อนไว้
ความรักของพระเจ้าเป็นความรักแบบอากเป้ คือความรักที่ไม่มีเงื่อนไข แม้เราไม่น่ารักแต่พระเจ้าทรงรักเราเพราะพระเจ้าทรงเป็นความรัก
1 ยอห์น 4:7-9
7 ท่าน​ที่​รัก​ทั้ง​หลาย ขอ​ให้​เรา​รัก​กัน​และ​กัน เพราะ​ว่า​ความ​รัก​มา​จาก​พระ​เจ้า และ​ทุก​คน​ที่​รัก​ก็​เกิด​จาก​พระ​เจ้า และ​รู้​จัก​พระ​เจ้า 8 ผู้​ที่​ไม่​รัก​ก็​ไม่​รู้​จัก​พระ​เจ้า เพราะ​ว่า​พระ​เจ้า​ทรง​เป็น​ความ​รัก 9 ความ​รัก​ของ​พระ​เจ้า​ก็​เป็น​ที่​ประ​จักษ์​แก่​เรา​โดย​ข้อ​นี้ คือ​พระ​เจ้า​ทรง​ใช้​พระ​บุตร​องค์​เดียว​ของ​พระ​องค์​เข้า​มา​ใน​โลก เพื่อ​เรา​จะ​ได้​ดำ​รง​ชีวิต​โดย​พระ​บุตร
พระเยซูคริสต์สอนเราให้เราเพื่อนบ้าน (ผู้อื่น)เหมือนรักตนเอง ความรักเป็นสิ่งเดียวที่เราสามารถใช้ได้อย่างฟุ่มเฟือยได้ไม่ต้องประหยัดมัธยัสถ์ และแจกจ่ายความรัก การให้จึงเป็นเหตุให้เราได้รับความสุข
กิจการฯ 20:35 ...และ​ระลึก​ถึง​พระ​วจนะ​ของ​พระ​เยซู​องค์​พระ​ผู้​เป็น​เจ้า ตาม​ที่​พระ​องค์​ตรัส​ว่า ‘การ​ให้​เป็น​เหตุ​ให้​มี​ความ​สุข​ยิ่ง​กว่า​การ​รับ’ ”

E : Everlasting life ชีวิตนิรันดร์แถมให้ทันทีที่เชื่อ

เมื่อเราตัดสินใจต้อนรับองค์พระเยซูคริสต์ เราจะได้รับความรอด ไม่เพียงเช่นนั้นของแถมที่ตามมาคือ การได้รับชีวิตนิรัดร์ เป็นชีวิตที่ครบบริบูรณ์ในทุกสิ่ง

โรม 6:23 เพราะ​ว่า​ค่าจ้าง​ของ​ความ​บาป​คือ​ความ​ตาย แต่​ของ​ประทาน​จาก​พระ​เจ้า​คือ​ ชีวิต​นิรันดร์​ ใน​พระ​เยซู​คริสต์​องค์​พระ​ผู้​เป็น​เจ้า​ของ​เรา​

ยอห์น 10:10 ขโมย​นั้น​ย่อม​มา​เพื่อ​จะ​ลัก ฆ่า และ​ทำลาย เรา​มา​เพื่อ​พวก​เขา​จะ​ได้​ชีวิต​และ​จะ​ได้​อย่าง​ครบ​บริ​บูรณ์

ชีวิตนิรัดร์เป็นของขวัญที่พระเจ้าทรงประทานให้กับเราทุกคนในโลกนี้ เราต่างดีใจเมื่อเราได้รับของขวัญในเทศกาลแห่งความสุข ในวันคริสต์มาสคือ วันที่ 25 ธ.ค. หรือ วันที่ 26 ธ.ค.เป็นวันแกะกล่องของขวัญ (Boxing Day) ไม่ใช่วันต่อยมวยนะครับ

สิ่งที่สำคัญในเทศกาลคริสต์คือ ของขวัญอัศจรรย์วันคริสต์มาส(Amazing Christmas Gift)

เราจะเห็นว่าของขวัญอัศจรรย์วันคริสต์มาส(Amazing  Christmas Gift) เป็นของขวัญที่ให้โดยไม่มีเงื่อนไข  เป็นของขวัญที่ให้อย่างไม่จำกัด สำหรับทุกๆคน และเป็นของขวัญที่ไม่เปลี่ยนแปลง
ความรักที่พระเยซูคริสต์ทรงมีต่อเราไม่เคยเปลี่ยนแปลง แม้เราจะเปลี่ยนไป แต่พระองค์ทรงรักเราเสมอ 

เทศกาลคริสต์มาสปีนี้มีข่าวดีสำหรับทุกคน เป็น Christmas SALE ที่มีทั้ง ลด แลก แจกและแถมคือ

 S: Salvation ความรอดแบบลดราคาแต่ไม่ลดคุณค่า
A: Attitude ทัศนคติที่แลกเปลี่ยนใหม่
L: Love ความรักที่ได้รับแจกแบบไม่มีเงื่อนไข
E : Everlasting life ชีวิตนิรันดร์แถมให้ทันทีที่เชื่อ

ลูกา  2:14 “​พระ​สิริ​จง​มี​แด่​พระ​เจ้า​ใน​ที่​สูงสุด ส่วนบน​แผ่นดิน​โลก สันติ​สุข​จง​มี​ท่ามกลาง​มนุษย์​ทั้ง​ปวง ซึ่ง​พระ​องค์​ทรง​โปรด​ปราน​นั้น”

ขอพระเจ้าอวยพร สุขสันต์วันคริสต์มาสและสวัสดีปีใหม่ 2017 ครับ

ความแตกต่างระหว่าง “ของประทานอัครทูต” กับ “ตำแหน่งอัครทูต”

บทความเรื่อง ความแตกต่างระหว่าง “ของประทานอัครทูต” กับ “ตำแหน่งอัครทูต”
โดย Haiyong Kavilar


ในทศวรรษ 1970 นับเป็นทศวรรษสำคัญสำหรับคำสอนเรื่องของประทาน ก่อนหน้าปี 1970 คำสอนและหนังสือเรื่องของประทานยังมีไม่มากนัก ทว่าช่วงปี 1970 นี่เองที่คำสอนและหนังสือเรื่องของประทานเริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในพระกาย โอ ราวกับว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ทรงรื้อฟื้นความเข้าใจเรื่องของประทานให้กับเจ้าสาวพระคริสต์ ดังนั้นแล้วคำสอนเรื่องของประทานจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่และหาอ่านจากหนังสือเก่าๆได้ยาก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ spiritual gifts

เมื่อคริสตจักรก้าวเข้าสู่การปฏิรูปอัครทูตครั้งใหม่(New Apostolic Reformation)ในช่วงทศวรรษ 1990 ตำแหน่งอัครทูตในยุคปัจจุบันจึงได้ถูกรื้อฟื้นขึ้น อย่างไรก็ตามเพื่อที่จะเข้าใจถึงการรื้อฟื้นเรื่องอัครทูตอย่างกระจ่างแจ้ง การเข้าใจความแตกต่างระหว่าง “ของประทานความเป็นอัครทูต” กับ “ตำแหน่งอัครทูต” ก็จะช่วยเสริมสร้างเพื่อนๆได้ดียิ่งขึ้น


ของประทานเป็นสิ่งแต่ละคนได้รับจากพระวิญญาณ การที่แต่ละคนจะมีของประทานใดนั้นท้ายสุดแล้วก็ขึ้นอยู่กับพระทัยของพระวิญญาณ ของประทานความเป็นอัครทูตนับเป็นของประทานหนึ่งที่พระวิญญาณมอบให้กับผู้เชื่อบางคน คนที่มีของประทานความเป็นอัครทูตมักจะมีลักษณะเด่นบางประการ เช่น มีความกล้าในการทำสิ่งใหม่ๆ มีความเป็นผู้นำ และรับรู้ถึงสิ่งต่างๆที่พระวิญญาณกำลังตรัสกับคริสตจักร เป็นต้น คนที่มีของประทานความเป็นอัครทูต มักจะมีผู้คนที่อยากจะติดตามเขาโดยสมัครใจ อย่างไรก็ตาม “ของประทานความเป็นอัครทูต” กับ “ตำแหน่งอัครทูต” ก็มีความแตกต่างกัน


“ของประทาน” เป็นสิ่งที่ได้มาจากพระวิญญาณโดยตรง แต่ “ตำแหน่ง” เป็นสิ่งที่ได้รับจากพระวิญญาณและจากคริสตจักร การที่คนผู้หนึ่งจะมีตำแหน่งอัครทูตได้นั้น โดยพื้นฐานแล้วคนผู้นั้นต้องมีของประทานความเป็นอัครทูตก่อน เมื่อวันเวลาผ่านไป ของประทานความเป็นอัครทูตที่คนผู้นั้นมีก็จะเติบโตยิ่งขึ้น ซึ่งผู้อื่นจะรับรู้ได้ผ่านลักษณะชีวิตและผลจากพันธกิจของเขา และเมื่อถึงวาระที่เหมาะสม พระวิญญาณอาจจะตรัสกับคณะผู้ปกครองหรืออัครทูตคนอื่นๆว่า “จงแต่งตั้งคนผู้นี้ให้เป็นอัครทูต” และเมื่อคริสตจักรได้แต่งตั้งเขาให้เป็นอัครทูตแล้ว นับตั้งแต่นั้นเขาจึงจะมีตำแหน่งอัครทูต


ตัวอย่างหนึ่งในพระคัมภีร์ก็คือ เปาโล แม้ว่าเปาโลจะบังเกิดใหม่และเข้าสู่คริสตจักรตามหนังสือกิจการบทที่9 แต่พระคัมภีร์ก็ยังไม่ได้เรียกเปาโลว่าเป็นอัครทูต จนกระทั่งหลังจากหนังสือกิจการบทที่13 เมื่อเปาโลได้รับการแต่งตั้งจากพระวิญญาณและจากคริสตจักรที่อันทิโอก พระคัมภีร์จึงค่อยเรียกเปาโลว่าเป็นอัครทูต นั่นหมายความว่าระหว่างหนังสือกิจการบทที่ 9 – 12 เปาโลยังไม่ได้รับตำแหน่งอัครทูต แต่เปาโลมีของประทานและการทรงเรียกสู่การเป็นอัครทูตอยู่แล้ว และเมื่อถึงเวลาอันเหมาะสมตามหนังสือกิจการบทที่13 เปาโลจึงได้รับตำแหน่งอัครทูต ดังนั้นตำแหน่งอัครทูตจึงไม่ได้เกิดขึ้นจากการแต่งตั้งตนเอง แต่เกิดจากการที่พระวิญญาณและคริสตจักรได้แต่งตั้งขึ้นมา


จากประวัติศาสตร์คริสตจักรที่ผ่านมาเกือบ 2000 ปี ตำแหน่งอัครทูตในยุคปัจจุบันเป็นสิ่งที่ไม่ได้รับการยอมรับมากนัก จนกระทั่งทศวรรษที่ 1990 อันเป็นทศวรรษของการรื้อฟื้นอัครทูต ตำแหน่งอัครทูตในยุคปัจจุบันจึงเป็นที่ยอมรับมากขึ้น ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในทศวรรษ 1990 ไม่ได้เป็นการรื้อฟื้นของประทานความเป็นอัครทูต แต่เป็นการรื้อฟื้นตำแหน่งอัครทูต จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา แม้จะผู้เชื่อจะไม่มีตำแหน่งอัครทูต แต่ผู้เชื่อหลายๆคนก็มีของประทานความเป็นอัครทูตอยู่แล้ว


ในพระคัมภีร์เมื่อคนผู้หนึ่งได้รับตำแหน่งอัครทูต คนผู้นั้นก็จะแสดงตัวอย่างชัดเจนว่าตัวเขาเป็นอัครทูตโดยมิได้ปิดบังหรือซ่อนเร้น ในจดหมายฝากแต่ละฉบับของเปาโล ตัวเปาโลก็เน้นย้ำและขึ้นต้นจดหมายของเขาอยู่บ่อยๆว่า “เปาโล อัครทูตของพระเยซูคริสต์” ซึ่งนี่ชึ้ให้เห็นว่า ถ้าผู้ใดได้รับตำแหน่งอัครทูตแล้ว ผู้นั้นก็ควรแสดงตัวอย่างชัดเจนว่าเป็นอัครทูต โอ ขอให้บรรดาอัครทูต จงลุกขึ้นเถิด

แนะนำหนังสือเพิ่มเติม
Your Spiritual Gifts Can Help Your Church Grow เขียนโดย C. Peter Wagner
Apostles Today เขียนโดย C. Peter Wagner


ที่มาของรูป
รูปของขวัญ จาก https://www.pinterest.com/jeichhorst/spiritual-gifts/

24 ธันวาคม 2559

ฮานุกกะห์ (Hanukkah) เทศกาลแห่งแสงสว่างและการอุทิศตน

เทศกาล “ฮานุกกะห์” (Hanukkah) หรือ คานุกะห์(Chanukah

เทศกาลนี้ได้ชื่อว่าเป็น “เทศกาลแห่งแสงสว่าง” (Festival of lights) อันเป็นความสว่างและความหวังใจของคนอิสราเอลที่ได้รับชัยชนะโดยพระยาห์เวห์ 
คำว่า คานุกะห์” חֲנֻכָּה‎  ในภาษาฮีบรู หมายถึง การอุทิศตน(Dedicationเพื่อการชำระตนต่อพระยาห์เวห์  
เทศกาลนี้จะเริ่มต้นฉลองในวันที่ 25 เดือนคิสเลฟ ไปจนถึงวันที่ เดือนเทเบท  (ปี 2016 อยู่ในช่วงวันที่ 25 ธันวาคม - 1 มกราคม 2017 ซึ่งตรงกับช่วงเทศกาลคริสต์มาส

เทศกาลนี้เราอาจจะไม่คุ้นเคยนักเพราะไม่ได้เป็นเทศกาลหลัก 3 เทศกาลตามพระคัมภีร์คือเทศกาลปัสกา เพ็นเทคอสต์ และอยู่เพิง (เลวีนิติ บทที่ 23)

แต่สำหรับคนอิสราเอลนั้นมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะเป็นการรำลึกถึงชัยชนะกลุ่มมัคคาบี นำโดย ยูดาห์ มัคคาบี (Judah Maccabeeที่มีต่อกองทัพของกษัตริย์อันติโอคัสที่ แห่ง
อีพิฟานีส(Antiochus IV Epiphanes) ในช่วงประมาณ 165 ปีก่อนคริสตศักราช  

Antiochus IV Epiphanes
กษัตริย์อันติโอคัสที่ ได้ทำรูปปั้นพระซุส(Zeus) เทพเจ้าของกรีกและถวายสัตวบูชาโดยใช้สุกรซึ่งเป็นสัตว์มลทินในพระวิหารของพระยาห์เวห์  ทรงสั่งให้คนยิวนมัสการเทพเจ้าของกรีก  หากพวกเขาไม่นมัสการพระองค์จะฆ่าพวกเขาเสีย แต่คนยิวไม่ยอมก้มกราบนมัสการเทพเจ้าของกรีก 
ยูดาห์ มัคคาบี (Judah Maccabee) ได้นำคนยิวต่อต้านจึงได้ชื่อว่า "กบฎมัคคาบี"  
เมื่อศัตรูจะทำลายคนยิว  พระยาห์เวห์ สะบาโอท  พระองค์ทรงอยู่ฝ่ายประชากรของพระองค์เสมอ  ทรงปกป้องช่วยเหลือประชากรของพระองค์เสมอ
กองทัพกรีกซึ่งเป็นกองทัพใหญ่ ส่วนคนยิวมีกองกำลังเพียงเล็กน้อย แต่คนยิวสามารถชนะกองทัพของกรีกได้  พวกเขาได้พระวิหารกลับคืนมาและได้ทำการชำระพระวิหาร  แต่คันประทีป กิ่ง(Menorahนั้นได้ดับลงไปแล้ว 
ตามหลักการในพระธรรมเลวีนิติ  ไฟที่คันประทีบต้องถูกจุดให้ลุกอยู่เสมอ 


เลวีนิติ 24:2 เจ้าจงบัญชาแก่คนอิสราเอลให้นำน้ำมันอย่างบริสุทธิ์ สกัดจากมะกอกเทศเพื่อเติมประทีป เพื่อให้ตะเกียงลุกอยู่เสมอ
เมื่อมีการจุดได้เกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ขึ้น นั่นคือ น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ที่ใช้จุดคันประทีปซึ่งเหลืออยู่เพียง 1 ขวดนั้นสามารถเป็นเชื้อเพลิงให้คันประทีปส่องสว่างได้ยาวนานถึง 8 วัน  
ปกติน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ 1 ขวดใช้ได้เพียง 1 วัน  จึงเป็นที่มาของการเฉลิมฉลองเทศกาลฮานุกกะห์เป็นระยะเวลา 8 วัน โดยคันประทีปที่ใช้ในเทศกาลนี้จะมี 8 กิ่ง เรียกว่า ฮานุคิอาห์” (Hanukiah)

การจุดฮานุคิอาห์เริ่มจุดเทียนเล่มกลางหรือเทียนผู้รับใช้ (ชาแมช- shamash)ก่อนและจุดเทียนเล่มแรกในวันแรกจากนั้นจะจุดเทียนแต่ละเล่มเพิ่มขึ้นวันละ เล่มทุกๆ วันจนครบทั้ง เล่ม 

ในวันที่ 8  ฮานุคิอาห์จะส่องสว่างอย่างครบบริบูรณ์เป็นการแสดงความเคารพของชาวยิวต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าและวีรบุรุษของชนชาติอิสราเอลที่ล่วงหลับไป 

เลข 8 ในภาษาฮีบรู เล็งถึง พันธสัญญานิรันร์ของพระยาห์เวห์

หลังจากจุดเทียนจึงจะมีการรับประทานอาหารร่วมกัน และมอบของขวัญให้กับคนในครอบครัว 
นอกจากนี้ยังมีการหมุน ลูกข่างเดรเดล” (Dreidel) เป็นลูกข่าง ด้านมีตัวอักษรฮีบรู ตัว คืออักษรนูน กิเมล เฮ้ และชิน  
เมื่อนำทั้ง ตัวมารวมกันจะหมายความว่า "ปาฏิหาริย์เกิดขึ้นที่นั่นเป็นการแสดงถึงการขอบพระคุณพระยาห์เวห์ สำหรับชัยชนะที่น่าอัศจรรย์โดยพระองค์  

จากเหตุการณ์ที่พระวิหารถูกยึดครองโดยกษัตริย์ของกรีกนั้น เป็นไปตามคำเผยพระวจนะของดาเนียลที่เห็นภาพนิมิตถึงอนาคตของอิสราเอลจะถูกอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มายึดครอง 4 อาณาจักร คือ มีเดีย(บาบิโลน) เปอร์เซีย กรีก และโรมัน  และตอนนี้คือ "อาณาจักรกรีก" ซึ่งภาพนิมิตคือ "แพะผู้"ตามที่ทูตสวรรค์กาเบียลอธิบาย   
ดาเนียล  8:8-11,
8 แล้ว​แพะ​ผู้​ก็​พอง​ตัว​ขึ้น​อย่าง​มาก แต่​เมื่อ​มัน​แข็ง​แรง​เต็ม​ที่ เขา​ใหญ่​ของ​มัน​ก็​หัก มี​เขา​เด่น​อีก​สี่​เขา​งอก​ขึ้น​แทน​ที่ หัน​ไป​ทาง​ทิศ​ลม​ทั้ง​สี่​ของ​ฟ้า​สวรรค์
9 และ​มี​เขา​เล็กๆ เขา​หนึ่ง​งอก​ออก​มา​จาก​เขา​หนึ่ง​ใน​บรร​ดา​เขา​เหล่า​นี้ ซึ่ง​งอก​ขึ้น​ใหญ่​โต​เหลือ​เกิน​ขยาย​ไป​ทาง​ใต้ ไป​ทาง​ตะวัน​ออก และ​ไป​ยัง​แผ่น​ดิน​อัน​รุ่ง​โรจน์​นั้น...
11 มัน​โต​ขึ้น​อีก​จน​ถึง​เจ้า​นาย​แห่ง​บริ​วาร และ​เครื่อง​เผา​บูชา​เนือง​นิตย์​ก็​ถูก​ชิง​ไป​จาก​พระ​องค์ และ​สถาน​นมัส​การ​ของ​พระ​องค์​ก็​ถูก​ทำ​ให้​เสื่อม...

21 และ​แพะ​ผู้​คือ​กษัตริย์​ของ​กรีก และ​เขา​ใหญ่​ระหว่าง​นัยน์​ตา​คือ​กษัตริย์​องค์​แรก

กษัตริย์อันติโอคัสที่ ได้ทำรูปปั้นพระซุส(Zeus) เทพเจ้าของกรีกและถวายสัตวบูชาโดยใช้สุกรซึ่งเป็นสัตว์มลทิน พระวิหารถูกทำให้เป็นมลทิน(ดาเนียล 8:11) 

เทศกาลฮานุกกะห์ เป็นภาพเงาที่เล็งถึงพระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็นแสงสว่างที่ส่องเข้ามาในโลกที่ถูกปกคลุมด้วยความมืด

ยอห์น 8:12 พระ​เยซู​ตรัส​กับ​พวก​เขา​อีก​ครั้ง​หนึ่ง​ว่า “เรา​เป็น​ความ​สว่าง​ของ​โลก คน​ที่​ตาม​เรา​มา​จะ​ไม่​ต้อง​เดิน​ใน​ความ​มืด แต่​จะ​มี​ความ​สว่าง​แห่ง​ชีวิต”

กลุ่มคนยิวที่เชื่อในองค์พระเยซูคริสต์(Messianic Jew) เชื่อว่าในเทศกาลนี้  มารีย์หญิงพรหมจารีได้ปฏิสนธิด้วยฤทธิ์เดชของพระวิญญาณบริสุทธิ์และได้ให้กำเนิดองค์พระเยซูคริสต์ในช่วงเทศกาลอยู่เพิง พระองค์ทรงเป็นองค์อิมมานูเอล เป็นความสว่างแห่งพระสิริที่อยู่ท่ามกลางเรา 

มัทธิว 1:23 “นี่​แน่ะ หญิง​พรหม​จารี​คน​หนึ่ง​จะ​ตั้ง​ครรภ์ และ​คลอด​บุตรชาย​คน​หนึ่ง และ​เขา​จะ​เรียก​นาม​ของ​ท่าน​ว่า ​อิม​มา​นู​เอล” (แปล​ว่า พระ​เจ้า​สถิต​กับ​เรา)
 ยอห์น 1:4-5
4 พระองค์ทรงเป็นแหล่งชีวิต และชีวิตนั้นเป็นความสว่างของมนุษย์
5 ความสว่างส่องเข้ามาในความมืด และความมืดหาได้ชนะความสว่างไม่
 ยอห์น  1:14 พระ​วาทะ​ทรง​เกิด​เป็น​มนุษย์​และ​ทรง​อยู่​ท่าม​กลาง​เรา เรา​เห็น​พระ​สิริ​ของ​พระ​องค์ คือ พระ​สิริ​ที่​สม​กับ​พระ​บุตร​องค์​เดียว​ของ​พระบิดา บริ​บูรณ์​ด้วย​พระ​คุณ​และ​ความ​จริง
พระคริสตธรรมคัมภีร์บันทึกว่า พระเยซูคริสต์ทรงอยู่ร่วมเทศกาลฮานุกกะห์หรือที่เรียกว่า “เทศกาลฉลองพระวิหาร”
ยอห์น 10:22-23 
 22 ขณะนั้น​เป็น​เทศกาล​ฉลอง​พระ​วิหาร (Hanukkah)​ที่​กรุง​เยรูซาเล็ม และ​เป็น​ฤดู​หนาว
23 ​พระ​เยซู​ทรง​ดำเนิน​อยู่​ใน​บริเวณ​พระ​วิหาร​ที่​เฉลียง​ของ​ซาโลมอน

พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับพระวิหารและทรงเรียกว่า นิเวศแห่งพระบิดาของเรา (ลูกา 2:49) พระองค์ทรงชำระพระวิหารที่เต็มไปด้วยสิ่งที่เป็นมลทิน (มาระโก 11:15-17) 

สิ่งสำคัญของการฉลองเทศกาลฮานุกกะห์ ในสมัยของพระเยซูคริสต์ นั่นคือ ช่วงเวลานั้นคนยิวถูกอาณาจักรโรมันครอบครองอยู่เป็นอาณาจักรที่ 4   ซึ่งเป็นการปกครองต่อจากมีเดีย(บาบิโลน) เปอร์เซีย และกรีก 

สมัยการปกครองโดยอาณาจักกรีก คนยิวได้รับการปลดปล่อยโดยผู้นำคือ ยูดาห์ มัคคาบี  
แต่ในสมัยโรมัน คนยิวบางคนคิดว่า พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระเมสสิยาห์ ทรงเป็นสิงห์แห่งเผ่ยูดาห์ เชื้อสายของดาวิดที่จะมาเป็นกษัตริย์ของยิวและปลดปล่อยพวกเขาจากอาณาจักรโรมัน แต่ยิวบางคนก็ต่อต้านไม่เชื่อว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระเมสสิยาห์ และจะเอาก้อนหินขว้างพระองค์ 

พระเยซูคริสอยู่ในเทศกาลฮานุกกะห์ ในพระธรรม ยอห์น 10 :22-38 

22 ขณะนั้นเป็นเทศกาลฉลองพระวิหาร(Hanukkah)​ที่กรุงเยรูซาเล็ม 
23 เป็นฤดูหนาว พระเยซูทรงดำเนินอยู่ในบริเวณพระวิหารที่เฉลียงของซาโลมอน 
24 พวกยิวก็พากันมาห้อมล้อมพระองค์และทูลว่า จะให้ใจเราแขวนอยู่นานสักเท่าใด ถ้าท่านเป็นพระคริสต์ก็จงบอกเราให้ชัดแจ้งเถิด
25 พระเยซูตรัสกับเขาทั้งหลายว่า เราได้บอกท่านทั้งหลายแล้วและท่านไม่เชื่อ สิ่งซึ่งเราได้กระทำในพระนามพระบิดาของเรา ก็เป็นพยานให้แก่เรา
26 แต่ท่านทั้งหลายไม่เชื่อเพราะท่านมิได้เป็นแกะของเรา
27 แกะของเราย่อมฟังเสียงของเรา และเรารู้จักแกะเหล่านั้น และแกะนั้นตามเรา 
28 เราให้ชีวิตนิรันดร์แก่แกะนั้น แกะนั้นจะไม่พินาศเลย และจะไม่มีผู้ใดแย่งชิงแกะเหล่านั้นไปจากมือของเราได้ 
29 พระบิดาของเราผู้ประทานแกะนั้นให้แก่เราเป็นใหญ่กว่าทุกสิ่ง และไม่มีผู้ใดอาจชิงแกะนั้นไปจากพระหัตถ์ของพระบิดาของเราได้ 
30 เรากับพระบิดาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” 
31 พวกยิวจึงหยิบก้อนหินขึ้นมาอีกจะขว้างพระองค์ให้ตาย 
32 พระเยซูจึงตรัสกับเขาว่า เราได้สำแดงให้ท่านเห็นการดีหลายประการของพระบิดาของเรา ท่านทั้งหลายหยิบก้อนหินจะขว้างเราให้ตาย เพราะการกระทำข้อใดเล่า” 
33 พวกยิวทูลตอบพระองค์ว่า เราจะขว้างท่านมิใช่เพราะการกระทำดี แต่เพราะการพูดหมิ่นประมาทพระเจ้า เพราะท่านเป็นเพียงมนุษย์แต่ตั้งตัวเป็นพระเจ้า” 
34 พระเยซูตรัสว่า ในพระธรรมของท่านมีคำเขียนไว้มิใช่หรือว่า เราได้กล่าวว่าท่านทั้งหลายเป็นพระ
35 ถ้าพระธรรมนั้นเรียกผู้ที่รับพระวจนะของพระเจ้าว่า เขาเป็นพระ (และจะฝ่าฝืนพระคัมภีร์ไม่ได้
36 ท่านทั้งหลายจะกล่าวหาท่านที่พระบิดาได้ทรงตั้งไว้ และทรงใช้เข้ามาในโลกว่า ท่านกล่าวคำหมิ่นประมาทพระเจ้าเพราะเราได้กล่าวว่า เราเป็นบุตรของพระเจ้าอย่างนั้นหรือ 
37 ถ้าเราไม่ปฏิบัติพระราชกิจของพระบิดาของเรา ก็อย่าวางใจในเราเลย 
38 แต่ถ้าเราปฏิบัติพระราชกิจนั้น แม้ว่าท่านมิได้วางใจในเรา ก็จงวางใจเพราะพระราชกิจนั้นเถิด เพื่อท่านจะได้รู้และเข้าใจว่าพระบิดาทรงอยู่ในเรา และเราอยู่ในพระบิดา

พระเยซูคริสต์ทรงตรัสกับคนยิวเหล่านั้นว่า  พระองค์ทรงมาเพื่อจะตามหาแกะที่หลงหายไปจากพระบิดา ตามอุปมาเรื่องคอกแกะ(ยอห์น 10)  ใครที่เชื่อฟังพระองค์ก็เป็นแกะของพระองค์ แกะของพระองค์จะได้ยินเสียงของพระองค์และ พระเยซูคริสต์จะให้ชีวิตนิรันดร์ พวกเขาไม่จะพินาศ (ยอห์น10:25-28) 

พระเยซูทรงชี้ให้พวกเขาเห็นถึงความรอดจากการเป็นทาสของบาป ดีกว่าเป็นเชลยที่ได้รับการปลดปล่อยโดย ยูดาห์ มัคคาบี  แต่มันก็ไม่ได้คำตอบที่คนยิวต้องการที่จะได้ยิน พวกเขาจึงจะขว้างพระเยซูคริสต์  

พระเยซูคริสต์ไม่ได้มาเพื่อจะปลดปล่อยคนยิวให้พ้นจากการเป็นเชลยของโรมัน แต่พระเยซูคริสต์มาปลดปล่อยพวกเขาจากการเป็นทาสของบาปและความตาย  นำพวกเขาเพื่อจะได้รับชีวิตนิรันดร์และอยู่ในราชอาณาจักรของพระเจ้า!

คนยิวก็หมดหวังเมื่อพระเยซูถูกทหารโรมันจับไปตรึงกางเขน และพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็มถูกกองทัพโรมันทำลายลงในปี ค.. 70 ซึ่งเป็นไปตามคำพยากรณ์ของพระเยซูคริสต์ 
มัทธิว 24:1-2
1 พระ​เยซู​เสด็จ​ออก​จาก​บริ​เวณ​พระ​วิหาร ระหว่าง​เสด็จ​ไป บรร​ดา​สา​วก​ของ​พระ​องค์​มา​ชี้​อา​คาร​ทั้ง​หลาย​ใน​บริ​เวณ​พระ​วิหาร​ให้​พระ​องค์​ทอด​พระ​เนตร
2 พระ​องค์​จึง​ตรัส​ตอบ​พวก​เขา​ว่า “สิ่ง​ทั้ง​หมด​นี้​พวก​ท่าน​เห็น​แล้ว​ไม่​ใช่​หรือ? เรา​บอก​ความ​จริง​กับ​ท่าน​ว่า ที่​นี่​จะ​ไม่​เหลือ​ก้อน​หิน​ซ้อน​ทับ​กัน​อยู่​แม้​แต่​ก้อน​เดียว แต่​จะ​ถูก​ทำ​ลาย​ลง​หมด”

พระเยซูคริสต์พยากรณ์ว่า พระองค์จะถูกตรึงที่กางเขน และตายและผ่านไป 3 วันพระองค์จะเป็นขึ้นมาจากความตาย(มัทธิว 27:40) พระองค์จะสร้างพระวิหารใหม่คือ พระวิหารในฝ่ายวิญญาณ คือ ผู้ที่เชื่อในพระองค์ และเป็นพระวิหารที่ประทับของพระวิญญาณบริสุทธิ์

แม้ว่าพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็มถูกกองทัพโรมันทำลายลงไปแล้ว แต่ก็มีการฉลองเทศกาลฮานุกกะห์ต่อเนื่องมาจนปัจจุบันนี้ 

ในอนาคตพระวิหารหลังที่ 3 จะถูกสร้างขึ้นใหม่ และเมื่อสิ้นยุคของโลกนี้ พระเยซูคริสต์จะกลับมาอีกครั้งหนึ่งในฐานะกษัตริย์ที่จะเสด็จเข้ามาทางประตูพระวิหารของพระองค์ด้วยพระสิริ(สดุดี 24) และจะทรงนำอาณาจักรและการครอบครองตลอดนิรันดร์กาล

ดังนั้น  ทุกครั้งที่มีการฉลองเทศกาลนี้  ให้เราตระหนักว่า พระยาห์เวห์ทรงปรารถนาที่จะรื้อฟื้นพระวิหารของพระองค์ต่อไป    


เราทั้งหลายเป็นพระวิหารในฝ่ายวิญญาณเป็นที่ประทับของพระวิญญาณบริสุทธิ์ 

1 โครินธ์ 3:16 ท่าน​ทั้ง​หลาย​รู้​แล้ว​ไม่​ใช่​หรือ​ว่า​ พวก​ท่าน​เป็น​วิ​หาร​ของ​พระ​เจ้า และ​พระ​วิญ​ญาณ​ของ​พระ​เจ้า​สถิต​อยู่​ใน​พวก​ท่าน? 

เทศกาลนี้จึงเป็นเวลาที่เราจะอุทิศตัวเพื่อรับการชำระจากพระยาห์เวห์ เพื่อนำสิ่งมลทินออกไปจากชีวิตและรับพระสิริของพระองค์เข้ามาฉายส่องในชีวิตของเรา (อิสยาห์ 60) 

เราสามารถร่วมฉลองเทศกาลฮานุกกะห์ เทศกาลแห่งแสงสว่างและการอุทิศตน ด้วยการป่าวประกาศชัยชนะเหนือความมืดในภาคปฏิบัติ ได้ดังต่อไปนี้
1. อุทิศตัวให้เวลาในการใคร่ครวญภาวนาพระวจนะ เพราะพระวจนะเป็นโคมที่ส่องสว่างในชีวิต 

โคโลสี 4:2  จงอุทิศตัวในการอธิษฐาน จงเฝ้าระวังในเรื่องนี้ด้วยการขอบพระคุณ

สดุดี 119:105 พระ​วจนะ​ของ​พระ​องค์​เป็น​ตะ​เกียง​แก่​เท้า​ของ​ข้า​พระ​องค์ และ​เป็น​ความ​สว่าง​แก่​ทาง​ของ​ข้า​พระ​องค์
 2. อธิษฐานเพื่อรับการปกคลุมด้วยพระสิริของพระยาห์เวห์ และรับการปกป้องให้พ้นจากเงามืดของศัตรู (อิสยาห์ 60)
3. ขอบคุณพระเจ้าที่ให้เราเป็นพระวิหารของพระองค์ ใช้เวลาอธิษฐานชำระชีวิตให้บริสุทธิ์
4. อธิษฐานป่าวประกาศฤทธิ์เดชของพระวิญญาณที่อยู่ในชีวิต ให้เราเรียนรู้ที่จะคาดหวังในการอัศจรรย์ของพระองค์เพื่อจะมีชัยชนะเหนือกิจการแห่งความมืด มีความหวังใจในพระเจ้าเสมอ
ทิตัส 1:2-3  
ด้วยหวังว่าจะได้ชีวิตนิรันดร์ ซึ่งพระเจ้าผู้ไม่ทรงมุสาเลยได้ทรงสัญญาไว้ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์

แต่ในเวลาที่พระองค์ทรงกำหนดไว้ ​ก็ได้ทรงโปรดให้พระวาทะของพระองค์ปรากฏด้วยการประกาศ ซึ่งข้าพเจ้าได้รับมอบไว้ ตามพระบัญชาของพระเจ้าผู้ทรงช่วยเราทั้งหลายให้รอด
5. ตระหนักว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นความสว่างของโลกนี้  ให้เราดำเนินชีวิตในความสว่างและพร้อมที่จะออกไปส่องสว่างท่ามกลางความมืดของโลกนี้ เราเป็นตะเกียงที่ถูกจุดเพื่อส่องสว่างเพื่อออกไปทำสิ่งดีและเป็นพยานถึงข่าวประเสริฐกับคนทั้งปวง 


 มัทธิว 5:14-16
14 ท่านทั้งหลายเป็นความสว่างของโลก นครซึ่งอยู่บนภูเขาจะปิดบังไว้ไม่ได้
15 เมื่อจุดตะเกียงแล้ว ไม่มีผู้ใดเอาถังครอบไว้ ย่อมตั้งไว้บนเชิงตะเกียง จะได้ส่องสว่างแก่ทุกคนที่อยู่ในเรือนนั้น
16 ท่านทั้งหลายก็เหมือนกับตะเกียง จงส่องสว่างแก่คนทั้งปวง เพื่อว่าเมื่อเขาได้เห็นความดีที่ท่านทำ เขาจะได้สรรเสริญพระบิดาของท่าน ผู้ทรงอยู่ในสวรรค์

19 ธันวาคม 2559

อัครทูตชนิดต่างๆ

บทความเรื่อง  "อัครทูตชนิดต่างๆ" โดย Haiyong Kavilar

แม้คำว่า อัครทูต จะปรากฏในพระคัมภีร์บ่อยกว่าคำว่าศิษยาภิบาล (คำว่าอัครทูตปรากฏในพระคัมภีร์ 97 ครั้ง ส่วนคำว่าศิษยาภิบาลปรากฏในพระคัมภีร์เพียงครั้งเดียว!) แต่หนังสือหรือคำสอนที่เกี่ยวข้องกับอัครทูตก็ยังมีไม่มากนัก กระทั่งในทศวรรษที่ 1990 ก็เกิดกระบวนการเคลื่อนไหวเรื่องการปฏิรูปอัครทูตครั้งใหม่(New Apostolic Reformation) ในช่วงทศวรรษ 1990 นี่เองที่คำสอนและหนังสือเรื่องอัครทูตเริ่มเป็นที่แพร่หลายในคริสตจักร ดังนั้นคำสอนเรื่องอัครทูตจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ การศึกษาเรื่องอัครทูตอย่างลึกซึ้งจึงต้องศึกษาผ่านหนังสือและคำสอนที่เกิดขึ้นหลังปี 1990 เป็นหลัก

ปีเตอร์ แวกเนอร์ (นักวิชาการด้านการเพิ่มพูนคริสตจักรแห่งสถาบันศาสนศาสตร์ฟูลเลอร์) เป็นผู้นำคนหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในเรื่องการปฏิรูปอัครทูตครั้งใหม่ เขาได้ทำการศึกษาและค้นคว้าเรื่องของอัครทูตทั้งในพระคัมภีร์และในยุคปัจจุบัน เขาได้ค้นพบว่าแม้อัครทูตจะมีอยู่มากมาย แต่อัครทูตแต่ละคนก็มีพันธกิจและขอบข่ายการทำงานที่แตกต่างกัน ดั่งที่ปรากฏ (1 โครินธ์ 12:4-6) ที่ว่าแม้จะเป็นพระวิญญาณองค์เดียวกัน ทว่าแต่ละคนก็มีพันธกิจและกิจกรรมที่แตกต่างกัน


ในหนังสือ Apostle Today ปีเตอร์ แวกเนอร์ ได้สรุปการค้นคว้าของเขาในเรื่องอัครทูตสำหรับยุคปัจจุบัน และได้จำแนกพันธกิจและชนิดของอัครทูตเป็น 3 ชนิดหลักๆ คือ

1. อัครทูตแนวตั้ง (Vertical Apostle)
อัครทูตแนวตั้งเป็นอัครทูตที่เน้นในการตั้งคริสตจักรและการสร้างเครือข่าย พันธกิจของอัครทูตแนวตั้งจะเป็นการบุกเบิกและเก็บเกี่ยวตามที่ต่างๆ  โดยอัครทูตที่เป็นผู้นำอาจจะแต่งตั้งทีมอัครทูตให้ดูแลคริสตจักรในเครือข่ายอีกทีหนึ่ง ตัวอย่างของอัครทูตในพระคัมภีร์ก็คือ เปาโล(อัครทูตผู้นำ) ทิโมธีและทิตัส(ทีมอัครทูตในเครือข่ายของเปาโล)

2. อัครทูตแนวนอน (Horizontal Apostle)
อัครทูตแนวนอนเป็นอัครทูตผู้เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างอัครทูตคนอื่นๆ และยังเป็นผู้เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายต่างๆของเหล่าอัครทูต งานหนึ่งของอัครทูตแนวนอนก็คือรวบรวมเหล่าอัครทูตและนำการประชุมเพื่อสร้างความสัมพันธ์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพระกาย ในพระคัมภีร์ ยากอบเป็นผู้หนึ่งที่นับว่าเป็นอัครทูตแนวนอน ในหนังสือกิจการเมื่อคริสตจักรมีปัญหาในเรื่องการเข้าสุหนัต ยากอบเป็นอัครทูตที่เป็นผู้นำในการประชุมเพื่อสะสางปัญหาในเรื่องนี้ และเมื่อการประชุมยุติ พันธกิจอัครทูตแนวนอนก็ยากอบก็เสร็จสิ้น

แม้ว่าการปฏิรูปอัครทูตครั้งใหม่จะนำพาให้คริสตจักรมีรูปแบบการปกครองที่สอดคล้องกับพระคัมภีร์ แต่จากประวัติศาสตร์ก็พบว่า อัครทูตในยุคปัจจุบันบางคนกลับล้มลงในบาปอย่างไม่น่าเชื่อ หรืออัครทูตบางคนก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในเครือข่ายของเขา พันธกิจของอัครทูตแนวนอนจะเข้ามามีส่วนในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอัครทูตแต่ละคน และสร้างสะพานในการเกื้อหนุนและรับผิดชอบชีวิตต่อกันและกัน(Accountability) อัครทูตแนวนอนจึงมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการลดความบาดเจ็บในพระกาย

3. อัครทูตในที่ทำงาน (Workplace Apostle)
ในกรอบความคิดแบบอัครทูต อาณาจักรพระเจ้าไม่ได้จำกัดอยู่ในกำแพงโบสถ์เท่านั้น พระมหาบัญชาใน (มัทธิว 28:19-20) ได้กล่าวถึงการนำ ประชาชาติ ให้เป็นสาวก ดังนั้นการแผ่ขยายอาณาจักรพระเจ้าจึงไม่ได้มีแต่เรื่องของการเก็บเกี่ยวเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของการปฏิรูปสังคมและประชาชาติให้สอดคล้องกับอาณาจักรพระเจ้าด้วย

อัครทูตในที่ทำงานคือเหล่าอัครทูตที่มีพันธกิจนอกกำแพงโบสถ์ โดยพันธกิจของพวกเขาจะเน้นการปฏิรูปสังคมและพลิกฟื้นสังคมให้สะท้อนค่านิยมของอาณาจักรพระเจ้า อัครทูตในที่ทำงานบางคนจะมีส่วนสำคัญในการทำลายความยากจนของประเทศ และเปลี่ยนแปลงสาธารณูปโภคของประเทศให้ดีขึ้นเรื่อยๆ อัครทูตในที่ทำงานบางคนจะมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา อัครทูตในที่ทำงานบางคนอาจจะทำงานในโลกของสื่อบันเทิง พันธกิจของอัครทูตในที่ทำงานมีความหลากหลายมากขึ้นอยู่กับว่าพระเจ้าได้ทรงเรียกอัครทูตคนนั้นๆให้ทำพันธกิจด้านไหน ในพระคัมภีร์ ลูกาก็เป็นผู้หนึ่งที่เป็นอัครทูตในที่ทำงาน และเป็นผู้คอยหาทุนทรัพย์เพื่อสนับสนุนพันธกิจของเปาโล

บัดนี้ถึงเวลาแล้ว ที่คริสตจักรจะกลับสู่รากฐานของเหล่าอัครทูตและบรรดาผู้เผยพระวจนะ โอ ขอให้เหล่าอัครทูต จงลุกขึ้นเถิด


หนังสือแนะนำเพิ่มเติม
Apostles Today เขียนโดย C. Peter Wagner


ที่มาของรูป
รูป ปีเตอร์ แวกเนอร์ จาก

รูป หนังสือ Apostles Today จาก

15 ธันวาคม 2559

เผ่าเบนยามิน(Benjamin) - สุนัขป่า นักล่า

เผ่าเบนยามิน
เข้าสู่ช่วงท้ายปลายปี 2016 ในเดือนธันวาคมแล้วนะครับ  หากนับตามปฏิทินฮีบรูจะเป็นเดือนคิสเลฟ (Kislevปี 5777 
เดือนคิสเลฟ (Kislev - כִּסְלֵוเป็นเดือนที่ ตามปฏิทินทางศาสนา(Ecclesiastical calendar)และเป็นเดือนที่ 3 ปฏิทินการปกครอง (Civil calendar)ของอิสราเอล (ช่วงวันที่ 1  ธันวาคม - 29 ธันวาคม 2016)

เทศกาลสำคัญในเดือนนี้คือ เทศกาลแห่งแสงว่าง หรือ ฮานุกกะห์(Hanukkah)   (วันที่ 25 ธันวาคม – 1 มกราคม 2017) เป็นเวลา 8 วัน เพื่อระลึกถึงการชำระพระวิหารให้พ้นจากมลทิน(ยอห์น 10:22) เทศกาลนี้เป็นภาพเงาเล็งถึงพระเยซูคริสต์ที่ทรงเป็นความสว่างที่เข้ามาในโลกและมีชัยชนะเหนือความมืด 

ยอห์น 1:5 ​ความ​สว่าง​ส่อง​เข้า​มา​ใน​ความ​มืด และ​ความ​มืด​ไม่​อาจ​เอาชนะ​ความ​สว่าง​ได้

เทศกาลแห่งแสงสว่าง (Festival of lightsหรือ เทศกาลคานุกะห์ (Chanukah)  ภาษาอังกฤษอ่านว่า ฮานุกกะห์ (Hanukkah)  


เทศกาลนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะเป็นเทศกาลที่รำลึกถึงชัยชนะของกลุ่มมัคคาบี นำโดย ยูดาห์ มัคคาบี ที่มีต่อกองทัพของกษัตริย์อันทิโอกัสที่ 4  แห่งซีเรีย เมื่อประมาณ 165 ปีก่อนคริสตศักราช เพราะกษัตริย์อันทิโอกัสที่ 4 ได้ทำรูปปั้นพระซุส เทพเจ้าของกรีกนำไปไว้ในพระวิหาร และถวายสุกร (ซึ่งเป็นสัตว์มลทิน) เป็นเครื่องบูชาในพระวิหารของพระเจ้า  

กลุ่มมัคคาบีจึงได้ทำการบูรณะและชำระพระวิหาร โดยการจุดคันประทีป 7 กิ่ง ได้เกิดเหตุการณ์ที่น่าอัศจรรย์ขึ้นนั่นคือ น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ที่ใช้จุดเทียนที่คันประทีปซึ่งเหลืออยู่เพียง 1 ขวดนั้นสามารถเป็นเชื้อเพลิงให้แสงเทียนส่องสว่างได้ยาวนานถึง 8 วัน (ปกติน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ 1 ขวดใช้ได้เพียง 1 วัน และต้องมีกรรมวิธีในการทำทั้งหมด 8 วันด้วยกัน) 

เทศกาลที่สำคัญในเดือนนี้ อีกเทศกาลหนึ่งซึ่งเป็นเทศกาลที่เราทั้งหลายรู้จักดี  นั่นคือ เทศกาลคริสต์มาส (Christmas)  ในวันที่ 25 ธันวาคม ซึ่งเป็นเทศกาลที่ระลึกถึงการมาประสูติขององค์พระเยซูคริสต์


แม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว พระเยซูคริสต์ไม่ได้เกิดในวันที่ 25 ธันวาคม เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยเทพ  ตั้งแต่ปี ค.ศ. 274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริย เทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน


เทศกาลคริสต์มาสเป็นเทศกาลที่คนทั่วโลกจัดขึ้นเป็นการระลึกถึงการประสูติของพระเยซูคริสต์และเป็นโอกาสอันดีที่คนทั่วไปจะได้รับความรอดผ่านทางพระเยซูคริสต์


(สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับ เทศกาลคริสต์มาสได้ตาม link นี้ ความเข้าใจและหลักปฏิบัติในเทศกาลคริสต์มาส ครับ )


ยอห์น 3:16 ​พระ​เจ้า​ทรง​รัก​โลก​ดังนี้ คือ​ได้​ประทาน​พระ​บุตร​องค์​เดียว​ของ​พระ​องค์ เพื่อ​ทุก​คน​ที่​วางใจ​ใน​พระ​บุตร​นั้น​จะ​ไม่​พินาศ แต่​มี​ชีวิต​นิรันดร์


เดือนต่างๆของอิสราเอลจะมีเผ่าประจำแต่ละเดือน  ซึ่งเราได้เรียนรู้จักลักษณะแต่ละเผ่าไปแล้ว ครั้งนี้ผมจะพูดถึงเผ่าเบนยามิน เผ่าประจำเดือนคิสเลฟ 



(หมายเหตุ  เรียนรู้จักลักษณะของเผ่าต่างๆประจำเดือนของอิสราเอลโดยสามารถอ่านบทความที่เขียนไว้ตาม Link นี้ครับ 
  สิงห์แห่งเผ่ายูดาห์,อิสสาคาร์ - ลาที่มีกำลังกล้าหาญ,เศบูลุน-เรือสำเภามุ่งสู่จุดหมาย,รูเบน - บุตรชายสายน้ำเชี่ยว,กาด นักรบผู้เก่งฉกาจ,เอฟราอิม-กระทิงแห่งศักดิ์ศรี,นัสเสห์- ช่อมะกอกที่ออกผล)

เดือนคิสเลฟ  เป็นเดือนแห่งเผ่าเบนยามิน 


เบนยามินเป็นบุตรชายคนสุดท้องของยาโคบหรืออิสราเอลกับนางราเชล ! ภรรยาที่ยาโคบรักมากกว่านางเลอาห์

เมื่อตอนที่เบนยามินเกิดนั้น เต็มไปด้วยความเศร้าโศกเนื่องจากนางราเชลผู้เป็นแม่เสียชีวิตหลังจากคลอดบุตร
นางราเชลตั้งชื่อเขาว่า"เบนโอนี"(Benoni - בֶּן־אוֹנִי ) แปลว่า "บุตรแห่งความทุกข์ระทม" (Son of my sorrow)  เพราะนางมีความเจ็บปวดมาก  แต่ยาโคบไม่รับชื่อนี้จึงเปลี่ยนชื่อเป็น  เบนยามิน (Benjamin- בִּנְיָמִין) หมายถึง "บุตรแห่งมือขวา" (Son of right hand)
ปฐมกาล 35:16-20 
16 พวก​เขา​เดินทาง​จาก​เบธ​เอ​ลเกือบ​ถึง​เอฟ​ราธาห์ ราเชล​ก็​เจ็บ​ครรภ์​มาก จะ​คลอด​บุตร
17 ​ขณะที่​นาง​เจ็บ​ครรภ์​มาก นาง​ผดุง​ครรภ์​บอก​ว่า “อย่า​กลัว ท่าน​จะ​ได้​บุตร​ชาย​อีก​คน​หนึ่ง”
18 ​เมื่อ​ชีวิต​ใกล้​ดับ (​เพราะ​นาง​ถึง​แก่​ความ​ตาย​) นาง​เรียก​บุตร​นั้น​ว่า เบน​โอนี​ แต่​บิดา​เรียก​ว่า เบน​ยา​มิน
19 ​ราเชล​ก็​สิ้นชีวิต เขา​ฝัง​ศพ​ไว้​ริม​ทาง​ที่​จะ​ไป​เอฟ​ราธาห์ (​คือ​เบธเลเฮม​)
20 ​ยาโคบ​เอา​เสา​หิน​ปัก​ไว้​ตรงที่​ฝัง​ศพ ซึ่ง​เป็น​เสา​หิน ณ ที่​ฝัง​ศพ​ราเชล​จน​ทุก​วันนี้

ชีวิตของเบนยามินคล้ายคลึงกับของยาเบส(Jabez)  ชื่อของเขาหมายถึง "ความทุกข์ยากลำบาก" ที่เกิดมาทำให้ผู้เป็นแม่ต้องระทมทุกข์  แต่ทว่ายาเบสรับถ้อยคำแง่ลบนี้   แต่เขาอธิษฐานอย่างจริงจังกับพระเจ้า และพระองค์ทรงเปลี่ยนคำแช่งสาปนั้น และทรงอวยพระพรแก่เขา 
1 พงศวดาร 4:9 1-0  
9 ยาเบส เป็น​ผู้​มี​เกียรติ​กว่า​บรรดา​พี่​น้อง​ของ​เขา มารดา​ของ​เขา​ตั้ง​ชื่อ​เขา​ว่า ยาเบส กล่าว​ว่า “เพราะ​ฉัน​คลอด​เขา​ด้วย​ความ​ทุกข์​ยาก​ลำ​บาก”

10 ยาเบส​ทูล​พระ​เจ้า​ของ​อิสราเอล​ว่า “ขอ​พระ​องค์​ทรง​อวย​พระ​พร​แก่​ข้า​พระ​องค์ และ​ขยาย​เขต​แดน​ของ​ข้า​พระ​องค์ และ​ขอ​พระ​หัตถ์​ของ​พระ​องค์​อยู่​กับ​ข้า​พระ​องค์ และ​ขอ​พระ​องค์​ทรง​ให้​ข้า​พระ​องค์​พ้น​จาก​สิ่ง​ชั่วร้าย เพื่อ​ไม่​ให้​ข้า​พระ​องค์​ทุกข์​ยาก​ลำ​บาก” และ​พระ​เจ้า​ประ​ทาน​ตาม​ที่​เขา​ทูล​ขอ

แม้ว่าคนเราเกิดมาจะเป็นเช่นไร แต่พระเจ้าทรงมีแผนการดีสำหรับเราทุกคน เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้กำหนดเป้าประสงค์ (Predesignate) ให้กับเราด้วยความรัก แม้ว่าใครจะไม่รักเรา และต้องการให้เราค้นพบอัตลักษณ์ที่แท้จริงของเรา เพื่อเราจะไปสู่เป้าประสงค์ลิขิต(Destiny)ของพระองค์

เอเฟซัส 1:5 ​พระ​องค์​ทรง​กำหนด​เรา​ไว้​ล่วงหน้า​ด้วย​ความ​รัก​ ให้​เป็น​บุตร​ของ​พระ​องค์​โดย​ทาง​พระ​เยซู​คริสต์​ ตาม​ความ​ชอบ​พระ​ทัย​และ​พระ​ประสงค์​ของ​พระ​องค์

เบนยามินก็เป็นเช่นนั้น จากชื่อที่แม่ตั้งให้คือ "เบนโอนี" หรือ "นายโศกชาย" ในภาษาไทย กลับกลายเป็น เบนยามิน บุตรชายแห่งมือขวา เป็นเกียรติและศักดิ์ศรีแก่วงค์ตระกูล 
ผมขอตั้งชื่อ "เบนยามิน" เป็นภาษาไทยว่า "นายศักดิ์ชาย"  

เราจะมาเรียนรู้จากชีวิตของเบนยามิน ที่เป็นต้นตระกูลของเผ่าเบนยามินร่วมกัน

ชีวิตเปลี่ยนผันจากเป็นลูกแหง่ ไอ้ลูกหมากลายเป็นสุนัขป่า นักล่า

พ่อของเบนยามิน คือ ยาโคบ ซึ่งเป็นบุคคลผู้ร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งในแผ่นดิน  ยาโคบนั้นมีภรรยา คน คือนางเลอาห์และนางราเชล แต่ผู้ที่ยาโคบรักที่สุดคือ นางราเชล  

นางราเชลคลอดบุตรคนแรกคือ โยเซฟ และคลอดบุตรคนที่ 2 คือ เบนยามิน แต่นางราเชลได้สิ้นชีวิตลงขณะที่คลอดบุตรคนสุดท้อง  
เป็นที่รู้กันว่า เบนยามินเป็นลูกคนโปรดของยาโคบ ซึ่งทดแทนโยเซฟที่สาปสูญไป  เนื่องจากพวกพี่ชายอิจฉาและจึงขายโยเซฟให้แก่พ่อค้าชาวมีเดียนที่กำลังเดินทางไปอียิปต์  และเอาเสื้อของโยเซฟจุ่มเลือดสัตว์เพื่อหลอกยาโคบว่า โยเซฟถูกสัตว์ป่ากัดตาย(ปฐมกาล บทที่ 37)

ยาโคบเชื่อว่าโยเซฟได้ตายไปแล้ว เขาจึงหันความสนใจทั้งหมดมาที่เบนยามิน   ยาโคบดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความหวาดกลัวว่าจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้นกับเบนยามินด้วยอีกคน  เบนยามินถูกเลี้ยงดูเหมือนเป็นลูกแหง่ เป็นดังลูกหมาเชื่องๆ


ดังนั้นเอง ชีวิตในวัยเด็กของเบนยามินจึงได้รับการปกป้องและทะนุถนอม เวลาผ่านไปหลายปี เมื่อเบนยามินเติบโตขึ้น เกิดการกันดารอาหารขึ้นทั่วแผ่นดิน ยาโคบจึงใช้ให้พวกพี่ๆ ของเบนยามินเดินทางไปซื้อข้าวที่อียิปต์  ยาโคบไม่ยอมให้เบนยามินเดินทางไปกับพวกพี่ๆ ด้วย เขายอมอดอาหารดีกว่าจะปล่อยให้เบนยามินเดินทางไปอียิปต์เพราะกลัวอันตรายจะเกิดขึ้นกับบุตรชายคนสุดท้อง


ในแผ่นดินอียิปต์ โยเซฟซึ่งได้แปลความฝันของฟาโรห์และสามารถช่วยให้อียิปต์พ้นภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น โยเซฟเตือนฟาโรห์ถึงการกันดารอาหาร 7 ปีที่กำลังจะมาถึง  ฟาโรห์ฟังโยเซฟและให้ทั่วทั้ง  อียิปต์เตรียมพร้อม!  และด้วยสติปัญญาที่พระเจ้าประทานโยเซฟช่วยกู้ประเทศอียิปต์! ให้พ้นจากภัยพิบัติ จนเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองในอียิปต์รองจากฟาโรห์ 


เมื่อพวกพี่ชายของโยเซฟพบว่ามีอาหารในอียิปต์  พวกเขาได้เดินทางไปซื้ออาหารสำหรับครอบครัวของพวกเขาที่นั่น!  และผู้ที่พวกเขามาซื้ออาหารด้วย นั่นคือ โยเซฟ! น้องชายที่พวกเขาได้ขายให้เป็นทาสในอียิปต์  พวกพี่ชายได้มาอ้อนวอนและก้มหัวต่อหน้าโยเซฟ!  

โยเซฟจึงได้เปิดเผยตัวตนที่แท้จริงโยเซฟได้กลับคืนดีกับพี่ๆ ของเขา! และเส้นทางแห่งพันธสัญญาได้ถูกกู้กลับมา

เบนยามิน ยาโคบ กับครอบครัวได้เดินทางไปอียิปต์ ตามคำเผยพระวจนะที่พระเจ้าให้ไว้กับอับราฮัม  ในประเทศอียิปต์ พวกเขาได้รับการปกป้องตลอดในช่วงเวลาแห่งการกันดารอาหาร

ในช่วงบั้นปลายชีวิตของยาโคบ ท่านได้อธิษฐานอวยพรเบนยามิน ดังนี้ 

ปฐมกาล 49:27 ฝ่าย​เบน​ยา​มิน​เป็น​สุนัข​ป่า​ที่​ล่า​เหยื่อ ​เวลา​เช้า​ก็​กิน​เหยื่อ​เสีย ​เวลา​เย็น​ก็​แบ่งปัน​ของ​ที่​ยึด​ได้

พระเจ้าไม่เคยมีแผนการที่จะปกป้องเผ่าเบนยามินแบบประคบประหงม!
พระเจ้ามีเป้าประสงค์ลิขิต (Destiny) สำหรับเขาให้เป็นนักรบ

เผ่าเบนยามิน  พวกเขาไม่ใช่เหยื่อ! แต่เป็นผู้ล่า! และเขาไม่ใช่ลูกแหง่ ลูกหมา แต่เป็นสุนัขป่า! 


พวกเขาต้องออกไปทำสงครามและได้รับส่วนแบ่ง และในสมัยโยชูวาที่ทำสงครามและได้เข้าสู่ดินแดนแห่งพันธสัญญา 

ดินแดนแห่งพันธสัญญาของเผ่าเบนยามินที่ได้รับ คือ ที่ตั้งของกรุงเยรูซาเล็ม 

โยชูวา 18:28 เศลา หะ​เอเลฟ เยบุส (คือ​เยรูซาเล็ม) กิเบอาห์​และ​คีริยาท รวม​เป็น 14 เมือง กับ​หมู่​บ้าน​โดย​รอบ​เมือง​นั้นๆ ด้วย นี่​เป็น​มรดก​ของ​พงศ์​พันธุ์​เบนยามิน​ตาม​ตระกูล​ของ​เขา

เราจะเห็นได้ว่า เยรูซาเล็มเป็นเมืองที่ถูกแบ่งให้กับเผ่าเบนยามินในสมัยของโยชูวา   ต่อมาชาวเยบุสมีอิทธิพลมากกว่าดังนั้นเผ่าเบนยามินจึงต้องออกจากเมืองนั้น  จนกระทั่งสมัยของกษัตริย์ดาวิด คนอิสราเอลจึงได้ยึดและปกครองเยรูซาเล็มเรื่อยมาจนถึงสมัยกษัตริย์ซาโลมอนได้สร้างพระวิหารขึ้นบนภูเขาโมริยาห์
ดังนั้นเผ่าเบนยามินกับยูดาห์จึงเป็นเผ่าร่วมพันธสัญญา สิงห์แห่งเผ่ายูดาห์ ผู้ได้รับสิทธิบุตรหัวปีจากยาโคบ(อิสราเอล)จะปกป้องเผ่าเบนยามิน น้องสุดท้อง 

กรุงเยรูซาเล็มเมืองแห่งเผ่าเบนยามิน   พวกเขาได้รับการปกป้องจากพระเจ้าชั่วนิรันดร์  

สดุดี 125:2 ​ภูเขา​อยู่​รอบ​เยรูซาเล็ม​ฉัน​ใด ​พระ​ยาห์เวห์ท​รง​อยู่​รอบ​ประชากร​ของ​พระ​องค์ ​ตั้งแต่​บัดนี้​สืบไป​เป็น​นิตย์​ฉัน​นั้น

แม้ว่าเขาได้รับการปกป้องแต่ไม่ได้หมายความว่า เขาจะทำอะไรไม่ได้เลย เพราะศักยภาพของเขาจะถูกปลดปล่อยออกมา


อัตลักษณ์ของเบนยามินถูกเก็บไว้และได้ถูกปลดปล่อยออกมา เหมือนลูกธนูที่อยู่ในแล่งและถูกยิงไปสู่เป้าหมาย 


อิสยาห์  49:2 ​พระ​องค์​ทรง​ทำ​ปาก​ของ​ข้าพเจ้า​เหมือน​ดาบ​คม ​พระ​องค์​ทรง​ซ่อน​ข้าพเจ้า​ไว้​ใน​ร่ม​พระ​หัตถ์​ของ​พระ​องค์ ​ พระ​องค์​ทรง​ทำ​ข้าพเจ้า​ให้​เป็น​ลูกศร​ขัด​มัน ​พระ​องค์​ทรง​ซ่อน​ข้าพเจ้า​ไว้​เสีย​ใน​แล่ง​ของ​พระ​องค์


พวกเขาไม่ใช่ประเภท Passive แต่เมื่อถึงเวลาเขาจับอาวุธลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อชนชาติอิสราเอล


เมื่อเราศึกษาตามประวัติศาสตร์ เราจะพบว่าบุคคลสำคัญของอิสราเอล หลายท่านมาจากเผ่าเบนยามิน

ตัวอย่างเช่น พระนางเอสเธอร์และโมรเดคัย  ผู้ช่วยกู้คนยิวให้รอดจากการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุจากฮามาน จึงเป็นที่มาของเทศกาลปูริม (เอสเธอร์ 3:7;9:24-26) 
(สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับ เทศกาลปูริม ได้ตาม link นี้   ครับ )

ซาอูลเป็นกษัตริย์องค์แรกของอิสราเอล เป็นชนเผ่าเบนยามิน แต่ในพระธรรม ซามูเอล บทที่ 13  ความกลัวของซาอูลทำให้เขาไม่เชื่อฟังพระเจ้าและเขาถูกถอดออกจากการเป็นกษัตริย์    ความกลัวของซาอูลที่จะสูญเสียบัลลังก์ของเขาเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เขาพยายามที่จะฆ่าดาวิด   
พระเจ้าจึงทรงเลือกดาวิดมาเป็นกษัตริย์มาแทนเขา


จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของเผ่าเบนยามิน คือ เมื่อโยนาธานทำพันธสัญญากับดาวิด เป็นพันธสัญญาระหว่างตระกูลของโยนาธาน คือ  เผ่าเบนยามิน (Benjamin) กับตระกูลของดาวิดคือ เผ่ายูดาห์ (Judah)


โดยผ่านทางพันธสัญญา เผ่าเบนยามินจึงสามารถที่จะเคลื่อนและเข้าสู่เป้าหมาย  พันธสัญญาระหว่างดาวิดและโยนาธานเป็นการให้เกียรติกันระหว่างจากเผ่ายูดาห์และเผ่าเบนยามินตลอดประวัติศาสตร์ของอิสราเอล


เมื่อดาวิดไปที่ศิกลาก ชายจากเผ่าเบนยามิน ซึ่งเป็นญาติซาอูลหนีจากกษัตริย์ซาอูลมาร่วมกับดาวิด (1 พงศาวดาร 12:1-2) พวกเขาเป็นนักธนู เหวี่ยงหินด้วยสลิง และยิงธนูได้ทั้งมือขวาและมือซ้าย! หลังจากที่กษัตริย์ซาอูลสิ้นพระชนม์ คนส่วนใหญ่จากเผ่าเบนยามินได้หันมาสนับสนุนดาวิด  

เมื่อสิบเผ่าทางตอนเหนือกบฎและตั้งอาณาจักรทางตอนเหนือขึ้นคือ อิสราเอล แต่เผ่าเบนยามินก็ยังยืนหยัดอยู่กับเผ่ายูดาห์ผ่านทางพันธสัญญา  พวกเขาไม่หันไปกราบไหว้รูปเคารพดั่งเช่นเผ่าอื่นๆ 10 เผ่า

เผ่าเบนยามินได้มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูอาณาจักรในสมัยของกษัตริย์อาสาและสมัยของกษัตริย์โยสิยาห์  นอกจากนั้นเผ่าเบนยามินยังได้มีส่วนในการรื้อฟื้นพระวิหารในสมัยเอสราและเนหะมีย์ - พวกเขากลับไปช่วยสร้างพระวิหารและสร้างกำแพงเมืองเยรูซาเล็ม

เผ่าเบนยามินมีความสามารถและถูกเรียกมาเพื่อเป็นนักรบ   พวกเขามีฝีมือในการยิงธนูและการใช้สลิง  เบนยามินได้รับการฝึกฝนให้ถนัดทั้งมือขวาและมือซ้าย (ambidextrous) พวกเขาสามารถสะพายหินด้วยมือทั้งสองข้างและยิงได้อย่างไม่พลาด  

ในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ บุคคลที่ยิ่งใหญ่อีกท่านหนึ่งที่มาจากเผ่าเบนยามินคือ อัครทูตเปาโล! 
พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ ส่วนใหญ่ถูกเขียนขึ้นโดยอัครทูตเปาโล 

เป้าประสงค์ลิขิตของอัครทูตเปาโล คือการนำข่าวประเสริฐไปหาคนต่างชาติ!  

ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเซาโล กลายเป็นอัครทูตเปาโล ผู้ถ่อมใจ

เซาโล (Saul) แห่งเมืองทาร์ซัส  ถูกตั้งชื่อตามกษัตริย์ซาอูลผู้ชั่วร้าย  กษัตริย์ซาอูล บรรพบุรุษจากเผ่าเบนยามินของเขา ซาอูลพยายามที่จะตามล่าและฆ่าดาวิด  เซาโลก็พยายามที่จะตามล่าฆ่าคนของพระเจ้าและข่มเหงคริสตจักร

ชื่อ "เซาโล" ไม่ได้เป็นตัวตนที่พระเจ้าต้องการให้เขา ดังนั้น พระเจ้าถึงเปลี่ยนชื่อเขาเป็น “เปาโล” (Paul)  หมายถึง ผู้เล็กน้อย 

อัครทูตเปาโลมั่นใจว่าสิ่งที่เขาทำมาจากพระเจ้าไม่ใช่ตัวเขาเป็นผู้กระทำเอง ชื่อ "เปาโล" คือชื่อของคนต่างชาติ (gentile name) เพื่อเตรียมเขาให้เป็นอัครทูตนำความรอดไปถึงคนต่างชาติ

บางครั้งสถานการณ์ในชีวิตของเราได้กำหนดเราให้มีอัตลักษณ์และได้รับสิ่งที่พระเจ้าทรงเลือกสำหรับเรา  นี่จึงเป็นเดือนที่เราจะสามารถค้นพบอัตลักษณ์ใหม่ในตัวของเรา

เดือนคิสเลฟเป็นเดือนที่เราจะวางยุทธศาสตร์การรบในสงคราม เป็นเดือนที่เราจะต้องพัฒนายุทธศาสตร์สงครามของเรา และรับการสำแดงเชิงเผยพระวจนะสำหรับสงคราม

เดือนคิสเลฟยังเป็นเดือนที่เราจะเข้าสู่ความไว้วางใจและการพักสงบในระดับใหม่ เรียนรู้ในการป่าวประกาศ (declare) ประสบการณ์แห่งการเติมเต็มด้วยสันติสุขในชีวิตของเรา

เดือนนี้จึงเป็นแห่งการค้นพบอัตลักษณ์ที่แท้จริงของเรา (true identity) 
เพื่อเราจะไม่จมปลักผูกติดกับ อดีตอันแสนขมขื่น แต่พระเจ้าต้องการจะเปลี่ยนเราจากเหยื่อผู้ถุกตามล่า
 ให้เป็นสุนัขป่านักล่า ผู้มีชัยชนะเพราะเราทั้งหลายได้ถูกเตรียมเพื่อจะเป็นนักรบของพระเจ้า 

ยามสงบพักรบเพื่อจะเป็นนักรักที่หวานซึ้งในความรักของพระเจ้าในการอธิษฐานและนมัสการ แต่ยามศึก
ต้องเป็นนักรบเพื่อจะนำชัยชนะมาสู่ชีวิต 

ขอพระเจ้าอวยพร พบกันใหม่เดือนหน้า เดือนเทเบท(Tevet) เดือนแห่งเผ่าดาน! 
เผ่าที่เชื่อว่าเป็นปฏิปักษ์ของพระคริสต์!