26 กุมภาพันธ์ 2562

โลหิตแห่งพันธสัญญาและสงครามฝ่ายวิญญาณ (ตอนที่ 2)



โลหิตแห่งพันธสัญญาและสงครามฝ่ายวิญญาณ (ตอนที่ 2) โดย อาเชอร์ อินเทรเตอร์
ประโยชน์ประการที่สองของโลหิต คือการทำให้เรามีสิทธิ์ดำเนินชีวิตตามกฎของพันธสัญญาและได้รับพระพรของพันธสัญญา  เราถูกนำออกจากความทุกข์ ความยากจน และคำสาปแช่งของ"อียิปต์ " และถูกนำเข้าไปใน"ดินแดนแห่งพันธสัญญา" ของน้ำนมและน้ำผึ้ง  (ชื่ออียิปต์מצרייםหมายถึง "ช่องแคบของความยากลำบาก")
โลหิตทำให้คุณเป็นภาชนะที่จะได้รับพระพร  มันเป็นสัญญลักษณ์ว่าคุณเป็นสมาชิกของกลุ่มที่มีสิทธิพิเศษ, ครอบครัวของราชวงศ์ (1 เปโตร 2:9). เราทุกคนได้รับเชิญโดยพระคุณจากพระโลหิตของพระเยซูให้เป็นสมาชิกของสโมสรพระพรของพระองค์
ประโยชน์ประการที่สามของโลหิต คือการมีอิทธิพลต่อเราภายใน  พระโลหิตของพระเยซูชำระล้างจิตวิญญาณของเรา (1 ยอห์น 1:7) และพูดกับมโนธรรมของเรา (ฮีบรู12:24 –  "และเข้าไปใกล้พระเยซูคนกลางของพันธสัญญาใหม่ และเข้าไปใกล้พระโลหิตที่พระองค์ประพรมที่กล่าวถึงสิ่งที่ดีกว่าเสียงโลหิตของ อาเบล")
มีอิทธิพลทางวิญญาณภายในอย่างต่อเนื่องโดยคำพยานของพระโลหิตของพระเยซู เราถูกนำโดยคำแนะนำภายในและแรงบันดาลใจทางศีลธรรม
ฮีบรู 9:14 แล้วยิ่งกว่านั้นสักเพียงใดพระโลหิตของพระคริสต์ผู้ถวายพระองค์เองอย่างปราศจากตำหนิแด่พระเจ้าโดยทางพระวิญญาณนิรันดร์ ย่อมชำระจิตสำนึกของเราจากการกระทำอันนำไปสู่ความตาย[a] เพื่อเราจะได้รับใช้พระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่!
ถ้าเราทำบาป พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นพยานด้วยจิตวิญญาณของเราที่จะเปลี่ยนแปลง (โรม 2:15, 8:16, 9:1) หากเรากลับใจและเชื่อว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงรับรองเราว่าเราไม่ได้อยู่ภายใต้การกล่าวโทษ โรม8:1 – ไม่มีการกล่าวโทษแก่ผู้ที่อยู่ในพระคริสต์ เพราะพวกเขาไม่ได้เดินตามเนื้อหนังแต่ด้วยจิตวิญญาณ"
ถ้าเราเชื่อในพระโลหิตเราจะได้รับความรอด  เราข้ามไปสู่พันธสัญญาแห่งพระคุณ พันธสัญญาเลือดนี้ให้เรามีคุณประโยชน์สามประการในช่วงชีวิตนี้:
1. เขตแดนที่ทำเครื่องหมายไว้ - ผีไม่สามารถโจมตีเราได้
2. พระพรที่ได้รับการรื้อฟื้น–เราได้รับสุขภาพ, สติปัญญาและการจัดเตรียม
3. การทรงนำภายใน–เราได้รับการสำแดงถึงการเดินในพระคุณและความบริสุทธิ์
ผ่านสามคุณประโยชน์เหล่านี้ โลหิตของพระเยซูทำให้เรามีชัยชนะเหนือศัตรูในสงครามฝ่ายวิญญาณ
วิวรณ์ 12:10-11 “เพราะผู้กล่าวโทษบรรดาพี่น้องของเรา ซึ่งกล่าวโทษเขาต่อหน้าพระเจ้าของเราทั้งวันทั้งคืน ได้ถูกเหวี่ยงลงไปแล้ว พวกเขาชนะพญามารโดยพระโลหิตของพระเมษโปดกและโดยคำพยานของตน พวกเขาไม่กลัวตาย ไม่เสียดายชีวิต"
ขอให้สังเกตว่าการโจมตีของซาตานเกี่ยวข้องกับการกล่าวโทษ พระโลหิตเป็นการรับประกันให้กับเราว่าเราได้รับการให้อภัย และทำงานเป็นโล่ป้องกันการโจมตีของมารเสียงทางวิญญาณของพระโลหิตบอกว่าเราไม่ได้ถูกกล่าวโทษจะแข็งแรงกว่าเสียงการกล่าวโทษของมาร
โดยการใช้ฤทธิ์อำนาจฝ่ายวิญญาณของโลหิตของพระเยซู เราสามารถมีชัยชนะเหนือซาตาน. อย่างไรก็ตาม, โลหิตจะต้องมีผล (และสำรองด้วยความมุ่งมั่นด้วยชีวิตและการตายของเราเอง)  มันจะต้องวางอยู่บน "บานประตู" ของร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณของเรา
เมื่อเราเข้าใจคุณประโยชน์เหล่านี้ของโลหิตแห่งพันธสัญญา เราสามารถเชื่อและใช้พลังอำนาจในชีวิตของเรา  มีฤทธิ์อำนาจในโลหิตของพระเยซู และเราสามารถเอาชนะทุกการโจมตีของมารผ่านทางพระโลหิต
ข้อมูลจาก https://tribe.reviveisrael.org/

อ่อนแอคือความเข้มแข็งในพระเจ้า

สำหรับพระเจ้าแล้ว
ไม่มีคำว่า "อ่อนแอก็แพ้ไป"
"อ่อนไหวก็ไปก่อน"
"อ่อนน้อมก็ต้องยอมทน"

ในพระองค์ไม่มีการแพ้คัดออก ตกรอบคัดเลือกเพราะทรงเลือกสรรเราตั้งแต่เราอยู่ในครรภ์
ในพระองค์มีแต่การเสริมแรงสร้างความเข้มแข็งจากภายใน เพราะเมื่อเราอ่อนแอ เมื่อใดฤทธิ์อำนาจของพระองค์ก็จะเต็มขนาดที่นั่น
“แต่พระองค์ตรัสกับข้าพเจ้าแล้วว่า “การมีพระคุณของเราก็เพียงพอกับเจ้า เพราะว่าความอ่อนแอมีที่ไหน ฤทธานุภาพของเราก็ปรากฏเต็มที่ที่นั่น” เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจะอวดบรรดาความอ่อนแอของข้าพเจ้ามากขึ้นด้วยความยินดีอย่างยิ่ง เพื่อว่าฤทธานุภาพของพระคริสต์จะอยู่ในข้าพเจ้า” (2 โครินธ์ 12:9) 
เมื่ออ่อนแอ พระองค์ปลอบใจ
เมื่ออ่อนไหว พระองค์ปลอบประโลม
เมื่ออ่อนโยน พระองค์โปรดปราน
สรรเสริญพระเจ้า!

เทคนิค ลดความเย่อหยิ่ง

ความเย่อหยิ่งนับเป็นความบาปอย่างหนึ่งที่ผู้คนหลีกเลี่ยงมาตลอด ทว่าความเย่อหยิ่งนับเป็นความบาปที่มองเห็นได้ยาก เพราะความเย่อหยิ่งดูจะเป็นเรื่องของท่าที ไม่เหมือนกับความบาปอื่นๆที่มักจะเป็นการประพฤติ (เช่น การลักขโมย การมุสา)
เนื่องจากความเย่อหยิ่งเป็นบาปที่มองเห็นได้ยาก การลดความเย่อหยิ่งลงก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยากด้วย บางคนพยายามลดความเย่อหยิ่งของตนเองลงผ่านการภาวนาซ้ำๆว่า “อย่าเย่อหยิ่ง อย่าเย่อหยิ่ง” ทว่าผู้คนที่อาวุโสต่างตระหนักรู้ดีว่า การภาวนาซ้ำๆนั้นแทบจะไม่ช่วยลดความเย่อหยิ่งลงเลย
และแล้วเมื่อผมศึกษาพระคัมภีร์ ผมก็ได้ค้นพบถึง เทคนิคอันประเสริฐในการลดความเย่อหยิ่ง เทคนิคที่ผมค้นพบนี้ เป็นเทคนิคที่สามารถปฏิบัติจริงได้ง่ายและให้ผลลัพธ์ที่ดี เทคนิคอันประเสริฐที่ผมค้นพบนี้ก็คือ “จงอย่าเยาะเย้ย”
ในจดหมายฝากของนักบุญยากอบ ท่านกล่าวถึงข้อความหนึ่งในหนังสือสุภาษิต ท่านยากอบได้เรียบเรียงถ้อยคำจากหนังสือสุภาษิตไว้ว่า
(ยากอบ 4:6) “พระ​เจ้า​ทรง​ต่อ​สู้​คน​ที่​หยิ่ง​จอง​หอง แต่​ประ​ทาน​พระ​คุณ​แก่​คน​ที่​ถ่อม​ใจ”
ถ้อยคำที่ท่านยากอบยกมานี้ มาจากหนังสือ (สุภาษิต 3:34) และเมื่อผมได้สืบค้นจากข้อความต้นฉบับในหนังสือสุภาษิต ต้นฉบับดังกล่าวใช้ถ้อยคำว่า
(สุภาษิต 3:34) พระ​องค์​ทรง​เยาะ​เย้ย​คน​ที่​ชอบ​เยาะ​เย้ย แต่​พระ​องค์​ประ​ทาน​พระ​คุณ​แก่​คน​ถ่อม​ตัว
ถ้าเพื่อนๆสังเกตให้ดี เพื่อนๆจะพบว่า ท่านยากอบใช้วลี “คนที่หยิ่งจองหอง” แต่ต้นฉบับจากหนังสือสุภาษิตใช้วลี “คนที่ชอบเยาะเย้ย” ดังนั้นจากพระคัมภีร์จึงสรุปได้ว่า “คนเย่อหยิ่ง” เท่ากับ “คนที่ชอบเยาะเย้ย”
จากข้อพระคัมภีร์สามารถสรุปได้ว่า “ความเย่อหยิ่ง” กับ “การเยาะเย้ย” นับว่าเป็นสิ่งเดียวกัน
การลดความเย่อหยิ่งของตนเองผ่านการ ภาวนาซ้ำๆว่า “อย่าเย่อหยิ่ง อย่าเย่อหยิ่ง” นับเป็นการลดความเย่อหยิ่งที่ไม่เกิดผล ทว่า การลดความเย่อหยิ่งผ่านการไม่เยาะเย้ยผู้อื่นนับว่าเป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้จริงและเห็นผล
แนวทางในการไม่เยาะเย้ยผู้อื่นในเบื้องต้นก็คือ “การไม่เยาะเย้ยผ่านคำพูด” ส่วนแนวทางในการไม่เยาะเย้ยผู้อื่นในระดับลึกคือ “ไม่เยาะเย้ยผู้อื่นในหัวใจ”
โดยภาคปฏิบัติของการไม่เยาะเย้ย ความเย่อหยิ่งก็ถูกขจัดไปได้มาก เชื่อว่าเพื่อนๆจะสามารถต่อต้านความเย่อหยิ่งได้มากผ่านภาคปฏิบัติอันประเสริฐนี้ ให้พระคุณขององค์เจ้านายพระเยซูจงมีแด่เพื่อนๆ
ชาโลม
Philip Kavilar



Philip Kavilar นักวิชาการด้านฟิสิกส์ ผู้ศึกษาพระคัมภีร์เป็นงานอดิเรก เป็นผู้ที่มีของประทานด้านวิชาการและการเผยพระวจนะผสมผสานกัน  ท่านมีความปรารถนาที่จะเห็นการร่วมประสานกันระหว่างพี่น้องในสายวิชาการกับพี่น้องในสายฤทธิ์เดช และหนุนใจให้คริสตจักรขับเคลื่อนในการเผยพระวจนะและการแปลภาษาแปลกๆ

12 กุมภาพันธ์ 2562

โลหิตแห่งพันธสัญญาและสงครามฝ่ายวิญญาณ (ตอนที่ 1)

โลหิตแห่งพันธสัญญาและสงครามฝ่ายวิญญาณ (ตอนที่ 1) 

                                                     โดย อาเชอร์ อินเทรเตอร์
ในพระคัมภีร์ มีการอ้างอิงถึง “โลหิต” 400 ครั้งด้วยกัน ... เลือด นอกจากเป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนในร่างกายของเราแล้ว ยังมีความหมายในฝ่ายวิญญาณอีกด้วย เลือดนั้นถือเป็นตัวที่บรรจุ ชีวิต soul ของมนุษย์เอาไว้
เพราะว่าชีวิตของสัตว์ทุกตัวอยู่ในเลือด เราได้ให้เลือดแก่เจ้าทั้งหลายเพื่อใช้บนแท่นบูชา เพื่อจะลบมลทินของเจ้าทั้งหลาย เพราะว่าโลหิตเป็นสิ่งที่ใช้ลบมลทิน เพราะชีวิตเป็นเหตุ เลวีนิติ 17:11
กฎก็คือ ชีวิตแทนที่ชีวิต (soul in place of soul) เมื่อมนุษย์ทำบาป ชีวิต soul ของเขาเป็นมลทิน...จึงมีการอุทิศถวายชีวิต soul (โดยมีเลือดเป็นสัญลักษณ์) เพื่อลบมลทินบาปของชีวิต soul ที่บาป เพื่อชำระล้างชีวิต soul นั้น และชำระโทษทัณฑ์.... ชีวิต soul ที่ไม่สะอาด ที่ต้องโทษประหาร ได้รับการไถ่และ "ซื้อคืน" โดยการตายของชีวิต soul ที่ไร้ความผิด
ท้ายที่สุดแล้ว ชีวิต soul ของมนุษย์ซึ่งชอบธรรม จึงถูกเรียกร้องเพื่อชดเชยสำหรับชีวิต soul ของมนุษย์ที่มีบาป การถวายสัตวบูชาในพระคัมภีร์เดิม เป็นแค่สัญลักษณ์ซึ่งเล็งถึงพระโลหิตของพระเยซูคริสต์ ชีวิต soul ของสัตว์ไม่สามารถลบมลทินให้แก่ชีวิต soul ของมนุษย์ได้ เลือดของสัตว์แค่ชี้ไปที่พระโลหิตของ           พระเมสสิยาห์ผู้ทรงชอบธรรม ผู้ซึ่งไถ่เราทั้งหลาย ... นั่นก็คือ ชีวิตแทนที่ชีวิต
การแลกเปลี่ยนนี้มอบให้แก่ทุกคน โดยพระคุณ และไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ..  เราได้รับรางวัล คือชีวิต soul ของเราที่พระองค์ซื้อไว้แล้ว โดยวิธีนี้เอง ชีวิต soul ได้รอดพ้น ด้วยการสละโลหิต... โลหิตจึงไม่ได้เป็นเพียงเครื่องบูชาที่นำชีวิต soul เข้าสู่พันธสัญญากับพระเจ้า แต่ยังเป็นตราประทับ ที่ปิดผนึกและรักษา          พันธสัญญานั้นอีกด้วย
พันธสัญญาสูงสุด
เลือด หมายถึง การที่ชีวิตของใครสักคนต้องถูกสังเวย พันธสัญญาที่ใช้เลือดจึงเป็นพันธสัญญาที่แข็งแกร่งที่สุด เพราะมันเกี่ยวพันถึงการจ่ายราคาด้วยชีวิตและความตาย ซึ่งเป็นการอุทิศตัวอย่างสมบูรณ์ เลือดทำให้เกิดพันธสัญญา ดังนั้นเมื่อไหร่ที่มีการละเมิดพันธสัญญา ก็ต้องมีการชำระด้วยเลือด
เวทมนตร์คาถามากมายเกี่ยวข้องกับพันธสัญญาที่ใช้เลือด นั่นก็เพื่อจะควบคุมชีวิต soul ของผู้คนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งภายหลัง พวกเขาได้กลายเป็นเหยื่อของการควบคุมและการทำลาย อย่างสิ้นเชิง
แต่ในกรณีของพันธสัญญาใหม่ของเรากับพระเยซูคริสต์ ฤทธิ์เดชของโลหิตมีไว้เพื่อการดี ไม่ใช่ความชั่วร้าย เราได้ก้าวเข้าสู่พันธสัญญาของความบริสุทธิ์ ชีวิต การเยียวยารักษา ความชื่นชมยินดี และสันติสุข  ในพันธสัญญาใหม่ จึงต้องมีการอุทิศตัวด้วยชีวิตทั้งหมด
ลูกหลานของอิสราเอลได้ทาเลือดไว้บนวงกบประตูทั้งด้านบนและด้านข้าง (อพยพ 12:7) เพื่อแสดงออกว่าพวกเขาเลือกที่จะเป็นส่วนหนึ่งของพันธสัญญา เลือดเป็นเครื่องหมายว่าพวกเขาได้รับพันธสัญญานั้นแล้ว (อพยพ 12:13)  พันธสัญญาจึงปกป้องพวกเขาจากความตายและการทำลายล้าง สัญลักษณ์ของเลือด— ด้านบน เล็งถึงความรอด ส่วนด้านข้าง— เล็งถึงการปกป้อง ซึ่งบอกล่วงหน้าไปถึงไม้กางเขนของพระเยซูคริสต์
เพราะพระยาเวห์จะเสด็จผ่านไปเพื่อจะประหารคนอียิปต์ เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นเลือดที่วงกบประตูทั้งด้านบนและด้านข้างทั้งสองข้าง พระยาเวห์จะทรงผ่านเว้นประตูนั้น และจะไม่ทรงให้ผู้สังหารเข้าไปในบ้านพวกท่านเพื่อจะประหารท่าน อพยพ 12:23
คุณประโยชน์ของโลหิต
ประโยชน์แรกของโลหิตคือ มันเป็นการทำเครื่องหมายอาณาเขตไว้ แสดงถึงการเป็นเจ้าของ เป็นเหมือนกับป้ายบนถนน ป้ายชื่อ ป้ายยี่ห้อ หรือแม้แต่สัตว์ ที่ตีกรอบอาณาเขตของมันด้วยการทิ้งคราบปัสสาวะเอาไว้
โดยโลหิตนั้น พระเจ้าสามารถพูดว่า “บุคคลนี้ รวมทั้งครอบครัวและทรัพย์สินของเขาเป็นของเรา เจ้าผู้ทำลาย เจ้าไม่ได้รับอนุญาตให้ล้ำเส้นเข้าไปในเขตแดนของพวกเขา”
ลองคิดดูว่าในสงครามฝ่ายวิญญาณ มันจะมีพลังแค่ไหน คือการที่เราป่าวประกาศว่าตัวเราและทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเราเป็นของพระเจ้า ผ่านทางพระโลหิตของพระเยซูคริสต์ พระเจ้าได้ตรัสกับวิญญาณชั่วทุกตัวว่า มันไม่สามารถเข้ามาในเขตแดนของเรา เพื่อทำร้ายเราได้  ถ้าเราเชื่อในฤทธิ์เดชพันธสัญญาแห่งโลหิตนั้น จะไม่มีอำนาจมืดใดๆ สามารถล้ำเข้ามาในอาณาเขตของเราได้
ในตอนที่ 2 ข้าพเจ้าจะแบ่งปันอีกสองคุณประโยชน์ที่เราได้รับ ผ่านทางพระโลหิตของพระเยซูคริสต์

ขอขอบคุณ น้องมิ้น  "นารดา ไทรงาม" ผู้แปลครับ 
ข้อมูลจาก https://tribe.reviveisrael.org/

คนไม่เชื่อเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า


รากศัพท์ภาษากรีก
เมื่อกล่าวถึงคำว่า“พันธกิจ”เพื่อนๆบางท่านอาจจะนึกถึง งานในโบสถ์หรืองานในองค์กรคริสเตียน อย่างไรก็ตามคำว่าพันธกิจมีความหมายที่มากกว่านั้น คำว่าพันธกิจมาจากภาษากรีกคือคำว่า diakonia ซึ่งแปลว่าการรับใช้หรือการปรนนิบัติ

เมื่อกล่าวถึงคำว่าพันธกิจ เพื่อนๆบางท่านอาจจะนึกถึงงานรับใช้ในฝ่ายวิญญาณ (เช่น การเผยพระวจนะ การประกาศ การทำงานในองค์กรคริสเตียน เป็นต้น) ทว่าในภาษากรีก ศัพท์คำนี้ไม่ได้ถูกใช้ในงานฝ่ายวิญญาณเท่านั้น แต่ใช้ในงานฝ่ายกายภาพด้วย คำว่า พันธกิจ จึงหมายถึงการรับใช้ไม่ว่าจะเป็นในฝ่ายกายภาพหรือฝ่ายวิญญาณ

พันธกิจในงานอาชีพ
ขณะที่เรากำลังดูแลครอบครัว เราก็กำลังทำพันธกิจในการรับใช้ครอบครัว เมื่อเราทำงานเป็นคุณหมอ เราก็กำลังทำพันธกิจรับใช้ผู้คนในการรักษาโรค เมื่อเราทำงานเป็นวิศวกรโยธา เราก็กำลังทำพันธกิจรับใช้ผู้คนในการสร้างที่อยู่อาศัย ถ้าเราขับรถเมล์ เราก็กำลังทำพันธกิจรับใช้ผู้คนในการเดินทาง คำว่า พันธกิจ ไม่ได้หมายถึงงานฝ่ายวิญญาณอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงการงานอาชีพด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นพันธกิจในงานอาชีพหรือพันธกิจในงานฝ่ายวิญญาณต่างก็สะอาดบริสุทธิ์เหมือนกัน

คนไม่เชื่อก็กำลังทำพันธกิจรับใช้พระเจ้า

(โรม 13:1-7) ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอำนาจปกครอง เพราะว่าไม่มีอำนาจใดเลยที่ไม่ได้มาจากพระเจ้า และผู้ที่ถืออำนาจนั้น พระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น เพราะฉะนั้นผู้ที่ขัดขืนอำนาจนั้น ก็ขัดขืนผู้ซึ่งพระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น และผู้ที่ขัดขืนนั้นจะต้องถูกลงโทษ เพราะว่าผู้ครอบครองนั้นไม่น่ากลัวเลยสำหรับคนที่ประพฤติดี แต่ว่าเป็นที่น่ากลัวสำหรับคนที่ประพฤติชั่ว ท่านไม่อยากจะกลัวผู้มีอำนาจหรือ? ถ้าอย่างนั้นก็จงทำแต่ความดี แล้วท่านก็จะได้เป็นที่พอใจของผู้มีอำนาจนั้น เพราะว่าผู้ครอบครองนั้น เป็นผู้รับใช้ของพระเจ้าเพื่อให้ประโยชน์แก่ท่าน แต่ถ้าท่านทำความชั่วก็จงกลัวเถิด เพราะว่าผู้ครอบครองไม่ได้ถือดาบไว้เฉยๆ แต่เป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า และจะเป็นผู้ลงโทษแทนพระเจ้าแก่ทุกคนที่ประพฤติชั่ว เพราะฉะนั้นท่านจะต้องเชื่อฟังผู้ครอบครอง ไม่ใช่เพื่อจะหลีกเลี่ยงการลงโทษอย่างเดียว แต่เพื่อมโนธรรมด้วย เพราะเหตุผลนี้ ท่านจึงได้เสียส่วยด้วย เพราะว่าผู้มีอำนาจนั้นเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า และปฏิบัติหน้าที่นี้อยู่ จงให้แก่ทุกคนที่ท่านต้องให้เขา คือ ส่วยแก่คนที่ท่านต้องเสียส่วยให้ ภาษีแก่คนที่ท่านต้องเสียภาษีให้ ความยำเกรงแก่คนที่ท่านต้องให้ความยำเกรง เกียรติแก่คนที่ท่านต้องให้เกียรติ

ข้อพระคัมภีร์นี้กล่าวว่า ผู้ปกครองบ้านเมือง(แม้จะไม่ใช่ผู้เชื่อก็ตาม)ก็เป็นผู้รับใช้พระเจ้า ดังนั้นคำว่า ผู้รับใช้ ในมุมมองของเปาโล ไม่ได้หมายถึงผู้รับใช้ที่เป็นคริสเตียนเท่านั้น แต่หมายถึงคนทั่วไปด้วย ผู้ปกครองบ้านเมืองก็เป็นผู้รับใช้พระเจ้าในการรับใช้ผู้คนให้อยู่ในร่องในรอย หลักการที่ว่าผู้ไม่เชื่อก็เป็นผู้รับใช้พระเจ้านั้น ยังสามารถประยุกต์ได้กับอาชีพอื่นๆด้วย เช่น คุณพ่อคุณแม่ที่ไม่ได้เป็นคริสเตียนก็เป็นผู้รับใช้พระเจ้าในการทำพันธกิจดูแลลูกๆ คุณหมอที่ไม่ได้เป็นคริสเตียนก็เป็นผู้รับใช้พระเจ้าในการทำพันธกิจรักษาผู้คน คุณครูที่ไม่ได้เป็นคริสเตียนก็เป็นผู้รับใช้พระเจ้าในการทำพันธกิจสั่งสอนนักเรียน

คำว่า “พันธกิจ” กับคำว่า “ผู้รับใช้พระเจ้า” ไม่ได้ถูกสงวนไว้สำหรับคริสเตียนเท่านั้น แต่ยังใช้กับคนไม่เชื่อได้ด้วย แต่นี้ไม่ได้หมายความว่าคนไม่เชื่อจะได้รับความรอด เพราะความรอดถูกสงวนเฉพาะผู้เชื่อเท่านั้น แต่คำว่าผู้รับใช้พระเจ้ากับคำว่าพันธกิจสามารถใช้กับผู้ไม่เชื่อได้

เมื่อเราเข้าใจว่าผู้ไม่เชื่อก็เป็นผู้รับใช้พระเจ้า และผู้ปกครองบ้านเมือง(ที่ไม่ได้เป็นคริสเตียน)ก็เป็นผู้รับใช้พระเจ้า ดังนั้นผู้เชื่อจึงควรเคารพและให้เกียรติผู้ปกครองเหล่านั้นในฐานะผู้รับใช้พระเจ้า แม้ว่าผู้ปกครองคนนั้นจะไม่ใช่คริสเตียนก็ตาม ผู้เชื่อยังควรให้เกียรติผู้ไม่เชื่อในอาชีพอื่นๆด้วย เพราะผู้ไม่เชื่อต่างก็เป็นผู้รับใช้พระเจ้าที่กำลังทำพันธกิจไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

(1 เปโตร 2:17) จงให้เกียรติทุกคน จงรักพวกพี่น้อง จงยำเกรงพระเจ้า จงถวายเกียรติแด่จักรพรรดิ

มีศัพท์คำหนึ่งที่ไม่ปรากฏในพระคัมภีร์ แต่ก็มีการใช้กันอยู่คือคำว่า “ชาวโลก” คริสเตียนบางคนใช้คำนี้ในการเรียกคนไม่เชื่อ โดยมีนัยยะในการดูถูกอยู่นิดหน่อย อย่างไรก็ตามในพระคัมภีร์เมื่อเอ่ยถึงคนไม่เชื่อ ก็จะใช้คำว่า “คนไม่เชื่อ” หรือ “คนภายนอก” ซึ่งพระคัมภีร์ไม่ได้คำว่า “ชาวโลก” เลย ส่วนตัวผมไม่สนับสนุนการเรียกคนไม่เชื่อว่า ชาวโลก เพราะศัพท์คำนี้มีนัยยะที่หลู่เกียรติคนไม่เชื่อ แท้จริงคนไม่เชื่อที่ประกอบอาชีพอย่างสุจริตก็เป็นผู้รับใช้พระเจ้า การทำงานอาชีพของคนไม่เชื่อก็ถือเป็นพันธกิจในการรับใช้พระเจ้าอย่างหนึ่ง ผู้เชื่อควรจะให้เกียรติไม่เพียงแต่คริสเตียนเท่านั้นแต่ควรให้เกียรติคนที่ไม่ได้เป็นคริสเตียนด้วย


ชาโลม
Philip Kavilar


Philip Kavilar นักวิชาการด้านฟิสิกส์ ผู้ศึกษาพระคัมภีร์เป็นงานอดิเรก เป็นผู้ที่มีของประทานด้านวิชาการและการเผยพระวจนะผสมผสานกัน  ท่านมีความปรารถนาที่จะเห็นการร่วมประสานกันระหว่างพี่น้องในสายวิชาการกับพี่น้องในสายฤทธิ์เดช และหนุนใจให้คริสตจักรขับเคลื่อนในการเผยพระวจนะและการแปลภาษาแปลกๆ