หนังสือเล่มสุดท้ายที่แวกเนอร์เขียน
|
ปีเตอร์ แวกเนอร์ |
ก่อนที่อัครทูตปีเตอร์ แวกเนอร์ จะล่วงหลับ
ท่านได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่ง อันเป็นหนังสือเล่มสุดท้ายที่ท่านเขียนก่อนจะสิ้นลม
หนังสือเล่มนี้นับเป็น สติปัญญาสุดท้ายที่ท่านได้มอบให้กับคริสตจักร
หนังสือเล่มนั้นชื่อว่า The Great Transfer of Wealth
ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “การถ่ายโอนความมั่งคั่งครั้งยิ่งใหญ่”
ลักษณะของวิญญาณแห่งความยากจน
|
หนังสือการถ่ายโอนความมั่งคั่งครั้งยิ่งใหญ่ |
ปกติแล้ว เมื่อคนที่มีวิญญาณแห่งความยากจน ได้รับเงินก้อนใหญ่
ผลสำรวจพบว่า ภายในเวลาไม่กี่ปี เงินก้อนใหญ่นี้ก็จะหายสาบสูญหมด
จากงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับ ผู้คนที่ถูกลอตเตอรี่รางวัลใหญ่ (แบบหลายสิบล้าน)
ผลวิจัยพบว่า ไม่เกินสิบปี คนส่วนใหญ่ที่ถูกลอตเตอรี่มักจะมีความเป็นอยู่ที่เหมือนเดิมหรือไม่ก็แย่ลงกว่าเดิม นอกจากนี้เงินก้อนใหญ่ที่พวกเขาเคยมีก็มักจะสูญหายหมด
ลักษณะของวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง
อนึ่ง สำหรับคนที่มีวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง เมื่อพวกเขาได้รับเงินก้อนใหญ่
ภายในเวลาไม่กี่ปี เงินก้อนใหญ่ที่พวกเขามี ก็มักจะเพิ่มพูนขึ้นไปอีก
มีคำคมหนึ่งกล่าวไว้ว่า
เมื่อคุณให้เงิน 1 ล้าน กับคนที่มีวิญญาณแห่งความยากจน
1 ปีผ่านไป พวกเขาจะมีรถยนต์สุดหรู และมีโทรศัพท์รุ่นใหม่ แต่เงิน 1 ล้านนั้นจะหายไปหมด
ทว่าเมื่อคุณให้เงิน 1 ล้านกับคนที่มีวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง
1 ปีผ่านไป เงิน 1 ล้านนั้นจะเพิ่มพูนเป็นล้านกว่าๆ
ในวิญญาณแห่งความยากจน เงินก้อนใหญ่จะร่อยหรอและสูญหายไปเรื่อยๆ
แต่ในวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง เงินก้อนใหญ่จะเพิ่มพูนและงอกเงยขึ้นเรื่อยๆ
วิญญาณแห่งความยากจนและวิญญาณแห่งความมั่งคั่งในโบสถ์
บางทีถ้าคริสตจักรอยู่ในวิญญาณแห่งความยากจน
สมมติถ้าเกิดมีเงินก้อนใหญ่โอนเข้ามา ภายในเวลาไม่กี่ปี คริสตจักรก็จะใช้เงินจนหมด
แต่ถ้าคริสตจักรอยู่ในวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง
แล้วถ้าเกิดมีเงินก้อนใหญ่โอนเข้ามา วันเวลาผ่านไป เงินทุนของคริสตจักรก็จะมีแด่เพิ่มพูนขึ้น
ดังนั้นสิ่งสำคัญก็คือ “การทำลายวิญญาณแห่งความยากจนในคริสตจักร”
ถ้าคริสตจักรยังคงอยู่ในวิญญาณแห่งความยากจน
ต่อให้มีเงินทุนก้อนใหญ่โอนมา คริสตจักรก็อาจจำเริญขึ้นในระยะสั้น แต่ในระยะยาวสภาพของคริสตจักรก็อาจจะคงเดิมหรือแย่กว่าเดิม
แต่ถ้าคริสตจักรเต็มล้นในวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง
ถ้าเกิดมีเงินทุนก้อนโตโอนมา คริสตจักรก็สามารถจำเริญขึ้นได้ในระยะยาว
เพราะโดยวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง คริสตจักรก็สามารถรับมือกับเงินทุนก้อนใหญ่ได้อย่างดี
และต่อไปนี้ คือคำแนะนำจากสติปัญญาสุดท้ายของอัครทูตปีเตอร์ แวกเนอร์
4 ห่วงโซ่ของกระแสเงินสด
ในหนังสือ “การถ่ายโอนความมั่งคั่งครั้งใหญ่” แวกเนอร์ได้อธิบายประมาณว่า
สำหรับโบสถ์นั้น กระแสเงินสดจะมีห่วงโซ่สำคัญอยู่ 4 ห่วงโซ่
รูป ห่วงโซ่ของการกระแสเงินสด
โดยห่วงโซ่แรกเรียกว่า เงินทุนที่เข้ามา (ซึ่งส่วนใหญ่ได้มาผ่านการถวาย)
ห่วงโซ่ที่สองเรียกว่า ผู้จัดการ (Manager)
ห่วงโซ่ที่สามและสี่เรียกว่า การแจกจ่ายและการใช้เงินที่หน้างาน
แวกเนอร์ได้อธิบายว่า ในบรรดา 4 ห่วงโซ่นี้
ห่วงโซ่ที่อ่อนแอที่สุด ณ ตอนนี้ก็คือ ห่วงโซ่ผู้จัดการ
หลายครั้งเมื่อโบสถ์ได้รับเงินถวายไม่ว่าจะเป็นก้อนใหญ่หรือก้อนเล็ก
โบสถ์ก็มักจะนำเงินถวายไปแจกจ่ายและใช้ที่หน้างานจนหมด
สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ต่างจากคนที่อยู่ในวิญญาณแห่งความยากจนเลย
คนที่อยู่ในวิญญาณแห่งความยากจน ต่อให้ได้เงินมาเท่าไร ก็ใช้จ่ายจนหมด
การบริหารในวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง
คนที่อยู่ในวิญญาณแห่งความยากจน เมื่อได้รับเงินทุนเข้ามาก็จะรีบใช้จ่ายจนหมด
ทว่าคนที่อยู่ในวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง เมื่อได้รับเงินทุนมาแล้วก็จะไม่รีบใช้จ่ายทันที
คนที่อยู่ในวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง จะนำเงินทุนที่ได้รับมาไปเพิ่มพูนก่อน
และเมื่อเงินทุนได้รับการเพิ่มพูนแล้ว จึงค่อยนำเงินในส่วนที่เพิ่มพูนไปใช้จ่ายอีกทีหนึ่ง
ดังนั้นถ้าโบสถ์อยู่ในวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง เมื่อโบสถ์ได้รับเงินทุนมาแล้ว
โบสถ์ก็จะไม่รีบใช้เงินทุนที่มี แต่โบสถ์จะนำเงินทุนที่ได้รับมานั้นไปเพิ่มพูนก่อน
และเมื่อเงินทุนเกิดมีการเพิ่มพูน โบสถ์จึงค่อยนำเงินในส่วนที่เพิ่มพูนมาใช้จ่ายอีกทีหนึ่ง
การบริหารเงินในวิญญาณแห่งความมั่งคั่ง จะช่วยทำให้โบสถ์มีเงินสนับสนุนพันธกิจในระยะยาว
กระแสเงินสดควรมีครบทั้ง 4 ห่วงโซ่
ที่ผ่านมา กระแสเงินสดที่เกิดขึ้นในโบสถ์มักจะมีแค่สามห่วงโซ่
ก็คือ 1. ได้รับเงินทุนเข้ามา 2. แจกจ่ายเงินทุนในพันธกิจต่างๆ 3. ใช้จ่ายเงินทุนที่หน้างาน
กระแสเงินสดแบบนี้ มักจะทำให้เงินทุนที่มีอยู่หมดอย่างรวดเร็ว
ในคำแนะนำของแวกเนอร์ได้กล่าวถึงกระแสเงินสดที่มี 4 ห่วงโซ่ก็คือ
1. เงินทุนที่เข้ามา 2.ผู้จัดการ 3.การแจกจ่าย 4.ใช้หน้างาน
ทั้งนี้ห่วงโซ่ที่สำคัญสำหรับการสนับสนุนพันธกิจในระยะยาวก็คือ ห่วงโซ่ผู้จัดการ
ในคำแนะนำของแวกเนอร์ ผู้จัดการควรเป็นอัครทูตที่มีการเจิมด้านการเงิน
โดยหน้าที่หลักของผู้จัดการก็คือ นำเงินทุนที่เข้ามาไปเพิ่มพูน
ตามหลักของแวกเนอร์ โบสถ์ไม่ควรจะรีบใช้เงินทุนในทันที
แต่โบสถ์ควรนำเงินทุนที่ได้รับมาไว้ในมือของผู้จัดการ
แล้วผู้จัดการจะนำเงินทุนที่ได้มาไปเพิ่มพูนก่อน
เมื่อเงินทุนได้รับการเพิ่มพูนแล้ว โบสถ์จึงค่อยใช้เงินที่เพิ่มพูนไปแจกจ่ายแล้วใช้ที่หน้างานอีกทีหนึ่ง
อนึ่ง แนวทางการเพิ่มพูนเงินของผู้จัดการนั้น ก็สามารถทำได้หลากหลายวิธี
ซึ่งอัครทูตด้านการเงินมักจะมีการเจิมที่รู้ว่า ต้องนำเงินไปเพิ่มพูนอย่างไรถึงจะเกิดผลสุกงอมในระยะยาว
ปัญญาอย่างสุดท้ายที่แวกเนอร์มอบให้กับคริสตจักร
การไม่รีบใช้เงินทุน แต่นำเงินทุนไปเพิ่มพูนด้วยอัครทูตด้านการเงิน ก่อนที่จะใช้จ่ายนั้น
ถือเป็นข้อแนะนำจากหนังสือ “การถ่ายโอนความมั่งคั่งครั้งใหญ่”
อันเป็นปัญญาอย่างสุดท้ายที่อัครทูตแวกเนอร์ได้มอบให้กับคริสตจักร
ชาโลม
ค้นคว้าเพิ่มเติมได้จาก
หนังสือ “The Great Transfer of Wealth” เขียนโดย C. Peter Wagner
Philip Kavilar นักวิชาการด้านฟิสิกส์ ผู้ศึกษาพระคัมภีร์เป็นงานอดิเรก เป็นผู้ที่มีของประทานด้านวิชาการและการเผยพระวจนะผสมผสานกัน ท่านมีความปรารถนาที่จะเห็นการร่วมประสานกันระหว่างพี่น้องในสายวิชาการกับพี่น้องในสายฤทธิ์เดช และหนุนใจให้คริสตจักรขับเคลื่อนในการเผยพระวจนะและการแปลภาษาแปลกๆ