ช่วงวันที่ 3 ต.ค.-1 พ.ย.2016 ตามปฏิทินฮีบรูจะเป็นเดือนทิชรี (Tishri) ปี 5777 เดือนทิชรี (Tishri) เดิมชื่อว่า เอธานิม (Ethanim) เป็นเดือนที่กษัตริย์ซาโลมอนได้ถวายพระวิหารเมื่อสร้างเสร็จแล้วแด่พระยาห์เวห์ (1พงศ์กษัตริย์ 8:2-11) เป็นเดือนที่ 7 ตามปฏิทินศาสนาและเป็นเดือนแรกตามแบบปฏิทินราชการของประเทศอิสราเอล เป็นช่วงเวลาแห่งความยินดีเนื่องจากก้าวเข้าสู่ปีใหม่(Rosh Hashanah)
เดือนนี้มีความสำคัญคือเป็นช่วงเวลาแห่งการนัดหมายเข้าเฝ้าพระเจ้า(Divine Appointment) เดือนนี้มีเทศกาลสำคัญถึง 3 เทศกาลนั่นคือ เทศกาลเสียงแตรเขาสัตว์ วันลบมลทินบาปและอยู่เพิง เพื่อจะพบกับประสบการณ์การทรงสถิต ระลึกถึงความอุดมสมบูรณ์และความดีของพระองค์ที่ไหลท่วมท้นอย่างเต็มอิ่มด้วยความรักในชีวิตของเรา
เดือนนี้เป็นเดือนที่เราจะเกิดผลทวีคูณ เพราะเป็นเดือนแห่งเผ่าเอฟราอิม(Ephraim) บุตรคนที่2 ของโยเซฟ ความหมายของชื่อคือ “เกิดผลและทวีคูณ” (ปฐมกาล 41:52)
บุตรที่สองท่านเรียกชื่อว่า เอฟราอิม “เพราะว่าพระเจ้าโปรดให้ข้าพเจ้ามีพงศ์พันธุ์ทวีขึ้นในดินแดนที่ข้าพเจ้าได้รับความทุกข์ใจ”
คำอวยพรของพ่อมีความสำคัญสำหรับชีวิตของลูก โยเซฟได้รับพรจากยาโคบผู้เป็นบิดา เขาจึงเป็นคนแห่งเกิดผลและทวีคูณ (ปฐมกาล 49:22-26) เดือนนี้เป็นเดือนที่เราจะได้รับพระพรในฐานะบุตรที่ได้รับการอวยพรอย่างทวีคูณโดยความโปรดปรานจากพระบิดาในสวรรค์
บทความครั้งนี้ เราจะมาเรียนรู้จากลักษณะชีวิตของเผ่าเอฟราอิม(Ephraim) ร่วมกัน
(หมายเหตุ เราเรียนรู้จักลักษณะของเผ่าต่างๆประจำเดือนของอิสราเอล 6 เผ่าแล้ว สามารถอ่านได้ตาม Link นี้ครับ สิงห์แห่งเผ่ายูดาห์ (Lion of Judah),อิสสาคาร์ - ลาที่มีกำลังกล้าหาญ,เศบูลุน-เรือสำเภามุ่งสู่จุดหมาย,เผ่ารูเบน - บุตรชายสายน้ำเชี่ยว,
เผ่ากาด นักรบผู้เก่งฉกาจ)
เอฟราอิม(Ephraim) ไม่ได้เป็นบุตรของยาโคบหรืออิสราเอล หากแต่เป็นหลานเพราะเอฟราอิมเป็นบุตรของโยเซฟ อันเกิดจากนางราเชล(Rachel) เป็นภรรยาที่ยาโคบรัก ซึ่งเราได้เรียนรู้กันมาแล้วว่าเผ่าแต่ละเผ่าของอิสราเอลตั้งชื่อตามบุตรของยาโคบ ผมได้ตั้งชื่อภาษาไทยเอาไว้ดังนี้
1. รูเบน(Reuben) ลูกชายคนโต ชื่อหมายความว่า "บุตรชาย" หรือ "สมชาย" จะบอกว่ายาโคบว่าเธอมีลูกชายให้แล้วนะ รู้ยัง เพราะการมีลูกชายจะทำให้ยาโคบรักเธอ แต่ยาโคบรักนางราเชล
2. สิเมโอน(Simeon) ชื่อหมายความว่า "รับฟัง" หรือ เด็กชาย"สดับฟัง" เพื่อสำนึกถึงการที่พระยาห์เวห์ทรงสดับรับฟังเสียงคำอธิษฐานของเธอ ทำให้เธอได้มีบุตรคนที่สองกับยาโคบ
3. เลวี(Levi) ชื่อหมายความว่า "สนิทสนม" หรือ เด็กชาย"สนิทใจ" เหตุที่เธอตั้งชื่อบุตรเช่นนี้เพราะต้องการให้สามีสนิทสนมกับเธอบ้าง
4. ยูดาห์(Judah) ชื่อหมายความว่า "การยกมือขึ้น สรรเสริญ" หรือ เด็กชาย "สรรเสริญ" เป็นการแสดงถึงการขอบพระคุณพระยาห์เวห์ที่ทรงประทานบุตรให้กับเธออีก
5. อิสสาคาร์(Issachar) ชื่อหมายความว่า "สินจ้าง"(hire) หรือ เด็กชาย "สินชัย" นางเลอาห์ จึงตั้งชื่อลูกว่า อิสสาคาร์ หมายถึง "สินจ้าง"(hire) ค้าจ้างที่ได้ให้ผลดูดาอิมกับนางราเชลเพื่อได้หลับนอนกับยาโคบ
6. เศบูลุน(Zebulun) ชื่อหมายความว่า "การให้เกียรติ" หรือ เด็กชาย "สมเกียรติ"
7. กาด (Gad) ชื่อหมายความว่า เด็กชาย "สบโชค" เป็นบุตรชายคนที่ 7 ของยาโคบ
8. โยเซฟ(Joseph) ชื่อหมายความว่า "เพิ่มพูน" ทำให้ตระกูลเพิ่มมากขึ้น หรือ เด็กชาย "เสริมพล" เป็นบุตรชายคนที่ 11 ของยาโคบ มีลูก 2 คนชื่อว่า "มนัสเสห์"(Manasseh) และ เอฟราอิม(Ephraim)
9. มนัสเสห์(Manasseh) ชื่อหมายความว่า "ทำให้ลืม" เป็นบุตรชายคนโตของโยเซฟ สาเหตุเพราะพระเจ้าทำให้โยเซฟลืมความทุกข์โศกที่ผ่านมา ชื่อที่ผมตั้งเป็นภาษาไทย คือ เด็กชาย "สิ้นโศก"
สำหรับเผ่ามนัสเสห์ (Manasseh) เราจะเรียนรู้ในบทความครั้งหน้า คือ เดือนเชสวาน(Cheshvan)
10. เอฟราอิม(Ephraim) אֶפְרָיִם ชื่อหมายความว่า“เกิดผลและทวีคูณ” โยเซฟตั้งชื่อนี้เพราะพระเจ้าทรงมีพงศ์พันธุ์ทวีขึ้นในประเทศอียิปต์ ดินแดนที่โยเซฟได้รับความทุกข์ใจ ชื่อของเอฟราอิมมีความหมายเดียวกับพ่อคือ โยเซฟ หรือ เสริมพล ผมขอตั้งชื่อ เด็กชาย "เสริมพงศ์"เพราะพงศ์พันธ์ุของโยเซฟเกิดผลทวีคูณ
บทความครั้งนี้เราจะมาเรียนรู้จากชีวิตของเอฟราอิมร่วมกัน
เอฟราอิม(Ephraim) אֶפְרָיִם เรารู้จักผ่านทางผู้ที่เป็นบิดา นั่นคือ “โยเซฟ” มีบิดาชื่อว่ายาโคบ ซึ่งเป็นบุคคลที่ร่ำรวยมาก และโยเซฟก็เป็นบุตรชายที่บิดาโปรดปรานมาก แต่บรรดาพี่ๆ ของโยเซฟเกลียดชังท่าน (ปฐมกาล 37) บรรดาพี่ๆ ของโยเซฟเกลียดชังเขา เพราะเขาได้รับความฝันจากพระเจ้าเรื่องฟ่อนข้าวของพี่ๆมาก้มกราบฟ่อนข้าวของโยเซฟ
โยเซฟจึงถูกพี่ๆ ขายไปเป็นทาสในอียิปต์ ซึ่งแม้เหตุการณ์นี้อาจดูเหมือนจะเป็นสิ่งเลวร้ายสำหรับท่าน แต่ต่อมาภายหลังท่านได้พูดกับบรรดาพี่ๆ ของท่าน เมื่อเขาเหล่านั้นเดินทางมาเพื่อซื้อข้าวในอียิปต์จากมือของโยเซฟในช่วงที่เกิดการกันดารอาหารทั่วโลก โยเซฟพูดกับพี่ๆ ของท่านดังนี้ว่า
“แต่เดี๋ยวนี้อย่าเสียใจไปเลย อย่าโกรธตัวเองที่ขายฉันมาที่นี่ เพราะว่าพระเจ้าทรงใช้ฉันให้มาก่อนหน้าพวกพี่ เพื่อจะได้ช่วยชีวิต (ปฐมกาล 45:5)
ตามธรรมเนียมของคนยิว บุตรหัวปี (บุตรคนโต) จะได้รับพระพรเป็น 2 เท่า และมือขวาเล็งถึงสิทธิอำนาจและความโปรดปราน
8. โยเซฟ(Joseph) ชื่อหมายความว่า "เพิ่มพูน" ทำให้ตระกูลเพิ่มมากขึ้น หรือ เด็กชาย "เสริมพล" เป็นบุตรชายคนที่ 11 ของยาโคบ มีลูก 2 คนชื่อว่า "มนัสเสห์"(Manasseh) และ เอฟราอิม(Ephraim)
9. มนัสเสห์(Manasseh) ชื่อหมายความว่า "ทำให้ลืม" เป็นบุตรชายคนโตของโยเซฟ สาเหตุเพราะพระเจ้าทำให้โยเซฟลืมความทุกข์โศกที่ผ่านมา ชื่อที่ผมตั้งเป็นภาษาไทย คือ เด็กชาย "สิ้นโศก"
สำหรับเผ่ามนัสเสห์ (Manasseh) เราจะเรียนรู้ในบทความครั้งหน้า คือ เดือนเชสวาน(Cheshvan)
10. เอฟราอิม(Ephraim) אֶפְרָיִם ชื่อหมายความว่า“เกิดผลและทวีคูณ” โยเซฟตั้งชื่อนี้เพราะพระเจ้าทรงมีพงศ์พันธุ์ทวีขึ้นในประเทศอียิปต์ ดินแดนที่โยเซฟได้รับความทุกข์ใจ ชื่อของเอฟราอิมมีความหมายเดียวกับพ่อคือ โยเซฟ หรือ เสริมพล ผมขอตั้งชื่อ เด็กชาย "เสริมพงศ์"เพราะพงศ์พันธ์ุของโยเซฟเกิดผลทวีคูณ
บทความครั้งนี้เราจะมาเรียนรู้จากชีวิตของเอฟราอิมร่วมกัน
เอฟราอิม(Ephraim) אֶפְרָיִם เรารู้จักผ่านทางผู้ที่เป็นบิดา นั่นคือ “โยเซฟ” มีบิดาชื่อว่ายาโคบ ซึ่งเป็นบุคคลที่ร่ำรวยมาก และโยเซฟก็เป็นบุตรชายที่บิดาโปรดปรานมาก แต่บรรดาพี่ๆ ของโยเซฟเกลียดชังท่าน (ปฐมกาล 37) บรรดาพี่ๆ ของโยเซฟเกลียดชังเขา เพราะเขาได้รับความฝันจากพระเจ้าเรื่องฟ่อนข้าวของพี่ๆมาก้มกราบฟ่อนข้าวของโยเซฟ
โยเซฟจึงถูกพี่ๆ ขายไปเป็นทาสในอียิปต์ ซึ่งแม้เหตุการณ์นี้อาจดูเหมือนจะเป็นสิ่งเลวร้ายสำหรับท่าน แต่ต่อมาภายหลังท่านได้พูดกับบรรดาพี่ๆ ของท่าน เมื่อเขาเหล่านั้นเดินทางมาเพื่อซื้อข้าวในอียิปต์จากมือของโยเซฟในช่วงที่เกิดการกันดารอาหารทั่วโลก โยเซฟพูดกับพี่ๆ ของท่านดังนี้ว่า
“แต่เดี๋ยวนี้อย่าเสียใจไปเลย อย่าโกรธตัวเองที่ขายฉันมาที่นี่ เพราะว่าพระเจ้าทรงใช้ฉันให้มาก่อนหน้าพวกพี่ เพื่อจะได้ช่วยชีวิต (ปฐมกาล 45:5)
· โยเซฟสามารถแปลความฝันได้
และมีสติปัญญาเลิศจากพระเจ้า โยเซฟจึงได้รับการยกชูจากฟาโรห์ พระองค์ทรงยกให้โยเซฟมีตำแหน่งสูงสุดในการปกครองอียิปต์
ฟาโรห์ได้ทรงประทานชื่อใหม่ให้แก่โยเซฟ
คือ “ศาเฟนาทปาเนอาห์” (Zaphenath-Paneah) หมายถึง “ผู้ที่เปิดเผยสิ่งลึกลับ” ( revealer of secrets) เนื่องจากโยเซฟได้รับการสำแดงจากพระเจ้าในการตีความความฝัน ฟาโรห์ทรงมอบบุตรสาวโปทิเฟรา ชื่อ “อาเสนัท” (Asenath)
ให้เป็นภรรยาของท่าน
ปฐมกาล 41:45
ฟาโรห์เรียกนามโยเซฟว่า
ศาเฟนาทปาเนอาห์ และประทานอาเสนัทบุตรสาวโปทิเฟรา ปุโรหิตเมืองโอนให้เป็นภรรยา
โยเซฟก็ออกไปสำรวจทั่วประเทศอียิปต์
เมื่อโยเซฟดำเนินชีวิตในฐานะมหาอุปราชของอียิปต์
ท่านไม่ได้มีความสุข เพราะรากแห่งความขมขื่นนั่นคือ ความทุกข์ใจและความรู้สึกสูญเสียยังไม่หมดจากชีวิตของท่าน
เนื่องจากสาเหตุที่นางราเชล แม่ของท่านตายเมื่อท่านยังเป็นเด็ก การถูกพวกพี่ๆ ปฏิเสธ
วางแผนที่จะฆ่า และขายท่านมาเป็นทาสในอียิปต์ การต้องจากบิดา และถูกจับเข้าคุกโดยไร้ความผิด
สิ่งเหล่านี้ยังไม่เคยจางหายไปจากความทรงจำของโยเซฟ จนกระทั่ง เมื่อนางอาเสนัท
คลอดบุตรชายให้ท่าน 2 คน นั่นคือ มนัสเสห์ และ เอฟราอิม
ปฐมกาล
41:51-52
โยเซฟเรียกลูกหัวปีว่า มนัสเสห์ "เพราะว่าพระเจ้าทรงโปรดให้ข้าพเจ้าลืมความยากลำบากทั้งปวง
และบรรดาพงศ์พันธุ์ของบิดาเสีย" บุตรที่สองท่านเรียกชื่อว่า
เอฟราอิม "เพราะว่าพระเจ้าทรงโปรดให้ข้าพเจ้ามีพงศ์พันธุ์ทวีขึ้นในดินแดนที่ข้าพเจ้าได้รับความทุกข์ใจ"
เมื่อยาโคบและครอบครัวได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่อิยิปต์
ยาโคบรวมถึงพี่ๆ น้องๆ ของโยเซฟ รวม 70 ชีวิต
ได้ย้ายถิ่นฐานมาพำนักอยู่ที่เมืองโกเชน (Goshen) ประเทศอียิปต์ร่วมกับโยเซฟ
ในช่วงบั้นปลายชีวิตของยาโคบ โยเซฟได้พาบุตรทั้งสองของเขาเข้าไปให้ยาโคบอธิษฐานอวยพร
(ปฐมกาล 48)
· ขณะนั้น
ยาโคบ (หรืออิสราเอล) ชรามากแล้ว จะลุกขึ้นนั่งก็แทบจะไม่ไหว เพื่อให้ง่ายต่อบิดา โยเซฟจึงวางเอฟราอิมไว้ที่มือซ้ายของยาโคบ
และมนัสเสห์ไว้ที่มือขวาของยาโคบ เนื่องจากมนัสเสห์เป็นบุตรหัวปี
แต่ยาโคบ(อิสราเอล) กลับไขว้มือสลับตำแหน่งการอวยพร เขาได้วางมือขวาบนศีรษะของเอฟราอิม
และอวยพรด้วยสิทธิบุตรหัวปี
ปฐมกาล 48:14-16
14 ฝ่ายอิสราเอลก็เหยียดมือขวาออกวางบนศีรษะเอฟราอิมผู้เป็นน้อง และมือซ้ายวางไว้บนศีรษะมนัสเสห์
เหยียดมือออกไขว้กันเช่นนั้น เพราะมนัสเสห์เป็นบุตรหัวปี
15 แล้วอิสราเอลกล่าวคำอวยพรแก่โยเซฟว่า “ขอพระเจ้าที่อับราฮัมและอิสอัคบรรพบุรุษข้าพเจ้า ดำเนินอยู่เฉพาะพระพักตร์นั้น ขอพระเจ้าผู้ทรงบำรุงเลี้ยงข้าพเจ้า ตลอดชีวิตจนถึงวันนี้
16 ขอทูตสวรรค์ที่ได้ช่วยข้าพเจ้าให้พ้นจากความชั่วร้ายทั้งสิ้น โปรดอวยพรแก่เด็กทั้งสองนี้ ให้พวกเขาสืบชื่อของข้าพเจ้าและชื่อของอับราฮัม และอิสอัคบรรพบุรุษของข้าพเจ้าไว้ และขอให้พวกเขาเจริญขึ้นเป็นมวลชนบนแผ่นดินเถิด”
เหตุการณ์นี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับโยเซฟเป็นอย่างยิ่ง
พระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า โยเซฟไม่พอใจ โยเซฟจึงได้จับมือบิดา
และพยายามจะสลับกลับให้ถูกต้อง แต่ยาโคบไม่ยอม
ปฐมกาล
48:17-19
17 ฝ่ายโยเซฟเมื่อเห็นบิดาวางมือข้างขวาบนศีรษะของเอฟราอิมก็ไม่พอใจ จึงจับมือบิดาเพื่อยกจากศีรษะเอฟราอิมวางบนศีรษะมนัสเสห์
18 โยเซฟบอกบิดาว่า “พ่อวางไม่ถูก เพราะคนนี้เป็นคนหัวปี ขอพ่อวางมือขวาบนศีรษะเขา”
19 แต่บิดาไม่ยอม ตอบว่า “พ่อรู้แล้ว ลูกเอ๋ย พ่อรู้แล้ว เขาจะเป็นคนเผ่าหนึ่งด้วย และเขาจะเป็นใหญ่ด้วย อย่างไรก็ดีน้องจะเป็นใหญ่กว่าพี่ และพงศ์พันธุ์ของน้องนั้นจะเป็นชนหลายหมู่รวมกัน”
เหตุกาณ์นี้เป็นภาพสัญลักษณ์
(Typology) นั่นคือ พงศ์พันธุ์ของยาโคบ(อิสราเอล)ที่ได้พร มนัสเสห์ได้ดีอย่างไร
แต่เอฟราอิมจะได้ดียิ่งกว่า!
20 วันนั้นอิสราเอลก็ให้พรแก่ทั้งสองคนว่า “พวกอิสราเอลจะใช้ชื่อเจ้าให้พรว่า ‘ขอพระเจ้าทรงให้ท่านเป็นเหมือนเอฟราอิม และเหมือนมนัสเสห์’ ” ดังนั้นอิสราเอลจึงจัดให้เอฟราอิมมาก่อนมนัสเสห์
21 อิสราเอลบอกโยเซฟว่า “นี่แน่ะ พ่อจะตาย แต่พระเจ้าจะทรงอยู่กับพวกเจ้า จะพาพวกเจ้ากลับไปดินแดนของบรรพบุรุษของพวกเจ้า
22 ยิ่งกว่านั้นอีก พ่อยกเชเคมที่พ่อยึดจากมือคนอาโมไรต์ ด้วยดาบและธนูของเรานั้นให้แก่เจ้า แทนที่จะให้พี่น้องของเจ้า
สดุดี 78:67-68
เอเสเคียล 37:12-19
21 อิสราเอลบอกโยเซฟว่า “นี่แน่ะ พ่อจะตาย แต่พระเจ้าจะทรงอยู่กับพวกเจ้า จะพาพวกเจ้ากลับไปดินแดนของบรรพบุรุษของพวกเจ้า
22 ยิ่งกว่านั้นอีก พ่อยกเชเคมที่พ่อยึดจากมือคนอาโมไรต์ ด้วยดาบและธนูของเรานั้นให้แก่เจ้า แทนที่จะให้พี่น้องของเจ้า
(คำว่า "เชเคม"(Shechem -שְׁכָם )
ในภาษาฮีบรูหมายความว่า "ไหล่ บ่า" และชื่อสถานที่ (เมืองเชเคม)อีกด้วย ซึ่งต่อมาจะเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหลานของโยเซฟและเป็นสถานที่ที่โยเซฟจะถูกฝังไว้
โยชวา 24:32 กระดูกของโยเซฟซึ่งชนอิสราเอลนำมาจากอียิปต์นั้น เขาฝังไว้ที่เมืองเชเคม ในส่วนที่ดินซึ่งยาโคบซื้อไว้จากบุตรหลานของฮาโมร์บิดาของเชเคมเป็นเงินหนึ่งร้อยแผ่น ที่นี้ตกเป็นมรดกของพงศ์พันธุ์โยเซฟ
ข้อความนี้จึงเป็นการเล่นคำ ยาโคบแบ่งแผ่นดินคานาอันให้บรรดาบุตรในฐานะพ่อที่จัดสรรมรดกให้กับลูกๆ หรือภาพของปุโรหิตที่ทำพิธีถวายสัตวบูชา และทำการแบ่งสัตว์ที่ถวายเป็นบูชาแก่ผู้มาร่วมพิธี (1 ซมอ 1:4) ไหล่ของสัตว์ถือว่าเป็นส่วนที่ดีที่สุด (1 ซมอ. 9:23-24) )
เราจะเห็นได้ว่าเอฟราอิมได้รับพระพรในส่วนที่ดีที่สุดในฐานะบุตรหัวปี หมายถึงการเริ่มต้นที่ดี เป็นเหตุให้เดือนทิชรีเดือนแห่งการเริ่มต้นปีของอสราเอล เป็นเดือนแห่งเผ่าเอฟราอิม!
นอกจากนี้ เผ่าเอฟราอิม(Ephraim) ได้ชื่อว่าเป็น กระทิงแห่งศักดิ์ศรี ตราสัญลักษณ์ของเผ่าเป็นรูปกระทิง ตามคำอวยพรของโมเสส ผู้รับใช้ของพระยาห์เวห์
เฉลยธรรมบัญญัติ 33:16-17
16...ขอให้สิ่งเหล่านี้ลงมาเหนือศีรษะของโยเซฟ และเหนือกระหม่อมของผู้ที่เป็นเจ้านายของพี่น้อง
17 ลูกวัวหัวปีของเขามีศักดา เขาของเขาเหมือนเขาวัวกระทิง และด้วยเขานั้น เขาจะดันชนชาติทั้งหลายออกไปจนสุดปลายพิภพ คนเอฟราอิมนับหมื่นเป็นเช่นนี้ คนมนัสเสห์นับพันก็เหมือนกัน”
พระเจ้าทรงต่อสู้และขับไล่ชนชาติต่างๆเพื่อให้คนอิสราเอลเข้าสู่ดินแดนพันธสัญญา
กันดารวิถี 23:22 พระเจ้าทรงนำพวกเขาออกจากอียิปต์ ทรงเป็นเหมือนเขาโคกระทิงเพื่อเขา
เผ่าเอฟราอิมจึงเป็นนักต่อสู้ดังกระทิงที่มีเขาทรงพลังที่ขับไล่ชนชาติต่างๆออกไปจากดินแดนพันธสัญญา และสถาปนาดินแดนของอิสราเอลไว้ บุคคลที่นำชนชาติอิสราเอลมาสู่ดินแดนนีี้คือ โยชูวา (Joshua) ชนเผ่าเอฟราอิม ! หรือชื่อเดิมคือ โฮเชยา
กันดารวิถี 13:8,16
8โฮเชยา บุตรนูนจากเผ่าเอฟราอิม
16 เหล่านี้เป็นรายชื่อของคนที่โมเสสส่งไปสอดแนมที่แผ่นดินนั้น แต่โมเสสเรียกชื่อโฮเชยาบุตรนูนว่า โยชูวา
16 เหล่านี้เป็นรายชื่อของคนที่โมเสสส่งไปสอดแนมที่แผ่นดินนั้น แต่โมเสสเรียกชื่อโฮเชยาบุตรนูนว่า โยชูวา
(ชื่อ โฮเชยา หมายถึง ความรอด แต่โมเสส เปลี่ยนชื่อท่านเป็น โยชูวา แปลว่า พระเจ้าทรงเป็นความรอด)
เมื่อโยชูวาพาคนอิสราเอล เข้าสู่ดินแดนคานาอัน
ดินแดนแห่งพันธสัญญา ท่านได้แบ่งดินแดนต่างๆให้กับคนอิสราเอล ท่านได้จัดวางเผ่าเอฟราอิม ตั้งอยู่ที่ เชเคม ซึ่งอยู่บนเนินเขาแห่งเอฟราอิม ตามคำอวยพรของยาโคบ (ปฐมกาล 48:22)
·
ดินแดนแห่งเผ่าเอฟราอิม เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญคือ
อยู่ตรงใจกลางประเทศอิสราเอล เป็นที่ตั้งของเมืองสำคัญนั่นคือ
เมืองเชเคม เมืองชิโลห์ และเมืองเบธเอล (1 พงศาวดาร
7:28)
· ที่ตั้งของเผ่าเอฟราอิม
อยู่บนภูเขาแห่งพระพรคือ เกริซิม
ตามที่โมเสสอวยพรประชาชนชาวอิสราเอลที่มาที่ภูเขานี้(เฉลยธรรมบัญญัติ
27:12)
เขากระทิงใส่น้ำมันเป็นสิ่งที่ปุโรหิตนำมาใช้ในการเจิม
ซามูเอลผู้ที่เป็นผู้วินิจฉัย
(Judge) คนสุดท้าย และเป็นผู้เผยพระวจนะ (Prophet) คนแรกของอิสราเอลมาจากเผ่าเอฟราอิม!
ท่านใช้เขาสัตว์ใส่น้ำมันเพื่อจะเจิมแต่งตั้งกษัตริย์ดาวิด เป็นกษํตริย์เหนืออิสราเอล
เผ่าเอฟราอิมเป็นเผ่าแห่งนักรบ
· เผ่าเอฟราอิมที่มาสมทบที่ภูเขาเฮโบรนของกษัตริย์ดาวิด
ได้เชื่อว่าเป็นกองทัพที่เกรียงไกรและมีชื่อเสียงมากที่สุด(1พงศาวดาร
12:30)
เผ่าเอฟราอิมเป็นหมวกเหล็ก(helmet)ของพระยาห์เวห์
สดุดี 60:7
…เอฟราอิมเป็นหมวกป้องกันศีรษะของเรา …
สดุดี 108:8 …เอฟราอิมเป็นหมวกป้องกันศีรษะของเรา…
สดุดี 108:8 …เอฟราอิมเป็นหมวกป้องกันศีรษะของเรา…
· ดังนั้น
เอฟราอิมจึงเป็นเผ่าที่โดดเด่นและสำคัญในอาณาจักรอิสราเอล ชื่อ
“เอฟราอิม” สื่อความหมายเหมือนกับอาณาจักรอิสราเอลทั้งหมด (Entire
Kingdom)
ถึงกระนั้นก็ดี “เอฟราอิม”
ได้หลงหายไปจากทางของพระเจ้า! พวกเขาหันไปกราบไหว้รูปเคารพ
คือ
โคทองคำ
ในสมัยของกษัตริย์เยโรโบอัม ประเทศอิสราเอลแยกเป็น
2
ราชอาณาจักร (ประมาณ
ก่อน
ค.ศ.
922-802)
ในรัชสมัยของกษัตริย์ดาวิดและกษัตริย์ซาโลมอน
อิสราเอลครองความเป็นใหญ่ในปาเลสไตน์
และดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดนได้นานกว่าครึ่งศตวรรษ
ชาติเล็กๆ
ที่อยู่ใกล้เคียงต่างยอมสวามิภักดิ์ต่ออิสราเอลซึ่งมีความเป็นปึกแผ่นแต่เมื่อกษัตริย์ซาโลมอนสิ้นพระชนม์ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป
เกิดการปฏิวัติจนทำให้อิสราเอลแตกเป็น
2
ราชอาณาจักร
คือราชอาณาจักรทางเหนือ
และราชอาณาจักรทางใต้
ราชอาณาจักรทางเหนือ
เรียกว่า "อิสราเอล" มีดินแดนกว้างใหญ่
ประกอบด้วย
10
เผ่า นำโดยเอฟราอิม
ราชอาณาจักรทางใต้เรียกว่า "ยูดาห์”
มี
2
เผ่าหลักคือ
ยูดาห์และเบนยามิน
ความแตกแยกนี้ทำให้อิสราเอลไม่สามารถรักษาอำนาจในการปกครองเพื่อนบ้านได้อีกต่อไป ประเทศต่างๆ
จึงมาบุกรุกอาณาจักรอิสราเอล
จนต้องพ่ายแพ้และสูญเสียอาณาจักรไปในที่สุด
เพราะเผ่าเอฟราอิมได้กบฏต่อพระเจ้า
ไปกราบไหว้โคทองคำ
ซึ่งเป็นไปตามคำเผยพระวจนะในพระธรรมสดุดี
เอฟราอิมกบฏและพระเจ้าทรงเลือกยูดาห์แทน
สดุดี 78:9 คนเอฟราอิม พร้อมสรรพไปด้วยคันธนู ได้หันกลับในวันสงคราม
สดุดี 78:67-68
67 พระองค์ทรงปฏิเสธเต็นท์ของโยเซฟ พระองค์มิได้ทรงเลือกเผ่าเอฟราอิม
68 แต่พระองค์ทรงเลือกเผ่ายูดาห์ ภูเขาศิโยนซึ่งพระองค์ทรงรัก
แต่ถึงกระนั้นก็ดี
เผ่าเอฟราอิมก็ได้มีประสบการณ์การกลับใจ
หันกลับจากความบาป
เข้ามาหาพระเจ้าอีกครั้ง! ในสมัยของกษัตริย์อาสา (2 พงศาวดาร 15:8-9)
ต่อมาในสมัยของกษัติย์เฮเซคียาห์ พระองค์ได้ทรงกลับใจและพาประชาชนมาหาพระเจ้า (2 พงศาวดาร
30,31) แต่ก็เป็นการกลับใจเพียงแค่ชั่วคราวไม่ได้กลับใจอย่างแท้จริง
อาณาจักรยังเต็มไปด้วยรูปเคารพจนถูกพวกอัสซีเรียมารุกรานและทำลายในที่สุดเผ่าเอฟราอิมจึงอยู่นอกสายตาของอิสราเอลและไปแต่งงานกับคนต่างชาติ เป็นเหตุให้พวกเขารับเอาพระของคนต่างชาติมานมัสการ ในพระธรรม 2 พงษ์กษัตริย์
22 กล่าวไว้ว่า กษัตริย์ของอาณาจักรยูดาห์ที่มีพระชนมายุเพียง
16 พรรษา นั่นคือ กษัตริย์โยสิยาห์
ได้กลับใจมาหาพระเจ้าและนำการปฏิรูปครั้งใหญ่นั่นคือและสถานที่แรกที่มีการรื้อฟื้นนั่นคือ ดินแดนแห่งเผ่าเอฟราอิม
2 พงศาวดาร 34:6-7
6 ส่วนในเมืองต่างๆ ของเผ่ามนัสเสห์ เอฟราอิมและสิเมโอน จนไปถึงเผ่านัฟทาลี พระองค์ทรงสำรวจสิ่งก่อสร้าง ที่อยู่รอบๆ นั้น
7 และพระองค์ทรงทำลายแท่นบูชา
และพวกเสาอาเชราห์ และทรงทุบพวกรูปเคารพให้เป็นผง และทรงพังแท่นเผาเครื่องหอมทั้งหมดทั่วแผ่นดินอิสราเอล แล้วพระองค์ก็เสด็จกลับกรุงเยรูซาเล็ม
กษัตริย์โยสิยาห์ทรงทำลายแท่นบูชา และพวกเสาอาเชราห์ และทรงทุบพวกรูปเคารพให้เป็นผง และทรงพังแท่นเผาเครื่องหอมทั้งหมดทั่วแผ่นดินอิสราเอล นี่คือหมายสำคัญของการรื้อฟื้นของเผ่าเอฟราอิมเพื่อกลับมาหาพระเจ้า ตามพระวจนะในพระธรรมเศคาริยาห์
เศคาริยาห์
10:6-7
6 "เราจะหนุนกำลังพงศ์พันธุ์ยูดาห์
และเราจะช่วยพงศ์พันธุ์โยเซฟให้รอด
เราจะนำพวกเขากลับมา
เพราะเราสงสารเขา
และเขาจะกลับเป็นเหมือนอย่างว่าเราไม่เคยทอดทิ้งเขา
เพราะเราคือพระยาห์เวห์พระเจ้าของเขา
เราจะตอบเขา
7 แล้วเอฟราอิมจะเป็นเหมือนชายฉกรรจ์
และจิตใจพวกเขาจะเปรมปรีดิ์เหมือนได้ดื่มเหล้าองุ่น
ลูกหลานของเขาจะได้เห็นและชื่นชม
และจิตใจของเขาจะยินดีเหลือล้นในพระยาห์เวห์
พระเจ้าทรงชื่นชมยินดีที่เอฟราอิม พงศ์พันธุ์โยเซฟ กลับมาหาพระเจ้า!
ในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่
ชื่อ“เอฟราอิม”
ถูกเรียกใหม่ว่า
“สะมาเรีย”(Samaria) เป็นแคว้นที่อยู่อาศัยของคนต่างชาติ ชาวยิวเกลียดชังและดูหมิ่นชาวสะมาเรีย
เนื่องจากเป็นคนต่างชาติ
ซึ่งพวกเขาถือว่าเป็นมลทิน
แม้แต่เมื่อเผ่ายูดาห์จะเดินทางจากเยรูซาเล็มไปที่ทะเลสาบกาลิลียังต้องเดินทางอ้อมเพื่อไม่ให้ผ่านแคว้นสะมาเรีย
ของเผ่าเอฟราอิม แม้คนยิวโดยทั่วไปจะไม่คบค้าสมาคมกับชาวสะมาเรีย แต่พระเยซูคริสต์กลับทรงยอมรับพวกเขาและพระองค์ทรงเสด็จมาที่เมืองนั้น
เพื่อจะมาพบกับหญิงชาวสะมาเรียที่บ่อน้ำของยาโคบ
ในเมืองสิคาร์ (ยอห์น บทที่ 4)
แม้ว่าเธอจะเป็นหญิงที่น่ารังเกียจมีสามีมาแล้ว 5 คน
คนที่อยู่ด้วยก็ไม่ใช่สามีของเธอ เธอถูกชาวบ้านดูหมิ่นราวกับว่าเป็นหญิงโสเภณี
แต่พระเยซูก็ไม่ได้ทรงรังเกียจเธอ พระเยซูบอกกับเธอว่า
“พระองค์เป็นน้ำแห่งชีวิต”
ยอห์น
4:13-14 พระเยซูตรัสตอบว่า “ทุกคนที่ดื่มน้ำนี้จะกระหายอีก แต่คนที่ดื่มน้ำที่เราจะให้กับเขานั้น
จะไม่มีวันกระหายอีกเลย
น้ำที่เราจะให้เขานั้นจะกลายเป็นบ่อน้ำพุในตัวเขาพลุ่งขึ้นถึงชีวิต
นิรันดร์”
นั่นเป็นสายธารน้ำพุที่พุ่งเข้าไปสู่ชีวิตของเธอ ความเชื่อจึงทำให้เธอได้รับชีวิตนิรันดร์และหญิงผู้นี้เองได้นำความรอดไปสู่คนทั้งหมู่บ้านในเมืองสิคาร์ และเธอยังไม่ได้หยุดเพียงเท่านั้น
เธอยังได้เดินทางออกไปเพื่อนำความรอดไปสู่คนต่างชาติอีกมากมาย
สะมาเรีย ดินแดนแห่งเผ่า เอฟราอิม
เป็นสถานที่แห่งแรกที่มีการตั้งคริสตจักร
เมื่อเหล่าสาวกถูกข่มเหงและกระจัดกระจายออกมาจากกรุงเยรูซาเล็ม
เอฟราอิม เป็นสัญลักษณ์ การเป็นคนใหม่คนเดียวกัน (One New Man) เผ่าเอฟราอิม จึงเป็นสัญลักษณ์คนต่างชาติ (gentile) ที่เชื่อมต่อกับยูดาห์คือคนยิว (Jewish)
ภาพของคนยิวและคนต่างชาติ เป็นคนใหม่คนเดียวกัน(One New Man)ในพันธสัญญาเดิม คือกิ่งไม้ของโยเซฟ ตามพระธรรมเอเสเคียล
เอเสเคียล 37:12-19
12 เพราะฉะนั้น จงเผยพระวจนะและกล่าวแก่เขาว่า พระเจ้าตรัสดังนี้ว่า “ดูเถิด โอ ประชากรของเราเอ๋ย เราจะเปิดหลุมฝังศพของเจ้า และยกเจ้าออกมาจากหลุมฝังศพของเจ้า และจะนำเจ้ากลับมายังแผ่นดินอิสราเอล..
16 “เจ้า บุตรแห่งมนุษย์เอ๋ย จงเอาไม้มาอันหนึ่งเขียนลงว่า ‘สำหรับยูดาห์ และสำหรับชนอิสราเอลที่สังคมกับยูดาห์’ จงเอาไม้มาอีกอันหนึ่งเขียนลงว่า ‘สำหรับโยเซฟ (ไม้ของเอฟราอิม) และพงศ์พันธุ์อิสราเอลที่สังคมกับโยเซฟ’
17 เอาไม้ทั้งสองมารวมกันเข้าเป็นอันเดียว เพื่อเป็นไม้อันเดียวในมือของเจ้า
19 จงกล่าวแก่เขาว่า พระเจ้าตรัสดังนี้ว่า ดูเถิด เรากำลังจะเอาไม้ของโยเซฟ (ซึ่งอยู่ในมือของเอฟราอิม) และเผ่าอิสราเอลที่สังคมกับเขาและเราจะเอาไม้ของยูดาห์มารวมเข้าด้วย และกระทำให้เป็นไม้อันเดียวกันเพื่อให้เป็นไม้อันเดียวในมือของเรา
17 เอาไม้ทั้งสองมารวมกันเข้าเป็นอันเดียว เพื่อเป็นไม้อันเดียวในมือของเจ้า
19 จงกล่าวแก่เขาว่า พระเจ้าตรัสดังนี้ว่า ดูเถิด เรากำลังจะเอาไม้ของโยเซฟ (ซึ่งอยู่ในมือของเอฟราอิม) และเผ่าอิสราเอลที่สังคมกับเขาและเราจะเอาไม้ของยูดาห์มารวมเข้าด้วย และกระทำให้เป็นไม้อันเดียวกันเพื่อให้เป็นไม้อันเดียวในมือของเรา
ประเทศอิสราเอลมีประวัติศาสตร์อันยาวนานเกี่ยวกับการสูญเสียและการปฏิเสธ แต่เมื่อมีการเชื่อมต่อการเป็นคนใหม่คนเดียวกันระหว่างยิวกับคนต่างชาติ พวกเขาจะสามารถลืมอดีตที่ผ่านมาและเกิดผลทวีคูณได้โดยพงษ์พันธ์ุของโยเซฟ
ในพันธสัญญา ·พระเยซูคริสต์เป็นผู้เชื่อมกลางระหว่างยิวกับคนต่างชาติ ทำให้เป็นคนใหม่คนเดียวกันเอเฟซัส 2:15 “...เพื่อจะกระทำให้ทั้งสองฝ่ายเป็นคนใหม่คนเดียวในพระองค์ เช่นนั้นแหละ จึงทรงกระทำให้เกิดสันติสุข”
เผ่าเอฟราอิม เป็นเผ่าที่ได้รับการอวยพร (Blessed tribe) คือ สะมาเรีย พวกเขาจะเป็นผู้ที่นำข่าวประเสริฐออกไปอันมีผลทำให้เกิดการฟื้นฟูทั่วโลก (กจ.1:8)
แต่พวกท่านจะได้รับพระราชทานฤทธานุภาพ เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จมาเหนือท่าน และท่านทั้งหลายจะเป็นสักขีพยานของเราในกรุงเยรูซาเล็ม ทั่วแคว้นยูเดีย ทั่วแคว้นสะมาเรีย และจนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก”
ยิวเป็นรากความเชื่อของเราในฐานะที่เป็นคริสเตียน เพราะพระเยซูกล่าวไว้ว่า "เพราะความรอดนั้นมาจากพวกยิว"(ยอห์น 4:22)
คนต่างชาติเป็นดั่งกิ่งมะกอกป่า ที่เข้าไปทาบกับต้นมะกอกพันธุ์แท้คืออิสราเอล
โรม 11:17แต่ถ้าบางกิ่งถูกหักออกเสียแล้ว และพระเจ้าทรงนำท่านผู้เป็นกิ่งมะกอกเทศป่ามาต่อกิ่งไว้แทนกิ่งเหล่านั้น เพื่อให้เข้าเป็นส่วนได้รับน้ำเลี้ยงจากรากต้นมะกอก
สิ่งที่เราได้เรียนรู้ จากเผ่าเอฟราอิม กระทิงแห่งศักดิ์ศรี คือ พวกเขาเป็นผู้ได้รับสิทธิบุตรหัวปี เป็นเกียรติศักดิ์ศรีแก่พงศ์พันธ์ุ หากแต่เมื่อเขาหลงหาย เมื่อเขากลับใจ พระพรความรอดของพระเจ้าก็เริ่มต้นที่เขาเพื่อทำให้เราซึ่งเป็นคนต่างชาติได้รับพระพร
·
แม้พวกเขาจะทำบาป แต่เมื่อรับการชำระจากพระเจ้า
เอฟราอิม ได้กลับใจใหม่และละทิ้งรูปเคารพ พวกเขาจะเป็นผู้ที่นำข่าวประเสริฐออกไปอันมีผลทำให้เกิดการฟื้นฟูทั่วโลก
พระเจ้าทรงให้อภัยเมื่อเอฟราอิมกลับใจใหม่ เอฟราอิม
จึงเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่บุกเบิกทางนำไปข้างหน้า (Forerunner) เพื่อนำทางแห่งความรอดไปสู่ชนชาติอื่นๆ
ขอพระเจ้าอวยพรและพบกันใหม่เดือนหน้า เดือนเชสวาน(Cheshvan) เผ่ามนัสเสห์ (Manasseh) ครับ
ขอบคุณมากคะที่แบ่งปันความรู้ ว่าแต่ชื่อเว็บไซร์คืออะไรเหรอคะ ไม่ใช่นิกายใช่ไม๊คะ
ตอบลบชื่อผมเองครับ ปัทมโรจน์ :)
ตอบลบขอบคุณพระเจ้า
ลบขอบคุณครับพระเจ้าดลใจให้อ่านเอฟราอิม
ตอบลบ