31 ตุลาคม 2557

วันสาธุการพระนามของพระเจ้า(Hallowed be Thy name)

เนื่องในวันที่ 31 ตุลาคม ขอกล่าวคำว่า "สุขสันต์วันสาธุการพระนามของพระเจ้า"(Hallowed be Thy name) ทั้งนี้เพราะการสาธุการแด่พระเจ้า ดีกว่าการไปยกย่องสรรเสริญพวกผีใน "วันฮาโลวีน" (Halloween day)

ประวัติ"วันฮาโลวีน" (Halloween day) โดยสังเขปมีดังนี้ 
(ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org) 

วันฮาโลวีน ( Halloween) เป็นงานฉลองในคืนวันที่ 31 ตุลาคม ประเทศทางตะวันตก เด็กๆ จะแต่งกายเป็นภูตผีปีศาจพากันชักชวนเพื่อนฝูงออกไปงานฉลอง มีการประดับประดาแสงไฟ และที่สำคัญคือแกะสลักฟักทองเป็นโคมไฟ เรียกว่า แจ๊ก-โอ'-แลนเทิร์น(jack-o'-lantern)
เดิมฮาโลวีนมีรากฐานมาจากเทศกาลของเซลติคที่ชื่อว่า Samhain และวันศักดิ์สิทธิ์ของชาวคริสเตียนในการระลึกถึงนักบุญออนเซ็นต์ ในวันนี้มีการเฉลิมฉลองทางโลก แต่อีกนัยหนึ่งก็เกี่ยวข้องกับศาสนาด้วย ซึ่งชาวไอริชที่ประสบปัญหาข้าวยากหมากแพงในประเทศของตน ได้อพยพย้ายถิ่นเข้ามาที่ทวีปอเมริกาเหนือช่วงทศวรรษที่ 1840 เป็นผู้นำประเพณีนี้เข้ามาเผยแพร่ 
ความเชื่อของชาวเซ็ลต์ (Celt) เป็นกลุ่มชนพื้นเมืองในประเทศอังกฤษ โดยเชื่อว่าทุกวันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี จะเป็นวันที่ประตูนรก (โดยเชื่อกันว่าจะถูกเปิดขึ้นมาใน 6 โมงเย็น 6 นาที 6 วินาที ซึ่งถึงแม้จะเป็นแค่วินาทีเดียวแต่ประตูนรกจะใหญ่เท่ากับ 1 เมือง) บรรจบกับมิติโลกมนุษย์กันอย่างพอดี ทำให้เหล่าวิญญาณพยายามหาทางเข้าสิงมนุษย์ ซึ่งวิธีการแก้ไขเพื่อป้องกันไม่ให้วิญญาณเข้าสิงคือ "การปลอมตัว" ทำตัวเป็นผีเสียเอง ด้วยการตกแต่งต่างๆ นานาให้ดูน่ากลัวที่สุด  จึงทำให้คนจะต้องหาทางแก้ไขด้วยการปิดไฟในบ้านทุกดวง ให้บ้านมืดมิด ร่วมกับอากาศที่หนาวซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนาของบรรดาผีร้าย อีกทั้งยังมีบางส่วนจะแต่งตัวเป็นผีต่างๆ เพื่อกลบเกลือนวิญญาณว่าไม่ใช่คนเป็นนั้นเอง 

สำหรับประเพณี "ทริกออร์ทรีต" (Trick or Treat แปลว่า หลอกหรือเลี้ยง) นั้น เริ่มขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยชาวยุโรป ซึ่งถือว่า วันที่ 2 พ.ย. เป็นวัน 'All Souls' พวกเขาจะเดินร้องขอ 'ขนมสำหรับวิญญาณ' (soul cake) จากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง โดยเชื่อว่า ยิ่งให้ขนมเค้กมากเท่าไร วิญญาณของญาติผู้บริจาคก็ได้รับผลบุญ ทำให้มีโอกาสขึ้นสวรรค์ได้มากเท่านั้น โดยเทศกาลทริกออร์ทรีต ยังส่งผลบุญให้กับญาติผู้ล่วงลับ และพิธีทางศาสน

ในคริสต์ศาสนา นิกายคาทอลิก Halloweenป็นคำภาษาอังกฤษ เพี้ยนมาจากคำ All Hallows Eves ซึ่งแปลว่า วันก่อนวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย (Hallow + Eve = Halloween) คำว่า Hallow เป็นคำแองโกลแซกซัน แปลว่า ทำให้ศักดิ์สิทธิ์ ตรงกับภาษาเยอรมันว่า heiligen 

ในปัจจุบันนิยมใช้คำมาจากภาษาละตินว่า sanctify คำว่า Hallow ยังมีใช้ในบทสวดอธิษฐานเก่าๆ เช่น Hallowed be thy Name (ขอพระนามจงเป็นที่สักการะ) คำว่า Hallow ยังแปลว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้ศักดิ์สิทธิ์ นักบุญ ดังนั้น All Hallowmas จึงแปลว่า วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย ในปัจจุบันใช้คำว่า All Saints Day คู่กับ Christmas ซึ่งแปลว่า วันสมโภชพระคริสต์หรือคริสต์

สำหรับเราแล้วใน เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ปี ค.ศ.1517 เป็นวันที่สำคัญของชาวคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestant หมายถึง ผู้คัดค้าน) เพราะเป็นวันที่มาร์ติน ลูเธอร์( Martin Luther) ได้คัดค้านคำสอนที่ผิดของพวกโรมันคาธอลิก(Catholic) เกี่ยวกับเรื่องการขายใบยกโทษบาปและการกระทำทางพิธีกรรมที่เป็นอุปสรรคขัดขวางความสัมพันธ์กับพระเจ้า โดยต้องมีผู้กลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าคือ นักบวช และท่านได้ไปติด ข้อคัดค้าน 95 ข้อ (95 Theses)ที่ประตูวิหารเมืองวิตเทนเบิร์ก(Wittenberg)   จึงเป็น "วันแห่งการปฏิรูปของศาสนา"  ทำให้เกิดการกลับสู่หลักข้อเชื่อที่สำคัญ ที่ว่า เราทั้งหลายรอดโดยพระคุณเป็นผู้ชอบธรรมโดยความเชื่อ(Justify by faith) ไม่ใช่เพราะการกระทำผ่านทางพิธีกรรมทางศาสนา   เราสามารถเข้ามาแสวงหาพระเจ้าโดยไม่ต้องผ่านผู้กลาง เพราะพระเยซูคริสต์ทำให้เราแล้วบนไม้กางเขน

เอเฟซัส 2:8-9 
8 ด้วย​ว่า​ซึ่ง​ท่าน​ทั้ง​หลาย​รอด​นั้น​ก็​รอด​โดย​พระ​คุณ​เพราะ​ความ​เชื่อ และ​มิใช่​โดย​ตัว​ท่าน​ทั้ง​หลาย​กระทำ​เอง แต่​พระ​เจ้า​ทรง​ประทาน​ให้​
9 ความ​รอด​นั้น​จะ​เนื่อง​ด้วย​การ​กระทำ​ก็​หา​มิได้ เพื่อ​มิ​ให้​คน​หนึ่ง​คน​ใด​อวด​ได้​

ฮีบรู 4:14 -16
14 เหตุ​ฉะนั้น เมื่อ​เรา​มี​มหา​ปุโรหิต​ผู้​เป็น​ใหญ่​ที่​ผ่าน​ฟ้า​สวรรค์​เข้า​ไป​ถึง​พระ​เจ้า​แล้ว คือ​พระ​เยซู​พระ​บุตร​ของ​พระ​เจ้า ขอ​ให้​เรา​ทั้ง​หลาย​มั่นคง​ใน​พระ​ศาสนา​ของ​เรา​
15 เพราะ​ว่า เรา​มิได้​มี​มหา​ปุโรหิต​ที่​ไม่​สามารถ​จะ​เห็น​ใจ​ใน​ความ​อ่อนแอ​ของ​เรา แต่​ได้​ทรง​ถูก​ทดลอง​ใจ​เหมือน​อย่าง​เรา​ทุก​ประการ ถึง​กระนั้น​พระ​องค์​ก็​ยัง​ปราศจาก​บาป​
16 ฉะนั้น​ขอ​ให้​เรา​ทั้ง​หลาย จง​มี​ใจ​กล้า​เข้า​มาถึง​พระ​ที่​นั่ง​แห่ง​พระ​คุณ เพื่อ​เรา​จะ​ได้รับ​พระ​เมตตา และ​จะ​ได้รับ​พระ​คุณ​ที่​จะ​ช่วย​เรา​ใน​ขณะที่​ต้อง​การ

ผลงานของท่านลูเทอร์นี้ได้สร้างคุณประโยชน์แก่ผู้ที่ไม่รู้หนังสือละตินได้มีโอกาสเข้าใจแก่นแท้ของศาสนาได้ด้วยตนเอง ซึ่งตรงกับจุดประสงค์ของลูเธอร์ที่ต้องการให้บุคคลสามารถ รับผิดชอบในความเชื่อของตน โดยไม่ต้องอาศัยบุคคลที่ 3 เช่น นักบวช กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในศาสนาเป็นเพียงสิ่งเปลือกนอกที่ไม่สำคัญเท่ากับการที่บุคคลนั้นได้เผชิญหน้าต่อพระพักตร์พระเจ้าด้วยตนเอง 

วันนี้ขอป่าวประกาศข้อความจากพระวจนะและขอให้ตะปูที่ตรึงพระเยซูคริสต์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาปเราจะตอกตรึงหัวใจแห่งความเชื่อของคริสตชนไว้อย่างมั่นคง ทำให้มีชัยเหนือผีร้ายวิญญานชั่วตลอดไป  
อาเมน


30 ตุลาคม 2557

คำเผยพระวจนะจาก ดร.ชัค เพียร์ซ : นี่เป็นวันแห่งการแยกและการแยกออกมา

คำเผยพระวจนะจาก ดร.ชัค เพียร์ซ วันที่ 30 ต.ค.2014

นี่เป็นวันแห่งการแยกและการแยกออกมา เราได้ตัดสินใจที่จะแยกเจ้าออกมาเพื่อวางเจ้าบนเส้นทางนั้น เราได้บอกกับเจ้ามาตลอดว่ามีประตูและเส้นทางหนึ่ง แต่เดี๋ยวนี้... ตาของพระเจ้าและหน้าต่างแห่งฟ้าสวรรค์กำลังมาอยู่เหนือเจ้า ตอนนี้เราจะส่องแสงบนทางของเจ้าและเจ้าจะต้องเลือกที่จะก้าวออกมาและยอมมาสู่ที่ๆ เรามีให้แก่เจ้า ที่นี้เรียกว่า "วันนี้" ถ้าเจ้าจะยอมมอบที่ๆ เจ้าอยู่ในวันนี้ เพื่อใน 40 วันเจ้าจะพูดว่า 'ข้าพเจ้าสามารถผ่านถิ่นทุรกันดารออกมาได้' เพราะมีหนทาง! มีประตู! มีหน้าต่าง! และเดี๋ยวนี้ลมจะพัดพาเจ้าให้เคลื่อนไปข้างหน้า!

ในฤดูกาลที่แล้วเราให้เจ้าเลือกว่าเจ้าจะวางเท้าของเจ้าลงด้านไหน ในปีใหม่นี้ ขณะที่ประตูนี้เริ่มเปิดออก ทางที่เจ้าขยับเท้าไปจะเคลื่อนไปเป็นวงจรของเวลา 3 ปี ถ้าเจ้าพลาดประตูของเจ้า อย่าคิดว่าเราไม่สามารถนำเจ้ากลับมาสู่จุดที่มันจะเปิดอีกครั้ง ไม่มีการสายเกินไป! เช่นเดียวกับที่เรานำพวกอิสราเอลจากที่ของพวกเขาเข้าสู่อีกที่หนึ่งและสู่อีกเวลาหนึ่ง เช่นเดียวกับที่ครั้งหนึ่งเรานำการถูกทำลายมาสู่พวกเขา แต่เราก็ยังคงพาพวกเขาเข้าสู่แผ่นดินแห่งพันธสัญญา เพราะพระสัญญาของเรานั้นสัตย์จริง

ใน 3 ปีข้างหน้านี้ เฝ้าระวังเท้าของเจ้าในทุกๆ ทางแยก และจงเลือกการเคลื่อนไหวของเจ้าด้วยความระมัดระวัง จงเลือกประตูต่างๆ ที่เจ้าจะเข้าไปด้วยความระมัดระวัง แต่ถ้าเจ้าพลาดอันหนึ่งอันใด จงอย่ากลัวว่าเราจะหยุดการสำแดงอันต่อไปให้แก่เจ้า แม้เจ้าอาจจะดูเหมือนสับสนงุ่นงง จงอย่ากลัว เพราะเจ้าจะพบกับเรา"

แปลโดย อ.ใหญ่/ ศิริพร สุกัญจนศิริ


Prophetic Word   by  Dr.Chuck Pierce , 30 Oct,2014

“This is a day of separation and setting apart. I have determined to set you apart to set you on the path. I have said to you that there is a door and there is a path. But now… The Eye of God and the Window of Heaven are positioning over you. Now I will shine on your path, and you must choose to step out and submit to the place that I have you. This place is called TODAY. If you will submit where you are TODAY then in 40 days you will say, ‘I made it through that wilderness place.’ There is a path! There is a door! There is a window! And now the wind will blow you forward!”

“In the last season I gave you a choice on what side of the chasm you would put your feet. In this New Year, as this door has begun to open, THE WAY YOU MOVE YOUR FEET, will set in motion a cycle for 3 years. If you have missed your door, do not think that I cannot bring you back to the place of where it will open again. It is not too late! Just as I brought the Israelites from their place into another place and another time, just as I had to bring destruction to them once, I still brought them into the Promised Land. For My Promise holds true.

In this next 3 years, watch your feet at every crossroads and choose carefully how you move. Choose carefully the doors that you walk through. If you miss one, do not be afraid that I will not show you another. Though you seem to be in a maze, do not be afraid, you will find Me.”

https://www.facebook.com/chuck d pierce

28 ตุลาคม 2557

การเริ่มต้นพลิกฟื้นชุมชนในประเทศไทย คำเผยพระวจนะจากดร.ชัค เพียซ(Chuck Pierce)

คำเผยพระวจนะจากดร.ชัค เพียซ(Chuck Pierce) ณ UCC วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม 2010 ช่วงเย็น
(คำสอนในวันอาทิตย์หลังจากสัมมนา Refining Fire for Revival ไฟชำระสู่การฟื้นฟู)

การเริ่มต้นพลิกฟื้นชุมชน อาจเริ่มต้นด้วยความเหนื่อยยาก แต่เมื่อวันเวลาแห่งความสำเร็จมาถึง เราก็จะโห่ร้องด้วยความชื่นบาน ผู้ที่หว่านด้วยน้ำตา ก็จะเก็บเกี่ยวความชื่นบาน

“เราจะรื้อฟื้นแล้วเจ้าจะมีมากมาย เพราะว่าพวกเจ้าได้ยอมมอบให้เมื่อในตอนเริ่มต้น เวลานี้พวกท่านจะเริ่มต้นเก็บเกี่ยว ในที่ซึ่งศัตรูได้กัดกินไป ในครอบครัวของท่าน ในความสูญเสียในธุรกิจของท่าน พระเจ้าตรัสว่า ตอนนี้มันหันกลับแล้ว การทวีคูณการเพิ่มพูนจะลงมาเหนือท่านทั้งหลาย เราบอกกกับเจ้าเราเองจะเอาความอับอายออกจากครอบครัวของเรา เราจะเทวิญญาณของเราลงมาเหนือเจ้าในวิถีใหม่ บุตรชายบุตรหญิงของเจ้าจะเริ่มเผยพระวจนะ คนแก่จะเริ่มฝันเห็น นิมิตใหม่ ๆ จะมายังคนอายุน้อย เราจะเริ่มต้นเทพระวิญญาณของเราลงมา และความโปรดปราน และชีวิตของเจ้าจะเพิ่มพูน” หากคนที่อยู่ข้าง ๆ คุณ อยากจะถวายแต่เขาไม่มีเลย ก็ให้คุณแบ่งให้เอาบ้าง เพื่อที่เขาจะได้เริ่มต้นการทวีคูณ

เศคาริยาห์ 12.10 “และ เราจะเทวิญญาณแห่งพระคุณและการวิงวอน บนพวกเจ้า”

โชฟาร์เป็นเครื่องดนตรีจากสวรรค์ เมื่อมีการเป่าเขาสัตว์ ฟ้าสวรรค์ และแผ่นดินโลกเป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อเรายกของถวายของเราขึ้น ให้เราร้องตะโกนว่า “รื้อฟื้น” ปีนี้พวกเจ้ากำลังก้าวข้ามไปสู่ใน การเคลื่อนไหวครั้งใหม่ของแผ่นดิน และการเคลื่อนไหวครั้งใหม่นั้นได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว เราได้นำให้ผู้นำคนใหม่ขึ้นมาแล้ว เริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม เจ้าจะเข้าสู่หน้าต่างหกปี ซึ่งจะเป็นการเคลื่อนไหวครั้งยิ่งใหญ่ของพระวิญญาณของเรา พระอื่น ๆ ที่เคยครอบครองประเทศนี้จะสูญเสียอำนาจของมัน ราชอาณาจักรไทยจะเริ่มต้นที่จะเปลี่ยนแปลง เพราะว่าเจ้าทั้งหลายได้เรียนรู้ที่จะนมัสการ
ภายใน 6 ปีนั้น ราชอาณาจักรไทยนี้จะเปลี่ยนแปลง ในที่ซึ่งประเทศนี้เคยเป็นที่รู้จักในชื่อหนึ่ง จะกลายมีชื่อใหม่ อาณาจักรของพระเจ้าจะขึ้นมาแทน จะผงาดขึ้นมา และมีการปกครองโดยพระวิญญาณของเรา
ดังนั้น ในที่ซึ่งกระจัดกระจาย การรื้อฟื้นได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ..
ข้อสรุปแนวทางปฏิบัติ

1. บรรดาผู้นำต้องพบปะกัน ผู้นำต้องก้าวเข้าไปสู่สิ่งใหม่ ผู้นำต้องเต็มใจที่จะมาเข้าแถว (Alignment) พวกคุณต้องมารวมตัวกันเหมือนสภาบนสวรรค์มีแล้ว พวกเราก็ต้องมีด้วยเหมือนกัน มาอธิษฐานและเสาะแสวงหาหน้าพระเจ้าด้วยกัน พวกเขาต้องเริ่มวางยุทธศาสตร์เพื่อให้กองทัพนั้นมีระเบียบและใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เรียกกองทัพจากที่ที่ไกลที่สุดในตอนเหนือ ใต้สุด ภายใน 6 ปีข้างหน้านี้คุณจะเพิ่มขึ้นอย่างมากมายจริง ๆ อัครทูต ผู้เผยพระวจนะ ผู้ประกาศ ศิษยาภิบาล ครูและอาจารย์

2. พวกคุณจะต้องมีการนมัสการตลอดทั่วทั้งแผ่นดินนี้ มีการประชุมเพื่อการนมัสการทั่วแผ่นดินนี้ ผู้นำจะมานมัสการร่วมกัน เดือนละครั้ง พระเจ้าเองจะเป็นผู้ให้ยุทธศาสตร์

3. พวกคุณจะต้องมีการรวมตัวระดับประเทศปีละ 3 ครั้งเพื่อเฉลิมฉลองสิ่งที่พระ เจ้าได้ทรงกระทำ คุณจะเริ่มเห็นประเทศเปลี่ยน คุณจะเคลื่อนจากการเพิ่มพูนไปสู่การเพิ่มพูน จนกระทั่งคนทั้งโลกนี้ได้รู้ว่าพระวิญญาณของพระเจ้าได้มาเหนือประเทศไทยแล้ว

ตอนนี้เหยียบคันเร่ง เกิดแรงเหวี่ยงออกไป และเฉลิมฉลอง จนกว่าฟ้าสวรรค์จะเป็นจริงสัมผัสได้บนแผ่นดินนี้

นมัสการเต็มล้นในพระสิริ ตอนที่ 1

เริ่มไปแล้วสำหรับการอธิษฐานและนมัสการในงาน 40 ในพระสิริ เริ่มต้นที่จังหวัดนครราชสีมา ในวันเสาร์ที่ 25 ต.ค. 2014 ที่ผ่านมา หลังจากนี้ไปจะไปที่ภาคเหนือคือที่จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 5 พ.ย.-14 พ.ย. ต่อด้วยภาคใต้ที่จังหวัดภูเก็ต ในวันที่ 16-25 พ.ย. และปิดท้ายที่กรุงเทพฯในวันที่ 26-5 ธ.ค.2014
เชื่อว่านี่จะเป็นวาระเวลาแห่งการรื้อฟื้นประเทศไทย ให้เกิดการปฏิรูปครั้งใหญ่ในฝ่ายวิญญาณ จนประเทศไทยจะได้ชื่อเป็นที่รู้จักว่า แผ่นดินแห่งการนมัสการ ตามคำเผยพระวจนะผ่านทางผู้รับใช้ของพระเจ้าคือ ดร.ชัค เพียร์ส  เมื่อวันที่ 16 ต.ค.ปี 2010 และมีการนมัสการ 40 วัน และสิ่งเหล่านี้ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว 
(สามารถเข้าไปอ่านสรุปความ คำเผยพระวจนะสำหรับประเทศไทย ได้ตาม link นี้ครับ)

ผมได้เดินทางไปร่วมงานที่จังหวัดนครราชสีมา และจะนำสิ่งที่ได้รับมาแบ่งปันต่อในครั้งต่อไป ครั้งนี้ขอนำสรุปความจากหนังสือ จุมพิตพระพักตร์  ของ แซม ฮินน์ ที่เกี่ยวกับการนมัสการมาแบ่งปันเพื่อเป็นการเตรียมชีวิตเข้าสู่ นมัสการเต็มล้นในพระสิริ ร่วมกันดังนี้ครับ 

พระเจ้าทรงแสวงหาคนเหล่านั้นที่ไม่เพียงรักพระองค์ แต่หลงรักพระองค์  ในพระคัมภีร์เดิมคำภาษาฮีบรูสำหรับการนมัสการ คือ "ชาช่า" shachah שָׁחָה ซึ่งมีความหมายว่า “หมอบลงต่ำ, หมอบกราบลงด้วยความจงรักภักดีต่อราชวงศ์กษัตริย์หรือต่อพระเจ้า” 

ส่วนในพระคัมภีร์ใหม่ คำว่า “นมัสการ” เป็นคำศัพท์ภาษากรีก  คือคำว่า "พอส คูเนโอ" 
proskuneo προσκυνέω  ซึ่งมีความหมายว่า “จูบหรือเหมือนอย่างสุนัขที่เลียมือนายของมัน”

รูปแบบของกรีกคือ คุกเข่าแทบเท้าผู้หนึ่ง และโน้มตัวไปซบข้างหน้าเพื่อแสดงถึงการเทิดทูนบูชา การนมัสการแบบพระคัมภีร์เดิมคือคุกกราบด้วยความรักเทิดทูน ส่วนการนมัสการแบบพระคัมภีร์ใหม่ก็จะมีการจุมพิตเพิ่มเข้าไปด้วย

การนมัสการเป็นการหันเหชีวิตจากการไขว่คว้าและความกังวลของโลกไปที่พระเจ้า เป็นชีวิตที่เอ่อล้นด้วยความรักอันเร่าร้อนต่อพระเจ้า เป็นชีวิตที่เฝ้าจุมพิตพระพักตร์พระเจ้าเรื่อยไป 

พระเจ้าไม่ต้องการให้เราแค่จัดเวลานมัสการเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แต่ทรงปรารถนาให้ทั้งชีวิตของเราเป็นการนมัสการแด่พระองค์ อย่างไรก็ตามศัตรูก็พยายามวางกับดักเพื่อจะลักเอาการนมัสการพระเจ้าไปจาก ชีวิตเรา ซึ่งอาจเป็นกับดักของความเย่อหยิ่ง (สภษ.16:18; อสย.14:12-14) กับดักของธรรมเนียมปฏิบัติ (มก.7:13) 

กล่าวคือมนุษย์ใช้หลักการที่สร้างขึ้นเพื่อสอนให้ผู้คนเข้าหา   พระเจ้าในแบบศาสนา ซึ่งโดยมากแล้วเป็นแค่การนมัสการพระเจ้าที่ปาก แต่จิตใจยังห่างไกลจากพระเจ้า 
การนมัสการไม่ใช่การทำตามธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมาในคริสตจักร แต่การนมัสการผุดขึ้นจากหัวใจที่ได้รับการทรงนำจากพระวิญญาณ 

การนมัสการที่แท้จริงจะไหลออกจากมือที่สะอาดและใจที่บริสุทธิ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือผู้ที่ตกอยู่ในกับดักของธรรมเนียมปฏิบัติ ก็จะตกอยู่ในกับดักของการตัดสินผู้อื่น และกับดักของวิญญาณแห่งการวิพากษ์วิจารณ์ด้วย เพราะคนที่ยึดติดกับธรรมเนียมปฏิบัติจะไวในการตัดสินและกล่าวโทษพวกที่ถือ ธรรมเนียมปฏิบัติอย่างอื่น ตราบใดที่เรายังพูดถึงความอ่อนแอของผู้อื่น เราก็ไม่มีเวลาที่จะเปิดให้พระเจ้าทรงชำระเราจากความอ่อนแอของเรา และนั่นจะฉุดรั้งเราไม่ให้เข้าสู่การนมัสการ กับดักอย่างอื่นที่ศัตรูอาจใช้ล่อลวงเราได้อีก คือกับดักของการไม่ให้อภัย กับดักของการนินทา กับดักของวิญญาณศาสนา ผู้นมัสการที่แท้จะแสวงหาความสัมพันธ์กับพระเจ้า ไม่ใช่ระบบศาสนาที่อ้างว่ารู้เรื่องพระเจ้า  

รวมทั้งกับดักของการบ่น ซึ่งมักจะทำให้เราจดจ่ออยู่ที่ปัญหาหรือบุคคลอื่น แทนที่จะจดจ่ออยู่ที่พระเยซู 

โปรดติดตามตอนต่อไป...

21 ตุลาคม 2557

สรุปความ คำเผยพระวจนะสำหรับประเทศไทย

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน ผมขอนำ สรุปความ...คำเผยพระวจนะของดร.ชัค เพียร์ซที่เผยพระวจนะสำหรับประเทศไทย มาอ่านทบทวนกันอีกครั้ง และอธิษฐานป่าวประกาศตามคำเผยพระวจนะ

เพื่อเตรียมชีวิตของเราในงาน 40 วันแห่งพระสิริ ที่จะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 25 ต.ค.-5 ธ.ค. 2014 นี้ 

ขอพระเจ้าอวยพรประเทศไทย ให้เกิดการรื้อฟื้นและการปฏิรูปใหม่ เพื่อ…โลกนี้จะรู้จักประเทศไทยว่า “เป็นแผ่นดินแห่งการนมัสการ”  



เมื่อวัน ที่ 24 สิงหาคม 2008 ดร.ชัค เพียร์ซ ได้เผยวจนะถึงประเทศไทยที่คริสตจักรใจสมานมีข้อความบางตอนว่า

…“จงเตรียมตัว ให้พร้อม” เพราะเจ้าจะเป็นผู้เปิดประตูนำไปสู่การนมัสการนมัสการ และนมัสการ

และ วันที่ 16 ตุลาคม 2010 มีข้อความบางตอนว่า  …โลกนี้จะรู้จักประเทศไทยว่า “เป็นแผ่นดินแห่งการนมัสการ”  

 ในช่วงวันที่ 4-6 สิงหาคม 2011 ในการสัมมนา “นมัสการในมิติสวรรค์”

วันที่ 4 ส.ค.11 (ในช่วงเวลานมัสการ) 

“เราเองเป็นผู้เรียกเวลานี้และการประชุมนี้ เราได้เลือกประเทศไทยให้แบกหีบของเราเข้ามา 

การผลักดันกำลังจะเกิดขึ้นในแผ่นดินไทย เราได้กู้และป้องกันประเทศนี้ไว้สำหรับการผงาดขึ้นของเรา”
“เราจะลุกขึ้นเดี๋ยวนี้ แผ่นดินนี้จะเห็นเรา พวกเจ้าจะเห็นคนเป็นหมื่นมาหาเราภายในวันเดียว”…
“ที่ประชุมของพระเจ้ากำลังจะเปิดออก และพระนิเวศน์ของพระเจ้าจะเป็นที่ลี้ภัยสำหรับทุกคนในสามวันเราจะเริ่มชำระประเทศนี้ เราจะเริ่มก้าวเข้าสู่มิติแห่งพระสิริของเรา ซึ่งพวกเจ้าไม่เคยเห็นมาก่อนเลย”

(ในช่วงเทศนา)

การรวมตัวของท่านทั้งหลายเป็นเหตุให้ประเทศนี้ก้าวไปข้างหน้า “ประเทศนี้จะเป็นประเทศที่นมัสการ” ประเทศทุกประเทศจะต้องเลือกว่าจะนมัสการพระเจ้าของอิสราเอลหรือไม่ และผมเชื่อว่าประเทศไทยได้เลือกแล้วที่จะติดต่อกับประเทศอิสราเอลและนมัสการพระเจ้าของอิสราเอลแล้ว ผมต้องการให้คุณคาดหวังว่าพระเจ้าจะสัมผัสคุณ ผมต้องการที่จะให้พวกคุณคาดหวังว่าพระเจ้าจะจัดการกับพวกคุณเป็นการส่วนตัว 

“เมื่อคุณมีสัมพันธ์สนิทกับพระเจ้า พระองค์ตอบคำอธิษฐานและความต้องการของคุณ ก่อนที่คุณจะเอ่ยปากขอเสียอีก  พระเจ้าเป็นผู้ทำสิ่งที่พระองค์ได้พูดกับคุณแล้วว่าพระองค์จะทำ พระองค์เตรียมผู้เป็นต้นแบบ (Prototype) ของการนมัสการ อันแรกของสิ่งต่าง ๆ อีกมาก สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนในอดีต เพื่อคนสามรุ่นอายุต่อจากนี้จะเคลื่อนต่อไป ในช่วงสามปีที่ผ่านมาพวกคุณได้ก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง แต่พระเจ้ามักจะส่งใครบางคนเข้ามาเพื่อที่คุณจะทำสิ่งที่พระเจ้าได้กำหนดไว้ให้พวกคุณทำให้สำเร็จ เรากำลังก้าวเข้าสู่รูปแบบของอาณาจักรใหม่ของพระเจ้าสำหรับอนาคต” …

เมื่อพระเจ้าเริ่มสร้างโลกและมนุษย์นั้น พระเจ้าได้เอาความสับสนวุ่นวายออกไป พระองค์เอาดินที่พระองค์ได้เอาความสับสนวุ่นวายออกไปแล้วมาสร้างเป็นพวกเรา  และพระองค์ได้ทำสิ่งที่พระองค์ไม่ได้ทำต่อบรรดาสัตว์ชนิดไหน นั่นก็คือ พระองค์ได้ระบายลมปราณของพระองค์เข้าสู่ดินนั้น ทำให้มนุษย์เป็นผู้มีชีวิตขึ้นมา ลมปราณนั้นคือชีวิตของพระเจ้านั่นเอง จากนั้นพระเจ้าก็ปลูกสวนแห่งหนึ่ง แล้วพระเจ้าก็วางมนุษย์ไว้ในสวนนั้น “พระเยโฮวาห์พระเจ้าจึงทรงนำมนุษย์ไปอยู่ในสวนเอเดนให้ดูแลและรักษาสวน” (ปฐมกาล 2.15) การดูแลรักษาสวนนั้นจะเป็นการนมัสการของมนุษย์ แต่มนุษยได้เลือกที่จะฟังสิ่งที่อยู่ในสวนนั้น นอกเหนือจากพระเจ้า ไม่เพียงแต่บรรยากาศของมนุษย์เปลี่ยนไปเท่านั้น แต่บรรยากาศของสวนนั้นก็เปลี่ยนไปด้วย 

พระเจ้าพาเรากลับไปสู่การมีความสัมพันธ์กับพระองค์ที่สอดคล้องกับการนมัสการที่พระองค์ต้องการ “จงกลับสู่ที่ใหม่แห่งการนมัสการ” ถ้าเจ้าทำสิ่งนี้ เราจะทำให้ประเทศนี้กลับมาสู่เรา เราจะรื้อฟื้นสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตของเจ้าให้กลับคืนมา เราจะทำให้ประชากรแห่งอาณาจักรของเราเกิดขึ้นในประเทศนี้ ถ้าเขานมัสการเรา เขาเองจะเป็นผู้ดูแลรักษาประเทศนี้ เพราะว่าเป็นแผนการของเราที่จะให้คนนมัสการเราจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่ง ถ้าเจ้านมัสการเราในวันนี้ เราจะรื้อฟื้นครอบครัวของเจ้า เราจะรื้อฟื้นธุรกิจของพวกเจ้า  

ให้เสียงแห่งชัยชนะดังสนั่นลั่นออกมา ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะร้องเพลงบทใหม่

เมื่อคุณนมัสการ พระเจ้าซ่อมยุ้งฉางให้กับคุณเพื่อที่คุณจะประสบความสำเร็จ เมื่อคุณนมัสการ พระเจ้าจะสำแดงให้คุณเห็นว่าพระเจ้าปลูกคุณไว้ที่ไหนเพื่อที่คุณจะมั่งคั่งและรุ่งเรือง

พระเจ้าพร้อมแล้วที่คริสตจักรและรัฐบาลของไทยที่จะเปลี่ยนแปลง พระองค์พร้อมแล้วที่รัฐบาลไทยจะเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อคุณนมัสการและอธิษฐาน คุณก็ได้ส่งเสียงของสวรรค์ และที่สูงที่วิญญาณชั่วยึดไว้นั้นก็ถล่มลงมา สิ่งที่ถูกปิดเอาไว้ก็ถูกเปิดออก การเจิมก็ลงมาแล้วคุณก็รู้ถึงน้ำพระทัยของพระองค์ ทันใดนั้นคุณก็รู้ว่าจะขอพระองค์ว่าอย่างไร และบทเพลงใหม่ก็ถูกปลดปล่อยออกมา และเมื่อบทเพลงใหม่ปลดปล่อยออกมาวงจรเก่า ๆ ก็ถูกทำลายไป  

พระเจ้ากำลังรื้อฟื้นเราให้กลับมาสู่พระองค์ 

“จงเตรียมตัวให้พร้อม” เพราะเจ้าจะเป็นผู้เปิดประตูนำไปสู่การนมัสการ นมัสการ และนมัสการ …โลกนี้จะรู้จักประเทศไทยว่า “เป็นแผ่นดินแห่งการนมัสการ”


15 ตุลาคม 2557

ปี 5775 ปีแห่งพายุหมุน

ปี 5775 ปีแห่งพายุหมุน อ้าแขนรับเสียงลมหมุนแห่งสวรรค์!
( Embracing the Sound of the Whirlwind of Heaven!)


ในช่วงปีใหม่ของแต่ละปี  เป็นสิ่งที่ดีหากเราเริ่มต้นทุกปีด้วยการฟังสิ่งที่พระเจ้าพูดเกี่ยวกับปีนั้น
(วว.2:7 ,2 พศด.20:20)   เราต้องการที่จะรับการสำแดงเชิงเผยพระวจนะเกี่ยวกับปีใหม่นี้!  หนึ่งในหลายวิธีที่พระเจ้าพูดเชิงเผยพระวจนะคือ พูดผ่านปฏิทินของพระองค์   

ดังนั้น ถ้าเราต้องการเห็นสิ่ง ที่พระเจ้ากำลังทำ เราจำเป็นต้องดูที่ปฏิทินของพระเจ้า!     ในปฏิทินฮีบรู แต่ละปีใช้สัญลักษณ์แทนด้วยชุดตัวอักษรฮีบรู  คนยิวเชื่อว่าตัวอักษรของ พยัญชนะฮีบรูเป็นส่วนหนึ่งของการสำแดงเชิงเผยพระวจนะของพระเจ้า!
      
 คำในภาษาฮีบรูเดิมนั้นสร้างจากการรวมเอาความหมายของตัวอักษรแต่ละตัว ตอนนี้เรากำลังเริ่มต้นปี
ใหม่พวกเรากำลังเข้าสู่ปีฮีบรู 5775   หมายความว่าอย่างไร?
         
5700 = “ขอให้เป็นปีแห่ง...”   70 = อักษรฮีบรู “อัยยิน”  5 = อักษรฮีบรู “เฮ้”  5775: ปีของอัย
ยิน เฮ้
      
สิ่งแรกคือ... มันเป็นปีแห่งอัยยิน  อัยยินเป็นตัวแทนของฤดูกาลเชิงเผยพระวจนะที่เราอยู่
       
อักษร “อัยยิน” แต่เดิมนั้นเป็นภาพของ”ดวงตา”  ในฤดูกาลอัยยิน พระเจ้าต้องการเพิ่มความสามารถของเราในการเห็น!   พระองค์กำลังบอกว่า  ดูใหม่อีกครั้ง!   เราคิดว่าเราเห็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นแล้ว แต่ให้มองใหม่อีกครั้งและเราจะเห็นชัดเจนขึ้นอีก!  

พระองค์ต้องการให้ภาพที่ชัดเจนแก่เรา เพื่อจะเห็นสิ่งที่เราไม่สามารถเห็นมาก่อน  พระเจ้าต้องการให้เราเห็นไปไกลเกินกว่าปีนี้ เพื่อจะเห็นในมิติที่เรายังไม่เคยเห็นมาก่อน
        
“ดวงตา” สามารถเป็นเครื่องหมายของความชั่วร้าย   ปีอัยยินจะเป็นฤดูกาลของสงครามที่รุนแรง
ที่สุดเท่าที่เราเคยรู้จักมา   แต่  “ดวงตา”  ก็สามารถเป็นภาพของพระเจ้าได้ด้วย(2พศด.16:9)  

พระเจ้ากำลังมองหาผู้ที่อุทิศตัวเองต่อพระองค์เพื่อจะสามารถสำแดงฤทธานุภาพของพระองค์ต่อคน
เหล่านั้น!  
       
ในระบบตัวเลขของฮีบรู อัยยินคือหมายเลข 70 เป็นตัวเลขที่สำคัญ เป็นตัวเลขของการทำให้มีอำนาจ 
และการปลดปล่อย! (กดว.11,ลก.10) นี่เป็นปีที่จะรับฤทธิ์อำนาจของพระวิญญาณและรุกหน้าไปในความ
เชื่อเพื่อจะเห็นหมายสำคัญและการอัศจรรย์
       
อีกตัวอักษรหนึ่งสำหรับปีนี้คือ เฮ้  ถ้าเรามองดูสิ่งที่ขัดเป็นตารางบนหน้าต่าง มันทำจากตัวอักษรเฮ้ตัว
เล็กๆ จำนวนมากภาพของหน้าต่าง   ในโลกสมัยโบราณ หน้าต่างไม่มีกระจก พวกเขามีไม้ที่ขัดเป็น
ตารางเพื่อให้อากาศเข้ามาแต่กันไม่ให้สัตว์ต่างๆ เข้ามาได้

ความหมายของ “เฮ้” คือ  เสียงลมที่พัดผ่านช่องตารางบนหน้าต่าง นอกจากนี้ยังหมายถึง ลม 
เสียง

คำ ลมหายใจ พระวิญญาณ และการสำแดง  การ สรรเสริญเสียงดังอย่างรุนแรง! “ฮาเลล!” (ฮาเลลูยา)
       
ดังนั้น ปีนี้เป็นปีแห่งอักษรเฮ้ เป็นปีแห่งลม เสียง ถ้อยคำ ลมหายใจ พระวิญญาณ และการ
สำแดง
        
สดุดี 91  กล่าวถึง  การดำเนินชีวิตในตาแห่งพายุ        ท่านจะไม่กลัวความสยดสยองในกลาง
คืนหรือกลัวลูกธนูที่ปลิวไปในกลางวัน   หรือโรคภัยที่ไล่มาในความมืด หรือโรคซึ่งทำลายใน
เที่ยงวัน เพราะท่านได้กระทำให้พระเจ้าผู้เป็นที่ลี้ภัยของข้าพเจ้า คือองค์ผู้สูงสุด เป็นที่อยู่
ของท่านไม่มีการร้ายใดๆ จะตกมาบนท่าน ไม่มีภัยมาใกล้เต็นท์ของท่าน

       
มันไม่สำคัญว่าอะไรคือสิ่งที่กำลังหมุนไปรอบๆ เราในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็น ความหายนะ โรคภัยไข้เจ็บ ความ
น่ากลัว อันตราย  สงคราม ภัยพิบัติ  ศัตรู  การกดขี่ หรือ  การทำลายล้าง         
แต่พระเจ้าตรัสว่า “จงมาใกล้เรา และยึดฉวยพระสัญญาทั้งหลายของเราเอาไว้ เรามีที่แห่งการ
ปกป้องคุ้มภัยสำหรับเจ้าที่จุดศูนย์กลางของพายุ    จงเข้าสู่ที่แห่งการปกป้องคุ้มภัยของพระเจ้าในปีนี้  

พระธรรมสดุดี 91 บอกถึงการปกป้องที่ไม่ได้  ให้แก่ใครก็ได้ แต่มอบให้แก่คนทั้งหลายที่... รักพระเจ้า  
วางใจในพระองค์  ลี้ภัยในพระองค์  เข้ามาใกล้พระองค์ และรู้จักพระองค์อย่างใกล้ชิดสนิทสนม ดังนั้น 
จงมาใกล้พระเจ้าในปีนี้และให้พระองค์เป็นที่ลี้ภัยของเรา นี่เป็นปีที่สำคัญที่จะยึดฉวยพระสัญญาต่างๆ 
ของพระเจ้าเอาไว้      
       
        
คำเผยพระวจนะของ ดร.ชัค เพียร์ส สำหรับปี 5775 นั่นคือ 

     “เรามีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาที่โกลาหลเมื่อลม แห่งการเปลี่ยนแปลงก่อตัวขึ้น  ในฐานะคนของ
พระเจ้า เราต้องตระหนักการเปลี่ยนแปลงในฤดูกาลต่างๆ และเรียนรู้ว่าพระเจ้ากำลังปรับ
เปลี่ยนทางเดินของเราอย่างไร  

ในปีฮีบรูที่ 5775 เสียงแห่งสวรรค์จะซึมซาบในที่ใหม่ของคุณ     ปีข้างหน้าดูเหมือนกับลม
หมุน เป็นลมพายุที่จะปลดปล่อยเมล็ดต่างๆ เพื่อจะหว่านสำหรับ  อนาคตของคุณ ประตูต่างๆ 
ของยุ้งฉางที่กักเมล็ดพันธุ์ทั้งหลายสำหรับอนาคตของเรา จะถูกพัดให้เปิดออก    จงโอบรับเอา
เสียงแห่งลมพายุ จากสวรรค์ และปลดปล่อยเมล็ดพันธุ์ต่างๆ สำหรับอนาคตของเรา!"

(สรุปจากคำสอนปี 5775 ปีแห่งพายุหมุน อ้าแขนรับเสียงลมหมุนแห่งสวรรค์!” โดย อ.นิมิต พานิช คริสตจักรแห่งพระบัญชา )

http://uccfellowship.com/

04 ตุลาคม 2557

“เทศกาลอยู่เพิง” : ติดตามการทรงสถิต ชีวิตในเพิงพระสิริ

“เทศกาลอยู่เพิง” เป็นเทศกาลสุดท้ายของฤดูกาลการเก็บเกี่ยวซึ่งอยู่ในเดือนทิชรี(Tisthrei)   ถัดจากเทศกาลแห่งเสียงแตรเขาสัตว์ (Rosh Hashanah)และเทศกาลวันลบมนทิลบาป (Yom Kippur)  ตามพระธรรมเลวีนิติ  บทที่23:39-44   

เทศกาลนี้จะเริ่มขึ้น 5 วันหลังจาก เทศกาลวันลบมนทิลบาป (Yom Kippur) ในวันที่ 15 เดือนทิชรี  มีการฉลองเทศกาลอยู่เพิงกัน 7 วัน จนถึงวันที่ 22 เดือนทิชรี (ปี 2014 ตรงกับช่วงเย็นวันที่ 8-15 ..) บวกกับ 1 วัน รวมเป็น 8 วัน ในวันที่ 8 (16 ..) เรียกว่า  “ชิมหัต  โทราห์” (Simchat Torah) หมายถึง “ชื่นชมยินดีในโทราห์”  ตามธรรมเนียมคนยิวจะออกมาเต้นรำและถือหนังสือม้วนโทราห์ อ่านข้อความจากหนังสือเบญจบรรณ(Pentateuch) ตั้งแต่ปฐมกาลข้อแรก และข้อสุดท้ายของเฉลยธรรมบัญญัติ  เพื่อแสดงว่า “พระวจนะของพระเจ้าไม่มีวันสิ้นสุด” 

        คำว่า “อยู่เพิง”  ในภาษาฮีบรู คือ คำว่า  “สุคคท”(Sukkot) เป็นคำพหูพจน์  (คำเอกพจน์คือ สุคะห์ (sukkah) ซึ่งหมายถึง เพิงพักหรือที่พักอาศัยชั่วคราว (booth)   ถูกกล่าวครั้งแรกใน ตอนที่ยาโคบ(อิสราเอล) สร้างที่อาศัยชั่วคราวเพื่อพักแรม(ปฐก. 33:17)  ในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า “tabernacles” เนื่องจากยืมมาจากภาษาละติน คือ คำว่า   tabernāculum”  หมายถึง เต็นท์ (Tent) 
        ในเทศกาลอยู่เพิงจะมี พิธีหลั่งน้ำเพื่อครัวเรือน (House of Water Pouring Ceremony)  (ยน 7:37-39 )  ในวันสุดท้ายของงานเทศกาลซึ่งเป็นวันใหญ่นั้นปุโรหิตจะนำเอาน้ำจากสระสิโลอัม มาเทบนแท่นบูชา  พระเยซูทรงประกาศว่า  "ถ้าผู้ใดกระหาย ผู้นั้นจงมาหาเราและดื่ม   ผู้ที่เชื่อในเรา ตามที่พระคัมภีร์ได้กล่าวไว้แล้วว่า `แม่น้ำที่มีน้ำประกอบด้วยชีวิตจะไหลออกมาจากภายในผู้นั้น'    ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญสำหรับผู้เชื่อในพระเยซูเป็นน้ำแห่งชีวิต และเล็งถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่จะเสด็จมาประทับอยู่ในผู้เชื่อในภายหลังและสำเร็จในพระธรรมกจ.บทที่ 2  

คนยิวในปัจจุบันฉลองเทศกาลอยู่เพิงนี้อย่างไร

         ครอบครัวชาวยิวจะสร้างและตกแต่งเพิงในสวนหรือบริเวณบ้าน และรับประทานอาหารร่วมกันเป็นครอบครัว  คุณพ่อจะอ่านโทราห์ให้ลูกๆฟังและชี้ให้ดูดวงดาวในท้องฟ้ายามค่ำคืน เพื่อระลึกถึงพันธสัญญาอับราฮัม(ปฐก.15)     เทศกาลนี้เป็นการเตือนใจชาวยิวถึงการปกป้องของพระเจ้า ในช่วงที่บรรพบุรุษของเขาต้องเร่ร่อนในถิ่นทุรกันดารในช่วงอพยพออกจากอียิปต์  เทศกาลนี้จึงเล็งถึงพระสิริของพระเจ้าที่อยู่กับพวกเขาทุกหนทุกแห่ง ดั่งเสาเมฆแห่งพระสิริที่นำหน้าพวกเขา

ติดตามการทรงสถิต ชีวิตในเพิงพระสิริ

          “เพิง หรือ“เต็นท์” เป็นที่พักชั่วคราวของผู้ที่เดินทางเร่ร่อนในทะเลทราย  คนอิสราเอลใช้เป็นที่อยู่อาศัยในการเดินทางในถิ่นทุรกันดาร ก่อนที่จะเข้าสู่แผ่นดินคานาอัน  ชีวิตของพวกเขาติดตามพระเจ้าไปทุกหนแห่งที่พระองค์ทรงนำ
          “เพิง หรือ“เต็นท์” เป็นภาพเงาเล็งถึงที่อยู่อาศัยของผู้เชื่อที่อยู่ชั่งคราวในแผ่นดินโลกนี้ บ้านที่แท้จริงคือแผ่นดินสวรรค์(ฟป.3:20)

          “ฮีบรู” เป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงตั้งไว้เพื่อที่จะอวยพระพรและนำพระพรไปสู่ประชาชาติดังที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้กับอับบราฮัม(ปฐก.12:2-3)      อับราฮัมเป็นคนแรกที่พระเจ้าทรงเรียกมาเพื่อรับพระพร เขาถูกเรียกโดยพระเจ้าว่าเป็นชาวฮีบรูคำว่า "ฮีบรู" (Hebrew) หมายถึง การก้าวข้าม (crossover) ที่เป็นอย่างนั้นเพราะท่านได้รับการทรงเรียกให้ออกจากเมืองไปสู่สถานที่แห่งพระพร(ปฐก.14:13)  คำนี้มีความหมายคือ “คนแปลกถิ่น”(Alien) ที่เที่ยวไปบนอยู่โลก (ฮบ.11:13)    
           
พระเจ้ามักจะเรียกร้องคนของพระองค์ให้ตัดสินใจก้าวข้ามอุปสรรค ด่านทดสอบความเชื่อ และเมื่อผ่านไปแล้ว นั่นหมายถึง พระพรที่จะได้รับจากพระเจ้า

            ดังนั้น  โลกใบนี้จึงเปรียบเสมือน “เพิง” เป็นสถานที่พักชั่วคราวที่เราต้องเคลื่อนไปตามการทรงนำของพระเจ้า  จนกว่าจะไปพำนักในเพิงแห่งพลับพลาบนสวรรค์ สถานที่พักชั่วนิรันดร์(วว.21:3)
            ทุกเทศกาลจึงเป็นเวลาการนัดหมายของพระเจ้า(Divine Appointment) มาพบกับพระองค์ที่เต็นท์นัดพบ เพื่อฟังเสียงและก้าวตามแผนการของพระเจ้า เมื่อมีเสียงแตร(เล็งถึงเทศกาล Rosh Hashanah) ดังเป็นสัญญาณเรียก “จงฟังและหันกลับสู่ทางพระเจ้า”  เพื่อรับการชำระตนเองจากมลทิน(เล็งถึงเทศกาลYom Kippur)  เพื่อเข้าอยู่ในการทรงสถิตของพระเจ้าในเพิงพระสิริ (ลนต.23:24,กดว.10:2)   สิ่งสำคัญคือ เราต้องเคลื่อนตามเสียงของพระเจ้าในการนำเรา จนกว่าเสียงแตรสุดท้ายในวาระสุดท้ายและเราจะได้เข้าสู่การพำนักในที่ถาวรคือสวรรค์ (1 ธส.4:16-17) 
       
          ปี 5775  เป็นปีแห่งการพักสงบ(Sabbatical Year) จะเป็นปีที่เราจะมีการพักสงบในเต็นท์นัดพบ  แม้สถานการณ์ในโลกนี้จะเป็นดั่งลมพายุถาถมเข้ามาในชีวิต แต่เราสามารถนิ่งสงบในการทรงสถิตของพระเจ้าได้และมองจากหน้าต่างเฝ้าดูถึงสิ่งที่พระเจ้าจะกระทำ  เมื่อยามรบอยู่ในสงครามฝ่ายวิญญาณเราจะเป็น "นักรบที่ห้าวหาญ" แต่ในยามพักสงบ เราต้องเป็น "นักรักที่หวานซึ้ง" ในความรักของพระเจ้า

เราเฉลิมฉลองเทศกาลอยู่เพิงอย่างไร

จัดเตรียมบ้านของเราให้เป็นเพิงที่ประทับของพระเจ้า  และฉลองเทศกาลนี้ด้วยกันเป็นชุมชน    เพราะเทศกาลอยู่เพิงเป็นช่วงเวลาสำคัญในชีวิตของเรานั่นคือ

  1. เวลาแห่งการพักสงบในเพิงพระสิริ พระเจ้าจะทรงอยู่ด้วยกับประชากรของพระองค์  

  2. เวลาแห่งความเพลิดเพลินในการอ่านพระธรรมของพระเจ้า(Torah) เป็นทิศทางของชีวิต   

  3. เวลาแห่งความชื่นชมยินดีในการถวาย  เพราะช่วงเทศกาลอยู่เพิงเป็นการสิ้นสุดฤดูกาลเก็บเกี่ยว จึงมีการถวายที่เต็มขนาดให้กับพระเจ้า (ฉธบ.16:16-17)  เพื่อขอบคุณสำหรับการอวยพรของพระเจ้า

ในยุคพันธสัญญาใหม่ เมื่อพระเยซูคริสต์ทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ม่านในพระวิหารฉีกขาด(มธ.27:51) เป็นหมายสำคัญถึงความสัมพันธภาพครั้งใหม่ ที่ไม่มีสิ่งใดขวางกั้น

เพราะพระเจ้าทรงก้าวออกมาจากพระที่นั่งกรุณาที่หลังม่าน  และพระองค์มาร่วมพักอยู่ในเพิงที่ประทับของพระองค์ในชีวิตของเราด้วยเช่นกัน!  อนุญาตให้พระเจ้าเข้ามาในชีวิตและพักสงบกับพระองค์ด้วยกัน