27 สิงหาคม 2557

“สาวกที่พระองค์ทรงรัก”(Disciple whom Jesus loved)

“สาวกที่พระองค์ทรงรัก”(Disciple whom Jesus loved)

เมื่อกล่าวถึงบรรดาอัครสาวกของพระเยซูคริสต์ ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น “สาวกที่พระองค์ทรงรัก” เราคงจะทราบได้ทันทีว่ากล่าวถึง “อัครสาวกยอห์น” เพราะในพระคัมภีร์ท่านเองเป็นผู้กล่าวอ้างไว้ ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า พระเยซูทรงลำเอียงซึ่งขัดกับพระลักษณะของพระองค์ แต่ทว่าการที่ท่านเขียนอ้างแบบนี้เป็นเพราะท่านมั่นใจในความรักของพระเยซูที่มีต่อท่าน หลายคนอาจจะเขียนโอ้อวดว่า “เขาเป็นผู้รักพระเจ้า” และทำสิ่งต่างๆเพื่อพระเจ้าให้ผู้อื่นรับรู้ แต่ท่านเป็นผู้โอ้อวดว่า“พระเจ้าทรงรักท่าน” และท่านเองเป็นบุคคลสำคัญที่เป็นพยานถึงความรักที่ยิ่งใหญ่ของพระเจ้าที่ทรงประทานให้กับมนุษย์ทุกคน เมื่อเราอ่านพระธรรมยอห์น เราจึงมองย้อนกลับมาสำรวจชีวิตของเรา เราสามารถเรียนรู้จากชีวิตของท่านยอห์น “สาวกที่พระองค์ทรงรัก” ได้ดังต่อไปนี้

ก้าวสู่การทรงสถิต : ชีวิตเต็มด้วยหมายสำคัญการอัศจรรย์ 
 
ยอห์น หรือ โยฮันนัน יוחנן ชื่อของท่าน หมายถึง “พระยาห์เวห์ทรงสง่างาม” (Yahweh is gracious) บิดาของท่านชื่อ “เศเบดี”เป็นชาวประมงอยู่เมืองเบธไซดา (ยน.1:44 ) และมารดาชื่อ “สะโลเม” ซึ่งเป็นสตรีคนหนึ่งที่ได้อุทิศตัวปรนนิบัตรับใช้พระเยซูคริสต์ท่านยอห์นและพี่ชายคือ ยากอบ ได้รับการทรงเรียกขณะที่กำลังปะชุนอวนอยู่กับบิดาที่ชายทะเลกาลิลี(มธ. 4:22) ท่านทั้งสองได้ละจากอาชีพของท่านและได้ละทิ้งชีวิตเก่าเพื่อก้าวสู่การทรงสถิตและติดตามรับใช้กับองค์พระเยซูคริสต์
ท่านได้เขียนบันทึกเหตุการณ์ต่างๆที่พระเยซูทรงกระทำหมายสำคัญเป็นการยืนยันถึงการเป็นพระบุตรของพระเจ้าเพื่อทำให้เรามีความเชื่อและก้าวตามอย่างมั่นใจในพระสัญญาของพระองค์ดั่งเช่น

พระเยซูทรงเปลี่ยนน้ำเป็นเหล้าองุ่น(ยน.2:1-11)พระสัญญาคือเราจะไม่กระหายอีกเลย(ยน.4:14),
พระเยซูทรงเลี้ยงคน 5,000 คน (ยน. 6:1-14) พระสัญญา คือ เราจะไม่หิวอีกเลย (ยน.6:35), 
พระเยซูทรงดำเนินไปบนทะเลสาบ(ยน.6:16-21) พระสัญญา คือ พระองค์จะไม่ทอดทิ้งผู้ที่เชื่อในพระองค์และนำไปยังจุดหมายปลายทาง (ยน. 6:37),
พระเยซูทรงรักษาคนตาบอดแต่กำเนิด(ยน.9:1-7)พระสัญญา คือ พระองค์ทรงสัญญาว่าจะไม่ให้เราเดินในความมืดเลย (ยน. 8:12),
พระเยซูทรงรักษาลาซาลัสให้เป็นขึ้นมาจากความตาย (ยน.11:1-46) พระสัญญาคือเราจะไม่ตายและรักชีวิตนิรันดร์ (ยน.11:26)

การก้าวสู่การทรงสถิต ทำให้เรามีชีวิตที่เต็มด้วยหมายสำคัญการอัศจรรย์ ทางแห่งกางเขนเป็นทางแห่งความถ่อมใจรับใช้ผู้อื่น ไม่ใช่นำไปสู่เกียรติของตนเอง พระองค์เสด็จมามิใช่เพื่อให้คนอื่นรับใช้ แต่เพื่อรับใช้ผู้อื่น (มธ.20:26) พระองค์เป็นแบบอย่างแห่งความถ่อมใจโดยการล้างเท้าเหล่าสาวก (ยน.13:1-15) ความถ่อมใจเป็นเงื่อนไขที่จะได้รับสิทธิอำนาจเพื่อเราจะเดินตามพระองค์

พบพระพักตร์ : ชีวิตเปลี่ยนแปลง

ยอห์นเป็นสาวกที่มีอายุน้อยที่สุด และเป็นหนุ่มโสดเพียงคนเดียวในบรรดาสาวกทั้ง12 คน ท่านเป็นคนมีนิสัยใจร้อนเหมือนยากอบพี่ชาย พระเยซูทรงเรียกท่านทั้ง 2 คนว่า “ลูกฟ้าร้อง” เพราะใจร้อน พระเยซูทรงใช้ให้ท่านทั้งสองเดินทางไปล่วงหน้าเพื่อจัดเตรียมอาหารและที่พัก แต่ชาวสะมาเรียไม่ต้อนรับ เพราะทราบว่าพระเยซูและสาวกเป็นคนยิว ท่านทั้งสองโกรธมาก รีบไปหาพระเยซูเพื่อขอไฟจากฟ้ามาเผาผลาญพวกเขา และพระเยซูทรงได้ให้บทเรียนแก่ท่านทั้งสองว่า “พระองค์เสด็จมาในโลกมิใช่ทำลาย แต่เพื่อช่วยมนุษย์ทุกคนให้รอด” (ลก.9:51-56)   จากคนใจร้อนกลายเป็นคนใจรักผู้อื่น

ยอห์นมีประสบการณ์ในการพบพระพักตร์กับพระเจ้าแบบหน้าต่อหน้า(Encounter) ทำให้ชีวิตของท่านเปลี่ยนแปลง หัวใจเปลี่ยนไป เป็นหัวใจใหม่ที่รักคนแบบที่พระเจ้าทรงรักพระเยซูคริสต์ทรงนำเปโตร ยากอบและยอห์นขึ้นไปบนภูเขาทาโบร์เพื่อสำแดงพระกายของพระองค์(มธ.17:1-7)
ท่านทั้ง 3 ได้พบพระพักตร์ของพระองค์ ทำให้ชีวิตของพวกท่านปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงจาก “คนที่รู้จัก”เป็น “คนที่รู้ใจ” เข้าใจถึงพระทัยและแผนการของพระองค์ที่ทรงเสด็จมาในโลกนี้เพื่อช่วยคนให้รอด

ซบพระทรวง : สนิทสนมชิดใกล้ ลึกในพระทัยเพื่อเข้าใจหัวใจพระบิดา

ยอห์นเป็นสาวกที่พระเยซูคริสต์ทรงรัก เพราะท่านจะนอนลงเพื่อซบพระทรวงในช่วงเวลารับประทานอาหาร เป็นความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด “สนิทสนม” ไม่ใช่แบบ “สนิมสะสม”ที่เหินห่าง เปรียบดังแขนงองุ่นที่ติดกับเถาองุ่น(ยน.15)   
แม้แต่เรื่องสำคัญ ท่านเปโตรก็กระซิบให้ยอห์นถามพระเยซูคริสต์ว่าใครเป็นผู้ทรยศต่อพระองค์ (ยน.13:24-25) เพราะท่านยอห์นได้เข้าไปสนิทสนมชิดใกล้ซบที่พระทรวงของพระคริสต์ทำให้ได้ยินเสียงพระทัยและท่านสามารถเข้าใจหัวใจของพระองค์ พระองค์ทรงสำแดงแผนการน้ำพระทัยมากมายให้แก่ท่าน ท่านจึงเป็นผู้ที่ได้บันทึกถึงเหตุการณ์ต่างๆเพื่อเป็นพยานถึงพระเยซูคริสต์ทั้งในพระธรรมยอห์น จดหมายฝากยอห์นทั้ง 3 ฉบับและพระธรรมวิวรณ์

หลังจากมีการเหตุการณ์การข่มเหงครั้งใหญ่(กจ.3) ยอห์นได้เดินทางไปเทศนาในแถบเอเชียน้อยไปอยู่ที่เมืองเอเฟซัสถูกจับในสมัยจักรพรรดิโดมีเซียน (ค.ศ.95) ถูกโยนลงไปในกะทะน้ำมันเดือด แต่ไม่เป็นอันตรายใดๆ จึงถูกเนรเทศไปที่เกาะปัทมอส (ค.ศ. 96-97) และสิ้นชีวิตที่นั่นในราวปี ค.ศ. 104 นับเป็นสาวกที่มีอายุยืนยาวที่สุด สมกับที่พระเยซูคริสต์ได้ตรัสไว้ว่า “ถ้าเราอยากจะให้เขาอยู่จนเรามานั้นจะเป็นเรื่องอะไรของเจ้าเล่า…” 

ท่านยอห์นสาวกที่ทรงรักคนนี้แหละที่เป็นพยานถึงเหตุการณ์เหล่านี้และเป็นผู้ที่บันทึกสิ่งเหล่านี้ไว้และเราทราบว่าคำพยานของเขาเป็นความจริงมีอีกหลายสิ่งที่พระเยซูได้ทรงกระทำถ้าจะเขียนไว้ให้หมดทุกสิ่งแม้หมดทั้งโลกก็น่าจะไม่พอไว้หนังสือที่จะเขียนนั้น (ยน 21:23-25)


ท่านยอห์นเป็นผู้รับความไว้วางใจจากพระเยซูคริสต์ พระองค์ฝากนางมารีย์มารดาของพระองค์ให้กับยอห์นเป็นผู้ดูแล เมื่อพระองค์เสร็จไปที่กางเขน (ยน.19.26-27)

อัครสาวกยอห์น ท่านได้ชื่อว่าเป็น "อัครทูตแห่งความรัก" เพราะท่านได้นิยามความรักว่า “พระเจ้าทรงเป็นความรักผู้ที่รักก็จะรู้จักกับพระองค์และให้เราทั้งหลายรักกันและกัน” (1 ยน.4) ท่านเป็นผู้ที่ถูกใช้ไปเพื่อส่งข่าวสารที่สำคัญที่สุดของโลกคือ “ข่าวสารแห่งความรัก” (ยน 3:16)

อัครสาวกยอห์นจึงเป็นแบบอย่างในการก้าวเดินตามการทรงสถิต มีชีวิตที่ติดสนิทกับพระเยซูคริสต์ได้พบพระพักตร์ นั่งซบที่พระทรวง รู้จักพระทัยและทำตามพระทัย
ดังนี้แหละยอห์นจึงเป็น “สาวกที่พระองค์ทรงรัก”เราทั้งหลายก็อยากจะเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน

21 สิงหาคม 2557

"คิดอย่างไร ใหญ่อย่างอิสราเอล"

"...แม้อิสราเอลจะเป็นประเทศเล็ก แต่ก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความแตกต่างมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ประชากรจำนวนน้อยนิดของอิสราเอลนั้นผสมผสานมาจากชนชาติที่แตกต่างกันถึงเจ็ดสิบชาติ ผู้ลี้ภัยชาวยิว...มาจากอิรักและโปแลนด์ หรือเอธิโอเปีย ล้วนไม่ใช้ภาษาเดียวกัน หรือแม้แต่พื้นฐานการศึกษา วัฒนธรรม หรือประวัติศาสตร์ ก็แตกต่างกันมาอย่างน้อยนับสองพันปี

ดังเช่นที่เดวิด แมกวิลเลียมส์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวไอริชอธิบายไว้ว่า "อิสราเอลนั้นไม่ใช่ประเทศยิวมิติเดียว เพราะมันเป็นหม้อความเชื่อทางศาสนาที่หลอมรวมเอาชาวยิวที่พลัดถิ่นไปตั้งแต่สมัยโบราณกลับมา โดยนำเอาวัฒนธรรม ภาษา และขนมธรรมเนียมที่แตกต่างจากสี่มุมโลกมารวมกันไว้อีกครั้ง"
...แท้จริงแล้ว ความลับของอิสราเอลดูเหมือนจะอยู่ในสิ่งที่มากกว่าความสามารถของตัวบุคคล ในบริษัทหลายแห่งมีคนที่มีความสามารถมากกว่าจำนวนวิศวกรที่อิสราเอลมีอยู่เสียอีก อาทิ นักศึกษาชาวสิงคโปร์ที่ได้คะแนนสอบดีที่สุดในโลกด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หลายต่อหลายประเทศก็ได้เข้าไปตั้งบริษัทในอินเดียและไอร์แลนด์ "แต่เราไม่ทำงานหลักสำคัญๆ ของเราที่ประเทศเหล่านั้น" ผู้บริหารชาวอเมริกันจากอีเบย์บอกกับเรา "กูเกิล ซิสโก้ ไมโครซอฟท์ อินเทล อีเบย์ ฯลฯ ความลับสุดยอดคือ เราต่างก็อยู่และตายได้ด้วยการทำงานของทีมงานชาวอิสราเอลของเรา นั่นเป็นเรื่องสำคัญกว่าการที่เราไปตั้งศูนย์บริการที่อินเดีย หรือตั้งหน่วยไอทีที่ไอร์แลนด์ สิ่งที่เราทำในอิสราเอลไม่เหมือนกับที่เราทำที่ไหนในโลก"

ปัจจัยสำคัญอีกประการที่ทำให้อิสราเอลประสบความสำเร็จ...ทั้งหมดคือเรื่องราวที่ไม่ใช่เพียงความสามารถเท่านั้น แต่ยังเป็นพลังใจที่ยืนหยัดไม่ท้อถอยต่อการตั้งคำถามอย่างไม่ลดละต่อผู้มีอำนาจ ความเป็นกันเองอย่างตั้งใจ ผสานรวมกับทัศนคติที่ไม่เหมือนใครในเรื่องความล้มเหลว การทำงานเป็นทีม งานที่ได้รับมอบหมาย ความเสี่ยง และความคิดสร้างสรรค์แบบต่อต้าน

การยึดระเบียบวินัย

"คุตซ์ปาห์ คือ ความกล้าหาญ ความอาจหาญ ความกำแหง ความเด็ดเดี่ยวอย่างไม่น่าเชื่อ ความหยิ่งทะนงและความอหังการแบบที่ไม่มีคำไหนหรือภาษาอื่นใดจะให้ความหมายแบบตรงตัวได้
คนภายนอกจะมองเห็นคุตซ์ปาห์ทุกหนทุกแห่งในอิสราเอล: จากท่าทีที่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยพูดคุยกับอาจารย์ของพวกเขา พนักงานที่ท้าทายเจ้านาย จ่าสิบเอกตั้งข้อสงสัยกับนายพล และเสมียนตั้งคำถามต่อการตัดสินใจของรัฐมนตรี ตลอดทุกช่วงเวลาของการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือในกองทัพ ชาวอิสราเอลได้เรียนรู้ว่า ความกล้าหาญมั่นใจคือ วิถีปกติ การสงวนท่าทีคือ สิ่งที่เสี่ยงต่อการทำให้ตัวตนของเราถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง

สิ่งนี้เห็นชัดในรูปแบบที่เป็นที่นิยมในการพูดถึงบุคคลในอิสราเอล... คุณบอกอะไรได้มากมายเกี่ยวกับสังคมหนึ่ง จากการที่สมาชิกในสังคมพูดถึงกลุ่มบุคคลชั้นนำของตนเอง อิสราเอลเป็นที่เดียวในโลกที่ทุกคนที่อยู่ในตำแหน่งใหญ่โตเปี่ยมอำนาจรวมถึงนายกรัฐมนตรีและนายพลทั้งหลายในกองทัพ มีชื่อเล่นที่ทุกคนเรียกขานกันในกลุ่มประชาชนทั่วไป นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของอิสราเอล


 เบนจามิน เนทันยาฮู และอดีตนายกรัฐมนตรี เอเรียล ชารอน มีชื่อเล่นว่า "บีบี" และ "เอริก" ตามลำดับ.... หัวหน้าฝ่ายกองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) นาม โมเช ยาลอน ก็กลายเป็น "โบกีย์"... ชื่อเล่นเหล่านี้ไม่ได้เรียกขานกันลับหลังเท่านั้น แต่ใช้กันแบบกว้างขวางและทุกคนก็ใช้กันทั่วไป... เป็นสิ่งที่เป็นตัวอย่างให้เห็นถึงระดับความเป็นกันเองของอิสราเอลได้เป็นอย่างดี

ทัศนคติและความเป็นกันเองของชาวอิสราเอลเกิดขึ้นจากความอดกลั้นทางวัฒนธรรม จากสิ่งที่ชาวอิสราเอลบางรายเรียกว่า "ความล้มเหลวแบบสร้างสรรค์" หรือ "ความล้มเหลวอย่างฉลาด" ... ถ้าไม่มีความอดทนต่อความล้มเหลวมากมายขนาดนี้ มันก็เป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างนวัตกรรมได้จริงๆ
..วัฒนธรรมและกฏเกณฑ์ของคนอิสราเอลสะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติที่เป็นเอกลักษณ์ต่อความล้มเหลว ทัศนคติที่ทำให้นักลงทุนที่เคยล้มเหลวซ้ำๆ ได้กลับเข้ามาในระบบที่สร้างขึ้น เพื่อให้คนเหล่านี้ได้ใช้ประสบการณ์ที่เคยพลาดได้ลองอีกครั้ง ดีกว่าการปล่อยให้พวกเขาเสื่อมเเสียชื่อเสียงและไร้ความสำคัญตลอดไป

รวบรวมจากหนังสือ "คิดอย่างไร ใหญ่อย่างอิสราเอล" แปลโดย ท่านประภัสสร เสวิกุล


ขอบคุณข้อมูลจาก อ.ศิริพร สุกัญจนสิริ (ใหญ่)

16 สิงหาคม 2557

คำหนุนใจเรื่องอิสราเอลโดย Dr.Chuck Pierce

คำหนุนใจเรื่องอิสราเอลโดย ดร.ซัค เพียร์ซ ( Dr.Chuck Pierce)

ความกลัวและความไม่เชื่อเป็นโรคติดต่อที่ลามไปอย่างรวดเร็ว เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 1967 พื้นที่ส่วนใหญ่ของดินแดนอิสราเอลโบราณได้กลับคืนมาอยู่ในมือของอิสราเอล แต่ความขัดแย้งมากมายดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในประเด็นเรื่องขอบเขตดินแดนของพระเจ้าในโลกนี้

วันนี้อิสราเอลยืนอยู่ในที่ๆ พระเจ้าสัญญาไว้ด้วยความสับสน หลงทาง วิตกกังวล และเปิดต่อการถูกทำร้าย อิสราเอลเป็นบุตรหัวปีของพระเจ้า ดัง...นั้น สิ่งที่เกิดขึ้นที่นั่นเกี่ยวโยงมาถึงเราด้วย นั่นเป็นสาเหตุที่พวกเรามากมายรู้สึกถึงประเด็นต่างๆ เป็นส่วนตัวในลักษณะเดียวกัน จำไว้ว่า เรากำลังมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาที่อันตราย อย่ายอมให้ยักษ์ทั้งหลายในแผ่นดินของคุณกันคุณไว้จากการมีประสบการณ์อย่างเต็มขนาดในพระสัญญาของพระองค์ จงเผชิญหน้ากับศัตรูทั้งหลายด้วยเสียงร้องตะโกนว่า: แต่พระเจ้า! และป่าวประกาศว่า ความมืดมนทั้งสิ้นจงออกไปเพื่อคุณจะสามารถส่องสว่าง! ประกาศคำบัญชาจากสวรรค์ว่า ความสว่างจากการสำแดงของพระองค์จะฉายส่องมา!

อิสยาห์ 9:1  "แต่กระนั้น เมืองนั้นที่อยู่ในสภาพโศกเศร้าจะไม่ทุกข์ระทมอีก" เราควรจะร้องตะโกนทุกเช้าว่า "แต่กระนั้น ความโศกเศร้าหายไปจากข้าพเจ้าแล้ว" ผู้พยากรณ์อิสยาห์พูดเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับแผ่นดิน "แคว้นเศบูลุนและแคว้นนัฟทาลีเป็นที่ดูหมิ่น ชนชาติที่ดำเนินในความมืด เห็นความสว่างยิ่งใหญ่"

ขอบคุณข้อมูลจาก อ.ศิริพร สุกัญจนสิริ (ใหญ่)