25 กันยายน 2556

เทศกาลอยู่เพิง(Sukkot) 5774 : เคลื่อนและขยายหลักหมุดเต็นท์ในชีวิต


สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน ในช่วงวันที่ 20 -22 ก.ย.ที่ผ่านมา ผมได้ไปร่วมค่ายเทศกาลอยู่เพิงของคริสตจักรแห่งพระบัญชา ณ ที่ลานกางเต็นท์ลำตะคอง อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นค่ายที่จัดเพื่อให้มีการสามัคคีธรรมในครอบครัวและแสวงหาพระเจ้าร่วมกัน  ตามหลักการพระวจนะของพระเจ้าในเรื่องเทศกาลของพระยาห์เวห์ ( ฉธบ.16,ลนต.23)

บทความวันนี้จึงขอ "สรุปความเข้าใจเรื่องเทศกาลอยู่เพิง"และแบ่งปันสิ่งที่ได้รับจากการแสวงหาพระเจ้าในช่วงเทศกาลอยู่เพิงที่ผ่านมา

(เทศกาลอยู่เพิง และเทศกาลต่างๆ ผมได้เขียนไว้ในช่วงปีที่ผ่านๆมา สามารถเข้าไปอ่านได้ใน Blog ย้อนหลังนะครับ )

เทศกาลอยู่เพิงเป็นเทศกาลสุดท้ายในเทศกาลงานเลี้ยงขององค์พระผู้เป็นเจ้าที่ปรากฏในพระคัมภีร์ และเป็นเทศกาลสำคัญที่สุด เพราะเป็นการปิดท้ายของฤดูกาลการเก็บเกี่ยว เป็นช่วงเวลาแห่งความยินดี  เป็นเทศกาลสุดท้ายของฤดูใบไม้ร่วง ถัดจากเทศกาลปัสกา(เพสะห์) และเพ็นเทคอสต์(ชาวูโอต) (ลนต. 23:33-44) 

คำว่า พลับพลา” (อยู่เพิง) ในภาษาฮีบรู คือ สุคคท(Sukkot) (เอกพจน์คือ : sukah อ่านว่า สุคะห์) ซึ่งหมายถึงเพิงพักหรือที่พักอาศัยชั่วคราว (booth)

พระคัมภีร์ไบเบิลภาษาละตินใช้คำว่า “tabernacula” ซึ่งภาษาอังกฤษยืมมาใช้ว่า “tabernacles” เทศกาลนี้บางครั้งรู้จักกันว่าเป็น ฤดูกาลแห่งความชื่นชมยินดีของเราภาษาฮีบรูว่า ซิมัน ชิมฮัทเทนู(Z’man Simchateinu) เนื่องจากเทศกาลนี้เป็นเครื่องหมายถึงการเก็บเกี่ยวผลไม้ในเดือนกันยายน/ตุลาคม ของแต่ละปี จึงมักรู้จักกันในนามของ เทศกาลการรวบรวมผลิตผล ด้วย
            

เทศกาลนี้จะเริ่มขึ้น 5 วันหลังจาก Yom Kippur (วันลบมลทินบาป) ในวันที่ 15 เดือนทิชรี และฉลองไป 7 วัน จนถึงวันที่ 22 เดือนทิชรี (ปี 2013 ตรงกับช่วงเย็นวันที่ 18-24 ..) บวกกับ 1 วัน รวมเป็น 8 วัน ในวันที่ 8 (25 ..) เรียกว่า ชิมหัต  โทราห์” (Simchat Torah) หมายถึง ชื่นชมยินดีในโทราห์   คนยิวจำนวนมากเต้นรำด้วยถือหนังสือม้วนโทราห์ อ่านตั้งแต่ปฐมกาลข้อแรก และข้อสุดท้ายของเฉลยธรรมบัญญัติ   เพื่อแสดงว่าพระวจนะของพระเจ้าไม่มีวันสิ้นสุด (ลนต.23:39-44)

ความสำคัญของเทศกาลนี้คือ พิธีกรรมอันเรียกกันว่าพิธีหลั่งน้ำเพื่อครัวเรือน (House of Water Pouring Ceremony) ภาษาฮีบรู : เบท เชอูบาห์ (Beit She’ubah) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญสำหรับผู้เชื่อในพระเยซูเป็นน้ำแห่งชีวิต และเล็งถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์  (ยน.7:37-39)   ในวันสุดท้ายของงานเทศกาลซึ่งเป็นวันใหญ่นั้นปุโรหิตจะนำเอาน้ำจากสระสิโลอัม มาเทบนแท่นบูชา ปุโรหิตจะยกน้ำขึ้นแล้วเท ฝูงชนจะอยู่ในความเงียบสงบ พระเยซูทรงยืนและประกาศว่า

 ถ้าผู้ใดกระหายผู้นั้นจงมาหาเราและดื่ม ผู้ที่วางใจในเรา แม่น้ำที่มีน้ำธำรงชีวิต จะไหลออกมาจากภายในผู้นั้น นั่นคือเป้าหมายของพระเยซูชีวิตที่ไหลล้น
        
นั่นคือสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้กับเราในทุก ปี พระเจ้าต้องการให้ประสบการณ์อันสดใหม่ของชีวิตที่ไหลล้นของพระองค์กับเรา พระองค์ต้องการจะเติมเราด้วยพระสิริของพระองค์ น้ำองุ่นใหม่แห่งพระวิญญาณ พระเยซูมาในโลกนี้เพื่ออยู่กับเรา เวลานี้พระองค์เชื้อเชิญให้เราอยู่กับพระองค์ พระเยซูปรารถนาจะเลี้ยงฉลองกับเรา เชื้อเชิญพระองค์มาที่เพิงของเรา 
นอกจากนี้เป็นเทศกาลแห่งการถวายพระวิหาร โดยกษัตริย์ซาโลมอน  

(1พกษ. 8:1-10)

คนยิวในปัจจุบันฉลองเทศกาลอยู่เพิงนี้อย่างไร

ครอบครัวชาวยิวจะสร้างเพิง(Sukkah) ในสวนหรือบริเวณบ้าน พวกเขารับประทานอาหารร่วมกัน  พ่อจะอ่านโทราห์และชี้ให้ดูดวงดาวในท้องฟ้ายามค่ำคืน และยกเรื่องพันธสัญญาของอับราฮัมมาเล่าให้ลูกๆ ฟัง ครอบครัวจะร้องเพลงและเต้นรำเพราะเป็นฤดูกาลแห่งความร่าเริงยินดี !  ครอบครัวส่วนมากตกแต่งด้วยกิ่งไม้เช่น กิ่งใบปาล์ม (lulav) ไม้หอม และกิ่งต้นน้ำมันเขียว และผลส้ม  เป็นการขอบพระคุณพระเจ้า

ข้อสังเกตคือการให้ความสำคัญกับครอบครัว เป็นช่วงใช้เวลาสังสรรค์กับครอบครัว

เทศกาลนี้เป็นการเตือนใจชาวยิวถึงการปกป้องของพระเจ้า ในช่วงที่บรรพบุรุษของเขาต้องเร่ร่อนในถิ่นทุรกันดารในช่วงอพยพออกจากอียิปต์  เทศกาลนี้จึงเล็งถึงพระสิริของพระเจ้าที่อยู่กับพวกเขาทุกหนทุกแห่ง ดั่งเสาเมฆแห่งพระสิริที่นำหน้าพวกเขา

เราเฉลิมฉลองเทศกาลอยู่เพิงอย่างไร ?

จัดเตรียมบ้านของเราให้เป็นที่ประทับแห่งเพิงพระสิริพระเจ้า และฉลองเทศกาลนี้ด้วยกันเป็นชุมชนด้วยการไปร่วมค่ายอยู่เพิงเพื่อฟังพระสุรเสียงพระเจ้าและนมัสการเฉลิมฉลองร่วมกัน  โดยตั้งเวลานัดพบกับพระองค์ เทศกาลนี้เป็น

  1. เวลาแห่งการระลึกถึง  พลับพลาของพระเจ้าอยู่ด้วยกับประชากรของพระองค์ 
 
2. เป็นเวลาแห่งความเพลิดเพลิน  เฉลิมฉลองด้วยความสนุกสนานกับพระเจ้า (ลนต.23:40,ฉธบ.16:14-15)
 
  3.เตรียมของถวาย  เพราะช่วงเทศกาลอยู่เพิงเป็นการสิ้นสุดฤดูกาลเก็บเกี่ยว จึงมีการถวายที่เต็มขนาดให้กับพระเจ้า  
ฉธบ. 16:16-17 “อย่าให้ผู้ใดเข้าเฝ้าพระเจ้ามือเปล่า:แต่ละคนจงนำของถวายมาตามสัดส่วนที่พระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านทรงอวยพรท่าน

 
4. เวลาแห่งความคาดหวัง  พระเจ้าเรียกออกมาเพื่อพระเกียรติสิริของพระเจ้า เข้ามาสู่พลับพลาด้วยกันกับเราอีกครั้งหนึ่ง! จัดเวลาอยู่ในเพิงกับพระเจ้า จัดเวลาพบกับพระองค์ จัดเวลาพักผ่อนกับพระคำของพระองค์  จัดเวลาด้วยกันกับครอบครัวและเพื่อน   แบ่งปันคำพยานและความดีของพระเจ้า!



สำหรับเทศกาลอยู่เพิงในปี 5774  เป็นการเปิดประตูก้าวสู่ปี 5774
ปีแห่งประตู(ע ד Ayin Daletอัยยิน ดาเล็ท   

อิสยาห์ 26:2 จงเปิดประตูเมืองเถิด เพื่อประชาชาติที่ชอบธรรมซึ่งรักษาความซื่อสัตย์ไว้จะได้เข้ามา

เปิดประตูด้วยความเชื่อในชีวิต



 
เราต้องทำความเข้าใจเรื่องวาระเวลาและตัวอักษรภาษาฮีบูรเป็นอักษรภาพ
เราอยู่ในปี 5774  ทศวรรษแห่งการมองเห็น  ע ayin อัยยิน 
ד Dalet  ดาเล็ท คือ ประตู การทรงสร้างและนี่คือเวลาของโลกในตอนนี้

พระเยซู(เยชูวา) ทรงเป็น อาเล็ฟ และทัฟว์
วว.1: 8 พระเจ้าผู้ทรงเป็นอยู่ ผู้ทรงเคยเป็นอยู่ ผู้ที่จะเสด็จมา และผู้ทรงฤทธานุภาพสูงสุด ตรัสว่าเราเป็นอัลฟา(ตัวอักษรตัวแรกของภาษากรีก) และโอเมกา(ตัวอักษรตัวสุดท้ายของภาษากรีก)
(ฉบับมาตรฐาน 2011)

Revelation1:8 I am the Aleph(א) and Taf (ת), the Beginning and the End, says the Master YHWH (יהוה), who is, and who was, and who is to come, ...the Almighty-El Shaddai. (HRV)

เมื่อเรา อ่านว่า พระเยซู(เยชูวา) ทรงเป็นอัลฟา และโอเมกา  เนื้อหาสาระของพระธรรมข้อนี้คือ พระองค์กำลังกล่าวว่า พระองค์ทรงเป็น จุดเริ่มต้น และจุดสุดท้าย หมายความว่า พระองค์ทรงเป็นอยู่จากนิรันดร์กาลถึงนิรันดร์กาล นี้เป็นความจริงและเป็นสิ่งที่พระธรรมตอนนี้ กำลังกล่าวถึง

อาเล็ฟและทัฟว์ ในภาษาฮีบรู ยังหมายถึง พระเยซู(เยชูวา) ทรงเป็นตัวอักษรทั้ง 22 ตัวตั้งแต่ตัวอักษรอาเล็ฟ จนถึงตัวทัฟว์ และนี้เป็นข้อความที่อ้างจากพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม รับบีชาวยิวสอนว่า ตัวอักษรทั้งหมด 22 ตัว คือ 22 ความหมายที่สามารถอธิบายถึง พระยาห์เวห์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของอิสราเอล

ยกตัวอย่างเช่น

א Alef อาเล็ฟ เป็นตัวอักษรตัวแรกและเป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าแห่งความเป็นหนึ่ง หนึ่งเดียวเท่านั้น ความยิ่งใหญ่ เปรียบเหมือนกษัตริย์ของตัวอักษรตัวอื่น คำว่าเอโลฮิม(พระผู้ทรงสร้างหรือพระเจ้า) ก็ขึ้นต้นด้วยตัวนี้  

ב Bet เบ็ท  หมายถึง บ้าน (เบธเอล บ้านของพระเจ้า) เป็น สัญลักษณ์ของพระเจ้าแห่งการอวยพร การทรงสร้าง สองหรือจำนวนมาก คำแรกของปฐมกาลบทที่หนึ่งข้อที่หนึ่งขึ้นต้นด้วยตัวอักษรตัวนี้ (ปี 5772 ปีแห่งพันธสัญญา

 ג Gimel กิเมล  หมายถึง อูฐเป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าแห่งความเมตตา ความสุดยอด หรือถึงที่สุด  (ปี 5773 ปีแห่งพระพรความมั่งคั่ง มวลอูฐที่นำพาความมั่งคั่งมา

ד Dalet ดาเล็ท หมายถึง  ประตู เป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้า ของ มิติ ขนาด และ ความห่วงใยอาทร … 

ת Tav ทัฟว์ เป็นตัวอักษรฮีบรูตัวที่ 22 เป็นตัวสุดท้าย เป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้า หมายถึง ความจริง และความสมบูรณ์แบบ 

ในความหมายของภาษาฮีบรูคือ พระเมสิยาห์เป็นทั้ง 22 คุณลักษณ์(Attributes) สะท้อนความเป็นพระองค์เองไม่ได้ถูกสร้างมา นั้นหมายถึง

พระองค์ทรงเป็นทุกสิ่งในแง่ที่ดี และทรงอยู่ในทุกสิ่ง จากนิรันดร์กาลถึงนิรันดร์กาล 

ดังนั้นคำว่า  สัจจะ ก็คือความจริง ความจริงก็คือ Emet ในภาษาฮีบรูคือ อีเม็ท และ อีเม็ท คือ โทราห์  (Torah)

โทราห์คือพระวจนะคำสอน ถ้อยคำของพระเจ้า emet (אמת) ความจริง eh-met ตัวอักษรในภาษาฮีบรู ตัวแรกคือ อาเล็ฟ และ ทัฟว์ คือตัวสุดท้าย เป็นความหมายของ พระวจนะที่บอกว่า พระองค์ทรงเป็นปฐมและอวสาน เบื้องต้นและเบื้องปลาย หากเป็นภาษาไทยก็คือ พระองค์ทรงเป็นตั้งแต่ตัวอักษร ก.ไก่ ไปจนถึง ฮ.นกฮูก  

א Alef อาเล็ฟ เป็นตัวอักษรตัวแรกของอักษรฮีบรูและเป็นสัญญลักษณ์ของ พระเจ้า ความเป็นหนึ่ง หนึ่งเดียว ความยิ่งใหญ่
 
ת Tav ทัฟว์ เป็นสัญญลักษณ์หมายถึง ความจริง (Emet) และความสมบูรณ์แบบ  หมายถึงทางแห่งความจริงผ่านทางพระเยซู

ยน. 14:6   พระเยซูตรัสกับเขาว่า  "เราเป็นทางนั้น  เป็นความจริงและเป็นชีวิต  ไม่มีผู้ใดมาถึงพระบิดาได้นอกจากจะมาทางเรา"


ในปี 5774 นี้ ข้อพระธรรมที่สำคัญและควรจะนำมาใคร่ครวญนั่นคือ

อสย. 26:2 จงเปิดประตูเมืองเถิด เพื่อประชาชาติที่ชอบธรรมซึ่งรักษาความซื่อสัตย์ไว้จะได้เข้ามา

ในข้อพระธรรมตอนนี้ คำว่า ประชาชาติที่ชอบธรรมซึ่งรักษาความซื่อสัตย์ คือ เอมูนาห์ (Emunah) คือผู้รักษาความเชื่ออย่างสัตย์ซื่อ และเป็นที่มาของ คำว่า "อาเมน" (Amen)

ในฉธบ. 27:1-15 เมื่อประชาชนชาวอิสราเอลฟังพระบัญชาของพระเจ้าและเชื่อจะกล่าวว่า "อาเมน" ณ ภูเขาเอบาล(แช่งสาบ)และเกริซิม(พระพร)

จำเรื่องของคริสตจักรที่เมืองเลาดีเซีย ในวว.3 :14-22 ได้ไหม พระเจ้าทรงเป็น "พระอาเมน" คือ มั่นคงและแน่นอน(14) แต่คริสตจักรที่เมืองเลาดีเซีย ไม่เอาจริงเอาจัง เป็นแต่อุ่นๆ ไม่เย็นไม่ร้อน จนถูกคายออกมา พระเจ้าอยู่นอกประตูหัวใจของเขาและเคาะประตู(3:20) จงกลับใจใหม่และเปิดประตูใจให้พระเยซูเข้ามา

ผู้ที่มีความเชื่อบันทึกชื่อในหนังสือแห่งชีวิตและจะได้ประตูเมืองศัตรูทั้งหลาย  วว.3:7-8

7   "จงเขียนถึงทูตสวรรค์แห่งคริสตจักรที่เมืองฟีลาเดลเฟียว่า  "พระองค์ผู้บริสุทธิ์  ผู้สัตย์จริง  ผู้ทรงถือลูกกุญแจของดาวิดผู้ทรงเปิดแล้วจะไม่มีผู้ใดปิด  ผู้ทรงปิดแล้วจะไม่มีผู้ใดเปิดได้ตรัสดังนี้ว่า

8   ""เรารู้จักแนวการกระทำของเจ้า  ดูเถิด  เราได้ตั้งประตูซึ่งเปิดไว้ตรงหน้าพวกเจ้า  ประตูนี้ไม่มีใครปิดได้  เรารู้ว่าเจ้ามีกำลังเพียงเล็กน้อย  แต่กระนั้นเจ้าก็ได้ประพฤติตามคำของเรา  และไม่ได้ปฏิเสธนามของเรา

อับราฮัมมีความเชื่อ

ปฐก. 22:17 ดังนั้นเราจะอวยพรเจ้าแน่ เราจะทวีเชื้อสายของเจ้าให้มากขึ้น ดังดวงดาวในท้องฟ้า และดังเม็ดทรายบนฝั่งทะเล เชื้อสายของเจ้าจะได้ประตูเมืองศัตรูทั้งหลายของเจ้าเป็นกรรมสิทธิ์ 

นี่คือพันธสัญญาที่พระองค์ทรงประทาน คำว่า "ได้ประตูเมือง" ในตอนนี้หมายถึงอะไร ถ้าเราจะมองในปัจจุบันที่แน่นอน เราไม่ต้องไป เป็นนักรบและต่อสู้กับบรรดาศัตรู และยึดประตุเมือง แบบในสมัยนั้น แต่ พระวจนะตอนนี้ ยังมีผลมาถึงเราทุกคน เพราะนี่คือพันธสัญญา

คำว่าเชื้อสายของเจ้าจะได้ประตูเมืองของศัตรูทั้งหลายของเจ้าเป็นสำนวนภาษาฮีบรู ซึ่งหมายถึง เชื้อสายของเจ้าจะเอาชนะ หรือ พิชิต ศัตรูของเจ้าได้

ดังนั้นในการเตรียมชีวิตเข้าสู่ปี 5774 ปีแห่งประตู นั่นคือ

เปิดประตูด้วยความเชื่อ ใช้ความเชื่อเป็นการเคาะประตู(มธ.7:7-8) เพื่อให้พระเจ้าทรงตอบในคำอธิษฐาน ให้ชีวิตเราจะเป็นดั่งประตูที่รับการชำระเพื่อให้พระเจ้าทรงเสด็จผ่านเข้ามาในชีวิต เปิดประตูสู่โอกาสในการรับใช้ด้วยการเจิมรูปแบบใหม่  การเยียวยา การไถ่กลับมา การรื้อฟื้นฤทธิ์อำนาจของพระเจ้า

การเตรียมชีวิตเพื่อรับสิทธิอำนาจเป็นหนทางเข้าสู่ประตูที่จะทำให้ได้รับพระสัญญา ยึดประตูเมืองศัตรู

 ปี 5774 : เคลื่อนและขยายหลักหมุดเต็นท์ในชีวิต

เราจะต้องรื้อถอนเต็นท์และเคลื่อนออกมาตามการทรงนำ

ขอใช้คำว่า เต็นท์ แทนคำว่า เพิง พลับพลา เพราะเข้าใจง่ายและเชื่อมโยงกับปัจจุบันได้ง่ายกว่าคำอื่นๆ และเต็นท์เป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลอยู่เพิง

เต็นท์ เป็นที่พักชั่วคราว ของคนที่เดินทางเร่ร่อนในทะเลทรายเช่น พวกนอแม็ด(Nomad) รวมถึงคนอิสราเอลใช้เต็นท์เป็นที่อยู่อาศัยในการเดินทางในถิ่นทุรกันดาร ก่อนที่จะเข้าสู่แผ่นดินคานาอัน รวมเป็นประเทศและมีการจัดฉลองเทศกาลอยู่เพิงเพื่อระลึกถึง

ความหมายของ เต็นท์ เป็นภาพเงาเล็งถึงที่อยู่อาศัยของผู้เชื่อที่อยู่ชั่งคราวในแผ่นดินโลกนี้ บ้านที่แท้จริงคือแผ่นดินสวรรค์

ฟป.3:20 แต่บ้านเมืองของเรานั้นอยู่ที่สวรรค์  เรารอคอยผู้ช่วยให้รอด  ซึ่งจะเสด็จมาจากสวรรค์คือพระเยซูคริสตเจ้า

ความหมายของคำว่าฮีบรูเพราะชนชาตินี้เป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงตั้งไว้เพื่อที่จะอวยพระพรและนำพระพรไปสู่ประชาชาติดังที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้กับอับบราฮัม
ปฐก.12:2-3
2 เราจะให้เจ้าเป็นชนชาติใหญ่ เราจะอวยพรแก่เจ้า จะให้เจ้ามีชื่อเสียงใหญ่โตเลื่องลือไป แล้วเจ้าจะช่วยให้ผู้อื่นได้รับพร
3 เราจะอำนวยพรแก่คนที่อวยพรเจ้า เราจะสาปคนที่แช่งเจ้า บรรดาเผ่าพันธุ์ทั่วโลกจะได้พรเพราะเจ้า"

อับราฮัมเป็นคนแรกที่พระเจ้าทรงเรียกมาเพื่อรับพระพร เขาถูกเรียกโดยพระเจ้าว่าเป็นชาวฮีบรูคำว่า "ฮีบรู" (Hebrew) หมายถึง การก้าวข้าม (crossover) ที่เป็นอย่างนั้นเพราะท่านได้รับการทรงเรียกให้ออกจากเมืองไปสู่สถานที่แห่งพระพร

ปฐก.14:13 มีคนหนึ่งหนีมาจากที่รบนั้นบอกให้อับรามคนฮีบรูรู้ เพราะอับรามอาศัยอยู่ที่หมู่ต้นก่อหลวงของมัมเร ...

คำนี้มีความหมายคือ คนแปลกถิ่น(Alien) (ไม่ใช่พวกมนุษย์ต่างดาวนะครับ) ที่เที่ยวไปบนอยู่โลก ตามผู้เขียนพระธรรมฮีบรูได้ให้ความหมายไว้  
ฮบ.11:13 คนเหล่านั้นได้ตายไปขณะที่มีความเชื่อเต็มที่ และไม่ได้รับสิ่งที่ได้ทรงสัญญาไว้ แต่เขาก็ได้เห็นและได้เตรียมรับไว้ตั้งแต่ไกล และรู้ดีว่าเขาเป็นคนแปลกถิ่นที่ท่องเที่ยวไปในโลก

ข้อคิดคือ พระเจ้ามักจะเรียกร้องคนของพระองค์ให้ตัดสินใจก้าวข้ามอุปสรรค ด่านทดสอบความเชื่อ และเมื่อผ่านไปแล้ว นั่นหมายถึงพระพรที่เราจะได้รับ

ชื่อว่า ฮีบรู ถูกใช้จนถึงพงศ์พันธ์ของยาโคบ จึงเปลี่ยนเป็น "อิสราเอล คือผู้ที่ปล้ำสู้"

คำว่า เต็นท์หรือ เพิง มาจากภาษาฮีบรูคือคำว่า "สุคะห์" (Sukkah) เป็นเอกพจน์(singular) หรือ คำว่า "สุคคท"(Sukkot) หมายถึง เต็นท์หรือเพิงหลายหลัง เป็นคำ พหุพจน์(plural)

กล่าวครั้งแรกใน ตอนที่ยาโคบ(อิสราเอล) สร้างที่อาศัยชั่วคราวเพื่อพักแรม

ปฐก. 33:17  ส่วนยาโคบเดินทางไปถึงสุคคท  {แปลว่า  เพิง}  เขาสร้างบ้านอยู่ที่นั่น  และสร้างเพิงให้สัตว์ของเขา  ฉะนั้นเขาจึงเรียกที่นั้นว่า  สุคคท

เพิงคือสถานที่ชั่วคราวที่เราต้องเคลื่อนไปตามการทรงนำของพระเจ้า ไม่ใช่สถานที่ถาวร

ดังนั้นเราจึงต้องก้าวออกมาสู่แผนการของพระเจ้า เมื่อมีสัญญาณเรียก
จงฟังเสียงแตร (เล็งถึงเทศกาล Rosh Hashanah) เพื่อรื้อถอนเต็นท์และเคลื่อนออกมาตามการทรงนำของพระเจ้า

ลนต. 23:24   "จงกล่าวแก่คนอิสราเอลว่า  ในวันที่หนึ่งของเดือนที่เจ็ด  เจ้าทั้งหลายจงถือเป็นวันหยุดพักสงบวันหนึ่ง  เป็นวันประชุมบริสุทธิ์ประกาศเป็นที่ระลึกด้วยเสียงแตร

กดว.10:2   "จงทำแตรเงินสองคันด้วยใช้ค้อนทุบ  เจ้าจงใช้แตรนั้นเรียกชุมนุม  และใช้รื้อย้ายค่าย

สิ่งสำคัญคือ เราต้องเคลื่อนตามเสียงของพระเจ้าในการนำเรา จนกว่าเสียงแตรสุดท้ายในวาระสุดท้ายและเราจะได้เข้าสู่การพำนักในที่ถาวรคือสวรรค์

 1 ธส.4:16-17 
16   ด้วยว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าจะเสด็จมาจากสวรรค์  ด้วยพระดำรัสสั่ง  ด้วยสำเนียงเรียกของเทพบดีและด้วยเสียงแตรของพระเจ้า  และคนทั้งปวงในพระคริสต์ที่ตายแล้วจะเป็นขึ้นมาก่อน 
17   หลังจากนั้นเราทั้งหลายซึ่งยังเป็นอยู่  จะถูกรับขึ้นไปในเมฆพร้อมกับคนเหล่านั้น  และจะได้พบองค์พระผู้เป็นเจ้าในฟ้าอากาศ  อย่างนั้นแหละ  เราก็จะอยู่กับองค์พระผู้เป็นเจ้าเป็นนิตย์

เราต้องเคลื่อนตามการทรงนำของพระเจ้าแบบอับราฮัม บิดาแห่งความเชื่อ ออกจากบ้านเดิมไปตั้งเต็นท์ในถิ่นฐานใหม่

ปฐก. 12:1-2  
1 พระยาห์เวห์ตรัสแก่อับรามว่าเจ้าจงออกจากดินแดนของเจ้า จากญาติพี่น้องของเจ้า จากบ้านบิดาของเจ้า ไปยังดินแดนที่เราจะสาแดงแก่เจ้า
2 เราจะให้เจ้าเป็นชนชาติใหญ่ เราจะอวยพรเจ้า จะให้เจ้ามีชื่อเสียงใหญ่โต

ชื่อของอับรามได้ปรากฏใน ปฐก.11 ว่า อับรามเป็นบุตรชายของเทราห์ เดิมอาศัยอยู่ในเมืองเออร์ของชาวเคลเดีย เทราห์ตั้งใจจะอพยพครอบครัวของตนไปอาศัยในแผ่นดินคานาอัน แต่เมื่อมาถึงเมืองฮาราน พวกเขาก็อาศัยอยู่ที่นั่น จนกระทั่งเทราห์เสียชีวิต

ชื่อ เทราห์หมายถึง ที่พักชั่วคราว ล่าช้า ประตู เทราห์ไม่ยอมไปตามแผนการของพระเจ้าเพราะติดกับความสบาย ความเคยชิน และดำเนินอยู่ในความบาป

ยชว. 24:2  แล้วโยชูวากล่าวกับประชาชนทั้งสิ้นว่า  "พระเยโฮวาห์พระเจ้าของอิสราเอลตรัสดังนี้ว่า  "ในกาลดึกดำบรรพ์บรรพบุรุษของเจ้าอยู่ฟากตะวันออกของแม่น้ำยูเฟรติส  คือเท-ราห์บิดาของอับราฮัมและของนาโฮร์  และเขาปรนนิบัติพระอื่น


เราจำเป็นต้องออกจากความเคยชินหรือ Comfort Zone นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจจะทาให้รู้สึกไม่ปลอดภัย อึดอัด ไม่มั่นใจ
ปี 5774 ปีแห่งประตู  เราจะต้องเคลื่อนไปตามการทรงนำและผ่านประตูของพระเจ้าด้วยความเชื่อ (อสย.26:2)

อย่าให้บาป ตะครุบเราที่ประตู แต่เคลื่อนไปยึดประตูเมืองศัตรูตามพันธสัญญา
 
ปฐก.4:7   ถ้าเจ้าทำดี  เราก็จะพอใจรับเจ้ามิใช่หรือ  ถ้าเจ้าทำไม่ดี  บาปก็หมอบอยู่ที่ประตู  อยากตะครุบเจ้า  เจ้าจะต้องเอาชนะบาปนั้นให้ได้"

ปี 5774 จะเป็นปีที่เราจะมีการพักสงบในเต็นท์นัดพบของพระเจ้า

เราต้องทำความเข้าใจเรื่องการพักสงบ เมื่อยามรบอยู่ในสงครามฝ่ายวิญญาณเราจะเป็น "นักรบที่ห้าวหาญ" แต่ในยามพักสงบ  เราต้องเป็น "นักรักที่หวานซึ้ง" ในความรักพระเจ้า

ศฟย. 3:17 พระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้าอยู่ท่ามกลางเจ้า เป็นนักรบผู้ประทานความมีชัย พระองค์ทรงเปรมปรีดิ์เพราะเจ้าด้วยความยินดี พระองค์จะทรงรื้อฟื้นเจ้าใหม่ด้วยความรักของพระองค์  พระองค์จะทรงเริงโลดเพราะเจ้าด้วยร้องเพลงเสียงดัง
พลับพลาที่ประทับของพระเจ้า  การทรงสถิตของพระเจ้าดังที่กษัตริย์ซาโลมอนมอบพระวิหารในเดือนเอธานิม(ทิชรี) ช่วงเทศกาลอยู่เพิง พระสิริของพระเจ้าลงมาเต็มขนาด

นอกจากนี้เป็นเทศกาลแห่งการถวายพระวิหาร โดยกษัตริย์ซาโลมอน
 (1พกษ. 8:1-10ในพระคัมภีร์เดิม เทศกาลเป่าแตรมีขึ้นในวันแรกของเดือนที่เจ็ด หรือเดือนทีชรี แต่เดิมเรียกว่าเดือนเอธานิม ซึ่งปรากฏใน

1พกษ. 8:2-10   2 และผู้ชายทั้งสิ้นของอิสราเอลก็ประชุมต่อพระพักตร์พระราชาซาโลมอน  การเลี้ยงในเดือนเอธานิม  ซึ่งเป็นเดือนที่เจ็ด … 10   และอยู่มาเมื่อปุโรหิตออกมาจากวิสุทธิสถาน  เมฆมาเต็มพระนิเวศของพระเจ้า

และสิ่งที่สำคัญในปี 5774 ปีแห่งประตู เราจะมีการขยายหลักหมุดเต็นท์ และการรับใช้พระเจ้าที่กว้างขึ้นออกไปมากขึ้น ดั่งพระวจนะที่กล่าวว่า

อสย. 54:1-3 
"จงร้องเพลงเถิด  โอ  หญิงหมันเอ๋ย  ผู้ไม่คลอดบุตร  จงเปล่งเสียงร้องเพลงและร้องให้ดัง  เจ้าผู้ไม่ได้เจ็บครรภ์  ด้วยว่าบุตรของแม่ร้างก็ยังจะมีมากกว่า  บุตรของนางที่แต่งงาน  พระเจ้าตรัสดังนี้

จงขยายสถานที่แห่งเต็นท์ของเจ้า  และให้ม่านของที่อาศัยของเจ้าขึงออก  อย่าหน่วงไว้  ต่อเชือกของเจ้าให้ยาว  และเสริมกำลังหลักหมุดของเจ้า

เพราะเจ้าจะกระจายออกไปทางขวาและทางซ้าย  และเชื้อสายของเจ้าจะได้บรรดาประชาชาติเป็นกรรมสิทธิ์และจะให้มีคนอยู่ในหัวเมืองร้างเปล่า

ปี 5774 จะเป็นการยกระดับความสัมพันธ์และมิติฝ่ายวิญญาณที่สูงขึ้น

วว. 4:1   1   ต่อจากนั้นข้าพเจ้าได้เห็นประตูสวรรค์เปิดอ้าอยู่  และพระสุรเสียงแรกซึ่งข้าพเจ้าได้ยินนั้น  ได้ตรัสกับข้าพเจ้าดุจเสียงแตรว่า  "จงขึ้นมาบนนี้เถิด  และเราจะสำแดงให้เจ้าเห็นเหตุการณ์ที่จะต้องเกิดขึ้นในภายหน้า"

เมื่อขอบเขตการับใช้ขยายออกและการยกระดับความสัมพันธ์กับพระเจ้าที่สูงขึ้น พระพรที่จะได้รับนั่นคือ "ชัยชนะ การยึดประตูเมืองของศัตรู"

ปฐก. 22:17   เราจะอวยพรเจ้าแน่  เราจะทวีเชื้อสายของเจ้าให้มากขึ้น  ดังดวงดาวในท้องฟ้า  และดังเม็ดทรายบนฝั่งทะเล  เชื้อสายของเจ้าจะได้ประตูเมืองศัตรูของเจ้าเป็นกรรมสิทธิ์

เราไม่เพียงแค่ฉลองเทศกาลอยู่เพิงให้การทรงสถิตในช่วงเทศกาลเท่านั่น สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงชั่วคราว แต่สิ่งที่เป็นชั่วนิรันดร์คือการนำการทรงสถิตของพระเจ้ามาอยู่ในชีวิตของเรา อยู่ในบ้านของเรา และในทุกๆที่ที่เราไป

เต็นท์ของเราอยู่ในที่นั่นจะเป็นเต็นท์นัดพบระหว่างเรากับพระยาห์เวห์

ขอพระเจ้าอวยพระพรนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น