30 กรกฎาคม 2555

Acts 6:1-7_จัดระบบบริหารเคลื่อนตามพระวิญญาณ

ศึกษาพระธรรมกิจการของอัครทูต
คริสตจักร "ต้นแบบ"ตามพระบัญชา
กิจการของอัครทูต 6:1-7
1 ในคราวนั้นเมื่อศิษย์กำลังทวีมากขึ้น พวกนิยมกรีกบ่นติเตียนพวกฮีบรูว่า ในการแจกทานทุกๆวันนั้นเขาเว้นไม่ได้แจกให้พวกแม่ม่ายชาวกรีก
2 ฝ่ายอัครทูตทั้งสิบสองคนจึงเรียกบรรดาศิษย์ให้ประชุมกัน แล้วกล่าวว่า "ซึ่งเราจะละเลยพระวจนะของพระเจ้า มัวไปแจกอาหารก็หาควรไม่
3 เหตุฉะนั้นพี่น้องทั้งหลายจงเลือกเจ็ดคนในพวกท่าน ที่มีชื่อเสียงดีประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และสติปัญญา เราจะตั้งเขาให้ดูแลการงานนี้
4 ฝ่ายพวกเราจะขะมักเขม้นอธิษฐาน และรับใช้พระเจ้าในพันธกิจแห่งพระวจนะเสมอไป"
5 คนทั้งหลายเห็นชอบกับคำนี้ จึงเลือกสเทเฟนผู้ประกอบด้วยความเชื่อและพระวิญญาณบริสุทธิ์ กับฟีลิป โปรโครัส นิคาโนร์ ทิโมน ปารเมนัส และนิโคเลาส์ชาวเมืองอันทิโอกซึ่งเป็นผู้เข้าจารีตฝ่ายศาสนายิว
6 คนทั้งเจ็ดนี้เขาให้มายืนต่อหน้าพวกอัครทูต แล้วพวกอัครทูตก็อธิษฐานและวางมือบนเขา
7 การประกาศพระวจนะของพระเจ้าได้เจริญขึ้น และจำพวกศิษย์ก็ทวีขึ้นเป็นอันมากในกรุงเยรูซาเล็ม และพวกปุโรหิตเป็นอันมากก็ได้เชื่อในพระศาสนา

อารัมภบท
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ในครั้งนี้เราได้กลับมาศึกษาพระธรรมกิจการฯร่วมกัน เมื่อคริสตจักรมีการเจริญเติบโตอย่างมาก ขณะเดียวกันก็มีปัญหาเกิดขึ้นเช่นกัน  เนื่องจากในคริสตจักรสมัยแรกรับใช้ด้วยการพึ่งพาพระเจ้า และรับการเต็มล้นด้วยฤทธิ์เดชพระวิญญาณทำให้สามารถขับเคลื่อนคริสตจักรให้เติบโตทั้งคุณภาพและปริมาณ คือ เมื่อศิษย์กำลังทวีมากขึ้น ทำให้การแจกอาหารไม่ทั่วถึง นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ต้องมีการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหา ในพระธรรมตอนนี้เราจึงได้เห็น “ต้นแบบ” ของการจัดระบบบริหารของคริสตจักร   การจัดระบบบริหารจึงเป็นการเคลื่อนตามการทรงนำของพระวิญญาณ สิ่งที่เราเห็นตามมา คือ การรับใช้ที่มีชีวิตชีวา และเห็นถึงการเกิดผลอย่างมากมาย เราจะมาศึกษาร่วมกัน

1.ข้อสังเกตเพื่อใคร่ครวญ
ข้อสังเกตจากพระธรรมตอนนี้ในการจัดระบบบริหารในคริสตจักรสมัยแรก นั่นคือต้องมีการประชุมประเมินสถานการณ์ และมีการจัดเรียงลำดับความสำคัญ(Priority)ของงานที่ทำ ในข้อ 1-4 อัครทูตได้จัดเรียงลำดับความสำคัญของงานคือ งานหลักคืออธิษฐาน และรับใช้พระเจ้าในพันธกิจแห่งพระวจนะ เป็นบทบาทโดยตรงของอัครทูต แต่งานแจกอาหารก็ไม่ควรที่จะละเลย ทางออกของการแก้ไขปัญหาคือการกระจายงาน โดยมอบหมายงานให้ผู้อื่นช่วยทำ คือ วางคนให้เหมาะสมกับงาน (Put the right man on the right job)ในข้อ 5 คนทั้งหลายเห็นชอบกับคำนี้ จึงเลือกสเทเฟนผู้ประกอบด้วยความเชื่อและพระวิญญาณบริสุทธิ์ กับฟีลิป โปรโครัส นิคาโนร์ ทิโมน ปารเมนัส และนิโคเลาส์ชาวเมืองอันทิโอกซึ่งเป็นผู้เข้าจารีตฝ่ายศาสนายิว อัครทูตได้เลือกทีมงาน 7 คน เรียกว่าเป็นดัง Dream team ในฝ่ายวิญญาณเข้ามามีส่วนร่วมรับใช้พระเจ้าโดยการดูแลแจกอาหารให้คนทั่วไป
การคัดเลือกบุคคลที่มาทำหน้าที่บริหารการแจกทานครั้งนี้ คุณสมบัติคือ ผู้ประกอบด้วยความเชื่อและพระวิญญาณบริสุทธิ์ ไม่ได้เลือกตามผู้ที่มีความรู้ความสามารถเป็นหลัก จะเห็นได้ว่าการคัดเลือกบุคคลมาร่วมรับใช้กับคณะอัครทูต คุณสมบัติสำคัญคือคนที่มีชีวิตที่ดี และประกอบด้วยพระวิญญาณฯ เหมือนดังในการคัดเลือกอัครทูตที่มาทำหน้าที่แทนยูดาส ในพระธรรมกิจการฯบทที่ 1 ตามที่เราได้พิจารณากันไปแล้ว ในบทความ(Acts 2:1-21_คริสตจักรที่ “ทำตาม”พระบัญชา) 

2.ข้อคิดสะกิดใจ
ใน กจ.6:1-6 คณะอัครทูตได้แต่งตั้ง “คณะเจ็ดคน” ขึ้นเป็นคณะกรรมการเฉพาะกิจ ทำงานเฉพาะทางคือการแจกทาน เรียกว่า มัคนายก (deacon) การจัดระบบบริหารคริสตจักรต้องเลือกบุคคลที่เหมาะสม เพราะต้องเลือกจากผู้ที่มีหัวใจปรนนิบัติ คำว่า "มัคนายก" (Deacon-เดคอน)หากพิจารณาจากรากศัพท์ภาษากรีก คือคำว่า diakonos(διάκονος)-ไดโคนอส ให้ความหมายคือ ผู้รับใช้(servant)

ฉะนั้นท่าทีเป็นผู้รับใช้ ปรนนิบัติ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการเลือกคนที่มาทำหน้าที่นี้
ในเวลานั้นการแจกทานให้แก่ผู้เชื่อไม่ทั่วถึงโดยไม่ได้แจกให้พวกแม่ม่ายชาวกรีก การแต่งตั้งคณะเจ็ดคนจึงเป็นความคิดริเริ่มของผู้นำในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยได้แต่งตั้งผู้เชื่อที่ชื่อเสียงดี มีลักษณะชีวิตที่ดีและมีความสามารถให้รับผิดชอบการแจกทาน มัคนายกจึงมีหน้าที่ทำภารกิจงานตามที่ได้รับมอบหมายจากอัครทูตและอยู่ใต้สิทธิอำนาจของอัครทูต และสิทธิอำนาจนั้นเกิดจากการได้รับมอบหมายงานเจาะจง
กจ.6:3 เหตุฉะนั้นพี่น้องทั้งหลายจงเลือกเจ็ดคนในพวกท่าน ที่มีชื่อเสียงดีประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และสติปัญญา เราจะตั้งเขาให้ดูแลการงานนี้
กจ.6:6 คนทั้งเจ็ดนี้เขาให้มายืนต่อหน้าพวกอัครทูต แล้วพวกอัครทูตก็อธิษฐานและวางมือบนเขา
จะเห็นได้ว่าพระเจ้าเป็นผู้แต่งตั้งผู้นำในคริสตจักรเพื่อทำหน้าที่ปกครองดูแลคริสตจักร และผู้นำในคริสตจักรเป็นผู้แต่งตั้งมัคนายกให้ทำหน้าที่ในภารกิจงานที่เจาะจงตามที่ได้รับมอบหมายในฐานะผู้ช่วยและเป็นทีมงานร่วมรับใช้ ตัวอย่างของการจัดระเบียบเหล่าสาวกเจ็ดสิบคนและหน้าที่ของเขาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า “ไม่มีกฎแต่มีความรัก ไม่มีหลักบริหารแต่เคลื่อนตามพระวิญญาณ”
ในการรับใช้ของอัครสาวก พวกเขาตระหนักว่าต้องพึ่งพาฤทธิ์เดชของพระวิญญาณอย่างมาก โดยสะท้อนผ่านคำพูดใน กจ.6:4ก เริ่มต้นว่า “ ฝ่ายพวกเราจะขะมักเขม้นอธิษฐาน...”  ความกระตือรือร้นเป็นสิ่งสำคัญมากและเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นชีวิต ที่มีพระเจ้าอยู่ภายใน หากเรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้าเราจะแสดงความตื่นเต้นกระตือรือร้นในพระองค์ คำว่า “ขะมักเขม้น” คำนี้แสดงให้เห็นถึงการมีความพากเพียรอุตสาหะ ในลักษณะที่ยึดมั่นถือมั่น เอาจริงเอาจัง หิวกระหาย  นี่คือ ลักษณะวิถีการดำเนินชีวิตของคริสตจักรสมัยแรกที่ยังคงเหนียวแน่น เอาจริงเอาจังในความเชื่อ มีชีวิตแห่งการอธิษฐานอย่างกระตือรือร้น 
“การอธิษฐาน” คือ การพูดคุยสนทนากับพระเจ้าอย่างมีความหมาย ไม่ใช่เป็นการพร่ำบ่น หรือ พูดวนเวียนไปมาโดยปราศจากความหมายแต่แสวงหาคำตอบจากพระเจ้าอย่างเจาะจง พระเจ้าทรงเป็นคำตอบที่เมื่อพบทางตัน พระองค์จะประทานทางออกเสมอในทุกทาง 
การจัดการบริหารจึงเป็นสิ่งที่ช่วยคริสตจักรในการขับเคลื่อนตามการทรงนำของพระวิญญาณ ทั้งนี้เพราะหากไม่จัดารบริหารให้ดีทรัพยากรที่มีความจำกัดก็จะไม่พอเพียง หรือการใช้ของประทานในคริสตจักร หากไม่มีการจัดระบบบริหารก็จเกิดความสับสนวุ่นวาย แต่พระเจ้าไม่ใช่พระเจ้าแห่งการวุ่นวาย (1คร.14:33)จัดระบบบริหารการใช้ของประทานเพื่อปฏิบัติทุกสิ่งตามระเบียบวินัย (1คร.14:40)
พระเยซูคริสต์เป็นต้นแบบของการบริหารจัดการ เช่นในกรณีการเลี้ยงคน 5,000 คน ด้วยขนมปัง 5 ก้อนและปลา 2 ตัว แม้ทรัพยากรจำกัดแต่พระเยซูทรงไม่จำกัดแต่พระองค์ทรงทำการอัศจรรย์ โดยจักระบบการนั่งของสาวกให้นั่งเป็นหมู่ เพื่อรับอาหารและแบ่งปันอย่างครบถ้วน
มก.6:38-42 38 พระองค์ตรัสตอบเขาว่า "พวกท่านมีขนมปังอยู่กี่ก้อน ไปดูซิ" เมื่อรู้แล้วเขาจึงทูลว่า "มีขนมปังห้าก้อนกับปลาสองตัว" 39 พระองค์จึงตรัสสั่งคนทั้งปวง ให้นั่งรวมกันที่หญ้าสดเป็นหมู่ๆ 40 ประชาชนก็ได้นั่งรวมกันเป็นหมู่ๆ หมู่ละร้อยคนบ้าง ห้าสิบบ้าง 41 เมื่อพระองค์ทรงรับขนมปังห้าก้อนกับปลาสองตัวนั้นแล้ว ก็แหงนพระพักตร์ดูฟ้าสวรรค์ ถวายคำสาธุการแล้วหักขนมปังนั้นให้เหล่าสาวก ให้เขาแจกแก่คนทั้งปวง และปลาสองตัวนั้น พระองค์ทรงแบ่งให้ทั่วกันด้วย 42 เขาได้กินอิ่มทุกคน
ข้อคิดคือ การจัดระบบบริหารต้องเอื้ออำนวยให้พระวิญญาณทรงเคลื่อนไหวด้วย ไม่ใช่บริหารคริสตจักรตามหลักบริหารแบบ MBA จนติดยึดรูปแบบตายตัว ผู้นำคริสตจักรควรมีการจัดระบบบริหารและเคลื่อนไปตามการทรงนำของพระเจ้า เป็นผู้นำที่เอื้ออำนวยความสะดวก (facilitator) ให้พระวิญญาณฯเคลื่อนไหว โปรดดำเนินสะดวกในคริสตจักรท้องถิ่นนั้นๆ
ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า หลายคริสตจักรมีการบริหารคริสตจักรแบบมีคณะผู้ปกครอง แต่ได้รับคัดเลือกมาจากนักธุรกิจหรือผู้บริหารองค์กรภายนอกคริสตจักร ทำให้บางครั้งคณะผู้ปกครองใช้หลัการบริหารแบบความรู้ด้านธุรกิจมาบริหารคริสตจักร จึงไม่ได้มีการบริหารที่เอื้ออำนวยให้พระวิญญาณนเคลื่อนไหวในคริสตจักร หรือบางครั้งใช้อำนาจมาแทรกแซงการทำงานของศิษยาภิบาลในคริสตจักรนั้นๆ ทำให้คริสตจักรไม่ได้เกิดผลเท่าที่ควร
หากเราดูผลของการจัดระบบบริหารตามการทรงนำของพระวิญญาณ เราเห็นได้ว่าคริสตจักรเกิดผลมาก
กจ.6:7 การประกาศพระวจนะของพระเจ้าได้เจริญขึ้น และจำพวกศิษย์ก็ทวีขึ้นเป็นอันมากในกรุงเยรูซาเล็ม และพวกปุโรหิตเป็นอันมากก็ได้เชื่อในพระศาสนา
คำถามใคร่ครวญ : เรามีการบริหารจัดการกับทรัพยากรในชีวิตของเราอย่างไรให้เหมาะสม และให้พระวิญาณทรงนำหรือไม่ในการจัดการบริหาร ?

3.ข้อสรุปเพื่อการประยุกต์ใช้
สำหรับข้อสรุปเพื่อการประยุกต์ใช้คือ เราได้เห็นต้นแบบของพระเยซูคริสต์ที่พระองค์จัดระบบการแจกอาหาร และเห็นได้ว่าเมื่อสาวกหยิบยื่นขนมปังและปลาให้กับพระเยซูก็เห็นการอัศจรรยืเกิดขึ้น
เมื่อเราบริหารจัดการเราควรจะมอบทรัพยากรที่เรามีทุกอย่างให้พระเจ้าทรงนำในการจัดการและเราจะเห็นการอัศจรรย์ให้เกิดผลมากขึ้น กว่าความคิดที่จำกัดของเรา เพราะพระเจ้าไม่จำกัดเราจึงอย่าเอาความจำกัดของเรามาจำกัดพระเจ้าที่ไม่จำกัด
จากพระธรรมตอนนี้ เราได้เรียนรู้ในเรื่องการจัดลำดับความสำคัญของงาน และเลือกคนให้เหมาะสมกับงาน และที่สำคัญคือต้องจัดระบบบริหารเคลื่อนตามการทรงนำของพระวิญญาณ

ขอพระเจ้าอวยพระพร พบกันใหม่โอกาสหน้า

19 กรกฎาคม 2555

คำอธิษฐานอวยพรในเดือนอับ AV

คำอธิษฐานอวยพรในเดือนอับ (AV)โดย โรนัลด์ ดับบลิว ซอว์คะ (Ronald W. Sawka)
(20 ก.ค.–18 ส.ค. 2012)
1.เดือนนี้เป็นเดือนอับ เดือนแห่งเผ่าสิเมโอน ซึ่งหมายถึง "การได้ยิน การตระหนัก" เราอยากที่จะตระหนักว่าเราสามารถที่จะเคลื่อนไปข้างหน้าต่อ ไปได้ สิเมโอนนั้นยุ่งเหยิง ก็คล้ายๆกับรูเบน (เดือนก่อนหน้า) ผู้ซึ่งไม่มั่นคง เขาถูกเรียกว่าเป็น "เครื่องมือของความโหดร้าย" (ปฐก 49:5) ดังนั้นจึงอาจจะมีความไม่มั่นคง บางทีอาจเป็นเพราะแม่ของเขา เลอาห์ ผู้ที่รู้สึกว่าการตั้งครรภ์เขาจะทำให้ได้รับความรักจากสามี (ดู ปฐก 29:31-33) เราถูกต่อกิ่งเข้ากับมรดกอันยิ่งใหญ่ที่พระเจ้ามีไว้สำหรับเรา แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีความไม่มั่นคงในสายเลือดอย่างที่สิเมโอนมี (พวกเราส่วนใหญ่มีสิ่งนี้) เราจำเป็นต้องพัฒนาวินัยฝ่ายวิญญาณ เพราะวิญญาณชั่วจะเข้ามาและโน้มน้าวให้คุณเห็นด้วยและไปด้วยกันกับมัน พวกมันรู้วิธีในการใช้รูปแบบของความผิดบาปในชีวิตเราดึงเรากลับไปหามัน เมื่อเราเห็นพ้องกับแผนแห่งความชั่ว ของมาร มันก็จะหยั่งรากลงในชีวิตเรา

จงอธิษฐานว่า “พระเจ้า ข้าพระองค์ไม่มั่นคง แต่ข้าพระองค์ก็จะไม่ยุ่งเหยิงเหมือนดังสิเมโอน (ผู้ซึ่งเลือกการแก้แค้นและการไม่ให้อภัย) ข้าพระองค์ทูลขอวินัยในฝ่ายวิญญาณที่จะไม่ยอมเห็นด้วยกับผีเกี่ยวกับตัวข้า พระองค์ ข้าพระองค์เลือกที่จะเชื่อพระองค์และสิ่งที่พระองค์ตรัสเกี่ยวกับข้า พระองค์ ข้าพระองค์ทูลขอแบบแผนของพระองค์ที่จะหยั่งรากลงในข้าพระองค์ ข้าพระองค์ขอให้แบบแผนแห่งการล้มเลิก การเลือกทางที่ง่ายแทนทางที่ถูกต้อง ปรากฏขึ้นชัดเจนในชีวิตข้าพระองค์ และถูกถอนรากถอนโคนออกไป”

2. เดือนที่คุณจะตัดสินใจต่อสิ่งที่คุณได้ยิน คุณจำเป็นต้องตัดสินใจว่า “ข้าพเจ้าจะเพียงแค่ได้ยินสิ่งที่พระเจ้าทรงตรัสกับข้าพเจ้า หรือจะตอบสนองโดยการทำตาม”
3. เดือนแห่งการเชื่อมต่อที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า สิ่งนี้หมายความว่าพระเจ้ามีการเชื่อมต่อที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าสำหรับคุณ ที่จะเปิดเผยและช่วยให้คุณเคลื่อนไปข้างหน้า จงพิจารณาว่าเมื่อเราอยู่ในแนวเดียวกับสิ่งที่พระเจ้าทรงนำมา เมื่อนั้นเราก็จะอยู่ในแนวเดียวกับเหล่าทูตสวรรค์ และหนทางของเราก็จะง่ายดายขึ้น
4. เดือนนี้มีจุดที่ตกต่ำ(ช่วงวันที่ 9-15)หรืออาจจะสูงสุด,ตามประวัติศาสตร์มีสิ่งที่เลวร้ายเกิดขึ้นในวันที่ 9 ของเดือนนี้ เป็นเวลาที่พระวิหารถูกทำลาย ดังนี้้นเป็นช่วงเวลาที่เราต้องเฝ้าระวัง
เดือนนี้เป็นเดือนแห่งจุดสูง ถ้าคุณยกเปลี่ยนระดับให้ถูกต้อง คุณก็จะเคลื่อนเข้าไปสู่สิ่งที่พระเจ้ามีไว้สำหรับคุณ
5. เดือนแห่งตัวอักษรฮีบรู Teth( ט )ซึ่งคล้ายกับครรภ์ สิ่งดี ๆ จะถือกำเนิดอย่างแน่นอน

6. เดือนแห่งกลุ่มดาวสิงโต (Leo) สดด 19:2 บอกไว้ว่า สวรรค์ประกาศพระสิริของพระเจ้า ดังนั้นพระประสงค์ของพระบิดากำลังถูกทำให้สำเร็จ พระองค์จะเริ่มทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตอบสนองและการมีส่วนร่วมของเรา
7.เดือนที่สิงโตคำราม - สิ่งห์แห่งยูดากำลังคำรามเพื่อเรา (ยอล 3:16) ดังนั้นเราต้องคำรามในความเชื่อ การคำราม(หรือสรรเสริญ)ของเราจะกลายเป็นเหมือนการที่องค์พระเยซูสวมทับชีวิต ของเรา และพระเจ้าจะเริ่มที่จะปลดปล่อยสิ่งต่างๆเพื่อเรา จงให้เดือนนี้เป็นแห่งเสียงสรรเสริญที่ยินดีและมีพลัง
8. เดือนที่พระเจ้าทรงทำลายเพื่อพระองค์จะสามารถสร้างขึ้นมาใหม่ - จงขอพระเจ้าให้ทรงทำลายโครงสร้างและรากฐานเก่าที่ขัดขวางคุณและการเคลื่อน ไหวของพระเจ้าไม่ให้ก้าวหน้าไป
9. เดือนที่โลกจะเริ่มหดตัว-ให้เฝ้าดูแผ่นดินไหว ความลับของการตั้งครรภ์เริ่มที่จะเคลื่อนเข้าสู่มิติโลก เมื่อคุณเห็นแผ่นดินไหว จงรู้ว่าพระเจ้าพร้อมแล้วที่จะให้กำเนิดบางสิ่ง
10. เดือนที่มีความหมายว่า “มีความชั่วร้ายอยู่” อย่างไรก็ตาม เราไม่จำเป็นต้องยอมให้มันดำเนินต่อ ไป คุณเปลี่ยนแปลงเพื่อจะดีขึ้น ไม่เช่นนั้น คุณก็จะค่อย ๆ แย่ลง ให้เราอธิษฐานว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า ความชั่วร้ายใด ๆ ขอพระองค์ทรงสำแดงแก่ข้าพระองค์ เพื่อว่าความชั่วร้ายนั้นจะสามารถสิ้นสุดลง” ให้เราป่าวประกาศว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพระองค์กำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ขอบคุณที่โดยองค์พระวิญญาณ ข้าพระองค์สามารถเปลี่ยนแปลงได้
11.เดือนที่อาณาจักรก้าวหน้าไปผ่านการเป็นหุ้นส่วน จงตระหนักรู้ถึงหุ้นส่วนของคุณ เฝ้ามองดูพวกเขา สิ่งนี้จะเป็นมากกว่าแค่การเชื่อมต่อ (connection) จงตระหนักรู้และสนับสนุนหุ้นส่วนที่พระเจ้าให้กับคุณ
12.เดือนแห่งการมองเห็นเข้าใจในระดับใหม่ของการพัฒนาอารมณ์นิสัยเสียที่หลงเหลืออยู่ ไม่เช่นนั้นแล้ว คุณก็จะต่อต้านคำแนะนำและการให้คำ ปรึกษาของพระเจ้า โดยไม่ตั้งใจ ให้สังเกต พระธรรมสดุดี 32 พระเจ้าทรงครอบครอง (เหนืออารมณ์นิสัยของเรา) ไม่มีสิ่งใดต่อต้านการนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ ให้เราอธิษฐานว่า “ขอบคุณพระองค์สำหรับความเข้าใจในระดับใหม่ ให้ความเข้าใจนี้เพิ่มพูนทีวีขึ้นเพื่อข้าพระองค์จะไม่ขัดขวางคำแนะนำ ชี้แนะของพระองค์ ขอที่จะไม่มีสิ่งใดขัดขวางการทรงนำของพระองค์สำหรับชีวิตของข้าพระองค์ได้”


(ข้อมูลจาก http://arise5.com/resources/hebrew-calendar/)
1.The month of Simeon, which means “to hear, to be concerned.” We want to be concerned that we are able to continue moving ahead. Simeon messed up, just like Reuben (the previous month) who was unstable. He was called an “instrument of cruelty” (Gen. 49:5). Also, there seemed to be instability, perhaps from his mother Leah, who felt that bearing him would earn her the love of her husband (see Gen. 29:31–33). We are grafted into the great inheritance God has for us. However, when there is instability in the bloodline, we need to develop spiritual discipline, as demons will try to convince us to align with and to agree with them. (For example, “I guess I am weak-willed,” or, “Hot tempered is just how I am.”) The enemy understands how to use our iniquitous patterns to pull us back. When we agree with Satan’s iniquitous plan, it gets rooted in us. 

Pray, “Lord, I am not unstable; nor will I mess up like Simeon (who chose revenge and unforgiveness). I ask for spiritual discipline to not agree with demons about how I see myself. Rather, I choose to believe You, Lord, and what you say about me. I want Your patterns to be rooted in me. I ask that patterns of giving up, and making easy instead of right choices, would be exposed in my life and uprooted.”
2.The month that you decide on what you have heard. You need to make a decision. “Will I just hear what God has told me, or will I actually do it?”
3.The month of predestined connections. This means God has connections preordained for you that will manifest and will really help you to move ahead. Consider that as we align ourselves with those God brings, then we will also be in alignment with the angels, and our way will be easier.
4.The low-point or the high-point month (frequently on Av 9 or Av 15). In history, bad things have happened to Israel on the ninth day of Av. That is the day when the temple was destroyed. We need to be watchful. Conversely, if you make the right shift, you will move into what God has for you.
5.The month of the Hebrew letter “Tet (ט),” which resembles a womb. Certain good things will be birthed.
6.The month of the constellation of the Lion. Psalm 19:2 states the heavens declare the glory of God. Also, the divine will of the Father is being executed. He begins to execute and carry out things based on what we have responded to.
7.The month the lion roars. The Lion of Judah is roaring for us (Joel 3:16). We must “roar” in faith. Our roaring/praise becomes a covering of the Lord, and God begins to unlock things for us. Let this be a month of joyful, powerful praise.
8.The month where God destroys so that He can reconstruct. Ask the Lord to destroy the old foundations and structures that are hindering you and the moves of God from advancing.
9.The month where the earth begins to contract. Watch for earthquakes. The secret of the pregnancy begins to move into the earth realm. When you hear of earthquakes, know that God is getting ready to birth something.
10.The month that means “there is an iniquity.” However, we do not need to not let it continue. You change for the better,or you will gradually disintegrate. Pray, “Lord, show me my iniquities so that they can be uprooted.” Declare, “Lord, I am changing for the better. Thank you that by the Holy Spirit I can change.”
11.The month where kingdom advances through partnership. Be very aware of your partnerships. Watch them. This is more than just connections. Be aware and supportive of the partnerships God has given you.
12.The month of the left kidney. Develop a new level of discernment, or you will unwittingly oppose God’s counsel and advice. Note Psalm 32. He takes hold of the reigns (of our kidneys). There should be no resisting to the leading of the Holy Spirit. Pray, “Thank you for a new level of discernment. Let this increase so I do not oppose your counsel or advice. Let me not resist Your leading.”

13 กรกฎาคม 2555

การฟื้นฟูใหญ่ ฝนปลายฤดู

บทกลอนหนึ่งจากสังคมออนไลน์ กล่าวว่า...
ข้างนอกมีฝน    ข้างในมีฝัน
พร่างพรมพลิ้วผ่าน สัมผัสหัวใจ
เย็นรื่นชื่นฉ่ำ     หวานล้ำละมุน
หอมความฝันกรุ่น  หมุนโลกสดใส...
หลายครั้งในชีวิตที่"ฝนตก"เป็น"สัญญาณ"ที่พระเจ้ามักจะใช้บอกเราให้นึกถึง"สัญญา"ของพระองค์ บางครั้งฝนกับฝันเป็นสิ่งที่เกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก มีสุภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า

“Vision without action is a daydream. Action without vision is a nightmare.”


"นิมิต(ความฝัน)ที่ปราศจากการกระทำก็เป็นเช่นฝันกลางวันไร้ความหมาย  การกระทำที่ไร้ซึ่งนิมิต(ความฝัน)มันคงจะเป็นเช่นฝันร้าย  ไร้จุดหมายปลายทาง"
สิ่งนี้คงจะเป็นจริง แต่หากการกระทำที่มาจากนิมิต(ความฝัน)สิ่งนี้จะเปลี่ยนแปลงโลกได้แน่

ในวันพฤหัสบดีที่ 12 ก.ค.ที่ผ่านมา ผมได้ร่วมอธิษฐานกับคณะผู้รับใช้เต็มเวลาของคริสตจักรแห่งพระบัญชา(UCC) ที่ตึก Glory Building
ผมได้รับการสำแดงจากพระเจ้านึกถึงพระธรรมบทหนึ่งใน เศคาริยาห์ 10:1-8
1 จงขอฝนจากพระเจ้า ในฤดูฝนชุกปลายฤดู ขอจากพระเจ้าผู้ทรงปั้นเมฆพายุ ผู้ทรงประทานห่าฝนแก่มนุษย์ และผักในทุ่งนาแก่ทุกคน
2 เพราะว่ารูปเคารพประจำบ้านพูดไม่ได้เรื่อง และผู้ทำนายก็เห็นนิมิตเท็จ คนช่างฝันเล่าความฝันเท็จ และให้คำเล้าโลมที่เปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้นประชาชนจึงหลงไปอย่างแกะ เขาทุกข์ใจเพราะขาดเมษบาล
3 "เราโกรธเมษบาลอย่างรุนแรง และเราจะลงโทษบรรดาแพะผู้ เพราะพระเจ้าจอมโยธาเอาพระทัยใส่ฝูงสัตว์ของพระองค์ คือพงศ์พันธุ์ยูดาห์ และจะทรงกระทำเขาให้เป็นเหมือนม้าศึกฮึกเหิมในสงคราม
4 ศิลามุมเอกจะออกมาจากเขา หมุดขึงเต็นท์จะออกมาจากเขา คันธนูรบศึกจะออกมาจากเขา และผู้ครอบครองทุกคนจะออกมาจากเขา
5 รวมกันเข้าเขาจะเป็นอย่างชายฉกรรจ์ในสงครามเหยียบย่ำศัตรูไปในโคลนตามถนน เขาจะต่อสู้เพราะพระเจ้าทรงสถิตกับเขา เขาจะกระทำให้ผู้ที่อยู่บนหลังม้ายุ่งเหยิง
6 "เราจะหนุนกำลังพงศ์พันธุ์ของยูดาห์ และเราจะช่วยพงศ์พันธุ์ของโยเซฟให้รอด เราจะนำเขากลับมาเพราะเราสงสารเขา และเขาจะเป็นเหมือนอย่างว่าเรามิได้ทอดทิ้งเขา เพราะเราคือพระเยโฮวาห์พระเจ้าของเขา เราจะตอบเขา
7 แล้วเอฟราอิมจะเป็นเหมือนชายฉกรรจ์ และจิตใจของเขาทั้งหลายจะเปรมปรีดิ์เหมือนได้ดื่มเหล้าองุ่น ลูกหลานของเขาจะได้เห็นและเปรมปรีดิ์ และจิตใจของเขาจะยินดีเหลือล้นในพระเจ้า
8 "เราจะผิวปากเรียกเขาและรวบรวมเขาเข้ามา เพราะเราได้ไถ่เขาไว้แล้ว และเขาจะมีมากมายเหมือนกาลก่อน

พระธรรมตอนนี้มีความน่าสนใจนั่นคือ พระเจ้าให้อธิษฐานขอ "ฝนจากพระเจ้า ในฤดูฝนชุกปลายฤดู..."(1)ทั้งนี้เนื่องจากฝนชุกปลายฤดูนั้นเป็นช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์และจะดำเนินไปตลอดจนถึงช่วงต้นเดือนเมษายน เป็นฝนในฤดูหนาวที่ย่างเข้าฤดูใบไม้ผลิ

จุดประสงค์ของการส่งฝนชุกปลายฤดูมานั้น คือ เพื่อที่จะทำให้พืชผลที่ได้เติบโตขึ้นแล้วนั้นมาถึงความเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์และเติบใหญ่อย่างเต็มที่
ในประเทศอิสราเอลจะมีฤดูกาล 4 ฤดูกาลคือ
1.ฤดูหนาว(Winter) ประมาณช่วงเดือน ธ.ค.- มี.ค.
2.ฤดูใบไม้ผลิ(Spring) ประมาณช่วงเดือน มี.ค.-มิ.ย.
3.ฤดูร้อน(Summer)ประมาณช่วงเดือน มิ.ย.- ก.ย.

4.ฤดูใบไม้ร่วง(Autumn)ประมาณช่วงเดือน ก.ย.- ธ.ค. 
สำหรับในประเทศไทยเรา มี 3 ฤดู คือฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน (บางคนบอกว่ามี 3 ฤดูคือหน้าฝนนิดหน่อย หน้าร้อนลิ้นห้อย กับหน้าร้อน(Shift)หาย)
ในพระธรรมยากอบ 5:7-11 กล่าวว่า เพราะฉะนั้น พี่น้องเอ๋ย จงอดทนจนกว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าจะเสด็จมา ดูซิ ชาวนายังรอคอยพืชผลอันล้ำค่าที่จะได้จากแผ่นดิน อดทนรอคอยจนกว่าฝนต้นฤดูและฝนชุกปลายฤดูจะมา ท่านทั้งหลายก็ต้องอดทนอย่างนั้น จงทำใจให้ดีไว้ เพราะการเสด็จมาขององค์พระผู้เป็นเจ้าใกล้เข้ามาแล้ว พี่น้องทั้งหลาย อย่าบ่นว่ากันและกัน เพื่อจะได้ไม่ต้องถูกพิพากษา นี่แน่ะ องค์พระผู้พิพากษาทรงยืนอยู่ที่หน้าประตูแล้ว พี่น้องทั้งหลาย จงเอาอย่างการทนทุกข์และการอดทนของบรรดาผู้เผยพระวจนะซึ่งกล่าวในพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า นี่แน่ะ เราถือว่าคนเหล่านั้นที่สู้ทนก็เป็นสุข ท่านได้ยินเรื่องความทรหดอดทนของโยบ และได้เห็นสิ่งที่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงทำให้เขาในบั้นปลาย คือว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงมีความสงสารและความเมตตากรุณาเพียงไร"
ฝนต้นฤดูมักจะมาในช่วงกลางเดือนตุลาคม เป็นฝนที่ตกในฤดูใบไม้ร่วง และจะดำเนินไปตลอดจนถึงช่วงกลางเดือนธันวาคม
จุดประสงค์ของการส่งฝนต้นฤดูมานั้น คือ เพื่อที่จะทำให้ผืนดินอันแตกระแหงนั้นชุ่มฉ่ำเหมาะแก่กันไถพรวนและเพื่อให้น้ำแก่ไร่นาที่ได้หว่านเมล็ดพันธุ์เอาไว้ก่อนหน้าแล้ว 


ผมนึกถึงคำเผยพระวจนะของอาจารย์เจมส์ กอลล์(James W.Goll) หรือที่เรามักจะรู้จักกันในนามของ จิม กอลล์ ได้เผยพระวจนะเรื่อง เมื่อพระวิญญาณเสด็จมาเต็มด้วยฤทธานุภาพ(http://www.elijahlist.com/words/display_word.html?ID=11153)
ให้หลักการคือ
1.ชาญฉลาด
2. อดทน
3. ได้รับการเสริมกำลัง
4. ดำเนินตรงตามนั้นต่อไป
5. ไม่ต่อว่าและไม่บ่น
6. ตัวอย่างความอดทนของโยบ
7. มองหาพระเมตตาและพระกรุณาขององค์เจ้าชีวิต
เฉลยธรรมบัญญัติ 11:10-14 "เพราะว่าแผ่นดินซึ่งท่านกำลังเข้ายึดครองนั้น ไม่เหมือนแผ่นดินอียิปต์ ซึ่งพวกท่านได้จากมา ในที่นั้นท่านหว่านพืชและเอาเท้ารดน้ำเหมือนเป็นสวนผัก แต่แผ่นดินซึ่งพวกท่านจะเข้ายึดครองนั้นเป็นแผ่นดินที่มีเนินเขาและหุบเขา ซึ่งมีน้ำฝนจากฟ้ารดอยู่ เป็นแผ่นดินซึ่งพระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านทรงดูแล พระเนตรของพระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านอยู่เหนือแผ่นดินนั้นเสมอ ตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นปี “ถ้าท่านจะตั้งใจเชื่อฟังตามบัญญัติของข้าพเจ้าซึ่งข้าพเจ้าบัญชาท่านไว้ในวันนี้ ให้รักพระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านทั้งหลายและปรนนิบัติพระองค์ด้วยสุดจิตสุดใจของท่าน ‘เราจะให้ฝนตกบนแผ่นดินของพวกเจ้าตามฤดูกาล คือฝนต้นฤดูและฝนชุกปลายฤดู เพื่อเจ้าจะได้เก็บข้าว เหล้าองุ่นใหม่ และน้ำมันของเจ้า"
1.เมล็ดคือพระวจนะของพระเจ้าวันต่อวัน
2.เหล้าองุ่นใหม่ คือ ความชื่นชมยินดีของชีวิตใหม่ในพระวิญญาณ
3.น้ำมัน คือ การเจิม และ การทำให้มีฤทธานุภาพ
พระเยซูกำลังกลับมาเยี่ยมเยียนพระนิเวศของพระองค์อีกครั้งหนึ่ง
กิจการบทที่ 2 คือ ฝนต้นฤดูที่ลงมาเหนือพระนิเวศของพระเจ้า บทที่่ 2:17 อ้างว่า “การเทพระวิญญาณลงมาในวาระสุดท้าย” นั้นได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ยุคนั้นแล้ว และโยเอล 2:28 ก็พูดถึงการเท “ฝนชุกปลายฤดู” ของพระวิญญาณบริสุทธิ์ลงมา
สิ่งเหล่านี้คือวันเหล่านั้นที่ผู้เผยพระวจนะในกาลก่อนได้เผยพระวจนะเอาไว้
บรรดาสาวกในยุคแรกนั้นเชื่อว่าพวกเขากำลังอาศัยอยู่ในวาระสุดท้ายและเห็นพ้องต้องกันที่จะประกาศิตว่า "Maranatha(มารานาธา)!” (ในภาษาอาราเมค แปลว่า “โอ องค์เจ้านาย ขอทรงเสด็จมาเถิด!” จาก 1โครินธ์ 16.22)...
จากการพิจารณาพระธรรม เศคาริยาห์ 10:1-8 ในข้อ 2-3
2 เพราะว่ารูปเคารพประจำบ้านพูดไม่ได้เรื่อง และผู้ทำนายก็เห็นนิมิตเท็จ คนช่างฝันเล่าความฝันเท็จ และให้คำเล้าโลมที่เปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้นประชาชนจึงหลงไปอย่างแกะ เขาทุกข์ใจเพราะขาดเมษบาล
3 "เราโกรธเมษบาลอย่างรุนแรง และเราจะลงโทษบรรดาแพะผู้ เพราะพระเจ้าจอมโยธาเอาพระทัยใส่ฝูงสัตว์ของพระองค์ คือพงศ์พันธุ์ยูดาห์ และจะทรงกระทำเขาให้เป็นเหมือนม้าศึกฮึกเหิมในสงคราม

พระเจ้าทรงโกรธผู้ทำหน้าที่เป็นผู้เลี้ยงแกะของพระเจ้าทำให้คนของพระเจ้าเป็นดังแกะที่หลงหายไปจากฝูง และไปเที่ยวแสวงหาพระเทียมเท็จ หลงเชื่อคำทำนายของพวกโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ ทำให้หลงทางในชีวิต แต่ตอนนี้พระเจ้ากำลังเปลี่ยนฝูงแกะของพระเจ้า ซึ่งเมื่อก่อนนั้นเป็นแกะที่เชื่องช้า และหลงทาง ให้กลายเป็น "ม้าศึกที่ฮึกเหิม!"
คำสอนของอาจารย์ทอมมี่ เฟมไรท์(Tommi Femrite)ในเรื่อง "ม้าศึกทรงพลังของพระเจ้า" (Mighty God's Warhorse)ให้ข้อคิดว่า "เราต้องเป็นแกะของพระเจ้าที่เชื่อฟังเดินตามเสียงผู้เลี้ยง(ยน.10)แต่เมื่อถึงเวลาสงคราม เราจะต้องเป็นม้าศึกที่ถูกฝึกให้แข็งแกร่ง พร้อมประจัญบานในสงครามฝ่ายวิญญาณ(โยบ 39:19-25)"

พระเจ้าทรงเป็นจอมพลโยธา "พระยาห์เวห์ ซาบะโอท (Yahweh Sabaoth)” ที่ประทับบนหลังม้าศึกเพื่อจะนำการไถ่ ปลดปล่อยเชลยศึกและชัยชนะในสงคราม พระเจ้าจะเป็นผู้ที่รวบรวมแกะของพระองค์ให้กลับสู่คอกของพระองค์ในวาระสุดท้าย
ในพระธรรมเศคาริยาห์ 10:4-8
4 ศิลามุมเอกจะออกมาจากเขา หมุดขึงเต็นท์จะออกมาจากเขา คันธนูรบศึกจะออกมาจากเขา และผู้ครอบครองทุกคนจะออกมาจากเขา
5 รวมกันเข้าเขาจะเป็นอย่างชายฉกรรจ์ในสงครามเหยียบย่ำศัตรูไปในโคลนตามถนน เขาจะต่อสู้เพราะพระเจ้าทรงสถิตกับเขา เขาจะกระทำให้ผู้ที่อยู่บนหลังม้ายุ่งเหยิง
6 "เราจะหนุนกำลังพงศ์พันธุ์ของยูดาห์ และเราจะช่วยพงศ์พันธุ์ของโยเซฟให้รอด เราจะนำเขากลับมาเพราะเราสงสารเขา และเขาจะเป็นเหมือนอย่างว่าเรามิได้ทอดทิ้งเขา เพราะเราคือพระเยโฮวาห์พระเจ้าของเขา เราจะตอบเขา
7 แล้วเอฟราอิมจะเป็นเหมือนชายฉกรรจ์ และจิตใจของเขาทั้งหลายจะเปรมปรีดิ์เหมือนได้ดื่มเหล้าองุ่น ลูกหลานของเขาจะได้เห็นและเปรมปรีดิ์ และจิตใจของเขาจะยินดีเหลือล้นในพระเจ้า
8 "เราจะผิวปากเรียกเขาและรวบรวมเขาเข้ามา เพราะเราได้ไถ่เขาไว้แล้ว และเขาจะมี
มากมายเหมือนกาลก่อน

ในวันนี้ผมเชื่อว่า ฝนตกต้นฤดูกาลเป็นฝนแห่งความโปรดปรานและการไถ่ของพระเจ้ามาถึง เพราะเป็นวาระแห่งการแก้แค้นของพระเจ้าต่อศัตรูของพระองค์ ที่เราจะป่าวร้องขอฝนต้นฤดูที่เป็นการหว่านถ้อยคำแห่งการป่าวร้องประกาศออกไป  ให้เมล็ดพันธุ์แห่งคำเผยพระวจนะลงไปเกิดผล
อิสยาห์ 61:1-2

1 พระวิญญาณแห่งพระเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะว่าพระเจ้าได้ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ เพื่อนำข่าวดีมายังผู้ที่ทุกข์ใจ พระองค์ทรงใช้ข้าพเจ้ามาให้เล้าโลมคนที่ชอกช้ำระกำใจ และร้องประกาศอิสรภาพแก่บรรดาเชลย และบอกการเปิดเรือนจำออก {หรือ การเบิกตา แต่ฮีบรูว่า การเปิด} ให้แก่ผู้ที่ถูกจำจอง
2 เพื่อประกาศปีแห่งความโปรดปรานของพระเจ้า และวันแห่งการแก้แค้นของพระเจ้าของเรา เพื่อเล้าโลมบรรดาผู้ที่ไว้ทุกข์
เมื่อฝนต้นฤดูผ่านไป เราทั้งหลายจะเป็นดั่งชาวนาที่รอคอยฝนครั้งใหม่คือ ฝนชุกปลายฤดู ซึ่งเป็นการเทลงมาของพระวิญญาณบริสุทธิ์ การฟื้นฟูใหญ่ในฝนปลายฤดูจะมา ฝนกำลังจะมา การเกิดผลและการเก็บเกี่ยวกำลังจะมา ...
เศคาริยาห์ 10:1 จงขอฝนจากพระเจ้า ในฤดูฝนชุกปลายฤดู ขอจากพระเจ้าผู้ทรงปั้นเมฆพายุ ผู้ทรงประทานห่าฝนแก่มนุษย์ และผักในทุ่งนาแก่ทุกคน
เราทั้งหลายที่เป็นคริสตชนควรจะกลับใจใหม่ เฝ้าอธิษฐานเผื่อประเทศไทยของเรา ในวันนี้ฝนตกลงมา ไม่รู้ว่าจะเป็นฝันดีหรือฝันร้ายในวันศุกร์ที่ 13 แต่ผมเชื่อว่า เมื่อ "ฟ้าหลังฝนของคนกลับใจ" ผ่านไป นั่นเป็นสัญญาณและคำสัญญาของพระเจ้าว่า การฟื้นฟูใหญ่ในฝนชุกปลายฤดูกำลังจะมา

ประเทศไทยจะเป็นประเทศแห่งการฟื้นฟูใหญ่ของพระเจ้าต่อไป!

12 กรกฎาคม 2555

Acts 5:27-42_คริสตจักรที่ตอบสนองการข่มเหง

ศึกษาพระธรรมกิจการของอัครทูต
คริสตจักร "ต้นแบบ"ตามพระบัญชา
กิจการของอัครทูต 5:27-42
27 เมื่อเขาได้พาพวกอัครทูตมาแล้วก็ให้ยืนหน้าสภามหาปุโรหิตประจำการจึงถามว่า
28 "เราได้กำชับพวกเจ้าอย่างแข็งแรงมิให้สอนออกชื่อนี้ ก็นี่แน่ะ เจ้าได้ให้คำสอน
ของเจ้าแพร่ไปทั่วกรุงเยรูซาเล็ม และปรารถนาให้ความผิดเนื่องด้วยความตายของผู้นั้นตกอยู่กับเรา"
29 ฝ่ายเปโตรกับอัครทูตอื่นๆตอบว่า "ข้าพเจ้าจำต้องเชื่อฟังพระเจ้ายิ่งกว่าเชื่อฟังมนุษย์
30 พระเยซูซึ่งท่านทั้งหลายได้ฆ่าเสียโดยแขวนไว้ที่ต้นไม้นั้น พระเจ้าแห่งบรรพบุรุษ
ของเราได้ทรงบันดาลให้เป็นขึ้นมาใหม่
31 พระเจ้าได้ทรงตั้งพระองค์ไว้ที่พระหัตถ์เบื้องขวาของพระองค์ ให้เป็นองค์พระผู้นำ
และองค์พระผู้ช่วยให้รอดเพื่อจะให้ชนอิสราเอลกลับใจใหม่ แล้วจะทรงโปรดยกความบาปผิดของเขา
32 เราทั้งหลายจึงเป็นพยานถึงเรื่องเหล่านี้ และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งพระเจ้าได้
ทรงประทานให้ทุกคนที่เชื่อฟังพระองค์นั้น ก็เป็นพยานด้วย"
33 เมื่อเขาทั้งหลายได้ยินอย่างนี้โทโสก็พลุ่งขึ้น คิดกันว่าจะฆ่าพวกอัครทูตเสีย
34 แต่คนหนึ่งชื่อกามาลิเอลเป็นพวกฟาริสีและเป็นบาเรียน เป็นที่นับถือของประชาชนได้ยืนขึ้นในสภา แล้วสั่งให้พาพวกอัครทูตออกไปเสียภายนอกครู่หนึ่ง
35 ท่านจึงได้กล่าวแก่เขาว่า "ท่านชนชาติอิสราเอล ซึ่งท่านหวังจะทำแก่คนเหล่านี้
จงระวังตัวให้ดี
36 เมื่อคราวก่อนมีคนหนึ่งชื่อธุดาสอวดตัวว่าเป็นผู้วิเศษมีผู้คนติดตามประมาณสี่ร้อย
แต่ธุดาสถูกฆ่าเสีย คนที่เป็นพรรคพวกก็กระจัดกระจายสาปสูญไป
37 ภายหลังผู้นี้มีอีกคนหนึ่งชื่อยูดาสเป็นชาวกาลิลี ได้ปรากฏขึ้นในคราวจดบัญชีสำมะโนครัว และได้เกลี้ยกล่อมผู้คนให้ติดตามตัวไป ผู้นั้นก็พินาศด้วย คนที่เป็นพรรคพวกก็กระจัดกระจายไป
38 ในกรณีนี้ข้าพเจ้าจึงว่าแก่ท่านทั้งหลายว่าจงปล่อยคนเหล่านี้ไปตามเรื่อง อย่าทำอะไรแก่เขาเลยเพราะว่าถ้าความคิดหรือกิจการนี้มาจากมนุษย์ก็จะล้มละลายไปเอง
39 แต่ถ้ามาจากพระเจ้า ท่านทั้งหลายจะทำลายเสียก็ไม่ได้ เกลือกว่าท่านกลับจะเป็นผู้สู้รบกับพระเจ้า"
40 เขาทั้งหลายจึงยอมฟังกามาลิเอล และเมื่อได้เรียกพวกอัครทูตเข้ามาแล้ว จึงเฆี่ยนและกำชับไม่ให้ออกพระนามของพระเยซู แล้วก็ปล่อยไป
41 พวกอัครทูตจึงออกไปให้พ้นหน้าสภาด้วยความยินดี ที่เห็นว่าตนสมจะได้รับ
การหลู่เกียรติเพราะพระนามนั้น
42 ที่ในบริเวณพระวิหารและตามบ้านเรือน เขาได้สั่งสอนและประกาศข่าวประเสริฐ
ทุกๆวันมิได้ขาดว่าพระเยซูทรงเป็นพระคริสต์


อารัมภบท
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ในครั้งนี้เราได้กลับมาศึกษาพระธรรมกิจการฯร่วมกัน เหตุการณ์ตอนนี้เป็นการเผชิญการข่มเหงอีกครั้งของคริสตจักรสมัยแรก พระเจ้าทรงมีคำสั่งมาถึงอัครทูตอย่างชัดเจนว่า เมื่อออกจากคุกแล้วให้ออกไปประกาศเรื่องราวชีวิตใหม่ที่บริเวณพระวิหาร ซึ่งบรรดาอัครทูตได้เชื่อฟังทำตามพระบัญชาโดยไม่หวั่นเกรงต่อคำสั่งห้ามของสภาสูงของยิว จากเหตุการณ์การข่มเหงครั้งก่อนนั้น นำมาซึ่งความนิยมชมชอบ ประชาชนยอมรับนับถืออัครทูต เพราะสิ่งดีที่อัครทูตได้ทำ จนกระทั่งนายทหารรักษาพระวิหารกับพวกเจ้าพนักงานไม่กล้าแตะต้องอัครทูตอย่างไม่สมควร เช่นจะเอาก้อนหินขว้าง
ข้อ 26 บอกเช่นนั้นว่า แล้วนายทหารรักษาพระวิหารกับพวกเจ้าพนักงาน จึงได้ไปพา
พวกอัครทูตมาโดยดี เพราะกลัวว่าคนทั้งปวงจะเอาหินขว้าง
สำหรับครั้งนี้ เราจะพิจารณาร่วมกันว่าอัครทูต ตอบสนองอย่างไรเมื่อเผชิญการข่มเหง พระธรรมตอนนี้ได้บรรยายให้เห็นถึงลักษณะการตอบสนองของอัครทูตให้เรามาพิจารณาร่วมกัน


1.ข้อสังเกตเพื่อใคร่ครวญ
สิ่งที่เป็นการตอบสนองการข่มเหงของพวกอัครทูตนั่นคือการเชื่อฟังที่ชัดเจนคือ"เชื่อฟังพระเจ้ายิ่งกว่าเชื่อฟังมนุษย์ " (ข้อ 29)นี่คือจุดยืนที่ชัดเจนเมื่อเผชิญการข่มเหง
ก่อนหน้านี้ใน กจ.4:19 เปโตรได้แสดงจุดยืนในทำนองเดียวกันนี้ เมื่อถูกห้ามปรามไม่ให้สื่อสารเรื่องราวของพระคริสต์
กจ.4:19ฝ่ายเปโตรกับยอห์นตอบเขาว่า "จำเพาะพระพักตร์พระเจ้าข้าพเจ้า ควรจะเชื่อฟังท่านหรือควรจะเชื่อฟังพระเจ้าขอท่านทั้งหลายพิจารณาดู"
นี่คือจุดยืนของอัครทูตที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง แม้ต้องเผชิญการข่มเหง ครั้งแล้วครั้งเล่า
การยืนหยัดเชื่อฟังพระเจ้าท่ามกลางสถานการณ์ที่คับขันเช่นนี้ แสดงถึงความกล้าหาญที่ไม่หวั่นเกรงต่อภัยที่อาจมาถึงตัว เพราะอัครทูตเพิ่งถูกจำจอง และเพิ่งได้รับการปล่อยตัวออกมาอย่างอัศจรรย์โดยพระหัตถ์พระเจ้า อัครทูตไม่กลัวสิ่งอาจเกิดขึ้นภายหน้าต่อไปเมื่อเลือกที่จะเชื่อฟังพระเจ้าแทนการเชื่อฟังมนุษย์ คือ "คำสั่งของสภาแซนเฮดดรินที่สั่งห้ามไม่ให้ออกพระนามของพระคริสต์"
การไม่เชื่อฟังพระเจ้าไม่ได้มาจากท่าทีที่กระด้างกระเดื่องต่อกฏหมายบ้านเมือง ยกเว้นแต่กฏหมายหรือคำสั่งที่มาถึงนั้น ขัดแย้งกับพระวจนะของพระเจ้า อัครทูตทราบดีว่า พระบัญชาของพระเยซูคริสต์เป็นคำสั่งที่สำคัญ ที่ควรจะเชื่อฟัง พระบัญชาของพระเจ้าให้บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระคุณความรักของพระเจ้า การช่วยเหลือและพระเมตตาของพระเจ้าที่มาถึงมนุษย์ผ่านทางพระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็นพระเจ้าที่รับสภาพมาบังเกิดเป็นมนุษย์ แต่คำสั่งของสภาแซนเฮดดรินสั่งไม่ให้เอ่ยพระนามของพระเยซูคริสต์
แท้จริงแล้วพระวจนะพระเจ้าได้ให้หลักการเกี่ยวกับเชื่อฟังผู้ปกครอง บ้านเมืองไว้อย่างชัดเจน
ทต.3:1 จงเตือนเขาให้นอบน้อมต่อเจ้าบ้านผ่านเมือง ให้เชื่อฟังและพร้อมที่จะปฏิบัติงานสัมมาอาชีพใดๆ
คริสเตียนจึงเป็นพลเมืองที่ดีของทุกสังคมที่เราเป็นสมาชิกอยู่แผ่นดินใดมีคริสเตียนที่เดินกับพระเจ้าอย่างแท้จริง แผ่นดินนั้นย่อมเปี่ยมด้วยสันติสุข เพราะเรารักความสันติ เพราะพระเจ้าเป็นแหล่งแห่งสันติสุขตราบที่คำสั่งนั้นไม่ขัดแย้งต่อหลักการของพระเจ้าเรายินดีปฏิบัติตาม เราควรจะเคารพต่อกฎหมาย ยกเว้นแต่กฏหมายที่ขัดต่อหลักการพระเจ้าและศีลธรรมอันดีของคริสเตียน
อัครทูตยืนหยัดในการกล่าวความจริง (ข้อ30-32)
30 พระเยซูซึ่งท่านทั้งหลายได้ฆ่าเสียโดยแขวนไว้ที่ต้นไม้นั้น พระเจ้าแห่งบรรพบุรุษ
ของเราได้ทรงบันดาลให้เป็นขึ้นมาใหม่
31 พระเจ้าได้ทรงตั้งพระองค์ไว้ที่พระหัตถ์เบื้องขวาของพระองค์ ให้เป็นองค์พระผู้นำและองค์พระผู้ช่วยให้รอดเพื่อจะให้ชนอิสราเอลกลับใจใหม่ แล้วจะทรงโปรดยกความบาปผิดของเขา
32 เราทั้งหลายจึงเป็นพยานถึงเรื่องเหล่านี้ และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งพระเจ้าได้
ทรงประทานให้ทุกคนที่เชื่อฟังพระองค์นั้น ก็เป็นพยานด้วย"
เราเห็นได้อย่างชัดเจนถึงการมีจุดยืนของอัครทูต ในขณะที่ถูกสั่งห้าม ไม่ให้ออกพระนามของพระคริสต์ ไม่เพียงแต่ยืนหยัดโดยบอกว่า ขอเลือกที่จะเชื่อฟังพระเจ้ามากกว่า ยังฉวยโอกาสในขณะที่ถูกไต่สวนอยู่นั้น กล่าวความจริงเรื่องพระคริสต์ โดยไม่เกรงกลัวว่าจะมีภัยมาถึงตัวเหมือนที่ผ่าน ๆ มา เนื้อหาสาระที่อัครทูตกล่าวนั้นเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระคริสต์ (ข้อ30-32) เป็นการดีได้โอกาสนำเสนอความจริงที่ทำให้ที่ประชุมสภาสูงของยิว ได้เห็นทันทีว่า บรรดาอัครทูตไม่ได้เทศนาสั่งสอนเรื่องพระอื่น เนื่องจากได้กล่าวอ้างถึงพระเจ้าของบรรพบุรุษของคนยิวว่า พระองค์เป็น ผู้ทำให้พระเยซูคริสต์เป็นขึ้นมาจากความตาย
ไม่เพียงเท่านั้น อัครทูตยังเปิดเผยให้เห็นความจริงอย่างชัดเจนว่า พระเยซูทรงเป็นพระผู้ช่วยให้รอดเดียวและเป็นผู้นำให้พวกเขากลับใจ มาหาพระเจ้า
อัครทูตตระหนักดีว่า นี่คือความจริงที่ท่านจำเป็นต้องเชื่อฟังพระเจ้า ท่านไม่อาจนิ่งเงียบ
ท่านยืนหยัดบอกเล่าความจริงว่า การที่พระเจ้าทำให้พระเยซูเป็นขึ้นมาจากความตายที่พวกเขาเป็นผู้อายัดพระองค์เข้าสู่ความตายนั้น เป็นการอัศจรรย์อย่างแท้จริง และเป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ไม่เพียงเท่านั้น ท่านยังขยายความจริงเกี่ยวกับพระคริสต์ว่า พระเยซูทรงได้รับการยกขึ้นสูง(31)
คำว่า “ตั้งพระองค์ไว้ที่พระหัตถ์เบื้องขวาของพระเจ้า” แสดงถึง สิทธิอำนาจของพระเยซูคริสต์ที่อยู่เหนือทุกสิ่ง
พระเยซูทรงเป็นองค์พระเป็นเจ้า นี่คือความจริงที่โลกจะต้องประจักษ์แจ้ง
วันนั้นเมื่อพระเยซูถูกจับอายัดที่กางเขน ศัตรูคิดว่าพระเยซูพ่ายแพ้แล้วแต่หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ วันที่สามพระเยซูทรงชัยชนะเหนือความตาย และจากนั้นเสด็จขึ้นสู่สวรรค์
อฟ.1:22 พระเจ้าได้ทรงปราบสิ่งสารพัดลงไว้ใต้พระบาทของพระคริสต์ และได้ทรงตั้งพระองค์ไว้เป็นประมุขเหนือสิ่งสารพัดแห่งคริสตจักร
ขอให้เรามั่นใจและไว้วางใจในพระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็นประมุขเหนือเรา เพราะพระองค์ทรงไว้ซึ่งสิทธิอำนาจสูงสุด
วันนี้เราเป็นผู้มีชัยชนะแล้วร่วมกับพระองค์ ขอให้เรารับชัยชนะนั้นไว้ด้วยความเชื่อและไว้วางใจ ขอให้เราดำเนินชีวิตอย่างผู้มีชัยชนะ
อัครทูตชี้ให้เห็นอย่างเจาะจงว่า พระเยซูคริสต์ทรงได้รับการกำหนดมาเพื่อชนอิสราเอลโดยแท้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้กลับใจใหม่ และรับการยกโทษบาป (31)
นี่เป็นการกล่าวอย่างตรงประเด็น และตรงไปตรงมา อย่างไม่กลัวโทษทัณฑ์
ลองคิดดูว่าอัครทูตกำลังพูดกับผู้นำของคนยิวซึ่งมีอำนาจอยู่ในมือพร้อมที่จะจัดการกับอัครทูตอย่างไรก็ได้
อัครทูตบอกว่าพระเยซูเป็นผู้ที่พระเจ้าซึ่งพวกเขาเชื่อถือนั้นแต่งตั้งให้เป็นผู้นำและเป็นพระผู้ช่วยให้รอดหรือพระมาซีฮาห์ที่พวกเขารอคอย และเป็นผู้มีอำนาจในการยกบาปผิดของพวกเขาได้ ! การกล่าวตรงประเด็นเช่นนี้ เป็นการเท้าทายสภาแซนเฮดดรินอย่างมาก
อัครทูตกล่าวสรุปลงท้ายใน ข้อ 32 เป็นการยืนยันว่า นี่แหละคือเหตุผลที่บรรดาอัครทูตเป็นพยานถึงเรื่องเหล่านี้(32)
นั่นคือไม่เพียงแต่บรรดาอัครทูตเท่านั้นที่มีภารกิจนี้ พระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งพระเจ้าได้ทรงประทานให้ทุกคนที่เชื่อฟังพระองค์นั้น ก็เป็นพยานด้วย
หมายความว่า ภารกิจแห่งการสื่อข่าวสารความจริงเรื่องพระเยซูคริสต์นั้นไม่ได้เป็นของบรรดาอัครทูตเท่านั้น แต่ของทุกคนที่เชื่อฟังพระเจ้า !
นี่จึงเป็นภารกิจของเราทั้งหลายทุกคนด้วย !


2.ข้อคิดสะกิดใจ
เมื่อมหาปุโรหิตไต่สวนบรรดาอัครทูตว่าเพราะเหตุไรจึงไม่ทำตามที่กำชับไม่ให้ออกไปกล่าวพระนามของพระคริสต์
อัครทูตได้ตอบกลับไปอย่างชัดเจนว่าพวกเขาจำเป็นต้องเชื่อฟังพระเจ้า ยิ่งกว่าเชื่อฟังมนุษย์ คำกล่าวของอัครทูตนั้น ทำให้คนในสภาแซนเฮดดรินไม่พอใจอย่างมาก จนถึงกับคิดจะฆ่าพวกอัครทูตเลย
ข้อ 33 เมื่อเขาทั้งหลายได้ยินอย่างนี้โทโสก็พลุ่งขึ้น คิดกันว่าจะฆ่าพวกอัครทูตเสีย
ข้อคิดที่ได้รับคือ ในสถานการณ์ที่คับขันนั้น พระเจ้าทรงอยู่ด้วยกับคนของพระองค์ที่ยืนหยัดเชื่อฟังพระเจ้าและยืนหยัดในการกล่าวความจริงของพระเจ้า
ผลของการเชื่อฟังและยืนหยัดในการกล่าวความจริงของพระเจ้า อยู่ในข้อ 34-40 นั่นคือ “ความจริงได้รับ การรับรอง” เพราะผ่านการทดสอบ
พระเจ้าได้ทรงจัดเตรียมทางออก พระเจ้าได้จัดเตรียมการช่วยเหลือมาให้อีกครั้งหนึ่ง
ท่ามกลางสมาชิกในสภาแซนเฮดดรินนั่นเอง
พระเจ้าทรงจัดเตรียมให้มีคนหนึ่งชื่อ “กามาลิเอล”ท่านเป็นบุคคลที่สำคัญท่ามกลางชนชั้นนำของยิว เป็นพวกฟาริสี และเป็นบาเรียน และเป็นคนที่ประชาชนคนยิวยอมรับนับถือ
พระเจ้าทรงใช้ชายผู้นี้แหละ ทำให้ความจริงได้รับการรับรอง ท่านผู้นี้เป็นอาจารย์ของเซาโลซึ่งต่อมาได้กลายเป็นอัครทูตเปาโล(กจ.2:23"ข้าพเจ้าเป็นยิว เกิดในเมืองทาร์ซัสแคว้นซีลีเซีย แต่ได้เติบโตขึ้นในเมืองนี้ และได้เล่าเรียนกับท่านอาจารย์กามาลิเอล ตามธรรมบัญญัติของบรรพบุรุษของเราโดยถี่ถ้วนทุกประการ จึงมีใจร้อนรนในการปรนนิบัติพระเจ้า เหมือนอย่างท่านทั้งหลายทุกวันนี้)ท่านกามาลิเอลได้กลายเป็นแนวร่วมกับบรรดาอัครทูตโดยไม่รู้ตัว แม้ว่าเขา ไม่ได้ยอมรับหรือเห็นด้วยกับคำสอนของอัครทูตก็ตาม
กามาลิเอลได้ลุกขึ้นกล่าวคัดค้านการกระทำของสมาชิกสภา โดยให้คนพาพวกอัครทูตออกไปข้างนอกก่อนสักครู่หนึ่งข้อ (34)
หลังจากที่อัครทูตถูกพาตัวออกไปแล้ว กามาลิเอลจึงได้กล่าวชี้แจง เหตุผลที่ไม่เห็นด้วยที่จะทำอะไรกับอัครทูต ณ เวลานี้ โดยยกตัวอย่าง 2 เหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนที่เป็นความผิดพลาด คือพูดถึง 2บุคคล (2ดาส)นั่นคือธุดาสและยูดาส(มีลูกมีหลานกรุณาอย่าตั้งชื่อนี้) เป็นเหตุการณ์ปรากฏใน ข้อ 35-36 ท่านได้อ้างถึงชายคนหนึ่งที่อวดตัวว่าเป็นผู้วิเศษ ชื่อ "ธุดาส" ปรากฏว่ามีคนติดตามชายผู้นี้ไป แต่ในที่สุดชายผู้นี้ได้ถูกฆ่า คนที่ติดตาม ทั้งสี่ร้อยก็กระจัดกระจายไป
เหตุการณ์ที่สอง ปรากฏใน ข้อ 37 ภายหลังผู้นี้มีอีกคนหนึ่งชื่อยูดาสเป็นชาวกาลิลี ได้ปรากฏขึ้นในคราว  เหตุการณ์ที่สอง คือชายอีกคนชื่อ "ยูดาส"เป็นชาวกาลิลีได้เกลี้ยกล่อมให้คนติดตามตัวเองไป ปรากฏว่าต่อมาชายผู้นี้ก็ถูกฆ่าตาย คนที่เป็นพรรคพวกก็กระจัดกระจายไป
ท่านยกเหตุการณ์สองเหตุการณ์นี้ขึ้นมาเพื่อสรุปใน ข้อ 38-39
38 ในกรณีนี้ข้าพเจ้าจึงว่าแก่ท่านทั้งหลายว่าจงปล่อยคนเหล่านี้ไปตามเรื่อง อย่าทำอะไรแก่เขาเลยเพราะว่าถ้าความคิดหรือกิจการนี้มาจากมนุษย์ก็จะล้มละลายไปเองพระเจ้าทรงใช้ชายผู้นี้แหละ ทำให้ความจริงได้รับการรับรอง

39 แต่ถ้ามาจากพระเจ้า ท่านทั้งหลายจะทำลายเสียก็ไม่ได้ เกลือกว่าท่านกลับจะเป็นผู้สู้รบกับพระเจ้า"
นี่เป็นคำกล่าวที่ลึกซึ้งมาก แสดงให้เห็นถึงความเชื่อในพระเจ้าของ กามาลิเอลว่า พระเจ้าทรงควบคุมอยู่เหนือทุกสถานการณ์ ไม่จำเป็นต้องลุกขึ้นต่อสู้แทนพระเจ้าจงปล่อยคนเหล่านี้ไปตามเรื่อง อย่าทำอะไรเขาเลย กามาลิเอลบอกว่า อย่าเอาเรื่องเอาราวกับอัครทูตอีกต่อไปเลย ให้เรื่องนี้จบ เพราะหากการนี้มาจากมนุษย์ ก็จะล้มละลายไปเอง
หมายความว่า หากอัครทูตสร้างเรื่องขึ้นมาเพื่อหลอกลวงคน การนั้น จะล้มเหลวจะไม่สำเร็จ พระเจ้าจะไม่รับรอง
หากการนี้มาจากพระเจ้า กามาลิเอลชี้ให้เห็นความจริง 2 ประการคือ
ประการแรก จะไม่มีใครทำลายสิ่งที่มาจากพระเจ้า
ประการที่สอง หากลงมือต่อสู้การที่มาจากพระเจ้าจะกลายเป็น การสู้รบกับพระเจ้า
ความคิดอันเฉียบคมและมีสติปัญญาของกามาลิเอลนี้ ให้ข้อคิดที่ดีแก่เราที่เราจะไม่ด่วนตัดสินหรือจัดการกับเรื่องใด ๆ หรือกับใคร เพราะพระเจ้าทรงควบคุมอยู่เหนือทุกสิ่ง
ถ้าต่อสู้งานพระเจ้า เท่ากับเป็นการต่อสู้พระเจ้า
ถ้าต่อสู้คนของพระเจ้า ก็เท่ากับต่อสู้กับพระเจ้า
ไม่เพียงแต่บรรดาอัครทูตจะตอบสนองเมื่อได้รับการช่วยกู้จากการข่มเหงโดย “เชื่อฟังพระเจ้า” แล้ว
ข้อ 41 ..พวกอัครทูตจึงออกไปให้พ้นหน้าสภาด้วยความยินดี ที่เห็นว่าตนสมจะได้รับการหลู่เกียรติเพราะพระนามนั้น
นั่นคือการตอบสนองเมื่อได้รับการช่วยกู้จากการข่มเหง คือ “ตอบสนองด้วยความยินดี”
เมื่อพวกอัครทูตได้รับอิสรภาพ พวกเขามีความยินดี ความยินดีนั้น ไม่ใช่เพียงเพราะได้รับอิสรภาพแล้ว แต่เพราะเห็นว่าตนสมจะได้รับการหลู่เกียรติเพราะพระนามนั้น
ทำไมอัครทูตถึงมีความยินดี? เพราะพวกเขาถือว่าเป็นสิทธิพิเศษจริง ๆ ที่ได้เผชิญอย่างพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา พวกเขาต้องถูกเฆี่ยน พวกเขาต้องถูกประจาน ซึ่งนี่คือสิ่งที่พระเยซู ถูกปฏิบัติอย่างนั้นเช่นกัน
เราทั้งหลายซึ่งเป็นคนของพระเจ้าก็ควรมีท่าทีเช่นนั้นเหมือนกันหากต้องเผชิญกับการหลู่เกียรติเพราะพระนามของพระคริสต์
อัครทูตเปโตร ผ่านประสบการณ์แห่งการทุกข์ยากเพื่อพระคริสต์ จึงเขียนจดหมายถึงธรรมิกชนในจดหมายฝาก 1ปต. 4:13 ว่าแต่ว่าท่านทั้งหลายจงชื่นชมยินดี ในการที่ท่านได้มีส่วนร่วมในความทุกข์ยากของพระคริสต์ เพื่อว่าเมื่อพระสิริของพระเจ้าปรากฏขึ้น ท่านทั้งหลายก็จะได้ชื่นชมยินดีเป็นอันมากด้วย
ให้ยินดีเถิดหากต้องรับความทุกข์ หากต้องรับการหลู่เกียรติเพราะ พระนามของพระเจ้า  เพราะว่าวันสุดท้ายเมื่อพระคริสต์เสด็จกลับมา ความยินดีนั้นจะยิ่งเพิ่มพูนเป็นอย่างมากด้วย !
ยากอบก็เช่นกัน ท่านได้ผ่านประสบการณ์แห่งความปีติยินดีที่ได้ เผชิญกับความทุกข์ยากเพราะพระนามของพระเจ้า จึงเขียนจดหมายบอกพี่น้องใน ยก.1:2 ดูก่อนพี่น้องของข้าพเจ้า เมื่อท่านทั้งหลายประสบความทุกข์ยากลำบากต่างๆ ก็จงถือว่าเป็นเรื่องน่ายินดี


คริสเตียนไม่ใช่พวกที่ชอบซาดิสต์ Sadismนิยมความรุนแรง ชอบความทุกข์ หรือชอบการทรมานตัวเอง แต่หากความทุกข์นั้นเพราะพระนามพระเจ้า เรา ถือว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดี
เมื่อเผชิญกับความทุกข์ยากเพราะพระนามของพระคริสต์ อัครทูตยินดีเพราะรู้ว่าทั้งสิ้นอยู่ในแผนการของพระเจ้า ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
เพราะก่อนหน้านี้เมื่อพระเยซูคริสต์ยังทรงดำเนินอยู่ท่ามกลางพวกเขา ในโลกนี้พระองค์ได้บอกไว้แล้วเขาต้องได้รับสิ่งใดบ้าง มธ.5:11-12
11 "เมื่อเขาจะติเตียนข่มเหง และนินทาว่าร้ายท่านทั้งหลายเป็นความเท็จเพราะเรา ท่านก็เป็นสุข

12 จงชื่นชมยินดี เพราะว่าบำเหน็จของท่านมีบริบูรณ์ในสวรรค์ เพราะเขาได้ข่มเหงผู้เผยพระวจนะ ทั้งหลาย ที่อยู่ก่อนท่านเหมือนกัน
ไม่เพียงแต่ตอบสนองด้วย “การเชื่อฟัง” และด้วย “ความยินดี” เมื่อได้รับการช่วยกู้จากข่มเหง ท่าทีคนของพระเจ้าที่ถือว่าการทนทุกข์เพื่อพระคริสต์ไม่ใช่สิ่งที่ เลวร้ายเสียทีเดียว แต่เป็นเกียรติ เพราะมีความหวังใจในพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่
คำถามที่เราต้องมาสอบถามตนเองในฐานะว่าเราเป็นคริสเตียน คือเมื่อเราเผชิญการข่มเหงเราจะตอบสนองอย่างไร ? และมีท่าทีอย่างไรเมืื่อเผชิญการข่มเหง?


3.ข้อสรุปเพื่อการประยุกต์ใช้
จากเหตุการณ์การข่มเหงในคริสตจักรสมัยแรกทำให้เกิดการฟื้นฟูอย่างมาก และผู้เชื่อได้กระจัดกระจายไปประกาศข่าวประเสริฐทั่วโลก การข่มเหงจึงไม่ได้เป็นอุปสรรคแต่เป็นอุปกรณ์ที่พระเจ้าใช้ในการทดสอบใจของคริสเตียน ว่าจะมีการตอบสนองอย่างไร เมื่อเราตอบสนองอย่างถูกต้อง เลือกเชื่อฟังพระเจ้ามากกว่ามนุษย์ และมีท่าทีแห่งความยินดี สิ่งที่เราจะได้รับคือการช่วยเหลือจากพระเจ้า ดังเหตุการณ์ตอนนี้พระเจ้าใช้บุคคลที่เป็นผู้ที่อยู่ในฐานะสูงในสังคมอย่างอาจารย์กามาลิเอล ช่วยปกป้องอัครทูต ดังนั้นในพระเจ้าแล้ว แม้ในทางตัน พระองค์จะประทานทางออกในทุกปัญหาเสมอ


ขอพระเจ้าอวยพระพร ในโอกาสหน้าเราจะมาศึกษาต่อในบทที่ 6 ซึ่งเป็นเรื่องของต้นแบบแห่งการบริหารของคริสตจักรในสมัยแรก สามารถติดตามได้ครับ

03 กรกฎาคม 2555

ฟ้าหลังฝนของคนกลับใจ

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน ในช่วงเดือนก.ค.นี้เป็นช่วงฤดูฝน หลายคนอาจจะไม่ค่อยชอบโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในแถบกรุงเทพฯและปริมณฑล เพราะเมื่อฝนตก รถจะติด มันเป็นของคู่กันมาตั้งแต่ไหนแต่ไรมาช้านาน  แต่หากเป็นผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดในพื้นที่ชนบท สังคมเกษตรกรรม คนเหล่านั้นจะชอบฝนเพราะฝนตกนำมาซึ่งความชุ่มชื้นและความสุข เพราะจะทำให้พืชผลจากดินได้เกิดดอกออกผล แม้ก่อนฝนตกนั้นเราอาจจะมีความรู้สึกไม่สบายใจ มองดูท้องฟ้าแล้วมีเมฆดำ ดูช่างหม่นหมอง และเมื่อฝนตกลงมาอาจจะเกิดปัญหารถติด ถนนหนทางเฉอะแฉะ แต่สิ่งที่มองเห็นรู้สึกสัมผัสได้คือท้องฟ้าที่สดใสมาแทนที่ รวมถึงบางครั้งเกิดสายรุ้งสีสวย ทำให้นึกถึงพันธสัญญาของพระเจ้า(ปฐก.9)
หากเปรียบเทียบสถานการณ์ชีวิตของเรา ก็มีฤดูกาลที่แตกต่างกันไป ฤดูกาลเก่าผ่านไปฤดูกาลใหม่เปลี่ยนเข้ามา สำหรับผมแล้ว  หลายครั้งเราก็มีความผิดพลาดในการดำเนินชีวิตกับพระเจ้า ทำผิดพลาดทำให้ชีวิตหม่นหมองไปดังเมฆฝน แต่เมื่อเรากลับใจใหม่สารภาพบาป 

เมฆฝนที่เคลื่อนผ่านไป ฟ้าใสถูกเปิดออก การบอกสารภาพบาปต่อพระเจ้า เป็นการเปิดเผยและเปิดโอกาสให้พระคุณของพระองค์มาเยียวยารักษาใจ ไปสู่เสรีภาพใหม่ในความโปรดปรานพระเจ้า สิ่งเหล่านี้คือ "ฟ้าหลังฝนของคนกลับใจ" ความชื่นชมยินดีแทนที่ความขมขื่นใจ  วันนี้ผมนึกถึงคริสตจักรในเมืองโครินธ์ พวกเขาได้รับพระพรจากพระเจ้ามาถึงชีวิตเมื่อพวกเขากลับใจใหม่
เมืองโครินธ์ เป็นเมืองหลวงของแคว้นอาคายา ปัจจุบันอยู่ในประเทศกรีซ เป็นเมืองใหญ่ที่เป็นแหล่งการค้า ทำให้มีผู้คนมากมายพลุกพล่าน และเต็มไปด้วยความฟุ่มเฟือยและอบายมุข อัครฑูตเปาโลเดินทางไปประกาศข่าวประเสริฐของพระเยซูในช่วงที่ออกเดินทางไกลครั้งที่ 2 แน่นอนว่าท่ามกลางเมืองที่เต็มไปด้วยความผิดบาป ปัญหาต่างๆก็ได้รุมเร้าเข้ามายังคริสตจักรของพระเจ้าด้วย ทำให้อัครทูตเปาโลต้องเขียนจดหมายฉบับนี้มาจากเมืองเอเฟซัส เพื่อว่ากล่าว ตักเตือน และแนะนำแนวทางดำเนินชีวิตที่ถูกต้องให้กับผู้เชื่อที่เมืองโครินธ์ ซึ่งเราคงจะเห็นด้วยว่า สังคมที่แวดล้อมคริสตจักรในสมัยนี้ก็เต็มไปด้วยปัญหาความผิดบาปเช่นกัน พระธรรม 1 โครินธ์จึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อคริสตจักร เป็นเหมือนเส้นมาตรฐานที่คริสตจักรจะใช้เป็นแนวทาง เป็นข้อตัดสิน เป็นบรรทัดฐาน สำหรับการก้าวเดินไปของคริสตจักร และในพระธรรม 2 โครินธ์ ยังคงเป็นไปในแนวทางของการว่ากล่าว ตักเตือน อันเนื่องมาจากคำสอนผิด และการดำเนินชีวิตอย่างไม่เหมาะสมที่เกิดขึ้น  ในวันนี้ผมขอแบ่งปันจากพระธรรม 2โครินธ์ 7:1-16
พระธรรมตอนนี้ อัครทูตเปาโลวิงวอนผู้เชื่อชาวเมืองโครินธ์ให้เปิดใจรับท่าน และรับฟังคำตักเตือนของท่าน โดยชำระชีวิตของตนให้บริสุทธิ์ปราศจากมลทินทุกอย่างด้วยความยำเกรงพระเจ้า ไม่ใช่เป็นการปรักปรำ แต่เป็นการตักเตือนด้วยหัวใจแห่งความรักและปรารถนาดี อย่างแท้จริง สะท้อนผ่านท่าทีของท่านคือ
 
ปรารถนาให้มีชีวิตที่บริสุทธิ์(ข้อ 1,2ก)อัครทูตเปาโลกล่าวแก่ชาวโครินธ์ว่า “ดูก่อนท่านที่รัก เมื่อเรามีพระสัญญาเช่นนี้แล้ว ให้เราชำระตัวเราให้ปราศจากมลทิน ทุกอย่างของเนื้อหนังและวิญญาณจิต และจงทำให้มีความบริสุทธิ์ครบถ้วนโดยความเกรงกลัวพระเจ้า” ความรักที่ท่านมีต่อผู้เชื่อชาวโครินธ์ ทำให้ท่านปรารถนาจะเห็นชีวิตของเขาเหล่านั้นบริสุทธิ์ และไม่ถูกล่อลวงให้หลงเจิ่นไปในความผิดบาป เพราะท่านทราบว่าคนอธรรมจะไม่มีส่วนในแผ่นดินของพระเจ้า (1คร.6:9) คำตักเตือนที่มาจากท่าทีแห่งความรัก จึงเป็นคำเตือนที่มีเจตนาให้ผู้ถูกเตือนมีชีวิตที่บริสุทธิ์ เพื่อจะมีสวัสดิภาพในพระเจ้า เหมือนดังที่พระเจ้าทรงตีสอนลูกของพระองค์ เพื่อให้เขาเหล่านั้นได้เข้าส่วนในวิสุทธิสภาพของพระองค์ (ฮบ.12:10)

รารถนาให้กลับใจ(ข้อ 3-7)
อัครทูตเปาโลกล่าวว่า “ข้าพเจ้าพูดเช่นนี้มิใช่เพื่อจะปรักปรำท่าน...” คำว่า “ปรักปรำ” หมายถึง การกล่าวโทษ การตัดสินว่าผิดเพื่อให้ได้รับโทษ แต่การตักเตือนด้วยความรักของเปาโล มีเพื่อให้ผู้ถูกเตือนรอดพ้นจากการพิพากษาโทษผ่านการกลับใจใหม่ แม้คำเตือนนั้นอาจทำให้ผู้ถูกเตือนรู้สึกเจ็บปวดแต่ก็ย่อมดีกว่าการไม่กลับใจจากบาปจนนำไปสู่ความพินาศ พระวจนะ ยังได้สั่งให้เราตักเตือนซึ่งกันและกันทุกๆ วัน เพื่อไม่ให้ใจเราแข็งกระด้างไปเพราะเล่ห์กลของบาป (ฮบ.3:13)

ไม่มุ่งหวังผลประโยชน์(ข้อ 2ข)
อัครทูตเปาโลกล่าวว่า “ขอรับเราเถิด เรามิได้ทำร้ายผู้ใด เรามิได้ชวนผู้ใดให้ทำชั่ว เรามิได้เอาเปรียบผู้ใดเลย” สะท้อนว่า การตักเตือนด้วยความรักของท่านนั้น ไม่ได้มีเจตนาที่จะ เอาเปรียบ ฉ้อโกง หรือทำให้ผู้ใดได้รับความเสียหาย ท่านมิได้มุ่งหวังผลประโยชน์แก่ตัวท่านเอง ตรงกันข้าม พระวจนะได้บรรยายถึงความยากลำบากในชีวิตของเปาโล (ข้อ 5) สะท้อนว่าท่านจะสูญเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อเห็นแก่ผู้อื่น และการกลับใจใหม่ของผู้ที่ถูกเตือนต่างหาก ที่เป็นความชื่นชมยินดีของท่าน (ข้อ6-7)
อัครทูตเปาโลกล่าวชื่นชมผู้เชื่อชาวโครินธ์ ที่ได้รับฟังคำตักเตือนของท่านและกลับใจใหม่ แม้ว่าการตักเตือนนั้นจะทำให้ทั้งผู้เตือนและผู้ที่ถูกเตือนรู้สึกเสียใจ แต่หากเป็นความเสียใจอย่างที่ชอบพระทัยพระเจ้า ย่อมนำไปสู่การกลับใจใหม่และมีความชื่นชมยินดีในภายหลัง ในทางตรงข้าม อัครทูตเปาโล กล่าวว่า หากเป็นความเสียใจอย่างโลก ย่อมนำไปถึงความตาย จากพระธรรมตอนนี้ เราเห็นถึงทางเลือก 2 ทาง เพื่อจะพิจารณาได้ว่า เราควรจะตอบสนองอย่างไรเมื่อถูกตักเตือน นั่นคือ

1.ทางพระเจ้า:นำไปถึงความรอด (ข้อ 10-11)
พระวจนะกล่าวว่า “เพราะว่าความเสียใจอย่างที่ชอบพระทัยพระเจ้าย่อมกระทำให้กลับใจใหม่ ซึ่งนำไปถึงความรอดและไม่เป็นที่น่าเสียใจ...” สะท้อนว่า ความเสียใจอย่างที่ชอบพระทัยพระเจ้า ต้องนำไปสู่การกลับใจใหม่ โดยแสดงออกเป็นการกระตือรือร้น และขวนขวายที่จะปรับปรุงแก้ไขตนเองใหม่ รู้สึกร้อนใจและเกรงกลัวต่อความผิดบาปจนอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะกลับใจใหม่ เปลี่ยนแปลงชีวิต และยินดีรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำที่ผิดของตนโดยไม่พยายามหลบเลี่ยงหรือแก้ตัว พระวจนะกล่าวว่า บุคคลที่มีท่าทีเช่นนี้ ก็ได้พิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ทำสิ่งใดผิดต่อพระเจ้า (ข้อ 11) และโดยพระคุณของพระองค์ จึงทรงยกโทษให้กับบุคคลที่สารภาพความผิดบาปและกลับใจใหม่อย่างแท้จริง พร้อมทั้งชำระเราให้พ้นจากการอธรรมทั้งสิ้น (1 ยน.1:9) ความเสียใจอย่างที่ชอบพระทัยพระเจ้าจึงเป็นหนทางที่นำเราไปถึงความรอด คือรอดพ้นจากการพิพากษาของพระเจ้า

2.ทางโลก:นำไปถึงความตาย(ข้อ 10)
พระวจนะกล่าวว่า “...แต่ความเสียใจอย่างโลกนั้น ย่อมนำไปถึงความตาย” ความเสียใจอย่างโลก คือความเสียใจที่ไม่ได้เกิดจากมุมมองเดียวกันกับพระเจ้า และไม่ได้นำเราให้มาถึงพระคุณของพระเจ้าอย่างแท้จริง เป็นความเสียใจที่เกิดจากท่าทีที่ไม่ถูกต้องและไม่ก่อให้เกิดการกลับใจใหม่ เช่น เสียใจเพราะถูกจับได้ เพราะรู้สึกเสียหน้าเมื่อถูกตักเตือน หรือเพราะผลของความผิดบาปนั้นนำมาซึ่งความสูญเสียและความยากลำบากในชีวิต ฯลฯ สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เราเข็ดขยาดเป็นครั้งคราว แต่ไม่ได้เป็นแรงจูงใจที่เพียงพอที่เราจะสลัดความบาปนั้นๆ ไปได้ บางคนปรักปรำตนเอง จนไม่ได้กลับมารับพระคุณความรักของพระเจ้า ไม่ได้รับการชำระ และเริ่มต้นใหม่กับพระองค์ ทำให้พลาดจากน้ำพระทัยอันดีงามของพระเจ้า ผลปลายทางจึงนำไปสู่ความตาย อันหมายถึงความตายทั้งทางฝ่ายกายภาพและฝ่ายจิตวิญญาณ ดังเช่นตัวอย่างจากชีวิตของยูดาส (มธ.27:3-5)เสียใจแต่ไม่กลับใจ ความบาปจึงปรักปรำนำไปสู่ความตายโดยการผูกคอตาย
อัครทูตเปาโลกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของท่านในการเขียนจดหมายถึงผู้เชื่อชาวโครินธ์ คือเพื่อให้พวกเขาได้เห็นว่า การเอาใจใส่ในคำตักเตือน และความกระตือรือร้นในการกลับใจใหม่ของพวกเขานั้น เป็นสิ่งที่น่าชื่นชมยินดี และได้ทวีความรักและความวางใจ เปรียบเสมือน ฟ้าหลังฝนที่สดใสยิ่งขึ้นของผู้ที่กลับใจ เมื่อเมฆดำพัดผ่านไป ชีวิตของผู้ที่กลับใจใหม่ก็เป็นเช่นนั้น เราสามารถเห็นถึงผลดีที่เกิดขึ้นในชีวิตของผู้เชื่อที่กลับใจใหม่ได้ มีผล 2สิ่งคือ

1.ชีวิตเป็นที่หนุนใจผู้อื่น(ข้อ 13,15)
อัครทูตเปาโลกล่าวว่า “โดยเหตุนี้เราจึงมีความชูใจ นอกจากความชูใจเรานั้น เรามีความชื่นชมยินดีมากยิ่งขึ้นเพราะความยินดีของทิตัส ในการที่พวกท่านได้กระทำให้จิตใจของทิตัสสงบ” คำว่า “สงบ” แปลตามรากศัพท์ภาษากรีกได้ว่า พักผ่อน วางใจ ทำให้สดชื่น ทำให้พอใจ ก่อนหน้านี้ ทิตัสอาจมีความกังวลใจและร้อนใจในปัญหาความผิดบาปของคริสเตียนชาวโครินธ์ แต่เมื่อเขาเหล่านั้นตอบสนองด้วยการกลับใจใหม่ พระวจนะกล่าวว่า “ด้วยความเกรงกลัวจนตัวสั่น” (ข้อ 15) จิตใจของทิตัสจึงคลายกังวล กลับกลายเป็นความชื่นชมยินดี เราเห็นได้ว่า ชีวิตที่กลับใจใหม่นอกจากจะทำให้บุคลใดบุคลหนึ่งมีความชื่นใจแล้ว ความชื่นชมยินดีนั้นยังสามารถส่งผ่านไปยังบุคคลอื่นๆ ต่อไปได้ด้วย ชุมชนที่ผู้เชื่อต่างรักษาชีวิตให้บริสุทธิ์ โดยการกลับใจใหม่เสมอ ย่อมเกิดการหนุนจิตชูใจกันในความเชื่อ และจะสามารถพากันไปสู่ความไพบูลย์ในพระคริสต์ได้อย่างแท้จริง

2.ชีวิตเป็นที่ไว้วางใจได้(ข้อ 14,16)
อัครทูตเปาโลกล่าวว่า “ข้าพเจ้าชื่นชมยินดี เพราะข้าพเจ้าไว้ใจท่านได้ทุกอย่าง” คำว่า “ไว้ใจ” ตามรากศัพท์ภาษากรีกหมายถึง กล้าหาญ มั่นใจ มีความหวังใจ สะท้อนว่า ชีวิตของ ผู้เชื่อที่กลับใจใหม่ ย่อมสามารถเป็นที่ไว้วางใจ เป็นที่หวังใจได้ไม่เพียงเท่านั้น ท่านยังกล้าที่จะรับรองชีวิตของผู้เชื่อชาว โครินธ์ ท่านกล่าวว่า “ที่ข้าพเจ้าได้อวดเรื่องพวกท่านแก่ทิตัส ข้าพเจ้าก็ไม่ต้องละอายใจเลย...” ท่านทราบว่าเมื่อหวังแล้วจะไม่ผิดหวัง ชีวิตของคนที่กลับใจใหม่ คือชีวิตที่ถูกพิสูจน์อยู่เสมอ เปรียบเสมือนแร่ทองคำที่ถูกถลุง การกลับใจใหม่ เป็นอาการที่ยอมให้ผู้ถลุงช้อนเอาขี้แร่ออก จนเหลือแต่ทองคำบริสุทธิ์ได้ในที่สุด เมื่อชีวิตของเราถูกพิสูจน์แล้ว เราก็จะสามารถเป็นที่ไว้วางใจของพระเจ้าและของมนุษย์ทั้งปวงได้ และเป็นพระพรต่อผู้อื่นได้มากยิ่งขึ้น
ขอบคุณพระเจ้าสำหรับฤดูกาลต่างๆ ที่พระเจ้าทรงกำหนดไว้ ทำให้เป็นสัญญาณเตือนใจเราให้เรียนรู้เสมอ หากเราเฝ้าสังเกตและเคลื่อนตามการทรงนำของพระองค์

สุดท้ายผมของฝากบทกลอน "ฟ้าหลังฝนของคนกลับใจ" แต่งโดย DinDee A Kesornmala (สุพจน์ เกษรมาลา)

ใต้...เมฆดำ ปกคลุมฟ้า ไม่ช้านาน
ฟ้า...สว่าง เงาเคลื่อนผ่าน ตะวันฉาย
หลัง...คลื่นลม โถมซัด กวาดทำลาย
ฝน...กระหน่ำ เริ่มเคลื่อนคลาย ให้ฉ่ำเย็น

ของ...สิ่งใด กระหาย เป็นของข้า
คน...ชั่วช้า อ้างศรัทธา ซ่อนบาปเร้น
กลับ...เข้าสู่ พระเมตตา ผู้ทรงเป็น
ใจ...ได้เห็น ทางใหม่ ในพระองค์

ความ...อดีต ผิดพลาดไป ได้เคยก่อ
บาป...ซุกซ่อน ไม่รั้งรอ ให้ลุ่มหลง
ลบ...มันทิ้ง ไม่ปล่อยให้ ใจพะวง
ไป...ให้ห่าง จากแวดวง วิถีมาร

ประกาศ...ศึก ลุกขึ้นสู้ ด้วยแรงกล้า
ชัย...ชนะ ด้วยศรัทธา ด้วยจิตหาญ
เหนือ...ความบาป ที่ซ่อนไว้ มาเนิ่นนาน
มาร...จงรู้ นี่คือวัน แห่งเสรี