ในช่วงเวลาของปลายเดือนกันยายน ถึง ตุลาคมในปีนี้เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นจริงๆ เพราะเราได้เห็นสิ่งต่างๆที่พระเจ้าได้กระทำ ในช่วงเทศกาลต่างๆที่เป็นการนัดพบ(Divine appointment)ประจำปี เพื่อจะเตรียมชีวิตของเราให้ย้ายจากฤดูกาลเก่าเข้าสู่ฤดูกาลใหม่
เพราะนับแต่เริ่มต้นในวันที่ 28 ก.ย.2011 เป็นวันแห่งการฉลองเทศกาลเสียงแตรเขาสัตว์ “ร้อช ฮ้าชชะนาห์” (Rosh Hashanah) เป็นการเฉลิมฉลองวันต้นปี(Head of The Year)ตามปฏิทินฮีบรูในปี 5772
ความหมายของปี 5772 ตามปฏิทินฮีบรู จากการสรุปคำสอนของ Dr.Robert Heidler เป็นปีของอักษร בע"Ayin-Bet" คือ "พระเจ้าเฝ้าดูเหนือบ้านของพระองค์ ผลแรกคือสรรเสริญและที่สำคัญสุดคือพันธสัญญา (covenant) เป็นปีของการเข้าใจเรื่องพันธสัญญา สิ่งสำคัญสุดที่คุณสามารถทำเพื่อดำเนินขีวิตในพระพรของพระเจ้า ขอบคุณพระเจ้าที่ทรงทำพันธสัญญากับเรา ขอบคุณสำหรับความรักมั่นคงของพระองค์ พระเจ้าไม่เพียงแต่ต้องการให้เราเดินในพันธสัญญา แต่พระองค์ถักทอเชื่อมเราไว้ในพันธสัญญาของพระองค์"
เทศกาล “ร้อช ฮ้าชชะนาห์” (28 ก.ย.11)เป็นเวลาแห่งเสียงแตรเขาสัตว์ปลุกจิตวิญญาณให้ตื่นขึ้นมา จนถึงเทศกาลอยู่เพิง (Feast of Tabernacles)(Sukkot-สุคต)ช่วงวันที่ 12-19ต.ค.11 หากนับตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย.ไปจนสิ้นสุดงานเทศกาลอยู่เพิง คือวันที่ 19ต.ค.เป็นช่วงเวลา 21 วัน ที่เราจะเคลื่อนไปในประสบการณ์สู่พระสิริพระเจ้า
ผมขอสรุปไว้ดังนี้ ประสบการณ์สู่พระสิริของพระเจ้า
1. ฟังเสียงปลุกให้ตื่น ดังเช่นการเข้าสู่เทศกาลเสียงแตรเขาสัตว์โดยตื่นจากหลับใหลเข้าสู่เวลาของพระองค์
2. เสาะแสวงหาพระเจ้า ในช่วง 10วันแห่งความยำเกรง (Days of Awe)
3. รับการรื้อฟื้น อธิษฐานสารภาพบาปในวันลบมลทินบาป กลับใจจากสิ่งเลวร้าย เข้ามาพึ่งพาพระคุณพระเจ้า
4. ชื่นชมในการทรงสถิตของพระเจ้า ดังเช่นการเข้าสู่เทศกาลอยู่เพิง ด้วยความหวังใจ พระเยซูเป็นดังที่พำนักในชีวิตของเรา พระองค์ทางอยู่ทามกลางเรา
พระเจ้าทรงตั้งปฏิทินของพระองค์ ไว้เพื่อนำเราก้าวไปสู่ 4 ขั้นนี้ในแต่ละปี
ขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นนี้เป็นรูปแบบเพื่อการฟื้นฟูในระดับปัจเจกบุคลและในระดับประเทศ!
(สามารถเข้าไปอ่านสรุปคำสอนของอ.นิมิต พานิชเรื่อง Rosh Hashanah นี่เป็นเวลาแห่งเสียงแตรเขาสัตว์ได้ใน http://pattamarot.blogspot.com/2011/09/rosh-hashanah.html)
หากเราศึกษาจากความหมายเชิงคำเผยพระวจนะของเดือนทิชรี(29ก.ย.-28ต.ค.) เราจะเห็นได้ว่าเดือนนี้
(อ่าน คำเผยพระวจนะ ประจำเดือน ทิชรีได้ที่ http://pattamarot.blogspot.com/2011/09/blog-post_28.html)
เดือนนี้เป็นเดือนของตัวอักษรฮีบรู LAMED ל ที่เล็งถึงความปรารถนายิ่งที่จะหวนกลับสู่แหล่งที่สมบูรณ์ของคุณ พระเจ้าทรงเป็นแหล่งของเรา เราต้องอธิษฐานว่า "ข้าแต่พระเจ้า ทำอย่างไรเราจึงจะกลับมามั่นใจได้ว่าเราไหลไปตามสิ่งที่พระองค์กำลังทำ?"
เป็นเดือนแห่งการหวนคืน เราต้องป่าวประกาศสิ่งที่เคยกระจัดกระจายไปให้กลับคืนมา (จำไว้ว่า วิญญาณชั่วต้องการกวาดให้กระจายและทำให้เราหมดไฟ พระเจ้าต้องการรวบรวมและทำให้เราเข้มแข็ง)
เป็นการเริ่มต้นของหกเดือนแห่ง "แสงสะท้อน" นี่จะเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมของเรา วิธีที่เราใช้เวลา วิธีที่เราทำงาน วิธีที่พืชผลเจริญขึ้น วิธีที่เราเก็บเกี่ยว
- จงคิดถึงตัวคุณเองในฐานะเป็นผู้สะท้อนพระสิริของพระเจ้าไปรอบตัวคุณ (อสย. 60.1-9, ยน 8.12; 9.5)
- จงคิดถึงพระเจ้าที่สะท้อนพระสิริของพระองค์บนชีวิตคุณ
เพราะ 6 เดือนจากนี้ไปจนถึงเทศกาลปัสกาปีหน้าจะเป็นการเคลื่อนในประสบการณ์สู่พระสิริของพระเจ้า ในครั้งนี้ผมขอแบ่งปันข้อคิดในเรื่อง เทศกาลอยู่เพิง : พระสิริท่ามกลางเรา
(ข้อมูลจาก www.4windsprayer.com/index.php/godsfest/72-2010-10-12-12-18-24)
เทศกาลอยู่เพิงเป็นเทศกาลสุดท้ายในเทศกาลเลี้ยงขององค์พระผู้เป็นเจ้าที่ปรากฏในพระคัมภีร์ และเป็นเทศกาลสำคัญที่สุด เพราะเป็นการปิดท้าย วัฎจักรการเก็บเกี่ยว โดยที่เป็นเทศกาลสุดท้ายของฤดูใบไม้ร่วง นอกจากนี้ยังเป็นเทศกาลจารึก 3 เทศกาลที่ฉลองกันในเยรูซาเล็ม ถัดจากเทศกาลปัสกาและเพ็นเทคอสต์ (เลวีนิติ 23:33-44)
คำว่า “พลับพลา” (อยู่เพิง) ในภาษาฮีบรู คือ “Sukkot” (เอกพจน์คือ : sukah อ่านว่า สุคาห์ โปรดอย่าอ่านว่า “สุขา”!) ซึ่งหมายถึงเพิงพักหรือที่พักอาศัยชั่วคราว พระคัมภีร์ไบเบิลภาษาละตินใช้คำว่า “tabernacula” (ไม่ใช่ผีดูเลือด Dracula!) ซึ่งภาษาอังกฤษยืมมาใช้ว่า “tabernacles” เทศกาลนี้บางครั้งรู้จักกันว่าเป็น “ฤดูกาลแห่งความชื่นชมยินดีของเรา” ภาษาฮีบรูว่า “Z’man Simchateinu” เนื่องจากเทศกาลนี้เป็นเครื่องหมายถึงการเก็บเกี่ยวผลไม้ในเดือนกันยายน/ตุลาคม ของแต่ละปี จึงมักรู้จักกันในนามของ “เทศกาลการรวบรวมผลิตผล” ด้วย
เทศกาลนี้จะเริ่มขึ้น 5 วันหลังจาก Yom Kippur (วันทำการลบมลทิน) ในวันที่ 15 เดือนทิชรี และฉลองไป 7 วัน บวกกับ 1 วัน จนถึงวันที่ 22 เดือนทิชรี ประเพณีนี้บอกเราว่าการเฉลิมฉลองในพระวิหารของเยรูซาเล็มนี้จะมีประชาชนชาวยิวทั่วอิสราเอลและที่อยู่นอกดินแดนอิสราเอลเข้ามาร่วมด้วย ผู้เดินทางหลายพันคนจะเนืองแน่นเต็มท้องถนนต่าง ๆ ในเยรูซาเล็ม
เทศกาลที่สำคัญนี้มีลักษณะพิเศษ 3 ประการ
1.มีการถวายสัตวบูชาจำนวนมากตลอดเทศกาล วัว 70 ตัว แกะผู้ 14 ตัว ลูกแกะ 98 ตัว แพะ 7 ตัว และเครื่องบูชาที่เป็นเครื่องดื่มและธัญพืชรวมทั้งเครื่องถวายบูชาประจำวัน !
2.มีเชิงตะเกียงใหญ่ 4 อัน (Menorot) ในลานสตรีที่พระวิหารจะถูกจุดสว่างตลอดเทศกาล
3.มีพิธีกรรมอันเรียกกันว่าพิธีหลั่งน้ำเพื่อครัวเรือน (House of Water Pouring Ceremony) ภาษาฮีบรู : Beit She’ubah ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญสำหรับผู้เชื่อในพระเยซู
คนยิวในปัจจุบันฉลองเทศกาลอยู่เพิงนี้อย่างไร
ครอบครัวจะสร้าง Sukkah ในสวนหรือบริเวณบ้าน พวกเขาจะกินอาหารที่เสิร์ฟอยู่ภายใต้ Sukkah พ่อจะอ่านโทราห์และ ชี้ให้ดูดวงดาวในท้องฟ้ายามค่ำคืน และยกเรื่องพันธสัญญาของอับราฮัมมาเล่าให้ลูกๆ ฟัง ครอบครัวจะร้องเพลงและเต้นรำเพราะเป็นฤดูกาลแห่งความร่าเริงยินดี !
ครอบครัวส่วนมากจะโบก lulav – พัดต้นหลิว , ไม้หอม และกิ่งปาล์ม เป็นการขอบพระคุณพระเจ้า
ในวันที่ 8 ช่วงระหว่าง Simehat Torah เราจะพบคนยิวจำนวนมากเต้นรำด้วยถือหนังสือม้วนโทราห์และนมัสการอย่าง ชื่นชมยินดีในธรรมศาลาหรือที่กำแพงตะวันตก
จากคำสอนใน Issachar school 1 โดย Dr.Robert Heidler ทำให้เราเข้าใจว่า "เทศกาลอยู่เพิงเปิดเผยถึงพระลักษณะและพระราชกิจของพระเยซู ที่เป็นเพิงแห่งพระสิริท่ามกลางเรา!" เพราะว่า เป็นช่วงเวลาแห่งการประสูติของพระเยซูคริสต์! ไม่ใช่ 25 ธันวาคม แน่นอน! ดังเหตุผลต่อไปนีั
คนเลี้ยงแกะไม่ได้เลี้ยงแกะในเดือนธันวาคม ลูกา 1:5 เศคาริยาห์ พ่อของยอห์นบัพติศโต เป็นปุโรหิตในเดือนอาวียาห์(AVIYAH) หรือเดือนสิวาน อลิซาเบธตั้งครรภ์ยอห์น อยู่ในเดือน มิถุนายน ดังนั้นนางมารีย์ตั้งครรภ์พระเยซูหลังจากนั้น 6 เดือน อยู่ในประมาณเดือน ธันวาคม
ดังนั้น พระเยซูเกิดในเดือนนี้ คือ กันยายน-ตุลาคม แน่นอน!(คือวันที่ 15 เดือนทิชชี)
- ทูตสวรรค์ปรากฎในช่วง 12-18 สิวาน (มิถุนายน)
- อลิซาเบธตั้งครรภ์ช่วงนี้ 25 สิวาน (285 วัน)
กำหนดเวลาตั้งครรภ์โดยประมาณ
- ยอห์นบัพติศโต เกิด15 นิสาน (ช่วงปัสกาเม.ย.-พ.ค.)
ลูกา 1:26 อลิซาเบธท้องได้ 6 เดือน มารีย์ตั้งครรภ์
ในวันที่ 25 ของเดือน คิสเลฟ (ธันวาคม) เทศกาล ฮานูก้า (เทศกาลแสงสว่าง)โดยปกติจะตั้งครรภ์ 9 เดือน (ประมาณ285 วัน) พระเยซูน่าจะประสูติ ในช่วงวันที่15ของเดือนทิชรี (ตรงกับเทศกาลอยู่เพิง)ในพระคัมภีร์ ยอห์น 1:14 กล่าวว่า พระวาทะได้ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์และทรงอยู่ท่ามกลางเรา บริบูรณ์ด้วยพระคุณและความจริง เราทั้งหลายได้เห็นพระสิริของพระองค์ คือพระสิริอันสมกับพระบุตรองค์เดียวของพระบิดา
..ตอนที่มารีมาถึงเบธเลเฮ็ม ช่วงนั้นเป็นเทศกาลอยู่เพิง ยอห์นอธิบายการประสูติของพระเยซูอย่างนี้..
ยน.1:14 “พระวาทะได้ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์และทรงอยู่ท่ามกลางเราและเราทั้งหลายได้เห็นพระสิริของพระองค์”
ลก.2 – มารีย์มีบุตรชายและวางบุตรชายนั้นในรางหญ้า คำภาษากรีกคือ phatne แปลว่า รางหญ้า, โรงเก็บสัตว์ คอกสัตว์แบบชั่วคราว คำฮีบรูที่เหมือนกับ phatne : SUKKAH (พลับพลา/ เพิง)
ปฐก.33:17 ยาโคบสร้าง sukkah ให้สัตว์ของเขา ช่วงเวลาระหว่างเทศกาล : ไม่มีห้องว่างในโรงแรม แต่ sukkah มีอยู่ทั่วไปหมด ดังนั้นนางมารีย์และโยเซฟจึงไม่มีที่พักในโรงแรม ต้องไปพักที่โรงนา และประสูติพระเยซูคริสต์ในรางหญ้า
ในเทศกาลอยู่เพิงนั้นเอง ที่พระสิริของพระเจ้ามาปรากฎในเพิง และพระเยซูพระเมสสิยาห์ทรงบังเกิด !
สำหรับในวันที่ 25 ธ.ค.นั้นเป็นเทศกาลคริสต์มาสที่โรมันได้ตั้งขึ้นมาเพื่อเฉลิมฉลอง คำว่า "คริสต์มาส" เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" ซึ่งพบครั้งแรกในเอกสารโบราณที่เป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1038 และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas
(ข้อมูลเรื่อง เทศกาล Christmas จาก สารานุกรม Wikipedia บันทึกไว้ว่า เทศกาล Christmas หรือ X’Mas ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ...ตามหลักฐานในพระคัมภีร์ได้บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซาร์ ออกุสตุส แห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร)
นักประวัติศาสตร์ได้วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยะเทพ ตั้งแต่ปี ค.ศ.274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูซึ่งเปรียบเสมือนความสว่างของโลก และเหมือนดวงจันทร์เป็นความสว่างในตอนกลางคืนแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปี ค.ศ.330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย
ในครั้งนี้เราพอจะเข้าใจแล้วว่า พระเยซูคริสต์ ทรงเป็นอิมมานูเอล คือเพิงแห่งพระสิริที่อยู่ท่ามกลางเรา!
สิ่งนี้ช่วยให้เราเข้าใจ ยน.7:37-39
ในวันสุดท้ายของงานเทศกาลซึ่งเป็นวันใหญ่นั้นปุโรหิตจะนำเอาน้ำจากสระสิโลอัม มาเทบนแท่นบูชา ปุโรหิตจะยกน้ำขึ้นแล้วเท ฝูงชนจะอยู่ในความเงียบสงบ พระเยซูทรงยืนและประกาศว่า “ถ้าผู้ใดกระหายผู้นั้นจงมาหาเราและดื่ม ผู้ที่วางใจในเรา แม่น้ำที่มีน้ำธำรงชีวิต จะไหลออกมาจากภายในผู้นั้น นั่นคือเป้าหมายของพระเยซูชีวิตที่ไหลล้น
นั่นคือสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้กับเราในทุก ๆ ปี พระเจ้าต้องการให้ประสบการณ์อันสดใหม่ของชีวิตที่ไหลล้นของพระองค์กับเรา พระองค์ต้องการจะเติมเราด้วยพระสิริของพระองค์ น้ำองุ่นใหม่แห่งพระวิญญาณ พระเยซูมาในโลกนี้เพื่ออยู่กับเรา เวลานี้พระองค์เชื้อเชิญให้เราอยู่กับพระองค์
พระเยซูปรารถนาจะเลี้ยงฉลองกับเรา เชื้อเชิญพระองค์มาที่พลับพลาของคุณในปี
ยอห์น. 7:37-38 “ในวันสุดท้ายของเทศกาล พระเยซูตรัสเสียงดังว่า “ถ้าผู้ใดกระหาย ให้เขาเข้ามาและดื่มเถิด! ผู้ใดก็ตามที่เชื่อในเรา สายธารซึ่งมีน้ำที่ให้ชีวิตจะไหลออกมาจากภายในผู้นั้น!”
เราเฉลิมฉลองเทศกาลอยู่เพิงอย่างไร ?
เลวีนิติ. 23:24-43 “...วันที่ 15 ของเดือนที่ 7 เป็นวันเริ่มเฉลิมฉลอง เทศกาลอยู่เพิงขององค์พระผู้เป็นเจ้า และให้ฉลองไปจนครบ 7 วัน...เป็นการประชุมศักดิ์สิทธิ์ และนำเครื่องบูชาด้วยไฟมาถวายแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า
สร้าง “เพิงชั่วคราว” (Sukkahs-ที่พักชั่วคราว) พักอยู่ในเพิงเจ็ดวัน...เพื่อลูกหลานของเจ้าจะรู้ว่าได้ให้ชนอิสราเอล
อาศัยอยู่ในเพิง เมื่อเรานำพวกเขาออกมาจากอียิปต์...” เมื่ออิสราเอลออกจากอียิปต์ พวกเขาอาศัยอยู่ในเพิง ! (Sukkahs)
พระเจ้าตรัสกับว่า “สร้างเพิง สำหรับเราด้วย ! พระเกียติสิริของพระเจ้าลงมาและอยู่ท่ามกลางพวกเขา
จัดเตรียมบ้านของคุณให้เป็นที่ประทับแห่งเพิงพระสิริพระเจ้า และฉลองเทศกาลนั้น โดยตั้งเวลานัดพบกับพระองค์ เทศกาลนี้เป็น
1.เวลาแห่งการระลึกถึง! พลับพลาของพระเจ้าอยู่ด้วยกับประชากรของพระองค์!
2.เป็นเวลาแห่งความเพลิดเพลิน ! เฉลิมฉลองด้วยความสนุกสนานกับพระเจ้า! เลวีนิติ 23:40 – ชื่นชมยินดีต่อหน้าพระเจ้าของเจ้า 7 วัน เฉลยธรมมบัญญัติ 16:14-15 – “จงชื่นชมยินดีในเทศกาลของเจ้า... เพื่อพระเจ้าของเจ้าจะอวยพรและให้ความชื่นชมยินดี
3.เตรียมของถวาย !โดยเฉพาะอย่างยิ่งขอบพระคุณพระเจ้า!
เฉลยธรรมบัญญัติ 16:16-17 – “อย่าให้ผู้ใดเข้าเฝ้าพระเจ้ามือเปล่า:แต่ละคนจงนำของถวายมาตามสัดส่วนที่พระยาห์เวห์
พระเจ้าของท่านทรงอวยพรท่าน”
4. เวลาแห่งความคาดหวัง ! พระเจ้าเรียกออกมาเพื่อพระเกียรติสิริของพระเจ้า เข้ามาสู่พลับพลาด้วยกันกับเราอีกครั้งหนึ่ง!
จัดเวลาอยู่ในเพิงกับพระเจ้า จัดเวลาพบกับพระองค์
จัดเวลาพักผ่อนกับพระคำของพระองค์
จัดเวลาด้วยกันกับครอบครัวและเพื่อน ๆ
แบ่งปันคำพยานและความดีของพระเจ้า!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น