29 พฤศจิกายน 2559

คริสตจักรแบบกระจาย(Extended Church)

C Peter Wagner
คริสตจักรแบบกระจาย(Extended Church) โดย Haiyong Kavilar


ปีเตอร์ แวกเนอร์(C Peter Wagner) นักเพิ่มพูนคริสตจักรชื่อดังแห่งสถาบันศาสนศาสตร์ฟูลเลอร์ ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของคริสตจักรในศตวรรษที่21 โดยจุดสำคัญของการเปลี่ยนแปลงก็คือการปฏิรูปอัครทูตครั้งใหม่ (New Apostolic Reformation) ซึ่งการปฏิรูปนี้นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของคริสตจักรที่จะทำให้อาณาจักรพระเจ้าขยายไปอย่างรุดหน้า

ลักษณะหนึ่งของคริสตจักรที่ขับเคลื่อนตามลักษณะของอัครทูตก็คือ การที่ผู้เชื่อเข้าไปมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงสังคม ซึ่งต่างกับคริสตจักรที่ขับเคลื่อนแบบศิษยาภิบาลที่เน้นแต่การเก็บเกี่ยวเพื่อเพิ่มจำนวนสมาชิกจุดจดจ่อของการขับเคลื่อนแบบอัครทูตก็คือ อาณาจักรพระเจ้า ซึ่งผู้เชื่อทุกคนมีส่วนสำคัญในการนำอาณาจักรของพระเจ้าเข้าไปครอบครองสังคม

ในหนังสือคริสตจักรที่กำลังเปลี่ยนแปลง(Changing Church) ของ ปีเตอร์ แวกเนอร์ ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงด้านหนึ่งของคริสตจักรนั่นก็คือ จากการเพิ่มพูนคริสตจักรสู่การปฏิรูปสังคม หากคริสตจักรขับเคลื่อนแบบศิษยาภิบาล จุดจดจ่อของคริสตจักรจะอยู่ที่ โบสถ์ ซึ่งให้ความสำคัญกับการเพิ่มพูนคริสตจักรเพียงอย่างเดียว แต่คริสตจักรที่ขับเคลื่อนแบบอัครทูตจะไม่จดจ่ออยู่กับการเพิ่มพูนคริสตจักรเท่านั้น แต่จะให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสังคมด้วย ทั้งนี้เพราะจุดจดจ่อแบบอัครทูตอยู่ที่ อาณาจักรพระเจ้า” ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในกำแพงของโบสถ์

หนังสือ Changing Church
เมื่อผู้เชื่อก้าวเข้าสู่การขับเคลื่อนแบบอัครทูตที่เน้นการเปลี่ยนแปลงสังคม กรอบความเข้าใจของคำว่าคริสตจักรอาจจะต้องเปลี่ยนใหม่ เมื่อเอ่ยถึงคริสตจักร หลายคนมักจะนึกถึงอาคารหรือสถานที่ที่คริสเตียนมารวมตัวกัน แต่แท้จริงแล้วตามรากภาษาเดิมคริสตจักรไม่ได้หมายถึงตัวอาคารหรือโบสถ์ แต่หมายถึงการที่ผู้เชื่อมารวมตัวกัน อย่างไรก็ตามการรวมตัวกันของผู้เชื่อก็เป็นเพียงความหมายด้านหนึ่งของคริสตจักร คำว่าคริสตจักรในพระคัมภีร์มีความหมายชี้ถึง “ประชากรของพระเจ้า”นั้นหมายความว่าเมื่อผู้เชื่อมารวมตัวกันในวันอาทิตย์ ผู้เชื่อก็เป็นคริสตจักร วันจันทร์ถึงวันเสาร์ขณะที่ผู้เชื่อกระจายตัวเข้าไปสู่ที่ทำงาน ผู้เชื่อก็ยังเป็นคริสตจักรอยู่ อัครทูตทอมมี่ เฟ็มไรท์  (Tommi Femrite) ได้สรุปถ้อยคำเกี่ยวกับคริสตจักรไว้ในหนังสือ “อธิษฐานวิงวอนเพื่อภูเขาทั้ง 7” ว่า 
“เราไม่ได้คริสตจักร แต่เราเป็นคริสตจักร”

เมื่อผู้เชื่อมารวมตัวกันผู้เชื่อก็เป็นคริสตจักร เมื่อผู้เชื่อกระจายตัวเข้าไปในที่ทำงานผู้เชื่อก็ยังคงเป็นคริสตจักร การที่ผู้เชื่อเข้าไปในที่ทำงานในวันจันทร์ถึงเสาร์ไม่ได้ทำให้ผู้เชื่อสูญเสียสภาพของการเป็นคริสตจักร ผู้เชื่อไม่ได้เป็นคริสตจักรเฉพาะวันอาทิตย์เท่านั้น แต่ผู้เชื่อเป็นคริสตจักรในวันจันทร์ถึงเสาร์ด้วย
ลีโอ ลาวสัน (Leo Lawson)แห่งพันธกิจมอร์นิงสตาร์ (Morning star ministries)ได้เรียกรูปแบบของคริสตจักรได้น่าสนใจ ลาวสันเรียกสภาวะของผู้เชื่อที่มารวมตัวกันในวันอาทิตย์ว่า Nuclear Church(คริสตจักรแบบกระจุก) และเรียกสภาวะของผู้เชื่อที่กระจายตัวในวันจันทร์ถึงวันเสาร์ว่า Extended Church(คริสตจักรแบบกระจาย)
                                                  
คริสตจักรแบบกระจุก(Nuclear Church) 

คริสตจักรแบบกระจาย(Extended Church)













ไม่ว่าผู้เชื่อจะมารวมตัวกันในโบสถ์หรือจะกระจายตัวไปในที่ทำงาน ผู้เชื่อก็ยังคงเป็นคริสตจักรอยู่ แต่รูปแบบและจุดประสงค์มีความแตกต่างกัน ในสภาพของคริสตจักรแบบกระจุก ผู้เชื่อมาชุมนุมกันเพื่ออธิษฐานและนมัสการ แต่ในสภาพของคริสตจักรแบบกระจาย ผู้เชื่อมีหน้าที่ในการนำอาณาจักรพระเจ้าแผ่ขยายเข้าสู่สังคมและที่ทำงาน พันธกิจหลักของคริสตจักรแบบกระจุกก็คือการที่ผู้เชื่อมารวมตัวกันเป็นนิเวศน์อธิษฐานเพื่อนมัสการและอธิษฐาน แต่พันธกิจหลักของคริสตจักรแบบกระจายคือการที่ผู้เชื่อนำอาณาจักรพระเจ้าเข้าไปยังสังคมและที่ทำงาน

คำว่า "คริสตจักร" ไม่ได้หมายถึงการรวมตัวกันของผู้เชื่อเท่านั้น แต่หมายถึงการกระจายตัวของผู้เชื่อด้วย ดังนั้นพันธกิจของคริสตจักรจึงไม่ได้หมายถึงภาระงานในโบสถ์ของคริสตจักรแบบกระจุกเท่านั้น แต่พันธกิจของคริสตจักรยังหมายถึงภาระงานในโลกของคริสตจักรแบบกระจายด้วย คำว่าพันธกิจไม่ได้เป็นศัพท์ที่ใช้เฉพาะงานในโบสถ์ แต่ยังเป็นศัพท์ที่ใช้ในงานอาชีพด้วย ในวันจันทร์ถึงเสาร์ ผู้เชื่อแต่ละคนจึงมีพันธกิจในการรับใช้ผู้คนเพื่อนำอาณาจักรพระเจ้าเข้าไปยังสังคม การเปลี่ยนแปลงสังคมจะเกิดขึ้นได้ มิใช่โดยคำอธิษฐานของผู้เชื่อในคริสตจักรแบบกระจุกเท่านั้น แต่การเปลี่ยนแปลงสังคมจะเกิดขึ้นได้โดยพันธกิจของผู้เชื่อในคริสตจักรแบบกระจายด้วย 

โอ ขอให้อัครทูตในที่ทำงานจงลุกขึ้นเถิด!

หนังสือแนะนำเพิ่มเติม
ปฏิรูปประชาชาติ​          เขียนโดย ซินดี้ เจคอปส์
อธิษฐานวิงวอนเพื่อภูเขาทั้ง7เขียนโดย ทอมมี่ เฟ็มไรท์
The Church in the Workplace    เขียนโดย C. Peter Wagner

ที่มาของรูป
รูป C. Peter Wagner จาก
http://apprising.org/2011/10/27/an-unhealthy-update-on-c-peter-wagner-the-nefarious-narians/
รูปหนังสือ Churching Church จาก
https://www.arsenalbooks.com/Changing-Church-C-Peter-Wagner-p/9780830736584.htm

24 พฤศจิกายน 2559

ช่วงเวลาแห่งการถูกรับขึ้นไป (Timing of the Rapture)

ช่วงเวลาแห่งการถูกรับขึ้นไป (Timing of the Rapture)
โดย อาเชอร์ อินเทรเตอร์ (Asher Intrater)


พื้นฐานคำสอนของเยชูวาห์ (พระเยซูคริสต์ในภาษาฮีบรู)ที่ เกี่ยวกับ
ช่วงเวลาสิ้นยุค อยู่ในพระกิตติคุณทั้งสามบท (มัทธิว บทที่ 24,
มาระโก บทที่ 13และลูกา บทที่ 21) 
อาเชอร์ อินเทรเตอร์
(
Asher Intrater)

พระองค์ได้สรุปและอธิบายคำสอนของผู้เผยพระวจนะชาวอิสราเอลทั้งหมด เหล่าอัครฑูตเขียน       
พระคัมภีร์โดยอิงจากสิ่งที่เยชูวาห์สอน
ในมัทธิว เยชูวาห์พูดถึง 2 ครั้ง คือในข้อ 31 และ 40 เกี่ยวกับเหตุการณ์เหนือธรรมชาติอันหนึ่งที่ผู้เชื่อ
ทั้ง
หลายจะถูกรับขึ้นไปบนฟ้าอากาศโดยเหล่าทูตสวรรค์ (Rapture การถูกรับ
ขึ้นไป) และพระคัมภีร์ได้พูดถึง
ช่วงเวลาทุกข์ยากลำบากที่ร้ายแรง (Tribulation การถูกข่มเหง) 
ซึ่งประกอบด้วย:

1. สิ่งชั่วร้ายถูกเปิดโปง
2. ผู้เชื่อจะถูกชำระให้บริสุทธิ์
3. การฟื้นฟูที่น่าอัศจรรย์จะเกิดขึ้น

บางคนสอนว่าผู้เชื่อทั้งหลายจะถูกรับขึ้นไปโดยทูตสวรรค์ก่อนช่วงเวลายาก
ลำบากนั้น หรือในระหว่างช่วง
ที่เกิดความยากลำบากนั้น อย่างไรก็ตามไม่มีการบันทึกไว้ในข้อพระคัมภีร์ที่ระบุว่าการรับขึ้นไปนั้นจะเกิด “ก่อน” หรือ   “ระหว่าง” การถูกข่มเหง แต่ทุกข้อพระคัมภีร์ได้อธิบายอย่างชัดเจนว่าเหตุการณ์การรับ
ขึ้นไปนั้นจะเกิดขึ้น “ในภายหลัง

1. เยชูวาห์ สอนให้เรา “อดทนจนถึง “ที่่สุด”(มัทธิว 24:13)
2. จะมีบางคนจะต้อง “หนี” ไปที่ภูเขา (ข้อ 16) ไม่มีความจำเป็นต้องหนี หากคุณไม่ได้อยู่ที่นั่นแล้ว
3. พระเจ้าจะย่น” วันเหล่านั้นให้สั้นเข้าเพราะเห็นแก่ผู้ที่ถูกเลือกสรร” (ข้อ 22) พระองค์ย่นช่วงเวลาสิ้น
ยุคเพื่อเหล่าธรรมมิกชน แต่พระองค์ไม่พาพวกเค้าออกไปก่อนที่ทุกอย่างจะสิ้นสุด
4. เยชูวาห์ เตือนผู้เชื่อที่เราจะไม่ “ถูกล่อลวง” หรือ “กลัว” ในช่วงเวลานั้น (ข้อ 4, 5 และ 25) 
ซึ่งถ้าเราไม่
ได้อยู่ในเหตุการณ์เหล่านั้นคำเตือนเหล่านี้ก็ไม่ได้มีความหมาย
5. ช่วงเวลาที่ทูตสวรรค์มานั้นจะเกิดขึ้นอย่างชัดเจน “หลังสิ้นการถูกข่มเหง” (มัทธิว 24:29,มาระโก13:24) “จากนั้น” (ข้อ 30)  จะมีการเสด็จกลับมาครั้งที่สองและการรับขึ้นไป
6. เยชูวาห์ เปรียบเทียบเหตุการณ์น้ำท่วมในสมัยโนอาห์ซึ่งเกิดขึ้น "ในวันนั้น" ที่โนอาห์เข้าเรือ ไม่ใช่
ก่อนหน้า
7. เยชูวาห์ เปรียบเทียบความคล้ายคลึงกับการทำลายเมืองโสโดม ซึ่งเกิดเหตุ"ในวันนั้นที่โลทออกมา" (ลูกา 17:29) ซึ่งไม่ได้เกิดก่อนหน้านั้นแม้วินาทีเดียว


ที่มาของวันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day)

ทุกวันพฤหัสบดีที่ 4 ของเดือนพฤศจิกายน (ปี 2016 ตรงกับวันที่ 24 พ.ย.) ประเทศสหรัฐอเมริกาจะถือเป็นวันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day) ชาวอเมริกันจะเลี้ยงฉลองขอบคุณพระเจ้าที่อวยพระพรพวกเขาทั้งหลายให้มีความสุขทั้งกายและใจตลอดปีที่ผ่านมา และเป็นวันที่สมาชิกครอบครัวจะอยู่พร้อมหน้ากัน เพื่อรับประทานอาหารเย็น รวมทั้งพูดคุยถึงสิ่งที่ ต้องการขอบคุณพระเจ้า
วันขอบคุณพระเจ้า มีประวัติความเป็นมาเริ่มตั้งแต่การอพยพตั้งถิ่นฐานครั้งแรก ในอเมริกาในปี ค.ศ. 1620 เริ่มจากชาวอังกฤษกลุ่มหนึ่งซึ่งเรียกตนเองว่า เพียวริแทนสฺ (Puritans) นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ ต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบ ศาสนาในประเทศอังกฤษซึ่งในยุคนั้นเป็นนิกาย เชิร์ชออฟอิงแลนด์ (Church of England) ให้เป็นไปตามความเชื่อ เน้นความเรียบง่ายไม่หรูหรา ผลปรากฏว่าพวกเพียวริแทนสฺ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ จนในที่สุดได้ตัดสินใจย้ายถิ่นฐาน
การออกเดินทางมุ่งหน้าสู่โลกใหม่ พวกเพียวริแทนสฺ เริ่มเรียกตัวเองว่าพิลกริม (Pilgrims) เนื่องมาจากการท่องหาดินแดนแห่งเสรีภาพทางศาสนานี้
เมื่อเวลาผ่านไปเข้าสู่ฤดูหนาว (Winter) พวกพิลกริมต้องเผชิญกับการต่อสู้ภัยธรรมชาติ ซึ่งยากที่จะรับมือได้เนื่องจาก ไม่คุ้นเคยและไม่ได้รับการฝึกฝนทนกับความหนาวเย็น การใช้ชีวิตในป่าดงพงไพรอันเต็มไปด้วยโรคต่าง ๆ การทำงานหนัก ตลอดจนอาหารมีไม่เพียงพอ พวกเขาจึงได้รับความทุกข์ทรมานอย่างมากจนถูกคร่าชีวิตไปกว่าครึ่งหนึ่ง เมื่อสิ้นสุดฤดูหนาว จำนวนผู้รอดชีวิตเหลืออยู่แค่ 50 คนเท่านั้น ในเช้าวันหนึ่งของฤดูใบไม้ผลิอันเป็นฤดูกาลถัดจากฤดูหนาว ชายชาวอินเดียนแดงคนหนึ่งเดินเข้ามาในหมู่บ้านเล็ก ๆ ของพลีมัธ และแนะนำตัวเองอย่างเป็นมิตรซึ่งในเวลาต่อมาเขาได้นำหัวหน้าเผ่าอินเดียนแดง ชื่อแมสซาซอยท์ (Massasoit) นำของกำนัลต่าง ๆ มามอบให้พวกพิลกริม และยังเสนอความช่วยเหลืออีกด้วย โดยสมาชิกในเผ่าของแมสซาซอยท์ได้สอนวิธีการล่าสัตว์ จับปลาและปลูกพืชให้กับพวกพิลกริม นอกจากนี้ยังสอนวิธีการใช้ปลา เป็นปุ๋ยสำหรับปลูกข้าวโพด (Corn) ฟักทอง (Pumpkins) และถั่ว (Beans) มีผลให้พวกพิลกริมสามารถเก็บเกี่ยว พืชผลได้อย่างดีมาก
ผู้ว่าการวิลเลี่ยม แบรดฟอร์ด (William Bradford) เจริญรอยตามแบบแผนประเพณีเก่าแก่ที่เคยปฏิบัติกันมา ได้กำหนดวันเพื่อขอบคุณพระเจ้าในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1621 และยังได้ใช้โอกาสทางศาสนานี้สร้างสายสัมพันธ์ อันดีงามระหว่างพวกพิลกริม และเพื่อนบ้านชาวอินเดียนแดงเหล่านั้น
ประเพณีการฉลองวันขอบคุณพระเจ้าของคนอเมริกันในยุคปัจจุบันมีที่มาจากการฉลองวันขอบคุณพระเจ้าครั้งแรกดังกล่าว ดังนั้นอาหารหลักบนโต๊ะอาหารในวันนี้ซึ่งถือเป็นอาหารประจำเทศกาลขอบคุณพระเจ้าจะมีไก่งวงอบยัดไส้ (Roast turkey with stuffing) ผลสควอช ขนมปังข้าวโพด (Corn bread) และซอสแครนเบอร์รี่ (Cranberry sauce) พายฟักทอง (Pumpkin pie) เช่นเดียวกับอาหารที่หาและเก็บเกี่ยวได้ ในยุคสมัยนั้น...
ในวันศุกร์หลังจากวันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day) เรียกกันว่า Black Friday เป็นวันเริ่มต้น การหาซื้อของขวัญเทศกาลคริสต์มาส เพื่อเตรียมมอบให้แก่กันและกัน
สำหรับเราในฐานะคริสตชน สามารถขอบพระคุณพระเจ้าได้ทุกวันเวลา สำหรับการจัดเตรียมจัดสรรของพระองค์ การไปคริสตจักรในทุกสัปดาห์จึงมีึวามหมายเพื่อเราจะได้เข้าไปนมัสการและขอบพระคุณพระเจ้า
สดุดี 95:2 ​ให้​เรา​เข้า​มา​อยู่​เฉพาะ​พระ​พักตร์​พระ​องค์​ด้วย​การ​ขอบ​พระ​คุณ ​ให้​เรา​โห่​ร้อง​ด้วย​ความ​ชื่น​บาน​ถวาย​แด่​พระ​องค์​ด้วย​บท​เพลง​สรรเสริญ

สดุดี 100:4 ​จง​เข้า​ประตู​ของ​พระ​องค์​ด้วย​การ​ขอบ​พระ​คุณ ​และ​เข้า​บริเวณ​พระ​นิเวศ​ของ​พระ​องค์​ด้วย​การ​สรรเสริญ จง​ขอบ​พระ​คุณ​พระ​องค์ จง​ถวาย​สาธุการ​แด่​พระ​นาม​ของ​พระ​องค์

ความเห็นพ้องทั่วไปอย่างเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับเรื่องสิ้นยุค( End Time General Consensus)

ความเห็นพ้องทั่วไปอย่างเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับเรื่องสิ้นยุค 
โดย ดาเนียล จัสเตอร์ (Dan Juster)
Eschatology หรือศาสนศาสตร์ยุคสุดท้าย คือคำสอนเรื่องเวลาสิ้นยุค และยุคใหม่ที่จะมา
ในโลกของคริสเตียนได้มีการพัฒนาความเห็นพ้องทั่วไปเกี่ยวกับศาสนศาสตร์ยุคสุดท้าย เราแทบจะเรียกประเด็นเหล่านี้ว่าความจริงของวันนี้ได้ ถึงแม้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่ตระหนักเช่นนั้น และนี่คือความเห็นพ้องทั่วไปอย่างเป็นเอกฉันท์:  
เวลาสิ้นยุคเริ่มจากการเสด็จมาของพระเยซู ต่อด้วยการสิ้่นพระชนม์ การฟื้นคืนพระชนม์ และการมอบพระวิญญาณบริสุทธิ์ใน   วันเพนเทคอสต์ (Shavuot ชาวูโอท) แผ่นดินของพระเจ้าได้มาแล้ว แต่การสำแดงอย่างเต็มรูปแบบจะมาพร้อมกับการเสด็จมาครั้งที่ 2 ของเยชูวาห์
ดาเนียล จัสเตอร์ (Dan Juster)
กลียุคและการแทรกแซง (Cataclysm and Intervention)
ช่วงวันท้ายๆของเวลาสิ้นยุคนั้นอ้างถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นไม่นานก่อนการเสด็จมาครั้งที่สองของพระเยซู ช่วงเวลานี้รวมถึง    การทดลองที่ยากเข็ญที่จะเกิดกับผู้คนของพระเจ้าในช่วงที่เขาทั้งหลายจะถูกต่อต้านด้วยอำนาจมืด ในความคิดของชาวยิว ช่วงเวลานี้จะถูกเรียกเหมือนเป็นช่วงเจ็บท้องคลอดเพื่อกำเนิดพระเมสสิยาห์หรือพระผู้ช่วยให้รอด (Sanhedrin 98 แซนเฮดริน 98) คำสอนเรื่องสิ้นยุคแบบดั้งเดิมของชาวยิวนั้นมีความสอดคล้องกับคริสตจักร ในเรื่องการถูกทดลองใหญ่ในช่วงสิ้นยุค ผมเรียกมุมมองแบบนี้ว่า - กลียุคและการแทรกแซง
อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายนั้นประชาชนของพระเจ้าจะถูกช่วยกู้ และเราจะเข้าสู่ยุคหน้าที่จะมาถึง ความเห็นพ้องกว้างๆอย่างเป็นเอกฉันท์นี้ได้สะท้อนออกมาแม้ในประมวลคำสอนของโรมันคาทอลิคก็ตาม
ที่พูดว่าก่อนการเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระคริสต์ คริสตจักรต้องผ่านบททดสอบสุดท้ายที่จะเขย่าความเชื่อของผู้เชื่อหลายคน การถูกข่มเหงนี้ที่มาพร้อมการแสวงบุญบนโลกนี้จะเปิดเผย “ความลึกลับของสิ่งชั่วร้าย” ในรูปแบบของการล่อลวงทางศาสนาที่ดูเหมือนช่วยแก้ปัญหาให้กับมนุษย์โดยแลกกับการจ่ายราคาด้วยการปฏิเสธความจริง  การล่อลวงทางศาสนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ       ผู้ต่อต้านพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอดปลอม(a pseudo-messianism) โดยมนุษย์ที่ยกตนเองขึ้นแทนพระเจ้า และพระเมสสิยาห์ที่มาในกายมนุษย์ 675
คริสตจักรจะเข้าสู่สง่าราศีของอาณาจักรผ่านปัสกาครั้งสุดท้าย เมื่อเธอจะติดตามองค์เจ้านายของเธอในความตาย และการฟื้นขึ้น อาณาจักรจะสมบูรณ์ แต่ไม่ใช่ด้วยชัยชนะจากอำนาจของคริสตจักรที่ทวีขึ้น แต่โดยชัยชนะของพระเจ้าเหนือความเหิมเกริมของความชั่วร้ายเป็นครั้งสุดท้ายเท่านั้น 677

แล้วอิสราเอล? (
What About Israel?)
คำสอนของเราสอดคล้องป็นอย่างมากกับความเห็นพ้องอย่างเป็นเอกฉันท์นี้ แต่เราเชื่อว่ามันได้ขาดชิ้นส่วนสิ้นยุคที่เชื่อมต่อกับอิสราเอล และชาวยิว ข้อพระคัมภีร์ภาษาฮีบรูได้กล่าวถึงการสู่รบครั้งสุดท้าย (โยเอล 3 อิสยาห์ 25-27 เอเสเคียล 38-39 และอื่นๆอีกมาก) ที่ได้เชื่อมโยงชาวยิวในอิสราเอลกับการสิ้นยุคนี้  ให้เรายกตัวอย่างมาสักข้อ
เศคาริยาห์ 12, 14 - เราได้อ่านเรื่องการบุกรุกของนานาชาติและการสู้รบเพื่อเยรูซาเล็ม และนี่นำไปสู่ช่วงเวลาการกลับใจหลังสงครามอย่างน่าอัศจรรย์ และอิสราเอลจะมองพระองค์นั้นผู้ซึ่งเขาได้แทง (12:10) คืออิสราเอลหันกลับมาหาพระเยซู และในช่วงปลายของสงครามครั้งใหญ่นี้ ประชาชาติทั้งหลายจะหันกลับสู่พระเจ้า และนมัสการพระองค์ในเยรูซาเล็มทุกปีในช่วงเทศการอยู่เพิง Feast of Tabernacles (Sukkot สุคท)
เราซาบซึ้งที่ในยุคสมัยของเรานี้ ได้เริ่มมีความเห็นพ้องกันทั่วไป สู่ความเป็นเอกฉันท์ถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างอิสราเอลและชาวยิวต่อศาสนศาสตร์ยุคสุดท้ายของคริสตจักร เฉกเช่นที่อิสราเอลและชาวยิวเคยเป็นศูนย์กลาง จุดรวมความสนใจของผู้เผยพระวจนะชาวฮีบรูในอดีตขณะที่กำลังเผยถึงเหตุการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นในช่วงสิ้นยุค

ข้อมูลจาก http://reviveisrael.org/end-time-general-consensus/

23 พฤศจิกายน 2559

การเผยพระวจนะในพันธสัญญาใหม่

บทความครั้งนี้ ผมขอนำบทความของน้องชายในพระคริสต์ท่านหนึ่งเขียนและนำมาลงใน blog นะครับ ฝากผลงานด้วยนะครับ
การเผยพระวจนะในพันธสัญญาใหม่ 
โดย  Haiyong Kavilar

ลักษณะของพันธสัญญาเดิมกับพันธสัญญาใหม่เป็นสิ่งที่แตกต่างกันอย่างมาก ลักษณะของพันธสัญญาเดิมเน้นไปที่กฎเกณฑ์ภายนอกและเกี่ยวข้องกับการกล่าวโทษ แต่ลักษณะของพันธสัญญาใหม่เน้นพระบัญญัติที่อยู่ในใจและเกี่ยวข้องกับการยกโทษและพระคุณ เวลาที่เพื่อนๆอ่านพันธสัญญาเดิมกับพันธสัญญาใหม่เพื่อนๆก็สามารถรับรู้ถึงความแตกต่างได้ไม่ยาก ถ้าลักษณะของพันธสัญญาเดิมกับพันธสัญญาใหม่มีความแตกต่างมากขนาดนี้แล้ว การเผยพระวจนะในพันธสัญญาเดิมกับพันธสัญญาใหม่ก็มีความแตกต่างกันด้วย

การเผยพระวจนะในพันธสัญญาใหม่จึงเน้นในแง่ของการให้ความหวังและพระคุณ ซึ่งไม่เหมือนกับพันธสัญญาเดิมที่เป็นเชิงกล่าวโทษ ใน (1คร.14:4) ก็ได้บอกถึงลักษณะของคำเผยพระวจนะในพันธสัญญาใหม่

(1คร.14:4) แต่​ผู้​ที่​เผย​พระ​วจนะ​นั้น พูด​กับ​มนุษย์​เพื่อ​ให้​เจริญ​ขึ้น ให้​มี​การ​ชู​ใจ​และ​การ​ปลอบ​ใจ

การเผยพระวจนะในพันธสัญญาใหม่นั้นทำให้ผู้ฟังเจริญขึ้น ได้รับการชูใจ และได้รับการปลอบใจ ซึ่งไม่เหมือนกับพันธสัญญาเดิม ถ้าเพื่อนๆได้รับคำเผยพระวจนะที่ไม่ได้ทำให้เจริญขึ้นหรือได้รับการชูใจหรือปลอบใจ นั่นก็เป็นไปได้ว่าคำเผยพระวจนะนั้นอาจจะผิด การเผยพระวจนะในพันธสัญญาใหม่เป็นสิ่งที่มีสง่าราศียิ่งกว่าการเผยพระวจนะในพันธสัญญาเดิม เพราะพันธสัญญาใหม่เป็นพันธสัญญาที่มีสง่าราศีมากกว่าพันธสัญญาเดิม

เผยพระวจนะผิดเท่ากับเป็นผู้เผยพระวจนะเท็จหรือไม่?

มีข้อพระคัมภีร์ข้อหนึ่งที่ทำให้ผู้เชื่อไม่กล้าเผยพระวจนะนั่นคือ
(ฉธบ.18:20-22) แต่​ผู้​เผย​พระ​วจนะ​ที่​บัง​อาจ​กล่าว​คำ​ใน​นาม​ของ​เรา​ซึ่ง​เรา​ไม่​ได้​บัญชา​ให้​กล่าว หรือ​กล่าว​ใน​นาม​ของ​พระ​อื่น ผู้​เผย​พระ​วจนะ​นั้น​ต้อง​มี​โทษ​ถึง​ตาย’ และ​ถ้า​ท่าน​นึก​ใน​ใจ​ว่า ‘เรา​จะ​รู้​ได้​อย่างไร​ว่า​เป็น​ถ้อย​คำ​ที่​พระ​ยาห์​เวห์​ไม่​ได้​ตรัส?’ เมื่อ​ผู้​เผย​พระ​วจนะ​กล่าว​คำ​ใน​พระ​นาม​ของ​พระ​ยาห์​เวห์ ถ้า​ไม่​เป็น​จริง​ตาม​ถ้อย​คำ​นั้น​และ​สิ่ง​นั้น​ไม่​เกิด​ขึ้น ถ้อย​คำ​นั้น​ไม่​ได้​เป็น​พระ​วจนะ​ที่​พระ​ยาห์​เวห์​ตรัส ผู้​เผย​พระ​วจนะ​นั้น​บัง​อาจ​กล่าว​เอง อย่า​เกรง​กลัว​เขาเลย

ถ้าดูข้อพระคัมภีร์แบบเผินๆ เราอาจเข้าใจว่าถ้าถ้อยคำเผยพระวจนะไม่ปรากฏเป็นจริง แสดงว่าคนที่เผยพระวจนะนั้นเป็นผู้เผยพระวจนะเท็จและควรได้รับโทษถึงชีวิต อย่างไรก็ตามคำว่าผู้เผยพระวจนะที่ข้อพระคัมภีร์นี้กล่าวถึงไม่ได้หมายถึงผู้เผยพระวจนะทั่วๆไป แต่หมายถึงผู้เผยพระวจนะที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งยิ่งใหญ่ถึงขนาดที่จะเป็นผู้ตั้งอีกพันธสัญญาหนึ่ง เพราะข้อพระคัมภีร์ก่อนหน้านี้เขียนไว้ว่า

(ฉธบ.18:15) พระ​ยาห์​เวห์​พระ​เจ้า​ของ​ท่าน​จะ​โปรด​ให้​ผู้​เผย​พระ​วจนะ​เช่น​เดียว​กับ​ข้าพ​เจ้า[โมเสส]นี้​เกิด​ขึ้น​ใน​หมู่​พวก​ท่าน​จาก​พี่​น้อง​ของ​ท่าน พวก​ท่าน​จง​เชื่อ​ฟัง​เขา

ใน (ฉธบ. 18:15) ได้กล่าวถึงผู้เผยพระวจนะที่จะเกิดขึ้นเช่นเดียวกับโมเสสหรือในระดับเดียวกับโมเสส ดังนั้นผู้เผยพระวจนะในบริบทนี้จึงไม่ได้หมายถึงผู้เผยพระวจนะทั่วๆไป แต่เป็นผู้เผยพระวจนะในระดับผู้ตั้งพันธสัญญา ซึ่งผู้เผยพระวจนะคนนั้นก็คือพระเยซู เพราะพระเยซูเป็นผู้ตั้งพันธสัญญาใหม่ ส่วนโมเสสเป็นผู้ตั้งพันธสัญญาเดิม ข้อพระคัมภีร์นี้กำลังอธิบายว่าถ้ามีผู้หนึ่งที่เป็นผู้เผยพระวจนะมาตั้งพันธสัญญาอันใหม่ แล้วถ้าผู้นั้นได้เผยพระวจนะแล้วไม่เป็นจริง ผู้นั้นสมควรได้รับโทษถึงชีวิต ดังนั้นข้อพระคัมภีร์นี้จึงไม่ได้หมายถึงผู้เผยพระวจนะทั่วๆไป แต่หมายถึงผู้เผยพระวจนะในระดับผู้ตั้งพันธสัญญา


ผู้เผยพระวจนะก็เผยพระวจนะพลาดได้

ใน (กจ.21:10-12) อากาบัสผู้ซึ่งเป็นผู้เผยพระวจนะ ได้เผยพระวจนะให้กับเปาโลว่าคนยิวในเยรูซาเล็มจะมัดเปาโลและส่งตัวไปให้คนต่างชาติ ทว่าในเหตุการณ์จริง คนยิวจับเปาโลได้และเกือบจะฆ่าเปาโล แต่คนต่างชาติได้เข้ามาและช่วยเหลือเปาโลให้พ้นจากชาวยิว จากนั้นคนที่มัดเปาโลคือชาวต่างชาติไม่ใช่พวกยิว
อากาบัสผู้ซึ่งเป็นถึงผู้เผยพระวจนะในพันธสัญญาใหม่ก็ยังเผยพระวจนะพลาดได้ อย่างไรก็ตามเขาก็ไม่ได้เผยพระวจนะผิดไปซะทั้งหมด คำเผยพระวจนะของเขามีส่วนถูกในภาพรวม เพียงแต่มีรายละเอียดบางจุดที่พลาดไปบ้าง อัครทูตเปาโลได้กล่าวถึงการเผยพระวจนะว่า

(1คร.13:12) เพราะ​ว่า​เรา​รู้​เพียง​บาง​ส่วน และ​ก็​เผย​พระ​วจนะ​เพียง​บาง​ส่วน

เนื่องจากคำเผยพระวจนะอาจมีบางส่วนถูกและอาจมีบางส่วนที่ผิด ดังนั้นการวินิจฉัยและการพิสูจน์คำเผยพระวจนะจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น แม้ว่าจะเป็นคำเผยพระวจนะจากผู้เผยพระวจนะก็ตาม ผู้เผยพระวจนะที่ยิ่งใหญ่และถ่อมใจหลายคนมักจะยอมให้มีการวินิจฉัยและพิสูจน์คำเผยพระวจนะที่ตนได้พูดออกไป ใน (1คร.14:29) และ (1ธส.5:20-21) ก็ได้แนะนำให้ผู้เชื่อวินิจฉัยและพิสูจน์คำเผยพระวจนะ

(1คร.14:29) ให้​พวก​ผู้​เผย​พระ​วจนะ​พูด​ได้สอง​หรือ​สาม​คน และ​ให้​คน​อื่นๆ วินิจ​ฉัย​สิ่ง​ที่​พูด

(1ธส.5
:20-21) อย่า​ดู​หมิ่น​ถ้อย​คำ​ของ​ผู้​เผย​พระ​วจนะ จง​พิ​สูจน์​ทุก​สิ่ง สิ่ง​ที่​ดี​นั้น​จง​ยึด​ถือ​ไว้​ให้​มั่น

แนวทางวินิจฉัยคำเผยพระวจนะเบื้องต้น

1. ตรวจสอบว่าคำเผยพระวจนะสอดคล้องกับพระคัมภีร์หรือไม่?
ถ้าคำเผยพระวจนะขัดแย้งกับพระคัมภีร์ นั้นหมายถึงคำเผยพระวจนะนั้นผิดแน่นอน เพราะพระเจ้าไม่ตรัสในสิ่งที่ขัดกับที่พระองค์เคยตรัสไว้แล้วในพระคัมภีร์

2. ฟังคำเผยพระวจนะแล้ว รู้สึกได้รับการยืนยันในส่วนลึกหรือไม่
?
ในส่วนลึกของผู้เชื่อทุกคนมีพระวิญญาณอยู่ ถ้าคำเผยพระวจนะนั้นถูกต้อง พระวิญญาณที่อยู่ในส่วนลึกของเราจะยืนยันถึงคำเผยพระวจนะนั้น ซึ่งเราจะรู้สึกถึงการยืนยันนี้ได้ในส่วนลึกของเรา

3.
คำเผยพระวจนะนั้น ทำให้เจริญขึ้น ชูใจขึ้น หรือปลอบใจหรือไม่?

ลักษณะของคำเผยพระวจนะในพันธสัญญาใหม่คือการให้ความหวังและพระคุณ ไม่ใช่การกล่าวโทษ ซึ่งใน (1คร.14:4) ก็ได้ยืนยันถึงหลักการดังกล่าว

4. คำเผยพระวจนะกล่าวถึงการทรงเรียกที่ขัดกับของประทานของเราหรือไม่
?
ปกติแล้วพระเจ้าทรงเรียกให้เราทำงานหรือทำพันธกิจที่สอดคล้องกับของประทานและธรรมชาติที่พระเจ้าสร้างเรามา ถ้าคำเผยพระวจนะนั้นกล่าวถึงการทรงเรียกที่ขัดกับของประทานของเรา นั้นเป็นไปได้ว่าคำเผยพระวจนะนี้อาจมีส่วนผิด

ฝึกฝนการเผยพระวจนะ

ที่ผ่านมาผมได้ปูพื้นฐานว่าความผิดพลาดสามารถเกิดขึ้นกับการเผยพระวจนะได้ สิ่งสำคัญเมื่อเราจะฝึกฝนการเผยพระวจนะนั้นก็คือการวินิจฉัยและพิสูจน์คำเผยพระวจนะ ดังนั้นแล้วเมื่อเราจะก้าวเข้าสู่เส้นทางของการพัฒนาการเผยพระวจนะ ให้เรายอมรับว่าบางครั้งเราอาจเผยพระวจนะพลาดได้ เมื่อเราจะฝึกฝนการเผยพระวจนะเราต้องยอมให้ผู้ฟังวินิจฉัยและพิสูจน์คำเผยพระวจนะ แน่นอนเราอาจพลาดได้ แต่ถ้าเราได้ฝึกฝนบ่อยๆทั้งในการรับการสำแดงและการวินิจฉัย เราก็จะเติบโตในการเผยพระวจนะมากขึ้น ระหว่างการฝึกฝนก็อาจมีพลาดบ้าง แต่ถ้าเราไม่เคยพลาดเลยนั่นหมายความว่าเราอาจจะไม่เคยฝึกฝนเลยก็เป็นได้ ผู้เผยพระวจนะที่ยิ่งใหญ่หลายคนก็ล้วนแล้วแต่ผ่านความผิดพลาดมาแล้วทั้งนั้น ดังนั้นแล้วให้เรามาฝึกฝนการเผยพระวจนะกันเถอะ

หนังสือแนะนำเพิ่มเติม

วิถีชีวิตเหนือธรรมชาติ เขียนโดย คริส แวลโลตัน
ฟังเสียงพระเจ้า เขียนโดย ซินดี้ เจคอปส์
ตามพระสุรเสียง นำผู้หลงหาย เขียนโดย มาร์ค สทิบบ์
ตื่นตะลึงเสียงพระเจ้า เขียนโดย แจ๊ค เดียร์

เพื่อท่านทั้งหลายจะเผยพระวจนะได้ เขียนโดย สตีฟ ทอมป์สัน

รูปภาพจาก

https://everestalexander.files.wordpress.com/2015/02/lawvsgrace.png
http://everynationtr.org/sermons/the-new-covenant/

21 พฤศจิกายน 2559

ทำความเข้าใจเรื่อง "เสรีภาพในพระคริสต์"

ทำความเข้าใจเรื่อง "เสรีภาพในพระคริสต์"   แบบสายย่อพอเข้าใจแบบง่าย

เส้นบางๆระหว่างเสรีภาพกับการทำตามใจตนเอง คือ "ท่าทีในใจ"

ท่าทีส่งผลต่อท่าทางคือการกระทำและเป็นตัวกำหนดผลปลายทาง

ท่าทีดีท่าทางจะเข้าท่า  แต่ท่าทีไม่ดีท่าทางจะพลาดอย่างไม่เป็นท่า

อัครทูตเปาโล เขียนอธิบายเรื่องนี้ไว้ในจดหมายฝากถึงผู้เชื่อเมืองกาลาเทีย  ในบทที่ 5

“เพื่อ​เสรี‍ภาพ​นั้น​เอง​พระ‍คริสต์​จึง​ได้​ทรง​ให้​เรา​เป็น​ไท เพราะ‍ฉะนั้น จง​ตั้ง‍มั่น และ​อย่า​เข้า​เทียม‍แอก​ของ​การ​เป็น​ทาส​อีก​เลย” (‭‭กาลาเทีย‬ ‭5:1‬)

พระเยซูตายไถ่บาปให้เราพ้นจากการเป็นทาสแล้วอย่าไปสวมแอกแห่งทาสคือธรรมบัญญัติอีก คือ มีเสรีภาพภายใต้กรอบที่ถูกต้องคือพระวิญญาณ ไม่ใช่การงานเนื้อหนังการทำอะไรตามใจชอบ ระวังจะไปที่ชอบๆ

ประมวลกฏประหารให้ตายแต่พระวิญญาณประทานชีวิต


“พี่‍น้อง​ทั้ง‍หลาย เพราะ‍ว่า​ท่าน​ถูก​เรียก​ให้​มี​เสรี‍ภาพ ขอ‍แต่‍เพียง​อย่า​ถือ​โอกาส​ใช้​เสรี‍ภาพ​เพื่อ​ทำ​ตาม​เนื้อ‍หนัง แต่​จง​รับ‍ใช้​กัน​และ​กัน​ด้วย​ความ​รัก​เถิด เพราะ​ว่า​ธรรม‍บัญญัติ​ทั้ง‍สิ้น​นั้น​สรุป​ได้​เป็น​คำ​เดียว คือ​ว่า จง​รัก​เพื่อน‍บ้าน​เหมือน​รัก​ตน‍เอง” (‭‭กาลาเทีย‬ ‭5:13-14‬ ‭)

เสรีภาพใหม่ส่งผลจากภายในที่เปลี่ยนโดยพระวิญญาณ

ความรักเป็นผลของพระวิญญาณ(กาลาเทีย 5:22-23)ที่สำแดงออกเป็นการกระทำตามธรรมบัญญัติ ไม่ใช่การประมวลผลแบบ input แล้วออกมาเป็น output แต่เป็นผลที่เกิดจากต้น ต้นไม้ดีให้ผลดี

ธรรมบัญญัติเป็นกฏของความรัก เพื่อปรับปรุงแก้ไข ไม่ใช่การปรักปรำเมื่อทำผิด

ธรรมบัญญัติเป็นรั้วกั้นเพื่อเราจะไม่ตกขอบ อยู่ในกรอบที่ปลอดภัย


“ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​ที่​ปรารถ‌นา​จะ​ถูก​ชำระ​ให้​ชอบ‍ธรรม​โดย​ธรรม‍บัญญัติ ก็​ถูก​ตัด‍ขาด​จาก​พระ‍คริสต์ และ​หล่น​จาก​พระ‍คุณ​ไป​เสีย​แล้ว”(‭‭กาลาเทีย‬ ‭5:4)


ธรรมบัญญัติไม่ใช่แอกที่ต้องแบกไว้ เพราะนั่นคือการเป็นทาส ที่เน้นการกระทำภายนอกแบบศาสนาที่ตัดสินคนอื่น รวมถึงการผลักไสไล่พระคริสต์  ปิดใจที่จะรับพระคุณ

การทำตามใจตนเองไม่ใช่เสรีภาพแต่เป็นการงานของเนื้อหนัง
ดังคำกล่าวที่ว่า "ทำอะไรตามใจคือไทยแท้ " แต่ความจริง  ธาตุแท้คือความเป็นทาสแท้ แพ้ความบาป เพราะตกเป็นทาสของบาปยังดำเนินอยู่ในบาป

เรามีสิทธิในการเลือกเป็นของประทานที่พระเจ้าทรงให้กับทุกคนคือ Freewill ตั้งแต่สวนเอเดน แต่สิ่งที่เราเลือกเราจะต้องรับผิดชอบในผลที่เกิดขึ้น ดังเช่นอาดัมเลือกที่จะไม่เชื่อฟัง นำมาซึ่งความบาปส่งผลคือความตาย

“แต่​เดี๋ยว‍นี้​พวก‍ท่าน​พ้น​จาก​การ​เป็น​ทาส​ของ​บาป และ​กลับ‍มา​เป็น​ทาส​ของ​พระ‍เจ้า​แล้ว ผล‍สนอง​ที่​ท่าน​ได้​รับ​ก็​คือ​การ​ชำระ​ให้​บริ‌สุทธิ์ และ​ผล​สุด‍ท้าย​คือ​ชีวิต​นิ‌รันดร์
เพราะ‍ว่า​ค่า‍จ้าง​ของ​บาป​คือ​ความ​ตาย แต่​ของ‍ประ‌ทาน​จาก​พระ‍เจ้า​คือ​ชีวิต​นิ‌รันดร์​ใน​พระ‍เยซู‍คริสต์​องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า​ของ​เรา” (‭‭โรม‬ ‭6:22-23‬ ‭)


คนที่ดำเนินชีวิตตามใจไร้ขอบเขต เรียกว่าทำตัว Freestyle อาจจะตายฟรีๆ เพราะขาดวินัยในการดำเนินชีวิต

เขาจะตายเพราะขาดวินัยในชีวิต และเพราะความโง่อย่างยิ่งของเขา เขาจึง หลงเจิ่นไป (สุภาษิต 5:23)

บทสรุป คือ การดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณ ดั่งว่าวเคลื่อนไหวมีเสรีภาพตามลม(พระวิญญาณ)แต่ต้องมีสายป่าน(ธรรมบัญญัติ)กำกับไว้  แต่ถ้าสายป่านขาดว่าวนั้นก็ตกลงมา

“ผู้​ที่​อยู่​ฝ่าย​พระ‍เยซู‍คริสต์​ได้​ตรึง​เนื้อ‍หนัง​ไว้​ที่​กาง‌เขน ​พร้อม‍กับ​ราคะ​และ​ตัณ‌หา​แล้ว ถ้า​เรา​มี​ชีวิต​อยู่​โดย​พระ‍วิญ‌ญาณ ก็​จง​ดำ‌เนิน​ชีวิต​ตาม​พระ‍วิญ‌ญาณ​ด้วย” (‭‭กาลาเทีย‬ ‭5:24-25)

ผู้ที่รับพระคุณและรักษาธรรมบัญญัติก็เป็นสุข สนุกอย่างมีเสรีภาพ


ภาพจาก  http://www.hopecorby.org/wp-content/uploads/2013/06/FiC-logo.png

20 พฤศจิกายน 2559

สรรเสริญพระเจ้าสำหรับยอดผู้เข้าชมจำนวน 600,000 วิวแล้ว

สรรเสริญพระเจ้าสำหรับยอดผู้เข้าชมจำนวน 600,000 วิวแล้ว ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาติดตามอ่านบทความใน Blog ขอบคุณสำหรับทุกคำแนะนำและกำลังใจที่มอบให้กัน
บทความต่างๆใน Blog สามารถส่งต่อและเผยแพร่ได้ครับ ไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ รวมถึงหากพี่น้องที่มีงานสัมมนาที่เป็นประโยชน์และอยากจะประชาสัมพันธ์งานต่างๆ สามารถส่งมาที่mail ผมได้นะครับที่ pmpattamarot@gmail.com
ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆเช่นกัน ยินดีเป็นพระพรต่อพระกายของพระคริสต์ครับ
สำหรับ blog ท่ีผมเขียนเป็นงานอดิเรก เป็น Blog ส่วนตัวของผม จึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับองค์กรคริสตจักร ซึ่งบทความต่างๆบางเรื่องเป็นความคิดส่วนตัวของผมนะครับ จึงไม่ใช่ข้อสรุปขององค์กรคริสตจักร ขอให้ใช้วิจารณญาณในการอ่าน และการนำไปประยุกต์ใช้นะครับ

12 พฤศจิกายน 2559

แบบอย่างทั้ง 7 ของทีมอัครทูต(7 Models of Apostolic Teams)

แบบอย่างทั้ง 7 ของทีมอัครทูต(7 Models of Apostolic Teams) 

โดย  อาเชอร์ อินเทรเตอร์()

การเคลื่อนฝ่ายวิญญาณในพระคัมภีร์มากมายมาจากการงานของทีมอัครทูตร่วมกับผู้เผยพระวจนะ ผมพบว่ามี 7 รูปแบบของทีมอัครฑูตที่สามารถนำมาเป็นแบบอย่างให้กับเราในวันนี้


1. กลุ่มของผู้ประกาศข่าวประเสริฐ (Band of Evangelists) 
– สาวก 12 คนแรกของพระเยซูไม่ได้เผยพระวจนะหรือตั้งคริสตจักรมากเท่าใดนัก แต่พวกเขาประกาศข่าวประเสริฐและรักษาคนป่วยมากกว่า นี่เป็นกลุ่มของอัครฑูตอย่างแท้จริงภายใต้การนำของซีโมน เปโตร ตามข้อพระคัมภีร์กิจการ 1-12 ชาวยิวที่สนับสนุนพระเยซูนั้นทำให้เราเห็นภาพของการทวีคูณของกลุ่มผู้ประกาศข่าวประเสริฐ
2. กลุ่มของผู้เผยพระวจนะ(Band of Prophets) – ผู้เผยพระวจนะในยุคก่อนๆเช่นซามูเอล, เอลียาห์, เอลีชา เป็นผู้นำกลุ่มนักเรียนผู้เผยพระวจนะที่เด็กกว่า 
1 ซามูเอล 10:5  ต่อจากนั้น​ท่าน​จะ​มาถึง กิเบอัทเอโลฮิม​ ที่​นั่น​มี​กอง​ทหาร​รักษาการ​ของ​คน​     ฟีลิสเตีย​  เมื่อ​ท่าน​มาถึง​เมือง​นั้น ท่าน​จะ​พบ​ผู้เผย​พระ​วจนะ​หมู่​หนึ่ง​กำลัง​ลง​มา​จาก​ปู​ชนีย​สถาน​สูง​ถือ​พิณ​ใหญ่ รำมะนา ปี่ พิณ​เขา​คู่ นำหน้า​มา กำลัง​เผย​พระ​วจนะ​เรื่อยมา​
กลุ่มอัครทูตรุ่นก่อนนี้เริ่มต้นโดยการอธิษฐานและเผยพระวจนะร่วมกัน (กิจการฯ 1:14, 2:17)
1:14 ​พวก​เขา​อุทิศ​ตัว​อธิษฐาน​ด้วย​กัน พร้อม​กับ​พวก​ผู้หญิง​และ​มารีย์​มารดา​ของ​พระ​เยซู​ทั้ง​พวก​น้อง​ชาย​ของ​พระ​องค์​ด้วย
2:17 ’​พระ​เจ้า​ตรัส​ว่า ใน​วาระ​สุดท้าย เรา​จะ​เท​พระ​วิญญาณ​ของ​เรา​บน​มนุษย์​ทั้งหมด บุตรา บุตรี​ของ​ท่าน​ทั้ง​หลาย​จะ​เผย​พระ​วจนะ บรรดา​คน​หนุ่ม​ของ​ท่าน​จะ​เห็น​นิมิต และ​บรรดา​คน​แก่​ของ​ท่าน​ทั้ง​หลาย​จะ​ฝัน​เห็น 

เป็นไปได้ว่ากลุ่มของผู้ที่มีนิมิตที่อ่อนวัยกว่าจะสนิทสนมกับยอห์น และต่อมากลายเป็นกลุ่มผู้เผยพระวจนะ  เช่น  นิเวศอธิษฐานนานาชาติ ที่รัฐแคนซัส สหรัฐอเริกา (IHOP-KC) กลายเป็นจุดเริ่มต้นของนิเวศอธิษฐานต่างๆทั่วโลก

3. คริสตจักรแม่ (Mother Congregation) – ในกิจการ 13 มีกลุ่มอาจารย์และผู้เผยพระวจนะในคริสตจักรที่อันทิโอก พวกเค้าได้ส่งเปาโล(เซาโล)และบารนาบัสออกไปและกลายเป็นคนที่สนับสนุนกลุ่มของเปาโลและกลุ่มอื่นๆ คริสตจักรในเยรูซาเล็มเป็นคริสตจักรแม่ของกลุ่ม   คริสตจักรที่เคลื่อนแบบอัครฑูตทั้งหมด พันธกิจเบธ เยซูวา(Beth Yeshua)  ในเมืองฟิลาเดเฟีย และพันธกิจ เต้นท์ออฟเมอร์ซี (Tents of Mercy)  ในเมืองไฮฟาเป็นตัวอย่างของกลุ่มคริสตจักรเมสสิยานิคที่ได้ขยายแบบทวีคูณออกไป

4. โรงเรียนฝึกอบรม(Training School)
 – ในกิจการ 19 เราจะเห็นว่าเปาโลสอนทุกวันที่โรงเรียนของทิรันนัส(Tiranus) โรงเรียนนี้เป็นมากกว่าศูนย์ฝึกสอน รูปแบบการสอนมีการวางรากฐานสำหรับเผยแพร่เนื่อหาเกี่ยวกับอาณาจักรของพระเจ้าไปทั่วเอเชียน้อย โรงเรียนสอนพระคัมภีร์ในยุคปัจจุบันเช่น วายแวม, ไครช์ฟอร์ออลเนชั่น, เกทเวย์, ไอซีโอบี, และเอ็มเจบีไอ(YWAM, CFNI, Gateways, ICOB ,MJBI) เป็นศูนย์อัครฑูตที่จะแผ่ขยายอาณาจักร
กจ. 19:9-10 
9 ​แต่​บาง​คน​มี​ใจ​แข็ง​กระด้าง​ไม่​ยอม​เชื่อ​และ​พูด​หยาบ​ช้า​เรื่อง ‘ทาง​นั้น’​ ต่อ​หน้า​ชุมนุม​ชน ​เปาโล​จึง​แยก​จาก​พวก​เขา​และ​พา​พวก​สาวก​ไป​ด้วย แล้ว​ท่าน​ไป​อภิปราย​ใน​ห้อง​ประชุม​ของ​ท่าน​ผู้​หนึ่ง​ชื่อ​ที​รันนัส​ทุก​วัน  
10 ​ท่าน​ทำ​เช่นนั้น​ติดต่อกัน​สอง​ปี​จน​ชาว​แคว้น​เอเชีย​ทั้ง​พวก​ยิว​และ​พวก​กรีก​ได้​ยิน​พระ​วจนะ​ของ​องค์​พระ​ผู้​เป็น​เจ้า

5. ผู้ร่วมงานของเปาโล(Paul's Staff) – กลุ่มคนเริ่มที่จะรวมตัวกันและสนับสนุนเปาโล บางคนเป็นผู้นำในการฝึกอบรม, บางคนเป็นผู้ช่วย  อัครทูตให้กับเปาโล, บางคนเป็นผู้ช่วย, เป็นเลขา, เป็นผู้บริหารจัดการ เป็นต้น เช่นทิตัสได้มาเป็นอัครทูตแทนเปาโล กายอัสผู้คัดลอกจดหมายของเปาโล พวกเค้าร่วมรับใช้เหมือนเป็นคนงานที่ร่วมก่อตั้งคริสตจักรเมสสิยานิค  รีไวฟ์ อิสราเอล(Revive Israel team)  พันธกิจที่มีนิมิตเพื่อการฟื้นฟูอิสราเอลและประชาชาติก็ทำงานตามรูปแบบนี้มาเป็นเวลา 12 ปีแล้ว
6. พันธกร 5 ด้าน (Five-fold Ministry)  – เมื่อทีมงานของเปาโลเติบโตขึ้นจากคนงานกลายเป็นผู้นำ รูปแบบของการเป็นผู้นำของกลุ่มอัครฑูตประกอบด้วย 5 กลุ่มตามการทรงเรียก 
เอเฟซัส 4:11อธิบายว่า มี “อัครทูต, ผู้เผยพระวจนะ, ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ, ศิษยาภิบาล, และอาจารย์” เรามีความชื่นชมยินดีเป็นอย่างมากที่คณะทำงานของพันธกิจรีไวฟ์ อิสราเอล เริ่มเป็นเหมือนกลุ่มคนในเอเฟซัส 4 ที่มีระดับความเป็นผู้นำ

 อาเชอร์ อินเทรเตอร์(Asher Intrater)


7. คณะที่ปรึกษาอาวุโส (Senior Advisory Council) – ในกิจการ 15 ผู้นำอาวุโสหลายท่านรวมถึงเปโตร, เปาโล, และยากอบ ได้ชุมนุมกันเพื่อวางกลยุทธ์, จัดตั้งนโยบาย, และขจัดข้อโต้แย้ง ไม่มีใครเป็น พระสันตะปาปา แต่เป็นกลุ่มผู้นำที่มีความนบนอบต่อกัน ปรึกษาและอธิษฐานร่วมกัน เรามีความสัมพันธ์แบบเดียวกันนี้ในกลุ่มที่ปรึกษาอาวุโสที่ องค์กรทิคคุณอินเตอร์เนชั่นแนล(Tikkun Internationa) ที่มีแดน จัสเตอร์, อิทาน ชิคคอฟ, พอล วิลเบอร์ และเดวิด รูดอล์ฟ (Dan Juster, Eitan Shishkoff, Paul Wilbur, David Rudolph)
ขอให้แบบอย่างตามพระคัมภีร์เหล่านี้ช่วยให้เราเกิดผลมากขึ้น ในขณะที่เราแสวงหาที่จะรับใช้พระเจ้าในยุคนี้!
ขอบคุณข้อมูลจาก http://reviveisrael.org