You'll never walk alone. I am your friend who always listens to, and walks along with you.
30 กันยายน 2553
ชีวิตที่ผ่านบททดสอบ จากชีวิตของเปโตร (1)
ชีวิตที่ผ่านบททดสอบ จากชีวิตของเปโตร (บททดสอบเพื่อเรียกให้เป็นผู้นำ)
ผมได้ฟังคำสอนจากท่านอาจารย์นิมิตที่คริสตจักรแห่งพระบัญชาในเรื่อง "ชีวิตที่ผ่านบททดสอบ จากชีวิตของเปโตร" จึงได้ไปศึกษาเพิ่มเติมและสรุปมาให้อ่านดังนี้ (สามารถเข้าไปฟังคำสอนได้ที่ http://www.uccfellowship.com)
สรุปจากคำสอน
การทดสอบมาถึงชีวิตเราได้ทุกเวลา และบางครั้ง เราก็ไม่ทันได้ตระหนักว่านั่นคือ การทดสอบที่มาถึงชีวิต พระเจ้าของเราเป็นพระเจ้าที่ชอบทดสอบชีวิตคน เป้าประสงค์ของการทดสอบของพระองค์ ก็เพื่อจะให้เราผ่านและพาเราให้ติดตามพระองค์อย่างเข็มแข็งเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น (สดด.11:4) พระวจนะบอกว่า ทรงทดลองเรา ก็เพื่อกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเราเองในท้ายที่สุด (ฉธบ. 8:16)
อัครทูตเปโตรก็ต้องผ่านบททดสอบเช่นเดียวกัน ในพระธรรมลูกา 5:1-11 เราก็ได้เห็นพระเยซูทรงทดสอบชีวิตของเปโตรที่ทะเลสาบกาลิลี มีคำถามที่เราจะมาพิจาณาร่วมกัน
1.เราตอบสนองต่อบททดสอบแห่งความผิดหวังและความล้มเหลวอย่างไร
เปโตรและเพื่อนร่วมงาน ทั้งสี่คนกลับมาจากจับปลาแต่จับไม่ได้เลยตลอดทั้งคืน การเป็นชาวประมง แล้วจับปลาไม่ได้เลย เป็นสภาพที่น่าผิดหวังอย่างมาก เปโตรกับเพื่อนร่วมงานได้ประสบกับคืนแห่งความผิดหวังจากความล้มเหลว เนื่องจากจับปลาไม่ได้เลย แต่นั่นไม่สามารถยับยั้งพวกเขาจากการออกไปอีก พวกเขาจับปลาไม่ได้ในคืนนั้น เพราะสิ่งนี้อยู่ในแผนการของพระเจ้า เพื่อจะทดสอบเขา
เราได้เห็นแล้วว่า เปโตรผ่านบททดสอบแรกนี้ เขาตอบสนองต่อความล้มเหลวได้อย่างดี นั่นคือ เขาไม่ยอมเลิกรา มีความหวังมุ่งมั่นที่จะทำต่อไป เขาตอบสนองตามเสียงพระเจ้าอย่างไม่ลังเล แม้อาจดูเหมือนค้านกับความคิด ความรู้สึกของตนเองบ้าง แต่เมื่อทำตามแล้วเห็นถึงความสำเร็จ (ลก.5:4-6)
4 เมื่อพระองค์ตรัสสอนเสร็จแล้ว จึงตรัสแก่ซีโมนว่า "จงถอยออกไปที่น้ำลึก หย่อนอวนลงจับปลา"
5 ซีโมนทูลตอบว่า "พระอาจารย์เจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลายทอดอวนคืนยังรุ่งไม่ได้อะไรเลย แต่ข้าพระองค์จะหย่อนอวนลงตามพระดำรัสของพระองค์"
6 เมื่อเขาหย่อนลงแล้วก็ล้อมปลาไว้เป็นอันมาก จนอวนของเขากำลังปริ
2.เราจะตอบสนองต่อบททดสอบเกี่ยวกับผู้มีสิทธิอำนาจได้อย่างไร
เราได้เห็นว่า เปโตรมีความเชื่อจึงเชื้อเชิญพระเยซูขึ้นมาบนเรือ เนื่องจากสิ่งที่พระองค์ต้องการก็คือ การประกาศกับฝูงชน แต่แล้วพระองค์ก็ควบคุมเรือ และบอกเปโตรว่า “จงถอยออกไปที่น้ำลึก หย่อนอวนลงจับปลา” (ลูกา 5:4)
พระเยซูกำลังเตรียมเปโตรไปสู่ก้าวแห่งความเชื่อที่เขาจะมอบทุกสิ่งให้พระองค์ เราได้เห็นแล้วว่า กุญแจที่ไขไปสู่ความสำเร็จของชีวิตอยู่ที่การเชื่อฟังคำสั่งของพระองค์(ลก.5:5)
เปโตรผ่านการทดสอบขั้นที่สอง คือ เขายอมจำนนต่อสิทธิอำนาจของพระคริสต์ และเชื่อฟังพระองค์ การยอมจำนนต่อสิทธิอำนาจนี่เอง ทำให้พระเยซูสามารถใช้เปโตรได้อย่างมากทีเดียว และเปโตรเองสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้รับใช้ที่ยิ่งใหญ่ได้
3.เราตอบสนองต่อบททดสอบเรื่องความสำเร็จอย่างไร
เปโตรและอันดรูว์หย่อนอวนลงในทะเล และพระเยซูทำให้ปลาติดอวนเป็นจำนวนมากจนอวนแทบปริ เปโตรตอบสนองต่อความสำเร็จที่ดีนี้อย่างไร
ประการแรก แบ่งปันกับผู้อื่น คือ เรียกให้เรืออีกลำมาที่เขาด้วย เพื่อจะได้ปลาไป(6-7)
พระเจ้าอวยพรเราเพื่อว่าเราจะเป็นพรกับผู้อื่น นี่คือ หลักของพระเจ้า พระเจ้าไม่ได้อวยพรแล้วให้เราเก็บไว้เป็นของตนแต่ให้เราแบ่งปันพระพรออกไป (ปฐก.12:2)(2 คร. 9:11) มีคำกล่าวว่า "การแบ่งปันความสุขให้ผู้อื่น เพิ่มความสุขให้กับตนเองเป็นสองเท่า การแบ่งเบาความทุกข์ของผู้อื่น ลดความทุกข์ของตนเองลงครึ่งหนึ่ง" การให้จึงมีความสุขยิ่งกว่าการรับ(กจ.20:35)และการมีคนช่วยเหลือเราทำให้ความทุกข์ได้รับการแบ่งเบา (สภษ.17:17)
ประการที่สอง การถ่อมตน คือ เปโตรกราบพระเยซูด้วยใจถ่อม (5:8)
เมื่อเราทำสิ่งใดสำเร็จ เราได้ทำเหมือนเปโตรหรือไม่ ที่เข้าไปกราบพระเยซูด้วยท่าทีขอบพระคุณ มีคำกล่าวหนึ่งกล่าวว่า “เมื่อความสำเร็จทำให้เราถ่อมใจ ความล้มเหลวจะไม่กระหน่ำซ้ำเติมเรา แต่ถ้าความสำเร็จทำให้เราหยิ่งยโสโอหัง ความล้มเหลวก็จะทำให้เราท้อใจ และอาจทำลายชีวิตเราได้”
4.เราตอบสนองต่อบททดสอบชีวิตแห่งความเชื่ออย่างไร
ประการแรก คือ การอัศจรรย์ครั้งนี้ได้ลบล้างการเรียนรู้ และประสบการณ์ในอดีตของเขาไปอย่างสิ้นเชิง
เปโตรต้องเริ่มต้นใหม่เสมือนว่าเขาเองไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับเรื่องเรือ และการหาปลา นั่นเป็นเพราะ ความอัศจรรย์ของพระองค์ที่พระองค์ทำ เป็นมากกว่า ความคิด ความรู้ ประสบการณ์ที่เปโตร หรือเราร่ำเรียนมา ดังนั้นความกลัวจึงเป็นอุปสรรคของความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาทั้งหมดของเขาในอาชีพการประมงไม่สูญเปล่า เพราะพระเจ้าไม่เคยให้อะไร
ต้องสูญเปล่า พระเยซูทรงเรียกเปโตรและเพื่อนร่วมงานของเขามาเป็น “ผู้จับคนดั่งจับปลา” คำว่า “จับคนดั่งจับปลา” นี้มีมาก่อนที่พระเยซูจะใช้เรียกเปโตรนานแล้ว นักปรัชญากรีกและรับบียิวใช้สำนวนนี้บรรยายถึง “การจับสาวกโดยการเหวี่ยงแหแห่งความจริง”
ชาวประมงทั้งสี่เคยจับปลาเป็น ด้วย แหอวนของเขา แต่แล้วปลานั้นก็ตาย แต่ตอนนี้เขาจะจับปลาตาย คือ คนบาปที่ตายแล้วด้วย “แหอวนแห่งพระกิตติคุณ” แทน เปโตรตัดสินใจทันทีที่เรือถึงฝั่ง เขาพร้อมจะละทิ้งทุกสิ่ง ติดตามพระองค์ไป
ประการที่สอง คือ เขาละทิ้งทุกสิ่ง และติดตามพระคริสต์
อะไรทีทำให้เขาละทิ้งทุกสิ่ง และกล้าหาญที่จะติดตามพระคริสต์ได้ นั่นคือ ความเชื่อ ที่เขามีต่อพระองค์ เปโตรได้สอบผ่านบททดสอบแห่งความเชื่อ (ลก.5:9-11)
นั่นเป็นบททดสอบแรกที่อัครเปโตรได้รับและผ่านไปได้ ทำให้เขาได้ยืนหยัดและร่วมเดินทางไปทำพระราชกิจร่วมกับพระเยซูคริสต์ และเป็นผู้ได้ชื่อว่า "ชาวประมงผู้คว่ำโลก"
26 กันยายน 2553
HOME:ครอบครัวสุขสันต์ “สัมผัสด้วยใจ สร้างได้ด้วยการกระทำ”
HOME:ครอบครัวสุขสันต์ “สัมผัสด้วยใจ สร้างได้ด้วยการกระทำ”
ผมได้มีโอกาสไปให้โอวาทในงานแต่งงานของพี่น้องในคริสตจักร เมื่อวันเสาร์ที่ 25 กันยายน ที่ผ่านมา มีข้อคิดน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่าน จึงได้นำมาแบ่งปันในวันนี้
ผมคิดว่าปัญหาครอบครัวเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นการหย่าร้าง การนอกใจคู่สมรส เด็กเกิดมาขาดความรักจากผู้เป็นพ่อแม่ เนื่องจากมีลูกเมื่อยังไม่พร้อม เพราะมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หน่วยงานในสังคมพยายามแก้ไขปัญหา โดยรณรงค์ใช้อุปกรณ์ "คุมกำเนิด" ในความคิดผมคิดว่าเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ แทนที่จะ "คุมกำเนิด" ผมว่าควรจะ "คุมกำหนัด" น่าจะดีว่าเพราะเป็นการแก้ไขที่กระบวนความคิด คิดถูก การกระทำที่ถูกก็ตามมา
โดยเริ่มจากการควบคุมสื่อลามกต่างๆเพื่อไม่ไให้มีอิทธิพลต่อเด็กและเยาวชนที่บริโภคสื่อ บางครั้งผู้ที่เป็นศิลปินนักร้อง นักแสดง ที่มีอิทธิพลต่อเด็กและเยาวชนก็ไม่เป็นแบบอย่างที่ดี มีปัญหามีลูกนอกสมรส ไม่รับผิดชอบ ต้องทำการขอตรวจ DNA หาพ่อเด็ก สถาบันการศึกษาในสังคมควรที่จะสอนให้เห็นคุณค่าการสร้างชีวิตครอบครัวที่ถูกต้อง โดยเริ่มต้นจากความคิดที่ถูกต้อง จะส่งผลต่อการกระทำที่ถูกต้อง
ตามหลักการของพระคัมภีร์สอนเราในเรื่องเพศ ว่าต้องคิดให้ถูกต้อง คิดผิดก็เป็นความบาปทางความคิด ต้องจัดการควบคุมไม่ส่งผลทำผิดทางการกระทำ เรียกว่า "คุมกำหนัด"
มัทธิว 5:27-28
27 "ท่านทั้งหลายได้ยินคำซึ่งกล่าวไว้ว่า อย่าล่วงประเวณีผัวเมียเขา
28 ฝ่ายเราบอกท่านทั้งหลายว่า ผู้ใดมองผู้หญิงเพื่อให้เกิดใจกำหนัดในหญิงนั้น ผู้นั้นได้ล่วงประเวณีในใจกับหญิงนั้นแล้ว
ก่อนที่จะเลือกใครสักคนมาแต่งงานและอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว ต้องแสวงหาการทรงนำจากพระเจ้า และพัฒนาความสัมพันธ์ จากการเป็นเพื่อน เป็นคู่รัก คู่หมั้นและคู่สมรส ผมขอบคุณพระเจ้าสำหรับผู้นำในคริสตจักรที่สอนผม และให้คำแนะนำตั้งแต่ก่อนแต่งงาน จนมีชีวิตครอบครัว การรู้จักกันดีพอ ทำให้เกิดความเข้าใจและมาสู่การตัดสินใจร่วมกันในการสร้างครอบครัว
มีบทเพลงจากหนังเรื่องหนึ่ง ร้องว่า "ยินดีที่ไม่รู้จัก ไม่รู้จัก แค่รู้ว่ารักก็พอใจ แค่คำว่าไม่รู้จัก ไม่รู้จัก รักเราก็ไม่ได้น้อยลงจริงไหม แค่มีเธอใกล้ๆ มันก็ใช่ ที่สุดแล้ว"
เนื้อหาข้างต้นเป็นท่อนร้องรับของเพลงวัยรุ่นที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ และเป็นเพลงประกอบภาพยนต์ที่กำลังทำเงินอย่างมากมาย เนื้อหาของภาพยนต์คือ ชายหนุ่มอกหักคนหนึ่งได้เดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ ต่อมาพลัดหลงกับกลุ่มทัวร์ และได้ไปพบกับนางเอกที่เดินทางไปเที่ยวคนเดียว และมาโดนแฟนบอกเลิก ทำให้ทั้งคู่สนิทสนมกัน เป็นเพื่อนกัน และลงเอยด้วยรักกัน โดยที่ทั้งสองคนไม่รู้จักแม้นแต่ชื่อเสียงเรียงนาม
หนังเรื่องนี้ ชื่อว่า “กวน มึน โฮ” แต่ ผมขอเปลี่ยนเป็น "ชวน มา โฮม(Home)" ชวนมาอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน สร้างครอบครัวด้วยความรัก เริ่มต้นจากความรู้จัก จนมั่นใจ และตัดสินใจ ไม่ใช่ความสัมพันธ์ชั่วคืน เป็นความสัมพันธ์ชั่วคราว แบบเพลง"ไม่รู้จักเธอไม่รู้จักฉัน" เพลงประกอบหนังเรื่อง "สายลับจับบ้านเล็ก"
ดังนั้นควรจะเลือกใครคนที่ใช่ ไม่ใช่คนที่ชอบ เพราะบางทีคนถูกใจ บางทีอาจจะไม่ถูกต้อง เพราะเราต้องแสวงหาการทรงนำจากพระเจ้าเพื่อแต่งงาน กันมาอยู่ในครอบครัวเดียวกัน
ปฐมกาล 2:24 เพราะเหตุนั้นผู้ชายจึงจากบิดามารดาของตนไปผูกพันอยู่กับภรรยา และเขาทั้งสองจะเป็นเนื้อเดียวกัน
การแต่งงานถ้าเลือกคนที่ไม่ใช่ก็เหมือนถูกจำคุกติดในพันธนาการจองจำ เมื่อทำพันธสัญญาต่อกันไม่ได้ทำพันธนาการต่อกัน
เลือกผิดคน ต้องจนใจอยู่ตลอดชีวิต มีคนเคยบอกผมว่า "การแต่งงานของคริสเตียนเป็นการติดคุก แต่ติดคุกในสวรรค์ แม้ไปไหนไม่ได้ แต่ก้มีความสุข อยู่รอดปลอดภัย" แหม เข้าใจเปรียบเทียบจริงๆ
ผมเชื่อว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Bible) เป็นคู่มือแห่งชีวิต เป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานในทุกด้านก่อนเราออกจากโลกนี้
(BIBLE : Basic Instruction Before Leaving Earth) รวมถึงการดำเนินชีวิตครอบครัว
ขอนำหลักการพระคัมภีร์ มาเรียงร้อยเป็นคำภาษาอังกฤษ คือ คำว่า “HOME” แปลว่า "บ้าน" ผมไม่ใช้คำว่า “House” เพราะคำว่า “House” จะให้ความหมายเป็นตัวบ้านที่เป็นอาคาร แต่คำว่าครอบครัว ให้ความหมายถึงความอบอุ่นใจในบ้าน เรียกว่า “HOME”
บ้านนี้ต้องมีพระเจ้าเป็นศูนย์กลาง
สดุดี 127:1 ถ้าพระเจ้ามิได้ทรงสร้างบ้าน บรรดาผู้ที่สร้างก็เหนื่อยเปล่า ถ้าพระเจ้ามิได้ทรงเฝ้าอยู่เหนือนคร คนยามตื่นอยู่ก็เหนื่อยเปล่า
มีบทกวีบทหนึ่งของ Frank Crane กล่าวไว้ว่า …
ความงดงามของบ้าน คือ ความปรองดองกลมเกลียว
ความมั่นคงของบ้าน คือ ความภักดีที่มีต่อกัน
ความยินดีของบ้าน คือ ความรัก
ความหลากหลายของบ้าน คือ ลูก ๆ ที่อยู่ร่วมกันในบ้าน
กฎของบ้าน คือ การรับใช้ปรนนิบัติกันและกัน
และ ผู้ค้ำจุนบ้านนี้ ก็คือ “พระเจ้า”
เมื่อพระเจ้าเป็นศูนย์กลาง บ้านนี้ถูกสร้างอย่างถูกทาง ด้วยแบบ Plan ของพระองค์
นอกจากนี้จะสร้างบ้านเป็น "ครอบครัวสุขสันต์ สัมผัสด้วยใจ สร้างได้ด้วยการกระทำ”
บ้านนี้จึงต้องใส่ใจ(Heart) เริ่มต้นสร้างจากสิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า “รัก” จะอยู่กันชั่วฟ้าดินสลาย เมื่อพระเยซูกลับมารับเราผู้เชื่อ หรือเมื่อพระเจ้าแยกจากกันด้วยความตาย
1โครินธ์ ดังนั้นยังตั้งอยู่สามสิ่ง คือความเชื่อ ความหวังใจ และความรัก แต่ความรักใหญ่ที่สุด
ในบริบทพระคัมภีร์ตอนนี้ พูดถึงความเชื่อในพระโลหิตแห่การไถ่ ความหวังใจในการเสด็จกลับมาของพระเยซูคริสต์ และความรักที่ยิ่งใหญ่แบบพระเจ้าที่ไม่มีเงื่อนไขแบบ Agape ตามนิยามรักดังนี้
1โครินธ์ 13:4-7
4 ความรักนั้นก็อดทนนานและกระทำคุณให้ ความรักไม่อิจฉา ไม่อวดตัว
5 ไม่หยิ่งผยอง ไม่หยาบคาย ไม่คิดเห็นแก่ตนเองฝ่ายเดียว ไม่ฉุนเฉียว ไม่ช่างจดจำความผิด
6 ไม่ชื่นชมยินดีเมื่อมีการประพฤติผิด แต่ชื่นชมยินดีเมื่อประพฤติชอบ
7 ความรักทนได้ทุกอย่างแม้ความผิดของคนอื่น และเชื่อในส่วนดีของเขาอยู่เสมอ และมีความหวังอยู่เสมอ และทนต่อทุกอย่าง
ครอบครัวจึงต้องมีความรัก ความทำให้เกิดความเชื่อในส่วนดีเสมอ และความหวังใจอยู่เสมอแม้ต้องอดทน แต่ความรักจะทำให้สมบูรณ์
โคโลสี 3:14 แล้วจงสวมความรักทับสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด เพราะความรักย่อมผูกพันทุกสิ่งไว้ให้ถึงซึ่งความสมบูรณ์
“ความรักก็เป็นเสมือนอากาศ ที่ขาดมันไม่ได้ แม้มองไม่เห็นแต่ก็สิ่งที่จำเป็น”
ความรักสามารถสัมผัสได้ด้วยใจ (Heart) และมองเห็นได้ด้วยการกระทำ (Hand)ที่แสดงออกมา
1ยอห์น 3:18 ลูกทั้งหลายเอ๋ย อย่าให้เรารักกันด้วยคำพูดและด้วยปากเท่านั้น แต่จงรักกันด้วยการกระทำและด้วยความจริง
เริ่มต้นจากแหล่งความรัก คือ มีพระเจ้าเป็นศูนย์กลาง
1ยอห์น 4:8 ผู้ที่ไม่รักก็ไม่รู้จักพระเจ้า เพราะว่าพระเจ้าทรงเป็นความรัก
1ยอห์น 4:16 ฉะนั้นเราทั้งหลายจึงรู้ และเชื่อในความรักที่พระเจ้าทรงมีต่อเรา พระเจ้าทรงเป็นความรัก และผู้ใดที่อยู่ในความรักก็อยู่ในพระเจ้า และพระเจ้าก็ทรงสถิตอยู่ในผู้นั้น
คำว่า "HOME" จึงสามารถสร้างได้โดยมีองค์ประกอบดังนี้ครับ
H-Honor : ครอบครัวที่ให้เกียรติต่อกัน เป็นที่นับถือต่อคนทั้งปวง
ให้ความหมายถึง สิ่งที่ควรค่าแก่การให้เกียรติ Related. ที่น่าเคารพนับถือ honorable (adj)ซึ่งมีเกียรติ คำที่คล้ายกัน(Syn.)คือ moral,scrupulous,upright ซึ่งมีคุณธรรม ,ซึ่งมีศีลธรรมจรรยา คำตรงข้าม (Ant.)คือ dishonest,unethical,unscrupulousdishonest ,unethical,unscrupulous
ฮีบรู 13:4 จงให้การสมรสเป็นที่นับถือแก่คนทั้งปวง และให้เตียงสมรสปราศจากความชั่วช้าเพราะคนมีชู้ และคนที่ล่วงประเวณีนั้น พระเจ้าจะทรงพิพากษาโทษเขา
Hebrews 13:4 (kjv) Marriage is honourable in all, and the bed undefiled: but whoremongers and adulterers God will judge.
พระคัมภีร์ให้ความสำคัญในชีวิตสมรสต้องเป็นที่นับถือ อยู่ในความบริสุทธิ์(Holy) ภาพงานสมรสในโลกนี้เป็นภาพสะท้อนความสัมพันธ์ในทางที่บริสุทธิ์ ของผู้เชื่อ (คริสตจักร)เป็นเจ้าสาว และพระเจ้าเป็นเจ้าบ่าว (คำว่า Holy คือการรักษาความบริสุทธิ์ ให้เป็นที่นับถือ แยกไว้สำหรับพระเจ้า)
เอเฟซัส 5:24-28
24 คริสตจักรยอมฟังพระคริสต์ฉันใด ภรรยาก็ควรยอมฟังสามีทุกประการฉันนั้น
25 ฝ่ายสามีก็จงรักภรรยาของตน เหมือนอย่างที่พระคริสต์ทรงรักคริสตจักร และทรงประทานพระองค์เองเพื่อคริสตจักร
26 เพื่อจะได้ทรงทำให้คริสตจักรบริสุทธิ์ โดยการทรงชำระด้วยน้ำและพระวจนะ
27 เพื่อพระองค์จะได้มีคริสตจักรที่มีสง่าราศี ไม่มีตำหนิริ้วรอย หรือมลทินใดๆเลย แต่บริสุทธิ์ปราศจากตำหนิ
28 เช่นนั้นแหละ สามีจึงควรจะรักภรรยาของตนเหมือนกับรักกายของตนเอง ผู้ที่รักภรรยาของตนก็รักตนเอง
คำว่า "Honor" ไม่ใช่ "Horror" หมายถึงหนังสยองขวัญ คงจะสยองขวัญแน่ก็ครอบครัวไม่สงบ เหมือนดังบทเพลง "Home" ของคุณธีร์ ไชยเดช เนื้อหาประมาณว่า "ดอกไม้ ประตู แจกัน ดินทราย ต้นไม้ใหญ่ แก้วน้ำ จานชาม บันได โคมไฟ ที่สวยงาม ...บ้านนี้จะงามอย่างไร ถ้าไม่มีเธอ
ให้ความหมายว่า มีเธอบ้านก็จะงดงาม แต่ถ้าไม่มีความรัก ไม่ให้เกียรติกัน ข้าวของที่กล่าวมา ก็จะเป็น แก้วน้ำ แจกัน จานบินที่ขว้างใส่กัน
ดังนั้นอยู่ในบ้านเดียวกัน ต้องเอาใจใส่กันให้เกียรติต่อกัน มีคำเรียกใหม่ ว่า "ที่รัก" หรือ "ฮันนี่ (Honey)"เป็นต้น มาจากความรักที่ให้เกียรติผู้ที่เป็นสามีหรือภรรยา เพราะเรียกมาจากความรู้สึกข้างใน และต้องรักษาสิ่งนี้แม้เวลาเปลี่ยนไป หรือ สังขารจะเปลี่ยนแปลง อย่ามีคำพูดที่เรียกแทนชื่อว่า "ตาแก่ ยายแก่" จาก "ฮันนี่ ที่รัก" กลายเป็น "หันหนี" หันหนีหายไปจากบ้าน
และครอบครัวจะต้องรักษาความบริสุทธิ์ในทางชอบธรรม ไม่ผิดประเวณี นอกใจคู่สมรส เป็นแบบอย่างจนเป็นที่นับถือของคนทั้งปวง
O-Offering : ครอบครัวแห่งการให้ ให้ความรักต่อกัน และแบ่งปันความรักออกไปสู่ผู้อื่น
เราอาจจะให้ได้แม้ไม่ได้รัก แต่ถ้ารักแล้วเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ให้ ความรักในครอบครัวไม่ใช่ให้แค่กันและกันแต่เป็นการให้ความรักออกไป
มีคำกล่าวว่า "การแบ่งปันความสุขให้ผู้อื่น เพิ่มความสุขให้กับตนเองเป็นสองเท่า การแบ่งเบาความทุกข์ของผู้อื่น ลดความทุกข์ของตนเองลงครึ่งหนึ่ง"
กิจการของอัครทูต 20:35 ... ระลึกถึงพระวาทะของพระเยซูเจ้า ซึ่งพระองค์ตรัสว่า "การให้เป็นเหตุให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ"
การให้ทำให้เกิดสุขทั้งผู้รับและผู้ที่ให้ พระเจ้าจึงสอนคริสตชนให้รักเพื่อนบ้าน เหมือนรักตนเอง และแจกจ่ายความรักโดยให้ออกไป ดังที่พระเจ้าได้สำแดงความรักที่ยิ่งใหญ่แก่คนบาปแบบเราคือ ให้พระเยซูคริสต์มาตายเพื่อเรา
ยอห์น 3:16 เพราะว่าพระเจ้าทรงรักโลก จนได้ทรงประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่วางใจในพระบุตรนั้นจะไม่พินาศ แต่มีชีวิตนิรันดร์
พระเจ้ามีแรงจูงใจที่ดีเลิศในการให้คือ "ทรงรักโลก" ของขวัญที่ดีเลิศ คือ "ประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ "
เงื่อนไขการให้ที่ดีเลิศคือ "ทุกคนที่วางใจ" ผลของการให้ที่ดีเลิศคือ "ทุกคนที่วางใจในพระบุตรนั้นจะไม่พินาศ แต่มีชีวิตนิรันดร์
นั่นเป็นสิ่งที่เมื่อเรามาแต่งงานเป็นครอบครัวแล้ว ไม่ใช่มองที่คนสองคนเข้ามากันเท่านั้น แต่มองไปข้างหน้าด้วยกันไปถึงผู้อื่นและให้สิ่งที่ดีที่สุดออกไป คือ ข่าวประเสริฐ (Gopel) ไปถึงคนสุดปลายแผ่นดิน (กจ.1:8)
(GOSPEL คือ God Offers Sinful People Eternal Life. พระจ้าทรงประทานชีวิตนิรันดร์ให้กับคนบาป)
เพลงโซโลมอน 8:7 น้ำมากหลายไม่อาจดับความรักให้มอดเสียได้ หรืออุทกธารทั้งหลายไม่อาจท่วมความรักให้สำลักตายเสียได้ แม้ว่าคนใดจะเอาทรัพย์สมบัติในเหย้าเรือนของตนทั้งสิ้นมาแลกกับความรักนั้น คนนั้นคงได้รับความหมิ่นประมาทจากคนทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง
การให้ด้วยความรักเป็นพลังที่สร้างสรรค์ที่มีอานุภาพมากกว่าพลังที่ทำลายล้าง ความรักนั้นไม่มีอะไรที่ทำลายล้างได้ โลกนี้จะน่าอยู่หากเราหยิบยื่นความรักให้กัน
ค.ศ.1905 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์(Albert Einstein)เผยแพร่ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Special Relativity Theory) ผลลัพธ์สำคัญอันหนึ่งคือ E = mc2 ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติแต่น่าเสียดายที่ทฤษฎีนี้ถูกนำไปพัฒนาออกมาเป็นระเบิดปรมาณู ที่มีพลังในการทำลายล้าง
สมการ E = mc2 คือ E(Energy) เป็นพลังงาน เท่ากับ กำลัง 2 เท่าของ M( Mass) มวล รวมกับ C ความเร็วของแสงในศูนยากาศ (speed of light in a vacuum)
ผมขออนุญาตเปลี่ยนสมการนี้เป็นทฤษฎีใหม่ จาก "ทฤษฎีสัมพัทธภาพ" เป็น "ทฤษฎีสัมพันธภาพ (Relationship Theory)"
สมการจะเป็นแบบนี้ครับ E = mc2 คือ Energy of love = Marriage Covenant 2 to be 1
ความสัมพันธภาพในครอบครัวพันธสัญญาสองคนเป็นหนึ่งเดียว ด้วยความรักจะเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ เป็นกำลังสองของคนสองคนไปสู่คนทั้งปวง
ครอบครัวต้องให้ความรักต่อกัน และเพิ่มพูนความรักขึ้นและส่งต่ออกไป
M-Meekness -ครอบครัวที่ถ่อมสุภาพ เรียนรู้จักกันและกัน
คำว่า Meekness ให้ความหมาย : ความนอบน้อม (Synonym : mildness, submission, timidity)
สดุดี 25:9 พระองค์ทรงนำคนใจถ่อมไปในสิ่งที่ถูก และทรงสอนมรรคาของพระองค์แก่คนใจถ่อม
Psalms 25:9 (kjv) The meek will he guide in judgment: and the meek will he teach his way.
โคโลสี 3:12 เหตุฉะนั้นในฐานะที่เป็นพวกซึ่งพระเจ้าทรงเลือกไว้ เป็นพวกที่บริสุทธิ์และเป็นพวกที่ทรงรัก จงสวมใจเมตตา ใจปรานี ใจถ่อม ใจอ่อนสุภาพ ใจอดทนไว้นาน สุภาพอ่อนโยนให้เกียรติต่อกันและกัน
Colosians 3:12 Put on therefore, as the elect of God, holy and beloved, bowels of mercies, kindness, humbleness of mind, meekness, longsuffering;
มัทธิว 5:5 "บุคคลผู้ใดมีใจอ่อนโยน ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้รับแผ่นดินโลกเป็นมรดก
Matthew 5:5 Blessed are the meek: for they shall inherit the earth.
ความถ่อมใจอ่อนสุภาพจะเป็นเหมือน "แม่เหล็ก" จะเป็นแรงดึงดูดเข้าหากัน แต่ความโกรธ ฉุนเฉียว เจ้าอารมณ์เป็นอาร์ทตัวพ่อ หรือ เอาแต่ใจตัวแม่ จะเป็น เหล็กไน ที่ทิ่มแทงและเกิดความอักเสบในชีวิตครอบครัว
สุภาษิต 15:1 คำตอบอ่อนหวานช่วยละลายความโกรธเกรี้ยวให้หายไป แต่คำกักขฬะเร้าโทสะ
ดังนั้นความถ่อมสุภาพจะเป็นการทำให้เกิดการเรียนรู้จักกันและกัน อดทนต่อกันและกัน ไม่ใช้อารณ์แต่ใช้เหตุผลในการพูดคุยกัน เและความถ่อมสุภาพจะช่วยผ่อนหนักผ่อนเบา ให้ชีวิตครอบครัวดำเนินไปได้ด้วยดี
และสิ่งสุดท้ายที่จะทำให้ครอบครัว HOME สมบูรณ์ คือ
E-Encouragement ครอบครัวแห่งการหนุนใจให้กำลังใจกัน
ครอบครัวจึงเป็นบ้านที่พักใจแบบSeries หนังเกาหลี เรื่อง Full House สะดุดรัก...ที่พักใจ บ้านจึงเป็นที่พักใจที่เป็นแบบเต็มใจ Full Heart แม้ไม่ใหญ่โตแต่สบายใจ คับที่อยู่ได้ แต่คับใจอยู่ยาก
กินผักในที่มีความรักก็ดีกว่ากินเนื้อย่างเกาหลีในที่มีความเกลียดชัง
รสชาติอาหารก็ไม่ดีเท่าบรรยากาศ กินอะไรไม่สำคัญเท่ากินกับใคร จริงไหม? แม้เกาหลีจะกลายเป็นเกาเหลา ไม่กินเส้นกัน
สุภาษิต 15:17 กินผักเป็นอาหารในที่ที่มีความรัก ก็ดีกว่ากินเนื้อวัวอ้วนพร้อมกับความเกลียดชังอยู่ด้วย
คนที่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน ต้องพูดหนุนใจให้กำลังใจกัน ไม่จู้จี้ขี้บ่น หากมีภรรยาชอบบ่น สามีขอไปบนหลังคาเรือนดีกว่า
สุภาษิต 21:9 อยู่ที่มุมบนหลังคาเรือน ดีกว่าอยู่ในเรือนร่วมกับหญิงขี้ทะเลาะ
ครอบครัวควรจะเป็นเขตปลอดเสียง(บ่น) ให้เป็นครอบครัวที่มีเสียงนมัสการ อธิษฐานและหนุนใจกัน เพราะเมื่อมาอยู่ด้วยกัน ทำงานร่วมกัน ก็ดีกว่า ต่างคนต่างทำ สามีภรรยาจะเป็นคู่อุปถัมภ์ที่ดีต่อกัน
ปัญญาจารย์ 4:9-12
9 สองคนดีกว่าคนเดียว เพราะว่าเขาทั้งสองได้รับผลของงานดี
10 ด้วยว่าถ้าคนหนึ่งล้มลง อีกคนหนึ่งจะได้พะยุงเพื่อนของตนให้ลุกขึ้น แต่วิบัติแก่คนนั้นที่อยู่คนเดียวเมื่อเขาล้มลง และไม่มีผู้อื่นพะยุงยกเขาให้ลุกขึ้น
11 อนึ่ง ถ้าสองคนนอนอยู่ด้วยกัน เขาก็อบอุ่น แต่ถ้านอนคนเดียวจะอุ่นอย่างไรได้เล่า
12 แม้คนหนึ่งสู้คนเดียวได้ สองคนคงสู้เขาได้แน่ เชือกสามเกลียวจะขาดง่ายก็หามิได้
ครอบครัวต้องสนับสนุนกันในทางที่ดีที่ถูกที่ควร ความรักที่แท้ต้องสนับสนุนให้ทำความดี ความรักแท้ต้องสนับสนุนให้มีกำลังใจ ความรักแท้ต้องสนับสนุนให้คนมีความหวังใจ ไม่ใช่สนับสนุนกันในทุกทาง แต่ต้องสนับสนุนกันให้ถูกทางของพระเจ้า
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อคิด เรื่อง HOME:ครอบครัวสุขสันต์ “สัมผัสด้วยใจ สร้างได้ด้วยการกระทำ" จะเป็นประโยชน์ สำหรับคนที่มีครอบครัว คนที่วางแผนจะแต่งงานและสร้างครอบครัวในอนาคต และเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านครับ
ขอพระเจ้าอวยพระพรครับ
20 กันยายน 2553
เทศกาลอยู่เพิง :นี่เป็นเวลาแห่งความชื่นชมยินดี
เทศกาลอยู่เพิง :นี่เป็นเวลาแห่งความชื่นชมยินดี (The season of our Joy)
เลวีนิติ 23:33-44
เลวีนิติ 23:34 "จงกล่าวแก่คนอิสราเอลว่า ในวันที่สิบห้าเดือนที่เจ็ดนี้ เป็นวันเทศกาลอยู่เพิงถวายแด่พระเจ้าสิ้นเจ็ดวัน
เทศกาลอยู่เพิง เป็นเทศกาลสุดท้ายของเทศกาลทั้งสามที่ชาวยิวต้องเดินทางไปฉลองที่กรุงเยรูซาเล็ม มีขึ้นหลังจากวันทำการลบมนทินห้าวัน คือ เริ่มในวันที่สิบห้าของเดือนที่เจ็ดของปฏิทินยิว (เดือนทิชรี)
เทศกาลอยู่เพิง มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น บางคนเรียกว่า “เทศกาลสุคคต” (The Feast of Sukkot)หมายถึง "เพิง" หรือ "กระท่อม นอกจากนี้ ยังถูกเรียกว่า เป็นช่วงเวลาแห่งความชื่นชมยินดี (The season of joy) เนื่องในโอกาสเทศกาลอยู่เพิงในปีนี้ เราร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลนี้อย่างชื่นบาน เพราะเป็นช่วงเวลาที่สำคัญดังนี้
1.เป็นเวลาแห่งการพักสงบ และชื่นชมยินดีในการทรงสถิต
ในช่วงแห่งการเฉลิมฉลอง 8 วันนี้ วันแรกและวันที่แปดนั้น พระเจ้าบอกว่าอย่าทำงานหนัก ซึ่งเป็นวันที่พระเจ้าเรียกให้เขาได้พักสงบในพระองค์ (เลวีนิติ 23:35-36) คือ มีสะบาโตอยู่ในเทศกาลนี้ เป็นเวลาที่พระเจ้าเรียกให้พักสงบ
พักสงบ คือ ไม่ต้องกระวนกระวายสิ่งใดอีก ให้เข้าเฝ้าพระเจ้า แสวงหาพระองค์ ชื่นชมในพระองค์
ในระหว่างการเดินทางในถิ่นทุรกันดารถึง 40 ปี และต้องนอนในเต็นท์ นั้น คนอิสราเอลต่างตระหนักดี ว่าพระเจ้าเองทรงเป็นพลับพลาของพวกเขา
พระเจ้าทรงสถิตอยู่ในค่ายของคนอิสราเอล
อพยพ 25:8 แล้วให้เขาสร้างสถานนมัสการถวายแก่เรา เพื่อเราจะได้อยู่ท่ามกลางพวกเขา
การฉลองเทศกาลนี้จึงน่าจะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่เราได้พักสงบจิตใจของเราอยู่ในพระเจ้า พักอยู่ในการทรงสถิตของพระองค์ การได้พักสงบ เพื่ออยู่กับพระเจ้า เป็นเวลาแห่งความสุขและความชื่นชม
2.เป็นเวลาแห่งความชื่นบานในการจัดเตรียมของพระเจ้า
ในช่วงเวลาแห่งการพักสงบนี้ พวกเขาจะได้ระลึกถึงพระเมตตาของพระเจ้า ที่ทรงกระทำกับบรรพบุรุษของเขา และตัวเขาเอง เทศกาลนี้เตือนให้ชาวอิสราเอลต่างระลึกถึง การที่พวกเขาพึ่งพาพระเจ้าครั้งแรกในถิ่นทุรกันดาร (เลวีนิติ 23:42-43) และในเทศกาลอยู่เพิงนี้เช่นกัน ที่พระเจ้าสอนอิสราเอลให้เรียนรู้การมอบถวายแด่พระองค์ การถวายของชนชาติอิสราเอลในเวลานั้น อาจหมายถึง พืชผลจากสิ่งที่ครอบครัวของตนได้เพาะปลูกไว้ เพื่อเตรียมไว้สำหรับการมาถวายในเทศกาลอยู่เพิง (กดว.29:12-38)
ดังนั้นพระเจ้าทรงให้อิสราเอลถือเทศกาลอยู่เพิง เพื่อให้เขาระลึกถึงชีวิตในถิ่นทุรกันดาร ให้เขาระลึกและขอบพระคุณพระเจ้าว่า พระองค์ทรงช่วยเขาทรงนำเขา และทรงพิทักษ์รักษาเขาอย่างไร ในขณะที่เขารอนแรมในถิ่นทุรกันดารที่ลำบากและน่ากลัว
เช่นกันให้เรามีเวลาสงบนิ่ง ลองใคร่ครวญดูชีวิตของเราในอดีต ทุกคนเคยผ่านสถานการณ์เหมือนถิ่นทุรกันดาร แต่โดยพระคุณของพระเจ้า เรายังมีชีวิตอยู่ พระเจ้าผู้ทรงช่วยเราในอดีตเมื่อมีความยากลำบาก ทรงช่วยนำเราในวันข้างหน้าด้วย แม้อยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม
นี่จึงควรเป็นเหตุให้เราได้สงบได้ เพราะรู้ว่าไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไรพระเจ้าก็ทรงรักเราและในเทศกาลอยู่เพิงนี้เช่นกัน ที่พระเจ้าสอนอิสราเอลให้เรียนรู้การมอบถวายแด่พระองค์
ฉธบ.16:16-17
16 บรรดาผู้ชายทั้งสิ้นจะต้องเข้ามาเฝ้าพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านปีละสามครั้ง ณ สถานที่ซึ่งพระองค์ทรงเลือกไว้ คือ ณ เทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อ เทศกาลสัปดาห์ และเทศกาลอยู่เพิง
17 อย่าให้เขาไปเฝ้าพระเจ้ามือเปล่าๆ ให้ทุกคนถวายตามความสามารถของเขา ตามส่วน พระพรที่พระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านทั้งหลายประทานแก่ท่าน
พระเจ้าบอกว่า ให้เขาเลี้ยงฉลองกัน ด้วยใจยินดี นั่นหมายถึง การมอบถวายก็กระทำด้วยความยินดี
ความสุข ความยินดีเกิดขึ้นจากการได้รู้ว่า พระเจ้าน่ารัก และประเสริฐจริงๆ การมอบถวายจึงกระทำด้วยความเต็มใจ และมีความสุข กระทำตามความสามารถที่จะกระทำได้ ทำด้วยหัวใจสำนึกพระคุณอย่างแท้จริง
การถวายของชนชาติอิสราเอลในเวลานั้น อาจหมายถึง พืชผลจากสิ่งที่ครอบครัวของตนได้เพาะปลูกไว้ เพื่อเตรียมไว้สำหรับการมาถวายในเทศกาลอยู่เพิง
การถวายในเทศกาลอยู่เพิงนี้นั้น แตกต่างไปจากการถวายของทุกเทศกาลที่มีอยู่ เพราะสิ่งของการถวายสำหรับในเทศกาลนี้นั้นจะมีจำนวนของถวายมากกว่าทุกเทศกาล (กดว.29:12-38)
แม้จะต้องถวายมากกว่าปกติ แต่คนอิสราเอลที่สำนึกในพระคุณพระเจ้าก็กระทำอย่างเต็มใจและสุขใจ
กษัตริย์ซาโลมอนเองก็ได้มอบถวายพระวิหารในช่วงเทศกาลอยู่เพิงเช่นกัน และเป็นบรรยากาศที่สัมผัสการทรงสถิตอยู่ของพระเจ้าอย่างมาก (2 พงศาวดาร 7:1-10)
ประชาชนอิสราเอลทุกคนที่ได้เข้าร่วมพิธีมอบถวายแด่พระเจ้าล้วนกลับไปด้วยความชื่นชมยินดีอย่างยิ่ง เพราะได้มอบถวายอย่างมีความหมาย และได้เห็นการทรงสถิตของพระเจ้าต่อหน้าต่อตา
การมอบถวายด้วยใจขอบพระคุณในเทศกาลนี้เอง เป็นที่มาของเทศกาล Thank giving (The celebration of thanksgiving for the fruit harvest )
ที่มาก็คือ ย้อนไปเมื่อปีคศ 1621 ที่ผู้แสวงบุญกลุ่มหนึ่งเดินทางไปแสวงบุญที่เยรูซาเล็มในช่วงเทศกาลอยู่เพิง พวกเขาได้เฉลิมฉลอง และได้มอบถวายพืชผลรุ่นแรกที่เก็บเกี่ยวได้ในช่วงฤดูใบไม้ล่วงต่อพระเจ้า และเดินทางไปเช่นนี้อย่างต่อเนื่องจนต่อมามีการกำหนดให้เป็นวันหยุดพักเพื่อการขอบพระคุณพระเจ้าในปี 1863 (Holiday in thanksgiving)
ภาคปฏิบัติ
เราสามารถร่วมเฉลิมฉลองในเทศกาลนี้ โดยระลึกถึงพระเมตตาของพระเจ้าที่ทรงกระทำต่อชีวิตของเรา ต่อครอบครัว วงศ์ตระกูลของเรา
แล้วอาจแสดงออกเป็นการถวายอนุสรณ์พระพร ขอบคุณพระเจ้าเป็นพิเศษสำหรับเหตุการณ์แห่งพระเมตตาที่กระทำต่อเรานั้น
หรือบางคนอาจสร้างอนุสรณ์แห่งความทรงจำอะไรสักอย่างมอบถวายแด่พระเจ้า เพื่อเมื่อเวลาผ่านไปอีกปี สองปี สามปี หรือสิบปีข้างหน้าก็ยังจดจำได้ถึงพระคุณพระเจ้าไม่ลืมเลือน
3.เป็นเวลาแห่งการรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับพระเจ้า
ช่วงเวลาในเทศกาลนี้นั้น ทำให้คนอิสราเอลได้ใช้เวลาอย่างเต็มที่แสวงหาพระเจ้า ไม่เพียงแค่ได้หวนทบทวนถึงสิ่งต่าง ๆ ที่พระเจ้าได้ทำเพื่อบรรพบุรุษ และเพื่อเขาและลูกหลานของเขา แต่ยังเป็นเวลาที่ดีที่จะได้รื้อฟื้นความสัมพันธ์กับพระเจ้าโดยกลับไปดูน้ำพระทัยของพระเจ้า
ช่วงเวลาเจ็ดวันในเทศกาลนี้นั้น ทำให้คนอิสราเอลได้ใช้เวลาอย่างเต็มที่แสวงหาพระเจ้า นมัสการชื่นชมในพระองค์
นั่นคือ การได้ออกจากภาวะการงานที่วุ่นวาย กลับมาดูน้ำพระทัยของพระเจ้าในพระวจนะของพระองค์
เฉลยธรรมบัญญัติ 31:10-12
10 และโมเสสบัญชาเขาว่า "เมื่อครบทุกๆเจ็ดปี ตามเวลากำหนดปีปลดปล่อยณเทศกาลอยู่เพิง
11 เมื่อคนอิสราเอลประชุมพร้อมกันต่อพระพักตร์พระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน ณ สถานที่ซึ่งพระองค์ทรงเลือกไว้นั้น ท่านทั้งหลายจงอ่านกฎหมายนี้ให้คนอิสราเอลทั้งปวงฟัง
12 จงเรียกประชาชนให้มาประชุมกันทั้งชาย หญิง และเด็ก ทั้งคนต่างด้าวในเมืองของท่านเพื่อให้เขาได้ยินและเรียนรู้ที่จะยำเกรงพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน และให้ระวังที่จะกระทำตามถ้อยคำทั้งสิ้นของธรรมบัญญัตินี้
กลับมาหาพระวจนะ
การเข้าไปอยู่ในเพิงเป็นโอกาสที่ดีที่ชาวยิวได้อ่านพระวจนะของพระเจ้า ใคร่ครวญถึงพระคุณความรัก และการทรงนำของพระองค์ ระหว่างที่อ่านก็จะได้ทบทวนว่าชีวิตของตนดำเนินอยู่ในวิถีทางของพระองค์หรือไม่
นอกจากนี้ในเทศกาลนี้ ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่คนอิสราเอลกระทำ คือ การติดตั้งดวงไฟในพระวิหาร ซึ่งเป็นพิธีที่ถูกเพิ่มเติมเข้ามาก่อนที่พระเยซูคริสต์จะเสด็จมาประสูติ และเป็นสัญลักษณ์ของการที่พระเจ้าเข้ามาจุดไฟแห่งความสว่างในชีวิต
การนมัสการที่พระวิหารในเทศกาลอยู่เพิงนี้มีลักษณะพิเศษ คือ มีการติดตั้งดวงไฟในพระวิหารให้ส่องสว่างเจิดจ้าเป็นพิเศษซึ่งมาจากข้อความในเศคาริยาห์ 14:7 ที่กล่าวว่า “แต่เวลาเย็นจะมีแสงสว่าง”
ในตอนค่ำระหว่างเทศกาลอยู่เพิงนั้น จะมีคันประทีปทองคำสี่คันตั้งอยู่ในบริเวณลานสำหรับพวกผู้หญิง ความสว่างของคันประทีปเหล่านี้จะเปลี่ยนสภาพให้พระวิหารเต็มไปด้วยความโชติช่วง และความสว่างนี้ยังสะท้อนออกไปยังฟากฟ้าเหนือเยรูซาเล็มจนสามารถมองเห็นได้แต่ไกลหลายกิโลเมตร
เมื่อเทศกาลอยู่เพิงกำลังใกล้จะสิ้นสุดนั้น พวกเลวีทั้งหลายซึ่งอยู่ท่ามกลางความสว่างโชติช่วงนั้น จะพากันร่วมบรรเลงดนตรีแห่ขึ้นบันไดสิบห้าขั้น จากลานสำหรับคนต่างชาติไปสู่ลานสำหรับผู้หญิง ขณะที่ขึ้นบันไดแต่ละขั้น เขาจะเป่าแตร และหยุดร้องเพลงสดุดีบทหนึ่งจากบทเพลงที่ใช้แห่ขึ้น ในสดุดี 120-134
การจุดไฟสว่างนี้ ทำให้เราได้ระลึกถึงความสว่างที่พระเยซูคริสต์จุดในใจของผู้เชื่อ พระองค์เข้ามาเป็นความสว่างของโลก
และพระองค์ได้กล่าวสิ่งนี้ในเทศกาลอยู่เพิง
ยอห์น 8:12 อีกครั้งหนึ่งพระเยซูตรัสกับเขาทั้งหลายว่า "เราเป็นความสว่างของโลก ผู้ที่ตามเรามาจะไม่เดินในความมืด แต่จะมีความสว่างแห่งชีวิต"
เมื่อเราเข้าร่วมเทศกาลนี้ในฝ่ายวิญญาณ ขอพระเจ้าเข้ามาส่องสว่างในใจในความคิดของเรา
ขอความสัมพันธ์ที่เรามีกับพระเจ้าสดใสสว่างมากยิ่งขึ้น ยิ่งนานวันที่เดินกับพระเจ้าแสงสว่างของพระองค์ส่องเข้ามาในวิญญาณจิตของเรามาก ขึ้น และมากขึ้น ทำให้เรามีความสุข ความชื่นชมยินดี
หากหัวใจของเรายังคงมืดมัวอยู่ เพราะปัญหาใด ๆ ขอพระเจ้าให้ความสว่างในใจ ให้เราเข้าร่วมเทศกาลนี้และมีความหมายในวิญญาณจิตของเราอย่างแท้จริง
4.เป็นเวลาแห่งการเฉลิมฉลองการครอบครองของพระคริสต์
ภาพของการเก็บเกี่ยวพืชผลในเทศกาลอยู่เพิงนั้นมีความหมายในเชิงพยากรณ์ที่เล็งถึงพระเมสสิยาห์ หรือพระคริสต์จะเสด็จมาเก็บเกี่ยวชนชาติของพระองค์ เข้าสู่ยุ้งฉางของพระองค์(อิสยาห์ 27:12-13) เทศกาลอยู่เพิงเป็นสัญลักษณ์ของเวลาที่พระคริสต์จะเสด็จกลับมาครอบครองโลกนี้ (วิวรณ์ 21:3) นี่เป็นภาพของเทศกาลอยู่เพิง ที่เล็งไปถึงอนาตของผู้เชื่อที่จะได้พักสงบอยู่กับพระเจ้านิรันดร์ เราจึงได้เฉลิมฉลองเทศกาลนี้ เพื่อเชิญพระคริสต์ให้เสด็จเข้ามาครอบครอง ตัวเรา คริสตจักรของเรา
เกี่ยวชนชาติของพระองค์ เข้าสู่ยุ้งฉางของพระองค์
อิสยาห์ 27:12-13
12 ในวันนั้น ตั้งแต่แม่น้ำยูเฟรติส ไปจนถึงลำธารอียิปต์ พระเจ้าจะทรงนวดเอาข้าว โอ ประชาชนอิสราเอลเอ๋ย เจ้าจะถูกเก็บรวมเข้ามาทีละคนๆ
13 และในวันนั้นเขาจะเป่าเขาสัตว์ใหญ่ และบรรดาผู้ที่กำลังพินาศอยู่ในแผ่นดินอัสซีเรีย และบรรดาผู้ถูกขับไล่ออกไปยังแผ่นดินอียิปต์จะมานมัสการพระเจ้า บนภูเขาบริสุทธิ์ที่เยรูซาเล็ม
บรรดาประชาชาติที่รอดจากการข่มเหงครั้งใหญ่จะมารวมตัวกันเพื่อนมัสการพระเจ้าในเทศกาลอยู่เพิงที่เยรูซาเล็ม
เศคาริยาห์ 14:16
16 และอยู่มาบรรดาคนที่เหลืออยู่ในประชาชาติทั้งปวงซึ่งยกขึ้นมาสู้รบกับเยรูซาเล็ม จะขึ้นไปนมัสการกษัตริย์ปีแล้วปีเล่า คือพระเจ้าจอมโยธา และจะถือเทศกาลอยู่เพิง
เทศกาลอยู่เพิงเป็นสัญลักษณ์ของเวลาที่พระคริสต์จะเสด็จกลับมาครอบครองโลกนี้
วิวรณ์ 21:3 ข้าพเจ้าได้ยินเสียงดังมาจากพระที่นั่งว่า "ดูเถิดพลับพลาของพระเจ้าอยู่กับมนุษย์แล้ว พระองค์จะทรงสถิตกับเขา เขาจะเป็นชนชาติของพระองค์ และพระเจ้าเองจะประทับอยู่กับเขา
เทศกาลนี้เล็งไปถึงอนาตของผู้เชื่อที่จะได้พักสงบอยู่กับพระเจ้านิรันดร์ นักวิชาการทางพระคัมภีร์หลายท่านเห็นว่า พลับพลาของพระเจ้าเป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้นยุคพันปี
เอเสเคียล 37:26-28
26 เราจะกระทำพันธสัญญาสันติภาพกับเขา จะเป็นพันธสัญญานิรันดร์แก่เขา และเราจะอวยพรเขาและให้เขาทวีขึ้น และเราจะวางสถานนมัสการของเราไว้ท่ามกลางเขาเป็นนิตย์
27 ที่อยู่ของเราจะอยู่กับเขา เราจะเป็นพระเจ้าของเขาและเขาจะเป็นประชากรของเรา
28 แล้วประชาชาติทั้งหลายจะทราบว่าเราคือพระเจ้ากระทำให้อิสราเอลเป็นสุทธิพิเศษชาติ ในเมื่อสถานนมัสการของเราอยู่ท่ามกลางเขาเป็นนิตย์"
5.เป็นเวลาแห่งการอิ่มเอมใจในพระวิญญาณบริสุทธิ์
ทุกเช้าของเทศกาลอยู่เพิง ปุโรหิตซึ่งได้รับการแต่งตั้งไว้โดยเฉพาะจะนำเหยือกทองคำมาที่สระสิโลอัม เพื่อตักน้ำกลับไปยังพระวิหาร โดยจะเดินเข้าทางประตูน้ำ และขณะที่ประชาชนกำลังร้องเพลงสรรเสริญจากพระธรรมสดุดี ปุโรหิตจะค่อย ๆ เทน้ำลงในกรวยรดฐานของแท่นบูชา แล้วไหลลงกลับสู่ดิน
เทศกาลอยู่เพิงยังเป็นสัญลักษณ์เล็งถึงฝนแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่เทลงมาในยุคสุดท้าย ในช่วงเทศกาลนี้ ได้มีการเพิ่มเติมพิธีเทน้ำ เข้ามาในพิธีกรรมที่คนอิสราเอลถือปฏิบัติ พิธีนี้เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งคือ ประชาชนจะอธิษฐานขอให้พระเจ้าส่งฝนมายังพื้นโลก และรวมไปถึงอนาคตข้างหน้าที่พระองค์จะเทพระวิญญาณบริสุทธิ์ลงมาเหนืออิสราเอล และผู้เชื่อทุกคนจากทุกชาติทุกภาษา ซึ่งอยู่ภายใต้การครอบครองของพระเมสสิยาห์ (ยอห์น 7:37-38)
เทศกาลอยู่เพิง และฝน คือ น้ำที่รินไหลนี้เป็นภาพสัญลักษณ์ถึงภายภาคหน้าที่การเทลงมาของพระวิญญาณที่เต็มขนาด นั่นคือ ภาพที่เราจะได้เห็นการทำหมายสำคัญและการอัศจรรย์ให้บังเกิดขึ้น นำการฟื้นฟูจิตวิญญาณของผู้คน และการทำงานของพระวิญญาณจะมากยิ่งกว่าที่เคยเห็นในยุคใด ๆ
ขอพระเจ้าอวยพระพรให้เกิดการฟื้นฟูเริ่มต้นในครอบครัวของเรา คริสตจักรของเรา ประเทศของเรา และทั่วโลกนี้
14 กันยายน 2553
จัดทัพ ขับเคลื่อนสู่กองกำลังแห่งชัยชนะ
(ลงข่าวคริสตชนวันที่ 18 ก.ย.2010)
ในช่วงวันที่ 26-28 สิงหาคมที่ผ่านมา ผมได้ไปร่วมสัมมนาในหัวข้อเรื่อง "ขับเคลื่อนกองกำลังแห่งชัยชนะ" (Mobilizing God's Triumphant reserve) ที่คริสตจักรใจสมาน สุขุมวิท ซ.6 จัดโดยสหพันธ์คริสตจักรถุงหนังน้ำองุ่นใหม่
ขอบคุณพระเจ้าในการสัมมนาครั้งนี้ ที่เป็นการสัมมนาที่ไม่ใช่ความรู้แต่เป็นความเข้าใจที่พระเจ้าทำให้เราได้เรียนรู้ฟังเสียงพระเจ้าได้ดีมากขึ้น
ก่อนหน้านี้ในความคิดของผมรู้สึกว่า การสัมมนาโดยวิทยากรจากต่างประเทศจะได้แค่ความรู้ หรือสัมมนาเชิงปฎิบัติการ ปัจจุบันเริ่มถึงจุดอิ่มตัว เพราะใช้ในชีวิตจริงไม่ได้ เรียกว่า “Workshop หมดฤทธิ์"
เพราะวิทยากรต่างประเทศไม่เข้าใจวัฒนธรรมของคนไทยจึงไม่สามารถประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้ แต่วิทยากรในการสัมมนาครั้งนี้ มีความเข้าใจและมีการถ่ายทอดที่ดี การสอนจึงเข้าใจง่ายและทำได้จริง
ขอบคุณพระเจ้าสำหรับอาจารย์นิมิต ผู้นำที่สอนและเคี่ยวเข็ญพวกเรา ทำให้เกิดความเข้าใจและสอนในเรื่องการความคิดแบบพระเจ้าและฝึกฝนในการฟังเสียงพระองค์ สิ่งเหล่านี้ได้เริ่ม “ออกฤทธิ์" ในชีวิตของเราแล้ว
ในช่วงที่ผ่านมาอาจารย์นิมิตได้วางรากฐานคำสอน เรื่องคริสตจักรแบบถุงหนังใหม่ เพื่อปูพื้นฐานความคิด การปรับเปลี่ยนความคิดสู่ความคิดแบบพระเจ้า ที่เปรียบเทียบให้เข้าใจในความคิดแบบกรีก ที่นิยมความรู้ปรัชญา ความคิดแบบอนารยชน (Barbarian) ที่ปลูกฝังด้วยความกลัวและตกอยู่ภายใต้การควบคุมของพวกอารยะชน (Civilization)
รวมถึงการเปลี่ยนความคิดแบบวิญญาณศาสนาและปลดแอกจากวิญญาณการครอบงำต่างๆ เช่น
วิญญาณเยเซเบล สิ่งเหล่านี้เป็นการผสมผสานความคิดที่สนใจทุกด้านแบบองค์รวม(Holistic)
พระเจ้าได้กำลังเตรียมชีวิตของเราผ่านสถานการณ์ต่างๆ หากเราเปิดใจที่จะฟังเสียงพระองค์ผ่านช่องทางต่างๆ และเรียนรู้ผ่านการฝึกปรือที่พระองค์ขัดเกลาชีวิตของเรา เพื่อไปสู่เป้าหมายของพระองค์
อิสยาห์ 49:2 พระองค์ทรงทำปากของข้าพเจ้าเหมือนดาบคม พระองค์ทรงซ่อนข้าพเจ้าไว้ในร่มพระหัตถ์ของพระองค์พระองค์ทรงทำข้าพเจ้าให้เป็นลูกศรขัดมัน พระองค์ทรงซ่อนข้าพเจ้าไว้เสียในแล่งของพระองค์
สำหรับการสัมมนานี้เป็นเรื่องที่ต่อเนื่องจากสัมมนา เรื่อง “ยุทธการเป้าหมายชีวิต” (The Battle for your destiny) เมื่อปี 2009 ในครั้งก่อนจะเป็นเรื่องการเตรียมชีวิตส่วนปัจเจกบุคคล เพื่อไปสู่เป้าหมายของพระเจ้าในชีวิตของเรา แต่ในครั้งนี้เป็นการขับเคลื่อนในภาพของคริสตจักรต่างๆในประเทศไทย
เพราะนี่คือเวลาสำหรับประเทศไทย ! ที่พระเจ้ากำลังเตรียมผู้เชื่อในประเทศไทย ไปสู่แผนการของพระเจ้า!
ทำให้นึกถึงคำเผยพระวจนะจาก ดร.ชัค เพียส (Dr. Chuck Pierce) ประธาน Glory of Zion International Ministries
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2008 ดร.ชัค เพียส ได้เผยพระวจนะถึงประเทศไทยที่คริสตจักรใจสมาน มีข้อความบางตอนว่า “พระเจ้าตรัสว่า ... เวลาแห่งการเริ่มต้นใหม่เกิดในประเทศนี้แล้ว ... ประเทศที่เราเลือกไว้สำหรับเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ คือ “ประเทศไทย” จากนี้ไป เจ้าจะเป็นที่รู้จักในนามของ “ประเทศแห่งไฟ”
เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2009 ดร.ชัค เพียส เผยพระวจนะถึงประเทศไทยในการประชุมประจำปีของคริสตจักร Glory of Zion ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีข้อความบางตอนว่า
“... นี่เป็นการเคลื่อนไหวแบบอัครทูต ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในแถบนี้ของโลกมาก่อน แล้วเจ้าจะเริ่มเห็นการปรับเปลี่ยนอย่างมากเกิดขึ้นในคริสตจักร คริสตจักรจะไม่เหมือนกับในอดีตอีก เรากำลังลงมา และกระทำกิจในประเทศนี้ ...”
พระเจ้า ประสงค์จะให้คริสตจักรในประเทศไทยก้าวเข้าสู่พันธสัญญาของพระองค์ ดังคำเผยพระวจนะที่เราได้รับแล้วนั้น ดร.ชัค เพียส จึงได้ส่งทีมจากคริสตจักรของท่าน
มาเตรียมคริสตจักรในประเทศไทยให้ลุกขึ้น ต่อสู้เพื่อไปให้ถึงจุดหมายที่พระเจ้ามีสำหรับเรา นั่นเป็นเสียงที่พระเจ้ากำลังบอกและพระองค์ทรงกำลังขับเคลื่อนคริสตจักรในประเทศไทย แต่สิ่งที่คริสตจักรของประเทศไทยต้องทำคือเตรียมรองรับ
นั่นคือปรับรูปแบบการรับใช้ใหม่ เริ่มจากความคิดแบบเดิมสู่ความคิดแบบใหม่เป็น”คริสตจักรแบบถุงหนังน้ำองุ่นใหม่” ตามที่คำอุปมาของพระเยซูคริสต์เปรียบเทียบไว้ใน (มัทธิว 9:17)และเขาไม่เอาน้ำองุ่นหมักใหม่มาใส่ในถุงหนังเก่า ถ้าทำอย่างนั้นถุงหนังจะขาด น้ำองุ่นจะรั่ว ทั้งถุงหนังก็จะเสียไปด้วย แต่เขาย่อมเอาน้ำองุ่นหมักใหม่ใส่ในถุงหนังใหม่ แล้วทั้งสองอย่างก็อยู่ดีด้วยกันได้"
เพราะหากคริสตจักรยังมีความคิดแบบเดิม เมื่อเทน้ำองุ่นแห่งการอวยพรสิ่งใหม่ที่พระเจ้ากำลังจะเคลื่อน ในประเทศไทยลงมา ก็จะ “เสียของ” หรือ โครงสร้างเดิมที่เหมือนถุงหนังเก่า ของที่อยู่ในนั้นก็กลายเป็น “ของเสีย” ที่ใช้การไม่ได้
การสัมมนาครั้งนี้ ผมได้รับการเตรียมชีวิตเพื่อให้มีบทบาทต่อแผนการในยุคสุดท้ายของพระเจ้า
พระเจ้าจะทำให้เราจะได้มีชัย ไม่ใช่เป็นเหยื่อมารศัตรูตัวฉกาจในสงครามฝ่ายวิญญาณอีกต่อไป เพราะ
“ถึงเวลาแล้วที่โลกนี้จะเห็นผู้เชื่อ และคริสตจักรแตกต่างจากที่เคยรู้จัก....อย่างสิ้นเชิง”
ขอขอบคุณสำหรับวิทยากรทุกท่านคือดร.โรเบิร์ต และ ดร.ลินดา ไฮด์เลอร์ (Dr.Robert &Dr.LindaHeilder)
,อ.แอลัน เฟาว์เบียน (Rev.Allen Faubion),อ.จอห์น และ อ.เชอร์ริล ไพรช (John & Shelry Price)
จาก Glory of Zion International Ministries ที่เดินทางมาประเทศไทยเพื่อช่วยคริสตจักรของเราให้เคลื่อนไปข้างหน้า (Moving Forward) สู่แผนการของพระเจ้า
นับตั้งแต่ปี 2006 ที่ดร.โรเบิร์ต และ ดร.ลินดา ไฮด์เลอร์ เดินทางมาประเทศไทย ที่พัทยา จ.ชลบุรี
และพระเจ้าได้ให้นิมิตแก่ท่าน เรื่องลมแห่งพระวิญญาณที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย แม้ประตูแห่งอุปสรรคจะขัดขวางแต่การเคลื่อนไปของลมแห่งพระวิญญาณของพระเจ้ากำลังเข้าสู่ประเทศไทยอย่างรวดเร็วและไม่ทราบมาก่อน สรรเสริญพระเจ้าที่พระองค์ได้ทำการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ในประเทศไทย
ถึงเวลาแล้วที่คริสตจักรในประเทศไทยจะต้องบินขึ้นเหมือนนกอินทรีที่บินสูงขึ้นด้วยพลังลมที่ใต้ปีก
นับแต่นั้นมาท่านและทีมงาน Glory of Zion International Ministries ก็เดินทางมาประเทศไทยทุกปีเพื่อเตรียมคริสตจักรในประเทศไทยให้เข้าใจในเรื่องคริสตจักรแบบถุงหนังองุ่นใหม่ เป้าหมายชีวิตของเรา กาลเวลาของพระเจ้าตามปฎิทินของพระเจ้า และการขับเคลื่อนกองกำลังแห่งชัยชนะในปี 2010
ขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับวิทยากรทุกท่าน ที่แม้ว่าจะได้เป็นคนไทยแต่ประเทศอยู่ในหัวใจของท่านที่มาช่วยเหลือคริสตจักรต่างๆในประเทศไทย
ถึงเวลาแล้วที่คริสตจักรในประเทศไทยต้องช่วยกันขับเคลื่อนกองกำลังแห่งชัยชนะเพื่อประเทศไทยของเรา
ขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับความรักของพระองค์ที่มีต่อคนไทย เราเป็นคนที่พระเจ้าโปรดปรานแบบไม่ธรรมดา (Uncommon favor)
เมื่อเรามีความสนิทสนมกับพระเจ้า พระองค์นำสู่ชัยชนะ และนำสู่ฤทธิ์อำนาจมาสู่ชีวิตของเรา
ในวันนี้ผมได้นำข้อคิดที่ได้จากการสัมมนามาเรียบเรียงเขียนให้อ่านดังนี้ครับ (หนุนใจว่าติดต่อซื้อ VCD มาฟังจะดีมาก ++)
เริ่มเป่าแตร แถลงการณ์ ชักธงรบ
นับตั้งแต่ที่พระเยซูคริสต์ลงมาถือกำเนิดและพระองค์เริ่มทำพระราชกิจ มารก็เข้ามา “ลองของ” ทดลองพระเยซูคริสต์ (มธ.4) แต่พระเยซูคริสต์ทรงมีชัยชนะต่อมาร
มธ.6 คำอธิษฐานของพระเยซูคริสต์ต่อพระบิดา ขอคืนพื้นที่จากมาร ให้แผ่นดินของพระเจ้ามาตั้งอยู่แทนที่การครอบครองของมารในโลกนี้
มัทธิว 6:10 ขอให้แผ่นดินของพระองค์มาตั้งอยู่ ขอให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์ ในสวรรค์เป็นอย่างไรก็ให้เป็นไปอย่างนั้นในแผ่นดินโลก
พระเยซูคริสต์ประกาศสงครามกับมาร และนำการปลดปล่อยเชลยศึก
ลูกา 4:18 พระวิญญาณแห่งพระเป็นเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะว่าพระองค์ได้ทรงเจิมตั้งข้าพเจ้าไว้ เพื่อนำข่าวดีมายังคนยากจน พระองค์ได้ทรงใช้ข้าพเจ้าให้ร้องประกาศอิสรภาพแก่บรรดาเชลย ให้ประกาศแก่คนตาบอดว่าจะได้เห็นอีก ให้ปล่อยผู้ถูกบีบบังคับเป็นอิสระ
ที่บนกางเขนพระองค์ประกาศชัยชนะเหนือความบาปความตาย และมอบชัยชนะแก่เราผ่านทางกางเขน
1โครินธ์ 15:54-57
54 ...เมื่อนั้นตามซึ่งเขียนไว้ในพระคัมภีร์จะสำเร็จว่า ความตายก็ถูกกลืนถึงปราชัยแล้ว
55 โอ มัจจุราชเอ๋ย ชัยชนะของเจ้าอยู่ที่ไหน โอ มัจจุราชเอ๋ย เหล็กไนของเจ้าอยู่ที่ไหน
56 เหล็กไนของความตายนั้นคือบาป และฤทธิ์ของบาปคือธรรมบัญญัติ
57 สาธุการแด่พระเจ้าผู้ทรงประทานชัยชนะแก่เราทั้งหลาย โดยพระเยซูคริสตเจ้าของเรา
เมื่อพระเยซูคริสต์เสด็จขึ้นสวรรค์และเมื่อพระวิญญาณเทลงมาในกิจการฯบทที่ 2 เป็นการสถาปนาคริสตจักรแบบเป็นทางการ นั่นหมายความว่า สงครามฝ่ายวิญญาณได้เริ่มต้นแล้ว
คริสตจักรกับมารซาตานจะต้องสู้รบกันเพื่อย่งชิงยุทธภูมิคือโลกใบนี้มาครอบครอง
เอเฟซัส 6:12 เพราะว่าเราไม่ได้ต่อสู้กับเนื้อหนังและเลือด แต่ต่อสู้กับเทพผู้ครอง ศักดิเทพ เทพผู้ครองพิภพในโมหะความมืดแห่งโลกนี้ ต่อสู้กับเหล่าวิญญาณที่ชั่วในสถานฟ้าอากาศ
ผมมีข่าวจะบอกทุกท่านว่ามีทั้งข่าวดีและข่าวร้าย นั่นคือ
ข่าวร้าย : เรากำลังอยู่ในสงครามวิญญาณ (Spiritual Warfare)
ข่าวดี : เราจะมีชัยชนะ เพราะพระเจ้าของเราจะเป็นพระเจ้าจอมโยธา (Yahweh Sabaoth) ผู้ประทานชัยชนะในสงครามฝ่ายวิญญาณ
สดุดี 80:19 ข้าแต่พระเจ้าจอมโยธา ขอทรงช่วยข้าพระองค์ทั้งหลายให้กลับสู่สภาพดี ขอพระพักตร์ของพระองค์ทอแสง เพื่อข้าพระองค์ทั้งหลายจะรอดได้
2โครินธ์ 2:14 แต่ขอบพระคุณพระเจ้า ผู้ทรงนำเราเสมอมาโดยพระคริสต์ด้วยความมีชัย …
ประกาศสงครามฝ่ายวิญญาณ
คำแถลงการณ์จากมารซาตาน (The Satanic manifesto) :มารมาเพื่อลัก ฆ่าและทำลาย
ยอห์น 10:10 ขโมยนั้นย่อมมาเพื่อจะลักและฆ่าและทำลายเสีย…
แถลงการณ์จากพระคริสต์ (The Messianic manifesto) : พระเยซูมาเพื่อเราได้รับชีวิตอย่างครบบริบูรณ์
ยอห์น 10:10 …เราได้มาเพื่อเขาทั้งหลายจะได้ชีวิต และจะได้อย่างครบบริบูรณ์
นั่นเป็นสงครามที่มีสมรภูมิการรบคือ "โลกใบนี้" และ มารก็เป็นเจ้าแห่งการรบแบบกองโจร ที่คอยซุ้มโจมตีแบบ Sniper ยิงลูกศรเพลิงเข้ามาในความคิดของเราให้หลงกลมาร ดังนั้นเราต้องป้องกันตัวอยู่เสมอโดยการสวมยุทธภัณฑ์ในการรอบให้พร้อม
เอเฟซัส 6:11 จงสวมยุทธภัณฑ์ทั้งชุดของพระเจ้า เพื่อจะต่อต้านยุทธอุบายของพญามารได้
เอเฟซัส 6:16 และพร้อมกับสิ่งทั้งหมดนี้ จงเอาความเชื่อเป็นโล่ ด้วยโล่นั้นท่านจะได้ดับลูกศรเพลิงของพญามารเสีย
เราจะสามารถมีชัยชนะในสงครามฝ่ายวิญญาณได้อย่างไร
1. มีหน่วยข่าวกรองที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
ซุนวู เป็นนักการทหารของจีน ผู้เขียนตำราพิชัยสงคราม 13 บทของเขานั้นได้รับการยอมรับจากหลาย ๆ แวดวงทั้งการทหาร การเมือง การปกครองและธุรกิจ จนถึงทุกวันนี้
ชุนวูได้เสนอความคิดในการพิชิตศึกทุกสมรภูมิว่า “ รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ไม่รู้เขาแต่รู้เราชนะหนึ่งพ่ายหนึ่ง ไม่รู้เขาไม่รู้เรา ทุกรบจักพ่ายแพ้ ”
ดังนั้นในการทำการรบในสงครามหน่วยข่าวกรองที่ดีทำให้รู้จักประเมินกองกำลังของศัตรู และรู้จักกองกำลังของเรา
ในสัมมนาที่ผ่านมา วิทยากรได้สอนให้เข้าใจในเรื่องของการปกครองของสวรรค์ ลำดับขั้นการปกครองของมารซาตาน เรียกว่า ระดับ “ขั้นเทพ” (เทพผู้ครอง ศักดิเทพ เทพผู้ครองพิภพ)
เอเฟซัส 6:12 เพราะว่าเราไม่ได้ต่อสู้กับเนื้อหนังและเลือด แต่ต่อสู้กับเทพผู้ครอง ศักดิเทพ เทพผู้ครองพิภพในโมหะความมืดแห่งโลกนี้ ต่อสู้กับเหล่าวิญญาณที่ชั่วในสถานฟ้าอากาศ
เราต้องรู้จักกองกำลังของมารและเข้าใจกองกำลังของเรา ในสงครามฝ่ายวิญญาณจึงต้องตื่นตัวเสมอในการรับทราบข่าวสารและข้อมูลต่างๆ เพื่อตัดสินใจในการทำการต่อสู้ จะเห็นจากตัวอย่างในพระคัมภีร์ ในการทำการรบจึงมีการส่งหน่วยสอดแนม เช่น โยชูวา (กดว.14) เข้าไปเพื่อประเมินกำลังข้าศึก
2. จัดตั้งกองกำลัง วางหมากให้เหมาะสม เดินกองกำลังคนให้ถูกที่และถูกเวลา
(Put the right man in the right job and right time.)
ในการสัมมนาครั้งนี้ คือ ขับเคลื่อนกองกำลังแห่งชัยชนะ ผมประทับใจและได้ข้อคิดจากพระคัมภีร์ในช่วงอพยพที่พระเจ้าทรงวางกำลังของเผ่าอิสราเอลไว้ 12 เผ่า แต่ละเผ่ามีอัตลักษณ์ (Identity) เป็นของตนเองแต่พระเจ้าทรงให้มีการเคลื่อนกองกำลังโดยให้คนเผ่าเลวีหามหีบพันธสัญญา และเคลื่อนไปเป็นเผ่าต่างๆ
เริ่มต้นด้วย เผ่ายูดาห์ เป็นนักปกครอง ตามด้วยเผ่าอิสสาคาร์ ผู้รู้กาลเวลาของพระเจ้า ตามด้วยเศบูลุน จากนั้นเป็นกลุ่ม 3 เผ่าคือ รูเบน,สิเมโอนและกาด,ตามด้วย เบนยามิน,เอฟราอิมและมนัสเสห์ และปิดด้วย 3 เผ่าที่เฝ้าระวังหลังคือ ดาน อาเชอร์ และนัฟทาลี
ข้อคิดคือ เราทุกคนต้องรู้ว่าเราอยู่ในเผ่าไหน มีความสามารถด้านใด และเมื่อเรามาร่วมกันแต่ละเผ่า เราจะเป็นกองกำลังแห่งชัยชนะของพระเจ้า
การขับเคลื่อนคริสตจักรแบบพันธกรทั้ง 5 (Fivefold Ministry) คือการขับเคลื่อนคริสตจักรโดยการรับใช้ตามของประทาน ตามพระวจนะใน
เอเฟซัส 4:11-12
11 ของประทานของพระองค์ ก็คือให้บางคนเป็นอัครทูต บางคนเป็นผู้เผยพระวจนะ บางคนเป็นผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ บางคนเป็นศิษยาภิบาลและอาจารย์
12 เพื่อเตรียมธรรมิกชนให้เป็นคนที่จะรับใช้ เพื่อเสริมสร้างพระกายของพระคริสต์ให้จำเริญขึ้น
ผมขอเปรียบเทียบการรับใช้ในคริสตจักรแบบพันธกรทั้ง 5 เป็นการแข่งขันหมากรุกไทย การวางหมากให้ถูกต้องและเดินแบบมีหลัก ก็จะสามารถได้รับใช้ชนะได้
หมากรุกไทย เป็นกีฬาที่ใช้ความคิดในการวางตัวเล่นทั้ง 16 ตัว ซึ่งแต่ละตัวทำหน้าที่ต่างๆกัน ตามตำแหน่งที่วาง
"ขุน" ตัวหมากรุกที่สำคัญที่สุด มีการเดินและกินไปในทิศทางรอบตัวได้ เปรียบเสมือน “จอมทัพ”ในการขับเคลื่อนการดิน เพราะเป็นหมากที่มีความสำคัญ หากขุนถูกกินฝ่ายนั้นก็จะพ่ายแพ้ เปรียบเสมือนอัครทูต
อัครทูต ที่ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนของประทานต่างๆ ให้เดินหมากในคริสตจักร(อฟ.2:20)
"ม้า" มีการเดินและกินเป็นรูปตัว L ในทิศทางรอบตัว สามารถข้ามหมากตัวอื่นได้ มีความสำคัญในการขับเคลื่อนและใช้สำหรับผูกหมากรุกตัวอื่นไม่ให้ถูกกินฟรี เปรียบเทียบได้กับ “ผู้เผยพระวจนะ”
ผู้เผยพระวจนะทำหน้าที่ให้ทิศทางและช่วยกำกับดูแลสมาชิกไม่ให้เดินผิดพลาดไป (กจ.3:23)
"เม็ด" มีการเดินและกินไปในแนวทแยงทั้ง 4 ด้าน เม็ด...เป็นหมากที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว เมื่อเริ่มเปิดหมากบนกระดาน จะเปิดเม็ดไปยืนหน้า เพื่อต้านคู่ต่อสู้ ยืนรองมาจากเบี้ย ในกระดานหมากรุกไทย ก็เปรียบได้กับการต่อสู้ประชิดตัว เม็ดจะเดินทแยงไปครั้งละ 1 ตาทั่วกระดาน เดินทแยงและกินทแยง ไม่สามารถเดินตรงหรือถอยตรงได้ ความพิเศษคือสามารถก่อเกิดขึ้นใหม่ได้ โดยการเดินเบี้ยมาเข้าตาหงาย ก็จะแปลงร่างเป็นเม็ดได้อีกตามจำนวนเบี้ยหงาย เปรียบเทียบได้กับ “ศิษยาภิบาล”
“ศิษยาภิบาล” ทำหน้าที่ในการอภิบาลสมาชิก สอนและฝึกฝนสร้างชีวิตของสมาชิกให้เป็นผู้ที่สอนคนอื่นได้ด้วย (2 ทธ.2.2)
"โคน" มีการเดินและกินไปในแนวทแยงทั้ง 4 ด้านและเดินไปทางข้างหน้า โคนเป็นกำลังเสริมเปรียบเสมือน “อาจารย์”
อาจารย์ ที่ทำหน้าที่สอนและเตรียมสมาชิกในคริสตจักร ตลอดจนให้คำปรึกษาด้านต่างๆ
( 1 คร.12:28,รม.12:7)
"เรือ" มีการเดินและกินไปในแนวตั้ง-แนวนอน ระยะยาว ไม่สามารถเดินข้ามตัวอื่นๆได้เป็นหมากที่มีการเดินทางได้ยาวที่สุด เรือจึงเป็นตัวหมากที่สำคัญมาก นักเล่นหมากรุกจะไม่ยอมเสียเรือ แลกกับฝ่ายตรงข้ามเลย ทีเดียว เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่เล่นหมากรุกเป็น จะต้องหัดเดินเรือให้ชำนาญเสียก่อน จึงจะหัดเดินตัวหมากอื่นต่อไป เรือจึงเปรียบเทียบได้กับ "ผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ หรือนักประกาศฯ"
ผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ เป็นผู้ที่เดินทางและประกาศข่าวประเสริฐบุกเบิกเปิดคริสตจักรใหม่ๆจึงเกิดขึ้น
นี่คือหมากที่เป็นตัวหลักที่ทำการขับเคลื่อน แต่หมากรุกจะมีความสมบูรณ์ได้ต้งมีการขับเคลื่อนเดินเบี้ยไปด้วย
"เบี้ย" จึงเปรียบเทียบได้กับคริสตสมาชิก ที่ต้องถูกจัดวางและเดินหมากไปอย่างเหมาะสม
เบี้ย มีการเดินไปทางข้างหน้าและกินในแนวทแยงด้านหน้า เมื่อเบี้ยไปถึงแนววางเบี้ยของฝ่ายตรงข้ามจะกลายเป็นเบี้ยหงาย และมีการเดินและกินเช่นเดียวกับเม็ดทุกประการ สมาชิกก็เช่นกันต้องเดินไปสู่จุดหมายและพัฒนาไปสู่บทบาทที่สูงขึ้น
เมื่อคริสตจักรต่อสู้ในสงครามฝ่ายวิญญาณ การเคลื่อนไปในตารางการเดินเป็นสิ่งที่สำคัญ และต้องสอดคล้องกับช่วงเวลา อย่าคิดแต่เปิดเกมรุกจนต้องพลาดพลั้ง ระวังรุกเสียม้า จะเข้าตาจน และอย่าเดินหมากเดี่ยว เดี่๋ยวจะเสียเบี้ยฟรี ต้องมีการผูกกันไว้เพื่อไม่ให้เสียเบี้ย
ในวันนี้ถึงเวลาที่คริสตจักรจะตอบกลับพญามาร วางแผนเดินหมาก รุกฆาตให้มารจนกระดาน หงายเงิบ ต้องล้มกระดาน แตกทัพอับอายกลับไป
หมากเกมนี้ เราก็รู้ว่าลงเอยอย่างไร ไม่ต้องรอให้จบเกม และนับศักดิ์กะดาน เพราะพระเจ้าทรงเป็นผู้นำเราไปสู่ชัยชนะ ถึงเวลาที่เซียนต้องจนกระดานในบั้นปลาย
ประการต่อมาคือ การจัดทัพ โดยขอกำลังเสริมจากหน่วย SWAT
ขอกำลังเสริมจากหน่วย S.W.A.T
หน่วยสวาท ในภาษาอังกฤษคือคำว่า S.W.A.T ย่อมาจาก (Special Weapons And Tactics) ไม่ใช่คำว่า “สวาท” ภาษาไทยนะครับ เพราะความหมายจะเปลี่ยนไป
หน่วย S.W.A.T จะเป็นหน่วยรบอาวุธพิเศษที่มียุทธวิธีในการรบที่ถูกฝึกมาอย่างดี เป็นหน่วยที่เคลื่อนที่ได้เร็วและมีความชำนาญเฉพาะด้าน มาช่วยเสริมกองทัพ ในสงครามฝ่ายวิญญาณเช่นเดียวกันต้องการหน่วยพิเศษที่ถูกฝึกฝนมาอย่างดี SWAT ย่อมาจาก
Spiritual armor สวมยุทธภัณฑ์ครบชุด (อฟ.6:11-17)
เอเฟซัส 6:11-17
11 จงสวมยุทธภัณฑ์ทั้งชุดของพระเจ้า เพื่อจะต่อต้านยุทธอุบายของพญามารได้
12 เพราะว่าเราไม่ได้ต่อสู้กับเนื้อหนังและเลือด แต่ต่อสู้กับเทพผู้ครอง ศักดิเทพ เทพผู้ครองพิภพในโมหะความมืดแห่งโลกนี้ ต่อสู้กับเหล่าวิญญาณที่ชั่วในสถานฟ้าอากาศ
13 เหตุฉะนั้นจงรับยุทธภัณฑ์ทั้งชุดของพระเจ้าไว้ เพื่อท่านจะได้ต่อต้านในวันอันชั่วร้ายนั้น และเมื่อเสร็จแล้วจะอยู่อย่างมั่นคงได้
14 เหตุฉะนั้นท่านจงมั่นคง เอาความจริงคาดเอว เอาความชอบธรรมเป็นทับทรวงเครื่องป้องกันอก
15 และเอาข่าวประเสริฐแห่งสันติสุข ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความพรั่งพร้อมมาสวมเป็นรองเท้า
16 และพร้อมกับสิ่งทั้งหมดนี้ จงเอาความเชื่อเป็นโล่ ด้วยโล่นั้นท่านจะได้ดับลูกศรเพลิงของพญามารเสีย
17 จงเอาความรอดเป็นหมวกเหล็กป้องกันศีรษะ
Word of God พระวจนะของพระเจ้าเป็นเสมือนดาบที่ใช้ต่อสู้กับมาร
เอเฟซัส 6:17 …และจงถือพระแสงของพระวิญญาณ คือ พระวจนะของพระเจ้า
พระวจนะของพระเจ้าจะเป็นอาวุธที่ใช้ในการต่อสู้กับมาร แบบพระเยซูคริสต์ใช้พระวจนะต่อสู้กับมารและมารก็หนีพระองค์ไป (มัทธิว 4:1-11)
Angel’s Army กองกำลังทูตสวรรค์ ของพระเจ้าเข้ามาช่วยรบ
ปฐมกาล 32:2 เมื่อยาโคบเห็นทูตสวรรค์เหล่านั้นจึงว่า "นี่แหละกองทัพของพระเจ้า" จึงเรียกสถานที่นั้นว่า "มาหะนาอิม" {ในที่นี้หมายว่า กองทัพสองกองทัพ}
สิ่งที่สำคัญสำหรับการต่อสู้ฝ่ายวิญญาณคือกองกำลังจากทูตสวรรค์ที่มาช่วย พระเยซูคริสต์บอกว่าเราแต่ละคนมีทูตสวรรค์ประจำตัวปกป้อง (มัทธิว 18:10)
…ทูตสวรรค์ประจำของเขาเฝ้าอยู่เสมอ ต่อพระพักตร์พระบิดาของเราผู้ทรงสถิตในสวรรค์
ดังนั้นทูตสวรรค์ คือ มีคาเอลจะมาช่วยทำการรบให้ในสงครามฝ่ายวิญญาณ
วิวรณ์ 12:7 ขณะนั้นเกิดสงครามขึ้นในสวรรค์ มีคาเอล กับเทพบริวารของท่านได้ต่อสู้กับพญานาค และพญานาคกับบริวารของมันก็ต่อสู้
Triumphant reserve กำลังเสริมจากกองสนับสนุน
ในการเคลื่อนพลอพยพออกจากอียิปต์ของมาถึงภูเขาซีนาย อิสราเอลได้ออกเดินทางเป็นลำดับตามที่พระเจ้าทรงตรัสสั่งโมเสสได้
ดังนั้นเมื่อเรารู้ว่าเราอยู่ในเผ่าใด เราก็จะเคลื่อนตามการทรงนำของพระเจ้าไปได้ ผมเชื่อว่าการทำงานของคริสตจักรต่างๆก็เช่นกัน คริสตจักรเดียวไม่สามารถต่อสู้ลำพังได้ เพราะมีความสามารถและของประทานไม่ครบจึงต้องมาช่วยกันต่อสู้กับมาร
นอกจากนี้ต้องมีการตั้งจัดตั้งศูนย์อธิษฐานเฉพาะกิจ (ศอจ.)
เอเฟซัส 6:18 จงอธิษฐานวิงวอนทุกอย่าง จงขอโดยพระวิญญาณทุกเวลา ทั้งนี้จงระวังตัวด้วยความเพียรทุกอย่าง จงอธิษฐานเพื่อธรรมิกชนทุกคน
ขอบคุณพระเจ้าที่คริสตจักรต่างๆในประเทศไทยเริ่มมีเครือข่ายอธิษฐานแห่งประเทศไทยในการทำยุทธาษิฐาน (Intercession) เพื่ออธิษฐานอวยพระพรในประเทศไทย (www.blessthailand.net)
ผมเชื่อว่า นี่เป็นเวลาของพระเจ้าในช่วงปีใหม่ของยิว คือ รอชฮาชานา เป็นเสียงแตรของพระเจ้าที่กำลังปลุกให้พลไพร่ของพระเจ้าพร้อมที่จะประจัญบานในสงครามฝ่ายวิญญาณ
ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายนนี้จะเป็นวันเดินอธิษฐานแห่งชาติ เพื่อประกาศการอวยพระพรของพระเจ้ามาสู่ประเทศไทย คริสตจักรต่างๆจะจัดขบวนจากท้องสนามหลวงและเดินอธิษฐานไปจนถึงสะพานพระราม 8 และไปส่งเสียงนมัสการที่นั่น
ผมเชื่อว่าการอวยพระพรจะมาสู่ประเทศไทยท่ามกลางความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคริสตจักรไทย
สดุดี 133:1-3
1 ดูเถิด ซึ่งพี่น้องอาศัยอยู่ด้วยกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ก็เป็นการดี และน่าชื่นใจมากสักเท่าใด
2 เหมือนน้ำมันประเสริฐอยู่บนศีรษะไหลอาบลงมาบนหนวดเครา บนหนวดเคราของอาโรน ไหลอาบลงมาบนคอเสื้อของท่าน
3 เหมือนน้ำค้างของภูเขาเฮอร์โมน ซึ่งตกลงบนเทือกเขาศิโยน เพราะว่าพระเจ้าทรงบังคับบัญชาพระพรที่นั่น คือชีวิตจำเริญเป็นนิตย์
ได้เวลาที่คริสตจักรต่างๆ จะต้องจัดทัพขับเคลื่อนสู่กองกำลังแห่งชัยชนะแล้ว
ในช่วงวันที่ 26-28 สิงหาคมที่ผ่านมา ผมได้ไปร่วมสัมมนาในหัวข้อเรื่อง "ขับเคลื่อนกองกำลังแห่งชัยชนะ" (Mobilizing God's Triumphant reserve) ที่คริสตจักรใจสมาน สุขุมวิท ซ.6 จัดโดยสหพันธ์คริสตจักรถุงหนังน้ำองุ่นใหม่
ขอบคุณพระเจ้าในการสัมมนาครั้งนี้ ที่เป็นการสัมมนาที่ไม่ใช่ความรู้แต่เป็นความเข้าใจที่พระเจ้าทำให้เราได้เรียนรู้ฟังเสียงพระเจ้าได้ดีมากขึ้น
ก่อนหน้านี้ในความคิดของผมรู้สึกว่า การสัมมนาโดยวิทยากรจากต่างประเทศจะได้แค่ความรู้ หรือสัมมนาเชิงปฎิบัติการ ปัจจุบันเริ่มถึงจุดอิ่มตัว เพราะใช้ในชีวิตจริงไม่ได้ เรียกว่า “Workshop หมดฤทธิ์"
เพราะวิทยากรต่างประเทศไม่เข้าใจวัฒนธรรมของคนไทยจึงไม่สามารถประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้ แต่วิทยากรในการสัมมนาครั้งนี้ มีความเข้าใจและมีการถ่ายทอดที่ดี การสอนจึงเข้าใจง่ายและทำได้จริง
ขอบคุณพระเจ้าสำหรับอาจารย์นิมิต ผู้นำที่สอนและเคี่ยวเข็ญพวกเรา ทำให้เกิดความเข้าใจและสอนในเรื่องการความคิดแบบพระเจ้าและฝึกฝนในการฟังเสียงพระองค์ สิ่งเหล่านี้ได้เริ่ม “ออกฤทธิ์" ในชีวิตของเราแล้ว
ในช่วงที่ผ่านมาอาจารย์นิมิตได้วางรากฐานคำสอน เรื่องคริสตจักรแบบถุงหนังใหม่ เพื่อปูพื้นฐานความคิด การปรับเปลี่ยนความคิดสู่ความคิดแบบพระเจ้า ที่เปรียบเทียบให้เข้าใจในความคิดแบบกรีก ที่นิยมความรู้ปรัชญา ความคิดแบบอนารยชน (Barbarian) ที่ปลูกฝังด้วยความกลัวและตกอยู่ภายใต้การควบคุมของพวกอารยะชน (Civilization)
รวมถึงการเปลี่ยนความคิดแบบวิญญาณศาสนาและปลดแอกจากวิญญาณการครอบงำต่างๆ เช่น
วิญญาณเยเซเบล สิ่งเหล่านี้เป็นการผสมผสานความคิดที่สนใจทุกด้านแบบองค์รวม(Holistic)
พระเจ้าได้กำลังเตรียมชีวิตของเราผ่านสถานการณ์ต่างๆ หากเราเปิดใจที่จะฟังเสียงพระองค์ผ่านช่องทางต่างๆ และเรียนรู้ผ่านการฝึกปรือที่พระองค์ขัดเกลาชีวิตของเรา เพื่อไปสู่เป้าหมายของพระองค์
อิสยาห์ 49:2 พระองค์ทรงทำปากของข้าพเจ้าเหมือนดาบคม พระองค์ทรงซ่อนข้าพเจ้าไว้ในร่มพระหัตถ์ของพระองค์พระองค์ทรงทำข้าพเจ้าให้เป็นลูกศรขัดมัน พระองค์ทรงซ่อนข้าพเจ้าไว้เสียในแล่งของพระองค์
สำหรับการสัมมนานี้เป็นเรื่องที่ต่อเนื่องจากสัมมนา เรื่อง “ยุทธการเป้าหมายชีวิต” (The Battle for your destiny) เมื่อปี 2009 ในครั้งก่อนจะเป็นเรื่องการเตรียมชีวิตส่วนปัจเจกบุคคล เพื่อไปสู่เป้าหมายของพระเจ้าในชีวิตของเรา แต่ในครั้งนี้เป็นการขับเคลื่อนในภาพของคริสตจักรต่างๆในประเทศไทย
เพราะนี่คือเวลาสำหรับประเทศไทย ! ที่พระเจ้ากำลังเตรียมผู้เชื่อในประเทศไทย ไปสู่แผนการของพระเจ้า!
ทำให้นึกถึงคำเผยพระวจนะจาก ดร.ชัค เพียส (Dr. Chuck Pierce) ประธาน Glory of Zion International Ministries
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2008 ดร.ชัค เพียส ได้เผยพระวจนะถึงประเทศไทยที่คริสตจักรใจสมาน มีข้อความบางตอนว่า “พระเจ้าตรัสว่า ... เวลาแห่งการเริ่มต้นใหม่เกิดในประเทศนี้แล้ว ... ประเทศที่เราเลือกไว้สำหรับเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ คือ “ประเทศไทย” จากนี้ไป เจ้าจะเป็นที่รู้จักในนามของ “ประเทศแห่งไฟ”
เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2009 ดร.ชัค เพียส เผยพระวจนะถึงประเทศไทยในการประชุมประจำปีของคริสตจักร Glory of Zion ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีข้อความบางตอนว่า
“... นี่เป็นการเคลื่อนไหวแบบอัครทูต ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในแถบนี้ของโลกมาก่อน แล้วเจ้าจะเริ่มเห็นการปรับเปลี่ยนอย่างมากเกิดขึ้นในคริสตจักร คริสตจักรจะไม่เหมือนกับในอดีตอีก เรากำลังลงมา และกระทำกิจในประเทศนี้ ...”
พระเจ้า ประสงค์จะให้คริสตจักรในประเทศไทยก้าวเข้าสู่พันธสัญญาของพระองค์ ดังคำเผยพระวจนะที่เราได้รับแล้วนั้น ดร.ชัค เพียส จึงได้ส่งทีมจากคริสตจักรของท่าน
มาเตรียมคริสตจักรในประเทศไทยให้ลุกขึ้น ต่อสู้เพื่อไปให้ถึงจุดหมายที่พระเจ้ามีสำหรับเรา นั่นเป็นเสียงที่พระเจ้ากำลังบอกและพระองค์ทรงกำลังขับเคลื่อนคริสตจักรในประเทศไทย แต่สิ่งที่คริสตจักรของประเทศไทยต้องทำคือเตรียมรองรับ
นั่นคือปรับรูปแบบการรับใช้ใหม่ เริ่มจากความคิดแบบเดิมสู่ความคิดแบบใหม่เป็น”คริสตจักรแบบถุงหนังน้ำองุ่นใหม่” ตามที่คำอุปมาของพระเยซูคริสต์เปรียบเทียบไว้ใน (มัทธิว 9:17)และเขาไม่เอาน้ำองุ่นหมักใหม่มาใส่ในถุงหนังเก่า ถ้าทำอย่างนั้นถุงหนังจะขาด น้ำองุ่นจะรั่ว ทั้งถุงหนังก็จะเสียไปด้วย แต่เขาย่อมเอาน้ำองุ่นหมักใหม่ใส่ในถุงหนังใหม่ แล้วทั้งสองอย่างก็อยู่ดีด้วยกันได้"
เพราะหากคริสตจักรยังมีความคิดแบบเดิม เมื่อเทน้ำองุ่นแห่งการอวยพรสิ่งใหม่ที่พระเจ้ากำลังจะเคลื่อน ในประเทศไทยลงมา ก็จะ “เสียของ” หรือ โครงสร้างเดิมที่เหมือนถุงหนังเก่า ของที่อยู่ในนั้นก็กลายเป็น “ของเสีย” ที่ใช้การไม่ได้
การสัมมนาครั้งนี้ ผมได้รับการเตรียมชีวิตเพื่อให้มีบทบาทต่อแผนการในยุคสุดท้ายของพระเจ้า
พระเจ้าจะทำให้เราจะได้มีชัย ไม่ใช่เป็นเหยื่อมารศัตรูตัวฉกาจในสงครามฝ่ายวิญญาณอีกต่อไป เพราะ
“ถึงเวลาแล้วที่โลกนี้จะเห็นผู้เชื่อ และคริสตจักรแตกต่างจากที่เคยรู้จัก....อย่างสิ้นเชิง”
ขอขอบคุณสำหรับวิทยากรทุกท่านคือดร.โรเบิร์ต และ ดร.ลินดา ไฮด์เลอร์ (Dr.Robert &Dr.LindaHeilder)
,อ.แอลัน เฟาว์เบียน (Rev.Allen Faubion),อ.จอห์น และ อ.เชอร์ริล ไพรช (John & Shelry Price)
จาก Glory of Zion International Ministries ที่เดินทางมาประเทศไทยเพื่อช่วยคริสตจักรของเราให้เคลื่อนไปข้างหน้า (Moving Forward) สู่แผนการของพระเจ้า
นับตั้งแต่ปี 2006 ที่ดร.โรเบิร์ต และ ดร.ลินดา ไฮด์เลอร์ เดินทางมาประเทศไทย ที่พัทยา จ.ชลบุรี
และพระเจ้าได้ให้นิมิตแก่ท่าน เรื่องลมแห่งพระวิญญาณที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย แม้ประตูแห่งอุปสรรคจะขัดขวางแต่การเคลื่อนไปของลมแห่งพระวิญญาณของพระเจ้ากำลังเข้าสู่ประเทศไทยอย่างรวดเร็วและไม่ทราบมาก่อน สรรเสริญพระเจ้าที่พระองค์ได้ทำการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ในประเทศไทย
ถึงเวลาแล้วที่คริสตจักรในประเทศไทยจะต้องบินขึ้นเหมือนนกอินทรีที่บินสูงขึ้นด้วยพลังลมที่ใต้ปีก
นับแต่นั้นมาท่านและทีมงาน Glory of Zion International Ministries ก็เดินทางมาประเทศไทยทุกปีเพื่อเตรียมคริสตจักรในประเทศไทยให้เข้าใจในเรื่องคริสตจักรแบบถุงหนังองุ่นใหม่ เป้าหมายชีวิตของเรา กาลเวลาของพระเจ้าตามปฎิทินของพระเจ้า และการขับเคลื่อนกองกำลังแห่งชัยชนะในปี 2010
ขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับวิทยากรทุกท่าน ที่แม้ว่าจะได้เป็นคนไทยแต่ประเทศอยู่ในหัวใจของท่านที่มาช่วยเหลือคริสตจักรต่างๆในประเทศไทย
ถึงเวลาแล้วที่คริสตจักรในประเทศไทยต้องช่วยกันขับเคลื่อนกองกำลังแห่งชัยชนะเพื่อประเทศไทยของเรา
ขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับความรักของพระองค์ที่มีต่อคนไทย เราเป็นคนที่พระเจ้าโปรดปรานแบบไม่ธรรมดา (Uncommon favor)
เมื่อเรามีความสนิทสนมกับพระเจ้า พระองค์นำสู่ชัยชนะ และนำสู่ฤทธิ์อำนาจมาสู่ชีวิตของเรา
ในวันนี้ผมได้นำข้อคิดที่ได้จากการสัมมนามาเรียบเรียงเขียนให้อ่านดังนี้ครับ (หนุนใจว่าติดต่อซื้อ VCD มาฟังจะดีมาก ++)
เริ่มเป่าแตร แถลงการณ์ ชักธงรบ
นับตั้งแต่ที่พระเยซูคริสต์ลงมาถือกำเนิดและพระองค์เริ่มทำพระราชกิจ มารก็เข้ามา “ลองของ” ทดลองพระเยซูคริสต์ (มธ.4) แต่พระเยซูคริสต์ทรงมีชัยชนะต่อมาร
มธ.6 คำอธิษฐานของพระเยซูคริสต์ต่อพระบิดา ขอคืนพื้นที่จากมาร ให้แผ่นดินของพระเจ้ามาตั้งอยู่แทนที่การครอบครองของมารในโลกนี้
มัทธิว 6:10 ขอให้แผ่นดินของพระองค์มาตั้งอยู่ ขอให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์ ในสวรรค์เป็นอย่างไรก็ให้เป็นไปอย่างนั้นในแผ่นดินโลก
พระเยซูคริสต์ประกาศสงครามกับมาร และนำการปลดปล่อยเชลยศึก
ลูกา 4:18 พระวิญญาณแห่งพระเป็นเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะว่าพระองค์ได้ทรงเจิมตั้งข้าพเจ้าไว้ เพื่อนำข่าวดีมายังคนยากจน พระองค์ได้ทรงใช้ข้าพเจ้าให้ร้องประกาศอิสรภาพแก่บรรดาเชลย ให้ประกาศแก่คนตาบอดว่าจะได้เห็นอีก ให้ปล่อยผู้ถูกบีบบังคับเป็นอิสระ
ที่บนกางเขนพระองค์ประกาศชัยชนะเหนือความบาปความตาย และมอบชัยชนะแก่เราผ่านทางกางเขน
1โครินธ์ 15:54-57
54 ...เมื่อนั้นตามซึ่งเขียนไว้ในพระคัมภีร์จะสำเร็จว่า ความตายก็ถูกกลืนถึงปราชัยแล้ว
55 โอ มัจจุราชเอ๋ย ชัยชนะของเจ้าอยู่ที่ไหน โอ มัจจุราชเอ๋ย เหล็กไนของเจ้าอยู่ที่ไหน
56 เหล็กไนของความตายนั้นคือบาป และฤทธิ์ของบาปคือธรรมบัญญัติ
57 สาธุการแด่พระเจ้าผู้ทรงประทานชัยชนะแก่เราทั้งหลาย โดยพระเยซูคริสตเจ้าของเรา
เมื่อพระเยซูคริสต์เสด็จขึ้นสวรรค์และเมื่อพระวิญญาณเทลงมาในกิจการฯบทที่ 2 เป็นการสถาปนาคริสตจักรแบบเป็นทางการ นั่นหมายความว่า สงครามฝ่ายวิญญาณได้เริ่มต้นแล้ว
คริสตจักรกับมารซาตานจะต้องสู้รบกันเพื่อย่งชิงยุทธภูมิคือโลกใบนี้มาครอบครอง
เอเฟซัส 6:12 เพราะว่าเราไม่ได้ต่อสู้กับเนื้อหนังและเลือด แต่ต่อสู้กับเทพผู้ครอง ศักดิเทพ เทพผู้ครองพิภพในโมหะความมืดแห่งโลกนี้ ต่อสู้กับเหล่าวิญญาณที่ชั่วในสถานฟ้าอากาศ
ผมมีข่าวจะบอกทุกท่านว่ามีทั้งข่าวดีและข่าวร้าย นั่นคือ
ข่าวร้าย : เรากำลังอยู่ในสงครามวิญญาณ (Spiritual Warfare)
ข่าวดี : เราจะมีชัยชนะ เพราะพระเจ้าของเราจะเป็นพระเจ้าจอมโยธา (Yahweh Sabaoth) ผู้ประทานชัยชนะในสงครามฝ่ายวิญญาณ
สดุดี 80:19 ข้าแต่พระเจ้าจอมโยธา ขอทรงช่วยข้าพระองค์ทั้งหลายให้กลับสู่สภาพดี ขอพระพักตร์ของพระองค์ทอแสง เพื่อข้าพระองค์ทั้งหลายจะรอดได้
2โครินธ์ 2:14 แต่ขอบพระคุณพระเจ้า ผู้ทรงนำเราเสมอมาโดยพระคริสต์ด้วยความมีชัย …
ประกาศสงครามฝ่ายวิญญาณ
คำแถลงการณ์จากมารซาตาน (The Satanic manifesto) :มารมาเพื่อลัก ฆ่าและทำลาย
ยอห์น 10:10 ขโมยนั้นย่อมมาเพื่อจะลักและฆ่าและทำลายเสีย…
แถลงการณ์จากพระคริสต์ (The Messianic manifesto) : พระเยซูมาเพื่อเราได้รับชีวิตอย่างครบบริบูรณ์
ยอห์น 10:10 …เราได้มาเพื่อเขาทั้งหลายจะได้ชีวิต และจะได้อย่างครบบริบูรณ์
นั่นเป็นสงครามที่มีสมรภูมิการรบคือ "โลกใบนี้" และ มารก็เป็นเจ้าแห่งการรบแบบกองโจร ที่คอยซุ้มโจมตีแบบ Sniper ยิงลูกศรเพลิงเข้ามาในความคิดของเราให้หลงกลมาร ดังนั้นเราต้องป้องกันตัวอยู่เสมอโดยการสวมยุทธภัณฑ์ในการรอบให้พร้อม
เอเฟซัส 6:11 จงสวมยุทธภัณฑ์ทั้งชุดของพระเจ้า เพื่อจะต่อต้านยุทธอุบายของพญามารได้
เอเฟซัส 6:16 และพร้อมกับสิ่งทั้งหมดนี้ จงเอาความเชื่อเป็นโล่ ด้วยโล่นั้นท่านจะได้ดับลูกศรเพลิงของพญามารเสีย
เราจะสามารถมีชัยชนะในสงครามฝ่ายวิญญาณได้อย่างไร
1. มีหน่วยข่าวกรองที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
ซุนวู เป็นนักการทหารของจีน ผู้เขียนตำราพิชัยสงคราม 13 บทของเขานั้นได้รับการยอมรับจากหลาย ๆ แวดวงทั้งการทหาร การเมือง การปกครองและธุรกิจ จนถึงทุกวันนี้
ชุนวูได้เสนอความคิดในการพิชิตศึกทุกสมรภูมิว่า “ รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ไม่รู้เขาแต่รู้เราชนะหนึ่งพ่ายหนึ่ง ไม่รู้เขาไม่รู้เรา ทุกรบจักพ่ายแพ้ ”
ดังนั้นในการทำการรบในสงครามหน่วยข่าวกรองที่ดีทำให้รู้จักประเมินกองกำลังของศัตรู และรู้จักกองกำลังของเรา
ในสัมมนาที่ผ่านมา วิทยากรได้สอนให้เข้าใจในเรื่องของการปกครองของสวรรค์ ลำดับขั้นการปกครองของมารซาตาน เรียกว่า ระดับ “ขั้นเทพ” (เทพผู้ครอง ศักดิเทพ เทพผู้ครองพิภพ)
เอเฟซัส 6:12 เพราะว่าเราไม่ได้ต่อสู้กับเนื้อหนังและเลือด แต่ต่อสู้กับเทพผู้ครอง ศักดิเทพ เทพผู้ครองพิภพในโมหะความมืดแห่งโลกนี้ ต่อสู้กับเหล่าวิญญาณที่ชั่วในสถานฟ้าอากาศ
เราต้องรู้จักกองกำลังของมารและเข้าใจกองกำลังของเรา ในสงครามฝ่ายวิญญาณจึงต้องตื่นตัวเสมอในการรับทราบข่าวสารและข้อมูลต่างๆ เพื่อตัดสินใจในการทำการต่อสู้ จะเห็นจากตัวอย่างในพระคัมภีร์ ในการทำการรบจึงมีการส่งหน่วยสอดแนม เช่น โยชูวา (กดว.14) เข้าไปเพื่อประเมินกำลังข้าศึก
2. จัดตั้งกองกำลัง วางหมากให้เหมาะสม เดินกองกำลังคนให้ถูกที่และถูกเวลา
(Put the right man in the right job and right time.)
ในการสัมมนาครั้งนี้ คือ ขับเคลื่อนกองกำลังแห่งชัยชนะ ผมประทับใจและได้ข้อคิดจากพระคัมภีร์ในช่วงอพยพที่พระเจ้าทรงวางกำลังของเผ่าอิสราเอลไว้ 12 เผ่า แต่ละเผ่ามีอัตลักษณ์ (Identity) เป็นของตนเองแต่พระเจ้าทรงให้มีการเคลื่อนกองกำลังโดยให้คนเผ่าเลวีหามหีบพันธสัญญา และเคลื่อนไปเป็นเผ่าต่างๆ
เริ่มต้นด้วย เผ่ายูดาห์ เป็นนักปกครอง ตามด้วยเผ่าอิสสาคาร์ ผู้รู้กาลเวลาของพระเจ้า ตามด้วยเศบูลุน จากนั้นเป็นกลุ่ม 3 เผ่าคือ รูเบน,สิเมโอนและกาด,ตามด้วย เบนยามิน,เอฟราอิมและมนัสเสห์ และปิดด้วย 3 เผ่าที่เฝ้าระวังหลังคือ ดาน อาเชอร์ และนัฟทาลี
ข้อคิดคือ เราทุกคนต้องรู้ว่าเราอยู่ในเผ่าไหน มีความสามารถด้านใด และเมื่อเรามาร่วมกันแต่ละเผ่า เราจะเป็นกองกำลังแห่งชัยชนะของพระเจ้า
การขับเคลื่อนคริสตจักรแบบพันธกรทั้ง 5 (Fivefold Ministry) คือการขับเคลื่อนคริสตจักรโดยการรับใช้ตามของประทาน ตามพระวจนะใน
เอเฟซัส 4:11-12
11 ของประทานของพระองค์ ก็คือให้บางคนเป็นอัครทูต บางคนเป็นผู้เผยพระวจนะ บางคนเป็นผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ บางคนเป็นศิษยาภิบาลและอาจารย์
12 เพื่อเตรียมธรรมิกชนให้เป็นคนที่จะรับใช้ เพื่อเสริมสร้างพระกายของพระคริสต์ให้จำเริญขึ้น
ผมขอเปรียบเทียบการรับใช้ในคริสตจักรแบบพันธกรทั้ง 5 เป็นการแข่งขันหมากรุกไทย การวางหมากให้ถูกต้องและเดินแบบมีหลัก ก็จะสามารถได้รับใช้ชนะได้
หมากรุกไทย เป็นกีฬาที่ใช้ความคิดในการวางตัวเล่นทั้ง 16 ตัว ซึ่งแต่ละตัวทำหน้าที่ต่างๆกัน ตามตำแหน่งที่วาง
"ขุน" ตัวหมากรุกที่สำคัญที่สุด มีการเดินและกินไปในทิศทางรอบตัวได้ เปรียบเสมือน “จอมทัพ”ในการขับเคลื่อนการดิน เพราะเป็นหมากที่มีความสำคัญ หากขุนถูกกินฝ่ายนั้นก็จะพ่ายแพ้ เปรียบเสมือนอัครทูต
อัครทูต ที่ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนของประทานต่างๆ ให้เดินหมากในคริสตจักร(อฟ.2:20)
"ม้า" มีการเดินและกินเป็นรูปตัว L ในทิศทางรอบตัว สามารถข้ามหมากตัวอื่นได้ มีความสำคัญในการขับเคลื่อนและใช้สำหรับผูกหมากรุกตัวอื่นไม่ให้ถูกกินฟรี เปรียบเทียบได้กับ “ผู้เผยพระวจนะ”
ผู้เผยพระวจนะทำหน้าที่ให้ทิศทางและช่วยกำกับดูแลสมาชิกไม่ให้เดินผิดพลาดไป (กจ.3:23)
"เม็ด" มีการเดินและกินไปในแนวทแยงทั้ง 4 ด้าน เม็ด...เป็นหมากที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว เมื่อเริ่มเปิดหมากบนกระดาน จะเปิดเม็ดไปยืนหน้า เพื่อต้านคู่ต่อสู้ ยืนรองมาจากเบี้ย ในกระดานหมากรุกไทย ก็เปรียบได้กับการต่อสู้ประชิดตัว เม็ดจะเดินทแยงไปครั้งละ 1 ตาทั่วกระดาน เดินทแยงและกินทแยง ไม่สามารถเดินตรงหรือถอยตรงได้ ความพิเศษคือสามารถก่อเกิดขึ้นใหม่ได้ โดยการเดินเบี้ยมาเข้าตาหงาย ก็จะแปลงร่างเป็นเม็ดได้อีกตามจำนวนเบี้ยหงาย เปรียบเทียบได้กับ “ศิษยาภิบาล”
“ศิษยาภิบาล” ทำหน้าที่ในการอภิบาลสมาชิก สอนและฝึกฝนสร้างชีวิตของสมาชิกให้เป็นผู้ที่สอนคนอื่นได้ด้วย (2 ทธ.2.2)
"โคน" มีการเดินและกินไปในแนวทแยงทั้ง 4 ด้านและเดินไปทางข้างหน้า โคนเป็นกำลังเสริมเปรียบเสมือน “อาจารย์”
อาจารย์ ที่ทำหน้าที่สอนและเตรียมสมาชิกในคริสตจักร ตลอดจนให้คำปรึกษาด้านต่างๆ
( 1 คร.12:28,รม.12:7)
"เรือ" มีการเดินและกินไปในแนวตั้ง-แนวนอน ระยะยาว ไม่สามารถเดินข้ามตัวอื่นๆได้เป็นหมากที่มีการเดินทางได้ยาวที่สุด เรือจึงเป็นตัวหมากที่สำคัญมาก นักเล่นหมากรุกจะไม่ยอมเสียเรือ แลกกับฝ่ายตรงข้ามเลย ทีเดียว เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่เล่นหมากรุกเป็น จะต้องหัดเดินเรือให้ชำนาญเสียก่อน จึงจะหัดเดินตัวหมากอื่นต่อไป เรือจึงเปรียบเทียบได้กับ "ผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ หรือนักประกาศฯ"
ผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ เป็นผู้ที่เดินทางและประกาศข่าวประเสริฐบุกเบิกเปิดคริสตจักรใหม่ๆจึงเกิดขึ้น
นี่คือหมากที่เป็นตัวหลักที่ทำการขับเคลื่อน แต่หมากรุกจะมีความสมบูรณ์ได้ต้งมีการขับเคลื่อนเดินเบี้ยไปด้วย
"เบี้ย" จึงเปรียบเทียบได้กับคริสตสมาชิก ที่ต้องถูกจัดวางและเดินหมากไปอย่างเหมาะสม
เบี้ย มีการเดินไปทางข้างหน้าและกินในแนวทแยงด้านหน้า เมื่อเบี้ยไปถึงแนววางเบี้ยของฝ่ายตรงข้ามจะกลายเป็นเบี้ยหงาย และมีการเดินและกินเช่นเดียวกับเม็ดทุกประการ สมาชิกก็เช่นกันต้องเดินไปสู่จุดหมายและพัฒนาไปสู่บทบาทที่สูงขึ้น
เมื่อคริสตจักรต่อสู้ในสงครามฝ่ายวิญญาณ การเคลื่อนไปในตารางการเดินเป็นสิ่งที่สำคัญ และต้องสอดคล้องกับช่วงเวลา อย่าคิดแต่เปิดเกมรุกจนต้องพลาดพลั้ง ระวังรุกเสียม้า จะเข้าตาจน และอย่าเดินหมากเดี่ยว เดี่๋ยวจะเสียเบี้ยฟรี ต้องมีการผูกกันไว้เพื่อไม่ให้เสียเบี้ย
ในวันนี้ถึงเวลาที่คริสตจักรจะตอบกลับพญามาร วางแผนเดินหมาก รุกฆาตให้มารจนกระดาน หงายเงิบ ต้องล้มกระดาน แตกทัพอับอายกลับไป
หมากเกมนี้ เราก็รู้ว่าลงเอยอย่างไร ไม่ต้องรอให้จบเกม และนับศักดิ์กะดาน เพราะพระเจ้าทรงเป็นผู้นำเราไปสู่ชัยชนะ ถึงเวลาที่เซียนต้องจนกระดานในบั้นปลาย
ประการต่อมาคือ การจัดทัพ โดยขอกำลังเสริมจากหน่วย SWAT
ขอกำลังเสริมจากหน่วย S.W.A.T
หน่วยสวาท ในภาษาอังกฤษคือคำว่า S.W.A.T ย่อมาจาก (Special Weapons And Tactics) ไม่ใช่คำว่า “สวาท” ภาษาไทยนะครับ เพราะความหมายจะเปลี่ยนไป
หน่วย S.W.A.T จะเป็นหน่วยรบอาวุธพิเศษที่มียุทธวิธีในการรบที่ถูกฝึกมาอย่างดี เป็นหน่วยที่เคลื่อนที่ได้เร็วและมีความชำนาญเฉพาะด้าน มาช่วยเสริมกองทัพ ในสงครามฝ่ายวิญญาณเช่นเดียวกันต้องการหน่วยพิเศษที่ถูกฝึกฝนมาอย่างดี SWAT ย่อมาจาก
Spiritual armor สวมยุทธภัณฑ์ครบชุด (อฟ.6:11-17)
เอเฟซัส 6:11-17
11 จงสวมยุทธภัณฑ์ทั้งชุดของพระเจ้า เพื่อจะต่อต้านยุทธอุบายของพญามารได้
12 เพราะว่าเราไม่ได้ต่อสู้กับเนื้อหนังและเลือด แต่ต่อสู้กับเทพผู้ครอง ศักดิเทพ เทพผู้ครองพิภพในโมหะความมืดแห่งโลกนี้ ต่อสู้กับเหล่าวิญญาณที่ชั่วในสถานฟ้าอากาศ
13 เหตุฉะนั้นจงรับยุทธภัณฑ์ทั้งชุดของพระเจ้าไว้ เพื่อท่านจะได้ต่อต้านในวันอันชั่วร้ายนั้น และเมื่อเสร็จแล้วจะอยู่อย่างมั่นคงได้
14 เหตุฉะนั้นท่านจงมั่นคง เอาความจริงคาดเอว เอาความชอบธรรมเป็นทับทรวงเครื่องป้องกันอก
15 และเอาข่าวประเสริฐแห่งสันติสุข ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความพรั่งพร้อมมาสวมเป็นรองเท้า
16 และพร้อมกับสิ่งทั้งหมดนี้ จงเอาความเชื่อเป็นโล่ ด้วยโล่นั้นท่านจะได้ดับลูกศรเพลิงของพญามารเสีย
17 จงเอาความรอดเป็นหมวกเหล็กป้องกันศีรษะ
Word of God พระวจนะของพระเจ้าเป็นเสมือนดาบที่ใช้ต่อสู้กับมาร
เอเฟซัส 6:17 …และจงถือพระแสงของพระวิญญาณ คือ พระวจนะของพระเจ้า
พระวจนะของพระเจ้าจะเป็นอาวุธที่ใช้ในการต่อสู้กับมาร แบบพระเยซูคริสต์ใช้พระวจนะต่อสู้กับมารและมารก็หนีพระองค์ไป (มัทธิว 4:1-11)
Angel’s Army กองกำลังทูตสวรรค์ ของพระเจ้าเข้ามาช่วยรบ
ปฐมกาล 32:2 เมื่อยาโคบเห็นทูตสวรรค์เหล่านั้นจึงว่า "นี่แหละกองทัพของพระเจ้า" จึงเรียกสถานที่นั้นว่า "มาหะนาอิม" {ในที่นี้หมายว่า กองทัพสองกองทัพ}
สิ่งที่สำคัญสำหรับการต่อสู้ฝ่ายวิญญาณคือกองกำลังจากทูตสวรรค์ที่มาช่วย พระเยซูคริสต์บอกว่าเราแต่ละคนมีทูตสวรรค์ประจำตัวปกป้อง (มัทธิว 18:10)
…ทูตสวรรค์ประจำของเขาเฝ้าอยู่เสมอ ต่อพระพักตร์พระบิดาของเราผู้ทรงสถิตในสวรรค์
ดังนั้นทูตสวรรค์ คือ มีคาเอลจะมาช่วยทำการรบให้ในสงครามฝ่ายวิญญาณ
วิวรณ์ 12:7 ขณะนั้นเกิดสงครามขึ้นในสวรรค์ มีคาเอล กับเทพบริวารของท่านได้ต่อสู้กับพญานาค และพญานาคกับบริวารของมันก็ต่อสู้
Triumphant reserve กำลังเสริมจากกองสนับสนุน
ในการเคลื่อนพลอพยพออกจากอียิปต์ของมาถึงภูเขาซีนาย อิสราเอลได้ออกเดินทางเป็นลำดับตามที่พระเจ้าทรงตรัสสั่งโมเสสได้
ดังนั้นเมื่อเรารู้ว่าเราอยู่ในเผ่าใด เราก็จะเคลื่อนตามการทรงนำของพระเจ้าไปได้ ผมเชื่อว่าการทำงานของคริสตจักรต่างๆก็เช่นกัน คริสตจักรเดียวไม่สามารถต่อสู้ลำพังได้ เพราะมีความสามารถและของประทานไม่ครบจึงต้องมาช่วยกันต่อสู้กับมาร
นอกจากนี้ต้องมีการตั้งจัดตั้งศูนย์อธิษฐานเฉพาะกิจ (ศอจ.)
เอเฟซัส 6:18 จงอธิษฐานวิงวอนทุกอย่าง จงขอโดยพระวิญญาณทุกเวลา ทั้งนี้จงระวังตัวด้วยความเพียรทุกอย่าง จงอธิษฐานเพื่อธรรมิกชนทุกคน
ขอบคุณพระเจ้าที่คริสตจักรต่างๆในประเทศไทยเริ่มมีเครือข่ายอธิษฐานแห่งประเทศไทยในการทำยุทธาษิฐาน (Intercession) เพื่ออธิษฐานอวยพระพรในประเทศไทย (www.blessthailand.net)
ผมเชื่อว่า นี่เป็นเวลาของพระเจ้าในช่วงปีใหม่ของยิว คือ รอชฮาชานา เป็นเสียงแตรของพระเจ้าที่กำลังปลุกให้พลไพร่ของพระเจ้าพร้อมที่จะประจัญบานในสงครามฝ่ายวิญญาณ
ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายนนี้จะเป็นวันเดินอธิษฐานแห่งชาติ เพื่อประกาศการอวยพระพรของพระเจ้ามาสู่ประเทศไทย คริสตจักรต่างๆจะจัดขบวนจากท้องสนามหลวงและเดินอธิษฐานไปจนถึงสะพานพระราม 8 และไปส่งเสียงนมัสการที่นั่น
ผมเชื่อว่าการอวยพระพรจะมาสู่ประเทศไทยท่ามกลางความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคริสตจักรไทย
สดุดี 133:1-3
1 ดูเถิด ซึ่งพี่น้องอาศัยอยู่ด้วยกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ก็เป็นการดี และน่าชื่นใจมากสักเท่าใด
2 เหมือนน้ำมันประเสริฐอยู่บนศีรษะไหลอาบลงมาบนหนวดเครา บนหนวดเคราของอาโรน ไหลอาบลงมาบนคอเสื้อของท่าน
3 เหมือนน้ำค้างของภูเขาเฮอร์โมน ซึ่งตกลงบนเทือกเขาศิโยน เพราะว่าพระเจ้าทรงบังคับบัญชาพระพรที่นั่น คือชีวิตจำเริญเป็นนิตย์
ได้เวลาที่คริสตจักรต่างๆ จะต้องจัดทัพขับเคลื่อนสู่กองกำลังแห่งชัยชนะแล้ว
คุณอยู่เผ่าไหนในกองกำลังของพระเจ้า?
ในการเคลื่อนพลอพยพออกจากอียิปต์ของมาถึงภูเขาซีนาย อิสราเอลได้ออกเดินทางเป็นลำดับตามที่พระเจ้าทรงตรัสสั่งโมเสสได้ดังนี้
ต้นขบวนนำโดยเผ่ายูดาห์ เผ่าอิสสาคาร์ เผ่าเศบูลุน และตามด้วยวงศ์วานเกอร์โชน และวงศ์วานเมรารี ตามลำดับ ต่อด้วยเผ่ารูเบน เผ่าสิเมโอน เผ่ากาด และตามด้วยวงศ์วานโคอาทตามลำดับ และปิดขบวนด้วย เผ่าเอฟราอิม เผ่ามนัสเสห์ เผ่าเบนยามิน เผ่าดาน เผ่าอาเชอร์ และเผ่านัฟทาลีเป็นลำดับสุดท้าย
ดังนั้นเมื่อเรารู้ว่าเราอยู่ในเผ่าใด เราก็จะเคลื่อนตามการทรงนำของพระเจ้าไปได้ วันนี้ ผมจึงมีแบบทดสอบจาก Web.เพื่อเทียบปฎิทินระหว่างวันเดือนปีเกิดของเรา กับ ปฎิทินฮีบรู ตาม Web.นี้ครับ
http://www.bsswebsite.me.uk/Daysanddates/hebrewdate.htm
ใส่วันเดือนปีเกิดของเรา หากช่วงเวลาเกิดหลังดวงอาทิตย์ตก ต้อง Click ในช่อง After sunset เพราะปฎิทินยิวนับวันใหม่หลังจากดวงอาทิตย์ตก เสร็จแล้ว ก็กดที่ปุ่ม Gregorian to Hebrew เราก็จะได้วันเดือนปีเกิดของเราในปฎิทิน ฮีบรู
และเข้าไปเทียบเผ่าจากเดือนของเราที่ Web.http://www.inner.org/times/times.htm
เราก็จะทราบว่าเราอยู่ในเผ่าใด และไปศึกษาว่าแต่ละเผ่ามีลักษณะอย่างไร มี Web.ที่ให้ความหมายตามนี้ครับ
http://www.teachinghearts.org/dre17hstsanct2.html
http://www.templesanjose.org/JudaismInfo/history/12tribes.htm
ความหมายเผ่าต่างๆ ภาษาไทย
http://translate.google.co.th/translate?hl=th&langpair=enCth&u=http://en.wikipedia.org/wiki/Israelites
Click ตามชื่อเผ่าได้ครับ
ตัวอย่างของผม ผมเกิดวันที่ 23 November เทียบกับปฏิทินยิวจะตรงวันที่ 19 เดือน kislev ปี 5736
ช่วงสัปดาห์ Yom rishon คือ สัปดาห์แรก ของ 7 สัปดาห์ สัปดาห์ที่ 7 คือ สัปดาห์สะบาโต Sabbath day ให้หยุดพัก (Rest day)
ผมจะอยู่ในเผ่า เบนยามิน มีลักษณะคือเป็นเผ่าแห่งชัยชนะ มีความมั่นใจ ชอบพักผ่อนในการนอน มีความสามารถในการรบและสอนผู้อื่นได้ในการรบ
ตัวอักษรประจำเผ่า คือตัว ס samech รูปเหมือนใบหู สัญลักษณ์พื้นฐานความจริงปรากฏ ตั้งอยู่บนความจริง
ลองเข้าไปเทียบดูได้ครับ (ไม่ได้เทียบเพื่อดูดวงแต่เพื่อระลึกถึงความหมายในฝ่ายวิญญาณ เพื่อให้นำชีวิตเราอยู่ในเวลาของพระเจ้า)
เราศึกษาเรื่องเผ่าต่างๆของอิสราเอลเพื่อเราอยู่ในกองกำลังของพระเจ้าในเผ่าต่างๆ เพื่อมีส่วนรับใช้ตามบทบาทของเรา และผมก็ไม่ใช่หมอดูนะครับ ไม่อยากเป็นหมอดูทัก ฟันธงผิด หมอดูคิด บอก Confirm แต่พระเจ้า Cancel
หนุนใจว่าพี่น้องไปศึกษาด้วยตนเองและแสวงหาพระเจ้า จะได้รับคำตอบจากพระองค์
ขอพระเจ้าอวยพระพรครับ
ต้นขบวนนำโดยเผ่ายูดาห์ เผ่าอิสสาคาร์ เผ่าเศบูลุน และตามด้วยวงศ์วานเกอร์โชน และวงศ์วานเมรารี ตามลำดับ ต่อด้วยเผ่ารูเบน เผ่าสิเมโอน เผ่ากาด และตามด้วยวงศ์วานโคอาทตามลำดับ และปิดขบวนด้วย เผ่าเอฟราอิม เผ่ามนัสเสห์ เผ่าเบนยามิน เผ่าดาน เผ่าอาเชอร์ และเผ่านัฟทาลีเป็นลำดับสุดท้าย
ดังนั้นเมื่อเรารู้ว่าเราอยู่ในเผ่าใด เราก็จะเคลื่อนตามการทรงนำของพระเจ้าไปได้ วันนี้ ผมจึงมีแบบทดสอบจาก Web.เพื่อเทียบปฎิทินระหว่างวันเดือนปีเกิดของเรา กับ ปฎิทินฮีบรู ตาม Web.นี้ครับ
http://www.bsswebsite.me.uk/Daysanddates/hebrewdate.htm
ใส่วันเดือนปีเกิดของเรา หากช่วงเวลาเกิดหลังดวงอาทิตย์ตก ต้อง Click ในช่อง After sunset เพราะปฎิทินยิวนับวันใหม่หลังจากดวงอาทิตย์ตก เสร็จแล้ว ก็กดที่ปุ่ม Gregorian to Hebrew เราก็จะได้วันเดือนปีเกิดของเราในปฎิทิน ฮีบรู
และเข้าไปเทียบเผ่าจากเดือนของเราที่ Web.http://www.inner.org/times/times.htm
เราก็จะทราบว่าเราอยู่ในเผ่าใด และไปศึกษาว่าแต่ละเผ่ามีลักษณะอย่างไร มี Web.ที่ให้ความหมายตามนี้ครับ
http://www.teachinghearts.org/dre17hstsanct2.html
http://www.templesanjose.org/JudaismInfo/history/12tribes.htm
ความหมายเผ่าต่างๆ ภาษาไทย
http://translate.google.co.th/translate?hl=th&langpair=enCth&u=http://en.wikipedia.org/wiki/Israelites
Click ตามชื่อเผ่าได้ครับ
ตัวอย่างของผม ผมเกิดวันที่ 23 November เทียบกับปฏิทินยิวจะตรงวันที่ 19 เดือน kislev ปี 5736
ช่วงสัปดาห์ Yom rishon คือ สัปดาห์แรก ของ 7 สัปดาห์ สัปดาห์ที่ 7 คือ สัปดาห์สะบาโต Sabbath day ให้หยุดพัก (Rest day)
ผมจะอยู่ในเผ่า เบนยามิน มีลักษณะคือเป็นเผ่าแห่งชัยชนะ มีความมั่นใจ ชอบพักผ่อนในการนอน มีความสามารถในการรบและสอนผู้อื่นได้ในการรบ
ตัวอักษรประจำเผ่า คือตัว ס samech รูปเหมือนใบหู สัญลักษณ์พื้นฐานความจริงปรากฏ ตั้งอยู่บนความจริง
ลองเข้าไปเทียบดูได้ครับ (ไม่ได้เทียบเพื่อดูดวงแต่เพื่อระลึกถึงความหมายในฝ่ายวิญญาณ เพื่อให้นำชีวิตเราอยู่ในเวลาของพระเจ้า)
เราศึกษาเรื่องเผ่าต่างๆของอิสราเอลเพื่อเราอยู่ในกองกำลังของพระเจ้าในเผ่าต่างๆ เพื่อมีส่วนรับใช้ตามบทบาทของเรา และผมก็ไม่ใช่หมอดูนะครับ ไม่อยากเป็นหมอดูทัก ฟันธงผิด หมอดูคิด บอก Confirm แต่พระเจ้า Cancel
หนุนใจว่าพี่น้องไปศึกษาด้วยตนเองและแสวงหาพระเจ้า จะได้รับคำตอบจากพระองค์
ขอพระเจ้าอวยพระพรครับ
11 กันยายน 2553
เทศกาลอยู่เพิง(Feast of Tabernacles)
(ลงข่าวคริสตชนวันที่ 15 ก.ย.2010)
ในช่วงเดือนกันยายนมีเทศกาลของอิสราเอลที่มีความสำคัญสำหรับคริสตชน คืออยู่ในช่วงปีใหม่มุ่งสู่ปี 5771 ปีแห่งการเตรียมชีวิตสู่พระสิริของพระเจ้าจะเทลงมา
ในวันที่ 8-9 กันยายน เทศกาลเป่าแตรเขาสัตว์ (Rosh Hashanah) เริ่ม 8 กย 18.00 น. ต่อด้วย วันที่ 17-18 กันยายน วันลบมลทินบาป และวันที่ 22-29 กันยายน เทศกาลอยู่เพิง
พระเจ้าได้กำหนดให้มีเทศกาลที่ชาวยิวเดินทางไปรวมตัวกันเพื่อนมัสการพระเจ้าและถวายเครื่องบูชาแด่พระองค์โดยกำหนดให้เป็นเวลาที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละปี
Feast of Tabernacles (เทศกาลอยู่เพิง) หรือ Feast of Booths หรือ “Sukkot” คำว่า Sukkot เป็นพหูพจน์ของคำว่า Sukkah หมายถึง "เพิง" หรือ "กระท่อม" ("อยู่เพิง" ไม่ใช่ "อยู่เพลิง" อันนั้ใช้กับผู้หญิงหลังคลอด อยู่ไฟ)
อ้างอิงจากพระคัมภีร์ที่มี เช่น เลวีนิติ 23:34,เฉลยธรรมบัญญัติ 16:13,เศคาริยาห์ 14:16-19,เนหะมีย์ 8:14, เพื่อระลึกถึงครั้งที่ได้ออกจากอียิปต์อพยพไปในถิ่นทุรกันดาร เริ่มในวันที่ 15 เดือน 7 เป็นการอยู่เพิง 7 วัน หลังสิ้นสุดเทศกาลจะตามมาด้วยวันที่ 8 ที่เป็นวันอันยิ่งใหญ่ที่เรียกว่า “The Eighth Day” (เลวีนิติ 23:36-39) (ยอห์น 7:37)
เป็นวันประชุมอันบริสุทธิ์ วันนี้เริ่มในวันที่ 15 ของเดือน Tishrei ในปฏิทินฮีบรู เป็นเทศกาลวันหยุดที่ยาวนานที่สุด
เทศกาลอยู่เพิง ซึ่งเวลาแห่งพิธีเฉลิมฉลองนี้เป็นเวลาแห่งพระพรที่ชาวยิวได้รอคอย เราจะศึกษาถึงการเตรียมใจต่อการเข้าสู่เทศกาลอยู่เพิง ตามที่พระเจ้าได้บอกเราให้กระทำในแต่ละปีว่าเป็นอย่างไรบ้างอย่างน้อย 5 ประการด้วยกัน
ความหมายของการเฉลิมฉลองเทศกาลอยู่เพิง
เป็นการระลึกถึงการที่ชาวยิวพึ่งพาพระเจ้าครั้งแรกในถิ่นทุรกันดาร ซึ่งเป็นภาพเล็งถึงงานเลี้ยงในอนาคตสำหรับชาวยิวและบรรดาประชาชาติที่ได้รู้จักพระเจ้า จะได้พักสงบในแผ่นดินของพระบิดา
โอกาสนี้ประชาชนพากันเอากิ่งไม้ ใบปาล์ม และใบไม้อื่นๆ ไปสร้างเพิงพักเพื่ออาศัยชั่วคราว (ลักษณะของเพิง สามารถรื้อถอนได้ เคลื่อนย้ายได้ "Knock down") เป็นการระลึกถึงเวลาที่ชนชาติอิสราเอลเร่ร่อนพเนจรอยู่ในถิ่นทุรกันดาร เป็นเทศกาลแห่งการพักสงบ แสวงหาพระเจ้า ตลอดจนตระหนักว่าโลกนี้เป็นเพียงที่พักชั่วคราว แต่ที่พักอันถาวรนั้นคือ "แผ่นดินสวรรค์ "
ยังมีการเรียกเทศกาลนี้อีกชื่อหนึ่งว่า เทศกาลเลี้ยงฉลองการเก็บพืชผลปลายปี เพราะเป็นวันสิ้นปีแห่งการเกษตรกรรม ชาวอิสราเอลจึงเฉลิมฉลองกันด้วยความปีติร่าเริง
แต่ละคริสตจักรมักจะจัดค่ายประจำปี เพื่อสมาชิกจะมีโอกาสได้แสวงหาพระเจ้าร่วมกันในภาพรวม ใช้เวลาเพื่อเฉลิมฉลองนมัสการพระเจ้า ค่ายประจำปีจึงมีที่มาจากเทศกาลอยู่เพิงนี้ คือเป็นช่วงเวลาพิเศษที่สมาชิกในคริสตจักรจะมาใช้เวลาแสวงหาพระเจ้า และเป็นช่วงเวลาแห่งการพักสงบในพระเจ้าร่วมกัน
คนอิสราเอลทำอะไรกันในเทศกาลอยู่เพิง เทศกาลนี้ตรงกับเดือนเอธานิมของยิวซึ่งตรงกับเดือนกันยายนหรือตุลาคมของเดือนสากล เป็นเวลาที่สิ้นสุดการเก็บเกี่ยวพืชผลแล้ว และมี การฉลองกันอย่างรื่นเริงเป็นเวลา 7 วัน
1.สร้างเพิงพักอยู่ร่วมกันและหยุดพักจากการงาน
ลนต.23:34-35 จงกล่าวแก่คนอิสราเอลว่า ในวันที่สิบห้าเดือนที่เจ็ดนี้ เป็นวันเทศกาลอยู่เพิงถวายแด่พระเจ้าสิ้นเจ็ดวัน จะมีการประชุมบริสุทธิ์ในวันแรก เจ้าอย่าทำงานหนัก
ลนต.23:42-43 เจ้าจงอยู่ในเพิงเจ็ดวัน ทุกคนที่เป็นชาวพื้นเมืองอิสราเอลให้เข้าอยู่ในเพิง เพื่อชาติพันธุ์ของเจ้าจะได้ทราบว่า เมื่อเราพาคน อิสราเอลออกจากแผ่นดินอียิปต์นั้น เราได้ให้เขาอยู่ในเพิง เราคือพระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้า"
ฉธบ.16:13 "ท่านจงถือเทศกาลอยู่เพิงเจ็ดวัน เมื่อท่านเก็บรวบรวมพืชผลของท่านจากลานนวดข้าว และจากบ่อย่ำองุ่นของท่านแล้ว
พระเจ้าสั่งให้คนอิสราเอลสร้างเพิงพักเพื่ออาศัยชั่วคราว การสร้างเพิงพักนี้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์เตือนใจคนอิสราเอลถึงช่วงเวลาที่บรรพบุรุษของเขาเดินทางในถิ่นทุรกันดาร เป็นช่วงเวลาซึ่งพระเจ้าได้นำเขาออกจากอียิปต์ และพวกเราได้เห็นความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าในช่วงเวลานั้นด้วย เพราะช่วงเวลานั้นคนอิสราเอลต้องอาศัยอยู่ในเต็นท์
การสร้างเพิงพักนี้ ยังเป็นเหมือนเครื่องเตือนใจว่า โลกนี้เป็นเพียงสถานที่อาศัยเพียงชั่วคราวสำหรับคนของพระเจ้า แต่ที่อาศัยที่ถาวรนิรันดร์ของเรานั้นคือ สวรรคสถาน (ฮบ.11.13-16)
นอกจากนี้ พระเจ้าสั่งว่าอย่าทำงานหนัก เพื่อจะให้คนของพระองค์ได้พักสงบจากการงาน มีเวลาที่สนใจและได้สัมพันธ์กับพระองค์ อย่างแท้จริง
2.ทุกคนจะเข้าร่วมและเตรียมสิ่งที่จะถวายมามอบแด่พระเจ้า
ฉธบ.16:16-17 บรรดาผู้ชายทั้งสิ้นจะต้องเข้ามาเฝ้าพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านปีละสามครั้ง ณ สถานที่ซึ่งพระองค์ทรงเลือกไว้ คือ ณ เทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อ เทศกาลสัปดาห์ และเทศกาลอยู่เพิง อย่าให้เขาไปเฝ้าพระเจ้ามือเปล่าๆ ให้ทุกคนถวายตามความสามารถของเขา ตามส่วน พระพรที่พระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านทั้งหลายประทานแก่ท่าน
พระเจ้ากำชับให้ชนอิสราเอลนำลูกหลาน ญาติพี่น้อง และทาสชายหญิง คนเลวี เด็กกำพร้า แม่ม่าย และคนต่างด้าวสามารถมาร่วมในเทศกาลดังในพระธรรม ฉธบ.16:12-15
“ท่านพึงจำไว้ว่าท่านเคยเป็นทาสในอียิปต์ ท่านพึงระวังที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เหล่านี้… ในการเลี้ยงนั้นท่านจงปีติร่าเริง ทั้งท่านและบุตรชายหญิงของท่าน และทาสชายหญิงของท่าน ทั้งคนเลวีและคนต่างด้าว ทั้งเด็กกำพร้า และแม่ม่ายซึ่งอยู่ในเมืองของท่าน…เพราะว่าพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านจะทรงอำนวยพระพรแก่พืชผลของท่าน และแก่ผลงานที่มือท่านกระทำ เพื่อว่าท่านจะมีแต่ความปีติยินดี”
ในการเข้าร่วมเทศกาลอยู่เพิงของชนชาวอิสราเอล พระเจ้าตรัสสั่งให้นำสิ่งของที่นอกเหนือจากการถวายในวันสะบาโตไปด้วย ซึ่งการถวายดังกล่าวเป็นการถวายด้วยใจสมัครที่ถวายแด่พระเจ้า ตามความสามารถของเขา หรือตามส่วนพระพรที่พระเจ้าได้ทรงประทานแก่เรา
การถวายของชนชาติอิสราเอลในเวลานั้นอาจหมายถึง พืชผลจากสิ่งที่ครอบครัวของตนได้เพาะปลูกไว้ เพื่อเตรียมไว้สำหรับการมาถวายในเทศกาลอยู่เพิง
การถวายในเทศกาลอยู่เพิงนี้นั้นแตกต่างไปจากการถวายของทุกเทศกาลที่มีอยู่ เพราะสิ่งของการถวายสำหรับในเทศกาลนี้นั้นจะมีจำนวนของถวายมากกว่าทุกเทศกาล (กดว.29:12-38)
ดังนั้นจึงเป็นโอกาสพิเศษที่เราจะจัดเตรียมสิ่งต่างๆ เพื่อนำมามอบถวายแด่พระเจ้าได้ตามสัดส่วนแห่งการอวยพรของพระเจ้าร่วมกัน
3.เข้าร่วมประชุมเพื่อใคร่ครวญพระวจนะ
ฉธบ.31:10-12 และโมเสสบัญชาเขาว่า "เมื่อครบทุกๆ เจ็ดปี ตามเวลากำหนดปีปลดปล่อย ณ เทศกาลอยู่เพิง เมื่อคนอิสราเอลประชุมพร้อมกันต่อพระพักตร์พระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน ณ สถานที่ซึ่งพระองค์ทรงเลือกไว้นั้น ท่านทั้งหลายจงอ่านกฎหมายนี้ให้คนอิสราเอลทั้งปวงฟัง จงเรียกประชาชนให้มาประชุมกันทั้งชาย หญิง และเด็ก ทั้งคนต่างด้าวในเมืองของท่านเพื่อให้เขาได้ยินและเรียนรู้ที่จะยำเกรงพระเยโฮวาห์ พระเจ้าของท่าน และให้ระวังที่จะกระทำตามถ้อยคำทั้งสิ้นของธรรมบัญญัตินี้ และเพื่อบุตรหลานทั้งหลายของเขาผู้ยังไม่ทราบจะได้ยิน และเรียนรู้ที่จะยำเกรงพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน ตราบเท่าเวลาซึ่งท่านอยู่ในแผ่นดิน ซึ่งท่านกำลังจะยกข้ามแม่น้ำจอร์แดนไปยึดครองนั้น
พระเจ้าตรัสสั่งชนชาวอิสราเอลไม่เพียงแค่มารวมกันเพื่อเฉลิมฉลอง แต่พระเจ้าปรารถนาให้ทุกคนมาประชุมกันเพื่อใคร่ครวญพระวจนะพระเจ้า เพื่อให้คนทั้งหลายได้ยิน และเรียนรู้ที่จะกระทำตามพระบัญญัติของพระเจ้า
เหตุผลอีกประการหนึ่งสำหรับการมาประชุมเพื่อใคร่ครวญพระวจนะนั้นก็เพื่อได้ยินและเรียนรู้พระวจนะพระเจ้าร่วมกัน มีการเรียนรู้ ศึกษา ทำความเข้าใจพระคัมภีร์มากยิ่งขึ้น เพื่อจะดำเนินชีวิตอย่างเป็นที่ชอบพระทัยพระเจ้า
เมื่อถึงเทศกาลอยู่เพิงครั้งนี้ให้เราทุกคนเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อไปศึกษา ใคร่ครวญและฟังเสียงของพระเจ้าร่วมกัน เพื่อชีวิตของเราเจริญเติบโตและเกิดผลมากยิ่งขึ้น
4.นมัสการพระเจ้าด้วยสุดใจ
ลนต.23:37 ทั้งนี้เป็นเทศกาลเลี้ยงตามกำหนดแด่พระเจ้า ซึ่งเจ้าต้องประกาศเป็นเวลาประชุมบริสุทธิ์ เพื่อให้นำถวายแด่พระเจ้า ซึ่งเครื่องบูชาด้วยไฟเครื่องเผาบูชาและธัญญบูชา ทั้งเครื่องสัตวบูชาและเครื่องดื่มบูชา ต่างก็ให้ถูกต้องตามวันกำหนดนั้นๆ
ในงานเทศกาล ชนชาติอิสราเอลต้องนำเครื่องบูชามาถวายแด่พระเจ้า ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงการนมัสการพระเจ้า ซึ่งในยุคปัจจุบัน เรา ไม่จำเป็นต้องถวายเครื่องเผาบูชาแบบในยุคสมัยนั้น แต่เครื่องเผาบูชานั้นก็เปรียบได้กับรูปแบบการนมัสการตามแบบพระคัมภีร์ นั่นคือ การนมัสการพระเจ้าด้วยชีวิตของเรา ด้วยเสียงเพลง และด้วยสิ่งต่างๆ
แต่เครื่องบูชาที่พระเจ้าทรงพอพระทัย จะต้องเป็นเครื่องบูชาที่มาจากท่าทีที่บริสุทธิ์และถูกต้องต่อพระเจ้า พระเจ้าปรารถนาให้ชีวิตของเราเป็นเครื่องเผาบูชาที่บริสุทธิ์และมีกลิ่นหอมต่อพระพักตร์พระองค์ ซึ่งได้รับการชำระ การรื้อฟื้นและการเปลี่ยนแปลงจากพระองค์
ฉะนั้น เราจึงควรเตรียมชีวิต เตรียมใจของเราให้พร้อม เพื่อที่เราจะได้ใกล้ชิดพระองค์มากยิ่งขึ้นในการนมัสการ
5.เทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง
ลนต.23:39 ในวันที่สิบห้าของเดือนที่เจ็ด เมื่อเจ้าได้เก็บพืชผลที่ได้จากแผ่นดินนั้นเข้ามาแล้ว เจ้าจงมีเทศกาลเลี้ยงแห่งพระเจ้าเจ็ดวัน ในวันแรกให้หยุดพักสงบ และในวันที่แปดก็ให้หยุดพักสงบ
ลนต.23:41 เจ้าจงถือเป็นพิธีเทศกาลเลี้ยงปีละเจ็ดวันถวายแด่พระเจ้า ทั้งนี้เป็นกฎเกณฑ์ถาวรตลอดชั่วชาติพันธุ์ของเจ้า เจ้าจงถือพิธีนี้ในเดือนที่เจ็ด
ฉธบ.16:14 ในการเลี้ยงนั้นท่านจงปีติร่าเริง ทั้งท่านและบุตรชายหญิงของท่าน และทาสชายหญิงของท่าน ทั้งคนเลวีและคนต่างด้าว ทั้งเด็กกำพร้า และแม่ม่ายซึ่งอยู่ในเมืองของท่าน
พระคัมภีร์ใช้คำว่า “เทศกาลเลี้ยง” ซึ่งหมายถึงการที่ทุกคนมาร่วมเฉลิมฉลอง อันเป็นภาพเล็งถึงการเฉลิมฉลองในแผ่นดินสวรรค์ที่พระเจ้าทรงครอบครอง และเราต่างก็เป็นประชากรของพระเจ้าที่เข้าสู่การเฉลิมฉลองนั้น เทศกาลนี้จึงเป็นเทศกาลแห่งความสุขและความชื่นชมยินดี ที่เราแต่ละคนจะได้มาเฉลิมฉลองร่วมกัน
ขอให้ผู้ที่มาในนามพระเจ้ามีความจำเริญ Baruch Haba B'shem Adonai
Blessed Is He Who Comes in the name of the Lord.
ในช่วงเดือนกันยายนมีเทศกาลของอิสราเอลที่มีความสำคัญสำหรับคริสตชน คืออยู่ในช่วงปีใหม่มุ่งสู่ปี 5771 ปีแห่งการเตรียมชีวิตสู่พระสิริของพระเจ้าจะเทลงมา
ในวันที่ 8-9 กันยายน เทศกาลเป่าแตรเขาสัตว์ (Rosh Hashanah) เริ่ม 8 กย 18.00 น. ต่อด้วย วันที่ 17-18 กันยายน วันลบมลทินบาป และวันที่ 22-29 กันยายน เทศกาลอยู่เพิง
พระเจ้าได้กำหนดให้มีเทศกาลที่ชาวยิวเดินทางไปรวมตัวกันเพื่อนมัสการพระเจ้าและถวายเครื่องบูชาแด่พระองค์โดยกำหนดให้เป็นเวลาที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละปี
Feast of Tabernacles (เทศกาลอยู่เพิง) หรือ Feast of Booths หรือ “Sukkot” คำว่า Sukkot เป็นพหูพจน์ของคำว่า Sukkah หมายถึง "เพิง" หรือ "กระท่อม" ("อยู่เพิง" ไม่ใช่ "อยู่เพลิง" อันนั้ใช้กับผู้หญิงหลังคลอด อยู่ไฟ)
อ้างอิงจากพระคัมภีร์ที่มี เช่น เลวีนิติ 23:34,เฉลยธรรมบัญญัติ 16:13,เศคาริยาห์ 14:16-19,เนหะมีย์ 8:14, เพื่อระลึกถึงครั้งที่ได้ออกจากอียิปต์อพยพไปในถิ่นทุรกันดาร เริ่มในวันที่ 15 เดือน 7 เป็นการอยู่เพิง 7 วัน หลังสิ้นสุดเทศกาลจะตามมาด้วยวันที่ 8 ที่เป็นวันอันยิ่งใหญ่ที่เรียกว่า “The Eighth Day” (เลวีนิติ 23:36-39) (ยอห์น 7:37)
เป็นวันประชุมอันบริสุทธิ์ วันนี้เริ่มในวันที่ 15 ของเดือน Tishrei ในปฏิทินฮีบรู เป็นเทศกาลวันหยุดที่ยาวนานที่สุด
เทศกาลอยู่เพิง ซึ่งเวลาแห่งพิธีเฉลิมฉลองนี้เป็นเวลาแห่งพระพรที่ชาวยิวได้รอคอย เราจะศึกษาถึงการเตรียมใจต่อการเข้าสู่เทศกาลอยู่เพิง ตามที่พระเจ้าได้บอกเราให้กระทำในแต่ละปีว่าเป็นอย่างไรบ้างอย่างน้อย 5 ประการด้วยกัน
ความหมายของการเฉลิมฉลองเทศกาลอยู่เพิง
เป็นการระลึกถึงการที่ชาวยิวพึ่งพาพระเจ้าครั้งแรกในถิ่นทุรกันดาร ซึ่งเป็นภาพเล็งถึงงานเลี้ยงในอนาคตสำหรับชาวยิวและบรรดาประชาชาติที่ได้รู้จักพระเจ้า จะได้พักสงบในแผ่นดินของพระบิดา
โอกาสนี้ประชาชนพากันเอากิ่งไม้ ใบปาล์ม และใบไม้อื่นๆ ไปสร้างเพิงพักเพื่ออาศัยชั่วคราว (ลักษณะของเพิง สามารถรื้อถอนได้ เคลื่อนย้ายได้ "Knock down") เป็นการระลึกถึงเวลาที่ชนชาติอิสราเอลเร่ร่อนพเนจรอยู่ในถิ่นทุรกันดาร เป็นเทศกาลแห่งการพักสงบ แสวงหาพระเจ้า ตลอดจนตระหนักว่าโลกนี้เป็นเพียงที่พักชั่วคราว แต่ที่พักอันถาวรนั้นคือ "แผ่นดินสวรรค์ "
ยังมีการเรียกเทศกาลนี้อีกชื่อหนึ่งว่า เทศกาลเลี้ยงฉลองการเก็บพืชผลปลายปี เพราะเป็นวันสิ้นปีแห่งการเกษตรกรรม ชาวอิสราเอลจึงเฉลิมฉลองกันด้วยความปีติร่าเริง
แต่ละคริสตจักรมักจะจัดค่ายประจำปี เพื่อสมาชิกจะมีโอกาสได้แสวงหาพระเจ้าร่วมกันในภาพรวม ใช้เวลาเพื่อเฉลิมฉลองนมัสการพระเจ้า ค่ายประจำปีจึงมีที่มาจากเทศกาลอยู่เพิงนี้ คือเป็นช่วงเวลาพิเศษที่สมาชิกในคริสตจักรจะมาใช้เวลาแสวงหาพระเจ้า และเป็นช่วงเวลาแห่งการพักสงบในพระเจ้าร่วมกัน
คนอิสราเอลทำอะไรกันในเทศกาลอยู่เพิง เทศกาลนี้ตรงกับเดือนเอธานิมของยิวซึ่งตรงกับเดือนกันยายนหรือตุลาคมของเดือนสากล เป็นเวลาที่สิ้นสุดการเก็บเกี่ยวพืชผลแล้ว และมี การฉลองกันอย่างรื่นเริงเป็นเวลา 7 วัน
1.สร้างเพิงพักอยู่ร่วมกันและหยุดพักจากการงาน
ลนต.23:34-35 จงกล่าวแก่คนอิสราเอลว่า ในวันที่สิบห้าเดือนที่เจ็ดนี้ เป็นวันเทศกาลอยู่เพิงถวายแด่พระเจ้าสิ้นเจ็ดวัน จะมีการประชุมบริสุทธิ์ในวันแรก เจ้าอย่าทำงานหนัก
ลนต.23:42-43 เจ้าจงอยู่ในเพิงเจ็ดวัน ทุกคนที่เป็นชาวพื้นเมืองอิสราเอลให้เข้าอยู่ในเพิง เพื่อชาติพันธุ์ของเจ้าจะได้ทราบว่า เมื่อเราพาคน อิสราเอลออกจากแผ่นดินอียิปต์นั้น เราได้ให้เขาอยู่ในเพิง เราคือพระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้า"
ฉธบ.16:13 "ท่านจงถือเทศกาลอยู่เพิงเจ็ดวัน เมื่อท่านเก็บรวบรวมพืชผลของท่านจากลานนวดข้าว และจากบ่อย่ำองุ่นของท่านแล้ว
พระเจ้าสั่งให้คนอิสราเอลสร้างเพิงพักเพื่ออาศัยชั่วคราว การสร้างเพิงพักนี้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์เตือนใจคนอิสราเอลถึงช่วงเวลาที่บรรพบุรุษของเขาเดินทางในถิ่นทุรกันดาร เป็นช่วงเวลาซึ่งพระเจ้าได้นำเขาออกจากอียิปต์ และพวกเราได้เห็นความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าในช่วงเวลานั้นด้วย เพราะช่วงเวลานั้นคนอิสราเอลต้องอาศัยอยู่ในเต็นท์
การสร้างเพิงพักนี้ ยังเป็นเหมือนเครื่องเตือนใจว่า โลกนี้เป็นเพียงสถานที่อาศัยเพียงชั่วคราวสำหรับคนของพระเจ้า แต่ที่อาศัยที่ถาวรนิรันดร์ของเรานั้นคือ สวรรคสถาน (ฮบ.11.13-16)
นอกจากนี้ พระเจ้าสั่งว่าอย่าทำงานหนัก เพื่อจะให้คนของพระองค์ได้พักสงบจากการงาน มีเวลาที่สนใจและได้สัมพันธ์กับพระองค์ อย่างแท้จริง
2.ทุกคนจะเข้าร่วมและเตรียมสิ่งที่จะถวายมามอบแด่พระเจ้า
ฉธบ.16:16-17 บรรดาผู้ชายทั้งสิ้นจะต้องเข้ามาเฝ้าพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านปีละสามครั้ง ณ สถานที่ซึ่งพระองค์ทรงเลือกไว้ คือ ณ เทศกาลกินขนมปังไร้เชื้อ เทศกาลสัปดาห์ และเทศกาลอยู่เพิง อย่าให้เขาไปเฝ้าพระเจ้ามือเปล่าๆ ให้ทุกคนถวายตามความสามารถของเขา ตามส่วน พระพรที่พระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านทั้งหลายประทานแก่ท่าน
พระเจ้ากำชับให้ชนอิสราเอลนำลูกหลาน ญาติพี่น้อง และทาสชายหญิง คนเลวี เด็กกำพร้า แม่ม่าย และคนต่างด้าวสามารถมาร่วมในเทศกาลดังในพระธรรม ฉธบ.16:12-15
“ท่านพึงจำไว้ว่าท่านเคยเป็นทาสในอียิปต์ ท่านพึงระวังที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เหล่านี้… ในการเลี้ยงนั้นท่านจงปีติร่าเริง ทั้งท่านและบุตรชายหญิงของท่าน และทาสชายหญิงของท่าน ทั้งคนเลวีและคนต่างด้าว ทั้งเด็กกำพร้า และแม่ม่ายซึ่งอยู่ในเมืองของท่าน…เพราะว่าพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านจะทรงอำนวยพระพรแก่พืชผลของท่าน และแก่ผลงานที่มือท่านกระทำ เพื่อว่าท่านจะมีแต่ความปีติยินดี”
ในการเข้าร่วมเทศกาลอยู่เพิงของชนชาวอิสราเอล พระเจ้าตรัสสั่งให้นำสิ่งของที่นอกเหนือจากการถวายในวันสะบาโตไปด้วย ซึ่งการถวายดังกล่าวเป็นการถวายด้วยใจสมัครที่ถวายแด่พระเจ้า ตามความสามารถของเขา หรือตามส่วนพระพรที่พระเจ้าได้ทรงประทานแก่เรา
การถวายของชนชาติอิสราเอลในเวลานั้นอาจหมายถึง พืชผลจากสิ่งที่ครอบครัวของตนได้เพาะปลูกไว้ เพื่อเตรียมไว้สำหรับการมาถวายในเทศกาลอยู่เพิง
การถวายในเทศกาลอยู่เพิงนี้นั้นแตกต่างไปจากการถวายของทุกเทศกาลที่มีอยู่ เพราะสิ่งของการถวายสำหรับในเทศกาลนี้นั้นจะมีจำนวนของถวายมากกว่าทุกเทศกาล (กดว.29:12-38)
ดังนั้นจึงเป็นโอกาสพิเศษที่เราจะจัดเตรียมสิ่งต่างๆ เพื่อนำมามอบถวายแด่พระเจ้าได้ตามสัดส่วนแห่งการอวยพรของพระเจ้าร่วมกัน
3.เข้าร่วมประชุมเพื่อใคร่ครวญพระวจนะ
ฉธบ.31:10-12 และโมเสสบัญชาเขาว่า "เมื่อครบทุกๆ เจ็ดปี ตามเวลากำหนดปีปลดปล่อย ณ เทศกาลอยู่เพิง เมื่อคนอิสราเอลประชุมพร้อมกันต่อพระพักตร์พระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน ณ สถานที่ซึ่งพระองค์ทรงเลือกไว้นั้น ท่านทั้งหลายจงอ่านกฎหมายนี้ให้คนอิสราเอลทั้งปวงฟัง จงเรียกประชาชนให้มาประชุมกันทั้งชาย หญิง และเด็ก ทั้งคนต่างด้าวในเมืองของท่านเพื่อให้เขาได้ยินและเรียนรู้ที่จะยำเกรงพระเยโฮวาห์ พระเจ้าของท่าน และให้ระวังที่จะกระทำตามถ้อยคำทั้งสิ้นของธรรมบัญญัตินี้ และเพื่อบุตรหลานทั้งหลายของเขาผู้ยังไม่ทราบจะได้ยิน และเรียนรู้ที่จะยำเกรงพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่าน ตราบเท่าเวลาซึ่งท่านอยู่ในแผ่นดิน ซึ่งท่านกำลังจะยกข้ามแม่น้ำจอร์แดนไปยึดครองนั้น
พระเจ้าตรัสสั่งชนชาวอิสราเอลไม่เพียงแค่มารวมกันเพื่อเฉลิมฉลอง แต่พระเจ้าปรารถนาให้ทุกคนมาประชุมกันเพื่อใคร่ครวญพระวจนะพระเจ้า เพื่อให้คนทั้งหลายได้ยิน และเรียนรู้ที่จะกระทำตามพระบัญญัติของพระเจ้า
เหตุผลอีกประการหนึ่งสำหรับการมาประชุมเพื่อใคร่ครวญพระวจนะนั้นก็เพื่อได้ยินและเรียนรู้พระวจนะพระเจ้าร่วมกัน มีการเรียนรู้ ศึกษา ทำความเข้าใจพระคัมภีร์มากยิ่งขึ้น เพื่อจะดำเนินชีวิตอย่างเป็นที่ชอบพระทัยพระเจ้า
เมื่อถึงเทศกาลอยู่เพิงครั้งนี้ให้เราทุกคนเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อไปศึกษา ใคร่ครวญและฟังเสียงของพระเจ้าร่วมกัน เพื่อชีวิตของเราเจริญเติบโตและเกิดผลมากยิ่งขึ้น
4.นมัสการพระเจ้าด้วยสุดใจ
ลนต.23:37 ทั้งนี้เป็นเทศกาลเลี้ยงตามกำหนดแด่พระเจ้า ซึ่งเจ้าต้องประกาศเป็นเวลาประชุมบริสุทธิ์ เพื่อให้นำถวายแด่พระเจ้า ซึ่งเครื่องบูชาด้วยไฟเครื่องเผาบูชาและธัญญบูชา ทั้งเครื่องสัตวบูชาและเครื่องดื่มบูชา ต่างก็ให้ถูกต้องตามวันกำหนดนั้นๆ
ในงานเทศกาล ชนชาติอิสราเอลต้องนำเครื่องบูชามาถวายแด่พระเจ้า ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงการนมัสการพระเจ้า ซึ่งในยุคปัจจุบัน เรา ไม่จำเป็นต้องถวายเครื่องเผาบูชาแบบในยุคสมัยนั้น แต่เครื่องเผาบูชานั้นก็เปรียบได้กับรูปแบบการนมัสการตามแบบพระคัมภีร์ นั่นคือ การนมัสการพระเจ้าด้วยชีวิตของเรา ด้วยเสียงเพลง และด้วยสิ่งต่างๆ
แต่เครื่องบูชาที่พระเจ้าทรงพอพระทัย จะต้องเป็นเครื่องบูชาที่มาจากท่าทีที่บริสุทธิ์และถูกต้องต่อพระเจ้า พระเจ้าปรารถนาให้ชีวิตของเราเป็นเครื่องเผาบูชาที่บริสุทธิ์และมีกลิ่นหอมต่อพระพักตร์พระองค์ ซึ่งได้รับการชำระ การรื้อฟื้นและการเปลี่ยนแปลงจากพระองค์
ฉะนั้น เราจึงควรเตรียมชีวิต เตรียมใจของเราให้พร้อม เพื่อที่เราจะได้ใกล้ชิดพระองค์มากยิ่งขึ้นในการนมัสการ
5.เทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง
ลนต.23:39 ในวันที่สิบห้าของเดือนที่เจ็ด เมื่อเจ้าได้เก็บพืชผลที่ได้จากแผ่นดินนั้นเข้ามาแล้ว เจ้าจงมีเทศกาลเลี้ยงแห่งพระเจ้าเจ็ดวัน ในวันแรกให้หยุดพักสงบ และในวันที่แปดก็ให้หยุดพักสงบ
ลนต.23:41 เจ้าจงถือเป็นพิธีเทศกาลเลี้ยงปีละเจ็ดวันถวายแด่พระเจ้า ทั้งนี้เป็นกฎเกณฑ์ถาวรตลอดชั่วชาติพันธุ์ของเจ้า เจ้าจงถือพิธีนี้ในเดือนที่เจ็ด
ฉธบ.16:14 ในการเลี้ยงนั้นท่านจงปีติร่าเริง ทั้งท่านและบุตรชายหญิงของท่าน และทาสชายหญิงของท่าน ทั้งคนเลวีและคนต่างด้าว ทั้งเด็กกำพร้า และแม่ม่ายซึ่งอยู่ในเมืองของท่าน
พระคัมภีร์ใช้คำว่า “เทศกาลเลี้ยง” ซึ่งหมายถึงการที่ทุกคนมาร่วมเฉลิมฉลอง อันเป็นภาพเล็งถึงการเฉลิมฉลองในแผ่นดินสวรรค์ที่พระเจ้าทรงครอบครอง และเราต่างก็เป็นประชากรของพระเจ้าที่เข้าสู่การเฉลิมฉลองนั้น เทศกาลนี้จึงเป็นเทศกาลแห่งความสุขและความชื่นชมยินดี ที่เราแต่ละคนจะได้มาเฉลิมฉลองร่วมกัน
ขอให้ผู้ที่มาในนามพระเจ้ามีความจำเริญ Baruch Haba B'shem Adonai
Blessed Is He Who Comes in the name of the Lord.
10 กันยายน 2553
เทศกาลลบมลทินบาป(The Day of Atonement)
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นเทศกาลเป่าแตรในเดือนเจ็ดนั้น คนยิวถือว่าวันนี้เป็นวันปีใหม่ เป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้น เรียกว่า
“รอชฮาชานา” ซึ่งในเดือนนี้มีเทศกาลอยู่ 3 เทศกาลด้วยกัน คือ เทศกาลเป่าแตร เทศกาลลบมนทินบาป และเทศกาลอยู่เพิง เทียบตามปฏิทินสากลจะเป็นดังนี้ วันที่ 8-9 กันยายน เทศกาลเป่าแตรเขาสัตว์,วันที่ 17-18 กันยายน วันลบมลทินบาป,และวันที่ 22-29 กันยายน เทศกาลอยู่เพิง
ในครั้งนี้เราจะมาพิจารณาด้วยกันถึงเทศกาลลบมลทินบาป (The Day of Atonement)
วันแห่งการลบมนทินบาปนี้ ถือว่าเป็นเวลาส่วนตัวที่เล็งถึงแต่ละคนจะยืนขึ้นต่อหน้าพระเจ้าที่ทรงประทับบนบัลลังก์การพิพากษาและร้องขอการอภัยบาป และการชำระบาป เป็นเทศกาลที่เน้นการใคร่ครวญทางจิตวิญญาณ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเสด็จกลับมาพิพากษาและปกครองโลก
ในสมัยก่อนนั้นวันที่บริสุทธิที่สุดของชาวอิสราเอลในรอบปีคือ ยมคิปปูร์ (Yom Kippur)
หรือวันลบมลทินบาป ซึ่งในวันนี้นั้น มหาปุโรหิตจะเข้าไปในห้องอภิสุทธิสถาน เพื่อถวายสัตวบูชาและจะขอการอภัยโทษ ความบาปผิดทั้งบาปที่ได้ทำเป็นการส่วนตัวหรือบาปของทั้งประเทศ
เลวีนิติ 16:34 ทั้งนี้ให้เป็นกฎเกณฑ์ถาวรแก่เจ้าทั้งหลาย ให้ทำการลบมลทินบาปเพื่อคนอิสราเอลปีละครั้งเพราะบาปทั้งสิ้นของเขา" และโมเสสก็กระทำตามที่พระเจ้าทรงบัญชาท่านไว้
แต่ก่อนวันลบมลทินบาป ก่อน Yom Kippur นั้นคือวัน Erev Yom Kippur เออฟ ยมคิปปูร์
ซึ่งวันนี้เป็นโอกาสสุดท้ายที่จะขอการอภัยโทษความผิดบาปจากผู้อื่นก่อนที่วัน ยมคิปปูร์จะมาถึง
ดังนั้นเราต้องยกโทษให้อภัย หากทำผิดต้องขออภัยจากผู้อื่น เราต้องจัดการเรื่องขัดเคืองของเรากับผู้อื่นก่อน เราจึงจะนมัสการพระองค์ได้อย่างสิ้นสุดจิตสุดใจได้ (มัทธิว 5:23-24)
ขอบพระคุณพระเจ้าที่ในปัจจุบัน เราไม่ต้องให้มหาปุโรหิตเข้าไปถวายสัตวบูชาในวันลบมลทินบาปเพราะพระเยซูคริสต์ทรงไถ่เราแล้วที่กางเขน
ฮีบรู 9:11-14
11 แต่เมื่อพระคริสต์ได้เสด็จมาเป็นมหาปุโรหิตแห่งสิ่งประเสริฐ ซึ่งมาถึงแล้ว พระองค์ก็ได้เสด็จเข้าไปสู่เต็นท์อันใหญ่ยิ่งกว่าแต่ก่อน
12 พระองค์เสด็จเข้าไปในวิสุทธิสถานเพียงครั้งเดียวเท่านั้น และพระองค์ไม่ได้ทรงนำเลือดแพะและเลือดลูกวัวเข้าไป แต่ทรงนำพระโลหิตของพระองค์เองเข้าไป และทรงสำเร็จการไถ่บาปชั่วนิรันดร์
14 พระโลหิตของพระเยซูคริสต์ผู้ได้ทรงถวายพระองค์เอง แด่พระเจ้าโดยพระวิญญาณนิรันดร์ ให้เป็นเครื่องบูชาอันปราศจากตำหนิ ก็จะทรงชำระได้มากยิ่งกว่านั้นสักเพียงใด เพื่อให้จิตใจของคนที่หมกมุ่นในการประพฤติที่นำไปสู่ความตาย หันไปรับใช้พระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่
ขอหนุนใจพี่น้องทุกท่านในการเตรียมชีวิตเข้าสู่เทศกาลแห่งการชำระชีวิต และรับการอวยพรจากพระเจ้า ในวันที่ 8-17 กันยายน 2010 ช่วงเวลาแห่งความยำเกรงพระเจ้า เป็นเวลาที่จะหันชีวิตออกจากวิถีแห่งความบาป และหันกลับมาหาพระเจ้าโดยการอดอาหารอธิษฐาน เพื่อเตรียมชีวิตเข้าสู่ปีแห่งพระสิริของพระเจ้าในปี 5771 นี้
“รอชฮาชานา” ซึ่งในเดือนนี้มีเทศกาลอยู่ 3 เทศกาลด้วยกัน คือ เทศกาลเป่าแตร เทศกาลลบมนทินบาป และเทศกาลอยู่เพิง เทียบตามปฏิทินสากลจะเป็นดังนี้ วันที่ 8-9 กันยายน เทศกาลเป่าแตรเขาสัตว์,วันที่ 17-18 กันยายน วันลบมลทินบาป,และวันที่ 22-29 กันยายน เทศกาลอยู่เพิง
ในครั้งนี้เราจะมาพิจารณาด้วยกันถึงเทศกาลลบมลทินบาป (The Day of Atonement)
วันแห่งการลบมนทินบาปนี้ ถือว่าเป็นเวลาส่วนตัวที่เล็งถึงแต่ละคนจะยืนขึ้นต่อหน้าพระเจ้าที่ทรงประทับบนบัลลังก์การพิพากษาและร้องขอการอภัยบาป และการชำระบาป เป็นเทศกาลที่เน้นการใคร่ครวญทางจิตวิญญาณ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเสด็จกลับมาพิพากษาและปกครองโลก
ในสมัยก่อนนั้นวันที่บริสุทธิที่สุดของชาวอิสราเอลในรอบปีคือ ยมคิปปูร์ (Yom Kippur)
หรือวันลบมลทินบาป ซึ่งในวันนี้นั้น มหาปุโรหิตจะเข้าไปในห้องอภิสุทธิสถาน เพื่อถวายสัตวบูชาและจะขอการอภัยโทษ ความบาปผิดทั้งบาปที่ได้ทำเป็นการส่วนตัวหรือบาปของทั้งประเทศ
เลวีนิติ 16:34 ทั้งนี้ให้เป็นกฎเกณฑ์ถาวรแก่เจ้าทั้งหลาย ให้ทำการลบมลทินบาปเพื่อคนอิสราเอลปีละครั้งเพราะบาปทั้งสิ้นของเขา" และโมเสสก็กระทำตามที่พระเจ้าทรงบัญชาท่านไว้
แต่ก่อนวันลบมลทินบาป ก่อน Yom Kippur นั้นคือวัน Erev Yom Kippur เออฟ ยมคิปปูร์
ซึ่งวันนี้เป็นโอกาสสุดท้ายที่จะขอการอภัยโทษความผิดบาปจากผู้อื่นก่อนที่วัน ยมคิปปูร์จะมาถึง
ดังนั้นเราต้องยกโทษให้อภัย หากทำผิดต้องขออภัยจากผู้อื่น เราต้องจัดการเรื่องขัดเคืองของเรากับผู้อื่นก่อน เราจึงจะนมัสการพระองค์ได้อย่างสิ้นสุดจิตสุดใจได้ (มัทธิว 5:23-24)
ขอบพระคุณพระเจ้าที่ในปัจจุบัน เราไม่ต้องให้มหาปุโรหิตเข้าไปถวายสัตวบูชาในวันลบมลทินบาปเพราะพระเยซูคริสต์ทรงไถ่เราแล้วที่กางเขน
ฮีบรู 9:11-14
11 แต่เมื่อพระคริสต์ได้เสด็จมาเป็นมหาปุโรหิตแห่งสิ่งประเสริฐ ซึ่งมาถึงแล้ว พระองค์ก็ได้เสด็จเข้าไปสู่เต็นท์อันใหญ่ยิ่งกว่าแต่ก่อน
12 พระองค์เสด็จเข้าไปในวิสุทธิสถานเพียงครั้งเดียวเท่านั้น และพระองค์ไม่ได้ทรงนำเลือดแพะและเลือดลูกวัวเข้าไป แต่ทรงนำพระโลหิตของพระองค์เองเข้าไป และทรงสำเร็จการไถ่บาปชั่วนิรันดร์
14 พระโลหิตของพระเยซูคริสต์ผู้ได้ทรงถวายพระองค์เอง แด่พระเจ้าโดยพระวิญญาณนิรันดร์ ให้เป็นเครื่องบูชาอันปราศจากตำหนิ ก็จะทรงชำระได้มากยิ่งกว่านั้นสักเพียงใด เพื่อให้จิตใจของคนที่หมกมุ่นในการประพฤติที่นำไปสู่ความตาย หันไปรับใช้พระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่
ขอหนุนใจพี่น้องทุกท่านในการเตรียมชีวิตเข้าสู่เทศกาลแห่งการชำระชีวิต และรับการอวยพรจากพระเจ้า ในวันที่ 8-17 กันยายน 2010 ช่วงเวลาแห่งความยำเกรงพระเจ้า เป็นเวลาที่จะหันชีวิตออกจากวิถีแห่งความบาป และหันกลับมาหาพระเจ้าโดยการอดอาหารอธิษฐาน เพื่อเตรียมชีวิตเข้าสู่ปีแห่งพระสิริของพระเจ้าในปี 5771 นี้
09 กันยายน 2553
เตรียมชีวิตเข้าสู่เทศกาลแห่งการอวยพระพร
ขอหนุนใจพี่น้องทุกท่านในการเตรียมชีวิตในเข้าสู่ ช่วงการยำเกรงพระเจ้า เริ่มต้นเฉลิมฉลอง เทศกาล รอชฮาชานา ไปสู่การกลับใจใหม่ในวันลบมลทินบาป และไปสู่เทศกาลอยู่เพิงเพื่อฟังเสียงพระวจนะของพระเจ้า
ซึ่งในเดือนนี้มีเทศกาลอยู่ 3 เทศกาลด้วยกัน คือ เทศกาลเป่าแตร เทศกาลลบมนทินบาป และเทศกาลอยู่เพิง เทียบตามปฏิทินสากลจะเป็นดังนี้ วันที่ 8-9 กันยายน เทศกาลเป่าแตรเขาสัตว์,วันที่ 17-18 กันยายน วันลบมลทินบาป,และวันที่ 22-29 กันยายน เทศกาลอยู่เพิง
วันที่ 8-17 กันยายน 2010 ช่วงเวลาแห่งความยำเกรงพระเจ้า เป็นเวลาที่จะหันชีวิตออกจากวิถีแห่งความบาป และหันกลับมาหาพระเจ้าโดยการอดอาหารอธิษฐาน
4 สิ่งที่จะช่วยเราในงาน 10 วันนี้ เป็นการเตรียมชีวิตกลับใจจากความบาป
1. ตั้งเวลานมัสการและใคร่ครวญพระวจนะยาวมากกว่าเดิม
เพื่อสัมพันธ์สนิทกับพระวิญญาณบริสุทธิ์ และที่จะลึกซึ้งกับพระองค์ สัมผัสการทรงสถิต และพระสิริในระดับที่สูงขั้น
(สดุดี 1:2-3)
2. อธิษฐานขอพระเจ้า เปิดเผยวงจรวิถีชีวิตเก่า
เป็นเวลาที่จะพิจารณาการดำเนินชีวิตของเราว่าเราเป็นอย่างไร ดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมายหรือไร้จุดมุ่งหมายในการดำเนินชีวิต (2โครินธ์ 5:10-21)
3. อธิษฐานขอพระเจ้าเปิดเผยความบาปที่ซ่อนเร้นอยู่
ขอพระเจ้าเปิดเผยเพื่อเราจะกลับใจใหม่ ขอการอภัยบาป และขอพระโลหิตพระคริสต์ปกคลุมชีวิตเราให้ดำเนินชีวิตอย่างชอบธรรมเพราะพระเยซูไถ่เราแล้ว (โรม 3:21-26)
4. อธิษฐานขอพระเจ้านำเราสู่ความรักในระดับใหม่ในพระเจ้า
เป็นเวลาที่เราจะแช่ตัวในลำธารรักของพระเจ้า และให้ไฟรักของพระองค์เต็มหัวใจเรา ให้เร่าร้อนในการที่จะรักพระองค์ในระดับใหม่ที่ลึกขึ้นกว่าเดิม (เอเสเคียล 47:1-10)
ในกลุ่มสามัคคีธรรม
เชิญชวนร่วมเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่ 5771 ร่วมเฉลิมฉลองในกลุ่มโดยการเป่าเสียงแตรและใช้เวลาในการนมัสการและใคร่ครวญพระวจนะมากกว่าเดิม เพื่อท่านจะสัมผัสพระเจ้าในระดับที่ลึกขึ้น
โยเอล 2:15 จงเป่าเขาสัตว์ที่ในศิโยน จงเตรียมทำพิธีอดอาหาร จงเรียกประชุมตามพิธี
2 พงศาวดาร 15:12 และเขาก็เข้าทำพันธสัญญาที่จะแสวงหาพระเยโฮวาห์พระเจ้าแห่งบรรพบุรุษของเขา ด้วยสุดจิตสุดใจของเขา
ขอสันติสุขของพระเจ้าอยู่กับเราเสมอ Shalom
05 กันยายน 2553
ร้อช ฮ้าชชะนาห์ เทศกาลแห่งเสียงแตร จุดเริ่มต้นของปี ก้าวสู่ฤดูกาลใหม่ของพระเจ้า
Rosh Hashanah เทศกาลแห่งเสียงแตร ร้อช ฮ้าชชะนาห์ จุดเริ่มต้นของปี ก้าวสู่ฤดูกาลใหม่ของพระเจ้า
ในช่วงประมาณเดือนกันยายนของทุกปี คนอิสราเอลจะมีเทศกาลฉลองปีใหม่ของเขาคือ ร้อช ฮ้าชชะนาห์ เทศกาลแห่งเสียงแตร (ในปี 2010 ตรงกับวันที่ 8 กันยายน) เป็นการเริ่มต้นปีใหม่และสำรวจชีวิตทิ้งสิ่งเก่าและเริ่มต้นใหม่ในปีข้างหน้า
ในปัจจุบันผู้เชื่อส่วนใหญ่นั้นไม่รู้จักเทศกาลของพระเจ้า ฉะนั้นคนเหล่านั้นจึงไม่สามารถที่จะเข้าใจจุดประสงค์หรือแผนการของพระเจ้าได้
บางคนคิดว่าเทศกาลต่างๆของพระเจ้านั้นไม่มีประโยชน์อะไรสําหรับผู้เชื่อเลย แท้จริงแล้วเทศกาลต่างๆนั้นเป็นเงาของเหตุการณ์ที่จะมีมาภายหลัง ฉะนั้นเทศกาลต่างๆของพระเจ้าสอนเราเกี่ยวกับแผนของพระเจ้า
พระเจ้าได้ทรงบรรยายถึงทุกเทศกาลของท่านไว้ใน เลวินิติ บทที่ 23 ได้เริ่มต้นด้วยคําว่า “พระเจ้าตรัสกับโมเสสว่า จงกล่าวแก่คนอิสราเอลว่า เทศกาลเลี้ยงตามกําหนดแด่พระเจ้า ซึ่งเจ้าจะต้องประกาศว่าเป็นการประชุมบริสุทธ์” (เลวินิติ 23:1-2) เทศกาลเหล่านี้เป็นวันประชุมบริสุทธ์ที่ทุกคนจะมาประชุมกันและเรียนรู้ถึงแผนการของพระเจ้า
พระเจ้าได้ทรงกำหนดเทศกาลต่างๆไว้สําหรับทุกคน
เนื่องจากในช่วงเวลานี้ ตามปฏิทินยิว เป็นช่วงเวลาแห่งเสียงแตรเขาสัตว์ (shofar (Hebrew: שופר) ซึ่งเป็นเทศกาลที่สำคัญและมีความหมายฝ่ายวิญญาณมาก
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้ฟังคำสอนในเรื่องปี 5771 ของปฎิทินยิว เรียกว่าเป็นปีตัวอักษร Ayin Aleph ซึ่งเป็นปีแห่งการเตรียมให้บริสุทธิ์เพื่อรองรับการเทลงมาแห่งพระสิริของพระเจ้า โดย Dr.Robert Heidler ศิษยาภิบาลอาวุโสของ Glory of Zion และในวันอาทิตย์ที่ 5 กันยายนที่ผ่านมา อ.นิมิตได้แบ่งปันในคำเทศนาเรื่องนี้ที่คริสตจักรแห่งพระบัญชา
ผมจึงได้ไปศึกษาและเรียบเรียงเขียนให้อ่านและพิจารณาถึงเทศกาลนี้ เพื่อจะมีความเข้าใจและก้าวไปสู่เวลาใหม่ของพระเจ้า เป็นเวลาที่น่าตื่นเต้นที่พระเจ้าทรงจะกระทำในปีข้างหน้านี้ สิ่งที่เราควรจะทำคือจัดตารางเวลาของเราเข้าสู่ตารางเวลาของพระเจ้า
เทศกาลเสียงแตรมีขึ้นในวันแรกของเดือนที่เจ็ด เป็นเดือนที่สำคัญมากเพราะในเดือนนี้มีเทศกาลอยู่ถึง 3 เทศกาลได้แก่ เทศกาลเป่าแตร เทศกาลลบมนทิลบาป และเทศกาลอยู่เพิง ทั้ง 3 เทศกาลนี้เป็นแบบที่ทำให้เห็นแผนการแห่งการไถ่ที่สมบูรณ์ของพระเจ้า
ในแต่ละปีทางศาสนาของยิวนั้นจะมีการเป่าแตร แต่การเป่าแตรในเทศกาลเป่าแตรซึ่งอยู่ในเดือนที่เจ็ดนั้น ถือเป็นการเป่าแตรในช่วงระยะเวลาท้ายสุดของปี เพื่อบอกถึงการสำเร็จเสร็จสิ้น ความสมบูรณ์ในแผนการของพระเจ้าสำหรับการไถ่บาป และเปิดฉากสู่การก้าวสู่เวลาใหม่ มิติใหม่ หรือ ก้าวสู่ New world
ในพระคัมภีร์เดิม เทศกาลเป่าแตรมีขึ้นในวันแรกของเดือนที่เจ็ด แต่เดิมเรียกว่าเดือนเอธานิม ซึ่งปรากฏใน
1 พงศ์กษัตริย์ 8:2
2 และผู้ชายทั้งสิ้นของอิสราเอลก็ประชุมต่อพระพักตร์พระราชาซาโลมอน ณการเลี้ยงในเดือนเอธานิม ซึ่งเป็นเดือนที่เจ็ด
แต่มาภายหลังเมื่ออิสราเอลกลับจากการเป็นทาสที่บาบิโลนจึงเรียกชื่อเดือนนี้ใหม่เป็นเดือนทิชรี ทิชรีจึงเป็นเดือนแรกในปฏิทินชาวบาบิโลน ชาวยิวเรียกวันแรกในเดือนทิชรีนี้ว่า รอชฮาชานา ซึ่งแปลตามตัวอักษรหมายถึง ต้นปี คนยิวจึงถือเอาวันนี้เป็นวันปีใหม่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้น คือ เริ่มต้นสิบวันแห่งการกลับใจใหม่ หรือ เริ่มต้นวันอันน่าสะพรึงกลัว นี่เป็นสิบวันแห่งการเตรียมตัวสู่วันลบมนทิลบาปหรือวันยมคิปปูร์ ซึ่งอยู่ในวันที่สิบของเดือนที่เจ็ด
เทศกาลเสียงแตรและวันแห่งการลบมลทินบาป(The day of atonement) Yom Kippur ยมคิปปูร์(Hebrew: יוֹם כִּפּוּר )นี้ มีความแตกต่างจากเทศกาลอื่น ๆ นั่นก็คือ
ประการแรก เทศกาลทั้ง2 นี้ไม่มีความเชื่อมโยงใด ๆ กับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของชาติ มีการเฉลิมฉลองเทศกาลนี้อย่างเป็นส่วนตัว เพราะถือว่าเป็นเวลาส่วนตัวที่เล็งถึงแต่ละคนจะยืนขึ้นต่อหน้าพระเจ้าที่ทรงประทับบนบัลลังก์การพิพากษาและร้องขอการอภัยบาป และการชำระบาป
ประการที่สอง เทศกาลอื่น ๆ จะเฉลิมฉลอง เน้นความชื่นชมยินดีในจิตวิญญาณ แต่เทศกาลนี้เป็นเทศกาลที่เน้นการใคร่ครวญทางจิตวิญญาณ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเสด็จกลับมาพิพากษาและปกครองโลก
เทศกาลเสียงแตรถือเป็นหนึ่งในสองเทศกาลที่มีบรรยากาศจริงจัง ซึ่งมาจากข้อพระวจนะใน เลวีนิติ 23:24 บอกให้เป็นวันที่ระลึกด้วยเสียงแตรและในกันดารวิถี 29:1 บอกว่าเป็นวันที่ให้คนทั้งหลายเป่าแตร
ในพระคัมภีร์เดิมมีการอ้างถึงเทศกาลเสียงแตรครั้งแรกใน
เลวีนิติ 23:24
24 "จงกล่าวแก่คนอิสราเอลว่า ในวันที่หนึ่งของเดือนที่เจ็ด เจ้าทั้งหลายจงถือเป็นวันหยุดพักสงบวันหนึ่ง เป็นวันประชุมบริสุทธิ์ประกาศเป็นที่ระลึกด้วยเสียงแตร
โดยปกติแล้วก็มีการเป่าโชฟาร์ (shofar (Hebrew: שופר)ทุกเดือน แต่การเป่าแตรในเดือนเจ็ดนี้พิเศษกว่าเดือนอื่น ๆ ตรงที่เป็นการปลุกให้คนยืนขึ้นเพื่อเตรียมตัวให้พรอ้มก่อนการพิพากษาของพระเจ้าจะมาถึง
การเป่าแตรเป็นการเรียกให้กลับใจใหม่ก่อนวันแห่งการลบมนทินบาปซึ่งเล็งถึงวันแห่งการพิพากษาของพระเจ้า
โดยทั่วไป การเป่าแตรในแต่ละเดือนนั้นใช้แตรสั้น แต่การเป่าแตรในเดือนเจ็ดนั้นเป็นการเป่าแตรโดยใช้แตรที่มีขนาดยาว แตรแบบนี้จะให้เสียงดังกว่า เสียงดังจะปลุกจิตวิญญาณที่หลับใหลให้ตื่นขึ้น
คำว่า "ร้อช ฮ้าชชะนาห์ " แปลว่า "จุดเริ่มต้นของปี"
คนยิวจะมีปฏิทินแตกต่างกัน คือ ปฏิทินทางศาสนา และปฏิทินทั่ว ไป ปฏิทินทางศาสนานั้นจะเริ่มต้นนับในฤดูใบไม้ผลิ ดังที่บันทึกในอพยพ12:2 เฉลยธรรมบัญญัติ 16:1
เดือนแรกในปีทางศาสนา คือ เดือนที่คนอิสราเอลออกจากอียิปต์ และได้ฉลองเทศกาลปัสกา ซึ่งถือเป็นเทศกาลแห่งการไถ่ เรียกกันว่าเดือนอาบิบ คือ เดือนแห่งการได้ยินเสียง แต่ภายหลังเมื่อคนอิสราเอลกลับจากการเป็นทาสที่บาบิโลน ได้ตั้งชื่อเดือนอาบิบใหม่เป็นเดือนนิสาน ซึ่งเริ่มต้นในวันเพ็ญของเดือนมีนาคม หรือเมษายน
ส่วนปีที่ประชาชนทั่วไปยึดถือกัน เป็นปีทางการเกษตร ไม่ใช่ปฏิทินทางศาสนานั้นเชื่อว่า การเริ่มต้นปีอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ล่วงซึ่งอยู่ในเดือนที่เจ็ด ภายหลังจากที่อิสราเอลกลับจากการเป็นเชลย ได้เรียกเดือนนี้ว่าเดือนทิชรี
การเป่าเสียงแตรนั้นจะกระตุ้นความรู้สึก ออกจากความเฉื่อยชา และทำให้เกิดการตระหนักรู้ ใคร่ครวญในจิตวิญญาณ
ผมนึกถึงแตรวูวูเซร่า (Vuvuzela) ที่ชาวแอฟริกันใช้เป่าเพื่อปลุกเร้าใจให้นักฟุตบอลและกองเชียร์ในช่วงฟุตบอล WorldCup 2010
แต่แตรวูวูเซร่านั้นแตกต่างจากโชฟา เพราะแตรวูวูเซร่า นั้นเสียงดังน่า "รำคาญใจ" แต่เสียงการเป่าโชฟา น่า "สำราญใจ" เพราะพระเจ้าได้ให้เราเคลื่อนไปตามเสียงของพระองค์
การเป่าโชฟา ในเทศกาลเสียงแตร หรือ รอชฮาชานามีความหมายอย่างไรบ้าง
1.เสียงเรียกให้กลับใจ
ผู้เผยพระวจนะในพระคัมภีร์เดิมใช้เป็นคำว่าโชฟาร์ เป็นอุปมาเปรียเทียบถึงการเรียกผู้คนให้กลับใจและหันกลับมาหาพระเจ้า
ตัวอย่าง เช่น ผู้เผยพระวจนะโยเอล เป่าแตรหรือโชฟาร์ ในศิโยนเพื่อเรียกให้คนกลับใจใหม่
โยเอล 2:15
15 จงเป่าเขาสัตว์ที่ในศิโยน จงเตรียมทำพิธีอดอาหาร จงเรียกประชุมตามพิธี
เสียงของโชฟาร์เป็นเสียงเรียกให้ตอบสนอง เพื่อใคร่ครวญดูการกระทำของตน และดำเนินชีวิตใหม่ให้ถูกต้อง ก่อนวันแห่งการพิพากษา เป็นการหวนระลึกถึงการกระทำของตน เป็นการเผชิญหน้ากับจิตวิญญาณภายในของตน
เราต้องตระหนักว่ามีวันแห่งการพิพากษาแน่ ในพระคัมภีร์ใหม่ก็กล่าวถึงเรื่องนี้ ดังนั้นก่อนจะถึงวันนั้นผู้เชื่อจึงควรสำรวจใจ และกลับใจ
ฮีบรู 9:27
27 มีข้อกำหนดสำหรับมนุษย์ไว้แล้วว่าจะตายครั้งเดียว และหลังจากนั้นก็จะมีการพิพากษา…
พระเจ้ามักสื่อสารและเตือนประชากรของพระองค์ล่วงหน้าเสมอ ก่อนที่พระองค์จะทำการพิพากษา พระเจ้าเตือนประชากรของพระองค์ก่อนน้ำจะท่วมโลก และเตือนนินะเวห์ก่อนจะเกิดหายนะ
เทศกาลแห่งเสียงแตรสะท้อนถึง พระประสงค์ของพระเจ้าที่จะรวบรวมประชากรของพระองค์ให้กลับใจใหม่ เพื่อว่าพระองค์จะสามารถกู้พวกเขาในวันแห่งการพิพากษาได้
ชาวยิวมีช่วงเวลาสิบวันเรียกว่า “10 วันแห่งความยำเกรงพระเจ้า(Days of Awe)” ซึ่งเริ่มขึ้นในเทศกาลเสียงแตร และสิ้นสุดในวันทำการลบมนทินบาปซึ่งนับว่าเป็นวันสำคัญที่สุดในปฏิทินอิสราเอล ในระหว่างเวลาเหล่านี้ พวกประชาชนต่างพยายามแสวงหาโอกาสคืนดีกับศัตรู ระลึกถึงคนอนาถา และจะกลับใจจากบาป เพื่อเตรียมใจสำหรับวันลบมนทินที่จะมาถึง
เทศกาลเป่าแตรสำคัญมาก เป็นการเปิดฉากการพิพากษาของสวรรค์ ซึ่งนำไปสู่วันลบมลทินบาป ซึ่งจะเผยให้เห็นบาปของคนอิสราเอลแต่ละคน นี่เป็นภาพที่เล็งไปถึงการเสด็จกลับมาของพระคริสต์ เพื่อพิพากษาโลกนี้ ในวันสุดท้ายนั้น บาปของทุกคนจะถูกเปิดออกให้เห็น
การเป่าโชฟาเป็นการเตือนให้ระลึกถึงความยุติธรรมของพระเจ้า และพระเมตตาของพระองค์ เป็นการเตือนให้ประชาชนกลับใจใหม่ และในขณะเดียวกัน ก็เป็นการเตือนให้ระลึกว่าประชากรของพระเจ้าต้องการพระเจ้า
การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
เมื่อเราได้รู้แล้วว่าเทศกาลเสียงแตรนี้ เป็นเสียงเรียกให้คนกลับใจใหม่แล้ว เราจะเป่าแตร เมื่อเสียงแตรดังขึ้น ให้เราประกาศการกลับใจใหม่ ในเรื่องต่าง ๆ ลองคิดดูว่ามีบาปใดซ่อนเร้นอยู่บ้าง ขอการชำระจากพระเจ้า
2.เสียงแห่งการปลดปล่อยอิสรภาพ การประกาศถึงระบบระเบียบใหม่ทางสังคมและศาสนา
นอกจากนี้การเป่าเสียงแตรด้วยโชฟา ยังเป็นการประกาศถึงการจัดระบบระเบียบทางสังคม และศาสนา เป็นการประกาศถึงอิสรภาพ เสรีภาพ เป็นการปลดปล่อยจากความยากจน และพันธนาการ เป็นการประกาศการปลดปล่อยจากบาปและการละเมิด
เลวีนิติ 25:9 เจ้าจงให้เป่าเขาสัตว์ดังสนั่นในวันที่สิบเดือนที่เจ็ด เจ้าจงให้เป่าเขาสัตว์ทั่วแผ่นดินในวันทำการลบมลทิน
ในสมัยพระคัมภีร์ใหม่ เทศกาลเสียงแตรนี้ เล็งถึงการกลับมาของพระคริสต์ เพื่อประกาศเวลา ฤดูกาลใหม่ ที่พระองค์ทรงปฏิเสธการดำเนินชีวิตอย่างศาสนา แต่สถาปนาการนมัสการด้วยจิตวิญญาณและความจริง
ดังนั้นการเป่าแตรจึงเป็นสัญลักษณ์ของการประกาศการหลุดพ้นจากวิถีเดิมแห่งพันธการ การตกอยู่ภายใต้วิญญาณแห่งกฏเกณฑ์ และการดำเนินชีวิตอย่างเป็นรูปแบบ
นอกจากนี้การเสด็จมาของพระคริสต์ยังให้ภาพของการจัดระเบียบสังคมใหม่ เป็นสังคมแห่งคุณธรรม
เป็นการสะท้อนว่า อำนาจแห่งการปกครองจะไม่ได้อยู่ในมือของคนตามืดบอด อีกต่อไป แต่จะอยู่ในพระหัตถ์ของพระเจ้า
การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
เมื่อเราได้รู้แล้วว่าเทศกาลเสียงแตรนี้ เป็นสัญลักษณ์เล็งถึงการประกาศอิสระภาพ พันธนาการต่าง ๆ เมื่อเสียงแตรดังขึ้นให้เราประกาศการปลดปล่อยอิสรภาพให้กับชีวิตของเรา ที่อยู่ในพันธนาการแห่งบาป หรือ อยู่ในปัญหาบางอย่าง ขอพระเจ้าปลดปล่อยเราจากความยากจน ขัดสน หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรค
ให้เราปลดปล่อยอิสรภาพมาสู่คริสตจักรที่จะไม่ตกอยู่ภายใต้วิญญาณศาสนา
ให้เราปลดปล่อยอิสรภาพให้กับสังคม และประเทศของเรา ที่จะมีการปฏิรูปการจัดระบบสังคมใหม่ให้เป็นสังคมแห่งคุณธรรม หลุดพ้นจากอำนาจซาตานที่ล่อลวงผู้คนให้เป็นเมืองแห่งความบาปในด้านต่าง ๆ
3.เสียงแห่งการประกาศถึงการเริ่มต้นสู่การพิสูจน์ และสำรวจใจ
การเป่าโชฟาร์ในวันร้อช ฮ้าชชะนาห์ ยังเป็นการประกาศก้องถึงการเริ่มต้นของการเข้าสู่การสำรวจใจ ก่อนวันแห่งการพิพากษา การสำรวจนี้กินเวลา สิบวัน จนกระทั่งวันลบมนทินบาป (หรือ วันยมคิปปูร์) มาถึง
ในระหว่างสิบวันนี้ ชาวยิวจะตระหนักถึงชีวิตของตน เหมือนเอาชีวิตไปชั่งบนตาชั่ง พวกเขาจะได้ตระหนักถึงความเปราะบางของชีวิต และจะถามคำถามตนเองว่าถ้าชีวิตของเขาจบลงในวันนี้ เขาได้ใช้ชีวิตคุ้มค่า หรือสมควรแล้วหรือไม่
ช่วงเวลาแห่งการใคร่ครวญนี้ จะทำให้ได้ตระหนักว่าชีวิตของคนแต่ละคนนั้น เป็นชีวิตที่อยู่ภายใต้พระหัตถ์ของพระเจ้า เราไม่สามารถกำหนดทุกสิ่งได้ด้วยตนเอง
เสียงโชฟาจะประกาศให้เห็นว่าไม่มีสิ่งใดที่หลบซ่อนในใจได้ เหมือนการยืนอยู่ต่อหน้าหมู่ทหารที่ทำการยิงเป้า ซึ่งต้องพิสูจน์ในระดับลึกของจิตใจ
การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
เมื่อเราได้รู้แล้วว่าเทศกาลเสียงแตรนี้ เป็นการประกาศสู่การเริ่มต้นในการชันสูตรใจ เมื่อเสียงแตรดังขึ้น ให้เราทูลขอชัยชนะเหนือการทดลองใจในเรื่องต่าง ๆ ที่มาถึงชีวิต ขอให้พระเจ้าเข้ามาชันสูตรใจ
ให้เราประกาศว่าเราจะขอใช้ชีวิตให้คุ้มค่า ตั้งแต่นี้ไปจะดำรงตนเพื่อพระนามของพระเยซูคริสต์
ให้เราได้กลับไปใคร่ครวญชีวิตของตนเองกับพระเจ้าในด้านต่าง ๆ และมุ่งหน้าเดินติดตามพระเจ้า ปลุกจิตวิญญาณที่อ่อนแอ หรือหลับใหลให้ตื่นขึ้น เพื่อไปกับพระเจ้า
4.เสียงประกาศสู่การเปิดฉากการพิพากษาครั้งสุดท้าย
มีผู้เผยพระวจนะหลายท่านประกาศการพิพากษาของพระเจ้าด้วยเสียงแตร เช่น
โยเอล 2:1
1 จงเป่าเขาสัตว์ที่ในศิโยน จงเปล่งเสียงปลุกบนภูเขาบริสุทธิ์ของข้าพเจ้า ให้ชาวแผ่นดินทั้งสิ้นตัวสั่น เพราะวันแห่งพระเจ้ากำลังมาแล้ว ใกล้เข้ามาแล้ว
ในพระคัมภีร์ใหม่ พระธรรมวิวรณ์ก็บันทึกเช่นเดียวกัน ว่าเสียงแตรของทูตสวรรค์ดังขึ้น เพื่อคนต่าง ๆ จะรับการพิพากษาโทษ
วิวรณ์ 9:20-21
20 มนุษย์ทั้งหลายที่เหลืออยู่ ที่มิได้ถูกฆ่าด้วยภัยพิบัติเหล่านี้ ยังไม่ได้กลับใจเสียใหม่จากงานที่มือเขาได้กระทำ ไม่ได้เลิกบูชาผี บูชา รูปเคารพที่ทำด้วยทองคำ เงิน ทองสัมฤทธิ์ หินและไม้ รูปเคารพเหล่านั้น จะดู หรือฟัง หรือเดินก็ไม่ได้
21 และเขาก็มิได้สำนึกผิดในการฆ่าฟันกัน และการเชื่อเวทมนตร์ การล่วงประเวณี และการลักขโมย
พระธรรมดาเนียลให้ภาพของบรรยากาศและฉากแห่งการพิพากษาโทษในวันสุดท้ายได้อย่างชัดเจน
ในวันนั้น หนังสือแห่งชีวิตจะถูกเปิดออก ทุกคนจะได้รายงานการกระทำของตนต่อหน้าบัลลังก์ของพระเจ้า
ดาเนียล 7:9-10
9 ขณะที่ข้าพเจ้ายืนดูอยู่ มีหลายบัลลังก์มาตั้งไว้ และผู้หนึ่งผู้เจริญด้วยวัยวุฒิมาประทับ ฉลองพระองค์ขาวอย่างหิมะ พระเกศาที่พระเศียรของพระองค์เหมือนขนแกะบริสุทธิ์พระบัลลังก์ของพระองค์เป็นเปลวเพลิง กงจักรของบัลลังก์นั้นเป็นไฟลุก
10 ธารไฟพุ่งออก และไหลออกมาต่อเบื้องพระพักตร์พระองค์ คนนับแสนๆ ปรนนิบัติพระองค์ คนนับโกฏิๆ เข้าเฝ้าพระองค์ ผู้พิพากษาก็ขึ้นนั่งบัลลังก์ บรรดาหนังสือก็เปิดขึ้น
คนยิวเชื่อว่า การพิพากษาครั้งสุดท้ายได้เปิดฉากในเทศกาลรอชฮาชานา ด้วยเสียงแตร และจะปิดฉากเมื่อครบกำหนดสิบวันหลังจากนั้น ซึ่งเป็นวันลบมนทิลบาป
วันทำการลบมนทิลจะตรงกับวันที่สิบของเดือนที่เจ็ด ในวันนี้มหาปุโรหิตจะแยกตัวออกจากคนอื่น ๆ ปุโรหิตจะถอดเครื่องยศบริสุทธิ์และงดงามออก สวมเพียงเสื้อกางเกงและหมวกผ้าป่านสีขาว (ซึ่งเล็งถึงความเป็นมนุษย์ของพระคริสต์” เขาจะชำระกายห้าครั้งกับล้างมือและเท้าสิบครั้ง
แพะสองตัวเป็นลักษณะเฉพาะที่สำคัญอย่างหนึ่งของวันทำการลบมลทิน ตัวหนึ่งจะเป็นแพะรับบาป และแพะตัวนี้จะถูกปล่อยเข้าไปในถิ่นทุรกันดาร พร้อมทั้งบรรทุกเอาความบาปทั้งสิ้นของประชาชนไปด้วย (เลวีนิติ 16:20-22)
เขาจะนำเลือดวัวและเลือดแพะประพรมอภิสุทธิสถาน ม่าน แท่นเผาเครื่องหอม และแท่นเครื่องเผาบูชา เพื่อชำระทุกสิ่งเหล่านี้ให้ปราศจากมลทิน
มหาปุโรหิตจะเข้าไปในอภิสุทธิสถานเพียงปีละครั้ง คือ ในวันทำการลบมนทิน บาป และต้องนำเลือดเข้าไปถวาย
มหาปุโรหิตไม่เพียงแต่นำเลือดของสัตว์ที่ถวายบูชาเข้าไปในอภิสุทธิสถานเท่านั้น เขายังต้องนำกระถางเผาเครื่องหอมมีถ่านลุกอยู่มาจากแท่นเผาเครื่องหอม ใส่เครื่องหอมทุบละเอียดสองกำมือไว้ และควันเครื่องหอมจะคลุมพระที่นั่งกรุณาซ่อนพระสิริเสียจากสายตาของเขา และมหาปุโรหิตจะได้รอดตาย เพราะขณะนั้นเขาอยู่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าและวิงวอนพระองค์เพื่อประชาชน โดยออกพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ คือ ยาห์เวห์ (Yahweh)
พระคริสต์ได้เสด็จมาเป็นมหาปุโรหิตแล้ว พระองค์ก็ได้เสด็จเข้าไปสู่เต็นท์อันใหญ่ยิ่งกว่าแต่ก่อน พระองค์ได้เสด็จเข้าไปสู่วิสุทธิสถานเพียงครั้งเดียวเท่านั้น และพระองค์ไม่ได้ทรงนำเลือดแพะและเลือดลูกวัวเข้าไป แต่ทรงนำพระโลหิตของพระองค์เข้าไป และทรงสำเร็จการไถ่บาปชั่วนิรันดร์ (ฮีบรู 9:11-12)
อย่างไรก็ตามสำหรับคนยิวแล้ว วันทั้งสิบวันก่อนวันลบมลทินนั้น ถูกเรียกกันว่า วันแห่งความน่าสะพรึงกลัว
เทศกาลเสียงแตรหรือรอชฮาชานาถือเป็นวันที่เข้าสู่การพิพากษา แต่วันที่ประทับตราคำพิพากษาคือวันลบมนทิลบาป หรือยมคิปปูร์ ว่าผลจะออกมาอย่างไรถ้ากลับใจบาปก็ถูกลบ หรือชำระให้หมดสิ้นได้
นี่เป็นภาพที่เล็งถึงการเสด็จกลับมาของพระคริสต์ ที่บอกเราให้มีชีวิตยำเกรงพระเจ้า
วิวรณ์ 14:7
7 ท่านประกาศด้วยเสียงอันดังว่า "จงยำเกรงพระเจ้า และถวายพระเกียรติแด่พระองค์ เพราะถึงเวลาที่พระองค์จะทรงพิพากษาแล้ว และจงนมัสการพระองค์ ผู้ได้ทรงสร้างฟ้าสวรรค์ แผ่นดินโลก ทะเล และบ่อน้ำพุทั้งหลาย"
การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
เมื่อเราได้รู้แล้วว่าเทศกาลเสียงแตรนี้ เป็นการประกาศสู่การเปิดฉากการพิพากษาครั้งสุดท้าย เมื่อเสียงแตรดังขึ้นให้เรา ขอการอภัย ขอพระเมตตาจากพระเจ้า
ให้เราประกาศถึงการเป็นบุตรของพระเจ้า ประกาศการมีชัยเหนือมารซาตานที่ล่อลวงในวาระสุดท้ายก่อนการพิพากษา ประกาศชีวิตแห่งการยำเกรงพระเจ้า ยอมสยบอยู่ต่อพระองค์
5.เสียงประกาศการทรงสถิตและการครอบครองของพระเจ้า
เสียงของโชฟาร์ยังเป็นสัญลักษณ์ของการเป่าเพื่อให้พระเจ้าเสด็จเข้ามาครอบครอง
การพิพากษาของพระเจ้าและการครอบครองเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กัน เมื่อไรก็ตามที่พระเจ้าทรงสถิตและครอบครอง เมื่อนั้น สิ่งผิดสิ่งถูกจะถูกชี้ชัด คนจะเห็นความบาปผิดของตนเอง
เป็นภาพของกษัตริย์นั่งบนบัลลังก์แห่งการครอบครอง และพิพากษาเหนือประชากรของพระองค์
พระวจนะบันทึกเหตุการณ์ว่าเมื่อกษัตริย์ใหม่ขึ้นนั่งครอบครอง จะมีการเป่าแตรเพื่อป่าวประกาศบัลลังก์ของพระองค์
1 พงศ์กษัตริย์ 1:39
39 แล้วศาโดกปุโรหิตได้นำเขาสัตว์ที่บรรจุน้ำมันมาจากเต็นท์ของพระเจ้า และเจิมตั้งซาโลมอนไว้ และเขาทั้งหลายก็เป่าเขาสัตว์ และประชาชนทั้งปวงกล่าวว่า "ขอพระราชาซาโลมอน ทรงพระเจริญ"
เช่นเดียวกันที่ในวันร้อช ฮ้าชชะนาห์ หรือ เทศกาลเสียงแตรที่เป่าออกไปเพื่อประกาศก้องว่าพระคริสต์ทรงยิ่งใหญ่และทรงเสด็จมาครอบครอง
เสียงของโชฟาร์ทำให้ระลึกถึงการครอบครองที่เปี่ยมด้วยความยุติธรรม และเมตตา
พระคริสต์ปรารถนาจะสถิตอยู่ในชีวิตของเรา ทรงปรารถนาการครอบครองเหนือตัวเรา เหนือคริสตจักร
การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
เมื่อเราได้รู้แล้วว่าเทศกาลเสียงแตรนี้ เป็นการประกาศการทรงสถิต และการครอบครองของพระเจ้า เมื่อเสียงแตรดังขึ้น ให้เราร้องเรียกพระเจ้า ให้การทรงสถิตของพระองค์เทลงมา
6.เสียงแห่งการรวบรวมผู้คนเข้าสู่การครอบครองของพระคริสต์
ในพระคัมภีร์เดิม พระเจ้าทรงสัญญาจะส่งพระเมสิยาห์มาปลดปล่อยชนชาติของพระองค์
เสียงโชฟาจึงเป็นเครื่องหมายแห่งการระลึกถึงพระสัญญาของพระเจ้าที่จะส่งพระเมสิยาห์ ผู้ที่จะเสด็จมามารวบรวมลูก ๆ ที่กระจัดกระจายให้กลับมารวมกันเป็นหนึ่งเดียว
อิสยาห์ 27:13
13 และในวันนั้นเขาจะเป่าเขาสัตว์ใหญ่ และบรรดาผู้ที่กำลังพินาศอยู่ในแผ่นดินอัสซีเรีย และบรรดาผู้ถูกขับไล่ออกไปยังแผ่นดินอียิปต์จะมานมัสการพระเจ้า บนภูเขาบริสุทธิ์ที่เยรูซาเล็ม
เสียงโชฟาร์ ไม่เพียงเป็นการประกาศถึงการเสด็จมาเพื่อรวบรวมผู้คนของพระเมสสิยาห์ที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์เดิม (อิสยาห์ 27:13)
ในพระคัมภีร์ใหม่ เป็นการประกาศถึงการครอบครอง การปกครองของพระคริสต์บนแผ่นดินโลก
1เธสะโลนิกา 4:16
16 ด้วยว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าจะเสด็จมาจากสวรรค์ ด้วยพระดำรัสสั่ง ด้วยสำเนียงเรียกของเทพบดีและด้วยเสียงแตรของพระเจ้า และคนทั้งปวงในพระคริสต์ที่ตายแล้วจะเป็นขึ้นมาก่อน
1โครินธ์ 15:52
52 ในชั่วขณะเดียว ในพริบตาเดียว เมื่อเป่าแตรครั้งสุดท้าย เพราะว่าจะมีเสียงแตร และคนที่ตายแล้วจะเป็นขึ้นมาปราศจากเน่าเปื่อย แล้วเราทั้งหลายจะถูกเปลี่ยนแปลงใหม่
พระคริสต์จะเสด็จมาเพื่อรวบรวมคนทั้งปวงที่พระองค์ทรงเลือกสรรไว้แล้ว
มัทธิว 24:30-31
30 เมื่อนั้นนิมิตแห่งบุตรมนุษย์ จะปรากฏขึ้นในท้องฟ้า มนุษย์ทุกชาติทั่วโลกจะตีอกร้องไห้ บุตรมนุษย์เสด็จมาบนเมฆในท้องฟ้า ทรงฤทธานุภาพและพระสิริเป็นอันมาก
31 พระองค์ทรงใช้เหล่าทูตสวรรค์ของพระองค์ มาด้วยเสียงแตรอันดังยิ่งนัก ให้รวบรวมคนทั้งปวงที่พระองค์ทรงเลือกสรรไว้แล้ว ทั้งสี่ทิศนั้น ตั้งแต่ที่สุดฟ้าข้างนี้จนถึงที่สุดฟ้าข้างโน้น
การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
เมื่อเราได้รู้แล้วว่าเทศกาลเสียงแตรนี้ เป็นการสัญลักษณ์ของยุคพระเมสสิยาห์ หรือของพระคริสต์ที่จะเสด็จกลับมารวมรวมผู้คน เมื่อเสียงแตรดังขึ้นให้เราอธิษฐานขอการเชื่อมต่อพระกาย และรวมตัวเป็นหนึ่งเดียว
ขอความเป็นเอกภาพ การรวมเป็นหนึ่งเดียวระหว่างพี่น้องในคริสตจักร ระหว่างคริสตจักรต่าง ๆ และความเป็นเอกภาพหนึ่งเดียวของคนในประเทศชาติ
อธิษฐานขอการที่คริสตจักรเข้าไปเชื่อมต่อกับอิสราเอลเป็นคนใหม่คนเดียวในพระคริสต์ (One Newman)(เอเฟซัส2:15)
อธิษฐานขอให้พี่น้องที่หลงหายไปในที่ต่าง ๆ กลับมาหาพระเจ้า
7.เสียงเตือนใจให้ระลึกถึงพระเมตตาของพระเจ้า
เสียงการเป่าโชฟาร์ ไม่ได้ให้ความรู้สึกถึงความน่ากลัวเสมอไป เราเห็นได้ว่าในพระวจนะบางตอนกล่าวถึงการเป่าเสียงแตรเพื่อเปิดปีแห่งการเฉลิมฉลอง
เลวีนิติ 25:9-10
9 เจ้าจงให้เป่าเขาสัตว์ดังสนั่นในวันที่สิบเดือนที่เจ็ด เจ้าจงให้เป่าเขาสัตว์ทั่วแผ่นดินในวันทำการลบมลทิน
10 เจ้าจงถือปีที่ห้าสิบไว้เป็นปีบริสุทธิ์ และประกาศอิสรภาพแก่บรรดาคนที่อาศัยอยู่ทั่วแผ่นดินของเจ้า ให้เป็นปีเสียงเขาสัตว์แก่เจ้า ให้ทุกคนกลับไปยังภูมิลำเนาอันเป็นทรัพย์สินของตน และกลับไปสู่ตระกูลของตน
บางครั้งเสียงเขาสัตว์ก็เป่าออกไปเพื่อประกาศถึงพระเมตตาของพระเจ้าในการปลดปล่อยผู้คนให้เป็นไท คืนกลับสู่เสรีภาพ
เป็นการประกาศถึงเมตตาของพระเจ้าในการให้สิ่งต่าง ๆ หยุดพัก (เลวีนิติ 25:11)
การเป่าแตรในวันรอชฮาชานานี้ เป็นการเตือนให้ระลึกถึงความเมตตาของพระเจ้า การให้อภัยบาปของพระองค์ อย่างที่เขาไม่สมควรได้รับเพื่อเตือนใจให้ระลึกถึงความเมตตาของพระเจ้า ในวันนี้คนยิวจะอ่านพระวจนะในธรรมศาลาถึงเรื่องราวของอับราฮัมในการถวามอิสอัค (ปฐมกาล 22) และอับราฮัมได้ชื่นชมกับพระเมตตาของพระองค์ที่พระองค์ได้ส่งแกะมาเพื่อถวายบูชาแทนอิสอัค
นี่เป็นที่มาว่าเหตุใดคนยิวจึงใช้เขาแกะปลายงอน เป่า ทั้งนี้เพื่อจะได้หวนกลับไประลึกถึงพระเมตตาที่ทรงกระทำต่ออับราฮัม
เขาจากแกะที่ถูกจับได้จากพุ่มไม้ กลายมาเป็นสัญลักษณ์ เพื่อระลึกถึงคนบาป และการลบล้างบาป
การเป่าแตรในการออกศึกสงครามนั้นก็เป็นการเชื่อมโยงถึงเทศกาลเสียงแตร เพื่อเตือนใจว่าพระเจ้าระลึกถึงเรา และจะช่วยเราซึ่งเป็นประชากรของพระองค์
เช่นเดียวกัน ในขณะนี้เราอยู่ท่ามกลางสงครามฝ่ายวิญญาณ และเมื่อเราเดินหน้าในงานพระเจ้า เรารู้ว่าจะมีการปะทะในฝ่ายวิญญาณ
เสียงแตรที่เราจะเป่านี้ ก็เป็นการประกาศก้องว่า พระเจ้าทรงอยู่ฝ่ายเรา ทรงระลึกถึงเรา และจะช่วยเราให้มีชัยเหนือมารซาตานได้
ในวันแห่งการพิพากษานั้นพระเจ้าก็จะช่วยประชากรของพระองค์ที่กลับใจใหม่ด้วยความเมตตาให้พ้นโทษทัณฑ์แห่งบาปเช่นกัน
ดังนั้น การระลึกถึงเทศกาลเสียงแตรในปัจจุบัน พระเจ้าจึงให้พระคริสต์เป็นศูนย์กลาง โดยพระคริสต์ พระองค์จะดูแลความต้องการของเรา และพระองค์จะระลึกหรือจดจำเราได้ในวันแห่งการพิพากษาเมื่อพระคริสต์นั่งอยู่บนบัลลังก์
เมื่อเสียงแตรครั้งสุดท้ายดังขึ้น นั่นหมายถึง พระคริสต์ได้จดจำเราไว้ในฐานะบุตรของพระองค์ตลอดนิรันดร์
การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
เมื่อเราได้รู้แล้วว่าเทศกาลเสียงแตรนี้ เป็นเวลาแห่งการระลึกถึงพระเมตตาของพระเจ้า เมื่อเสียงแตรดังขึ้นให้เรากล่าวสรรเสริญพระเมตตาของพระองค์ที่ทรงกระทำในชีวิตของเราในเรื่องต่าง ๆ ชื่นชมยินดีต่อพระเมตตาของพระองค์ ให้เราเป่าเสียงแตรเพื่อประกาศถึงการช่วยกู้ของพระเจ้าในการปะทะในสงครามฝ่ายวิญญาณ ซึ่งโดยเสียงแตรนี้ พระเจ้าจะเข้าช่วยกู้บุตรของพระองค์ให้มีชัย
วันนี้เราในฐานะคริสตชนชาวไทย เราไม่ได้นำรูปแบบพิธีกรรมมาปฏิบัติโดยขาดความเข้าใจแต่เราได้นำหลักการมาประยุกต์ใช้ และเราได้นำชีวิตของเราเข้าสู่ตารางเวลาเดียวกับพระเจ้า เราจึงไม่สามารถดำเนินชีวิตอย่างไร้เป้าหมาย
หากแต่เสียงแตรนั้นเป็นสัญญาณเตือนใจให้เราตื่นตัวอยู่เสมอและเคลื่อนไปตามวาระเวลาของพระองค์ สรรเสริญพระเจ้า
ในช่วงประมาณเดือนกันยายนของทุกปี คนอิสราเอลจะมีเทศกาลฉลองปีใหม่ของเขาคือ ร้อช ฮ้าชชะนาห์ เทศกาลแห่งเสียงแตร (ในปี 2010 ตรงกับวันที่ 8 กันยายน) เป็นการเริ่มต้นปีใหม่และสำรวจชีวิตทิ้งสิ่งเก่าและเริ่มต้นใหม่ในปีข้างหน้า
ในปัจจุบันผู้เชื่อส่วนใหญ่นั้นไม่รู้จักเทศกาลของพระเจ้า ฉะนั้นคนเหล่านั้นจึงไม่สามารถที่จะเข้าใจจุดประสงค์หรือแผนการของพระเจ้าได้
บางคนคิดว่าเทศกาลต่างๆของพระเจ้านั้นไม่มีประโยชน์อะไรสําหรับผู้เชื่อเลย แท้จริงแล้วเทศกาลต่างๆนั้นเป็นเงาของเหตุการณ์ที่จะมีมาภายหลัง ฉะนั้นเทศกาลต่างๆของพระเจ้าสอนเราเกี่ยวกับแผนของพระเจ้า
พระเจ้าได้ทรงบรรยายถึงทุกเทศกาลของท่านไว้ใน เลวินิติ บทที่ 23 ได้เริ่มต้นด้วยคําว่า “พระเจ้าตรัสกับโมเสสว่า จงกล่าวแก่คนอิสราเอลว่า เทศกาลเลี้ยงตามกําหนดแด่พระเจ้า ซึ่งเจ้าจะต้องประกาศว่าเป็นการประชุมบริสุทธ์” (เลวินิติ 23:1-2) เทศกาลเหล่านี้เป็นวันประชุมบริสุทธ์ที่ทุกคนจะมาประชุมกันและเรียนรู้ถึงแผนการของพระเจ้า
พระเจ้าได้ทรงกำหนดเทศกาลต่างๆไว้สําหรับทุกคน
เนื่องจากในช่วงเวลานี้ ตามปฏิทินยิว เป็นช่วงเวลาแห่งเสียงแตรเขาสัตว์ (shofar (Hebrew: שופר) ซึ่งเป็นเทศกาลที่สำคัญและมีความหมายฝ่ายวิญญาณมาก
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้ฟังคำสอนในเรื่องปี 5771 ของปฎิทินยิว เรียกว่าเป็นปีตัวอักษร Ayin Aleph ซึ่งเป็นปีแห่งการเตรียมให้บริสุทธิ์เพื่อรองรับการเทลงมาแห่งพระสิริของพระเจ้า โดย Dr.Robert Heidler ศิษยาภิบาลอาวุโสของ Glory of Zion และในวันอาทิตย์ที่ 5 กันยายนที่ผ่านมา อ.นิมิตได้แบ่งปันในคำเทศนาเรื่องนี้ที่คริสตจักรแห่งพระบัญชา
ผมจึงได้ไปศึกษาและเรียบเรียงเขียนให้อ่านและพิจารณาถึงเทศกาลนี้ เพื่อจะมีความเข้าใจและก้าวไปสู่เวลาใหม่ของพระเจ้า เป็นเวลาที่น่าตื่นเต้นที่พระเจ้าทรงจะกระทำในปีข้างหน้านี้ สิ่งที่เราควรจะทำคือจัดตารางเวลาของเราเข้าสู่ตารางเวลาของพระเจ้า
เทศกาลเสียงแตรมีขึ้นในวันแรกของเดือนที่เจ็ด เป็นเดือนที่สำคัญมากเพราะในเดือนนี้มีเทศกาลอยู่ถึง 3 เทศกาลได้แก่ เทศกาลเป่าแตร เทศกาลลบมนทิลบาป และเทศกาลอยู่เพิง ทั้ง 3 เทศกาลนี้เป็นแบบที่ทำให้เห็นแผนการแห่งการไถ่ที่สมบูรณ์ของพระเจ้า
ในแต่ละปีทางศาสนาของยิวนั้นจะมีการเป่าแตร แต่การเป่าแตรในเทศกาลเป่าแตรซึ่งอยู่ในเดือนที่เจ็ดนั้น ถือเป็นการเป่าแตรในช่วงระยะเวลาท้ายสุดของปี เพื่อบอกถึงการสำเร็จเสร็จสิ้น ความสมบูรณ์ในแผนการของพระเจ้าสำหรับการไถ่บาป และเปิดฉากสู่การก้าวสู่เวลาใหม่ มิติใหม่ หรือ ก้าวสู่ New world
ในพระคัมภีร์เดิม เทศกาลเป่าแตรมีขึ้นในวันแรกของเดือนที่เจ็ด แต่เดิมเรียกว่าเดือนเอธานิม ซึ่งปรากฏใน
1 พงศ์กษัตริย์ 8:2
2 และผู้ชายทั้งสิ้นของอิสราเอลก็ประชุมต่อพระพักตร์พระราชาซาโลมอน ณการเลี้ยงในเดือนเอธานิม ซึ่งเป็นเดือนที่เจ็ด
แต่มาภายหลังเมื่ออิสราเอลกลับจากการเป็นทาสที่บาบิโลนจึงเรียกชื่อเดือนนี้ใหม่เป็นเดือนทิชรี ทิชรีจึงเป็นเดือนแรกในปฏิทินชาวบาบิโลน ชาวยิวเรียกวันแรกในเดือนทิชรีนี้ว่า รอชฮาชานา ซึ่งแปลตามตัวอักษรหมายถึง ต้นปี คนยิวจึงถือเอาวันนี้เป็นวันปีใหม่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้น คือ เริ่มต้นสิบวันแห่งการกลับใจใหม่ หรือ เริ่มต้นวันอันน่าสะพรึงกลัว นี่เป็นสิบวันแห่งการเตรียมตัวสู่วันลบมนทิลบาปหรือวันยมคิปปูร์ ซึ่งอยู่ในวันที่สิบของเดือนที่เจ็ด
เทศกาลเสียงแตรและวันแห่งการลบมลทินบาป(The day of atonement) Yom Kippur ยมคิปปูร์(Hebrew: יוֹם כִּפּוּר )นี้ มีความแตกต่างจากเทศกาลอื่น ๆ นั่นก็คือ
ประการแรก เทศกาลทั้ง2 นี้ไม่มีความเชื่อมโยงใด ๆ กับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของชาติ มีการเฉลิมฉลองเทศกาลนี้อย่างเป็นส่วนตัว เพราะถือว่าเป็นเวลาส่วนตัวที่เล็งถึงแต่ละคนจะยืนขึ้นต่อหน้าพระเจ้าที่ทรงประทับบนบัลลังก์การพิพากษาและร้องขอการอภัยบาป และการชำระบาป
ประการที่สอง เทศกาลอื่น ๆ จะเฉลิมฉลอง เน้นความชื่นชมยินดีในจิตวิญญาณ แต่เทศกาลนี้เป็นเทศกาลที่เน้นการใคร่ครวญทางจิตวิญญาณ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเสด็จกลับมาพิพากษาและปกครองโลก
เทศกาลเสียงแตรถือเป็นหนึ่งในสองเทศกาลที่มีบรรยากาศจริงจัง ซึ่งมาจากข้อพระวจนะใน เลวีนิติ 23:24 บอกให้เป็นวันที่ระลึกด้วยเสียงแตรและในกันดารวิถี 29:1 บอกว่าเป็นวันที่ให้คนทั้งหลายเป่าแตร
ในพระคัมภีร์เดิมมีการอ้างถึงเทศกาลเสียงแตรครั้งแรกใน
เลวีนิติ 23:24
24 "จงกล่าวแก่คนอิสราเอลว่า ในวันที่หนึ่งของเดือนที่เจ็ด เจ้าทั้งหลายจงถือเป็นวันหยุดพักสงบวันหนึ่ง เป็นวันประชุมบริสุทธิ์ประกาศเป็นที่ระลึกด้วยเสียงแตร
โดยปกติแล้วก็มีการเป่าโชฟาร์ (shofar (Hebrew: שופר)ทุกเดือน แต่การเป่าแตรในเดือนเจ็ดนี้พิเศษกว่าเดือนอื่น ๆ ตรงที่เป็นการปลุกให้คนยืนขึ้นเพื่อเตรียมตัวให้พรอ้มก่อนการพิพากษาของพระเจ้าจะมาถึง
การเป่าแตรเป็นการเรียกให้กลับใจใหม่ก่อนวันแห่งการลบมนทินบาปซึ่งเล็งถึงวันแห่งการพิพากษาของพระเจ้า
โดยทั่วไป การเป่าแตรในแต่ละเดือนนั้นใช้แตรสั้น แต่การเป่าแตรในเดือนเจ็ดนั้นเป็นการเป่าแตรโดยใช้แตรที่มีขนาดยาว แตรแบบนี้จะให้เสียงดังกว่า เสียงดังจะปลุกจิตวิญญาณที่หลับใหลให้ตื่นขึ้น
คำว่า "ร้อช ฮ้าชชะนาห์ " แปลว่า "จุดเริ่มต้นของปี"
คนยิวจะมีปฏิทินแตกต่างกัน คือ ปฏิทินทางศาสนา และปฏิทินทั่ว ไป ปฏิทินทางศาสนานั้นจะเริ่มต้นนับในฤดูใบไม้ผลิ ดังที่บันทึกในอพยพ12:2 เฉลยธรรมบัญญัติ 16:1
เดือนแรกในปีทางศาสนา คือ เดือนที่คนอิสราเอลออกจากอียิปต์ และได้ฉลองเทศกาลปัสกา ซึ่งถือเป็นเทศกาลแห่งการไถ่ เรียกกันว่าเดือนอาบิบ คือ เดือนแห่งการได้ยินเสียง แต่ภายหลังเมื่อคนอิสราเอลกลับจากการเป็นทาสที่บาบิโลน ได้ตั้งชื่อเดือนอาบิบใหม่เป็นเดือนนิสาน ซึ่งเริ่มต้นในวันเพ็ญของเดือนมีนาคม หรือเมษายน
ส่วนปีที่ประชาชนทั่วไปยึดถือกัน เป็นปีทางการเกษตร ไม่ใช่ปฏิทินทางศาสนานั้นเชื่อว่า การเริ่มต้นปีอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ล่วงซึ่งอยู่ในเดือนที่เจ็ด ภายหลังจากที่อิสราเอลกลับจากการเป็นเชลย ได้เรียกเดือนนี้ว่าเดือนทิชรี
การเป่าเสียงแตรนั้นจะกระตุ้นความรู้สึก ออกจากความเฉื่อยชา และทำให้เกิดการตระหนักรู้ ใคร่ครวญในจิตวิญญาณ
ผมนึกถึงแตรวูวูเซร่า (Vuvuzela) ที่ชาวแอฟริกันใช้เป่าเพื่อปลุกเร้าใจให้นักฟุตบอลและกองเชียร์ในช่วงฟุตบอล WorldCup 2010
แต่แตรวูวูเซร่านั้นแตกต่างจากโชฟา เพราะแตรวูวูเซร่า นั้นเสียงดังน่า "รำคาญใจ" แต่เสียงการเป่าโชฟา น่า "สำราญใจ" เพราะพระเจ้าได้ให้เราเคลื่อนไปตามเสียงของพระองค์
การเป่าโชฟา ในเทศกาลเสียงแตร หรือ รอชฮาชานามีความหมายอย่างไรบ้าง
1.เสียงเรียกให้กลับใจ
ผู้เผยพระวจนะในพระคัมภีร์เดิมใช้เป็นคำว่าโชฟาร์ เป็นอุปมาเปรียเทียบถึงการเรียกผู้คนให้กลับใจและหันกลับมาหาพระเจ้า
ตัวอย่าง เช่น ผู้เผยพระวจนะโยเอล เป่าแตรหรือโชฟาร์ ในศิโยนเพื่อเรียกให้คนกลับใจใหม่
โยเอล 2:15
15 จงเป่าเขาสัตว์ที่ในศิโยน จงเตรียมทำพิธีอดอาหาร จงเรียกประชุมตามพิธี
เสียงของโชฟาร์เป็นเสียงเรียกให้ตอบสนอง เพื่อใคร่ครวญดูการกระทำของตน และดำเนินชีวิตใหม่ให้ถูกต้อง ก่อนวันแห่งการพิพากษา เป็นการหวนระลึกถึงการกระทำของตน เป็นการเผชิญหน้ากับจิตวิญญาณภายในของตน
เราต้องตระหนักว่ามีวันแห่งการพิพากษาแน่ ในพระคัมภีร์ใหม่ก็กล่าวถึงเรื่องนี้ ดังนั้นก่อนจะถึงวันนั้นผู้เชื่อจึงควรสำรวจใจ และกลับใจ
ฮีบรู 9:27
27 มีข้อกำหนดสำหรับมนุษย์ไว้แล้วว่าจะตายครั้งเดียว และหลังจากนั้นก็จะมีการพิพากษา…
พระเจ้ามักสื่อสารและเตือนประชากรของพระองค์ล่วงหน้าเสมอ ก่อนที่พระองค์จะทำการพิพากษา พระเจ้าเตือนประชากรของพระองค์ก่อนน้ำจะท่วมโลก และเตือนนินะเวห์ก่อนจะเกิดหายนะ
เทศกาลแห่งเสียงแตรสะท้อนถึง พระประสงค์ของพระเจ้าที่จะรวบรวมประชากรของพระองค์ให้กลับใจใหม่ เพื่อว่าพระองค์จะสามารถกู้พวกเขาในวันแห่งการพิพากษาได้
ชาวยิวมีช่วงเวลาสิบวันเรียกว่า “10 วันแห่งความยำเกรงพระเจ้า(Days of Awe)” ซึ่งเริ่มขึ้นในเทศกาลเสียงแตร และสิ้นสุดในวันทำการลบมนทินบาปซึ่งนับว่าเป็นวันสำคัญที่สุดในปฏิทินอิสราเอล ในระหว่างเวลาเหล่านี้ พวกประชาชนต่างพยายามแสวงหาโอกาสคืนดีกับศัตรู ระลึกถึงคนอนาถา และจะกลับใจจากบาป เพื่อเตรียมใจสำหรับวันลบมนทินที่จะมาถึง
เทศกาลเป่าแตรสำคัญมาก เป็นการเปิดฉากการพิพากษาของสวรรค์ ซึ่งนำไปสู่วันลบมลทินบาป ซึ่งจะเผยให้เห็นบาปของคนอิสราเอลแต่ละคน นี่เป็นภาพที่เล็งไปถึงการเสด็จกลับมาของพระคริสต์ เพื่อพิพากษาโลกนี้ ในวันสุดท้ายนั้น บาปของทุกคนจะถูกเปิดออกให้เห็น
การเป่าโชฟาเป็นการเตือนให้ระลึกถึงความยุติธรรมของพระเจ้า และพระเมตตาของพระองค์ เป็นการเตือนให้ประชาชนกลับใจใหม่ และในขณะเดียวกัน ก็เป็นการเตือนให้ระลึกว่าประชากรของพระเจ้าต้องการพระเจ้า
การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
เมื่อเราได้รู้แล้วว่าเทศกาลเสียงแตรนี้ เป็นเสียงเรียกให้คนกลับใจใหม่แล้ว เราจะเป่าแตร เมื่อเสียงแตรดังขึ้น ให้เราประกาศการกลับใจใหม่ ในเรื่องต่าง ๆ ลองคิดดูว่ามีบาปใดซ่อนเร้นอยู่บ้าง ขอการชำระจากพระเจ้า
2.เสียงแห่งการปลดปล่อยอิสรภาพ การประกาศถึงระบบระเบียบใหม่ทางสังคมและศาสนา
นอกจากนี้การเป่าเสียงแตรด้วยโชฟา ยังเป็นการประกาศถึงการจัดระบบระเบียบทางสังคม และศาสนา เป็นการประกาศถึงอิสรภาพ เสรีภาพ เป็นการปลดปล่อยจากความยากจน และพันธนาการ เป็นการประกาศการปลดปล่อยจากบาปและการละเมิด
เลวีนิติ 25:9 เจ้าจงให้เป่าเขาสัตว์ดังสนั่นในวันที่สิบเดือนที่เจ็ด เจ้าจงให้เป่าเขาสัตว์ทั่วแผ่นดินในวันทำการลบมลทิน
ในสมัยพระคัมภีร์ใหม่ เทศกาลเสียงแตรนี้ เล็งถึงการกลับมาของพระคริสต์ เพื่อประกาศเวลา ฤดูกาลใหม่ ที่พระองค์ทรงปฏิเสธการดำเนินชีวิตอย่างศาสนา แต่สถาปนาการนมัสการด้วยจิตวิญญาณและความจริง
ดังนั้นการเป่าแตรจึงเป็นสัญลักษณ์ของการประกาศการหลุดพ้นจากวิถีเดิมแห่งพันธการ การตกอยู่ภายใต้วิญญาณแห่งกฏเกณฑ์ และการดำเนินชีวิตอย่างเป็นรูปแบบ
นอกจากนี้การเสด็จมาของพระคริสต์ยังให้ภาพของการจัดระเบียบสังคมใหม่ เป็นสังคมแห่งคุณธรรม
เป็นการสะท้อนว่า อำนาจแห่งการปกครองจะไม่ได้อยู่ในมือของคนตามืดบอด อีกต่อไป แต่จะอยู่ในพระหัตถ์ของพระเจ้า
การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
เมื่อเราได้รู้แล้วว่าเทศกาลเสียงแตรนี้ เป็นสัญลักษณ์เล็งถึงการประกาศอิสระภาพ พันธนาการต่าง ๆ เมื่อเสียงแตรดังขึ้นให้เราประกาศการปลดปล่อยอิสรภาพให้กับชีวิตของเรา ที่อยู่ในพันธนาการแห่งบาป หรือ อยู่ในปัญหาบางอย่าง ขอพระเจ้าปลดปล่อยเราจากความยากจน ขัดสน หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรค
ให้เราปลดปล่อยอิสรภาพมาสู่คริสตจักรที่จะไม่ตกอยู่ภายใต้วิญญาณศาสนา
ให้เราปลดปล่อยอิสรภาพให้กับสังคม และประเทศของเรา ที่จะมีการปฏิรูปการจัดระบบสังคมใหม่ให้เป็นสังคมแห่งคุณธรรม หลุดพ้นจากอำนาจซาตานที่ล่อลวงผู้คนให้เป็นเมืองแห่งความบาปในด้านต่าง ๆ
3.เสียงแห่งการประกาศถึงการเริ่มต้นสู่การพิสูจน์ และสำรวจใจ
การเป่าโชฟาร์ในวันร้อช ฮ้าชชะนาห์ ยังเป็นการประกาศก้องถึงการเริ่มต้นของการเข้าสู่การสำรวจใจ ก่อนวันแห่งการพิพากษา การสำรวจนี้กินเวลา สิบวัน จนกระทั่งวันลบมนทินบาป (หรือ วันยมคิปปูร์) มาถึง
ในระหว่างสิบวันนี้ ชาวยิวจะตระหนักถึงชีวิตของตน เหมือนเอาชีวิตไปชั่งบนตาชั่ง พวกเขาจะได้ตระหนักถึงความเปราะบางของชีวิต และจะถามคำถามตนเองว่าถ้าชีวิตของเขาจบลงในวันนี้ เขาได้ใช้ชีวิตคุ้มค่า หรือสมควรแล้วหรือไม่
ช่วงเวลาแห่งการใคร่ครวญนี้ จะทำให้ได้ตระหนักว่าชีวิตของคนแต่ละคนนั้น เป็นชีวิตที่อยู่ภายใต้พระหัตถ์ของพระเจ้า เราไม่สามารถกำหนดทุกสิ่งได้ด้วยตนเอง
เสียงโชฟาจะประกาศให้เห็นว่าไม่มีสิ่งใดที่หลบซ่อนในใจได้ เหมือนการยืนอยู่ต่อหน้าหมู่ทหารที่ทำการยิงเป้า ซึ่งต้องพิสูจน์ในระดับลึกของจิตใจ
การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
เมื่อเราได้รู้แล้วว่าเทศกาลเสียงแตรนี้ เป็นการประกาศสู่การเริ่มต้นในการชันสูตรใจ เมื่อเสียงแตรดังขึ้น ให้เราทูลขอชัยชนะเหนือการทดลองใจในเรื่องต่าง ๆ ที่มาถึงชีวิต ขอให้พระเจ้าเข้ามาชันสูตรใจ
ให้เราประกาศว่าเราจะขอใช้ชีวิตให้คุ้มค่า ตั้งแต่นี้ไปจะดำรงตนเพื่อพระนามของพระเยซูคริสต์
ให้เราได้กลับไปใคร่ครวญชีวิตของตนเองกับพระเจ้าในด้านต่าง ๆ และมุ่งหน้าเดินติดตามพระเจ้า ปลุกจิตวิญญาณที่อ่อนแอ หรือหลับใหลให้ตื่นขึ้น เพื่อไปกับพระเจ้า
4.เสียงประกาศสู่การเปิดฉากการพิพากษาครั้งสุดท้าย
มีผู้เผยพระวจนะหลายท่านประกาศการพิพากษาของพระเจ้าด้วยเสียงแตร เช่น
โยเอล 2:1
1 จงเป่าเขาสัตว์ที่ในศิโยน จงเปล่งเสียงปลุกบนภูเขาบริสุทธิ์ของข้าพเจ้า ให้ชาวแผ่นดินทั้งสิ้นตัวสั่น เพราะวันแห่งพระเจ้ากำลังมาแล้ว ใกล้เข้ามาแล้ว
ในพระคัมภีร์ใหม่ พระธรรมวิวรณ์ก็บันทึกเช่นเดียวกัน ว่าเสียงแตรของทูตสวรรค์ดังขึ้น เพื่อคนต่าง ๆ จะรับการพิพากษาโทษ
วิวรณ์ 9:20-21
20 มนุษย์ทั้งหลายที่เหลืออยู่ ที่มิได้ถูกฆ่าด้วยภัยพิบัติเหล่านี้ ยังไม่ได้กลับใจเสียใหม่จากงานที่มือเขาได้กระทำ ไม่ได้เลิกบูชาผี บูชา รูปเคารพที่ทำด้วยทองคำ เงิน ทองสัมฤทธิ์ หินและไม้ รูปเคารพเหล่านั้น จะดู หรือฟัง หรือเดินก็ไม่ได้
21 และเขาก็มิได้สำนึกผิดในการฆ่าฟันกัน และการเชื่อเวทมนตร์ การล่วงประเวณี และการลักขโมย
พระธรรมดาเนียลให้ภาพของบรรยากาศและฉากแห่งการพิพากษาโทษในวันสุดท้ายได้อย่างชัดเจน
ในวันนั้น หนังสือแห่งชีวิตจะถูกเปิดออก ทุกคนจะได้รายงานการกระทำของตนต่อหน้าบัลลังก์ของพระเจ้า
ดาเนียล 7:9-10
9 ขณะที่ข้าพเจ้ายืนดูอยู่ มีหลายบัลลังก์มาตั้งไว้ และผู้หนึ่งผู้เจริญด้วยวัยวุฒิมาประทับ ฉลองพระองค์ขาวอย่างหิมะ พระเกศาที่พระเศียรของพระองค์เหมือนขนแกะบริสุทธิ์พระบัลลังก์ของพระองค์เป็นเปลวเพลิง กงจักรของบัลลังก์นั้นเป็นไฟลุก
10 ธารไฟพุ่งออก และไหลออกมาต่อเบื้องพระพักตร์พระองค์ คนนับแสนๆ ปรนนิบัติพระองค์ คนนับโกฏิๆ เข้าเฝ้าพระองค์ ผู้พิพากษาก็ขึ้นนั่งบัลลังก์ บรรดาหนังสือก็เปิดขึ้น
คนยิวเชื่อว่า การพิพากษาครั้งสุดท้ายได้เปิดฉากในเทศกาลรอชฮาชานา ด้วยเสียงแตร และจะปิดฉากเมื่อครบกำหนดสิบวันหลังจากนั้น ซึ่งเป็นวันลบมนทิลบาป
วันทำการลบมนทิลจะตรงกับวันที่สิบของเดือนที่เจ็ด ในวันนี้มหาปุโรหิตจะแยกตัวออกจากคนอื่น ๆ ปุโรหิตจะถอดเครื่องยศบริสุทธิ์และงดงามออก สวมเพียงเสื้อกางเกงและหมวกผ้าป่านสีขาว (ซึ่งเล็งถึงความเป็นมนุษย์ของพระคริสต์” เขาจะชำระกายห้าครั้งกับล้างมือและเท้าสิบครั้ง
แพะสองตัวเป็นลักษณะเฉพาะที่สำคัญอย่างหนึ่งของวันทำการลบมลทิน ตัวหนึ่งจะเป็นแพะรับบาป และแพะตัวนี้จะถูกปล่อยเข้าไปในถิ่นทุรกันดาร พร้อมทั้งบรรทุกเอาความบาปทั้งสิ้นของประชาชนไปด้วย (เลวีนิติ 16:20-22)
เขาจะนำเลือดวัวและเลือดแพะประพรมอภิสุทธิสถาน ม่าน แท่นเผาเครื่องหอม และแท่นเครื่องเผาบูชา เพื่อชำระทุกสิ่งเหล่านี้ให้ปราศจากมลทิน
มหาปุโรหิตจะเข้าไปในอภิสุทธิสถานเพียงปีละครั้ง คือ ในวันทำการลบมนทิน บาป และต้องนำเลือดเข้าไปถวาย
มหาปุโรหิตไม่เพียงแต่นำเลือดของสัตว์ที่ถวายบูชาเข้าไปในอภิสุทธิสถานเท่านั้น เขายังต้องนำกระถางเผาเครื่องหอมมีถ่านลุกอยู่มาจากแท่นเผาเครื่องหอม ใส่เครื่องหอมทุบละเอียดสองกำมือไว้ และควันเครื่องหอมจะคลุมพระที่นั่งกรุณาซ่อนพระสิริเสียจากสายตาของเขา และมหาปุโรหิตจะได้รอดตาย เพราะขณะนั้นเขาอยู่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าและวิงวอนพระองค์เพื่อประชาชน โดยออกพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ คือ ยาห์เวห์ (Yahweh)
พระคริสต์ได้เสด็จมาเป็นมหาปุโรหิตแล้ว พระองค์ก็ได้เสด็จเข้าไปสู่เต็นท์อันใหญ่ยิ่งกว่าแต่ก่อน พระองค์ได้เสด็จเข้าไปสู่วิสุทธิสถานเพียงครั้งเดียวเท่านั้น และพระองค์ไม่ได้ทรงนำเลือดแพะและเลือดลูกวัวเข้าไป แต่ทรงนำพระโลหิตของพระองค์เข้าไป และทรงสำเร็จการไถ่บาปชั่วนิรันดร์ (ฮีบรู 9:11-12)
อย่างไรก็ตามสำหรับคนยิวแล้ว วันทั้งสิบวันก่อนวันลบมลทินนั้น ถูกเรียกกันว่า วันแห่งความน่าสะพรึงกลัว
เทศกาลเสียงแตรหรือรอชฮาชานาถือเป็นวันที่เข้าสู่การพิพากษา แต่วันที่ประทับตราคำพิพากษาคือวันลบมนทิลบาป หรือยมคิปปูร์ ว่าผลจะออกมาอย่างไรถ้ากลับใจบาปก็ถูกลบ หรือชำระให้หมดสิ้นได้
นี่เป็นภาพที่เล็งถึงการเสด็จกลับมาของพระคริสต์ ที่บอกเราให้มีชีวิตยำเกรงพระเจ้า
วิวรณ์ 14:7
7 ท่านประกาศด้วยเสียงอันดังว่า "จงยำเกรงพระเจ้า และถวายพระเกียรติแด่พระองค์ เพราะถึงเวลาที่พระองค์จะทรงพิพากษาแล้ว และจงนมัสการพระองค์ ผู้ได้ทรงสร้างฟ้าสวรรค์ แผ่นดินโลก ทะเล และบ่อน้ำพุทั้งหลาย"
การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
เมื่อเราได้รู้แล้วว่าเทศกาลเสียงแตรนี้ เป็นการประกาศสู่การเปิดฉากการพิพากษาครั้งสุดท้าย เมื่อเสียงแตรดังขึ้นให้เรา ขอการอภัย ขอพระเมตตาจากพระเจ้า
ให้เราประกาศถึงการเป็นบุตรของพระเจ้า ประกาศการมีชัยเหนือมารซาตานที่ล่อลวงในวาระสุดท้ายก่อนการพิพากษา ประกาศชีวิตแห่งการยำเกรงพระเจ้า ยอมสยบอยู่ต่อพระองค์
5.เสียงประกาศการทรงสถิตและการครอบครองของพระเจ้า
เสียงของโชฟาร์ยังเป็นสัญลักษณ์ของการเป่าเพื่อให้พระเจ้าเสด็จเข้ามาครอบครอง
การพิพากษาของพระเจ้าและการครอบครองเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กัน เมื่อไรก็ตามที่พระเจ้าทรงสถิตและครอบครอง เมื่อนั้น สิ่งผิดสิ่งถูกจะถูกชี้ชัด คนจะเห็นความบาปผิดของตนเอง
เป็นภาพของกษัตริย์นั่งบนบัลลังก์แห่งการครอบครอง และพิพากษาเหนือประชากรของพระองค์
พระวจนะบันทึกเหตุการณ์ว่าเมื่อกษัตริย์ใหม่ขึ้นนั่งครอบครอง จะมีการเป่าแตรเพื่อป่าวประกาศบัลลังก์ของพระองค์
1 พงศ์กษัตริย์ 1:39
39 แล้วศาโดกปุโรหิตได้นำเขาสัตว์ที่บรรจุน้ำมันมาจากเต็นท์ของพระเจ้า และเจิมตั้งซาโลมอนไว้ และเขาทั้งหลายก็เป่าเขาสัตว์ และประชาชนทั้งปวงกล่าวว่า "ขอพระราชาซาโลมอน ทรงพระเจริญ"
เช่นเดียวกันที่ในวันร้อช ฮ้าชชะนาห์ หรือ เทศกาลเสียงแตรที่เป่าออกไปเพื่อประกาศก้องว่าพระคริสต์ทรงยิ่งใหญ่และทรงเสด็จมาครอบครอง
เสียงของโชฟาร์ทำให้ระลึกถึงการครอบครองที่เปี่ยมด้วยความยุติธรรม และเมตตา
พระคริสต์ปรารถนาจะสถิตอยู่ในชีวิตของเรา ทรงปรารถนาการครอบครองเหนือตัวเรา เหนือคริสตจักร
การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
เมื่อเราได้รู้แล้วว่าเทศกาลเสียงแตรนี้ เป็นการประกาศการทรงสถิต และการครอบครองของพระเจ้า เมื่อเสียงแตรดังขึ้น ให้เราร้องเรียกพระเจ้า ให้การทรงสถิตของพระองค์เทลงมา
6.เสียงแห่งการรวบรวมผู้คนเข้าสู่การครอบครองของพระคริสต์
ในพระคัมภีร์เดิม พระเจ้าทรงสัญญาจะส่งพระเมสิยาห์มาปลดปล่อยชนชาติของพระองค์
เสียงโชฟาจึงเป็นเครื่องหมายแห่งการระลึกถึงพระสัญญาของพระเจ้าที่จะส่งพระเมสิยาห์ ผู้ที่จะเสด็จมามารวบรวมลูก ๆ ที่กระจัดกระจายให้กลับมารวมกันเป็นหนึ่งเดียว
อิสยาห์ 27:13
13 และในวันนั้นเขาจะเป่าเขาสัตว์ใหญ่ และบรรดาผู้ที่กำลังพินาศอยู่ในแผ่นดินอัสซีเรีย และบรรดาผู้ถูกขับไล่ออกไปยังแผ่นดินอียิปต์จะมานมัสการพระเจ้า บนภูเขาบริสุทธิ์ที่เยรูซาเล็ม
เสียงโชฟาร์ ไม่เพียงเป็นการประกาศถึงการเสด็จมาเพื่อรวบรวมผู้คนของพระเมสสิยาห์ที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์เดิม (อิสยาห์ 27:13)
ในพระคัมภีร์ใหม่ เป็นการประกาศถึงการครอบครอง การปกครองของพระคริสต์บนแผ่นดินโลก
1เธสะโลนิกา 4:16
16 ด้วยว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าจะเสด็จมาจากสวรรค์ ด้วยพระดำรัสสั่ง ด้วยสำเนียงเรียกของเทพบดีและด้วยเสียงแตรของพระเจ้า และคนทั้งปวงในพระคริสต์ที่ตายแล้วจะเป็นขึ้นมาก่อน
1โครินธ์ 15:52
52 ในชั่วขณะเดียว ในพริบตาเดียว เมื่อเป่าแตรครั้งสุดท้าย เพราะว่าจะมีเสียงแตร และคนที่ตายแล้วจะเป็นขึ้นมาปราศจากเน่าเปื่อย แล้วเราทั้งหลายจะถูกเปลี่ยนแปลงใหม่
พระคริสต์จะเสด็จมาเพื่อรวบรวมคนทั้งปวงที่พระองค์ทรงเลือกสรรไว้แล้ว
มัทธิว 24:30-31
30 เมื่อนั้นนิมิตแห่งบุตรมนุษย์ จะปรากฏขึ้นในท้องฟ้า มนุษย์ทุกชาติทั่วโลกจะตีอกร้องไห้ บุตรมนุษย์เสด็จมาบนเมฆในท้องฟ้า ทรงฤทธานุภาพและพระสิริเป็นอันมาก
31 พระองค์ทรงใช้เหล่าทูตสวรรค์ของพระองค์ มาด้วยเสียงแตรอันดังยิ่งนัก ให้รวบรวมคนทั้งปวงที่พระองค์ทรงเลือกสรรไว้แล้ว ทั้งสี่ทิศนั้น ตั้งแต่ที่สุดฟ้าข้างนี้จนถึงที่สุดฟ้าข้างโน้น
การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
เมื่อเราได้รู้แล้วว่าเทศกาลเสียงแตรนี้ เป็นการสัญลักษณ์ของยุคพระเมสสิยาห์ หรือของพระคริสต์ที่จะเสด็จกลับมารวมรวมผู้คน เมื่อเสียงแตรดังขึ้นให้เราอธิษฐานขอการเชื่อมต่อพระกาย และรวมตัวเป็นหนึ่งเดียว
ขอความเป็นเอกภาพ การรวมเป็นหนึ่งเดียวระหว่างพี่น้องในคริสตจักร ระหว่างคริสตจักรต่าง ๆ และความเป็นเอกภาพหนึ่งเดียวของคนในประเทศชาติ
อธิษฐานขอการที่คริสตจักรเข้าไปเชื่อมต่อกับอิสราเอลเป็นคนใหม่คนเดียวในพระคริสต์ (One Newman)(เอเฟซัส2:15)
อธิษฐานขอให้พี่น้องที่หลงหายไปในที่ต่าง ๆ กลับมาหาพระเจ้า
7.เสียงเตือนใจให้ระลึกถึงพระเมตตาของพระเจ้า
เสียงการเป่าโชฟาร์ ไม่ได้ให้ความรู้สึกถึงความน่ากลัวเสมอไป เราเห็นได้ว่าในพระวจนะบางตอนกล่าวถึงการเป่าเสียงแตรเพื่อเปิดปีแห่งการเฉลิมฉลอง
เลวีนิติ 25:9-10
9 เจ้าจงให้เป่าเขาสัตว์ดังสนั่นในวันที่สิบเดือนที่เจ็ด เจ้าจงให้เป่าเขาสัตว์ทั่วแผ่นดินในวันทำการลบมลทิน
10 เจ้าจงถือปีที่ห้าสิบไว้เป็นปีบริสุทธิ์ และประกาศอิสรภาพแก่บรรดาคนที่อาศัยอยู่ทั่วแผ่นดินของเจ้า ให้เป็นปีเสียงเขาสัตว์แก่เจ้า ให้ทุกคนกลับไปยังภูมิลำเนาอันเป็นทรัพย์สินของตน และกลับไปสู่ตระกูลของตน
บางครั้งเสียงเขาสัตว์ก็เป่าออกไปเพื่อประกาศถึงพระเมตตาของพระเจ้าในการปลดปล่อยผู้คนให้เป็นไท คืนกลับสู่เสรีภาพ
เป็นการประกาศถึงเมตตาของพระเจ้าในการให้สิ่งต่าง ๆ หยุดพัก (เลวีนิติ 25:11)
การเป่าแตรในวันรอชฮาชานานี้ เป็นการเตือนให้ระลึกถึงความเมตตาของพระเจ้า การให้อภัยบาปของพระองค์ อย่างที่เขาไม่สมควรได้รับเพื่อเตือนใจให้ระลึกถึงความเมตตาของพระเจ้า ในวันนี้คนยิวจะอ่านพระวจนะในธรรมศาลาถึงเรื่องราวของอับราฮัมในการถวามอิสอัค (ปฐมกาล 22) และอับราฮัมได้ชื่นชมกับพระเมตตาของพระองค์ที่พระองค์ได้ส่งแกะมาเพื่อถวายบูชาแทนอิสอัค
นี่เป็นที่มาว่าเหตุใดคนยิวจึงใช้เขาแกะปลายงอน เป่า ทั้งนี้เพื่อจะได้หวนกลับไประลึกถึงพระเมตตาที่ทรงกระทำต่ออับราฮัม
เขาจากแกะที่ถูกจับได้จากพุ่มไม้ กลายมาเป็นสัญลักษณ์ เพื่อระลึกถึงคนบาป และการลบล้างบาป
การเป่าแตรในการออกศึกสงครามนั้นก็เป็นการเชื่อมโยงถึงเทศกาลเสียงแตร เพื่อเตือนใจว่าพระเจ้าระลึกถึงเรา และจะช่วยเราซึ่งเป็นประชากรของพระองค์
เช่นเดียวกัน ในขณะนี้เราอยู่ท่ามกลางสงครามฝ่ายวิญญาณ และเมื่อเราเดินหน้าในงานพระเจ้า เรารู้ว่าจะมีการปะทะในฝ่ายวิญญาณ
เสียงแตรที่เราจะเป่านี้ ก็เป็นการประกาศก้องว่า พระเจ้าทรงอยู่ฝ่ายเรา ทรงระลึกถึงเรา และจะช่วยเราให้มีชัยเหนือมารซาตานได้
ในวันแห่งการพิพากษานั้นพระเจ้าก็จะช่วยประชากรของพระองค์ที่กลับใจใหม่ด้วยความเมตตาให้พ้นโทษทัณฑ์แห่งบาปเช่นกัน
ดังนั้น การระลึกถึงเทศกาลเสียงแตรในปัจจุบัน พระเจ้าจึงให้พระคริสต์เป็นศูนย์กลาง โดยพระคริสต์ พระองค์จะดูแลความต้องการของเรา และพระองค์จะระลึกหรือจดจำเราได้ในวันแห่งการพิพากษาเมื่อพระคริสต์นั่งอยู่บนบัลลังก์
เมื่อเสียงแตรครั้งสุดท้ายดังขึ้น นั่นหมายถึง พระคริสต์ได้จดจำเราไว้ในฐานะบุตรของพระองค์ตลอดนิรันดร์
การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
เมื่อเราได้รู้แล้วว่าเทศกาลเสียงแตรนี้ เป็นเวลาแห่งการระลึกถึงพระเมตตาของพระเจ้า เมื่อเสียงแตรดังขึ้นให้เรากล่าวสรรเสริญพระเมตตาของพระองค์ที่ทรงกระทำในชีวิตของเราในเรื่องต่าง ๆ ชื่นชมยินดีต่อพระเมตตาของพระองค์ ให้เราเป่าเสียงแตรเพื่อประกาศถึงการช่วยกู้ของพระเจ้าในการปะทะในสงครามฝ่ายวิญญาณ ซึ่งโดยเสียงแตรนี้ พระเจ้าจะเข้าช่วยกู้บุตรของพระองค์ให้มีชัย
วันนี้เราในฐานะคริสตชนชาวไทย เราไม่ได้นำรูปแบบพิธีกรรมมาปฏิบัติโดยขาดความเข้าใจแต่เราได้นำหลักการมาประยุกต์ใช้ และเราได้นำชีวิตของเราเข้าสู่ตารางเวลาเดียวกับพระเจ้า เราจึงไม่สามารถดำเนินชีวิตอย่างไร้เป้าหมาย
หากแต่เสียงแตรนั้นเป็นสัญญาณเตือนใจให้เราตื่นตัวอยู่เสมอและเคลื่อนไปตามวาระเวลาของพระองค์ สรรเสริญพระเจ้า